"กษัตริย์ผู้ทรงอุทิศตน" พัฒนา"ปท.-คนไทย"ให้ดีขึ้น
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11209 มติชนรายวัน
องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก ถวาย"ในหลวง" รางวัล"โกลบอลลีดเดอร์"1ธ.ค.ยกย่อง"กษัตริย์ผู้ทรงอุทิศตน" พัฒนา"ปท.-คนไทย"ให้ดีขึ้นองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ทูลเกล้าฯรางวัล"โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด"ถวาย"ในหลวง" 1 ธ.ค. เป็นพระองค์แรก เชิดชูทรงอุทิศตนและใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมพัฒนาประเทศ ให้ชีวิตความเป็นอยู่ชาวไทยดีขึ้นนางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ว่า ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ นาย ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จะเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯถวายรางวัลโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) ซึ่งในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับการทูลเกล้าฯแทน โดยทรงเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรกที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้ โดยเหตุผลที่ WIPO ทูลเกล้าฯถวายรางวัลดังกล่าวเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริม และพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตา ชาวโลก นอกจากนี้ จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย (International Inventor Day)
"ในโครงการพระราชดำริต่างๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งาน และมี พระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี" นางพวงรัตน์กล่าว สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีหลายประเภท คือ ด้านสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร รวม 8 ฉบับ ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ สิทธิบัตรการใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล อนุสิทธิบัตรการใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ สิทธิบัตรการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) สิทธิบัตรภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกายสำหรับรองรับปัสสาวะผู้ป่วย สิทธิบัตรอุปกรณ์ควบคุมการ ผลักดันของเหลว สิทธิบัตรกระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน) สำหรับด้านเครื่องหมายการค้า ไม่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในพระปรมาภิไธย แต่พระราชทานให้ บริษัท สุวรรณชาด จำกัด และมูลนิธิชัยพัฒนา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 13 คำขอ ดังนี้ ให้บริษัท สุวรรณชาด จำกัด จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 7 คำขอ ประกอบด้วย เครื่องหมายการค้าสุวรรณชาด 1 คำขอ, ทองแดง 2 คำขอ, โกลเด้นเพลส 4 คำ ขอ บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 6 คำขอ ประกอบด้วย เครื่องหมายธรรมชาติ 5 คำขอ และมุมสบายๆ 1 คำขอ สำหรับด้านลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือต่างๆ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นต้น และที่ทรงจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 4 ผลงาน คือ ด้านวรรณกรรม 3 ผลงาน คือ หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่, โครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพระมหาชนก ด้านศิลปกรรม 1 ผลงาน คือ ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนก
นอกจากนี้ ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้รับการจดทะเบียนที่ยุโรป ซึ่งมีผลคุ้มครองในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปจำนวน 30 ประเทศ และ เขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐอยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐ นางพวงรัตน์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้าฯถวายเหรียญรางวัล และประกาศ นียบัตรต่างๆ แด่พระองค์มากมาย ประกอบด้วยสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (IFIA) ประเทศฮังการี ทูลเกล้าฯถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา และเหรียญ Genius Prize สำหรับผลงานทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียง สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลีใต้ (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก
<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>