รอดูปี 2012 ค่ะ มีคนทำนายอะไรไว้เยอะแยะไปหมด
การสังเกต++สัญชาตญาณเตือนภัยของสัตว์++สิ่งบอกเหตุ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย mead, 22 พฤษภาคม 2007.
หน้า 21 ของ 30
-
<table id="post3380705" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-width: 0px 1px; border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255);" width="175">Janur<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_3380705", true); </script>
สมาชิก
วันที่สมัคร: May 2010
สถานที่: เชียงใหม่
อายุ: 25
ข้อความ: 17
Groans: 2
Groaned at 0 Times in 0 Posts
ได้ให้อนุโมทนา: 9
ได้รับอนุโมทนา 107 ครั้ง ใน 18 โพส
พลังการให้คะแนน: 0
</td> <td class="alt1" id="td_post_3380705" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start -->4 มิถุนายน 53 เวลา 11.00-12.00 น. ที่ ต.สันผีเสื้อ อ.เมืองเชียงใหม่ เกิดปรากฏการรผีเสื้อบินอพยพจากทางทิศตะวันออก ไปยังทิศตะวนัตกจำนวนพันกว่าตัว เป็นบริเวณกว้าง
ถ้าไม่สังเกตจะเห็นเหมือน ผีเสื้อบินไปมาเฉยๆ แต่จากการเฝ้าสังเกต และเราขับรถไปดูทั่วๆด้วยจะเห็นว่าพวกมันบินกระจายกันไม่รวมกลุ่มใหญ่ แต่กลับบินไปทิศเดียวกัน
คือมีการบินไปทางพระธาตุดอยสุเทพหรือทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีลักษณะเป็นทั้งกลุ่มๆเล็ก หรืออาจตัวเดียว แต่กระจายไปทั้งตำบล จากที่ผ่านตาเราก็นับได้คร่าวๆ 200-300ตัว (ยังไม่นับที่อื่นอีกค่ะ) ทำให้ดูเหมือนมีการอพยพของผีเสื้อจนน่าแปลกใจ
ยังไงก็ตามเมื่อเวลา 13.00น ก็หายไปทั้งหมด ก่อนจะเกิดพายุฝนทั่วเมืองเชียงใหม่<!-- google_ad_section_end -->
__________________
<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ชาติ นี้จะขอไปพระนิพพาน....
</td></tr></tbody></table> -
-
7 มิย. 2553 12:18 น.
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ขณะที่ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตะเภา จ.ประจวบฯ เข้าแถวเคารพธงชาติ ถูกผึ้งหลวงในรั้วโรงเรียนต่อย ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้น อนุบาล 1- ม. 3 มีอาการอาเจียน ไข้ขึ้นสูง ล่าสุดแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว เหลือประมาณ 10 คน ที่อาการสาหัส รอดูอาการอยู่ที่โรงพยาบาล -
-
-
ถ้าภัยมันจะมาจากน้ำ สิ่งบอกเหตุก็คงไม่พ้นปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ นี่แหละ
การตรวจสอบสภาพน้ำทะเลกรณีชาวประมงพบปลาตายและน้ำทะเลร้อนผิดปกติ [FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]โดยเครือข่ายภาคประชาชน โครงการตาสับปะรด จ[/FONT][/FONT]. ระนอง - [FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]โซนแร่นอง[/FONT][/FONT]ที่มา : วันเสาร์ที่8 พ.ค. 53 ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีปลาตายลอยเกลื่อนในทะเลอยู่หลายจุด คือ บ้านท่าโพธิ์ และได้รับแจ้งจากสมาชิกอีกส่วนหนึ่งว่า มีปลาลอยตายเป็นจำนวนมากที่อ่าวเกาะสองประเทศพม่า รวมถึงตามเกาะต่าง ๆ ในพื้นที่จ.ระนองด้วย
- วันจันทร์ที่ 10 พ.ค. 53 ได้รับแจ้งจากแร่นอง160 ว่าชาวประมงบ้านหินช้างได้ยินเสียงดัง “ซ่า” เหมือนน้ำโดนหินร้อนๆ เป็นทางยาว แล้วสักครู่ก็มีปลาชักดิ้นลอยขึ้นมาตายเป็นจำนวนมาก
รวมถึงข้อมูลจากสมาชิกแจ้งว่าชาวทะเลที่ดำหอยนางรมบริเวณเขตรอยต่อไทย-พม่า พบน้ำทะเลร้อนผิดปกติจึงต้องรีบขึ้นจากน้ำทะเล
