การพัฒนาสติในการภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิโมกข์, 6 มีนาคม 2005.

  1. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การพัฒนาสติให้ยิ่งๆขึ้นไป จนมีกำลังที่จะประหารกิเลสได้นั้น ผู้ปฏิบัติพึงมีอุบายในการเจริญสติให้ถึงพร้อมด้วยผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบาน นักปฏิบัติบางท่านเจริญสติถึงพร้อมด้วยผู้รู้ คือรู้เท่าทันจิต (รู้เท่าทันอาการและความเป็นไปของจิต) แต่ไม่ได้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ (ตื่นอยู่เสมอคือรู้สึกตัวบ่อยๆ) ทำให้ขาดความต่อเนื่อง หรือ รู้เท่าทันบ้าง ไม่รู้เท่าทันบ้าง หรือรู้แบบตื่นบ้าง งัวเงียบาง หรือบางครั้งก็เผลอไปกับความคิดหรือความคิดลากจูงไปบ้าง การเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอนั้น คือการรู้สึกตัวบ่อยๆ ซึ่งก็หมายความว่าต้องเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ การมีสติโดยขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ทำให้ไม่ได้อานิสงส์ของการเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ บางท่านรู้เท่าทันจิต และเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ แต่ไม่ได้เป็นผู้เบิกบาน คือ รู้เท่าทันจิต และเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ด้วยอาการของการที่จะต้องเพียรระวังหรือเฝ้าระวังอยู่เสมอ เพียรเพราะเห็นเขาทำ ก็ทำตามๆกัน การเพียรเช่นนี้คงต้องตั้งใจ อดทน พยายาม และเหนื่อยหน่อย ทำให้การเจริญสติเช่นนี้เเป็นไปอย่างแห้งแล้งหรือขาดความสดชื่น ผ่องใส ปีติและอิ่มเอิบใจ ทั้งนี้เพราะเจริญสติโดยไม่ได้เห็นประโยชน์ในการเจริญสติประจักษ์แก่ใจจริงๆ เมื่อเจริญสติโดยไม่เห็นถึงประโยชน์หรือความสำคัญในการเจริญสติ จึงทำให้ไม่เกิดฉันทะ หรือ ความพึงพอใจในการเจริญสติ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติพึงสำรวจตนเองว่าเจริญสติด้วยอาการแบบไหน คือ เป็นผู้รู้ แต่ไม่เป็นผู้ตื่น หรือเป็นผู้รู้ เป็นผู้ตื่น แต่ไม่เป็นผู้เบิกบาน หรือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานจริงๆ อันเป็นหัวใจในการพัฒนาสติในการภาวนาให้ยิ่งๆขึ้นไป คือ การเจริญสติจนสติหรือใจผู้รู้เข้าถึงพุทโธตามความหมายของผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานโดยบริบูรณ์ และกล่าวโดยสรุปก็คือ ฉันทะ จึงเป็นข้อแรกสุดของอิทธิบาท ๔ อันจะยังให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญธรรมทั้งหลายให้ยิ่งๆขึ้นไป ผู้ปฏิบัติพึงสำรวจตนเองอยู่เสมอว่า ผู้ปฏิบัติมีฉันทะในการปฏิบัติธรรมหรือไม่ การจะมีฉันทะได้นั้น ผู้ปฏิบัติพึงศึกษาให้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ในการเจริญสติหรือการเจริญธรรมนั้นๆ เมื่อผู้ปฏิบัติตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญจนประจักษ์แก่ใจจริงๆ ความเพียรจะเกิดขึ้นเอง และเป็นความเพียรที่เต็มไปด้วยความสดชื่น ไม่ใช่เพียรแบบเฉยๆ หรือห่อเหี่ยว แห้งแล้ง ซึ่งเป็นการเพียรเพราะทำตามๆกัน โดยไม่ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญด้วยใจเจ้าของจริงๆ
     
  2. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    โครงการพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน

    โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน

    การศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามความเข้าใจของคนทั่วๆไปนั้น ก็คือ จะต้องไปฟังธรรม รักษาศีล และเจริญภาวนากันที่วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจริญภาวนานั้น พุทธศาสนิกชนเกือบทั้งหมด ก็จะเข้าใจว่าการเจริญภาวนา ก็คือ การนั่งสมาธิ หรือวิปัสสนา ในรูปแบบของการนั่งอย่างเดียว ซึ่งจะต้องปลีกวิเวกจากผู้คนหรือสังคมไปหาที่สงบเพื่อที่จะนั่งสมาธิหรือวิปัสสนา อันนี้เป็นจุดอ่อนของการเผยแผ่และศึกษาปฏิบัติธรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปหรือสังคมรอบข้าง มองว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน คือจะต้องหลบลี้ผู้คน หรือปลีกตัวออกจากสังคมเพื่อไปหาสถานที่นั่งภาวนา ทำให้หลายๆคนมักจะพูดอยู่เสมอว่าไม่มีเวลา ไม่ว่างที่จะไปปฏิบัติธรรมบ้าง จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั้งหลายเหินห่างจากพระพุทธศาสนา เพราะเหตุมองว่าคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องไกลตัว และแบ่งแยกต่างหากโดยต้องไปนั่งสมาธิวิปัสสนากันที่วัด หากเราสามารถนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาปฏิบัติให้กลมกลืนกับชีวิตประจำวัน คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานเสมอ ในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน โดยการฝึกปฏิบัติและเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน และเราช่วยกันเผยแผ่เพื่อเปลี่ยนความคิด หรือ concept ของประชาชนส่วนใหญ่ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ หากประชาชนที่ยังห่างไกลจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศานาได้ยินคำสอนในลักษณะนี้ ก็จะรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ยากและไม่เสียเวลา เพราะทำได้ทุกขณะเวลาและเป็นการปฏิบัติแบบธรรมชาติสบายๆ กลมกลืนกับชีวิตประจำวันจริงๆ คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระพุทธศาสนาก็จะเกิดความมั่นคงและรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะประชาชนส่วนใหญ่หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมกัน คนไทยส่วนมากมักจะทำอะไรตามๆกัน เมื่อนักปฏบัติทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมโดยการนั่งสมาธิวิปัสสนากันในรูปแบบของการนั่งอยู่แล้ว ได้ศึกษาเพิ่มเติมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญ และพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ไม่มีรูปแบบ และสามารถปฏิบัติกลมกลืนได้กับการทำงานและการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการปฏิบัติด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวันนั้นจะช่วยเสริมการปฏิบัติในรูปแบบของการนั่งให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และเมื่อฝึกเจริญสติต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ผลการปฏิบัติก็จะปรากฏให้เห็นเร็วกว่าการนั่งปฏิบัติอย่างเดียว การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติในฃีวิตประจำวันจึงเหมาะกับประชาชนทั่วไปที่มีมีชีวิตที่เร่งรีบ และแข่งขันกันโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลข่าวสารนี้ จากหยดน้ำหยดหนึ่งบนใบบัวช่วยกันปลุกระดมธรรม สร้างแนวความคิดหรือ Concept นี้ ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ อาตมาเชื่อว่าเมื่อประชาชนที่ยังห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติธรรมที่กลมกลืนกับชีวิตประจำวันเช่นนี้ ก็จะเริ่มหันเข้ามาสนใจศึกษาหลักธรรมและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งและกว้างขวางอย่างจริงจังต่อไปเอง แม้แต่ชาวต่างประเทศซึ่งได้หันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากในแง่ของการฝึกจิตให้มีสมาธิหรือพลังจิต หากได้รับทราบถึงแนวการปฏิบัติเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน อันจะยังให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน ความสุขในครอบครัว ความมีเมตตาเกื้อกูลกันในสังคม ตลอดจนถึงความรักสมานฉันท์อันเป็นพื้นฐานต่อความเจริญและมั่นคงของประเทศชาติส่วนรวมเช่นนี้แล้ว ก็จะหันมาสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศานาเถรวาท ที่ได้รักษาพระธรรมวินัยไว้ตรงตามพุทธวจนะที่มีมาในพระไตรปิฎกดั้งเดิม เพราะประจักษ์ถึงสาระประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงในแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยที่ไม่ต้องไปปรุงแต่ง หรือแต่งเติมหลักคำสอนให้เป็นสัทธรรมปฏิรูปแต่อย่างใด

