การดูจิตโดยปฏิบัติสัมมาสมาธิ ย่อมไม่คิดไปเองว่าจิตเป็นอนัตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 12 มิถุนายน 2010.

  1. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านเตชพโลครับ ท่านได้ยกเอาธรรมแถมได้ทำลิ้งค์มาให้
    ฉะนั้นแสดงว่า ท่านได้เชื่อและยอมรับเอาธรรมบทนี้
    ในส่วนของผม ถ้าผมเชื่อและยอมรับด้วยแสดงว่า เรายอมรับทั้งคู่
    ดังในเราคงไม่มีปัญหาเรื่อง..กาลามสูตรนะครับ
    เมื่อเรายอมรับแล้ว ผมจะได้เอาธรรมของท่านเป็น แม่บท และชี้ว่าคหต่างๆ
    ที่ท่านแสดงมันผิดตรงไหนบาง
    <B><BIG><BIG>ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค</BIG></BIG></B>
    <BIG>สติเจตสิก
    </BIG>
    <BIG>๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล</BIG>
    <BIG>ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์</BIG>
    <BIG>บทนี้ ขอคุยย้อนหลังหน่อย เพราะเรามีปัญหากันอยู่ที่ท่านแกล้ง</BIG>
    <BIG>โวยวายแล้วหลบหน้า</BIG>
    <BIG>.....จะเห็นได้ว่า สติเป็นธรรมที่เป็นกุศล เพราะไปยับยั้งไม่ให้จิตตก</BIG>
    <BIG>ไปในอกุศล</BIG>
    <BIG>แต่สติแบ่งเป็น2อย่างคือ สัมมาสติกับมิจฉาสติ</BIG>
    <BIG>สัมมาสติ เป็น สติในมรรค เป็นปฏิบัติให้พ้นทุกข์</BIG>
    <BIG>มิจฉาสติ เป็น สติในทางโลก เป็นการหยุดยั้ง ความประมาทในการ</BIG>
    <BIG>ดำเนินชีวิต</BIG>
    <BIG>......สรุปไอ้มิจฉาสติที่ท่านบอกเป็นอกุศล มันผิดหรือถูกครับฮิ.ฮิ.ฮิ

    สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
    </BIG>
    <BIG>ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้</BIG>
    <BIG>
    เรื่อง ถิรสัญญา คำนี้มีมาก่อนหรือเคยมีผู้ใช้มาแล้ว
    ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ท่านกับผม ข้อความนี้ผู้ที่กล่าวคือท่านpopฯ
    แต่ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า...ความหมายของคำว่า ถิรสัญญา
    ในบทความที่ท่านนำมา มันหมายถึงอะไร มีความหมายตามที่
    ท่านเข้าใจหรือไม่ ท่านบอก ถิรสัญญา ความจำที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง
    แต่บทความที่ท่านนำมามันหมายถึง จำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้
    .....รบกวนท่านย้อนไปดู ความหมายของผมที่ให้ไว้ ว่าอันไหน
    ใกล้เคียงที่สุด ระหว่างท่านกับผม

    ....ฮา ฮา ฮา มิน่าละตอนแรกไม่ยอมทำลิงค์มา เถียงไม่ดูตาม้า
    ตาเรือมันก็เป็นเช่นนี้แล
    �����Ը����͹�Ź�...




    </BIG>
     
  2. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านเจ้าของความเห็นนี้ครับ ผมไม่คุยเรื่องธรรมกับท่านแล้ว
    แต่ถ้าเป็นการคุยกันประสาชาวบ้านกิเลสหนา ผมยินดีคุยครับ
    ผมจะได้สอนถึง วิธีการใช้หรือความเข้าใจในการสื่อภาษาให้
    มิฉะนั้น คู่สนทนาต้องการสื่อให้รู้อย่างแต่ท่านกับเข้าใจไปอีกอย่าง
    แล้วผมจะ อธิบายความหมายหรือลักษณะของ คำหรือบทความต่างๆ
    ที่ได้ให้ไว้กับท่าน ผมยอมเสียเวลาครับ
    .....ก่อนอื่นผมขอบอกไว้ก่อนเลยว่า ถ้าท่านเอ่ยเรื่องธรรมหรือดึงไปในคำ
    สอนของผู้ใด ผมสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตอบ
    ...เพราะตั้งแต่คุยกันมา ผมมีความรู้สึกว่าท่าน ไม่ประสงค์ถกเรื่องธรรมเป็น
    หลัก แต่ท่านจ้องที่จะทำลายผู้ที่เห็นต่าง ด้วยหรือโดยการ นำเอาศรัทธา
    ของชาวบ้านซึ่งมีต่อบุคคล มาเป็นเครื่องมือ บอกได้เลยว่า มันไม่แฟร์
    ผมหวังว่าท่านจะเข้าใจนะครับ

