การอุทิศส่วนกุศล

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย กุศโลบาย, 22 กรกฎาคม 2014.

  1. กุศโลบาย

    กุศโลบาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    323
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,604
    การอุทิศส่วนกุศล


    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ลูกทำสังฆทานให้สัมภเวสี ถ้ากลับไปแล้วจะ กรวดน้ำ ให้ได้ไหมคะ....?

    หลวงพ่อ : คือว่าการอุทิศส่วนกุศล ให้พระพุทธศาสนานี้ไม่มีน้ำ แต่ว่าที่พระเจ้าพิมพิสารทำเป็นองค์แรก เพราะว่า ศาสนาพราหมณ์ เขาถือว่า ถ้าจะให้อะไรกับใคร ให้คนนั้นแบมือแล้วเอาน้ำราดลงไป แล้วตอนที่พระเจ้าพิมพิสารทำ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ห้าม เพราะเป็นประเพณีนิยม

    เวลาที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนกุศลต้องใช้น้ำ เพราะว่าท่านเพิ่มพบพระพุทธเจ้า ประเพณีของพราหมณ์ยังชินอยู่ แต่ว่าใจท่านตั้งตรง เวลาอุทิศส่วนกุศลจริง ๆ ในพระพุทธศาสนาไม่ต้องใช้น้ำผีกับเปรตต้องรีบวิ่งกลับ เพราะไม่ได้กินแน่เพราะฉันเคยพบมาแล้ว แต่ไม่มีน้ำนะว่า"อิมินา" เพลินไปยังไม่ทันเลย


    ผู้ถาม : มีบางคนเขาบอกว่า "กรวดน้ำแบบแห้ง" ตายไปชาติหน้าจะแห้งแล้งเพราะไม่มีน้ำ โบราณพูดอย่างนี้จะจริงหรือเปล่าคะ...?

    หลวงพ่อ : เขาพูดได้ยินหรือเปล่า คนที่พูดมาได้ยินหรือเปล่า...คนโบราณพูดอย่างนี้ คนโบราณพูดหรือเปล่า...ถ้าได้ยินแสดงว่าเขาพูดจริง แต่ก็ไม่ได้แห้งแล้งจริง การอุทิศส่วนกุศล พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ใช้น้ำ ฉันใช้น้ำวันเดียว วันบวช ว่าไม่ถูกเลย ต้องระวังน้ำหยดอีก ผีไม่ได้กินน้ำ ตั้งแต่วันนั้นเป็รต้นมาฉันไม่เคยใช้น้ำเลย ก็เห็นผีได้รับ แต่ชาติหน้าถ้าจะทำอย่างนั้น ถ้าฉันยังไม่ตายก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ไม่เป็นไรนะกินน้ำเกลือเผื่ออยู่แล้ว เผื่อชาติหน้าอด

    ผู้ถาม : อ้อ....มอน่าล่ะ หลวงพ่อถึงให้น้ำเกลือบ่อยๆ

    หลวงพ่อ : ใช่มีทั้งน้ำสะอาด น้ำเกลือ น้ำหวาน เผื่อไว้ตลอด
    รวมความว่าเวลาจะอุทิศส่วนกุศล ให้ใช้ภาษาไทยสั้นๆอย่างทำบุญสังฆทานเราก็ตั้งใจว่า
    "การบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ผลนี้จะมีแก่ข้าพเจ้าเพียงใด ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่....(บอกชื่อ)..... ขอให้มาโมทนารับผลเช่นเดียวกับข้าพเจ้า"

    และตอนที่พระสงฆ์ให้พร นี้ก็ขอเจ้าภาพและทุกท่านที่บำเพ็ญกุศลแล้ว ตั้งจิตปรารถนาเอาตามประสงค์ สมมติว่าท่านทั้งหลายตั้งใจเพื่อ พระนิพพาน อันนี้ต้องเผื่อไว้ด้วยว่า หากสมมติว่าเราตายจากชาติ นี้แล้วยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพานเพียงไร สมมติว่าเราตายถ้าหากไม่เผื่อไว้ละก็มันจะขลุกขลัก ฉะนั้นการอธิษฐานจิต คือ ตั้งอธิษฐาน เขาเรียกว่า อธิษฐานบารมี พระกรรมฐานก็ดี ถวายสังฆทานก็ดี อธิษฐานว่า

    "ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ทว่าถ้าหากข้าพเจ้า ยังไม่เข้าถึงพระนิพพานเพียงใดจะเกิดใหม่ไปในชาติใดก็ตาม ขอคำว่าไม่มีจงอย่างปรากฏแก่ข้าพเจ้า"

    ถ้าเราต้องการอะไรให้มันมีทุกอย่าง จะไม่รวยมากก็ช่าง เท่านี้ก็พอแล้ว"


    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ

    ผู้ถาม : แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?

