การช่วยเหลือผู้อื่นของผู้บำเพ็ญบารมี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 29 กันยายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    อรรถกถา ขุททกนิกาย
    จริยาปิฏก


    •มหาบุรุษนั้น เมื่อควรทำสิ่งเป็นประโยชน์อันสมควรของตนแก่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านถึงความเป็นสหาย.อนึ่ง เมื่อทุกข์มีความเจ็บป่วยเป็นต้นเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้จัดการช่วยเหลือตามสมควร


    เมื่อสัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความเสื่อมมีความเสื่อมจากญาติและสมบัติเป็นต้นก็ช่วยบรรเทาความเศร้าโศก เป็นผู้ตั้งอยู่ในสภาพที่จะช่วยเหลือ

    ข่มผู้ที่ควรข่มโดยถูกธรรมเพื่อให้พ้นจากอกุศลแล้วตั้งอยู่ในกุศล. ยกย่องผู้ที่ควรยกย่องโดยธรรม.กรรมใดที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง กว้างขวางที่สุด มีอานุภาพเป็นอจินไตยอันนำประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียวอันพระมหาโพธิสัตว์แต่ก่อนได้ประพฤติแล้ว.



    โพธิสมภารของพระมหาโพธิสัตว์เหล่านั้นได้ถึงความแก่กล้าโดยชอบด้วยกรรมใด. ฟังกรรมเหล่านั้นแล้วไม่หวาดสะดุ้ง มหาบุรุษแม้เหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน.มีอัตภาพอบรมเพื่อความบริบูรณ์แห่งการศึกษาตามลำดับได้บรรลุถึงบารมีอย่างอุกฤษฏ์ในโพธิสมภารเพื่อถึงพร้อมด้วยอานุภาพอันยอดเยี่ยมเช่นนั้น. <!--MsgFile=0-->
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td><td rowspan="2" bgcolor="#000000" valign="top"><table bgcolor="#204080" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td width="10">[SIZE=-3] [/SIZE]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    มหาบุรุษเป็นผู้ ปกปิดความดี เปิดเผยโทษ. มักน้อย สันโดษสงัด ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ปากร้ายไม่แส่หาเรื่อง มีอินทรีย์สงบ ใจสงบปราศจากมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร เห็นภัยในโทษ แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ปรารภความเพียรมีตนมั่นคง ไม่คำนึงถึงกายและชีวิต. ไม่ยอมรับละบรรเทาความเพ่งในกายและชีวิตแม้มีประมาณน้อย. ไม่ต้องพูดถึงมีประมาณมากละ.


    ละบรรเทาอุปกิเลส มีโกรธและผูกโกรธเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งปวง.เป็นผู้ไม่ยินดีด้วยการบรรลุธรรมวิเศษอันมีประมาณน้อย.ไม่ท้อแท้ใจพยายามเพื่อบรรลุธรรมวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป. <!--MsgFile=1-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td><td rowspan="2" bgcolor="#000000" valign="top"><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td width="10">[SIZE=-3] [/SIZE]</td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td colspan="2" align="left" bgcolor="#000000"><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td width="10">[SIZE=-3] [/SIZE]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>
    สมบัติตามที่ได้แล้ว ไม่มีส่วนแห่งความเสื่อมหรือความมั่นคง.


    อนึ่งมหาบุรุษเป็นผู้นำคนตาบอด บอกทางให้.

    ให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่คนหูหนวกอนุเคราะห์ประโยชน์. คนใบ้ก็เหมือนกัน.

    ให้ตั้ง ให้ยานแก่คนพิการ หรือนำไป.


