การุณยฆาตกับมุมมองตามแนวพุทธจริยศาสตร์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 15 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    โดย
    พระมหาณฤพล อริยวังโส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสาครสุ่นประชาสรรค์
    กรุงเทพมหานคร


    http://www.buddhism.siamindustry.com/index2.htm


    “สิ่งใดก็ตาม ที่ท้าทายค่านิยม ที่สังคมยึดถือกันมายาวนานไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด ก็ล้วนควรค่าแก่การ นำมาถกเถียงทั้งสิ้น เพราะสิ่งนี้ ช่วยให้สังคมได้ทบทวนว่า ควรดำรงระบบความคิดความเชื่อ ด้านการรักษาพยาบาล และมุมมองต่อชีวิต ในแบบเดิมต่อไปหรือไม่”
    แพทย์ชาวอเมริกัน
    ในปัจจุบัน สังคมและมนุษย์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยี ได้มีความเจริญเป็นอย่างมากจนเกือบถูกมองว่าการปรับตัวของคนจะช้ากว่าที่เป็น และผลของความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมของมนุษย์ในปัจจุบันและมีผลกระทบทั้งทางตรงและอ้อมทั้งที่อาจจะเป็นทั้งทางบวกและทางลบก็ตาม ในโลกของสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลนั้นกิจกรรมต่างๆมนุษย์ก่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตและแนวทางในการปฏิบัติต่อกันจนก่อให้เกิดภาคการปฏิบัติโดยรวมของชาวโลกและเกิดเป็นกฎเกณฑ์ที่ผู้มีเหตุผลยอมรับกัน (Universal law) เป็นประดุจดังหัวใจของโลก กิจกรรมต่างๆของโลกนั้นประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังเช่น การเมือง การศึกษา การศาสนา เป็นต้น เปรียบได้เช่นเครื่อง อะไหล่ ของรถยนต์ที่ประกอบกันจนเป็นตัวรถ จนสามารถขับเคลื่อนได้ พุทธศาสนา ก็เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอะไหล่นั้นในการขับเคลื่อนโลกนี้ให้ไปในทางที่ควรจะเป็นตามหลักความเป็นจริง
    สังคมนั้น มีความจริงอยู่ว่า (Social fact) มีกลุ่มหลากหลาย ประกอบด้วยกันจนก่อให้เกิดความ หลากหลายทางความความคิด, ความประพฤติและท่าทีต่อเหตุการณ์ต่างๆจนดูเหมือนจะเกิดทัศนะความคิดเห็นที่ต่างกันจะมีมากขึ้น ทั้งที่เป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงทัศนะในประเด็นเดียวกันจนเกิดเป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ (moral conflict) อย่างเช่น การทำแท้ง การทำตัวอ่อนของมนุษย์และการกระทำการุณยฆาต เป็นต้น พุทธศาสนา ในฐานะเป็นศาสนา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรม ซึ่งประกอบด้วยเหตุผล และเป็นเครื่องหมายที่ยึดจับของชนหมู่มากจะมีแนวคิดอย่างไรต่อท่าทีปัญหาเหล่านี้ บทความนี้จึงอาจจะให้ข้อคิดเห็นตามหลักพุทธศาสนา ถึงแม้หลักการและคำสอนเหล่านี้ จะผ่านมานับพันปีแล้วก็ตาม การุณยฆาตหรือการฆ่าโดยความกรุณานั้นกำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันอย่างมากทั้งในทางการแพทย์ กฎหมาย พุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมซึ่งประกอบด้วยเหตุผลบทความนี้จึงพยายามชี้ให้เห็นถึงทัศนะแนวคิดโดยยึดหลักดั่งเดิมในการอธิบายปัญหาทางจริยธรรมที่ร่วมสมัย
    ความเป็นมาของการทำการุณยฆาต
    คำว่า Euthanasia มาจากรากศัพท์ กรีก คือ eu หมายถึง good และ thanatos หมายถึง good [1]จึงรวมความหมายถึง การตายอย่างสงบ หรือตายดีนั้นเอง (good death) ซึ่งในทางปรัชญา ได้มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ว่า การุณยฆาต ใน The Cambridge dictionary of philosophy ให้คำจำกัดความสั่นๆว่า การกำหนดระยะเวลาอย่างเอื้ออาทรต่อคนที่เจ็บป่วยให้ตายและการฆ่ามนุษย์โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ว่า ตายดีกว่าอยู่ [2]รวมความว่า การุณยฆาต หมายถึง การทำให้ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ ได้ตายลงโดยไม่เจ็บปวด เพื่อให้พ้นจากทุกข์ การุณยฆาต แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ Active คือการกระทำโดยตรง และการยุติเครื่องช่วยหายใจก็จัดเข้าในกรณีนี้ Passive คือ การปล่อย หรือ ปฏิเสธการรักษา การไม่สั่งการรักษา หรือการยกเลิก ความแตกต่างระหว่างทั้งสองที่สำคัญนั้นคือ Passive หมอไม่ได้ทำอะไรที่จะทำให้คนไข้ตาย และคนไข้ตายเพราะโรคที่เกิดกับคนไข้เองส่วน Active หมอทำบางอย่างเกี่ยวกับการตายของไข้คนเช่นคนไข้ขอร้องให้ถอดเครื่องหายใจเป็นต้น จากลักษณะของ ทั้งสองนี้ยังแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ
    • Voluntary คือ การุณยฆาตที่เกี่ยวกันการร้องขอของบุคคลผู้มีอำนาจในการตัดสินใจว่า ชีวิตของเขาสมควรสิ้นสุดลง
    • Non-voluntary คือ การุณยฆาตที่เป็นการฆ่าผู้ป่วยที่ไม่มีความสามารถ ตัวอย่างเช่น การถอดหลดอาหารจากคนไข้ ที่อยู่ในขั้นโคม่า
    • Involuntary คือ การุยฆาตที่กระทำต่อผู้ไม่สมัครใจ [3]
    ปัญหาของการุณยฆาตนั้นยังเป็นปัญหาถกเถียงกันมากในทาง จริยธรรม (Moral dilemma) จะเห็นได้จากมีนักคิดที่ทั่งสนับสนุนและคัดค้านมากมาย โดย
    ฝ่ายสนับสนุนมีแนวคิดสรุปได้ว่า
    • <!--mstheme--><!--msthemelist--><table style="margin-bottom: 0cm;" type="disc" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <!--msthemelist--><tbody><tr><td valign="baseline" width="42"></td><td valign="top" width="100%"><!--mstheme-->[FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง พ้นจาก ความทุกข์ทรมาน <!--mstheme-->[/FONT]<!--msthemelist-->
      </td></tr> <!--msthemelist--><tr><td valign="baseline" width="42"></td><td valign="top" width="100%"><!--mstheme-->[FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] เป็นการแบ่งเบา ภาระ เรื่องค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล ของญาติ <!--mstheme-->[/FONT]<!--msthemelist-->
      </td></tr> <!--msthemelist--><tr><td valign="baseline" width="42"></td><td valign="top" width="100%"><!--mstheme-->[FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] การเลือกที่จะตาย หรือมีชีวิตอยู่นั้น เป็นสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคล <!--mstheme-->[/FONT]<!--msthemelist-->
      </td></tr> <!--msthemelist--></tbody></table><!--mstheme-->[FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ฝ่ายคัดค้านมีแนวคิดสรุปได้ว่า[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] · กระบวนการสิ้นสุดของชีวิต เป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] · อาจทำให้เกิด อาชญากรรม ที่แฝงมาในรูปของการุณยฆาตได้ เช่น การค้าอวัยวะ หรือ ญาติผู้ป่วย ต้องการมรดก เป็นต้น [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] · คำวินิจฉัยของแพทย์ว่า บุคคลนั้น เป็นผู้ป่วยที่สิ้นหวัง อาจผิดพลาด ทั้งที่ยังมีโอกาส รักษาให้หาย และรอดชีวิตได้[/FONT]

