ถ้าผมนั่งสมาธิวันละหลายชั่วโมง ผมจะพัฒนาอะไรบ้าง แล้วจะได้อะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
การนั่งสมาธิ ได้อะไรบ้าง
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Number 1, 20 กันยายน 2014.
-
ได้นั่งทนหรือป่าว เพราะไม่รู้จักสมาธิ จิตยังไม่เป็นสมาธิ
ใครก็รับรองผลให้ไม่ได้หรอก ตัวเองต้องเป็นผู้ปฏิบัติ รู้เอง ครับ
สมาธิ คืออะไร จขกท รู้จักหรือยัง ว่า สมาธิ ทางพุทธศาสนา คืออะไร
ถ้าไม่รู้ลองอ่านดูนะคับ
จะได้ตอบตัวเองว่า นั่งสมาธิ ไปเพื่ออะไร ^^
.
. -
<table id="table1" border="0" cellpadding="3" cellspacing="3" width="100%"><tbody><tr><td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - ฌาน สมาบัติ
ขณิกสมาธิ, ฌาน, อุปจารสมาธิ, ปฐมฌาน,
นิวรณ์ ๕, ทุติยฌาน, ตติยฌาน (ฌาณ๓),
จตุตถฌาน (ฌาน ๔) รูปฌาน, อรูปฌาน,
สมาบัติ ๘, นิโรธสมาบัติ, เข้าผลสมาบัติ
- นิมิต, -จริต ๖, -อิทธิบาท ๔, -สมาทาน
- กฎการปฏิบัติกรรมฐาน
อธิศีลสิกขา, ระงับนิวรณ์ ๕ ,
เจริญพรหมวิหาร ๔, บารมี ๑๐,
อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐</td> <td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตัวเองแบบง่ายๆ
- เร่งรัดการปฏิบัติ - อริยะบุคคล
- ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน
- สังโยชน์ 10 - มหาสติปัฏฐานสูตร
- คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
- รวมคำสอนหนังสือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
เสียงพระธรรมเทศนา
- พระกรรมฐาน (เรื่องการทำสมาธิ)
- แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหันต์ทั้ง ๔ แบบ</td> </tr> </tbody></table><table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber15" bgcolor="#F9F9F9" border="0" cellpadding="4" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td colspan="3" height="23" valign="top"> <hr color="#CCCCCC" size="1"></td> </tr> <tr> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%">อภิญญา เล่มที่๒</td> <td valign="top" width="30%"> </td></tr></tbody></table>
เกณฑ์อภิญญา
หลวงพ่อปูพื้นฐานไว้เพื่อรับอภิญญา
คาถาอภิญญารวม
คาถาสนองกลับไสยศาสตร์
จขกท ลองอ่านดูนะครับ
คนอื่นตอบให้ไม่ได้หรอกนะ
ตัวเองต้องเป็นผู้รู้เอง ตอบตัวเอง ว่าได้อะไร นั่งสมาธิ ไปเพื่ออะไร
.
-
สมาธิ จิตเป็นสมาธิได้นั้น จิตต้อง สงบ สงบจาก นิวรณ์ 5
จิตสงบจากนิวรณ์ 5 คือ จากความฟุ้งซ่านเรื่องต่างๆคือ
กามฉันทะ
พยาบาท
ถีนมิทธะ
อุทธัจจะกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา
เมื่อจิตสงบ สงบจากนิวรณ์ 5 จิตเป็น สมาธิ จิตเข้าสมาธิแล้ว จขกท ก็จะเข้าใจเองครับ ว่าเป็นอย่างไร
เปรียบเหมือน คนกินน้ำ ก็ย่อมรู้รสของน้ำด้วยตัวเอง ถ้าฟังจากคนอื่นบอกอย่างไร ตัวเองไม่เคยกิน ก็ย่อมไม่เข้าใจ ได้แต่เดาไปต่างๆนาๆ ครับ
นี่คือ สิ่งที่จะได้เป็นเบื้องต้น ของการที่ จิตเป็นสมาธิ ครับ
กรรม กาย วาจา ใจ
กุศลกรรม บุญ กุศล ก็เป็นกรรมดี
อกุศลกรรม บาป ก็เป็น กรรมชั่ว
คนเราสร้างกรรม กาย วาจา ใจ กรรมดี กรรมชั่ว
การที่ปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา นั่งสมาธิ ก็เป็นกรรม กรรมฐาน นั่นเอง
กรรม การกระทำ ที่เป็น ฐาน ฐานของการปฏิบัติ ให้จิตเป็น บุญ กุศลกรรม ครับ
สงบจาก กิเลส จิตเป็นสมาธิ วิปัสสนา เพื่อมรรคผลนิพพาน ครับ
^^
. -
ขอบคุณมากครับ
-
ทำไมต้องเจริญกรรมฐาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
27/09/2012 View: 7,227