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]สถานที่เกิดเหตุที่สามารถกำหนดพิกัดได้
[/FONT][/FONT]: บริเวณกึ่งกลางแหลมเส็ดตะกวดประเทศไทยกับเกาะเหล็กประเทศพม่า
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]
การปฏิบัติหน้าที่ [/FONT][/FONT]: วันจันทร์ที่ 10 พ.ค. 53 ฉลาม 07 เก็บตัวอย่างปลาตาย และได้นำส่งสถานีประมงทะเลจังหวัดระนองวันศุกร์ที่14 พ.ค. 53 เวลา 14.00 น. นัดแนะเพื่อนสมาชิกตาสับปะรดโซนแร่นอง พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถติดต่อได้ ประกอบด้วย สถานีประมงทะเลจังหวัดระนอง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
วันอังคารที่11 พ.ค. 53 แร่นอง01 ประธานโซนแร่นอง ได้นำข้อมูลที่ได้รับไปปรึกษาคุณสมโภชน์ นิ้มสันติเจริญ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรชายฝั่ง ได้รับคำแนะนำและช่วยประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลงเก็บข้อมูลในพื้นที่เกิดเหตุ
จังหวัดระนอง และชาวประมงพื้นบ้าน
คือ คุณลุงกาหริม วิชัย ลงพื้นที่เกิดเหตุ โดยการสนับสนุนเรือจากหน่วยปราบปรามทางทะเลศุลกากรระนอง แต่เนื่องจากมีฝนตกและคลื่นลมแรงจึงต้องยกเลิกภารกิจไปก่อน
วันเสาร์ที่ 15 พ.ค. 53 เวลา 09.30 น. สมาชิกตาสับปะรดจ.ระนองโซนแร่นอง พร้อมด้วยหน่วยงานและสมาชิกชุดเดิมได้ออกเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุด้วยเรือศุลกากร703 ลำใหญ่ พร้อมทีมงานโลมา
ซึ่งนำทีมโดยหัวหน้าโลมา01 ออกเดินทางจากท่าเทียบเรือเฉลิมพระเกียรติฯ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางทะเล คือคุณสมโภชน์ นิ้มเจริญ ไม่ได้ร่วมเดินทางไปด้วยเนื่องจากติดภารกิจ
- ระหว่างการเดินทางพบน้ำทะเลที่มีความผิดปกติคือ มีวงสีส้มอ่อน ๆ คล้าย ๆ โคลนดินเป็นระยะ ๆ ถึงแม้จะเป็นช่วงน้ำลึกก็ตาม
- พบปลาลอยตายอยู่เป็นระยะ ๆ ส่วนใหญ่เป็นปลาจวด และพบเล็กน้อยมีปลากระทิง ปลากะพง ปลากระบอก ปลาดุกทะเล ปลากดทะเล ปลาทราย
- 10.00 น. ถึงจุดเกิดเหตุบริเวณร่องน้ำระหว่างแหลมเส็ดตะกวดประเทศไทยกับเกาะเหล็กประเทศพม่า พิกัด 10. 5'59.24"น 98.38'43.94"ตะวันออก ห่างจากท่าเรือประภาคารฯ ประมาณ 17 กม.
ทีมงานสถานีประมงฯ และสถานีเพาะเลี้ยงฯ เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตรวจวัดค่า PH วัดค่าออกซิเจน วัดอุณหภูมิ และเก็บ
ตัวอย่างน้ำทะเล รวมถึงเก็บตัวอย่างน้ำทะเลจุดที่มีสีส้มอ่อน ๆ ด้วย
- 10.30 น. เรือวิ่งถอยกลับมาประมาณกึ่งกลางทาง ทีมงานทำการปฏิบัติหน้าที่เหมือนเดิม มีการเก็บตัวอย่างปลาที่ลอยตายขึ้นมาด้วย
11.30 น. กลับสู่ท่าเทียบเรือประภาคารฯ เข้าห้องประชุมสรุปผลการปฏิบัติงาน
สรุปผลการปฏิบัติงาน
- เจ้าหน้าที่สถานีประมงทะเลจังหวัดระนอง แจ้งว่า ตัวอย่างปลาที่เก็บได้ในวันนี้คงจะพิสูจน์อะไรไม่ได้ เพราะสภาพมันเน่าเปื่อย ซึ่งน่าจะตายมาหลายวันแล้ว
- ทางเจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดระนอง ได้แจ้งข้อมูลเบื้องต้นให้ทราบ ค่าความเค็ม ค่า PH ปกติ อุณหภูมิ32.7 องศาเซลเซียส ที่ระดับความลึก 5 เมตร
- ตัวอย่างน้ำและแพลงตอนจะต้องนำกลับไปตรวจอย่างละเอียดในห้องทดลองอีกครั้ง
- ถ้าให้ดีควรมีการเก็บตัวอย่างดินที่พื้นทะเลมาด้วยจะดีมาก
- ได้นำข้อมูลสรุปแจ้งให้คุณสมโภชน์ นิ้มสันติเจริญ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรชายฝั่งผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางทะเล
ได้ทราบ ก็ได้ให้ข้อมูลว่า อุณหภูมิน้ำทะเล 32.7 องศา
