กรรมฐานแนวกสิณ 10

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 11 กันยายน 2008.

  1. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    มูลเหตุที่อุบาสิกาพิมพา เริ่มสอนกรรมฐานแนวของสมถกรรมฐานนี้ เนื่องจากเห็นว่า ปัจจุบันมีคนทำชั่วกันมาก ส่วนใหญ่เขาไม่เชื่อว่า นรก สวรรค์ นั้นมีจริง
    คนส่วนน้อยเชื่อว่า มีจริง แต่ก็พิสูจน์ไม่ได้ ที่เชื่อเพราะได้ฟังพระสงฆ์เทศน์บอกและด้วยเชื่อว่าพระสงฆ์ย่อมไม่พูดปดแน่ ก็ไม่กล้าจะทำชั่วกัน
    และหันมาสร้างทานกุศลตามที่พระสงฆ์ท่านชักชวน เพื่อหวังว่าตายแล้ว ตนเองจะได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ จึงเอาเงินมาทุ่มเทสร้างวัด สร้างโบสถ์




    สร้างวิหารการเปรียญ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่าสร้างพระพุทธรูป จิปาถะต่าง ๆ ที่พระสงฆ์ท่านชักชวน เพื่อหวังความสุขในภพสวรรค์
    แต่ว่าคนส่วนใหญ่นั้นสมัยนี้ต้องการเหตุผล ถ้าพิสูจน์ไม่ได้เขาก็ไม่เชื่อ พระสงฆ์ก็อาจมิได้สอนให้ญาติโยม ได้เห็นว่า ภูมินรก ภูมิสวรรค์ นั้นมีสภาพความเป็นจริงอย่างไรหรือแนะแนวการปฏิบัติให้ญาติโยมได้รู้
    และเข้าใจถึงเรื่องเหล่านี้เท่าใดนัก ส่วนใหญ่แนะนำให้ปฏิบัติแนววิปัสสนากรรมฐาน ปล่อยวาง เมื่อคนส่วนใหญ่ไม่รู้
    และเชื่อว่าภูมินรก ภูมิสวรรค์ นั้นมีอยู่จริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แล้ว ก็คิดเสียว่าการพูดเรื่อง ภูมินรก ภูมิสวรรค์นั้น เป็นเรื่องล้าสมัย (เป็นเรื่องของนิยายโบราณ)
    กล้าทำผิดกันมากมาย ก็เพราะว่าเขาพิสูจน์ไม่ได้นั่นเอง

    ด้วยว่าอุบาสิกาพิมพา ได้ศึกษาเรียนพระอภิธรรม และพบว่าในพระอภิธรรมปิฎกนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานไว้อย่างมั่นคง ละเอียด
    อุบาสิกาพิมพา มีความสงสารญาติโยม หรือเด็กวัยรุ่นที่กระทำชั่วกันมาก จึงตัดสินใจแนะแนวสอนสมถกรรมฐาน
    เพื่อให้ญาติโยมและวัยรุ่นได้รู้แจ้งในคำสอนเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าภูมิน
    รก ภูมิสวรรค์ นั้นมีอยู่จริง เพื่อให้เขาได้พิสูจน์ความจริงเรื่องนี้ ตามแนวหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง
    ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อญาติโยมได้มาปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพระอภิธรรมปิฎก ย่อมได้อภิญญา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้พระอภิธรรมปิฎกจริง

    ด้วยการปฏิบัติสมถกรรมฐานแนววิธี กสิณ 10 นี้ เป็นขั้นโลกียะ เป็นธรรมะกลาง ๆ เมื่อบุคคลปฏิบัติตามนี้แล้ว จะได้สำเร็จ โลกียอภิญญา 5 อันได้แก่
    1. ทิพพจักขุอภิญญา (ได้ตาทิพย์)
    2. ทิพพโสตอภิญญา (ได้หูทิพย์)
    3. ปุพเพนิวาสานุสติอภิญญา (ระลึกชาติได้)
    4. ปรจิตตวิชานนอภิญญา (รู้วาระจิตของผู้อื่นได้)
    5. อิทธิวิธอภิญญา (ทำฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้ต่าง ๆ)

    (ที่มา - "อภิญญา 5" หนังสือชื่อ "ปรมัตถโชติกะ สมถกรรมฐานทีปนี" ในปริจเฉทที่ 9 ของพระสัทธัมมโชติกะ
    ธัมมาจริยะ รวบรวมโดย พระมหาถวัลย์ ญาณจารี ป.ธ.9 อภิธรรมบัณฑิต ,
    สำนักวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร)

