กสินลมที่ดูลมหายใจนี่ทําไงครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 25 พฤษภาคม 2012.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สิ่งที่ผมเข้าใจถูกครับ

    คือกสินลมถ้าจะฝึกแบบดูลมหายใจ แล้วตามันจะไม่เหล่เหรอครับ

    แล้วอาปานุสติ คือการจิตไปรับรู้ลมว่าหายใจเข้า หายใจออก และหายใจสั้นยาวแค่ไหน หายใจออกยาวแค่ไหน แต่ กสินลมคือตามดูลมนี่ถูกไหมครับ ช่วยบอหน่อยครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,820
    กสิณลม ไม่ใช่ อานาปานสติ ครับ

    อานาปานสติ ผลคือ สมถะ ทำให้ จิต สงบ จนเป็น สมาธิ เป็น ฌาน ครับ

    อานาปานสติ เป็น1 ใน อนุสสติ 10



    โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง
    อนุสสติ ๑๐

    อนุสสติ แปลว่า "ตามระลึกถึง" กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
    มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
    บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน ๔ และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ เมื่อถึง
    กรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใด จะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ก็เหมาะแก่อารมณ์
    ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวด
    ก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปใน ราคจริตกองใด
    หมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใด ก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ อนุสสตินี้
    มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ..

    อานาปานานุสสติ สำหรับอานาปานานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน ๔ สำหรับท่านที่มีวาสนา
    บารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมีคือปรารถนาพุทธภูมิแล้ว ก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๕
    ฌาน ๔ หรือ ฌาน ๕ มีอาการแตกต่างกันอย่างไรต้องการทราบโปรดพลิกดูตอนต้นที่ว่าด้วยฌาน


    ๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน

    อานาปานานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่
    คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เสียสิ้น เพราะจะปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้อง
    กำหนดลมหายใจเสียก่อน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกำหนดลมหายใจร่วมไปพร้อม ๆ กับกำหนดพิจารณา
    กรรมฐานกองนั้น ๆ จึงจะได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าละเว้นการกำหนด
    เสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญ จะไม่ได้ผลรวดเร็วสมความมุ่งหมาย อานาปานุสสตินี้ มีผลถึงฌาน ๔
    สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นพุทธสาวก ถ้าท่านที่มีบารมีในวิสัยพุทธภูมิ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์คือท่าน
    ที่ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านผู้นั้นจะทรงฌานในอานาปาน์นี้ถึงฌานที่ ๕
    อานาปานุสสติระงับกายสังขาร

    เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นทางกาย ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสติ เข้าฌานในอานาปาน์
    จนถึงจตุตถฌานแล้ว ทุกขเวทนานั้นจะระงับไปทันที ทั้งนี้มิใช่หมายความว่าเวทนาหายไป แต่เป็น
    เพราะเมื่อเข้าถึงฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จิตจะแยกออกจากขันธ์ ๕ ไม่รับรู้ทุกขเวทนาของขันธ์
    ทันที ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสตินี้ ท่านจะไม่ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส เมื่อทุกข์ทางร่างกาย
    เกิดขึ้น เพราะท่านหนีทุกข์ได้ด้วยการเข้าฌาน แยกจิตกับขันธ์ ๕ ออกจากกันเป็นกรรมฐานที่ให้ผล
    สูงมาก

    รู้เวลาตายได้แน่นอน

    ท่านที่ได้ฌานอานาปานุสสตินี้ สามารถรู้กำหนดเวลาตายของท่านได้ตรงตามความจริง
    เสมอ โดยกำหนดล่วงหน้าได้เป็นเวลาแรมปี เมื่อจะตาย ท่านก็สามารถบอกได้ว่า เวลาเท่านั้นเท่านี้
    ท่านจะตาย และตายด้วยอาการอย่างไร เพราะโรคอะไร