    ด้วยแรงบันดาลใจดังที่ได้กล่าวมา อาตมาจึงมีความคิดริเริ่มจัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติเพื่อให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป เนื้อหาของการฝึกอบรมจะเน้นให้รู้จักธรรมชาติของสติ และการพัฒนาสติให้เป็นผู้ร้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน โดยจะให้อุบายพร้อมทั้งนำเข้าสู่สมาธิด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่สติ เพื่อปรับการทำสมาธิของนักปฏิบัติหลายท่านที่ไปติดค้างอยู่ในความนิ่ง และไม่สามารถเดินต่อไปได้ อันเนื่องด้วยสมาธิและสติไม่สมดุลกัน ให้สามรถดำเนินเข้าสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นสัมมาสติและสัมมาสมาธิตามมรรคมีองค์ ๘ พร้อมทั้งบรรยายธรรม และตอบข้อธรรมตามนัยที่อาตมาได้แสดงไว้ในหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนานี้ (หนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ดูได้จาก www.larndham.net หมวดสติปัฏฐาน 4) เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่านได้มีความรู้ความเข้าใจในการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้ทุกขณะอย่างเป็นธรรมชาติกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน การฝึกอบรมนี้จะจัดให้มีขึ้นทุกวันอาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ๆ

    โครงการฝึกอบรมจะจัดให้มีขึ้นทุกวันอาทิตย์ โดยเปิดโครงการฝึกอบรมฯ ครั้งต่อไป ในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถนนประชาราษฎร์ จังหวัดนนทบุรี) เวลา 11.30.00-15.00 น.

    ผู้สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมโดยแจ้งชื่อในกระทู้นี้ หรือ emailไปที่
     
  3. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    ปุจฉา-วิสัชชนา รายงานการบ้านอันเนื่องด้วยการเข้ารับการฝึกอบรมฯ

    ปุจฉา : กราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ให้ความมั่นใจว่าได้ปฎิบัติถูกต้องแล้ว และแนะนำให้แก้ไขเพิ่มเติม ได้นำมาปฎิบัติต่อก็เพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้น รับรู้สภาวะความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ได้ชัดเจนขึ้น ได้รับรู้กายสงบระงับ ใจสงบระงับดีขึ้น ตอนนี้ลมหายใจเบาเร็วขึ้นกว่าเดิม จากที่เคยหายไปหลังนั่งครึ่งชั่วโมง แต่ตอนนี้ลมหายใจจะค่อย ๆ ผ่อนเบาลงเรื่อย ๆ หรือแทบจะไม่มีตั้งแต่ 10~15 นาทีแรก กายตั้งตรงและเบาเหมือนไร้น้ำหนัก เห็นกายชัดอยู่ภายใน เห็นรูปนั่ง จิตตื่นรับรู้ทุกอย่างที่มากระทบทางผิวเช่นลม ทางจมูกได้กลิ่น ทางหูก็ได้ยินเสียง รับรู้ถึงกระแสอุ่น ๆ ในกาย บางครั้งเหมือนมีกระแสฉีดเบา ๆ ที่ปลายนิ้วมือ แต่จิตใจไม่ตระหนกหรือหวั่นไหวตามไป ใจสงบนิ่งเย็นเบาใจเบากาย มีความรู้สึกตัวอยู่เฉพาะหน้า รู้ลมบ้าง รู้จิตบ้าง จนเลยชั่วโมงกว่าไปแล้วเริ่มรู้สึกว่าที่ก้นกบกระทบกับพื้นชัดเจน แต่ค่อย ๆ หายไป และเริ่มมีปวดตรงเข่าบ้าง ตรงข้อเท้าที่วางซ้อนทับกันบ้าง แต่สักพักก็ค่อย ๆ จางคลายไม่เจ็บปวดมากนัก เวลาเดินจงกรมก็จับกระแสความรู้สึกตัวทั่วร่างกายได้ดี รู้อาการเคลื่อนไหวของเท้า เห็นกายเดินพร้อมกับรับรู้ลมหายใจเข้าออกได้ดีแต่ไม่สงบระงับเหมือนตอนนั่ง ลมหายใจขณะเดินจะมีติดขัดบ้างตามอาการเดิน บางครั้งก็ชัด บางครั้งก็ไม่มี เห็นความคิดส่วนมากเป็นเรื่องที่ผ่านมาพอรู้ความคิดก็หายไป สามารถเดินจงกรมได้ 45~60 นาที นั่งได้ 75~90 นาที จะนั่งต่อไปอีกก็นั่งได้แต่คิดว่าแค่นี้ก็พอจึงเปลี่ยนอริยาบทเป็นเดินเพื่อผ่อนคลาย และทำงานอย่างอื่นต่อ ไป
    สรุปแล้ว ไม่ว่าลมหายใจ หรือสิ่งที่มากระทบทางผิว จมูก หู และความนึกคิด ความเจ็บปวด ความรำคาญ อาการเคลื่อนไหวใด ๆ เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้เฉย ๆ ไม่ใช่การไปจ้องเพ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ดูทุกอย่างที่เกิดขึ้นและรับรู้เฉย ๆ ใช่ไหมคะ
    คิดว่าตอนนี้โยมเข้าใจตัวรู้ สติ และสัมปชัญญะ แล้ว เพียงแต่จะเริ่มพิจารณาไตรลักษณ์ อย่างไร โยมยังไม่แน่ใจพอ คงจะขอฟังคำอธิบายจากท่านเพิ่มเติม

    วิสัชชนา : ขออนุโมทนา โยมทำได้ดีแล้ว ช่วงนี้ทบทวนและทำให้เป็นวสี จนเกิดใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน กล่าวคือต้องเน้นทำในชีวิตประจำวันให้มากๆและต่อเนื่อง ให้มีฉันทะคือความพอใจในการมีสติสัมปชัญญะอยู่กับปัจจุบัน สำนึกรู้นี้จะพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้ ไม่ต้องรีบร้อนหรือเร่งรีบใดๆ แต่มีอุบายอยู่อย่างหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาสติให้มีความละเอียดและมีกำลังมากขึ้น คือ ให้เจริญสติในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อันหมายทั้งความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กายในเบื้องต้น จนถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่พัฒนาไปเป็นสำนึกรู้ คือ เจริญสติหรือระลึกรู้ถึงความรู้สึกในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และเมื่อเกิดสำนึกรู้ที่ชัดขึ้นๆ ก็ให้เจริญในสติหรือระลึกรู้ถึงความรู้สึกในสำนึกรู้ จะเป็นการพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ที่มีความผ่องใส รู้ ตื่น และเบิกบานมากขึ้นโดยลำดับ ช่วงนี้ฝึกทำตามคำแนะนำนี้ก่อน ยังไม่ต้องกังวลเรื่องการพิจารณาไตรลักษณ์ ให้ทุกอย่างค่อยๆเจริญงอกงามเหมือนต้นไม้ที่เราเพียรหมั่นดูแลพรวนดินรดน้ำใส่ปุ๋ยอยู่เนืองๆ ต้นไม้ก็จะเจริญงอกงามผลิดอกออกใบเอง

