"กราบพระแก้ว แวะชมวัด เที่ยววัง"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 7 พฤศจิกายน 2012.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระธาตุพระอรหันต์

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระพุทธรูป

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่ทวด

    [​IMG]

    องค์พระเสี่ยงทาย

    [​IMG]

    [​IMG]

    มีคนไปเสี่ยงทายกันหลายคนเหมือนกันครับ

    [​IMG]

    ศาลเทพารักษ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ใบเซียมซี

    [​IMG]

    น้ำมนต์

    [​IMG]

    วัตถุมงคล

    [​IMG]

    สุดท้ายในทริปไหว้พระทำบุญในวันนี้ ผมทำบุญหลายๆแห่ง โมทนาบุญกับผมครับ

    ที่สำคัญ เมื่อยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

    ไว้โอกาสหน้า หากผมไปไหว้พระที่ไหน จะนำรูปมาฝากกันอีก ขอให้มีความสุขในการชมภาพกัน

    และขออภัย ผมยืนยันว่า รูปที่ผมถ่ายมา สวยสู้ของจริงไม่ได้ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สำหรับท่านใดไม่เคยไป ต้องไปชมครับ
    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    วัดพระแก้วมรกต วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗

    เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

    รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

    เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป

    พระอุโบสถ

    สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน

    ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว

    พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

    ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
    พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน

    เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร

    เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ

    บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป

    หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี
    หนังสืออ้างอิง : นำชมกรุงรัตนโกสินทร์
    (เนื่องในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) โดย กองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๕

    -http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watprasiratana.php-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วัดพระแก้ว ความงดงามคู่บ้านคู่เมือง
    -http://travel.kapook.com/view1024.html-

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    เรียกว่าเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย สำหรับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว พระอารามหลวงชั้นพิเศษ ที่ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐาน พระมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต รวมถึงใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เพราะฉะนั้น กระปุกท่องเที่ยวเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปยลโฉมความงดงามของ วัดพระแก้ว วัดคู่บ้านคู่เมืองของกรุงรัตนโกสินทร์กันค่ะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่ประดิษฐาน "พระแก้วมรกต" รวมถึงเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โดยเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

    อาคารต่าง ๆ ภายในวัด

    ภายในวัดพระแก้วมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงขอแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้…

    กลุ่มพระอุโบสถ : เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มี "พระอุโบสถ" เป็นอาคารประธาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์ หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง หอพระคันธารราษฎร์

    [​IMG]

    [​IMG]

    สำหรับพระอุโบสถตั้งอยู่ส่วนกลางของวัด มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม 8 ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 ก่อนจะสำเร็จเรียบร้อยลงใน พ.ศ. 2328 ส่วนหลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่าฝาผนังรอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ ฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ 3 และ 4 ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน

    ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐาน "พระแก้วมรกต" ในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

    [​IMG]

    กลุ่มฐานไพที : กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่น ๆ เช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และพนมหมาก

    [​IMG]

    กลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่น ๆ : หอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล และจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

    ทั้งนี้ วัดพระแก้ว ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอารามมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ.2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม ในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 15.30 น. ยกเว้นแต่วันที่มีพระราชพิธีต่าง ๆ ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม สำหรับชาวต่างประเทศเสียค่าเข้าชม 200 บาท

    [​IMG]

    ข้อแนะนำในการเที่ยว

    แต่งกายให้สุภาพ ห้ามสวมเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น กางเกงสามส่วน

    ไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับภาพจิตกรรมได้

    ภายในอาคารอื่นทั้งหมดโดยเฉพาะพระอุโบสถ ห้ามถ่ายภาพอย่างเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ และยึดสื่อบันทึก

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    -http://www.bangkoktourist.com-


    -http://thai.tourismthailand.org/see-do-thip/attraction-detail?cat_id=21&attraction_id=52-