    ช่วยกรรมฐานกองอื่น

    ท่านที่ได้ฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จะปฏิบัติในกรรมฐานกองอื่น ๆ อีก ๓๙ กองนั้น
    ท่านเข้าฌานในอานาปานน์ก่อน แล้วถอยหลังจิตมาดำรงอยู่แค่อุปจารสมาธิ แล้วกำหนดกรรมฐาน
    กองนั้นๆ ท่านจะเข้าถึงจุดสูงสุดในกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ภายใน ๓ วัน เป็นอย่างช้า ส่วนมาก
    ได้ถึงจุดสูงสุดของกรรมฐานกองนั้น ๆ ภายในที่นั่งเดียว คือคราวเดียวเท่านั้นเอง

    จุดจบของอานาปานุสสติ

    จุดจบของอานาปานุสสตินี้ คือ ฌานที่ ๔ หรือที่ ๕ ก็ได้แก่การกำหนดลมหายใจจนไม่
    ปรากฏลมหายใจ ที่ท่านเรียกกันว่าลมหายใจขาด แต่ความจริงลมหายใจไม่ขาดหายไปไหน เพียง
    แต่ว่ากายกับจิตแยกกันเด็ดขาด จิตไม่รับทราบอาการทางกายเท่านั้น เมื่อจิตไม่รับรู้เสียแล้ว การ
    หายใจ หรือการเคลื่อนไหวใด ๆ ทางกาย จึงไม่ปรากฏแก่จิตตามความนิยม ท่านเรียกว่า ลมขาด

    วิธีปฏิบัติในอานาปานุสสติ

    การปฏิบัติในอานาปานุสสตินี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่มีในองค์
    ภาวนา และไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก เพียงแต่คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกตามฐานที่กำหนดไว้ให้รู้
    อยู่หรือครบถ้วนเท่านั้น เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก พร้อมกับสังเกต
    ลมกระทบฐาน ๓ ฐาน ดังจะกล่าวต่อไปให้ทราบ

    ฐานที่กำหนดรู้ของลม

    ฐานกำหนดรู้ที่ลมเดินผ่านมี ๓ ฐาน คือ
    ก. ฐานที่ ๑ ท่านให้กำหนดที่ริมฝีปาก และที่จมูก เมื่อหายใจเข้า ลมจะกระทบที่จมูก
    เมื่อหายใจออกลมจะกระทบที่ริมฝีปาก
    ข. ฐานที่ ๒ หน้าอก เมื่อลมผ่านเข้าหรือผ่านออกก็ตาม ลมจะต้องกระทบที่หน้าอก หมายเอา
    ภายใน ไม่ใช่หน้าอกภายนอก ลมกระทบทั้งลมเข้าและลมออกเสมอ
    ค. ศูนย์ที่ท้องเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจเข้าหรือออกก็ตาม จะต้องกระทบที่ท้องเสมอ
    ทุกครั้ง
    ๓ ฐานนี้มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เพราะถ้าจิตกำหนดจับฐานใด
    ฐานหนึ่งไม่ครบ ๓ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของจิตระงับอกุศลที่เรียกว่านิวรณ์ ๕ ได้ แต่อารมณ์หยาบ
    อารมณ์อกุศลที่เป็นอารมณ์กลางและละเอียดยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้น อย่างสูงก็ได้เพียง
    ขณิกสมาธิละเอียดเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงอุปจารสมาธิ ยังไกลต่อฌานที่ ๑ มาก
    ถ้าท่านผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ลมผ่านได้ ๒ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของท่านผู้นั้นดับอกุศล คือ
    นิวรณ์ได้ในอารมณ์ปานกลาง ส่วนอารมณ์นิวรณ์ที่ละเอียดอันเป็นอนุสัย คือกำลังต่ำยังระงับไม่ได้
    สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็แค่อุปจารสมาธิ จวนจะเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
    ถ้าผู้ใดกำหนดรู้ ลมผ่านกระทบได้ทั้ง ๓ ฐาน ท่านว่าท่านผู้นั้นระงับนิวรณ์ละเอียดได้แล้ว
    สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน
    ส่วนฌานต่าง ๆ อีกสามคือ ฌานที่ ๑, ๒, ๓, ๔ อยากทราบโปรดพลิกไปดูในข้อที่ว่าด้วย
    ฌาน จะเข้าใจชัด