    .....การที่ผมเอ่ยชื่อ หลวงตาไต๋หรือมหาสมปอง ก็เพราะ
    จะบอกหรือชี้ให้รู้ว่า เราสองคนคุยกัน แต่อ้างว่าเป็นคำพูด
    ของคนนั้นคนนี้ ผมก็เลยยกท่านเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อให้ท่านรู้ตัวว่า
    การกระทำของท่านมันตลกสิ้นดี
    .....ท่านไม่รู้สึกเลยหรือว่า บุคคลทั้งสองที่ผมอ้าง อีกคนมีตัวตนหรือ
    เปล่าก็ไม่รู้ อีกคนแค่ได้ยินชื่อก็ขำแล้ว
    มันไม่ได้เป็นการอ้างเพื่อเอาสาระครับ แต่เป็นการกระทบกระเทียบว่า
    สิ่งที่ท่านทำมันไม่สมควร

    คำว่า พุทโถ่ ก็เช่นกันครับ เป็นการล้อเลียนท่าน ที่อ้างแต่พุทโธ แต่
    ให้ความหมาย หรืออธิบายความไม่ได้เรื่องครับ
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณmikasครับ

    ผมขอเถอะนะครับ เลิกใช้คำว่า "สติเกิดเอง" ได้แล้วครับ

    คุณพูดมาทั้งหมดนั้น สติมันไม่ได้เกิดเองเลยครับ

    คุณเป็นผู้เพียรสร้างให้สติมันเกิดจนเป็นนิสัยของคุณเองต่างหากครับ

    สติมันไม่ได้เกิดเอง มันเป็นไปของมันเอง จากการที่เราได้ฝึกฝนมาใช่มั้ยครับ???

    ผมจำได้ว่าเราเคยถกเรื่องนี้ กันมานานพอสมควรแล้วนะครับ "เรื่องสติไม่ได้เกิดเอง"

    ;aa24
     
  4. poppykun

    poppykun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +82
    คุณมิกัสหากอยากถกเรื่อง "สติ" นี้จริงๆ เชิญไปอ่าน และ (หรือ) แสดงความเห็นได้ที่นี่ครับ
    รากเหง้าอ้างอิงคำสอนท่านปราโมทย์....มาจากการตัดต่อเทศน์หลวงตา
     
  5. poppykun

    poppykun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +82
    ไม่ใช่คำตอบนะครับ ผมถามว่า
    "ตกลง คุณบุญฯ เคยหรือไม่เคยพุทโธ กันแน่" เท่านั้นเอง
    ..
    ..
    เรื่อง "บังคับสติ" ที่หลวงตามหาบัวเทศน์ ไม่เป็นสาระในการถกธรรมะตรงไหน???
     
  6. มังกี้

    มังกี้ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +66
    อนาถว่ะ พอถามเรื่องคุณไสย ก็ทำเป็นวางไว้ก่อน ไม่พูดถึง ทั้งๆที่หลักฐานมันก็ตำตาอยู่แล้ว

    พอถกธรรมกับคนอื่น ก็แถไปได้เรื่อยๆ น่าสังเวช

    อย่างคุณ Mikas คงจะมีปัญญา เก่งเฉพาะในทีี่นี้กระมัง ออกไปนอกเว็บพลังจิต ไม่มีการดูแลจากเว็บมาสเตอร์ ก็เป็นแค่ใบลานเปื่อย

    ขอเชิญไปตั้งกระทู้แถต่อได้ที่ http://www.antiwimutti.net/forum ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2010
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    พระป่าสอนเรื่องคุณไสย การโดน การแก้ และมีพระรับแก้

    พระป่าบอกว่า ครูบาอาจารย์สายพระป่าโดนคุณไสยไหม? โดน!!!

