กราบไหว้พระพุทธเจ้าใหญ่ไชยมงคลมิ่งเมือง พระปราบไพรีพินาศ ที่วัดไชยมงคล อุบลราชธานี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 ธันวาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    กราบไหว้พระพุทธเจ้าใหญ่ไชยมงคลมิ่งเมือง
    พระปราบไพรีพินาศ ที่วัดไชยมงคล อุบลราชธานี


    e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b983e0b8ab.jpg



    วัดไชยมงคล เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนสุรศักดิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 89.7 ตารางวา นับเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ วัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นลำดับที่ 4 ใน บรรดาวัดที่สังกัดธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี สร้างขึ้นโดย เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ (พ.ศ.2409 – 2425) เจ้าพรหมเทวา เดิม ชื่อเจ้าหน่อคำ เป็นพี่ชายเจ้าจอมมารดาด้วงคำ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยท่านเป็นบุตรของเจ้าคลี่ (หรือเจ้าเสือ) ซึ่งเป็นหลานปู่เจ้าอนุวงศ์ แห่งนครเวียงจันทร์ เป็นเหลนของเจ้าสิริบุญสาร ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นต้นตระกูลพรหมโมบล

    b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b983e0b8ab-1.jpg

    ประวัติความเป็นมาของวัดไชยมงคล เมื่อ พุทธศักราช 2409 หลังจากที่พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์นุสรณ์ เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 4 แล้วนั้น ในปีเดียวกันได้เกิดกบฏฮ่อขึ้นที่นครเวียงจันทน์ ฝั่งประเทศลาว ซึ่งขณะนั้นถือว่าแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงยังเป็นประเทศราชของประเทศ ไทยอยู่ เมื่อเกิดกบฏขึ้นอย่างนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ยกกองทัพไปปราบกบฏฮ่อ ที่นครเวียงจันทน์ หลังจากเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ได้รับพระบรมราชโองการแล้ว จึงสั่งให้แม่ทัพนายกองรวบรวมไพร่พล โดยท่านเห็นว่าสถานที่ตรงนี้ (บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบัน) มีความร่มรื่น มีต้นโพธิ์ ต้นไทรงาม เป็นจำนวนมาก มีชัยภูมิที่ดี เหมาะที่จะเป็นที่รวบรวมไพร่พล เพื่อยกกองทัพไปปราบกบฏฮ่อที่ นครเวียงจันทน์ ตามที่มีพระบรมราชโองการมา

    b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b983e0b8ab-2.jpg

    ด้วยความที่เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์มีเชื้อสายมาจากกษัตริย์ที่เป็นนักรบ จึงสามารถปราบกบฏฮ่อสำเร็จอย่างง่ายดาย หลังเสร็จศึกจึงเดินทางกลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานี และมีดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะขึ้น ท่านจึงรวบรวมพลังศรัทธาจากเหล่าข้าราชบริพาร ไพร่พล และชาวบ้านชาวเมือง สร้างวัดขึ้น ณ สถานที่เคยเป็นที่รวบรวมไพร่พลก่อนเดินทางไปปราบกบฏฮ่อ ในปีพุทธศักราช 2414 โดยให้นามว่า “วัดไชยมงคล” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระปราบไพรีพินาศ ที่อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ มาประดิษฐานไว้ที่วัดไชยมงคลแห่งนี้ ส่วนอีกองค์หนึ่ง คือ พระทองทิพย์ นำไปประดิษฐานไว้ที่ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน) เมื่อดำเนินการสร้างวัดเสร็จเรียนร้อยแล้ว เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ พร้อมทั้งชาวบ้าน ชาวเมือง ได้กราบอาราธนา เจ้าอธิการสีโห หรือท่านอัญญาสิงห์ จากวัดศรีอุบลรัตนาราม มาเป็นเจ้าอาวาสวัดไชยมงคลรูปแรก และในปัจจุบันนี้มีพระครูจิตวิสุทธิญาณคุณ (พระจตุรงค์ ญาณุตฺตโม) เป็นเจ้าอาวาส