    นับลม

    การฝึกในอานาปาน์ จะว่าง่ายนั้น ก็ดูจะเป็นการยกเมฆเกินไป เพราะอานาปาน์เป็น
    กรรมฐานใหญ่ที่ครอบงำกรรมฐานทั้งหมด จะง่ายตามคิดนั้นคงเป็นไปไม่ได้แน่ ท่านที่ไม่เคยผ่าน
    คงคิดว่าไม่น่ายากเลย เรื่องคิดแล้วไม่ทำ นำเอาไปพูดนั้น ที่ว่าไม่ยากก็ไม่เถียง เพราะพวกนี้มี
    ความดีอยู่แค่ริมฝีปาก ส่วนอื่นทั้งตัวไม่มีอะไรดีเลย เลวเสีย ๙๙.๙๙ มีดีนิดเดียว ท่านจะคุยโม้
    อย่างไรก็ช่างท่านเถิด เรามาเอาดีทางปฏิบัติกันดีกว่า
    การกำหนดลมเป็นของยาก เพราะจิตของเราเคยท่องเที่ยวมานาน ตามใจเสียจนเคย
    จะมาบังคับกันปุบปับให้อยู่นั้นเมินเสียเถอะ ที่จิตจะยอมหมอบราบคาบแก้ว เมื่อระวังอยู่แกก็ทำท่า
    เหมือนจะยอมจำนน แต่พอเผลอเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แกก็ออกแน็บไปเหนือไปใต้ตามความ
    ต้องการของแก กว่าเจ้าของจะรู้ก็ไปไกลแล้ว อารมณ์ของจิตเป็นอย่างนี้ เมื่อทำไปถ้าเอาไม่อยู่
    ท่านให้ทำดังต่อไปนี้

    ฝึกทีละน้อย

    ท่านสอนให้นับลมหายใจเข้า หายใจออก เข้าครั้ง ออกครั้ง นับเป็นหนึ่ง ท่านให้กำหนด
    นับดังต่อไปนี้
    นับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เอาแค่เข้าออก ๕ คู่ นับไปและกำหนดรู้ฐานทั้ง ๓ ไปด้วย กำหนดใจ
    ไว้ว่า เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกเพียง ๔ คู่ พร้อมด้วยรู้ฐานลมทั้ง ๓ ฐาน แล้วก็เริ่มกำหนด
    ฐานและนับลม พอครบ ๕ คู่ ถ้าอารมณ์ยังสบาย ก็นับไป ๑ ถึง ๕ เอาแค่นั้น พอใจเริ่มพล่าน ถ้าเห็นท่า
    จะคลุมไม่ไหว ก็เลิกเสียหาความเพลิดเพลินตามความพอใจ เมื่ออารมณ์ดีแล้วกลับมานับกันใหม่
    ไม่ต้องภาวนา เอากันแค่รู้เป็นพอ เมื่อนับเพียง ๕ จนอารมณ์ชินไม่หนีไม่ส่ายแล้ว ก็ค่อยเลื่อนไปเป็น
    ๖ คู่ คือ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ ถ้า ๖ คู่ สบายดีไม่มีอะไรรบกวน แล้วก็ค่อยเลื่อนไปเป็น ๗ คู่ ๘ คู่ ๙ คู่
    ๑๐ คู่ จนกว่าอารมณ์จิตจะทรงเป็นฌานได้นานตามสมควร