    คนไม่มีศรัทธาพยายามให้มีศรัทธา, คนเกียคร้านพยายามให้เกิดอุตสาหะ. คนหลงลืมพยามให้ได้สติ. คนมีใจวุ่นวายพยายามให้ได้สมาธิ. คนมีปัญญาทรามพยายามให้มีปัญญา. คนหมกมุ่นในกามฉันทะ.พยายามบรรเทากามฉันทะ. คนหมกมุ่นในพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
    และวิจิกิจฉา พยายามให้บรรเทา. คนไม่ปกติมีกามวิตกเป็นต้นพยายามบรรเทามิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็นต้น.


    อาศัยความเป็นผู้รู้คุณที่ทำแล้วแก่สัตว์ผู้เป็นบุรพการี จึงพูดขึ้นก่อน พูดน่ารัก สงเคราะห์ นับถือ โดยทำการตอบแทนเช่นเดียวกันหรือยิ่งกว่า.


    มหาบุรุษย่อมติดตามช่วยเหลือสหายในอันตรายทั้งหลาย. มหาบุรุษกำหนดรู้ตนและสภาพปกติของสหายเหล่านั้น ๆ แล้ว อยู่รวมกับสหายเหมือนที่เคยอยู่ร่วมกันมา. อนึ่ง ปฏิบัติในสหายเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา. ด้วยให้พ้นจากอกุศลแล้วให้ตั้งอยู่ในกุศล. มิใช่ให้ตั้งอยู่โดยอย่างอื่น. เพราะการตามรักษาจิตของผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความเจริญอย่างยิ่งเท่านั้น.เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น.ไม่ควรทะเลาะ.ไม่ควรให้ถึงความเป็นผู้เก้อเขิน เพราะอัธยาศัยนั้น.(1)ไม่ควรให้เกิดความ รังเกียจสัตว์อื่น.ควรทักท้วงในฐานะที่ควรข่ม. เมื่อเขาอยู่ต่ำกว่าไม่ควรวางตนในที่สูงกว่า.ไม่ควรคบในผู้อื่นจนหมดสิ้นก็หามิได้. ไม่ควรคบมากเกินไป.ไม่ควรคบพร่ำเพรื่อ.แต่คบสัตว์ที่ควรคบตามสมควรแก่กาละเทศะ.ไม่ติเตียนคนที่รักหรือสรรเสริญคนที่ไม่รัก ต่อหน้าผู้อื่น. ไม่วิสาสะกับคนที่ไม่คุ้นเคย. ไม่ปฏิเสธการเชื้อเชิญที่เป็นธรรม. ไม่แสดงตัวมากไป. ไม่รับของมากเกินไป.



    ย่อมยินดีกับผู้ที่มีศรัทธาด้วยการกล่าวอานิสงส์ของศรัทธา.อนึ่ง หากว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงกำลังปัญญา แสดงนรกเป็นต้น ตามสมควรด้วยกำลังอภิญญา ยังสัตว์ผู้ถึงความประมาทให้สังเวชแล้วยังสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้นให้ตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น. ให้หยั่งลงในศาสนา. ให้เจริญงอกงามในคุณสมบัติมีทานเป็นต้น.

    สัตว์นี้เป็นผู้ประพฤติตามจารีตของมหาบุรุษเป็นผู้หลั่งไหล บุญกุศลหาประมาณมิได้ ย่อมเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป พึงทราบด้วยประการฉะนี้.




    1. อธิบายว่า เมื่อเห็นเขามีพฤติกรรมไม่ดี ก็ไม่ควรดูหมิ่น ไม่ควรทำร้าย ไม่ควรชวนทะเลาะ หรือทำให้เขาเขิน เช่นไปจับผิด เพราะการตามรักษาจิตของผู้อื่นก็เพื่อประโยชน์ของเขา ทำให้เขาตั้งอยู่ในกุศลเท่านั้นไม่ใช่อย่างอื่น จึงไม่ควรทำร้ายหรือคิดไม่ดีต่อเขา ให้ช่วยเขาอย่างเดียว


    คัดลอกจาก
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 633

    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4751233/Y4751233.html

     

แชร์หน้านี้

Loading...