    b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b983e0b8ab-3.jpg

    ภายในวัดไชยมงคล นอกจากจะมีพระประธานให้กราบไหว้แล้ว ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ให้กราบไหว้บูชา คือพระพุทธเจ้าใหญ่ไชยมงคลมิ่งเมือง(หลวงพ่อบุญเหลือ) และ พระพุทธนวราชบพิตร (หลวงพ่อบุญมี) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานบนฐานสูง และยังมีพระประธานในอุโบสถ คือพระสัมมาพุทธไชยมงคล อุบลปูชนียบพิตร หรือ พระพุทธชัยมงคล ซึ่งตามความเชื่อของชาวอุบลฯบอกว่า ถ้าได้ กราบไหว้ พระพุทธชัยมงคล แล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ตัวเองและหน้าที่การงาน พร้อมทั้งธุรกิจของตัวเอง ของบ้านเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ในสมัยพระพรหมเทวานุเคราะห์ ได้รวมพลที่บริเวณนี้ ได้เวลาเป็นเวลาชัยมงคล จึ่งเคลื่อนทัพไปช่วยปราบฮ่อที่เมืองเวียงจันทร์ จนได้รับชัยชนะกลับมา นอกจากนี้ยังมี ชิโนวาทสาทรนุสรณ์ เป็นวิหารหลังเล็กๆ ที่อยู่ด้านข้างของพระพุทธนวราชบพิตร เป็นที่สักการะรูปเหมือนของพระมหาอุทัย ปภสฺสโร อดีตเจ้าอาวาส วัดไชยมงคล หากสาธุชนต้องการไปกราบไหว้พระ ที่วัดไชยมงคล สามารถไปกราบไหว้ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.

    b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b983e0b8ab-4.jpg

    นอกจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แล้ว ทางวัดยังได้ จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไชยมงคลเพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ด้อยและขาดโอกาส ทางการศึกษา และเยาวชนที่อยู่ตามตะเข็บชายแดน ที่ส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องสัญชาติ ได้เล่าเรียน และในที่สุดเครือข่ายชาวอุบลตุ้มลูกตุ้มหลานฮักบ้านแปงเมือง ได้มองถึงอนาคตของชาติที่จะฝากเอาไว้กับเด็กและเยาวชนเหล่านี้ และทุกท่านก็มีแนวความคิดเดียวกันคือจะปล่อยปัญหาต่างๆ ให้เป็นไปตามยถากรรมอย่างนี้ไม่ได้แล้ว จึงนำข้อปรึกษาหารือดังกล่าวไปนำเสนอต่อพระ ครูจิตวิสุทธิญาณคุณ เจ้าอาวาสวัดไชยมงคล จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในที่สุด ซึ่งโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไชยมงคล (พรหมเทวานุเคราะห์นุสรณ์) ได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาเต็มรูปแบบได้ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยเปิดสอนรวมทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้ คือ 1.ผู้ที่ยังไม่จบระดับชั้นประถมปีที่ 6 ร่วมกับ กศน. จังหวัดอุบลราชธานี จัดการศึกษาตามอัธยาศัย 2. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีทั้งการศึกษาสายสามัญ จัดให้มีการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และการศึกษาด้านปริยัติธรรม และการศึกษาด้านวิชาชีพ เปิดสอนวิชาชีพเป็นหลักสูตรเสริม เช่น วิชาช่างไฟฟ้าวิชาช่างอิเล็คทรอนิคส์วิชาช่างทำความเย็น วิชาช่างซ่อม ประกอบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมทีก่อนที่จะจัดตั้งโรงเรียน พระครูจิตวิสุทธิญาณคุณได้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้ามารับการบรรพชาเป็นประจำอยู่แล้วในชื่อ “โครงการปลูกต้นกล้าสร้างธรรมทายาท” แต่ละปีจะมีสามเณรมาศึกษาไม่ต่ำกว่า 20 – 30 รูป แต่ภายในวัดไม่มีโรงเรียนส่งนักเรียนไปเรียนที่วัดข้างเคียง จนกระทั่งปัจจุบันเครือข่ายชาวอุบลตุ้มลูกตุ้มหลานฮักบ้านแปงเมือง ได้ร่วมมือกับทางวัดจนเกิดมีโรงเรียนอย่างถาวร ดังที่เห็น นอกจากโรงเรียนแล้ว ทางวัดไชยมงคล ยังมี ห้องสมุดวัดไชยมงคล และ วิทยุออนไลน์ 99.75 MHz อีกด้วย

    b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b983e0b8ab-5.jpg

    ในปัจจุบัน พระ ครูจิตวิสุทธิญาณคุณ เจ้าอาวาสวัดไชยมงคล ได้สืบสานงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ ในทุกๆปี ได้แก่ ประเพณีทอฝ้ายเป็นสายบุญจุลกฐิน ซึ่งทางวัดได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มมวลชนต่างๆ ดำเนินการจัดโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทอฝ้ายเป็นสายบุญจุลกฐิน มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อ เฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี ในปี 2555 และเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เพื่อทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างมั่นคง เพื่อเพิ่มพูนความรัก สมัครสมานสามัคคีในหมู่พุทธศาสนิกชนทุกเชื้อชาติ เพื่อให้เด็กและเยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีนี้สืบต่อไป





    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/region/135238
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ธันวาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...