เซลเซียสที่ความลึก 5 เมตร ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ เพราะปกติจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส
ควรต้องมีการหาสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้งว่าความร้อนที่เพิ่มขึ้น 2-4 องศานี้เกิดจากอะไร รวมถึงต้องรอผลตรวจแพลงตอนว่าเป็นแพลงตอนที่มีพิษหรือไม่
และซึ่งทางคุณสมโภชน์แจ้งว่า คงจะต้องลงไปพิสูจน์ใต้น้ำอีกครั้ง เพื่อหาสาเหตุของความร้อนที่เกิดขึ้น
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]การตรวจสอบสภาพน้ำทะเลกรณีชาวประมงพบปลาตายและน้ำทะเลร้อนผิดปกติครั้งที่2 [FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]โดยเครือข่ายภาคประชาชน โครงการตาสับปะรดจ.ระนอง - [FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]โซนแร่นอง[/FONT][/FONT][/FONT]
ที่มา - จากการออกสำรวจน้ำทะเลครั้งที่1 ในวันเสาร์ที่ 15 พ.ค. 53 ที่ผ่านมา และได้ผลการตรวจวัดน้ำออกมาให้เป็นที่น่าสงสัยในเรื่องของอุณหภูมิน้ำ ว่าเป็นค่าที่ปกติจริงหรือไม่
- มีการนำเสนอข่าวเรื่องการออกสำรวจทะเลทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ แต่เนื้อหาข่าวไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงที่ทำการออกสำรวจ
- ได้ทำการส่งผลการตรวจคุณภาพน้ำให้กับนักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางทะเลได้วิเคราะห์แล้ว มีการตั้งข้อแย้งว่าไม่ควรจะเป็นเรื่องที่ปกติ รวมถึงการตรวจวัดน้ำทะเลในครั้งแรกนี้ยังไม่ละเอียดเท่าที่ควร จึงเห็นควรลงไปทำการสำรวจอีกครั้ง พร้อมทั้งเห็นควรลงไปสำรวจใต้ท้องทะเลด้วย
- มีการแสดงความคิดเห็นกันในเรื่องนี้ในกระดานสนทนาของเวบไซต์พันทิปดอทคอม เป็นหัวข้อกระทู้ที่มีคนเข้ามาอ่านและออกความคิดเห็นกันมาก จนกระทั่งผู้สื่อข่าวของทีวีไทย (ThaiPBS) ได้ติดต่อมายังแร่นอง 01 เพื่อจะทำการลง
พื้นที่ติดตามสถานการณ์ในเรื่องนี้พร้อม ๆ กับการออกสำรวจในรอบที่ 2 ด้วย[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]การปฏิบัติหน้าที่ : แร่นอง 01 ได้ประสานไปยังคุณสมโภชน์ นิ้มสันติเจริญ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางทะเล เพื่อนัดวันเวลาลงทำการสำรวจคุณภาพน้ำทะเล รวมถึงดำน้ำสำรวจสภาพพื้นทะเลในวันเสาร์ที่ 29 พ.ค. 53 และทางคุณสมโภชน์ได้ทำการประสานไปยังสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลจ.ระนอง
รวมถึงสถานีวิจัยทางทะเลหาดประพาส เพื่อร่วมทำการสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง
แร่นอง 01 ได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เรือเพื่อการออกสำรวจจากหน่วยปราบปรามทางทะเล ศุลกากรระนอง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]วันเสาร์ที่ 29 พ.ค. 53
เวลา 09.00 น. ทีมงานเริ่มจะออกเดินแต่เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างหนัก มีคลื่นลมแรงจึงต้องรอจนถึงเวลา 09.55 น. จึงได้เริ่มออกเดินทางด้วยเรือศุลกากร 703 ซึ่งมีผู้ร่วมเดินทางคือ
- สมาชิกโครงการตาสับปะรดจ.ระนอง
- คุณสมโภชน์ นิ้มสันติเจริญ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางทะเล
- ทีมงานเจ้าหน้าที่จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลจ.ระนอง
- ทีมงานเจ้าหน้าที่จากสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน (หาดประพาส) ม.เกษตรศาสตร์
- นายสัญญา ติ้นชัยภูมิ หรือบังดำ ชาวบ้านบ้านหินช้าง
- ทีมงานจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หรือ ทีวีไทย
- ผู้สื่อข่าวจากสนง.ประชาสัมพันธ์จ.ระนอง และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี
- ทีมงานโลมา (หน่วยปราบปรามทางทะเลศุลกากรระนอง) ซึ่งนำทีมโดยหัวหน้าโลมา01และกัปตันบัญชา เอื้อรอด พร้อมทีมงาน
ทำการสำรวจคุณภาพน้ำจุดที่1 ห่างจากท่าเรือประมาณ 2 ไมล์ทะเล (ประมาณ 3.6 กม.) บริเวณตรงข้ามท่าเรือระนอง
ทำการสำรวจคุณภาพน้ำจุดที่2 ห่างจากท่าเรือประมาณ 5.782 ไมล์ทะเล (ประมาณ 10.4 กม.) บริเวณตรงข้ามบ้านหินช้าง พิกัด N 10o 03.262’ E 98o 37.121’
ทำการสำรวจคุณภาพน้ำจุดที่3 ห่างจากท่าเรือประมาณ 7.617 ไมล์ทะเล (ประมาณ 13.7 กม.) บริเวณใกล้หัวแหลมเสร็จตะกวด พิกัด N 10o 05.902’ E 98o 38.772’ ทำการตรวจวัดเสร็จแล้วมีฝนตกหนัก
ทำการสำรวจคุณภาพน้ำจุดที่4 ห่างจากท่าเรือประมาณ 7.617 ไมล์ทะเล (ประมาณ 13.7 กม.) บริเวณใกล้หัวแหลมเสร็จตะกวด พิกัด N 10o 05.959’ E 98o 38.803’
ทำการสำรวจคุณภาพน้ำจุดที่ 5 ห่างจากท่าเรือประมาณ 10.17 ไมล์ทะเล (ประมาณ 20 กม.) บริเวณใกล้หัวแหลมเสร็จตะกวด พิกัด N 10o 08.113’ E 98o 40.140’
13.30 น. ทีมประดาน้ำพร้อมช่างบันทึกภาพใต้น้ำ จะทำการดำน้ำสำรวจพื้นผิวใต้ทะเลในจุดที่ 4 แต่เนื่องจากเป็นจังหวะที่น้ำกำลังลงทำให้มีกระแสน้ำเชี่ยว จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องรอให้น้ำลงสุดก่อน
16.00 น. น้ำลงแล้วแต่ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เพราะคลื่นลมแรง จึงต้องยกเลิกและจะเริ่มปฏิบัติการดำน้ำในวันรุ่งขึ้น
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]วันอาทิตย์ที่ [/FONT][/FONT]30 พฤษภาคม 2553
คุณสมโภชน์ พร้อมทีมงานจากทีวีไทยที่ตกลงใจว่าจะอยู่ต่ออีกหนึ่งวัน
(ด้วยความขอบคุณ) นัดรวมตัว 10.30 น. เพื่อไปแวะสัมภาษณ์บังกาหริมและรอจังหวะน้ำขึ้นเต็มช่วง 12.00 น.
ทีมงานไปถึงบ้านบังกาหริม พบว่าบังกาหริมนอนซมพิษไข้เพราะเมื่อวานบังขับเรือตากฝนตามพวกเราไปกลางทะเล ในขณะที่กำลังมีไข้วันนี้ก็เลยหนักไปกันใหญ่
ทีมงานเจอปัญหา เพราะไม่มีเรือออกทะเลเนื่องจากบังไม่สบาย ก็ได้ประสานไปยังสมาชิกเครือข่ายตาสับปะรดจ.ระนอง[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]
ก็ได้รับการอนุเคราะห์จากท่านแร่นอง205 ประสานเรือหางยาวให้กับทีมงานเพื่อออกทำงาน
ต้องขอบคุณ ท่านแร่นอง205 และเครือข่ายภาคประชาชน โครงการตาสับปะรดจ.ระนอง
ทีมงานไปลงเรือที่ท่าเรือบ้านท่าโพธิ์ตอนเกือบเที่ยง ซึ่งห่างจากบ้านหินช้างไปไม่ไกลนัก ท้องฟ้าสดใส อากาศเป็นใจกับการออกปฏิบัติการดำน้ำมาก ๆ ทีมงานออกเรือไปยังจุดเกิดเหตุ โดยมีหลานของบังกาหริมลงเรือไปกับทีมงานด้วย
มาถึงจุดดำน้ำ ทุกอย่างพร้อม ทิ้งสมอเรือ คุณสมโภชน์นัดแนะกับช่างภาพทีวีไทย กันว่า ให้ดำน้ำไปตามสายสมอเรือ ถ้ามีปัญหาด้านล่างหรือหลงทางกันก็ให้ลอยตัวขึ้นด้านบน
[/FONT][/FONT]ดำลงไปประมาณ 10 นาที ช่างภาพก็ขึ้นมาก่อน และคุณสมโภชน์ก็ตามขึ้นมาหลังจากนั้นอีกประมาณ 5 นาที
สิ่งที่ทั้งสองท่านบอกเหมือนกันนั่นก็คือ
- น้ำค่อนข้างแรง
- แทบจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะน้ำขุ่นมาก
- ระยะการมองไม่ถึงหนึ่งช่วงแขน
- ใต้ท้องทะเลเป็นโคนเลน คุณสมโภชน์ลงไปถึงพื้นแล้วใช้มือล้วงลงไปในเลน ลึกประมาณ 1 ฟุต
สรุปคือ