    พระป่าบอกว่า คนโดนคุณไสยโดนตอนไหน ? ตอนเผลอ เหม่อ ไม่มีสติ !! เพราะไปเชื่อ

    พระป่าสอนวิธีรับคุณไสย ก่อนโดน ระหว่างโดน โดนไปแล้ว
    - ก่อนโดน ให้ภาวนาให้ได้ธรรม ก็จะได้เครื่องป้องกัน
    - ระหว่างโดน ให้ดูจิต(ตามดูเงาของจิต ให้เห็นว่า อาการเหล่านั้นคือเงาของจิต จนกว่าเห็นจิต)
    - หลังโดน ให้รับว่าเป็นเรื่องของเวรของกรรม แล้วหมั่นขออโหสิกรรม

    ฟังดูนะ แต่ขออนุญาติสงวนชื่อพระให้เกิดความสงบ

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.1022242/[/music]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2012
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เล่าปัง*, Mikas, มังกี้ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. Mikas

    Mikas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +342
    สวัสดีครับ คุณ ธรรมภูต

    ผมเห็นด้วยครับว่าคำว่า "สติเกิดเอง" นี้มันทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิด และทำให้ทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี้

    แต่.. จะหาคำไดอธิบายสภาวะที่ "จิตระลึกรู้สภาวะ โดยไร้การบังคับ" ได้ดีไปกว่าคำนี้หละครับ

    หลวงตา ท่านใช้คำว่า "จิตกำหนดรู้เอง" ซึ่งถ้าฟังไม่เข้าใจ แล้วไม่สอบถามท่าน ก็มีโอกาศที่จะเพี้ยนได้ ไม่ต่างกัน

    ผมคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดก็คือ ถ้าเราไม่เข้าใจ หรือคิดว่าไม่ใช่ เราก็ควรสอบถาม กับ ผู้พูดนั้นโดยตรง ถึงความหมายจริงๆ ที่ผู้พูดต้องการจะืสื่อออกมา ครับ

    ถ้าเราเข้าใจแน่แล้วว่า สิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่ออะไร แล้วยังคิดว่ามันผิด ก็ควรจะแสดงความคิดเห็นของเราเข้าไป ว่าจริงๆ แล้วมันควรจะเป็นอย่างไร ตรงนี้จะช่วยลดการสื่อสาร ที่คลาดเคลื่อน และทำให้หาข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ได้ดีขึ้นมากครับ
     
  10. Mikas

    Mikas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +342
  11. poppykun

    poppykun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +82
    สงวนชื่อ??? ใครฟังเสียงก็รู้ว่า หลวงพ่อสงบ
    จะหลอกตัวเองหรือ ยังไง เล่าปัง???

    มีคนถามเรื่องคุณไสยเพราะเค้ากังวล ท่านก็เมตตาตอบ
    ท่านตอบว่า "ถ้าอยู่กับพุทโธอย่างแท้จริง ไม่มีทางโดน"
    ถูกมั้ยครับ คุณเล่าปัง พุทธานุสติรักษา เชื่อมั้ยครับ???

    แต่บางคน ไม่มีใครถาม ดันพูดออกมาให้วิตกจริตกันทั่ว
    ท่านนั้นมีเจตนาในการพูดเรื่องคุณไสย เพื่ออะไร เค้าดูกันออกหมดแล้วจ้า
    คุณเล่าปังดูออกมั้ย หรือ ฝุ่นผงเข้าตาจนมองไม่ออก???

    ปล....
    ชอบเหลือเกินนะทำ "กรรมหนัก" เนี่ย
    ครั้งก่อนก็ตัดช่วงที่ท่านเทศน์เรื่อง "เข้าสมาธิได้ทันที" โดยไม่รู้พื้นการฝึกของท่าน
    ขาดสติอย่างหนักเลยนะเนี่ย
     
  12. k.pantang

    k.pantang Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +44
    ........

