กระบวนการหยั่งรู้ความจริง ( จากหนังสือ ปัญหาในการปฏิบัติธรรม โดย ท่าน มุนี ชอบพนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย satan, 19 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    กระบวนการหยั่งรู้ความจริง ( จากหนังสือ ปัญหาในการปฏิบัติธรรม โดย ท่าน มุนี ชอบพนา พระภิกษุผู้ปฏิบัติวิเวกเพียงลำพัง )

    แท้ที่จริงแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็มีการดำรงอยู่ตามสภาวะธรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นไปตามความเป็นจริงของมันโดยไม่มีการบิดเบือน อีกทั้งความจริงดังกล่าวก็พร้อมที่จะเปิดเผยตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลาว่า มันนั้นไม่เที่ยง ทนได้ยาก ไม่ใช่ตัวตน รอเพียงแต่ว่า เมือ่ไหร่มนุษย์จะรู้จักวิธีการเข้าไปกำหนดรู้มันกันเสียที

    แต่มนุษย์กลับปิดบังจิตใจตนเอง ปล่อยให้กิเลสหลอกลวงจนมองภาพของสิ่งทั้งหลายบิดเบือนไปจากความเป็นจริง เป็นการถูกหลอดลวงกันมาด้วยเวลาอันยาวนาน นานจนเกิดความเคยชิน กลายเป็นอาสวะ อนุสัยสืบเนื่องอยู่ในสันดาน

    การเจริญวิปัสสนาจึงเป็นการแก้ไขความเคยชินเก่าๆหรือการกวาดล้างกิเลสอันเป็นเหตุให้จิตไขว้เขว โดยใช้หลักธรรมื้เรียกว่า สติปัฏฐาน ( ที่ตั้งของสติ )

    หลักการของสติปัฏฐานไม่ใช่มีแต่เพียงแค่เรื่องของสติ แต่เป็นกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นจากสติ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันของ สติ สมาธิ ปัญญา ที่มีความพร้อมเพรียงและกลมกลืนเป็นบาทฐานให้แก่กันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด ในขณะเดียวกันต่างก้มีหน้าที่ประจำเฉพาะตนอย่างชัดเจน

    สติ มีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับอารมณ์
    สมาธิ คืออาการที่จิตตั้งอยู่ได้ในอารมณ์นั้นๆ
    ปัญญามีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบอารมณ์นั้นให้เห็นตามที่เป็นจริง

    ในทางสมถะสติจะมีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับอารมณ์ก็เพียงเพื่อให้จิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์นั้น ไม่ให้แส่ส่ายไปที่อื่น ถ้าทำได้ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ และถ้าทำได้อย่างแนบสนิทเต็มที่ระดับสมาธิในภาวะจิตเช่นนั้นเรียกว่า ฌาณ เป็นอันสำเร็จกิจของสมถะ

    ในทางวิปัสสนา สติจะมีหน้าที่อันดับแรกในการเสนออารมณ์ให้แก่ปัญญา โดยกำหนดจิตไว้กับอารมณ์ สมาธิจะมีหน้าที่ส่งเสริมการนำเสนออารมณ์ด้วยอาการที่สามารถรักษาการกำหนดจิตในอารมณ์นั้นให้ตั้งอยู่ได้ และปัญญาจะมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบอารมณ์นั้นให้เห็นตามที่เป้นจริง ในที่สุดทำได้สำเร็จก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ญาณ

    ตัวอย่าง
    การเจริญอาณาปาณสติ การกำหนดลมหายใจเข้าออกซึ่งมีความรู้สึกเด่นชัดอยู่ 3 จุดคือ อาการกระทบเข้า-กระทบออก ที่ผิวช่องจมูก อาการขยายขึ้น-ยวบลง ที่หน้าอก อาการพอง-ยุบ ที่หน้าท้อง

    ธรรมทั้งสามจะร่วมกันทำงานคือ
    สติ มีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออก ( ที่จุดใดจุดหนึ่ ) ถือเป็นเบื้องต้นในการนำเสนออารมณ์ให้แก่ปัญญา

    สมาธิ คืออาการที่สามารถรักษาจิตให้กำหนดตั้งอยู่ได้ในลมหายใจเข้าออก เพื่อให้ปัญญามีเวลาตรวจสอบ ( เบื้องต้นแค่ขณิกสมาธิก็เพียงพอแก่ปัญญาแล้ว )

    ปัญญา จะทำหนาที่ตรวจสอบพิจารณาลมหายใจเข้าออกให้เห็นตามความเป็นจริง เช่นเห็นอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของลมหายใจเข้าออกเป็นต้น