    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม
    อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?

    ท่านอนุรุทก็บอกว่า ไม่ยุบ แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์"

    ผู้ถาม : การแผ่ส่วนบุญกุศลไปให้แก่บิดามารดา ท่านจะได้รับผลไหมคะ....?
    หลวงพ่อ การได้รับส่วนกุศลนี่ ถ้าหากท่านมีโอกาสโมทนาท่านก็ได้รับ ถ้าท่านไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ ได้รับเหมือนเราเอาสิ่งของไปให้แต่ผู้รับเขาไม่รับ เขาจะได้ไหม..... ถ้าพวกเขาอยู่ในนรก ไฟไหม้ทั้งวัน ถูกสรรพวุธสับฟันทั้งวัน ถ้าเราเอาขนมไปให้กิน เขากินได้ไหม..?

    ผู้ถาม : ไม่ได้ค่ะ

    หลวงพ่อ : อยู่ในแดนเปรต ๑๑ จำพวกไม่ได้รับ แต่ถ้าเป็นพวกที่ ๑๒ คือปรัตทัตตูปชีวีเปรต พวกนี้มี โอกาสได้โมทนา

    ผู้ถาม แล้วผู้สร้างจะได้ไหมคะ...?

    หลวงพ่อ ไม่แน่ ถ้าสร้างดีก็ได้บุญ ถ้าสร้างไม่ดีก็ได้บาป

    ผู้ถาม : เป็นไงคะ.......?

    หลวงพ่อ : คือก่อนจะทำบุญ ก็กินเหล้ากันก่อน พอพระไปก็กินเหล้ากันแล้ว ถ้าหากมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มี บาป มีต่บุญ ผู้สร้างได้ ๑๐๐% คือบุญนี่จะได้แก่ผู้สร้างก่อน แล้วผู้สร้างอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่น ถ้าเขามีโอกาสโมทนาก็ได้รับ
    ผู้ถาม หลวงพ่อครับ คำว่า เจ้ากรรมนายเวร นี่หมายถึงใครบ้างครับ...?
    หลวงพ่อ เจ้ากรรมนายเวร นี้ตัวตนมันไม่มีหรอก มันเป็นเรื่องของกรรมที่เป็น อกุศลกรรม ถ้าบอกว่า เจ้ากรรมนายเวร ก็หมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราทำไว้ ตัวจริงที่เราเคยทำ เขาไม่มายุ่งกับเรา หรอก อย่างเราฆ่าปลาตาย ปลาเขาก็ไม่มายุ่งกับเรา แต่ว่ากฏของกรรมมันเล่นงานเรา ถ้าปลามานั่งจองเวรคอยลงโทษเรา แกก็ไม่ต้องไปเกิดละ
    คำว่า เจ้ากรรมนายเวร นี่นะถ้าพูดตามส่วนจะว่าไม่มีก็ไม่ได้ ถ้าหากเราปฏิบัติถึงขั้นสุกขวิปัสสโก เราจะบอกว่าไม่มีตัว เพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่เตวิชโช ขึ้นไปเขาเห็น ต้อง พูดตามขั้นนะ ถ้าเราว่ากันตามหนังสือก็คิดว่าจะไม่มี

    ผู้ถาม : แล้วถ้าเราบอกอุทิศส่วนกุศล ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เขาจะได้รับไหมคะ....?