    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ข้อมูลทั่วไป
    ชื่อสามัญ วัดโพธิ์
    ที่ตั้ง 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ธงชาติของไทย ประเทศไทย 10200
    ประเภท พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
    นิกาย เถรวาท มหานิกาย
    พระประธาน พระพุทธเทวปฏิมากร
    พระพุทธรูปสำคัญ พระพุทธไสยาส
    พระพุทธโลกนาถ
    พระพุทธศาสดามหากรุณาธิคุณ
    พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์
    พระพุทธชินราชวโรวาท
    พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ
    พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก
    พระศรีสรรเพชญุดาญาณ
    ความพิเศษ วัดประจำรัชกาล ใน รัชกาลที่ 1
    จุดสนใจ วิหารพระพุทธไสยาส วิหารทิศฝั่งตะวันออก (วิหารพระโลกนาถ) และพระอุโบสถ
    กิจกรรม นวดแผนไทย
    การถ่ายภาพ ไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนภายในอาคาร บางอาคารห้ามถ่ายภาพ ควรสังเกตป้าย
    เว็บไซต์ Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm Rajwaramahaviharn


    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (/-เชดตุพนวิมนมังคฺลาราม-/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[1] และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลก ในทะเบียนนานาชาติ

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์[2] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน[3]

    ประวัติ

    วัดพระเชตุพนตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร”

    พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 ว่า “วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน” และมีพระราชดำริว่า “ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ”[4]

    สิ่งก่อสร้างภายในวัด
    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึง พระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
    เขตวัดโพธาราม (เดิม)

    เขตวัดโพธารามเดิม ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ (ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

    วิหารพระพุทธไสยาส
    วิหารพระพุทธไสยาส[5] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงโปรดฯ ให้ขยายพระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วย [6]

    ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน [6] [7]

    พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
    พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ[8]

    เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1

    ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย

    เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ [9] ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

    หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็นแบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น" [10] ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา
    ศาลาการเปรียญ

    เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนแล้ว จึงได้ลดฐานะเป็นศาลาการเปรียญ โดยภายในมี "พระพุทธศาสดา" ประดิษฐานเป็นพระประธาน

    เขตพระอุโบสถ

    เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่
    พระอุโบสถ

    ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)

    พระวิหารทิศ

    ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ [11] ได้แก่

    พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก)
    พระวิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช
    พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
    พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญญจวัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย

    พระเจดีย์

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย[2] ซึ่งสามารถแบ่งพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 4 องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตวัดโพธารามเดิม ส่วนที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถนั้น ได้แก่ พระเจดีย์ราย 71 องค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวรวม 20 องค์ และพระเจดีย์ทรงปรางค์หรือพระมหาสถูป 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 99 องค์ โดยพระเจดีย์ที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถ มีรายละเอียดดังนี้
    พระเจดีย์ราย

    พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่บริเวณโดยรอบของพระระเบียงชั้นนอกมีจำนวนทั้งสิ้น 71 องค์[12] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมมีพระราชประสงค์ให้เป็นให้เป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียว นับเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระเจดีย์อื่น ๆ พระเจดีย์รายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองที่งามที่สุดของยุครัตนโกสินทร์[13]
    พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว

    พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระเจดีย์ 5 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ตรงกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 องค์ที่ล้อมรอบอยู่ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง 4 ด้าน นับรวมได้ 20 องค์ ลักษณะพระเจดีย์นั้นเป้นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ล้อมรอบองค์กลางซึ่งเป็นเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์[12]
    พระมหาสถูป

    พระมหาสถูป เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระอัคฆีย์เจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน บริเวณซุ้มของพระเจดีย์มีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลหล่อด้วยดีบุก แล้วลงรักปิดทอง ประดิษฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านบนมีรูปยักษ์ซึ่งหล่อด้วยดีบุกแบกยอดปรางค์ พระมหาสถูปมีชื่อเรียกที่ต่างกัน[14] ดังนี้

    องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป
    องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป
    องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป
    องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป

    ประติมากรรมอื่น ๆ

    นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น
    รูปปั้นฤๅษีดัดตน

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตนทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น [15] [16]

    ยักษ์วัดโพธิ์
    ยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ [7]นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา [17]

    การศึกษา
    มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่าง ๆ จารึกลงบนศิลาจารึกหรือแผ่นศิลา รวมทั้งได้ปั้นฤๅษีดัดตน ประดับไว้ภายในบริเวณวัด ซึ่งอาจจะแบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดประวัติการสร้างวัดพระเชตุพนฯ หมวดตำรายาแพทย์แผนโบราณ หมวดอนามัย หมวดประเพณี หมวดวรรณคดีไทย หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ (จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) และหมวดพระพุทธศาสนา [9] โดยเมื่อเทียบในปัจจุบันอาจจะแบ่งออกเป็นคณะต่าง ๆ ดังนี้ คณะประวัติศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ (ไม่เป็นทางการ) [18]
    โรงเรียนภายในวัด

    โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
    โรงเรียนวัดพระเชตุพน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6

    การนวดแผนโบราณ
    Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
    อ้างอิง

    ^ http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=10887
    ^ 2.0 2.1 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ก้าวไปในบุญ :เสริมมงคลไหว้พระ ๙ วัด, กุมภาพันธ์ 2548
    ^ Global Market Information Database, Tourist Attractions - World, 10 Apr 2008
    ^ พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม, หน้า 86-87, จากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน
    ^ ปัจจุบันทางวัดใช้ว่า “พระพุทธไสยาส” (ไม่มี น์) ตามมติของสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต ป.ธ.๙) โดยให้เหตุผลว่า คำว่า “ไสยาส” แปลว่า นอน ส่วนคำว่า ไสยาสน์ มาจาก ไสยา + อาสน แปลว่า นอนและนั่ง
    ^ 6.0 6.1 พระพุทธไสยาส
    ^ 7.0 7.1 ผู้จัดการออนไลน์,เที่ยว“วัดโพธิ์” สัมผัสวัดเก่า ในมุมมองใหม่, 29 มกราคม 2548
    ^ ผู้จัดการออนไลน์, ดูของดี ที่ “วัดโพธิ์”, 21 มกราคม 2548
    ^ 9.0 9.1 ผู้จัดการออนไลน์, วัดสุทัศน์, 17 ธันวาคม 2545
    ^ ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 15 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 ถึง 27) , องค์การค้าของคุรุสภา, 2507
    ^ พระระเบียง
    ^ 12.0 12.1 พระเจดีย์สี่รัชกาล พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว พระเจดีย์ราย จาก เว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ^ วัชรี วัชรสินธุ์, วัดพระเชตุพน มัชฌิมประเทศอันวิเศษในชมพูทวีป, สำนักพิมพ์มติชน,กันยายน 2548 ISBN 974-323-476-4
    ^ พระมหาสถูป กำแพงแก้ว จาก เว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ^ เขาฤๅษีดัดตน
    ^ การนวดตามแบบท่าฤๅษีดัดตน
    ^ ผู้จัดการออนไลน์, เที่ยว“ท่าเตียน”ชุมชนเก่าแก่คู่วัดโพธิ์, 19 กันยายน 2549
    ^ พิพิธพาเพลินมหาวิทยาลัยวัดโพธิ์, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

    ประวัติวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

    แหล่งข้อมูลอื่น
    Commons:Category
    คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    เว็บไซต์วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน)
    ภาพพาโนรามา 360 องศา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ภาพพาโนรามา 360 องศาพระพุทธไสยาสน์
    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
    แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
    ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ


    ประวัติพระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    ตำนานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองในไทย พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปมีประวัติที่น่าสนใจยิ่ง กล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญไปอยู่ในบ้านเมืองต่างๆ เป็นระยะทางที่ยาวไกล

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในตำนานพระพุทธรูปสำคัญของไทยว่า เดิมเจ้ากรุงลังกาสร้างไว้ พระเจ้านครศรีธรรมราชไปขอมาถวายสมเด็จพระร่วง พระเจ้ากรุงสุโขทัย เพื่อสักการบูชา เวลาล่วงเลยจนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 มีอำนาจเหนือสุโขทัย พระพุทธสิหิงค์ ถูกเชิญลงมากรุงศรีอยุธยา จากนั้น พระพุทธสิหิงค์ ได้ถูกอัญเชิญต่อไปไว้เมืองกำแพงเพชร-เชียงราย-เชียงใหม่ ปีขาล พ.ศ.2205 สมเด็จพระนารายณ์ ยกทัพไปตีเชียงใหม่ เชิญพระพุทธสิหิงค์กลับกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพชญ เป็นเวลายาวถึง 105 ปี ครั้นเสียกรุงครั้งที่สองให้พม่า พระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญกลับไปเชียงใหม่ เป็นคำรบที่สอง

