การปฏิบัติธรรม เป็นศัพท์ภาษาของไทยเรา ผู้รู้ และ ผู้ที่รู้บ้างไม่รู้บ้าง หรือ ผู้รู้บ้างแต่ทำเป็นรู้มาก มักจะนำมาสอน หรือนำมาอธิบาย หรือมีความเข้าใจกันไปในคนละทิศ คนละอย่างกัน ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ตามคำศัพท์ ภาษา ก็บ่งบอกอย่างชัดแจ้งแล้วว่า "ปฏิบัติ ธรรม"
คำว่า " ปฏิบัติ " มีความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ฯ ว่า
" การดำเนินการ ไปตามระเบียบแบบแผน หรือกระทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ คล่องแคล่ว หรือ การกระทำตาม หลักการใด หลักการหนึ่ง หรือ กระทำตาม ความรู้ใด ความรู้หนึ่ง หรือ กฎหมายใด กฎหมายหนึ่ง หรือ ข้อความใดข้อความหนึ่ง ฯลฯ หรือ หมายถึง การดำเนินชีวิตของตน การประพฤติตน กระทำตน หรือ ทำตามกรอบ ระเบียบ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ศีลธรรม ฯ"
คำว่า " ธรรมะ" หมายถึง หลักธรรมคำสอนทางศาสนา อันเป็นหลักความจริง ตามธรรมชาติ ซึ่งล้วนมีอยู่ในจตัวของมนุษยื และสรรพสิีง อยู่แล้ว ศาสนา ได้นำเอาหลักธรรมชาติ ตังแต่ สภาพความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม การกระทำ ซึ่งเกิดจาก กาย (วาจา) ใจ มาสร้างเป็นหลัก และสร้างเป็นชื่อเรียก เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ได้ง่ายขึ้นว่า สภาพทางใจ อย่างนั้น เรียกว่า "ความคิด " สภาพทางใจอย่างนั้น เรียก " สมาธิ" และอื่นๆอีกมากมาย อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้น คำว่า "ปฏิบัติ ธรรม" ย่อมหมายถึง การ ดำเนินการ หรือกระทำ เพื่อให้เกิดความชำนาญ แคล่วคล่อง หรือ การดำเนินชีวิตของตน การประพฤติตน กระทำตน ตามหลักคำสอน ทางศาสนาฯ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน กาย (วาจา) ทางด้านใจ ฯ
การปฏิบัติธรรม มีความหมายดังนี้เขียนเองโดย telwada
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 17 ธันวาคม 2009.