    หลวงพ่อ : คือว่าอุทิศไปให้เขาจะได้รับหรือไม่ได้รับก็ตาม บุญที่เราทำเป็นผลให้เกิดความสุข ไอ้กรรมต่าง ๆ ที่เป็นอกุศลที่เราทำไปแล้วเราไปยั้งมันไม่ได้ แต่ทว่าถ้าเราทำกรรมดีมีกำลังเหนือ มันก็กวดไม่ทันเหมือกัน

    สำหรับคำอุทิศส่วนกุศลที่ใช้อยู่เดี๋ยวนี้ก็ยาวเหมือนกัน แต่ยาวตามท่านบอก บทอุทิศส่วนกุศลท่อนแรก ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร นั่นหลวงปู่โตมาบอกแล้วก็บทอุทิศส่วนกุศลอีก ๓ ท่อนพญายมราชมาบอก
    สำหรับตอนที่สองที่ให้เทวดาโมทนา ท่านบอกว่า "เวลาอุทิศส่วนกุศลน่ะ ขอบอกให้ผมเป็นพยานด้วย" ท่านบอกว่า "ลูกหลานของท่านก็คือลูกหลานของผมและมันก็ไม่แน่นักหรอก บางทีไปอยู่สำนักผมมันอาจจะลืมก็ได้เขาอาจจะนึกถึงบุญไม่ออก ถ้านึกถึงบุญไม่ออก ฉันก็จะได้บอกว่า เขาสั่งให้เป็นพยาน"

    "มันเป็นธรรมดา ถ้าทำทั้งบุญทั้งบาป บางทีกรรมบางอย่างมันปกปิดเวลาถามเรื่องบุญนี่มันนึกไม่ออกถ้านึกไม่ออกก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องปล่อยให้ตกนรก หากว่าถาม ๓ เที่ยวนึกไม่ออก ผมจะได้ ประกาศว่า "นี่เขาเคยบอกฉันไว้เวลาทำบุญเขาบอกให้ฉันเป็นพยาน แล้วก็ประกาศกุศลนั้น ก็ได้ไปสวรรค์"


    ผู้ถาม : ทีนี้การอุทิศส่วนกุศลแก่บุคคลต่างๆ ที่ตายไปแล้ว จำเป็นไหมครับว่าต้องออกชื่อ รู้สึกว่ามีมากเหลือเกิน

    หลวงพ่อ : ถ้านึกได้ก็ออกชื่อเขาก็ได้ ถ้าออกชื่อน่ะดีอยู่อย่าง ถ้ากรรมหนาอยู่นิด ถ้าออกชื่อเจาะจงเขาได้เลยนะ ถ้านึกไม่ออกก็ว่ารวมๆ "ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี"เอายังงี้ดีกว่า ถ้าขืนไปไล่ชื่อน่ากลัวจะไม่จบ

    มันมีอยู่คราวหนึ่ง นานแล้ว ไปเทศน์กัน 3 องค์ บังเอิญที่ไปก็มีอารมณ์จิตคล้ายคลึงกัน เวลาเพลเขาก็ถวายอาหาร ก็มีพระอื่นๆด้วยรวมแล้ว 5 องค์
    ทีนี้ตาทายกเขาอุทิศส่วนกุศลในวั้นนั้น แกก็ออกชื่อคนตาย แล้วก็บรรดาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว บอกเท่านั้นแหละ พวกผีก็เข้ามาเป็นหมื่นล้อมรอบศาลาอยู่ ไอ้คนที่เป็นญาติรับโมทนาแล้งผิวพรรณดีขึ้น ไอ้พวกที่มิใช่ญาติก็เดินร้องไห้กลับ

    พอเขานิมนต์ขึ้นเทศน์ ตอนลงท้ายเขาถามกันถึงว่า การอุทิศส่วนกุศลทำยังไง องค์ที่มีปากร้ายอยู่สักหน่อย บอกว่า

    "ญาติโยมที่นำอุทฺศส่วนกุศล อย่าให้ใจแคบเกินไปนักซิ อย่าลืมว่าการทำบุญแต่ละคราวพวก ปรทัตตูปชีวีเปรตก็ดี พวกสัมภเวสีก็ดี จะมายืนล้อมรอบ อย่างสวดมนต์ "อยัญจะโข" น่ะ พวกบรรดาผีทั้งหลายทั่วบริเวณจะคอยโมทนา แต่ถ้าเราให้แต่ญาติ ญาติก็จะได้ แต่บุคคลอื่นไม่ใช่ญาติจะไม่ได้ ฉะนั้นก็ควรจะให้ต่อๆกันไปคือว่าให้ทั้งหมด "ทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ"

    ที่มา :
     

แชร์หน้านี้

Loading...