    จะยึดก็ใช้ธรรมยึด...
    จะละก็ใช้ธรรมละ ....

    .........

    นั่นจึงจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรม .....
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณmikasครับ

    คุณเองก็เข้าใจนิครับว่า"จิตกำหนดรู้เอง" แล้วเพราะอะไรหละครับ จิตจึงกำหนดรู้เองได้

    คงไม่ใช่อยู่ดีๆ จิตก็กำหนดรู้ของมันเองขึ้นมาได้ใช่มั้ยครับ???

    เราต้องผ่านบังคับการฝึกฝนอบรมจิตให้มีสติเกิดขึ้นมาก่อน จนจิตชำนาญใช่มั้ยครับ???

    จิตจึงกำหนดรู้เองได้ โดยที่ไม่ต้องบังคับใช่มั้ยครับ???

    สรุปว่า เราต้องบังคับฝึกฝนให้จิตมีสติเกิดขึ้นมาก่อน สติจึงเป็นไปของมันเองใช่มั้ครับ???

    ของแบบนี้จะมาพูดกำกวมไม่ได้นะครับ ผู้เริ่มต้นใหม่จะเข้าใจผิดจากความเป็นจริงไปครับ

    ;aa24
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    ก็อย่างที่ผมบอกคุณนั่นล่ะ
    กาลามสูตร สำคัญสำหรับคุณมากในตอนนี้

    เอาไว้ผมสะดวกกว่านี้ผมจะตอบให้แล้วกัน
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    เอ้า...ตอบให้อีกนิด

    ก็บอกแล้วคุณมันประเภทหนอนแทะกระดาษ
    ตำราเขียนยังไงเชื่อไปหมด

    นักปฏิบัติที่รู้จริงเห็นจริง
    รู้ได้ทันทีเลยนะ ว่าตำราไหนของจริงของปลอม
    มันส่อให้เห็นถึงผู้แปลเลยนะ
    และส่อให้เห็นถึงผู้นำมาใช้ด้วย
    ว่าเป็นคนเช่นไร
    ปฏิบัติรู้จริงเห็นจริงหรือเปล่า
     
  16. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านเตชอย่าทำตัวประเภท เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
    หรืออีกนัยว่า องุ่นเปรี้ยว

    อะไรกันนักกันหนาครับ ท่านเป็นคนยกเอามาอ้างเอง ยกมาก็ยกไม่หมด
    ไม่ให้ลิงค์มา ต้องให้ทวง แล้วก็เลือกเอาที่เถียงกับเขาได้ ส่วนที่ขัดแย้ง
    ความเห็นตัวเองซุกไว้ซ่อนไว้
    อันนี้เรียก เกลียดตัวกินไข่ฯ แล้วที่นำมาเถียงน่ะมันถูกคนหรือเปล่าครับ

    ...บทความที่ท่านนำมา ท่านคงคิดว่า คงเอาชนะคนอื่นได้ แต่มันกลับตรงกันข้าม
    มันประจานตัวเอง ในเรื่องคิดไม่ซื่อ เจ้าเล่ห์แถมไม่มีวิจารณญาณ
    ในเรื่องเหตุผลและบุคคล
    บทความที่ท่านนำมา ท่านหมายมั่นว่าจะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้
    แต่กลับตาปัตร แทนที่คู่สนทนาจะจนมุม กลับเป็นท่านนั้นแหล่ะที่จนตรอก
    พอตัวจนตรอกแล้ว เห็นว่าบทความที่นำมา ใช้ไม่ได้ผล ก็เลยพูดแบบ
    ขอไปทีว่า ให้ใช้กาลามสูตร มันอะไรกันหว่า!