ทีมงานไม่ได้ภาพใต้น้ำมาเลย ได้มาก็มองไม่เห็นอะไร แต่มีข้อมูลบางอย่างที่เหมือนกับการตรวจสอบซ้ำ(Re-check) และสามารถยืนยันข้อมูลเมื่อวานนี้ได้เป็นอย่างดีนั่นก็คือเรื่องของ "อุณหภูมิ"
ทีมงานออกเดินทางกลับ
โดยไปแวะดำน้ำอีกรอบที่ใกล้กับชายฝั่ง เป็นบริเวณกองหิน แต่น้ำกำลังลงและน้ำแรงมาก ก็เลยไม่ได้อะไรมามากเช่นกัน
กลับเข้าสู่ท่าเรือท่าโพธิ์ ทีมงานทีวีไทยทำการสัมภาษณ์สรุปข้อมูลจากคุณสมโภชน์และเดินทางย้อนกลับไปบ้านหินช้าง เพื่อไปถ่ายทำสัมภาษณ์บังกาหริม และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บกุ้งเคยในช่วงน้ำใหญ่ที่ผ่านมาจากแม่บ้านของบังกาหริม
สรุปผลการปฏิบัติงาน
- ข้อมูลผลการตรวจคุณภาพน้ำ ณ วันที่29
พ.ค. 53
1. บริเวณที่เก็บตัวอย่างน้ำคลองเสร็จตะกวด วันที่ 29 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2553
2.
ผลการวิเคราะห์ มีรายละเอียด ดังนี้
อุณหภูมิ ความเค็ม ออกซิเจน พีเอช อุณหภูมิ ความเค็ม ออกซิเจน พีเอช อุณหภูมิ ความเค็ม ออกซิเจน พีเอช อุณหภูมิ ความเค็ม ออกซิเจน พีเอช อุณหภูมิ ความเค็ม ออกซิเจน พีเอช
( ๐C ) (ppt) (mg /L) ( ๐C ) (ppt) (mg /L) ( ๐C ) (ppt) (mg /L) ( ๐C ) (ppt) (mg /L) ( ๐C ) (ppt) (mg /L)
0.5 30.70 27.9 6.10 7.77 30.96 29.0 6.56 7.74 30.94 28.0
6.35 7.65 30.98 28.0 6.44 7.74 30.90 28.0 5.54 7.74
1 30.70 27.9 6.10 31.05 29.0 6.36 31.01 28.0 6.31 31.02
28.0 6.39 30.90 28.0 5.54
2 30.70 27.9 6.10 31.10 29.0 6.29 31.04 28.0 6.34 31.07
28.0 6.34 30.95 28.0 5.48
3 30.70 27.9 6.10 31.13 29.0 6.25 31.05 28.0 6.35 31.09
28.0 6.34 30.97 28.0 5.44
4 30.70 27.9 6.10 31.15 29.0 6.24 31.05 28.0 6.35 31.09
28.0 6.27 30.99 28.0 5.39
5 30.80 27.9 6.07 31.16 29.0 6.22 31.06 28.0 6.33 31.10
28.0 6.26 30.99 28.0 5.41
6 30.80 27.9 6.07 31.16 29.0 6.22 31.07 28.0 6.34 31.10
28.0 6.26 31.00 28.0 5.41
7 30.80 27.9 6.07 31.18 29.0 6.19 31.08 28.0 6.32 31.11
28.0 6.25 31.00 28.0 5.39
8 31.18 29.0 6.18 31.11 28.0 6.25 31.01 28.0 5.39
9 31.19 29.0 6.18 31.11 28.0 6.25 31.01 28.0 4.19
10 31.12 28.0 6.25 31.00 28.0 4.19
สรุปผลคุณภาพน้ำ
อยู่ในเกณฑ์ปกติ[FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold][/FONT][/FONT]
สรุปผลแพลงก์ตอนเป็นทั้งไดอะตอม และไดโนแฟลกเจลเลต โดยพบมากที่สุดเป็นCoscinodiscus sp. ทั้ง 3 จุด มีNitzschia sp., Ceratium
sp. และ Dinophysis sp. บ้างประปราย ซึ่งจัดเป็นแพลงก์ตอนในกลุ่มก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า red tide หรือ ขี้ปลาวาฬได้ และกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ ได้แก่Tintinnopsis sp. ซึ่งพบปริมาณน้อยทั้ง3 จุด
- สรุปผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำปกติ
- แต่อุณหภูมิหรือความร้อนทุกจุดที่ทำการสำรวจ เปรียบเทียบกับความลึกซึ่งมีแนวโน้มว่า ยิ่งลึกก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือยิ่งลึกยิ่งร้อนนั่นเอง ในขณะที่ ค่าความเค็ม ค่าออกซิเจน ค่า Ph แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
- มีคำถามตามมาว่า
1. อะไรคือต้นกำเนิด (source) ของความร้อนใต้ทะเล
2. อะไรที่มีพลังมหาศาลที่สามารถละลายมวลของน้ำทะเลอันมหาศาลให้กลายเป็นหนึ่งเดียวได้ เพราะปกติน้ำทะเลมันจะมีชั้นของน้ำทะเล คือ ความเค็มและค่าออกซิเจนจะเปลี่ยนไปตามความลึกของทะเล(มากขึ้นหรือน้อยลงไม่แน่ใจ) แต่ค่าที่วัดออกมาได้มันแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงo บนผิวน้ำมีอุณหภูมิ33 องศา เนื่องจากตั้งแต่เช้ามา มีแดดจัดมาก
