การที่เรานับถือหลวงพ่อและพระพุทธเจ้านี่เป็นกิเลสมั้ย โดย หลวงพี่เล็ก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 14 สิงหาคม 2009.

  1. Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647



    ถาม : การที่เรานับถือหลวงพ่อและพระพุทธเจ้านี่เป็นกิเลสมั้ย ?
    ตอบ : เป็น... เราเรียก ธรรมฉันทะ ความพอใจในสิ่งที่ถูกต้องสมควร มันไม่ใช่กิเลส มันไม่ใช่ตัญหามันเป็นจุดเกาะจุดยึดอย่างหนึ่งของกำลังใจ แต่ว่ายึดในขั้นแรกเท่านั้น พอนาน ๆ ไปกำลังใจมั่นคงขึ้นก็จะเหลือจุดอัตตาหิ อัตตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน มันก็จะเริ่มปล่อย คราวนี้พอปล่อยลงจนกระทั่งหมดนะ พอถึงท้าย ๆ แล้วกระทั่งคำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือคำว่า นิพพาน ก็ไม่มี แต่มันทรงของมันเองอยู่ในใจโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องเสียเวลาไปเกาะ ไม่ใช่ว่าเราทิ้งแล้วหายไปเลยนะ หากแต่ท่านอยู่ของท่านอย่างทรงตัวอยู่แล้ว มันเหมือนอย่างกับว่าสมมุติว่าเราเลี้ยง... เด็กสักคนหนึ่ง ตอนแรก ๆ ก็ต้องคอยระวังใช่มั้ย มันดื้อมั่งมันซนมั่งวิ่งไปนู่นวิ่งไปนี่ ต้องไปจับ ไปรั้ง ไปดึงมันพอเด็กคนนั้นโตขึ้นมารู้ภาษาเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร คราวนี้เราก็ไม่ต้องไปเสียเวลาไปฉุดไปดึงมัน ปล่อยยังไงเขาก็อยู่กับเรา แรก ๆ ก็เกาะก่อนพอนานไปก็ปล่อยได้ สำคัญตรงที่ว่าส่วนใหญ่มันปล่อยไม่ออก

    ถาม : ปล่อยไม่ออกเป็นอะไรมั้ยค่ะ
    ตอบ : มันก็ไม่เป็นอะไรเพราะมันปล่อยไม่ออก มันก็ติดแต่ติดดี มันดีกว่าติดชั่วใช่ไหม ?

    ถาม : บางทีเรายังเกาะไม่ได้แต่ติดนาน
    ตอบ : ถ้าอย่างนั้นแย่มากแล้วล่ะ ยังไง ๆ ก็ให้มันเกาะให้ได้ซะอย่างหนึ่ง คือ เกาะดีให้ได้ มันต้องเกาะดีก่อน หลวงปู่ดู่วัดสะแกไง หลวงปู่ดู่วัดสะแกที่อยู่อยุธยาคนไปต่อว่าท่านสร้างวัตถุมงคลทำให้คนติดวัตถุมงคล หลวงปู่ดู่ท่านว่า ติดวัตถุมงคลดีกว่าไปติดวัตถุอัปมงคล ต้องเจอพระอรหันต์ตอบอย่างนั้น รักไปเถอะยิ่งรักเยอะยิ่งดี รักมากจนอยากไปอยู่กับท่านยิ่งดีใหญ่เลย

    ถาม : การที่เรารักมากจนอยากไปอยู่กับท่านมันจะตัดร่างกายโดยอัตโนมัติหรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : ก็ไม่แน่ ถ้ามันยังอยากอยู่ เพราะว่าถ้าหากตัวอยากยังมีอยู่มันก็ต้องติดอยู่กับตัวอยากนั่นก่อน ถ้าหากว่าเราอยากจะไปแล้วเราลืมความอยากได้มันก็โอเค ตัวนี้จะเป็นตัวที่ทำได้ยากนิดหนึ่ง มันเป็นตัวอุเบกขาในอารมณ์เขาเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ คือ การปล่อยวางในสังขาร คือ ความยึดถือปรุงแต่งทั้งปวงลงได้ ถ้าปล่อยตรงจุดนี้ลงได้อะไรก็เป็นของเราไม่ต้องขวนขวายมันก็มีเองไม่ต้องดิ้นรนมันก็มาเอง แต่ถ้าเรายังไม่ถึงตรงสังขารุเปกขาญาณนี่ยังลำบากอยู่ สังขารุเปกขาญาณแต่ละระดับมันไม่เท่ากัน พระโสดาบันแค่นี้ พระสกิทาคามีแค่นี้ พระอนาคามีแค่นี้ พระอรหันต์แค่นั้น ไม่เท่ากัน มีทุกระดับแต่กำลังสูงไม่เท่ากัน

    ถาม : แล้วอามณ์เราสบาย ๆ ใช่สังขารุเปกขาญาณหรือเปล่า ?
    ตอบ : ดูสิว่ามันเบาสบายเพราะอะไร มันเบาสบายเพราะเราปล่อยวางได้มันก็เป็นสังขารุเปกขาญาณ แต่ว่ามันเบาสบายเพราะเราไม่ยอมรับรู้อะไรบางทีมันก็เป็นอรูปฌาน

    ถาม : แล้วเบาสบายแบบไม่รับรู้อะไรนี่มันเป็นยังไง มันเหมือนทื่อ ๆ อย่างนี้หรือเปล่า ?
    ตอบ : ถ้าเปรียบแล้วเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แต่คราวนี้อธิบายยากเพราะมันเป็นอารมณ์ละเอียดข้างใน อารมณ์ละเอียดข้างในถ้าเราทำไม่ถึงเราเปรียบเทียบไปยังไงก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง อารมณ์ภายในพูดเป็นคำพูดได้ยาก เขียนเป็นตัวหนังสือได้ยาก เพราะว่าตัวหนังสือกับคำพูดหยาบเกินไป หยาบเกินไปจนอธิบายไม่ได้ เราพูดยังไงก็เป็นแค่ผิว ๆ เท่านั้น เนื้อหาที่แท้จริงต้องทำให้ถึงเวลาแล้วจะรู้เอง


    คัดลอกบางส่วนจาก
    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ ฯ

    ที่มา... http://palungjit.org/threads/การที่เรานับถือหลวงพ่อและพระพุทธเจ้านี่เป็นกิเลสมั้ย.124675/
     

แชร์หน้านี้