    ตอนแรกคิดว่าจะชนะก็อ้างอิงบทความนี้ แต่พอเวลาเสียประโยชน์
    หรือใช้ประโยชน์ไม่ได้ ดันบอกว่าให้ใช้กาลามสูตร มันเหมือนหมาป่าเห็น
    องุ่นอยู่บนต้น ใจคิดว่าคงหวานหอมน่ากิน จึงกระโดดงับ กระโดดเท่าไร
    ก็งับเอามากินไม่ได้สักที เลยล้มเลิกแล้วกล่าวว่า...องุ่นมันเปรี้ยว ฮิ ฮิ ฮิ
     
  17. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านว่าผมเป็นหนอนแทะกระดาษหรือครับฮา ฮา ฮา
    ท่านนั้นเองล่ะครับที่เป็น เชื้อราบนทิชชู่

    มันใครกันแน่ครับที่เชื่อตามตำราไปหมด ผมว่าท่านกำลังสับสนงุนง่าน

    ที่เราเถียงกันอยู่ เป็นเรื่อง ความหมายและคำแปลของคำว่า ถิรสัญญา
    แล้วใครกันครับที่บอกว่า ผมแปลหรือให้ความหมายผิด ก็เป็นตัวท่านที่ชี้ว่า
    ผมแปลผิด แล้วท่านก็ให้คำแปลมา ซึ่งมันตรงกับในพจนาณุกรม
    แสดงว่า ท่านนำมาจากพจนาณุกรม แล้วไอ้พจนาณุกรมมันก็เป็น ตำรานะครับ

    ดูจากเหตุผลแล้ว สรุปใครกันครับเป็นหนอนแทะกระดาษ
    ใครเป็นเชื่อราบนทิชชู่ครับ
    อะไรกันครับ พึ่งว่าผมอยู่แม็บๆว่าเป็นหนอนแทะกระดาษ
    ท่านนี้ไม่ได้อยู่กับร่องกับรอยเลย ตอนนี้อ้างตำราจริงตำราปลอมอีกแล้ว

    ก็ปฏิบัติแล้วผลที่ได้มาพูดงัยครับ คำแปลถึงได้ผิดจากที่ท่านแปล
    ซึ่งคำแปลของท่านมันก็เอามาจากตำรา พจนานุกรม มันถึงได้ตรงกันเป๊ะ
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    บอกตรง ๆ ผมสงสารคุณนะ
    ที่พวกคุณหรือสำนักของคุณพูดมาผมผ่านมาหมดแล้วล่ะ

    ก็จะให้ว่าไง
    รู้แล้วก็บอกว่ารู้แล้วใช่มั้ยล่ะ

    ก็ผมรู้อยู่ชัด ๆ ว่าพวกคุณหลงทางกันอยู่
    ผมก็มาบอกว่าพวกคุณหลงทางกันอยู่นะ

    คุณจะเอาก็เอานะไม่เอาก็เรื่องของคุณ

    ผมถึงได้ย้ำนักย้ำหนาไงว่าที่คุณรู้แล้วเอามาบอกนี้ผมผ่านมาหมดแล้วนะ
    แต่ที่พวกคุณยังไม่รู้ยังมีอีกเยอะ

    ก็ผมรู้ผมถึงได้มาบอกนี่ไงล่ะ
     
  19. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    คุณรู้มั้ยที่ผ่านมาผมปล่อยคุณเฉย ๆ นะ
    ปล่อยให้คุณแสดงลูกเล่นต่าง ๆ ออกมาเท่านั้นเอง

    คุณคิดว่าคนอื่นเค้าจะมองไม่ออกเหรอว่าคุณใช้ลูกเล่นตุกติกหลายเรื่อง

    แต่มันสายไปแล้ว เพราะตัวคุณถูกเปิดเผยออกมาจนหมดเปลือกแล้ว
     
  20. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    การเกิดดับและวิถีจิต

    <!-- Main -->ธรรมชาติการ เกิด-ดับ ของจิต

    จิตเป็นธรรมชาติที่เกิดดับเร็วที่สุดไม่มีอะไรที่รวดเร็วเท่าจิต เมื่อจิตดวงหนึ่งดับไป จิตดวงหนึ่งก็เกิดขึ้นมาแทนที่ แต่ก่อนที่จิตดวงก่อนจะดับไปนั้น ได้ทิ้งเชื้อคือกรรมและกิเลสไว้ให้จิตดวงต่อไป เหมือนกับมารดาบิดา แม้จะตายจากไปแล้วก็ยังได้ทิ้งกรรมพันธุ์ให้แก่ลูกหลานได้นำสืบไป การเกิดดับของจิตเป็นไปรวดเร็วติดต่อกัน จนเราไม่อาจที่จะกำหนดได้ เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ติดต่อกันรวดเร็วจนเราไม่อาจจะสังเกตได้