ผลสรุปจากการปฏิบัติงาน ในวันที่ 30 พ.ค. 53
- มีข้อมูลบางอย่างที่เหมือนกับการตรวจสอบซ้ำ (ReCheck) และสามารถยืนยันข้อมูลของวันที่ 29 พ.ค. 53 ได้เป็นอย่างดีนั่นก็คือเรื่องของ " อุณหภูมิ"
o ดำลงไปวัดความลึกของท้องทะเลได้21 เมตร อุณหภูมิตั้งแต่ระดับความลึก 2 เมตรลงไป ถึง 21 เมตร มีค่าเท่ากันคือ 30 องศา ซึ่งเป็นค่าที่วัดจากเครื่องมือในการช่วยดำน้ำ
- ตรวจสอบข้อมูลจากประชาชนบ้านท่าโพธิ์ พบมีปลาตายอย่างต่อเนื่องแต่เป็นปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลากะพง ขนาด 7-15 กก. ชาวบ้านจะเก็บไปขาย หรือบางทีก็นำไปแล่เนื้อทาเกลือ ทำเป็นปลาแดดเดียว- ตรวจสอบข้อมูลจากประชาชนบ้านหินช้างที่มีอาชีพทำกะปิขาย จากเดิมเคยตักกุ้งเคยได้ครั้งละ 7 – 10 เข่ง ปรากฏว่าช่วงน้ำใหญ่ที่ผ่านมา มีการตักเก็บกุ้งเคยได้น้อยมาก ซึ่งได้เพียงครึ่งเข่งเท่านั้น
- ตรวจสอบข้อมูลจากสมาชิกโซนอำเภอสุขสำราญ พบมีปลาฉลามขนาดกลางเข้ามาเกยตื้นและตาย ตรวจสอบข้อมูลจากชาวมอร์แกนบ้านเกาะเหลาที่รับจ้างออกเรือหาปลา
พบว่าตั้งแต่วันเกิดเหตุปลาตายเป็นต้นมา ได้มีการออกเรือประมงไปแล้ว 3 ปรากฏว่าได้ปลาน้อยมาก ปัจจุบันนายจ้างได้ให้งดออกเรือชั่วคราวแล้ว เพราะทนแบกรับภาวะขาดทุนไม่ไหว และจากการดำน้ำหาหอยก็สามารถรับรู้ได้ว่าน้ำทะเลร้อนขึ้น และพบเห็นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว
[FONT=AngsanaNew,Bold][FONT=AngsanaNew,Bold]ข้อสังเกต[/FONT][/FONT]และสิ่งที่คาดหวัง
- การเกิดเหตุปลาตายจำนวนมาก เกิดขึ้นหลังจากมีแผ่นดินไหวที่สุมาตราไม่เกิน 28 ชั่วโมงประเทศแบบนี้ สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นแบบนี้ ประชาชนในพื้นที่ควรจะต้องรับรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น ควรเฝ้าสังเกต ควรเฝ้าระวังอย่างไร และเตรียมตัวกันอย่างไร หรือต้องรอให้ภัยพิบัติครั้งใหญ่เกิดขึ้นก่อนเหมือนสึนามิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจะตื่นตัวลงมาทำงาน
- ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีผลเฉพาะเกิดปลาตายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อจำนวนปลาที่ชาวประมงหาได้น้อยลง ชาวบ้านหากุ้งเคยเพื่อทำกะปิได้น้อยลงอย่างมากผิดปกติด้วย
- สภาพภูมิประเทศของบ้านหินช้าง บ้านท่าโพธิ์ บ้านทรายแดงและบริเวณใกล้เคียงมีลักษณะด้านหลังเป็นภูเขา และด้านหน้าเป็นทะเล และในทะเลเป็นจุดพิกัด “รอยเลื่อนระนอง” อีกด้วย ลักษณะภูมิ
- ข้อมูลที่ได้จากการทำงานในครั้งนี้ เป็นเพียงข้อมูลและการตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น หน่วยงานที่มีศักยภาพพร้อมทั้งทางด้านเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีและความรู้ที่เกี่ยวข้อง ควรลงมาสำรวจในแนวลึกและแนวยาวให้มากกว่านี้ เพื่อการเฝ้าระวังแจ้งเตือนเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นให้กับประชาชนได้รับทราบ
ขอขอบคุณ
- หน่วยปราบปรามทางทะเลศุลกากรระนอง นำทีมโดย ท่านหัวหน้าโลมา01, กัปตันบัญชา เอื้อรอด พร้อมทีมงาน ที่เอื้อเฟื้อเรือลำใหญ่ในการออกปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งอาหาร และเครื่องดื่มครบครัน- ทีมงานเจ้าหน้าที่จากสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน (หาดประพาส) ม.เกษตรศาสตร์