    ผ่อนสั้นผ่อนยาว

    การเจริญอานาปานุสสตินี้ มีอาการสำคัญของนักปฏิบัติใหม่ ๆ อย่างหนึ่ง คืออารมณ์ซ่าน
    เวลาที่จิตใจไม่สงบจริงมีอยู่ พอเริ่มต้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เริ่มเล่นงานทันที บางรายวันนี้ทำได้เรียบร้อย
    อารมณ์สงัดเป็นพิเศษ จิตสงัดผ่องใส อารมณ์ปลอดโปร่งกายเบา อารมณ์อิ่มเอิบ พอรุ่งขึ้นอีกวัน คิดว่า
    จะดีกว่าวันแรก หรือเอาเพียงสม่ำเสมอแต่กลับผิดหวัง เพราะแทนที่จะสงัดเงียบ กลับฟุ้งซ่านจนระงับ
    ไม่อยู่ ก็ให้พยายามระงับ และนับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕,๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ถ้านับก็ไม่เอาเรื่องด้วย ยิ่งฟุ้งใหญ่
    ท่านตรัสสอนไว้ในบทอานาปานุสสติว่า เมื่อเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้จริง ๆ ท่านให้ปล่อยอารมณ์ แต่อย่า
    ปล่อยเลย ให้คอยระวังไว้ด้วย คือปล่อยให้คิดในเมื่อมันอยากคิด มันจะคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไป
    ตามสบาย ไม่นานนักอย่างมากไม่เกิน ๒๐ นาที อารมณ์ซ่านก็จะสงบระงับกลับเข้าสู่อารมณ์สมาธิ
    เมื่อเห็นว่าอารมณ์หายซ่านแล้วให้เริ่มกำหนดลมตามแบบ ๓ ฐานทันที ตอนนี้ปรากฏว่าอารมณ์สงัด
    เป็นอันดี มีอารมณ์เป็นฌานแจ่มใส อาการอย่างนี้มีแก่นักปฏิบัติอานาปานุสสติเป็นปกติ โปรดคอย
    ระลึกไว้ และปฏิบัติตามนี้จะได้ผลดี

    อานาปาน์พระพุทธเจ้าทรงเป็นปกติ

    เพื่อความอยู่เป็นสุขในสมบัติ ไม่มีสมาบัติใดที่จะอยู่เป็นสุขเท่า อานาปานานุสสติ เพราะ
    เป็นสมาบัติที่ระงับกายสังขาร คือดับเวทนาได้ดีกว่าสมาบัติอื่น แม้จะเป็นสมาบัติต้นก็ตาม พระอรหันต์
    ทุกองค์ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็ทรงอยู่เป็นสุขด้วยอานาปานานุสสติดังพระปรารภ
    ของพระองค์ที่ทรงปรารภแด่พระอานนท์ว่า อานันทะดูก่อนอานนท์ ตถาคตก็มากไปด้วยอานาปานุสสติ
    เป็นปกติประจำวัน เพราะอานาปานานุสสติระงับกายสังขารให้บรรเทาจากทุกขเวทนาได้ดีมากท่านที่
    ได้อานาปานานุสสติแล้ว จงฝึกฝนให้ชำนาญและคล่องแคล่วฉับไวในการเข้าฌานที่ ๔ เพื่อผลในการ
    ระงับทุกขเวทนาอย่างยิ่ง และเพื่อผลในการช่วยฝึกฌานในกองอื่นอีกอย่างหนึ่ง

    อานาปานานุสสติเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ

    ผลกำไรใหญ่อีกอย่างหนึ่งของอานาปานานุสสติก็คือ เอาอานาปานานุสสติเป็นบาทของ
    วิปัสสนาญาณ เพราะฌานที่ ๔ ของอานาปาน์ เป็นฌานระงับกายสังขาร ดับทุกขเวทนาได้ดี เมื่อ
    จะเจริญวิปัสสนาญาณต่อไป ท่านให้เข้าฌาน ๔ พอเป็นที่สบายแล้วถอยสมาธิมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ
    แล้วใคร่ครวญพิจารณาว่า ทุกขเวทนาที่เกิดแก่สังขาร เราจะรู้ว่าเป็นทุกข์ก็เพราะจิตที่ยึดถือเอาสังขาร
    เข้าไว้ ขณะที่เราเข้าฌาน ๔ จิตแยกจากสังขาร ทุกขเวทนาไม่ปรากฏแก่เราเลย ฉะนั้น ทุกข์ทั้งปวง
    ที่เรารับอยู่ก็เพราะอาศัยสังขารเป็นเหตุ การยึดถือสังขารเป็นทุกข์อย่างนี้ เราจะปล่อยไม่รับรู้เรื่องสังขาร
    ต่อไป คือไม่ต้องการสังขารอีก การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็กลับมามีสังขารอีกเมื่อหมดบุญ เราไม่
    ประสงค์การกลับมาเกิดอีก เทวดาหรือพรหม ยังมีปัจจัยให้มาเกิด เราไม่ต้องการ เราต้องการนิพพาน
    เท่านั้นที่หมดปัจจัยในการเกิด เราทราบแล้ว เพราะการเข้าฌาน ๔ ที่ขาดจากปัจจัยในสังขาร เป็นสุข
    อย่างยิ่ง แต่ฌานที่เข้าไปสามารถจะทรงได้ตลอดกาล สิ่งที่ทรงการละทุกขเวทนาได้ตลอดกาลก็คือ การ
    ปล่อยอุปาทาน ได้แก่ไม่รับรู้รับทราบสมบัติของโลกีย์ คือตัดความใคร่ความยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ
    สุข และไม่เดือดร้อนเมื่อสิ้นลาภ สิ้นยศ มีคนนินทา และประสบกับความทุกข์ จัดว่าเป็นอารมณ์ขัดข้อง
    และเราจะปล่อยอารมณ์จากความต้องการในความรัก ความอยากได้ ความโกรธ และพยาบาท
    ความเป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งปวง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุของความทุกข์ แล้วทำจิตให้ว่างจากอารมณ์
    นั้น ๆ พยายามเข้าฌานออกฌาน แล้วคิดอย่างนี้เป็นปกติ จิตจะหลุดพ้นจากอาสวกิเลสได้อย่าง
    ไม่ยากเลย

    (จบอานาปานานุสสติ)



    ********************************************************************************************************************************************************






    กสิณ แปลว่า เพ่ง

    ไม่ใช่ตามดูลม รู้ลมหายใจ แบบ อานาปานสติ ครับ คนละทางกันเลยครับ

    ไม่ใช่คิดเอาว่า ลมหายใจ คือ กสิณ เพราะมีคำว่า ลมเหมือนกัน นะคับ

    เขียนเหมือนกัน ไม่ใช่หมายความว่า อย่างเดียวกัน มีแต่คนที่ไม่เข้าใจไม่รู้สอนผิดๆ

    หรือ หรือ ทำ อานาปานสติ แล้วจะ ได้ กสิณ ลมไป ด้วย นี่ ถือว่า ไม่รู้จัก กสิณ แน่ๆ



    ลองอ่านหลายๆ รอบ นะครับ


    โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง

    วาโยกสิณ

    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้

    การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา

    การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้
    การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทนพัดลม หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณัง ๆๆๆ

    อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มี
    ไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้ว
    นั่นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
    สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือ
    คล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ


    สรุปสั้น นะ

    ให้อ่านคำว่า เป็นอารมณ์ หลายๆ รอบ จนกว่า จะตีความแตก เข้าใจ

    .

    กสิณ คือ กสิณ

    อานาปานสติ คือ อานาปานสติ

    ฝึกอย่างไหน ได้อย่างนั้นครับ อย่าเอาไป ปนมั่วเข้าใจผิดครับ ศึกษาให้มาก ปฏิบัติ ให้มาก

    กสิณ แปลว่า เพ่ง ถ้าไม่รู้จัก กสิณ คือ เพ่ง ก็แสดงว่า ไม่รู้จัก กสิณ


    กสิณ คือ เพ่ง เพ่ง ให้ อารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ใช่ อารมณ์สอง อารมณ์สาม-สี่ ไปเรื่อย แบบตามดูตามรู้ ลมเข้าลมหายใจออก ทำอย่างนั้น ก็ไม่มีทาง เป็น กสิณลม