    ในการแนะแนวการปฏิบัติสมถกรรมฐาน แนววิธี กสิณ 10 แก่ญาติโยม และวัยรุ่นที่สนใจ เมื่อพวกเขาปฏิบัติจนได้ "ทิพพจักขุอภิญญา" (ได้ตาทิพย์)
    ก็ย่อมไปสู่สวรรค์ภูมิ หรือลงไปสู่นรกภูมิได้ และได้สัมภาษณ์พวกเทพ และพวกฝูงผี ฝูงเปรตเหล่านั้น เขาก็จะรู้แจ้งเรื่องบุญ เรื่องบาปเอง
    เมื่อญาติโยม และวัยรุ่นได้พิสูจน์กับตัวเองอย่างนี้แล้ว เขาก็จะพากันละทำความชั่ว หันมาสร้างแต่กรรมดี เพราะเขาได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้ว ย่อมมีความเชื่อมั่น
    และทำให้เขาไม่ต้องตกไปสู่อบายภูมิ และได้สูงส่งเป็นเทพ หรือเป็นพรหม หรือจะทำวิปัสสนากรรมฐานต่อ เพื่อหวังมรรคผล นิพพาน ได้ง่ายมาก
    ด้วยเหตุนี้ อุบาสิกาพิมพา จังตัดสินใจสอนกรรมฐานแนวนี้ให้แก่ญาติโยม และวัยรุ่น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2519มาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้ผลดีมาก
    อุบาสิกาพิมพา ได้ทำการสอนกรรมฐานให้แก่ วัยรุ่นที่หลงติดยาเสพติด เด็กวัยรุ่นเหล่านี้ก็ปฏิบัติได้ผลดี และมีความเกรงกลัวต่อไป เลิกทำความชั่ว
    เพราะพวกเขาเห็นการทรมานในนรก แล้วเกิดความกลัวอย่างยิ่ง
    และอุบาสิกาพิมพา ได้มีโอกาสแนะแนะการปฏิบัติกรรมฐานให้แก่ผู้ต้องขัง ในเรือนจำกลาง คลองเปรม
    โดยการเชิญไปเป็นอนุศาสนาจารย์ของเรือนจำ ในขณะนั้น ซึ่งมีผู้ต้องขังเข้าร่วมปฏิบัติประมาณสองร้อยกว่าคน โดยสอนเฉพาะวันพฤหัสบดี ผลคือ
    ผู้ต้องขังที่มาปฏิบัติ ได้ทิพพจักขุอภิญญา (ได้ตาทิพย์)เกือบหมดทุกคน
    (หมายความถึงว่า ผู้ต้องขัง ได้ไปสู่นรกภูมิ ไปสวรรค์ภูมิได้ดูหลักฐานภาพถ่ายจากบัญชีกรรมชั่วของตนเองได้ ซึ่งจะมีหลักฐานภาพถ่ายปรากฏอย่างถูกต้อง ชัดเจน)
    เมื่อพวกเขาได้ดูหลักฐานการกระทำชั่วของพวกเขา จากการบันทึกของยมฑูตแล้ว ทุกคนยอมรับ บ้างก็ร้องไห้โศกศัลย์ และปฏิญาณตัวว่าจะไม่ทำชั่วอีกแล้ว
    ผู้ต้องขังที่ได้เคยฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับอุบาสิกาพิมพา ได้มีจดหมายมาถึง และบอกว่า
    "ตอนตีสี่ (เวลา 04.00 นาฬิกา)เขาลุกขึ้นนั่งกรรมฐานในห้องขังทุกคืน
    เขานั่งทีไรก็เห็นไฟนรกลุกแดงฉานไปหมด ร้อนมาก และเกิดความกลัว" และมีผู้ต้องขังหลายคนได้ฝึกสอนแทนอุบาสิกาพิมพาอยู่ในเรือนจำกลาง คลองเปรม
    และมีผู้ต้องขังหลาย ๆ คน เมื่อหลุดพ้นโทษออกจากเรือนจำแล้ว ก็ได้มาเยี่ยมอุบาสิกาพิมพา ที่กุฏิที่พำนัก และมาฝึกปฏิบัติกรรมฐานต่อที่กุฏิก็มี
    บางคนก็กลับไปภูมิลำเนาเดิมของตนได้สอนกรรมฐานให้แก่ลูก ๆ ของเขา และได้พาลูกมาหาอุบาสิกาพิมพา เพื่อให้ตรวจสอบกรรมฐานอีกครั้งหนึ่งว่าเป็นของจริง หรือของลวง
    สาเหตุที่ผู้ต้องขังสามารถสอนกรรมฐานแทนอุบาสิกาพิมพาได้หลายคนนั้น เพราะว่า เมื่ออุบาสิกาพิมพา ฝึกกรรมฐานให้ใครได้อภิญญาแล้ว จะฝึกวิชาครูให้ทุกคน
    เพื่อให้ไปช่วยกันสอนกรรมฐานกันต่อ ๆ ไป เพื่อให้ชนทั้งหลายได้รู้ความจริงในเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า ภูมินรก ภูมิสวรรค์นั้น มีจริง
    ผลของบุญ ผลของบาป นั้นมีจริง และอีกอย่างหนึ่งเพื่อช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา หรือช่วยกันเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าด้านคำสอนในด้านการปฏิบัติสมถกรรมฐาน
    ซึ่งถือได้ว่าเป็นธรรมะระดับกลาง ๆ ซึ่งเมื่อผู้ใดได้ปฏิบัติจนได้โลกียอภิญญาห้าแล้ว อุบาสิกาพิมพาก็จะให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆอีกประมาณปีหนึ่ง
    เพื่อให้พระกรรมฐานแนวนี้มั่นคงไม่เสื่อมคลาย ต่อจากนั้นก็จะให้พักปฏิบัติกรรมฐานแนวสมถะนี้ และให้ปฏิบัติแนววิปัสสนากรรมฐาน ขั้นสูงขึ้นต่อไป (ขั้นโลกุตระ)
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นกิเลส รูปนามขันธ์ห้า เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ เพื่อให้หมดอุปทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งมวล เพื่อให้สำเร็จคำสอนขั้นสุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่พระองค์
    มุ่งหวังเพื่อจะช่วยให้สัตว์โลกพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    สิ่งนั้นคือ พระนิพพาน ความดับ เป็นจุดสุดท้ายที่เรียกว่า
    "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง หรือ นิพพานนัง ปรมัง สุขขัง"นั่นเอง