    *****************************************************************************************************************
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 3 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  4. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การบ้านภาวนาครั้งที่ 3 คือ ดูการทำงานร่วมกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก

    ธรรมชาติของจิตย่อมท่องเที่ยวไป อาทิ ท่องเที่ยวไหลไปกับรูปทางตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น สัมผัสทางกาย และธรรมารมณ์ทางใจและเมื่อเกิดการรับรู้ทางอายตนะทั้ง 6 ก็เกิดการปรุงแต่งเป็นความคิดนึกและเป็นความรู้สึกต่างๆนานา จิตไหลไปกับความคิดหรือถูกครอบงำด้วยความคิด ถ้าพูดในเชิงวิทยาศาสตร์ จิตอันเป็นพลังงานได้สูญเสีย คือ ไหลออกตลอดเวลา กล่าวคือ ไหลไปกับอายตนะทัง 6 และความปรุงแต่งคิดนึกถึงเรื่องในอดีตบ้าง เรื่องในอนาคตบ้าง คิดนึกจนเป็นความหวง ห่วง เยื่อใย อาลัยอาวรณ์ ทำให้จิตสูญเสียกำลัง เหลือจิตสำนึกหรือสำนึกรู้ที่อยู่กับตนเองเพียงไม่ถึง 10 % อันเป็นเหตุให้จิตสำนึกหรือสำนึกรู้อยู่ภายใต้ความครอบงำของกิเลส อาทิ ความโลภ ความทะยานอยาก ความโกรธ ความหลงและสารพัดกิเลสที่จรเข้ามาตลอดเวลา ทำให้จิตไม่อาจจะมีพลังเป็นสำนึกรู้ที่อยู่เหนือความครอบงำของกิเลสที่เปรียบเสมือนเมฆหมอกที่ปกคลุมจิตได้ ทำให้ธรรมชาติเดิมแท้ของจิตไม่อาจจะฉายแสงออกมาได้ แต่กระนั้น ก็ยังไม่ถึงกับหมดหนทางต่อสู้กับกิเลส เพราะนอกเหนือจากกิเลสอันเป็นเจตสิกฝ่ายอกุศลที่เกิด-ดับพร้อมกับจิต ที่เปรียบเสมือนกับแขนขา ที่พาเราลุยเดินไปข้างหน้าแบบไร้ทิศทางเหมือนคนตาบอด แต่จิตก็ยังมีองค์ธรรมคือสติ และ สัมปชัญญะที่เปรียบเสมือนดวงตาทั้งสองอันเป็นเครื่องนำทางแก่จิต ซึ่งสามารถฝ่าวงล้อมกิเลสออกมาอยู่เหนือเมฆหมอกคือกิเลสที่ปกคลุมบดบังจิตไว้ได้ หรือถ้าจะหากเปรียบกับครอบครัวหนึ่ง จิตก็เปรียบเหมือนลูก สติเปรียบเหมือนพ่อ สัมปชัญญะเปรียบเหมือนแม่ เมื่อลูกถูกครอบงำด้วยกิเลส เหตุเพราะชอบท่องเที่ยวหรือไหลไปกับอารมณ์ปรุงแต่งต่างๆนานาที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้ง 6 จึงมีแต่พ่อและแม่เท่านั้นที่รักลูกอย่างแท้จริงและพอจะเป็นที่พึ่งของลูกได้ เมื่อพ่อและแม่สามารถฝ่าวงล้อมของกิเลสออกมาได้ โดยอาศัยสติปัฏฐาน 4 เป็นฐานเป็นกำลังเป็นเครื่องอาศัย กล่าวคือเริ่มต้นจากฐานกายหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นฐานกำลังให้แก่พ่อแม่ฝ่าวงล้อมเมฆหมอกของกิเลสออกมาได้ โดยเริ่มจากแม่ดูแลบ้านคือร่างกายด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และพ่อคือสติก็อยู่รักใคร่กลมเกลียวกับแม่เป็นสติรู้ความรู้สึกของแม่อย่างทั่วถึง พ่อแม่รักใคร่กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมกับคอยสอดส่องดูแลลูกอยู่ห่างๆ แต่ถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน ตบตีกัน ก็ไม่มีเวลาคอยสอดส่องดูแลลูกเลยแม้แต่น้อย ก็ปล่อยให้ลูกหนีไปเที่ยวเสพอารมณ์ต่างๆที่มากระทบจนลุ่มหลงโงหัวไม่ขึ้น มิหนำซ้ำพ่อแม่ก็พลอยเผลอไปเห็นดีเห็นงามกับลูกและไปร่วมเสพอารมณ์ต่างๆนั้นด้วย ฉะนั้น ครูบาอาจารย์จึงได้ให้อุบายล้อมกรอบลูกไม่ให้หนีท่องเที่ยวไป โดยผูกไว้กับลมหายใจเข้าออกบ้าง ท้องพองยุบบ้าง คำบริกรรมพุทโธบ้าง และอื่นๆ เมื่อลูกอยู่กับอุบายข้างต้น ลูกก็จะเลิกซุกซนไม่ไหลท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ พ่อแม่ก็โล่งใจเบาใจไม่ต้องคอยกระหนาบหรือประกบลูกแบบใกล้ชิด เพียงแต่คอยดูแลลูกอยู่ห่างๆ ไม่ต้องกังวลไปกับลูกมากนัก จึงมีเวลาที่จะดูแลเหย้าเรือนคือกายนี้ปัดกวาดเช็ดถูเรือนคือกายนี้อยู่เนืองๆ ด้วยการที่แม่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเสมือนอาบน้ำเรือนกายนี้ และพ่อก็คอยขัดสีฉวีวรรณเรือนกายนี้ไปพร้อมๆกับน้ำที่ชะโลมกายนี้อย่างทั่วถึง เกิดเป็นความสดชื่น ผ่องใส รู้ ตื่น เบิกบาน พร้อมๆกับทอดสายตา ชำเลืองดูแลลูกน้อง เห็นความเป็นไปของลูกต่างๆนานา จนลูกเกิดความเป็นกลางๆ เลิกเที่ยวซุกซนไปในที่สุด พ่อแม่ก็เบาอกเบาใจไม่ต้องคอยกังวลกับบ้านช่อง เพียงแค่สักแต่ว่ารู้ๆๆ เห็นความเป็นไปของบ้านคือกายแบบทั่วพร้อม เมื่อเห็นแบบทั่วพร้อมว่าไม่มีความขัดข้องใดๆในบ้านคือกายนี้ พ่อแม่ก็โล่งใจ เบาใจ จนเกิดเป็นสำนึกรู้ที่รู้เองเห็นเอง ไม่ต้องคอยเคร่งเครียดกับการดูแลบ้านหรือกายนี้อีกต่อไป พ่อแม่ก็เริ่มรู้จักละวางกายนี้ มีเวลาที่จะไปอบรมสั่งสอนลูก ขัดเกลาจิตใจลูกให้ห่างไกลจากอนุสัยกิเลสซึ่งคอบชักใยความประพฤติต่างๆนานาของลูกอยู่เบี้องหลัง ทำให้ลูกเริ่มมีปัญญารู้เท่าทันอนุสัยกิเลสที่คอยกำกับชักใยอยู่เบื้องหลัง ทำให้เยื่อใยที่ร้อยรัดจิตใจลูกด้วยตัณหาอุปาทานเริ่มคลายออก บางครั้งก็คลายออกได้มาก บางครั้งก็ยังหน่วงเหนี่ยวลูกน้อยเอาไว้ จนปมที่ผูกรัดลูกเอาไว้เริ่มคลายออกๆ และค่อยๆขาดออกไปทีละเส้นๆ ๆ จนลูกเริ่มเป็นไทเป็นอิสระจากกิเลสที่ร้อยรัดลูกเอาไว้ทีละเปราะ ทีละเปราะ ลูกก็เริ่มแสดงสภาวะเดิมแท้อันเป็นความบริสุทธิ์ (innocent) ความผ่องใส หรือความประภัสสร ปรากฏเป็นแสงจิตที่ค่อยๆฉายแสงเล็ดลอดผ่านเมฆหมอกคือกิเลสออกมาได้ทีละน้อยๆ จนเกลียวปมของตัณหาอุปาทานเริ่มขาดไปทีละเส้นๆๆ ลูกจึงเริ่มมีพละกำลังพอที่จะแสดงความบริสุทธิ์ ความกระจ่าง ผ่องใสของตนออกมา เป็นความโล่งใจ หมดกังวลแก่พ่อแม่ จนเมฆหมอกคือกิเลสได้จางคลายไป เปิดประตูใจให้แก่พ่อ แม่ ลูกได้สวมกอดกันเป็นใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อันอยู่เหนือความครอบงำของกิเลสคืออวิชชา วิชชาคือความรู้แจ้งโลกตามความเป็นจริงจึงได้เกิดขึ้นแก่พ่อ แม่ ลูก ปีติปราโมทย์ก็ได้เกิดขึ้นแก่พ่อ แม่ ลูก เพราะเห็นแจ้งสรรพสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงอันได้แก่ สามัญญลักษณะและปัจจยาการในสิ่งทั้งปวง เกิดความจางคลาย ความคลายออกจากความทะยานอยากและความยึดมั่นถือมั่นไปโดยลำดับ จนกระทั่งปมอันร้อยรัดพ่อ แม่ ลูกด้วยตัณหา อุปาทาน ให้ต้องวนเวียนท่องเที่ยวไปในวัฏฏของวิญญาณทั้ง 6 ไม่มีที่สิ้นสุดได้เริ่มคลาย หลุดออกไปทีละเส้นๆ จนขาดสะบั้นไป ไม่มีเยื่อใยของการร้อยรัดด้วยตัณหาอุปาทานอีกต่อไป อันเป็นหนทางดำเนินสู่วิมุตติและความหลุดพ้น ได้ในที่สุด
    ******************************************************************************************
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 4 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  5. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์วิโมกข์ครับ
     