    แต่ เพ่ง ให้ จนอารมณ์หนึ่ง จน จิตตั้งมั่น ยกขึ้นระดับ ฌาน กลายเป็น กสิณลม


    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม

    กสิณลม คืออะไร ก็คือการ เพ่งลม นั้นเอง คงเข้าใจคำว่า เพ่ง นะ




    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ


    กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง

    กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง

    กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง

    ตามดูตามรู้ ลมเข้าลมหายใจออก ทำอย่างนั้น ก็ไม่มีทาง เป็น กสิณลม



    พระพุทธเจ้า บัญญัติ แบ่งแยกตามหมวดหมู่ กรรมฐาน 40 ไว้อย่างชัดเจน ครับ

    .
    .














    กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง

    กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง

    กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง


    ตามดูตามรู้ ลมเข้าลมหายใจออก ทำอย่างนั้น ก็ไม่มีทาง เป็น กสิณลม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2012
  3. วัชรพงษศ์

    วัชรพงษศ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2012
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +15
    กระผมจะพยายามตอบตามความรู้ที่มีแต่เน้นโดยสัมมาทิฏฐิ

    กสิณลมเป็นกรรมฐานในหัวข้อกสิณในกองกรรมฐานทั้ง ๔0 ที่องค์บรมศาสดาองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้

    ละลึกบูชาพระคุณองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าคุณ องค์สมเด็จพระธรรมเจ้าคุณ องค์สมเด็จพระสงฆ์เจ้าคุณด้วยใจอันบริสุทธิ์ สมาทานศีลแลจิตให้บริสุทธิ สมาทานการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ให้เป็นไปโดยสัมมาทิฏฐิ

    พิจารณาถึงกสิณลมตามดูลมหายใจเข้าออกเป็นกัลยามิตรโดยมีศีลที่บริสุทธิ์แลจิตที่บริสุทธิ์เป็นปฐม แลปฏิบัติเพื่อระงับแลดับกิเลสเป็นสำคัญ พิจาณาลมให้จิตใจจดจ่ออยู่ในอารมณ์ๆเดียว เพื่อให้จิตใสจากกิเลส จิตสว่างจากกิเลส จิตสงบจากกิเลส เมื่อจิตเป็นธรรมชาติประภัสสรแล้วไซร้ ให้นำจิตที่ใสสว่างสงบจากกิเลส นั้นมาพิจาณาซึ่งปัญญาว่ารูปสัญญาตัวตนเราเขานั้นเป็นเพียงธาตุทั้ง ๔ดิน น้ำ ไฟ ลม มาประชุมรวมตัวตามเหตุแลปัจจัย แลตามกระแสแห่งกองกิเลส ทั้งกองกุศลกรรม แลกองอกุศลกรรม ทำให้มีรูปสัญญานามสัญญาจิตเจตสิกเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่ก็มีความแปรปรวนเป็นอนิจจังเป็นธรรมดา เมื่อเป็นอนิจจังแปรปรวนก็ทุกข์ทนได้ยากหากยึดติดถือมั่นในสิ่งไม่เที่ยงนั้นก็จักเป็นทุกข์ สุดท้ายก็เป็นอนัตตาไม่ควรไปยึดติดถือมั่นพิจาณาถึงพระไตรลักษณ์เพื่อความจางคลายหายไปจากกิเลส (เพราะตราบใดที่กิเลสยังไม่หมดการเดินทางในวัฏฏะสงสารก็ยังไม่จบสิ้น)

    แต่ที่สำคัญรากเหง้าแห่งวิปัสสนากรรมฐานมีศีลที่บริสุทธิ์แลจิตที่บริสุทธิ์แล้ว ยังต้องพิจารณาอย่างแยบคายโดยสัมมาทิฏฐิว่าจักพิจารณากองกรรมฐานหรือสติปัฐฐาน๔ ใดในการระงับแลดับกิเลสให้ตรงกับจริตของแต่ละรูปนาม
     