ทำไมต้องเจริญกรรมฐาน
ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง
คนถึงแม้ว่าจะทำบุญหนัก แต่ว่าเวลาจะตาย
บังเอิญจิตไปนึกถึงอกุศลเข้าอย่<wbr>างใดอย่างหนึ่ง
อกุศลก็จะพาลงไปอบายภูมิก่อน ฉะนั้นจึงมีความจำเป็น
จะต้องเจริญสมาธิ คำว่าสมาธินี่แปลว่าการตั้งใจ
... อย่างที่ท่านทั้งหลายทำบุญกันนี่ก็จะบอกว่า
อุ้ย...หลวงพ่อมาทีไร ฉันก็ถวายสังฆทานทุกที
การถวายสังฆทานแต่ละครั้งมีสิทธิไปเกิดบนสวรรค์ชั้นที่ ๕
เรียกว่า นิมมานรดี หรือถ้าจะไม่ไปก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี
บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เราอาจจะเผลอได้
ตามบาลีว่า “เอกะ จะรัง จิตตัง” จิตดวงเดียวเที่ยวไป
จิตน่ะมันรับอารมณ์เดียว เวลาที่เรารัก คนที่เรารัก
สัตว์ที่เรารัก เขาจะทำเลวขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังรัก
ถึงเวลาโกรธขึ้นมา ทำดีขนาดไหน มันก็เกลียดใช่ไหม
ไม่นึกถึงความดีของเขา ก็รวมความว่าจิตมันรับอารมณ์เฉพ<wbr>าะ
ฉะนั้น ถ้าหากว่าถ้าจิตออกจากร่าง
ถ้าบังเอิญไปพบอกุศลเข้าก็ไปอบา<wbr>ยภูมิได้
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ฝึกจิตให้มีอารมณ์ทรงตัว
อันดับแรก ก็กำหนดรู้จับลมหายใจเข้าออก
หายใจเข้านึกว่าพุท หายใจออกนึกว่าโธ
แต่ว่าคำภาวนานี่ไม่จำกัดนะ จะนึกพุทโธก็ได้
นะมะ พะธะ ก็ได้ หรืออะไรก็ได้
นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วก็ภาวนา
เป็นเครื่องโยงใจให้จิตมีงาน
จิตมีงานในด้านบุญละบาป
ขณะใดที่จิตรู้ลมหายใจเข้าออก
จิตไม่คิดถึงเรื่องอื่น เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ
จิตว่างจากกิเลส ขณะใดจิตรู้คำภาวนาอยู่
อารมณ์อื่นไม่เข้ามาแทรก
เวลานั้นจิตว่างจากกิเลส มีความดี
ฉะนั้นขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท<wbr>ทั้งหลาย
ให้ถือว่าการเจริญสมาธิมีความจำ<wbr>เป็น
ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
จงอย่านึกถึงความชั่วที่ผ่านมาแ<wbr>ล้ว
อะไรก็ตามที่มันเป็นบาปอย่านึกถึงมัน
คิดอย่างเดียวด้านของความดี
-
ยังอยากอยู่ไม่รู้หรอก..หยุดอยากเมื่อไรคุณก็จะรู้เมื่อนั้น
-
การนั่งเป็นอิริยาบถหนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถใหญ่ 4 (ยืน เดิน นั่ง นอน) อย่าง ดังนั้น การนั่งไม่ใช่สมาธิ สมาธิ ไม่ใช่การนั่ง แต่การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดืม ทำ พูด คิด ควรมีสมาธิ สมาธิเป็นนามธรรมเป็นคุณธรรมภายใน
-
จิตที่มีสมาธิขั้นสมบูรณ์ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตพร้อมด้วยองค์ ๘
๑. ตั้งมั่น
๒. บริสุทธิ์
๓. ผ่องใส
๔. โปร่งโล่ง เกลียงเกลา
๕. ปราศจากสิ่งมั่วหมอง
๖. นุ่มนวล
๗. ควรแก่งาน
๘. อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว
ท่าน ว่า จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณา ให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิต ให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้
ตามที่กล่าวมานี้ มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วย ก็คือ ความ "ควรแก่งาน" หรือ ความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง -
การนั่งสมาธิ ได้ความสงบของใจ เพื่อความสงบของใจ จิตมีกำลัง
-
ได้สมาธิ
ได้รู้จักนิ่ง สงบปาก สงบคำ
ได้รู้เห็น ได้เข้าใจ ความสุขของการนั่งหลับตา
คิดมากขึ้น อารมณ์ไม่หุนหันเหมือนเก่า
พอสงบ อารมณ์เข้าเคลือบเบาบาง ก็มองโลกได้กว้างขึ้น
ปัญญาเกิดมากขึ้น เห็นทางออกของปัญหา ที่เมื่อก่อนมองไม่เห็น