  6. วิศวกรม

    วิศวกรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +537
    อนุโมทนา ... มหาโมทนา

    ยินดีด้วยกับว่าที่ผู้ถึงธรรม (ถ้ากล่าวไม่ผิด)
    มีเมตตามาแนะนำเพื่อน ๆ กัลยาณมิตรเรื่อย ๆ นะครับ
     
  7. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การบ้านภาวนาครั้งที่ 4 เจริญสติ เจริญปัญญากับความไม่เที่ยง

    โดยธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เคลื่อนไปสู่ความไม่เที่ยง อาทิ จากเด็ก ก็เคลื่อนไปสู่วัยหนุ่มสาว จากวัยหนุ่มสาวก็เคลื่อนไปสู่ความแก่ ความแก่ก็เคลื่อนไปสู่ความเจ็บและความตายในที่สุด มองไปเห็นฝูงชนหรือกลุ่มคนเบื้องหน้า ก็ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมายเลย พอเห็นเท่านั้น มันก็แยกแยะเสร็จไปในตัว ว่านี่เด็ก นี่หนุ่มสาว นี่ผู้ใหญ่ นี่คนแก่ ซึ่งล้วนแสดงภาพของความไม่เที่ยงอยู่เฉพาะหน้า ฉะนั้น การเห็นสิ่งใด จงเจริญสติให้เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งนั้น เห็นความสวยงาม ก็มีสติเห็นความสวยงามที่ไม่จีรัง คือ ความสวยงามที่กำลังค่อยๆเคลื่อนไปสู่ความเสื่อมร่วงโรยไปในที่สุด มองดูตัวเราเอง เสื้อผ้าที่สวมใส่ เมื่อเริ่มใส่ก็สะอาดสะอ้าน พอตกเย็นก็เริ่มมอซอ ร่างกายอันสดชื่นก็เริ่มมีกลิ่นเหงื่อไคล อาบน้ำเสร็จ ก็สะอาด พอซักพักก็เริ่มเหนอะหนะเหนียวตัว แม้กระทั่งความคิด ก็ล้วนเคลื่อนไปสู่ความไม่เที่ยง เคลื่อนจากการคิดเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง และไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง บางครั้งจนยั้งคิดไม่อยู่ หรือคิดข้ามวันข้ามคืน แม้ลมหายใจ ก็ต้องมีเข้า-มีออก ทุกอย่างที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่เคลื่อนไปสู่ความไมี่เที่ยงอยู่เนืองนิจ แต่เพราะโมหะหรืออวิชชา ทำให้เราเผลอใจขาดสติไปหลงยึดความสวยความงาม ความสดใส ต่างๆนานา จนคลุกคลีคลุกเคล้าจนพอใจ จนไม่รู้จักพอ ในที่สุด ก็เผลอสติขาดสัมปชัญญะ จนจิตสำนึกหรือสำนึกรู้มีแต่ไหลออก ไหลออก ตลอดเวลา คือ ไหลออกไปทางตาไปยึดรูปบ้าง ไหลออกทางหูไปยึดเสียงบ้าง ไหลออกทางจมูกไปยึดกลิ่นบ้าง ไหลออกทางลิ้นไปยึดรสชาดบ้าง ไหลออกทางกายไปยึดสัมผัสบ้าง ไหลออกทางใจไปยึดธรรมารมณ์หรือความรู้สึกในใจบ้าง และที่ไหลออกมากที่สุด เห็นจะเป็นการไหลออกรั่วออกไปกับความคิด อันเป็นไปในอดีตบ้าง ความคิดอันเป็นไปในอนาคตบ้าง ต่างๆนานา จนจิตสำนึกหรือสำนึกรู้ (conscious) อยู่กับตัวเองไม่ถึง 10 % แม้จะนั่งหลับตาภาวนา ก็ยังไม่แคล้วไหลออกไปความคิดฟุ้งซ่าน หรือ แม้แต่ไหลไปกับมโนวิญญาณไปหลงไหลใน นิมิต ปีติสุข หรือธรรมารมณ์ต่างๆที่ใจเจ้าของเป็นผู้หลอกตัวเจ้าของเอง ฉะนั้น เมื่อธรรมทั้งหลายล้วนแต่แสดงความไม่เที่ยง หากเรามีความสุขจอมปลอมจนเคยชิน จิตสำนึกหรือสำนึกรู้ ก็จะรั่วไหลออกดังกล่าว แต่หากเรารู้จักใช้ความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวงให้เกิดประโยชน์ จะเห็นว่าการเห็นความไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสติได้อย่างดียิ่ง ตรงกันข้ามความนิ่งเฉยกลับทำให้สติถอยกำลังลง เพราะเหตุสำนึกรู้ไหลไปเกาะยึดตัวตนจนสำคัญมั่นหมายผิดว่าเที่ยงคงทนและน่าใคร่น่าหลงใหลเพลิดเพลิน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความนิ่งเฉยแม้จะเป็นประโยชน์ให้จิตเกิดความสงบ แต่เมื่อสงบนานๆ จนนิ่งเฉย จนจิตสำนึกหรือสำนึกรู้หลงเข้าไปยึดเกาะจนอยู่ภายใต้การครอบงำของความสุขสงบนั้น สติก็จะถอยกำลังอ่อนกำลังลงไปในทันที สติก็จะไม่พัฒนาต่อ แต่หากจิตสำนึกหรือสำนึกรู้เห็นความจริงในสิ่งทั้งปวงนั้นว่าล้วนกำลังเคลื่อนไปสู่ความไม่เที่ยง สติก็จะทำงานเองไปโดยปริยาย เพราะเห็นแล้วปล่อย เห็นแล้ววางในความจอมปลอมหลองลวงของสิ่งทั้งปวงนั้น แต่บุคคลนั้นจำเป็นต้องฉลาดในอุบายเช่นกัน คือ ต้องมีปัญญาเห็นความจริงในความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวง ความที่อาจจะเคยยึด ก็จะเกิดการปล่อย และแม้จะเผลอไปยึดอีก ก็จะเกิดการปล่อยอีก เมื่อรู้แล้วปล่อย เพราะเหตุมีปัญญา คือสัมมาทิฏฐิเห็นความไม่เที่ยงในสิ่งเหล่านั้น อันความไม่เที่ยงในสิ่งทั้งปวงก็จะแสดงความแตกต่างหรือเปรียบเทียบให้ใจเจ้าของเห็นไปโดยปริยาย อาทิ การสัมผัสในสิ่งที่หยาบ ไปสู่สัมผัสในสิ่งที่นุ่มนวล สัมผัสในสิ่งที่เย็นไปสู่สัมผัสในสิ่งที่อุ่นหรือเย็นน้อยกว่า และอื่นๆ ซึ่งอาการแตกต่างหรือเปรียบเทียบเช่นนี้ ก็แสดงภาวะของความไม่เที่ยงในตัวของมันนั่นเอง และจะเห็นว่าเป็นประโยชน์มากในการกระตุ้นเตือนความรู้สึกที่แตกต่างกันในสัมผัสนี้นๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาหยุดคิดหรือพิจารณาด้วยความคิดนึกปรุงแต่งแต่อย่างใด ตรงกันข้ามก็จะมีสติรู้ความรู้สึกสัมผัสนั้น และเกิดปัญญาอันเนื่องมาจากการมีสติรู้ความรู้สึกในสัมผัสนั้น