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงพระดำริว่า พระพุทธสิหิงค์เคยเป็นพระพุทธรูปสำคัญในกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดให้เชิญมาไว้ในกรุงเทพฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2338 และพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระแท่นบุษบก ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ เป็นที่สุดท้าย ไม่ได้ถูกอัญเชิญไปที่แห่งใดอีก

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสพระพระพุทธสิหิงค์มาก เมื่อทรงสร้างวัดราชประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อย มีพระราชประสงค์ จะอัญเชิญไปตั้งเป็นพระพุทธรูปประธาน แต่ทรงพระราชดำริว่า พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่บนพระที่นั่งในพระราชวัง (หน้า) แล้ว ไม่ควรเชิญไปไว้ที่วัด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบอย่างเท่าพระองค์ หล่อขึ้นใหม่กะไหล่ทอง มีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ พระราชทานพระนามว่า พระพุทธสิหังคปฏิมากร

    พระพุทธสิหังคปฏิมากร (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปประธานประจำพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีหน้าตักราว 1 ศอก 6 นิ้ว สูง 1 ศอก 8 นิ้ว พระเกตุสูง 5 นิ้ว วัสดุโลหะปิดทอง หล่อตามแบบพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ภายใต้บุษบก ทั้งนี้หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า จึงโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิมาบรรจุที่พระพุทธอาสน์ ของพระพุทธสิหังคปฏิมากร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ภายในพระวิหารหลวงแห่งนี้ จวบจนถึงปัจจุบัน

    วัดราชประดิษฐ์ เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญยิ่งพระอารามหนึ่ง และยังถือว่าเป็นพระอารามต้นแบบของคณะธรรมยุติกนิกายที่มีอยู่ในพุทธ อาณาจักรบนแผ่นดินไทย ด้วยวัดธรรมยุติกนิกายก่อนนั้น ได้ดัดแปลงมาจากวัดมหานิกายเดิมทั้งสิ้น

    วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6939 ข่าวสดรายวัน
    ที่มา -www.khaosod.co.th-
    พระพุทธรูปปางต่างๆคอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ
    วัดราชประดิษฐ์ กทม.

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ข้อมูลทั่วไป
    ชื่อสามัญ วัดราชประดิษฐ์
    ที่ตั้ง ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ประเภท พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
    นิกาย เถรวาท ธรรมยุต
    ความพิเศษ วัดประจำรัชกาลที่ ๔


    วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน เช่นที่สุโขทัย สวรรคโลก พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดสลัก เป็นวัดนิพพานาราม และเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ แต่ต่อมามีพระราชดำริว่า ในกรุงเทพฯ ยังไม่มีวัดมหาธาตุ จึงเปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดมหาธาตุ และพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณะวัดเลียบ ต่อมา ได้นามว่า วัดราชบูรณะ ยังคงขาดแต่วัดราชประดิษฐ์เท่านั้น จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐ์จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้น เพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุติเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย

    วัดราชประดิษฐ์สร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน พ.ศ. 2407 เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม” เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนเป็น “วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา ซึ่งเป็นสีมามีจารึกคาถาบาลี และภาษาไทย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์รวม 10 หลัก ปรากฏในประกาศเมื่อ พ.ศ. 2411 เรื่องประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐ์ให้ถูกว่า มีผู้เรียกวัดราชประดิษฐ์ว่า วัดราชบัณฑิต วัดทรงประดิษฐ์ ไม่ถูกต้องกับที่พระราชทานนามไว้ จึงทรงกำชับว่า ให้เรียกชื่อวัดว่า “วัดราชประดิษฐ์” หรือ “วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม” หลังจากทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ทรงอาราธนาพระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว ป.๙) หรือสามเณรสา ผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร เป็นสามเณรนาคหลวง สายเปรียญธรรม รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพ.ศ. 2408 ปีฉลู ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน

    วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นสวนกาแฟหลวง สมัยรัชกาลที่ ๓ และเป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการ รัชกาลที่ 4 ทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัดธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2407 เพื่อสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น เพราะใกล้พระบรมมหาราชวัง ในพระวิหารหลวงมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน ที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้วาดไว้ มีสถาปัตยกรรมที่น่าชม เช่น ปาสาณเจดีย์, ปรางค์ขอม, ปราสาทพระบรมรูป (ปราสาทพระจอม), ปราสาทพระไตรปิฎก ฯลฯ และเพราะด้วยธรรมยุติกนิกายนั้นเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เขตสังฆาวาสนั้นจึงห้ามสตรีผ่านเข้าออกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
    อ้างอิง

    ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔

    แหล่งข้อมูลอื่น

    ภาพถ่ายทางอากาศของ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
    แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
    ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ - City Pillar Shrine) เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

    ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    ประวัติ

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕

    ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง
    ตำนาน อิน จัน มั่น คง

    มีเรื่องสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โบราณถือว่าพิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้าน สร้างเมือง ต้องฝังอาถรรพ์ 4 ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักเมือง

    การฝังเสาหลักเมืองและเสามหาปราสาทต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็น ลงฝังในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูมิให้มีโรคภัย ไข้เจ็บเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนครบ้านเมือง ในการทำพิธีกรรมดังกล่าว ต้องเอาคนที่ชื่อ อิน จัน มั่น คง มา ฝังลงหลุม จึงจะศักดิ์สิทธิ์และขณะที่นายนครวัฒเที่ยว เรียกชื่อ อิน จัน มั่ง คง ไปนั้น

    ใครโชคร้ายขานรับขึ้นมาก็จะถูกนำตัวไปฝังในหลุม หลุมเสาหลักเมืองนั้น จะผูกเสาคานใหญ่ชักขึ้นเหนือหลุมนั้นในระดับสูงพอสมควร

    โยงไว้ด้วยเส้นเชือกสองเส้นหัวท้ายให้เสาหรือซุงนั้นแขวนอยู่ตามทางนอนเหมือนอย่างลูกหีบ

    ครั้นถึงวันกำหนดที่จะกระทำการอันทารุณนี้ ก็เลี้ยงดุผู้เคราะห์ร้ายให้อิ่มหนำสำราญแล้ว แห่แหนนำไปที่หลุมนั้น พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสามนั้นเฝ้าประตูเมืองไว้ด้วย และให้เร่งแจ้งข่าวให้รู้กันทั่ว เมื่อคนมาชุมนุนกันเขาก็ตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่น ลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อของการถือโชคถือลางนั้น บี้แบนอยู่ในหลุม


    คนไทยเชื่อว่าผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้จะกลายสภาพเป็นอารักษ์จำพวกที่เรียกว่า ผีราษฏร คนสามัญบางคนก็กระทำการฆาตกรรมแก่ทาสของตนในทำนองเดียวกันนี้เพื่อใช้ให้เป็นผีเฝ้าขุมทรัพย์ที่ตนฝังซ่อนไว้ ตัวอย่าง การสร้างราชธานีใหม่ของพม่า

    เมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจึงมีกำแพงกันสี่ด้าน แต่ละด้านมีประตูเมือง 3ประตู รวมเป็น12 ประตูด้วยกัน


    การฝังอาถรรพ์ก็เป็นคนเป็นล้วนๆถึง 52 คน ฝังตามประตูเมืองประตูละ 3คน 12 ประตูก็เป็นทั้งหมด 36 คน และเฉพาะใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงต้องฝังถึง 4 คน และคนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ไม่ใช้นักโทษที่ต้องโทษประหาร

    แต่จะเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆกันมีตั้งแต่คนมีอายุจนถึงเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด

    ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียร่ำลาญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุมญาติพี่น้องก็จะได้รับ พระทานรางวัล
    อ้างอิง

    ไหว้หลักเมือง เสริมหลักชัยให้กับชีวิต โดย ผู้จัดการ

    ดูเพิ่ม
    Commons:Category
    คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
    ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

    ภาพถ่ายทางอากาศของ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

    ศาลหลักเมือง โดย -devalai.com-
    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
    ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
    แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
    ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

    พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.752537°N 100.494084°E

    ศาลหลักเมืองโดย -www.thaiveterans.mod.go.th-


    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-
    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปปั้นที่อุทยาน ร.2

    [​IMG]

    [​IMG]



    จิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดพระแก้ว

    [​IMG]

    [​IMG]


    -------------------------------

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5.371027/-

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87.371502/-

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  9. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกัน
    สร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
    ไว้ในพระพุทธศาสนาด้วยครับ
    วิจิตรสวยงามมาก ครับ
     
  10. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...