    จิตเกิดดับครั้งหนึ่งเรียกว่า “ขณะหนึ่ง หรือดวงหนึ่งของจิต” และจิตดวงหนึ่งยังมีขณะเล็กหรืออนุขณะอีก ๓ คือ อุปปาทขณะ ฐิติขณะและภังคขณะ

    ขณะที่จิตเริ่มเกิด เรียกว่า อุปปาทขณะ ขณะที่จิตตั้งอยู่ยังไม่ดับไป เรียกว่า ฐิติขณะ ส่วนขณะที่จิตกำลังดับไป เรียกว่า ภังคขณะ

    อายุของจิตขณะหนึ่ง ๆ มีความเกิดดับรวดเร็วมาก ซึ่งเมื่อเปรียบกับอายุของรูปที่ปรากฏขึ้นขณะหนึ่ง ๆ แล้ว ก็คือจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะใหญ่ เท่ากับรูปดับไปครั้งหนึ่ง ดังที่พระอนุรุทธาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ว่า ตานิ ปน สตฺตรส จิตฺตกฺขณานิ รูปธมฺมานมายูฯ แปลความว่า “อายุของจิต ๑๗ ขณะใหญ่ เท่ากับอายุของรูป ๑ ขณะ”

    อายุของรูปธรรมที่นำมาเปรียบกับจิตนี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะรูป ๒๒ รูป (เว้นวิญญัติรูป ๒ และลักขณรูป ๔)

    ลักษณะการดับหรือการตายของรูปร่างกายนี้ก็นับว่ารวดเร็วมาก แต่ก็ยังนับว่าช้ากว่าการดับของจิตถึง ๑๗ เท่า ลักษณะการดับของรูปหรือการตายของรูปนั้น มีอยู่ตลอดเวลาในร่างกายของคนเรา แต่เราไม่อาจจะสังเกตเห็นได้ เพราะมีรูปเกิดขึ้นมาทดแทนรวดเร็วมากเช่นเมื่อเซลล์เนื้อ หรือเซลล์เส้นผมก็ตาม และเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเหล่านี้เล็กมาก เราจึงไม่อาจจะสังเกตเห็นมันได้ แต่ถ้าเราไม่ใช้กล้องจุลทัศน์ส่องดูแล้ว เราก็จะทราบได้ว่าเซลล์เหล่านี้ตายแล้วเกิดใหม่ขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลาซึ่งหลักการอันนี้ของพุทธศาสนาก็ตรงกับหลักของสรีรวิทยาหรือชีววิทยาทางด้านวิทยาศาสตร์


    ขณะจิตทั้ง ๑๗ ขณะ เป็นคำสอนที่ละเอียดสุขุมมากอย่างหนึ่งในพระอภิธรรม จะนำมาอธิบายแต่โดยย่อ ดังนี้

    ขณะจิตที่ ๑ อตีตภวังค์
    เป็นภวังคจิตที่กระทบกับอารมณ์ทั้ง ๕ มีรูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบันเป็นครั้งแรก
    การที่จะเข้าใจอตีตภวังค์ก็จำต้องเข้าใจลักษณะของภวังคจิตเสียก่อน ภวังคจิตหมายถึงจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติ
    คือรักษาผลของกรรมที่ถือกำเนิดมาในภพชาตินั้น ๆ และรักษารูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานให้ดำรงอยู่ในอาการปกติ
    เช่น รูปที่เกิดจากการหายใจเข้าออกเป็นต้น

    ภวังคจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่รักษาสืบเนื่องมาแต่ภพก่อน ซึ่งเรียกว่าอารมณ์เก่าหรืออดีตอารมณ์
    ได้แก่ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่ากรรม กรรมนิมิต และคตินิมิต
    อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ซึ่งจิตเริ่มรับมาแต่ปฏิสนธิวิญญาณปรากฏขึ้นแล้วดับลงไป ต่อจากนั้น คือในทันใดนั้น
    ปฐมภวังค์ คือ ภวังคจิตดวงแรกที่เกิดขึ้นในภพใหม่ก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นสืบต่อจากปฏิสนธิวิญญาณ
    แล้วภวังคจิตดวงอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์เช่นเดียวกันนี้เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต

    ในช่วงระหว่างปฏิสนธิกับจุติในภพชาติหนี่ง ๆ ภวังคจิตจะทำหน้าที่รับอตีตารมณ์
    (คือ กรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง) เรื่อย ๆ ไป ถ้าไม่มีอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันชาติ
    มากระทบภวังคจิตให้ไหวเปลี่ยนไปรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นแล้ว จิตจะคงรับอารมณ์เก่าเป็นภวังคจิต
    รักษาภพชาติของตนอยู่สืบไป ภวังคจิตเช่นนี้เองที่เรียกว่า อตีตภวังค์ จิตในขณะนี้ยังไม่ขึ้นสู่วิถี
    ยังเป็นวิถีมุตตจิต คือจิตที่พ้นจากวิถีอยู่ ยังไม่ได้ขึ้นสู่วิถี

    ขณะจิตที่ ๒ ภวังคจลนะ
    มีความเคลื่อนไหวของภวังคจิต หรืออาการที่ภวังคจิตเคลื่อนไหว เป็นภวังคจิตที่เกิดต่อจากอตีตภวังค์
    มีอาการไหวคลายจากอารมณ์เก่า แต่ยังคงเป็นภวังคจิตอยู่นั่นเอง แต่ต่างกับอตีตภวังค์ตรงที่มีการกระทบกับอารมณ์ใหม่
    แล้วเกิดความไหวขึ้น จิตดวงนี้ก็จัดเป็น วิถีมุตตจิต คือจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถีเช่นกัน

    ขณะจิตที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ
    เป็นภวังคจิตที่เริ่มตัดขาดอารมณ์เก่า กำลังจะเตรียมตัวขึ้นสู่วิถีจิต คือภวังคจิตที่เริ่มปล่อยอารมณ์เก่า
    จนขาดจากอารมณ์เก่าที่ตรงกับภังคขณะ (ขณะดับ) ของจิต แต่จิตในขณะนี้ยังรับอารมรมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เป็นจิตที่ขึ้นสู่วิถี

    ขณะจิตที่ ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ
    เป็นอเหตุกจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
    ให้รู้ว่าอารมณ์ที่มากระทบนั้น เป็นอารมณ์ที่มาจากทวารไหน เพื่อเป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่วิญญาณทางทวารนั้น ๆ

    ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้ เป็นจิตที่รับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเป็นครั้งแรกในวิถีหนึ่ง ๆ
    จึงนับเป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ใหม่ เป็นปัจจัย (เหตุหนุน) แก่จิตดวงต่อ ๆ ไปให้รับปัญจารมณ์นั้นไปจนสุดวิถี


    ขณะจิตที่ ๕ ปัญจวิญญาณ
    คือ จิต ๕ ดวงที่เกิดขึ้นรับปัญจารมณ์ดวงใดดวงหนึ่งตามสมควรแก่อารมณ์ที่มากระทบในขณะนั้นคือ
    ๑. จักขุวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับรูปารมณ์ คือเห็นรูป
    ๒. โสตวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับสัททารมณ์ คือฟังเสียง
    ๓. ฆานวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับคันธารมณ์ คือสูดกลิ่น
    ๔. ชิวหาวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับรสารมณ์ คือรู้รส
    ๕. กายวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับโผฏฐัพพารมณ์ คือรู้สัมผัสทางกายทวาร และอารมณ์เพื่อทำกิจในการเห็นหรือการได้ยินเป็นต้น

