เรื่องเด่น กลุ่มชาวพุทธ ร้อง ปปป. ตรวจสอบร่าง พ.ร.บ.สงฆ์ ฉบับใหม่ หลังมีข้อกฎหมายเอื้อประโยชนนักการเมือง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 3 กรกฎาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    88ae0b8b2e0b8a7e0b89ee0b8b8e0b897e0b898-e0b8a3e0b989e0b8ade0b887-e0b89be0b89be0b89b-e0b895e0b8a3.jpg

    กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน พร้อมด้วยเครือข่ายทนายปกป้องพระพุทธศาสนา นำโดยนายจรูญ วรรณกสิณานนท์ และนาวาเอกพิเศษวินัย เสวกวิ ยื่นหนังสือถึงผู้บังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป. เพื่อดำเนินคดีกับคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ) ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 จากกรณีการจัดทำร่าง พระราชบัญญัติสงฆ์ใหม่ โดยอ้างมติคณะรัฐมนตรีโดยมิชอบ

    ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ) ได้เปิดรับฟังความเห็นของพระภิกษุและประชาชนทั่วไปเพื่อประกอบการจัดทําร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ใหม่ โดยอ้างมติคณะรัฐมนตรีมีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 เมษายน 2560 ให้มีการจัดทําร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยอ้างเหตุผล 3 ข้อ คือ 1.มหาเถรสมาคมบางรูปแก่ชราภาพ ไม่อาจปฏิบัติงานได้ต่อเนื่อง 2.พระสงฆ์บางรูปต้องคดี ไม่ตั้งอยู่ในที่ศรัทธาของประชาชน และ3.องค์กรนี้เป็นหลักในการปกครองคณะสงฆ์ การปฏิรูป หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังฆมณฑล

    นายจรูญ มองว่า การกระทำดังกล่าวดูเร่งรัด และอาจเข้าข่ายฉ้อฉล ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เนื่องจากการเปิดรับฟังความเห็นเพียงแค่ 7 วัน และไม่มีมติคณะรัฐมนตรีมาพิจารณา รวมถึงไม่เชิญพระสงฆ์มาร่วมหารือ ซึ่งพระราชบัญญัติสงฆ์ ที่กรรมการกฤษฎีกากำหนดใหม่นั้น คือ ให้ยกเลิกกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตําแหน่ง /ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม และทรงให้พ้นจากตำแหน่งได้โดยตรง และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในการแต่งตั้งและถอดถอน ทั้งนี้ให้รวมไปถึงถอดถอนเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคด้วย และอาจเป็นช่องว่างให้นักการเมืองเสนอชื่อพระสงฆ์ที่มีความสนิท และควบคุมได้เข้าในมาปกครองพระสงฆ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพระสงฆ์ทุกรูป

    ทั้งนี้ผู้บังคับการ ปปป. ติดภารกิจจึงมอบหมายให้รองผู้บังคับการ ปปป. รับเรื่องไว้ ก่อจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และเข้าข่ายอำนาจ ปปป.ในการดำเนินคดีหรือไม่

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.springnews.co.th/view/299677
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...