การมีสติรู้ในสัมปชัญญะ ก็จะเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเป็นตัวปัญญาได้ ตามนัยที่อรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้อธิบายว่าสัมปชัญญะก็คือตัวปัญญา ก็ด้วยเหตุมีสติรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือมีสติรู้ในสัมปชัญญะด้วยเหตุดังนี้แล และเมื่อเรามีสติเรียนรู้โดยการรู้ถึงความรู้สึกสัมผัสของสิ่งรอบกาย จนเกิดเป็นสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เชื่อมประสานการรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวค้วยสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จนเกิดเป็นแต่ว่าสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ โดยไม่แบ่งแยกการรับรู้ในแต่ละทวารซึ่งผู้ปฏิบิตโดยมากมักเคยชินกับการรับรู้แบบจรดจ้องเพื่อรู้ความเป็นไปในแต่ละทวารจนเกิดการแบ่งแยกอันหนีไม่พ้นจากสมมติบัญญัติ มาเป็นการรับรู้แบบธรรมชาติคือรู้ทั่วถึงทุกๆทวารแบบองค์รวม อันเป็นการรับรู้ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ เป็นการรับรู้ของวิญญาณธาตุ ที่เชื่อมประสามนต่อเนื่องกันด้วยสัมปชัญญะเป็นหนึ่งเดียว และมีสติรู้หรือสักแต่ว่ารู้อันเกิดจากวิญญาณธาตุทางอายตนะทั้ง 6 ที่เชื่อมประสานกลมกลืนกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเป็นผืนเดียวกันด้วยสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายนอกและภายในนั้น พร้อมๆกับทิ้งสมมติบัญญัติทั้งหลายอันเกิดจากการแบ่งแยกทางตา หู จมุก ลิ้น กาย และใจ สติก็จะพัฒนาเป็นสำนึกรู้ที่รู้แบบถอยห่ายหรืออยู่เหนือการรับรู้ของวิญญาณธาตุที่เชื่อมสานเป็นหนึ่งเดียวกันดังกล่าว จนเกิดเป็นใจผู้รู้ที่อยู่เหนือวิญญาณขันธ์ อันเป็นหัวใจสำคัญของการยกจิตอยู่เหนือขันธ์ 5 หรือยกใจผู้รู้ขึ้นสู่อายตนะทั้ง 6 ด้วยอุบายดังที่ได้บรรยายมาข้างต้น อันเป็นการพ้นจากวัฏฏของวิญญาณทั้ง 6 ที่ร้อยรัดใจผู้รู้นี้ให้อยู่ภายใต้อำนาจของขันธ์ 5 ไม่สามารถแหวกว่ายหรือมีใจผู้รู้ที่เป็นอิสระคืออยู่เหนือวัฏฏของวิญญาณทั้ง 6 ได้ การมีสติเรียนรู้หรือรู้สัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในกาย เวทนา จิต และธรรมโดยลำดับ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือมีสติรู้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้น เมื่อเจริญอยู่เนืองๆ ความหมดจด ความผ่องใสของจิตก็จะเกิดขึ้นโดยลำดับ จนจิตเดิมแท้เริ่มพ้นจากเมฆหมอกของกิเลสตัณหาที่ปกคลุมจิตเอาไว้ จนในที่สุดเป็นอิสระอยู่เหนือการครอบงำของกิเลสทั้งหลายจนสามารถฉายแสงจิตเดิมแท้หรือจิตประภัสสรให้ปรากฏ อันเป็นผลมาจากผู้ปฏิบัติเริ่มเกิดใจผู้รู้ที่อยู่เหนือขันธ์ 5 อีกนัยหนึ่งก็คือเกิดใจผู้รู้ที่เริ่มอยู่เหนือสมมติบัญญัติทั้งหลาย จนเกิดเป็นญาณทัสสนะ เบื้องต้นก็คือยถาภูตญาณทัสสนะ คือเห็นโลกและสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง ด้วยเหตุใจผู้รู้อยู่เหนือโลกคือขันธ์ 5 อันเป็นการปฏิบัติเข้าสู่ท่างอริยมรรค ส่วนผลนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้บำเพ็ญว่าเมื่อรถวิ่งเข้าสู่รันเวย์แล้ว จะจอดแช่นิ่ง หรือจะขับไปบ้างจอดไปบ้าง หรือจะขับเคลื่อนไปเดินหน้าไปด้วยความเพียรคือเจริญเนืองๆ อย่างต่อเนื่อง จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ อันเป็นไปตามกำลังแห่งการบำเพ็ญ กล่าวคือความเพียรของผู้ปฏิบัติ อันถึงพร้อมด้วย อาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ดังที่ได้ทรงตรัสไว้ในที่สุดแห่งการปฏิบัติโดยย่อ คือ สรุปการเจริญสติปัฏฐาน 4 ขมวดปมเหลือเพียงการปฏิบัติ 3 ประการ คือ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ และมีสติ
    ฉะนั้น การบ้านภาวนาครั้งที่ 4 นี้ ก็คือ อาศัยความไม่เที่ยงของสิ่งรอบข้างเป็นเครื่องเจริญสติ เจริญปัญญาเพื่อนำพาทุกท่านเข้าสู่อริยมรรค เมื่อเข้าสู่อริยมรรค และพึงเจริญด้วยความเพียร ด้วยสติ ด้วยสัมปชัญญะดังกล่าว ผลก็ย่อมเกิดตามมาเอง คือถึงมรรคผลได้ตามนัยดังที่ได้อธิบายมาข้างต้น

    ****************************************************************************************************
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 5 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  8. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    ****************************************************************************************************
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 6 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  9. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    ปุจฉาวิสัชชนาอันเนื่องด้วยการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่้น ผู้เบิกบาน

    ปุจฉา........