  4. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    นี่ไง ง่าย ก็ นั่งสมาธิหายใจเข้าออกแบบ พุท-โธ แต่ให้ภาวนาว่า วาโย กสิณณัง
    แล้วก็นึกถึงลมหายใจ เข้าโพลจมูก ผ่านมาที่ออก และ สะดือ เมื่อเริ่มคล่องแล้ว
    ให้กำหนดสีของลมหายใจ ที่เข้ามาในตัวเรา เมื่อเริ่มคล่องตัวแล้ว เราก็จะะเริ่มกำหนด รูปของลมว่าให้มันเป็นแบบไหนยังไงได้สบายครับ:cool:
     
  5. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอบคุณครับที่ตอบ
    ช่วยอธิบายอีกนิดหน่อยครับ คือ ดูลมหายใจแต่เปลี่ยนเป็น วาโยกสินณัง (อ่านไงครับ วาโย กสินังเปล่าครับ) แล้วไงต่อครับ
     
  6. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    เออนั่นแล่ะพิมพิ์โทษทีครับ หายใจเข้า วาโย ออก กสิณณัง และก็นึกถึงลมหายใจที่เราสูดเข้ามา ครับ ต่อเริ่มคล่องตัวแล้วก็ คิดถึงลมหายใจว่าให้เป็นสีแอะไรก็ได้ที่เราต้องการ แค่ั้นั้นแล่ะครับ:cool:
     
  7. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    โอเคครับขอบคุณครับผมเข้าวใจหละ
     
  8. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    อย่างที่หลายๆท่านได้ให้คำแนะนำต่อคุณไป กสิณ กับ อานาปานุสติ คนละเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันที่การใช้
    กสิณ ใช้ฝึกเพื่อให้ใจสงบ คือฝึกเพ่งลมหายใจ แบบ เพ่งนาน หรือดูลมหายใจเพื่อให้เกิดสมาธิ แต่
    อานาปานุสติ ใช้ขณะกำลังทำงานหรือกำลังทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง อันจำเป็นต้องใช้ลมหายใจในขณะนั้นเพื่อสร้างสมาธิเพื่อให้เกิดการระลึกได้ หรือเกิดปัญญา อย่างเฉียบไว ขอรับ
     
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    อย่างที่หลายๆท่านได้ให้คำแนะนำต่อคุณไป กสิณ กับ อานาปานุสติ คนละอย่างกัน และต่างกันที่การใช้
    กสิณ ใช้ฝึกเพื่อให้ใจสงบ คือฝึกเพ่งลมหายใจ แบบ เพ่งนาน หรือดูลมหายใจเพื่อให้เกิดสมาธิ คือนั่งสมาธินั้นแหละ แต่
    อานาปานุสติ ใช้ขณะกำลังทำงานหรือกำลังทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง อันจำเป็นต้องใช้ลมหายใจในขณะนั้นเพื่อสร้างสมาธิเพื่อให้เกิดการระลึกได้ หรือเกิดปัญญา อย่างเฉียบไว ขอรับ
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    อย่างที่หลายๆท่านได้ให้คำแนะนำต่อคุณไป กสิณ กับ อานาปานุสติ คนละอย่างกัน หมายถึงการปฏิบัติที่ต่างกัน และต่างกันที่การใช้
    กสิณ ใช้ฝึกเพื่อให้ใจสงบ คือฝึกเพ่งลมหายใจ แบบ เพ่งนาน หรือดูลมหายใจเพื่อให้เกิดสมาธิ คือนั่งสมาธินั้นแหละ แต่
    อานาปานุสติ ใช้ขณะกำลังทำงานหรือกำลังทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง อันจำเป็นต้องใช้ลมหายใจในขณะนั้นเพื่อสร้างสมาธิเพื่อให้เกิดการระลึกได้ หรือเกิดปัญญา อย่างเฉียบไว ขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...