- คุณสมโภชน์ นิ้มสันติเจริญ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางทะเล
- ทีมงานเจ้าหน้าที่จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลจ.ระนอง
- นายกาหริ่ม วิชัย ชาวบ้านบ้านหินช้าง
- นายสัญญา ติ้นชัยภูมิ หรือบังดำ ชาวบ้านบ้านหินช้าง
- ทีมงานจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หรือ ทีวีไทย
- ผู้สื่อข่าวจากสนง.ประชาสัมพันธ์จ.ระนอง และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี
- สมาชิกเครือข่ายภาคประชาชน โครงการตาสับปะรด จ.ระนอง
[/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]<!-- google_ad_section_end --> -
เห็นทีเหล่าสิ่งมีชีวิต จะสามารถจับสัญชาติญาณ ได้แค่ในโลกนะครับ ยังไม่รวมเกี่ยวกับ ผลที่มาจากนอกโลก -
หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี
*** สังขาร มนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ ****
เกิดเป็น สัตว์ ต้นไม้...คือ กำลังชดใช้กรรม
การรับรู้จะเปิดหมด รู้โลก รู้ธรรม
แต่เลือกทำไม่ได้
เกิดเป็น มนุษย์....กิเลสตัญหา บดบัง
รับรู้ธรรมชาติ ไม่ค่อยได้
- " หนุมาน ผู้นำสาร " -
โลกร้อนขึ้นทำ “หนอนคืบ” แพร่พันธุ์ผิดปกติในป่าดงบังอี่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2553 11:28 น.
มุกดาหาร - สภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระบบนิเวศน์แปรปรวนแม้แต่ในพื้นที่ป่าดงบังอี่ ปีนี้หนอนคืบขยายพันธุ์มากกว่าปกติ แทะกินใบไม้เนื้อแข็งแต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชผลทางการเกษตร
จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน จนมีผลทำให้ความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศวิทยาของธรรมชาติในวนอุทยานดงบังอี่ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการระบาดของหนอนคืบซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติ ขยายพันธุ์มากกว่าปกติ แต่จะไม่มีผลต่อการทำลายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร
นายทวีชัย ภูมิสาขา เกษตรอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวการแพร่ระบาดของหนอนคืบ หรือ หนอนหัวเหลืองในเขตวนอุทยานดงบังอี่ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งพบมีการแพร่ระบาดอย่างมากผิดปกติว่า ตามธรรมชาติของหนอนคืบชนิดนี้ จะเกิดขึ้นทั่วไปในช่วงต้นฝน โดยจะฟักเป็นตัวอ่อนก่อนจะเจริญเติบโตกลายเป็นหนอนและเป็นผีเสื้อในที่สุด
แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การขยายพันธุ์ของหนอนคืบในปีนี้จึงมีมากกว่าปกติ ซึ่งหนอนคืบชนิดนี้จะกัดกินเฉพาะใบประดู่ หรือใบไม้ใหญ่เท่านั้น จะไม่กัดกินหรือทำลายพืชไร่ หรือต้นข้าวของเกษตรกร อีกทั้งหนอนชนิดนี้ไม่สามารถนำมารับประทานได้
ขณะที่ นายวิสิทธิ์ วรโยธา เจ้าหน้าที่วนอุทยานดงบังอี่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 กล่าวว่า หนอนคืบชนิดนี้เกิดขึ้นทุกปีช่วงต้นฤดูฝน จะมีวงจรชีวิตที่สั้นมาก และจะกัดกินเฉพาะใบไม้ของไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะใบต้นประดู่ซึ่งมีอยู่มากในวนอุทยานแห่งนี้
สำหรับหนอนคืบชนิดนี้จะมีสีขาวสลับดำ ลำตัวผอม หัวสีเหลือง ระยะแรกอยู่รวมเป็นกลุ่ม ในช่วงที่เกิดการระบาดของตัวหนอนมากที่สุดคือช่วงฤดูฝน
Local - Manager Online -
โลกร้อนขึ้นทำ “หนอนคืบ” แพร่พันธุ์ผิดปกติในป่าดงบังอี่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2553 11:28 น.