    หนูและเพื่อนๆมีความสนใจในแนวทางการปฏิบัติการเจริญสติ โดยใช้หลักการเคลื่อนไหวของมวยจีนโดยเฉพาะมวยภายในเป็นหลัก แต่ปัญหาที่พบก็คือ ความรู้ที่สอนกันจากอาจารย์ชาวจีนที่สอนให้กับลูกศิษย์คนไทย ซึ่งคำว่าอาจารย์ในภาษาจีนเรียกว่า "เหล่าซือ"

    ปัญหาประมาณ 90 % มาจากเหล่าซือส่วนใหญ่เป็นชาวจีนจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ระบบศาสนาแยกออกจากปรัชญาและการดำเนินชีวิต ทำให้มีการสอนเรื่องของ "มวย" แยกออกจากหลักของ "เต๋าและพุทธ" ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะพูดกันว่าฝึกมวยไท่เก๊กเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋า หรือเข้าถึงธรรม แต่พอเอาเข้าจริงๆกลับไม่มีใครพบรอยต่อของ 2 สิ่งนี้ จนกระทั่งมีเหล่าซือคนหนึ่งที่สอนมวยปากัวหรือฝ่ามือ 8 ทิศ เดินทางมาสอนมวย 8 ทิศในประเทศไทย เหล่าซือคนนี้เติบโตมาทางตอนเหนือของจีนที่ยังมีพุทธธิเบต เต๋าอยู่ เหล่าซือคนนี้ได้สอนการเชื่อมต่อกันระหว่างมวยจีนกับหนทางการปฏิบัติในสายพุทธได้อย่างสนิท แต่ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ การสื่อสารทางภาษาที่ไม่สามารถถ่ายทอดภาษาธรรมแบบจีนมาสู่ภาษาธรรมของไทยได้

    ปริศนาธรรมของเหล่าซือท่านนี้มาถูกเฉลยโดยหลวงพ่อวิโมกข์ ที่สามารถอธิบายทุกๆอย่างที่เหล่าซือท่านนี้ได้เคยพูดมา เพียงแต่สื่อสารในูปแบบของภาษาจีนและความเชื่อแบบชาวจีนอย่างสนิท

    หนูมีปัญหาจะสอบถามหลวงพ่อวิโมกข์ค่ะ

    .......การฝึกมวย 8 ทิศหรือมวยไท่เก๊กก็ดี อาศัย "กานเจีย" หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั่วร่างกายตั้งแต่ ผิวหนัง กล้ามเนื้อ การเคลื่อนของกระดูก เหล่าซือสอนว่าต้องใช้ความรู้สึกตัวและสติ (เสิน) เพื่อฝึกเลือด ปราณ กระดูก เอ็นและกล้ามเนื้อ รวมถึงไขกระดูก เพื่อความก้าวหน้าในมวยจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้อย่างถ่องแท้ ถึงจะไม่ถ่องแท้ แต่นี้เป็นเป้าหมายของลูกศิษยฺ์ที่ต้องสืบทอดวิชาของเหล่าซือให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ
    หนูควรจะฝึกอย่างไรค่ะ

    วิสัชชนา........
    หลวงพ่อคงไม่แตกฉานในเรื่องหมัดๆมวยๆเท่าไรนัก แต่ก็เพื่อเห็นแก่เจตนาของลูกศิษย์ที่มีเป้าหมายต้องการสืบทอดวิชาของเหล่าซือดังกล่าว ก็อยากจะแนะนำการฝึกเจริญสติและความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปสู่ความเป็นกลางๆของจิต จนสามารถสัมผัสได้ถึงลมหายใจละเอียดที่แผ่ซ่านไปทั่วกาย เป็นลมหายใจที่ประสานกับการเคลื่อนไหวของอิริยาบถต่างๆกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ ลมหายใจที่เกิดจากจิตเป็นกลางๆนี้ จะกลายเป็นลมละเอียดที่เป็นลมปราณที่แผ่ซ่านไปทั่วกายอันเป็นทั้งภายในและภายนอก ลมหายใจที่ละเอียดจนเป็นลมปราณที่แผ่ซ่านไปทั่วภายนอกกายนี้ จะกลายเป็นพลังปราณที่ปกคลุมกายซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพออกมาเป็นแสง Aura มีสีสรรพิเศษต่างไปจากคนทั่วๆไป เมื่อฝึกเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ จะรู้สึกสัมผัสถึงลมหายใจที่ละเอียดจนเกิดเป็นพลังปราณที่แผ่ซ่านไปทั่วถึงภายในกายด้วย พลังปราณนี้ก็จะไปขัดฟอกโลหิต ทำให้เลือดในกายสะอาด เมื่อเลือดในกายสะอาด กระดูกก็จะขาวและแกร่งจนแปรสภาพเป็นธาตุนั่นเอง (เรื่องนี้ หลวงปู่กัสสป ได้เคยเล่าให้อาตมาฟังเมื่อครั้งลูกศิษย์นิมนต์ท่านไปตรวจเช็คร่างกายที่โรงพยาบาลวังวโรทัย ว่า ขณะเช็คร่างกายนั้น หมอได้ถ่าย x-ray และได้พบความเปลี่ยนแปลงของกระดูกของท่านว่ามันกลายสภาพทึบแกร่งเหมือน x-ray ก้อนหิน)
    แต่ทั้งนี้ อยากจะแนะนำให้โยมฝึกสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเพื่อเป็นพละกำลังแก่การเกิดสำนึกรู้หรือใจผู้รู้ที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แยกส่วนอยู่เหนือขันธ์ 5 นี้ ดังที่เราจะพบได้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นทรงมีใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่สมบูรณ์ยิ่งจนเปล่งเป็นฉัพพรรณรังสีปกคลุมรอบพระเศียร ส่วนเราในฐานะสาวก เอาแค่เกิดเป็นสำนึกรู้หรือใจผู้รู้ที่สัมผัสได้รางๆว่าแยกส่วนเป็นอิสระอยู่เหนือขันธ์ 5 อันนี้ ก็เป็นจุด start ที่ดีในกาีรเริ่มเข้าสู่มรรคผลเพื่อการบรรลุธรรม ส่วนเรื่องหมัดๆมวยๆนั้น ขอให้เป็นเพียงแค่ดอกไม้อันสวยงามอันเราเดินผ่านไปชมไป หรือเป็นเพียง by-product เท่านั้น แต่เป้าหมายหลักคือการทำให้ถึงซึ่งที่สุดแห่งกองทุกข์นี้ หรืออย่างน้อยก็ปิดอบายให้ได้ในชาติปัจจุึบันนี้ ทุกท่านเทอญ