    มีข้อพึงสังเกตุว่า
    ถ้าเป็นสมถะ สติจะกำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออกก็เพียงเพื่อให้จิตตั้งอยู่ได้ในลมหายใจเข้าออกเท่านั้น คือหยุดจบแค่เพียงสมาธิ
    ถ้าเป็นวิปัสสนา จะพลิกอีกเพียงนิดเดียว คือจะเพิ่มปัญญาเข้าไปเห็นอาการตามที่เป็นจริงของลมหายใจเข้าออกด้วย

    ดังนั้น การกำหนดแม้ในอารมณ์เดียวกันนั้น ผู้เข้าใจย่อมจะสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้โดยง่าย ประดุจพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แต่สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจแล้วหน้ามือกับหลังมือก็อยู่ตรงข้ามกันชนิดไม่อาจพบกันได้เลย

    ปัญญาในวิปัสสนานั้น จะเห็นความจริงด้วยความรู้สึกไม่ใช่การนึกคิด การตรวจสอบดังกล่าว ไม่ใช่การยกหัวข้อธรรมะขึ้นมานึกคิดไตร่ตรอง ไม่ใช่จินตมยปัญญา ไม่ใช่นึกว่า ลมหายใจเข้าออกนี้เป็น อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือลมหายใจเข้าออกนี้ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่ใช่อย่างนั้น

    การนึกคิดไปเช่นนั้น ทำให้จิตตกไปจากลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็น โผฏฐัพพารมณ์ ไปอยู่ที่การนึกคิดซึ่งเป็น ธรรมารมณ์ เมื่อลมหายใจเข้าออกไม่ได้ถูกกำหนดเป็น อารมณ์ปัจจุบัน แล้วปัญญาจะเข้าไปเห็นความจริงของลมหายใจเข้าออกได้อย่างไร การนึกคิดมากๆ ท่านเรียกว่า ความฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะนึกธรรมะก็อาจจะกลายเป็น ฟุ้งในธรรม ก็ได้

    ดังนั้นในขั้นตอนของภาวนามยปัญญา ปัญญาจะต้องรู้โดยไม่มีภาษาสมมติใดๆทั้งสิ้น ไม่มีคำว่า อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือคำอื่นใดอยู่ในนั้นเลย เป็นการเห็นแต่สภาวะธรรมล้วนๆเห็นอย่างเงียบกริบ

    อย่างไรก็ดี ในการปฏิบัตินั้น อารมณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าจิตตกจากอารมณ์ปัจจุบัน ปัญญาก็ไม่สามารถทำงานในอารมณ์นั้นได้ ผู้ปฏิบัติที่จะกำหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งให้เป็น อารมณ์ปัจจุบัน อย่างต่อเนื่อง จะต้องเข้าใจในธรรมชาติของจิตด้วย ธรรมชาติของจิตนั้นรู้ได้ทีละอารมณ์เท่านั้น

    อย่างเช่น การกำหนดอารมณ์หนึ่งพร้อมกับนึกคำบริกรรมในใจอีกอารมณ์หนึ่งไปด้วย รวมเป็นสองอารมณ์ย่อมขัดกับธรรมชาติของจิตที่ว่ารู้ได้ทีละอารมณ์ แต่ที่ดูเหมือนรู้ทั้งสองอารมณ์หรือหลายๆอารมณ์ไปพร้อมๆกัน ก็เพราะจิตนั้นไวมาก สามารถยักย้ายไปมาระหว่างอารมณ์ต่างๆได้รวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง ผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์พอไม่อาจรู้เท่าทันธรรมชาติอันนี้ได้เลย ภาวนาก็เลยเป็นภาวนึกไป

    ถ้าการปฏิบัติได้เป็นไปอย่างถูกหลักการและเหตุผลแล้ว การพัฒนากระบวนการหยั่งรู้ความจริงที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนได้ระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ คือความหยั่งรู้หยั่งเห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

    ตรงนี้แหละที่เรียกได้เต็มปากว่า รู้ปฏิบัติ ไม่ใช่รู้ปริยัติแต่เพียงอย่างเดียว

    โอกาสที่จิตจะหลุดพ้นได้ก้ตรงนี้ ตรงที่จิตมันได้ประจักษ์แจ้งในความจริงด้วยตัวจิตเองโดยตรง ไม่มีอะไรปิดบังหรือบิดเบือนอีก เพราะเหตุที่ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอยู่เป็นประจำ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและเสื่อมไปของสิ่งทั้งหลาย สติที่ตั้งมั่นจึงดำรงไว้แต่เพียง สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยระลึก เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกไปเสียได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก
     
  2. a_sitt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +189
    โมทนาบุญครับ สิ่งนี้ที่คงตามความจริงเสมอ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนัตฺตา นำความจริงทุกสิ่งสู่สามัญของสิ่งนั้น "สุญฺญตาธรรม"
     
  3. godman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,254
    แวะมาทักทายน่ะครับ
     

แชร์หน้านี้