    เมื่อปัญจวิญญาณ อันเป็นขณะจิตดวงที่ ๕ ดับลง
    ขณะจิตที่ ๖ คือ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ ที่ได้เห็นหรือได้ยินเป็นต้น
    และส่งมอบอารมณ์นั้นต่อไปให้กับสันตีรณะ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับลง
    ขณะจิตที่ ๗ คือ สันตีรณะ ก็เกิดขึ้นเพื่อไต่สวนอารมณ์ที่ได้รับมาจากสัมปฏิจฉันนะ
    เพื่อให้รู้ว่าอารมณ์ที่ได้รับนี้ดีหรือไม่ดีประการใด ถ้าเป็นอติอิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ดียิ่ง
    โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากจิตก็เกิดขึ้นทำหน้าที่พิจารณาไต่สวนอารมณ์นั้น
    ถ้าเป็นอิฏฐมัชฌัตตารมณ์คืออารมณ์ดีปานกลาง อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิตก็เกิดขึ้นทำหน้าที่รับอารมณ์นั้น
    แต่ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ไม่ดี อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากจิตก็ทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอารมณ์นั้น
    แล้วดับไปพร้อมกับส่งมอบให้กับโวฏฐัพพนจิต

    เมื่อสันตีรณจิตดับลง
    ขณะจิตที่ ๘ โวฏฐัพพนจิต ก็เกิดขึ้นทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ คือ ตัดสินอารมณ์ว่าจะให้เป็นกุศลหรืออกุศลต่อไป
    เมื่อโวฏฐัพพนจิตดับลงแล้ว ขณะจิตที่ ๙ คือ ชวนะ ก็เกิดขึ้น

    ขณะจิตที่ ๙ คือ ชวนะ
    ทำหน้าที่ชวนกิจ คือเสวยหรือเสพรสของอารมณ์ที่โวฏฐัพพนจิต ได้ตัดสินแล้วนั้น
    โดยความเป็นกุศลชวนะหรืออกุศล ชวนะจิตดวงนี้เรียกชวนจิตเพราะทำหน้าที่เสพรสแห่งอารมณ์ที่เป็นกุศลอกุศล
    หรือบุญบาปที่ปรากฏขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้อนี้หมายความว่า บุญหรือบาปจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องเข้าถึงชวนจิตเสียก่อน
    เว้นไว้แต่ชวนจิตของพระอรหันต์ที่จัดเป็นกิริยาชวนะ เพราะเป็นจิตที่พ้นจากอารมณ์ที่พ้นจากกรรมอันเป็นกุศลหรืออกุศลแล้ว

    นับตั้งแต่ขณะจิตที่ ๙ ถึงขณะจิตที่ ๑๕ ทั้ง ๗ ขณะจิตนี้จิตทำหน้าที่เพื่อเสวยรสของอารมณ์เป็นชวนกิจอย่างเดียว
    ในกามชวนะนี้มีขณะจิตเกิดได้ทั้ง ๗ ขณะ เมื่อชวนจิตทำหน้าที่เสวยรสแห่งอารมณ์ไปแล้ว ๗ ขณะ ก็ดับลง

    ต่อจากนั้นขณะจิตที่ ๑๖ และที่ ๑๗ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ เพื่อหน่วงอารมณ์นั้นลงสู่ภวังค์ตามเดิม
    เรียกจิตทั้ง ๒ ดวงนี้ว่า ตทาลัมพนจิต

    ขณะจิตที่ ๑๖ และ ๑๗ คือ ตทาลัมพนจิต
    เกิดเพื่อรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะตามสมควรแก่อารมณ์ และจะต้องเกิดขึ้น ๒ ครั้ง หรือ ๒ ขณะเสมอไป
    เท่ากับอายุของอารมณ์ที่ดำรงอยู่ได้ เมื่อถึงขณะจิตที่ ๑๗ พอดี ก็เป็นอันสุดวิถีจิตในวิถีหนึ่ง ๆ

    ต่อจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของภวังคจิตเกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อไป

    ........................................................................................................................


    พระอภิธรรมกล่าวไว้ตรงๆ จิตเกิดดับสืบเนื่องกัน(17 ขณะ)
    ผู้มีปัญญาทั้งหลายพิจารณากันเองเถิด......
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...