    *********************************************************************************************

    การบ้านภาวนาครั้งที่ 6
    การเจริญาสติ สมาธิ และปัญญา ในช่วงเข้าพรรษา

    นอกเหนือจาการเจริญภาวนาด้วยการนั่งสมาธิที่แต่ละท่านได้หมั่นทำกันอยู่แล้วมากบ้างน้อยบ้าง แต่สิ่งที่ควรเจริญให้มีมากขึ้นก็คือ การเจริญสติและปัญญา ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มอินทรีย์ 5 และพละ 5 อันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาให้ได้สมดุลกัน การบ้านภาวนาครั้งที่ 6 นี้ ก็คือการเจริญสติในห้องน้ำ และ การเจริญปัญญาก่อนนอน ฉะนั้น หลายๆคนที่แม้จะมีชีวิตที่ยุ่งเหยิง มีภาระกิจ หน้าที่ต่างๆ หรือการงานต่างๆมากมาย แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ตนเองยุ่งจนไม่มีเวลาอาบน้ำ หรือ ยุ่งจนไม่มีเวลาหลับนอน ในเมื่อเราก็ต้องอาบน้ำและหลับนอน หลวงพ่อจึงอยากจะให้อุบายแก่นักปฏิบัติได้ใช้เวลาในขณะอาบน้ำเพื่อการเจริญสติ และ เวลาขณะหลับนอนในการเจริญปัญญา โดย...
    (1) การเจริญสติในขณะอาบน้ำ เป็นเวลาที่เหมาะทีสุดในการเจริญสติ เพราะเวลาอาบน้ำถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่สุดของเรา ที่ไม่มีใครมารบกวน ขอให้ทุกท่านบอกกับตนเองว่า ขณะอาบน้ำนั้น เราจะมีชีวิตอยู่กับการอาบน้ำจริงๆ โดยไม่ให้ความคิดแล่นหนีเล็ดลอดออกนอกห้องน้ำไปได้ โดยขอให้อาบน้ำไปด้วยพร้อมกับการมีสตและความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปด้วย ค่อยๆจับขันน้ำ ยกขันน้ำ ตักน้ำ อาบน้ำชะโลมร่างกายอย่างช้าๆ และให้รู้สึกถึงความอุ่นหรือเย็นของน้ำที่ค่อยๆไหลรินรดทั่วสรรพางค์กาย ด้วยความสดชื่นอิ่มเอิบ ร่างกายมีความสดชื่นและตื่นตัว รู้เนื้อรู้ตัว ทุกๆขณะที่น้ำไหลรินรดทั่วสรรพางค์กาย หากใช้ฝักบัวก็ยิ่งจะเห็นชัดถึงสายน้ำจากฝักบัวที่ค่อยๆไหลรินทั่วร่างกาย จนเข้าใจและรู้สึกได้ถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจริงๆ พร้อมกับมีสติรู้ถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทุกๆอณูของผิวกายที่สัมผัสกับความอุ่นหรือความเย็นของสายน้ำที่ไหลรินรดทั่วผิวกายนั้น จนรู้สึกตื่นเนื้อตื่นตัวเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและมีความสุขสดชื่นกับการอาบน้ำจริงๆ โดยค่อยๆอาบน้ำ มือลูบผิวกาย ถูสบู่อย่างช้าๆ ด้วยสัมผัสเบาๆ สบายๆ เป็นธรรมชาติ และเวลาถูฟัน ก็ให้รู้สึกสัมผัสตั้งแต่การจับแปรง บีบยาสีฟัน ยกแปรง ถูฟันอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องกำหนดแต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกๆๆ คือรู้สึกเบาๆ ผ่อนคลายและเป็นไปด้วยอาการที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ไม่มีการเกร็ง หรือ ตั้งใจเกินไป คือให้เพียงรู้ถึงรู้สึกของอาการการเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างนิ่มนวล ด้วยความสดชื่นเบิกบานใจ หรือมีสติ ตื่น รู้ เบิกบานนั่นเอง พร้อมกับรู้สึกตัวทั่วพร้อมถึงอิริยาบถท่าทางการเคลื่อนไหวของกายแบบองค์รวมที่เป็นไปอย่างช้าๆ สบายๆ ขอให้มีสติตื่นรู้เบิกบานและสดชื่นอยู่กับการอาบน้ำเช่นนี้ จะพบว่าไม่มีความคิดอันใดเกิดขึ้นแทรกได้ หรือจะเกิดขึ้นแทรกได้ก็เพียงชั่วขณะ ไม่ปล่อยให้เป็นความคิดฟุ้งซ่านหนีออกไปเที่ยวนอกห้องน้ำ การอาบน้ำ ปกติ เราอาบน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-ก่อนนอน ก็เท่ากับว่าเราได้ฝึกเจริญภาวนาทุกวันๆละ 2 เวลาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่าภายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ถ้าเราอาบน้ำด้วยการเจริญสติเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง สติสัมปชัญญะจะเริ่มพัฒนาไปเป็นสำนึกรู้ที่เริ่มแยกส่วนอยู่เหนือกาย และเห็นอิริยาบถการเคลื่อนไหวของกายเนืองๆ และหากหมั่นทำเช่นนี้อยู่เนืองๆจนเป็นกิจวัตรประจำวัน ในที่สุด สำนึกรู้นี้ก็จะพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้ ที่ถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะโดยลำดับ
    (2) การเจริญปัญญาในขณะหลับนอน ให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถท่านอนอย่างสบายๆ รู้สึกสัมผัสถึงผิวกายที่นอนสัมผัสพื้นและรู้สึกสัมผัสอันอ่อนนุ่มของหมอน ผ้าห่มหรือผ้านวมที่ปกคลุมกาย จากนั้น ค่อยๆประคองสติหรือสำนึกรู้ให้ค่อยๆอยู่เหนือศีรษะ และใช้สติหรือสำนึกรู้นี้ มองดูร่างกายที่กำลังนอนอยู่โดยทำในใจว่า ร่างกายนี้ก็เปรียบเสมมือนท่อนไม้และท่อนฟืนที่นอนแน่นิ่งและต้องแตกสลายไปในที่สุด มีสติหรือสำนึกรู้ที่ลอยอยู่เหนือกายหรือลอยอยู่เหนือศีรษะนี้มองเห็นร่างกายว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุ โดยให้พิจารณาไปทีละส่วน ตั้งแต่เริ่มต้นจากการพิจารณาให้เห็นร่างกายเป็นสักแต่ว่าธาตุดิน ไปตั้งแต่กะโหลกศีรษะไปจรดปลายเท้า เห็นเส้นผมที่เริ่มขาวเป็นหย่อมๆ หรือขาวมากขึ้นๆไปทั่วศีรษะ เห็นหนังหุ้มศีรษะ และถูกเจาะเป็นช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก เห็นลึกลงไปถึงกะโหลกศีรษะและมันสมอง พร้อมๆกับเห็นความเสื่อมไปเน่าเปื่อยผุพังไป ความเสื่อมเน่าเปื่อยผุพังไปนี้ได้ขยายวงกว้างออกไปถึงร่างกาย ลำตัว แขนขา จนจรดปลายเท้า และเห็นความสกปรกของกายอันเป็นไปในภายใน อาทิ หัวใจ กระเพาะน้อย กระเพาะใหญ่ ลำไส้ ปอด ตับ ไต ไส้พุงเป็นต้น ซึ่งล้วนกำลังเคลื่อนสู่ไปสู่ความเสื่อมสลายไป แม้แต่กระดูกซี่โครงแต่ละท่อนๆ ก็มีแต่ความแตกสลาย และ เสื่อมสลายกลับคืนสู่ธาตุดินปลิวกระจายคืนสู่ธาตุดินในธรรมชาติ เมื่อพิจารณาธาตุดินเสร็จ ก็มาพิจารณาธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ไปตามลำดับในลักษณะเดียวกัน สติหรือสำนึกรู้นี้ เมื่อพิจารณาไปก็ค่อยๆน้อมเข้าสู่ใจไป จนเกิดการปลงสลดสังเวช อยู่ทุกคืนๆ ๆ จนใจเจ้าเข้าเห็นแต่โทษ ความสกปรกหรือความเป็นทุกข์ ของร่างกายนี้ และเกิดการปล่อยวางไปโดยลำดับ
    *************************************************************************************
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 7 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  10. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    สาธุและขออนุโมทนาด้วยครับ