มุกดาหาร - สภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระบบนิเวศน์แปรปรวนแม้แต่ในพื้นที่ป่าดงบังอี่ ปีนี้หนอนคืบขยายพันธุ์มากกว่าปกติ แทะกินใบไม้เนื้อแข็งแต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชผลทางการเกษตร
จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน จนมีผลทำให้ความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศวิทยาของธรรมชาติในวนอุทยานดงบังอี่ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการระบาดของหนอนคืบซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติ ขยายพันธุ์มากกว่าปกติ แต่จะไม่มีผลต่อการทำลายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร
นายทวีชัย ภูมิสาขา เกษตรอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวการแพร่ระบาดของหนอนคืบ หรือ หนอนหัวเหลืองในเขตวนอุทยานดงบังอี่ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งพบมีการแพร่ระบาดอย่างมากผิดปกติว่า ตามธรรมชาติของหนอนคืบชนิดนี้ จะเกิดขึ้นทั่วไปในช่วงต้นฝน โดยจะฟักเป็นตัวอ่อนก่อนจะเจริญเติบโตกลายเป็นหนอนและเป็นผีเสื้อในที่สุด
แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การขยายพันธุ์ของหนอนคืบในปีนี้จึงมีมากกว่าปกติ ซึ่งหนอนคืบชนิดนี้จะกัดกินเฉพาะใบประดู่ หรือใบไม้ใหญ่เท่านั้น จะไม่กัดกินหรือทำลายพืชไร่ หรือต้นข้าวของเกษตรกร อีกทั้งหนอนชนิดนี้ไม่สามารถนำมารับประทานได้
ขณะที่ นายวิสิทธิ์ วรโยธา เจ้าหน้าที่วนอุทยานดงบังอี่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 กล่าวว่า หนอนคืบชนิดนี้เกิดขึ้นทุกปีช่วงต้นฤดูฝน จะมีวงจรชีวิตที่สั้นมาก และจะกัดกินเฉพาะใบไม้ของไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะใบต้นประดู่ซึ่งมีอยู่มากในวนอุทยานแห่งนี้
สำหรับหนอนคืบชนิดนี้จะมีสีขาวสลับดำ ลำตัวผอม หัวสีเหลือง ระยะแรกอยู่รวมเป็นกลุ่ม ในช่วงที่เกิดการระบาดของตัวหนอนมากที่สุดคือช่วงฤดูฝน
Local - Manager Online -
-
สงสัยว่าแม่เหล็กโลกเปลี่ยนหนัก โลกรั่วแถวอ่าวเม็กซิโกที่น้ำมันรั่วน่ะ ด้านที่เป็นทวีปเราจะเป็นไรป่าว เพราะอยู่ตรงข้ามเค้าพอดี นึกถึงส้มเขียวหวานน้ำส้มถูกดูดออกโดยเข็ม ต่อไป ต่อไป ผลส้มจะเป็นไง เฮ้อ!
-
-
สภาวะความ สมดุล ถูกทำลาย ความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตามกฎ แห่งไตรลักษณ์
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ขอมวลมนุษย์ พึงตั้งจิตประกอบกุศลกรรม ตั้งอารมณ์ให้มั่นคงไว้ที่พระนิพพาน เพื่อ พ้น พิบัติภัย แห่ง สังสารวัฎ ตามรอยธรรมแห่ง องค์พระมหาศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเทอญ -
-
วาฬเกยตื้น เป็นข่าวเก่านี่คะ
เคยได้ fwd mail เหมือนกันนานหลายปีแล้ว -
เห็นแมลงแปลก ๆ ที่เขาใหญ่ สีเขียวอ่อนน่ารัก มีขนเป็นพู่ ๆ สีขาวเหมือนกระโปรงบัลเล่ย์อยู่ด้านท้าย ใช้ขนสีขาวหุบลู่ไปด้านหลังและกางเพื่อดีดตัวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว เห็นตัวเดียวบนโต๊ะอาหารค่ะ ใครคุ้น ๆ บ้างมั้ยคะว่าเป็นแมลงอะไร
-
-
ช่วงนี้ หนูในท่อ ออกมามากจนผิดปกติครับ แม้แต่ในสถานที่ที่สะอาด หนูก็ออกมาให้เห็นครับ
หน้า 21 ของ 30