    ที่มา http://www.pranippan.com/new/board/index.php?showtopic=855
     
  2. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    กสิณ ๑๐ กอง
    <TABLE width="50%" border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">ปฐวีกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งดิน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">อาโปกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งน้ำ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">เตโชกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งไฟ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">วาโยกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งลม</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">นิลกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีเขียว</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">โลหิตกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีแดง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">ปิตกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีเหลือง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">โอทากสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีขาว</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">อาโลกกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งแสงสว่าง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">อากาสกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งอากาศ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=4 width=760 border=0><TBODY><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>ปฐวีกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์
    • ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน"
    • กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>อาโปกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • อาโปกสิณ อาโป แปลว่า "น้ำ" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" อาโปแปลว่า "เพ่งน้ำ"
    • กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
    • ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่าง ๆ มา
    • ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะ เท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง
    • การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต
    • อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม
    • สำหรับปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือ ใสมีประกายระยิบระยับ
    • เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้ว จงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน
    • บทภาวนา ภาวนาว่า "อาโปกสิณัง"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>เตโชกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • เตโชกสิณ แปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์"
    • กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้
    • ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน
    • แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า
    • ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ
    • การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์
    • ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต
    • อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ
    • สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ
    • เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>วาโยกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • วาโยกสิณ แปลว่า "เพ่งลม"
    • การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    • การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    • การถือด้วยการถูกต้องกระทบ ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะให้พัดลมเป่าแทน ลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้
    • เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณังๆ ๆ ๆ
    • อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับ กระไอ แห่งการหุงต้ม ที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั้นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
    • สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั้นเอง อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>นิลกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • นิลกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเขียว"
    • ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนังกระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขึยวทา หรือจะเพ่งพิจารณา สีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ
    • อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณังๆ ๆ ๆ
    • อุคคหนิมิตนั้น ปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>ปีตกสิณ </TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • ปีตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเหลือง"
    • การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด
    • บทภาวนา ภาวนาว่าเป็น ปีตกสิณังๆ ๆ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>โลหิตกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • โลหิตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีแดง"
    • บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ ๆ ๆ
    • นิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่งดอกไม้สีแดง หรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้
    • อุคคหนิมิต เป็นสีแดง
    • ปฏิภาคนิมิต เหมือนนีลกสิณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>โอทากสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • โอทากสิณ แปลว่า "เพ่งสีขาว"
    • บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณังๆ ๆ ๆ
    • สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้ หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
    • นิมิตทั้งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหนิมิต เป็นสีขาวเท่านั้นเอง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>อาโลกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • อาโลกสิณ แปลว่า "เพ่งแสงสว่าง"
    • ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องหลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ
    • แล้วภาวนาว่า อาโลกสิณังๆ ๆ ๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ
    • อุคคหนิมิตของอาโลกสิณ เป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่
    • ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่าง มากองรวมกันไว้ที่นั่น
    • แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    </TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>อากาสกสิณ </TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • อากาสกสิณ แปลว่า "เพ่งอากาศ"
    • อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณังๆ ๆ
    • ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อ หรือผืนหนัง
    • โดยกำหนดว่า อากาศๆ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิตซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด
    • ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ คำอธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่น
    </TD></TR></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></TBODY></TABLE></CENTER>ที่มา http://www.banfun.com/buddha/kasin10.html
     
  3. wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  4. วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,794
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    เป็นประโยชน์มากครับ ขอบคุณมากครับพี่
     
  5. Tenpokensin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2007
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +1,639
    อนุโมทนาสำหรับธรรมทานครั้งนี้ คงจะเกิดประโยชน์กับใครหลาย ๆ คนเลยครับ สาธุ ๆ
     
  6. jokerpalm Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +46
    อนุโมทนาครับ ผมกำลังคิดว่าจะฝึกสักอย่างแต่ไม่รู้จะฝึกแบบไหน เหมือนกัน กสิณแบบไหนเหมาะกับคนแบบไหนครับ อยากรู้จัง
     

แชร์หน้านี้