    [b-wai] กราบนมัสการครับ
     
  11. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
  12. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,224
    ค่าพลัง:
    +15,636
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยกับความรู้ที่ท่านสั่งสอนมาในครังนี้
     
  13. sathit56

    sathit56 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +39
    กระทู้นี้เยี่ยมมากเลย.....พึ่งอ่าน....
    เป็นแนวทางปฏิบัติที่ละเอียดอ่อนมาก
    ขอบคุณครับที่ให้ธรรมทานนี้มา....
    จะทำตามดูนะครับ....ได้ผลอย่างไรจะเล่าให้ฟัง
     
  14. nokthai

    nokthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +244
    ผมขออนุโมทนาด้วยครับ....เป็นความรู้ที่ผมชอบมากครับอาจารย์....
    จากประสพการณ์ของผมที่เคยศึกษาและปฎิบัติมาอาจกล่าวได้ว่าเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำสอนข้างต้นของกระทู้มากๆเลยครับ....ตื่นในความสงบ..ลมหายใจบางเบามากจนแทบจะไม่รับรู้ทั้งลมหายใจและตัวตน..จะรับรู้ได้ก็แต่ดวงจิตของตนที่ยังเหลืออยู่แต่ก็ยังติดอยู่ตรงที่ไม่กล้าจะเดินหน้าต่อ...เลยหยุดพัก...และพักมานานหลายปีแล้วครับ..แต่ดวงจิตยังบอกเราให้คอยทำอยู่เสมอซึ่งมักทำได้ไม่นานแต่ทำอยู่ทุกวันไม่เลือกเวลา...ผมจะต้องทำอย่างไรต่อครับเพื่อเดินหน้าต่อไป....รบกวนท่านอาจารย์ชี้แนะด้วยครับ

    ประโยชน์โดยส่วนตัวแล้วพบว่าทำให้ผมสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีมาก.. ซึ่งผมเกิดอารมณ์ได้ตามปุตุชนทั่วไป เช่น รัก โลภ โกรธ หลง.. แต่ก็สามารถหยุดอารมณ์เหล่านั้นได้รวดเร็วมาก..จิตใจเป็นสมาธิ..ได้ตลอดเมื่อต้องการและในทันที..เข้าใจสภาวะความไม่เที่ยงของธรรมชาติ...
     
  15. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    <TABLE class=tborder cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1>ประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมภาวนา ( รอบพิเศษ อบรม 1 วันเต็ม ) เปิดอบรมแก่ผู้สนใจในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2548 (ทั้งวัน) ที่บุญนิเวศน์สถาน ถนนบางนา-ตราด ตรงข้ามมหาวิทยาลัยหัวเฉียว รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น กรุณาดูรายละเอียดได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16438&st=2

    ******************************************************************************************
    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๓ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการมีสติอยู่เหนือความรู้สึก
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๒ ได้ที่
    http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4

    ธรรมชาติเดิมแท้ของจิต นั้นประภัสสร คือ กระจ่าง ผ่องใส สว่างและบริสุทธ์ จนทำให้ผู้ที่ได้เข้าถึงจิตเดิมแท้ หรือแม้แต่ได้สัมผัสจิตเดิมแท้บ้าง จะมีอาการรู้ ตื่น เบิกบาน หากดูจากหน้าตาใบหน้าภายนอก ก็จะอิ่มเอม เบิกบาน ผ่องใส และเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ทำให้เป็นผู้คล่องแคล่ว ว่องไว มีจิตอันควรแก่การงานทั้งปวง อันนี้ จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า หากผู้ใดปฏิบัติธรรมแล้วไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน ไม่ตื่น อันเป็นจิตที่ควรแก่การงานแล้วไซร้ คือ ปฏิบัติธรรมแล้วกลายเป็นคนเชื่องช้า ช้าไปหมด ไม่ตื่น รู้ เบิกบาน ไม่คล่องแคล่ว ว่องไวอันเป็นลักษณะของจิตที่ควรแก่การทำงานทั้งปวง ก็สามารถสรุปได้ว่ากำลังเดินหรือปฏิบัติผิดทาง ผลก็คือปฏิบัติธรรมแล้วก็ตึงๆ หนักๆ หน่วงๆ เพราะผลพวงของการจรดจ่อ จรดจ้อง กำกับ บังคับจิตให้นิ่ง ให้ว่าง ให้ตั้งใจรู้แบบจรดจ่อ แบบจิกรู้ อันทำให้สภาพจิตใจเสียสมดุลไปโดยไม่รู้ตัว และเมื่อสภาพจิตเสียสมดุล ก็จะมีผลให้เห็นแสดงออกภายนอก คือ เริ่มผิดมนุษย์ การพูดการจา หรือการกระทำ หรือการงานก็เชื่องช้าไปหมด บางครั้งก็เบื่อกับการงานจนเห็นการงานเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ หรือวุ่นวาย เริ่มแปลกแยกจากสังคมแวดล้อม เพราะเหตุว่าไม่รู้ว่าอะไรควรในสิ่งไม่ควร และอะไรไม่ควรในสิ่งที่ควร อันนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายว่าหลายๆท่านที่มาศึกษาปฏิบัติธรรม จริงจังกับการปฏิบัติธรรม จนยึดติดในรูปแบบต่างๆนานา เพราะเหตุไม่เข้าใจว่านั่นเป็นการฝึกหัดหรือเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นเพียงการเรียนรู้สภาวะในช่วงที่มาปฏิบัติในชั้นเรียน หาได้เป็นการเข้าถึงไม่ แต่การเข้าถึงนั้นจะต้องเข้าถึงจากประสบการณ์ในชีวิตจริงๆ เป็นบทเรียนให้เราได้เข้าถึงสภาวะที่เป็นไปเอง จนหมดจด แจ่มแจ้ง และหลุดพ้นไปโดยลำดับ ดังคำกล่าวของปรมาจารย์จีนที่สอนแก่ลูกศิษย์ว่า การเรียนรู้จนเจนจบวิชาหรือวิทยายุทธนั้น ก็คือ
     
  16. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๓ ได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4


    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 15 วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2548

    จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  17. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๓ ได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4


    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 15 วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2548

    จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  18. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ขอเชิญผู้สนใจ ดูรายละเอียดข้อมูลวันฝึกอบรม

    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๓ ได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4


    กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 15 วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2548

    จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  19. sakkrit99k

    sakkrit99k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +167
    โมทนาสาธุอย่างสุดซึ้งจริงๆกับท่าน วิโมกข์ นับถือ เป็นประโยชน์มากๆ
     
  20. sakkrit99k

    sakkrit99k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +167
    ท่านที่ใช้ชื่อว่าวิโมกข์ เป็นพระภิกษุหรือเปล่า อยู่ที่ไหนครับ ถ้าเป็นโยมก็ขอทราบเช่นกัน มีเทป เนื้อหาลงและอื่นๆไหม อยากไปพบครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...