     
  2. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] การุณยฆาตนั้นเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนเกี่ยวโยงไปถึงศาสตร์ต่างๆมากมายทั้งทางการแพทย์ กฎหมาย เป็นต้น พุทธศาสนา มีหลักในการกำหนดจริยธรรม โดยเรียกหลักนี้ว่า ศีล ซึ่งเป็นประดุจกฎหมายของพุทธศาสนา ในการกำหนดว่า สิ่งไหนควร หรือไม่ควรกระทำในพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงเสนอแนวคิดในเรื่องนี้เป็นเบื้องต้น ว่า การุณยฆาตนั้นในพระบาลี ไม่ได้ชี้ให้เห็นโดยตรง แต่ได้วางหลักในการเสนอแนวคิดนี้ ใน ตติยปาราชิกสิกขาบท วินัยปิฏก มหาวิภังค์ ถึงการฆ่าว่า พุทธศาสนา เสนอหลักว่าต้องครบองค์ประกอบดังนี้ [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] . 1. สัตว์มีชีวิต[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] 2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] 3. จิตคิดจะฆ่า[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] 4. ทำความพยายามเพื่อให้ตาย[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] 5. สัตว์ตายลงด้วยความพยายามนั้น[4][/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] หากผิดโดยครบองค์5 ย่อมถือว่าผิดในทัศนะพุทธศาสนา ในการเสนอหลักการนี้พระพุทธศาสนา ได้ยังชี้ให้เห็นความเข้ม (Degree) ของศีลข้อนี้ว่า การฆ่านั้นยังแบ่งเป็นไปตามปัจจัยต่างๆตามระดับของ คุณค่า ขนาดกาย ความพยายาม และ เจตนา[5] เช่นการฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย ฆ่าพระอรหันต์มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ยิ่งใช้ความพยายามในการฆ่ามาก ก็ยิ่งมีโทษมาก การฆ่าโดยป้องกันตัวมีโทษมากกว่าฆ่าโดยโกรธแค้น ซึ่งโดยหลักการนี้ไม่ว่าจะเป็นการชักชวน การวาน การลงมือฆ่าเอง ไม่มีทางเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปได้ เลยในทัศนะของพระพุทธศาสนา การกระทำการุณยฆาตนั้นพุทธศาสนาได้มีเหตุการณ์คล้ายกันนี้และพุทธศาสนาได้ให้ข้อตัดสิน(Active euthanasia) โดยมีในพระบาลีว่า [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่งความตาย[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] แก่ภิกษุนั้นด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพแล้ว ....ดูกรภิกษุทั้งหลาย[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว[6] [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] จากทัศนะนี้จะเห็นว่าพุทธองค์หาได้เห็นสมควรในการอนุญาตไม่ เพราะการกระทำในลักษณะนี้ แสดงถึงความทุกขเวทนาของภิกษุผู้พรรณความตาย (Better of death) เพราะเห็นถึงความเจ็บป่วย และเกิดสงสาร แต่ใช้พิจารณาของตนเองคิดว่าเขาต้องการตาย พุทธศาสนาจึงเห็นว่าการฆ่าคนไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดเกิดจากธรรมชาติอันชั่วร้าย (ศัพท์พุทธศาสนาเรียกว่า อกุศล) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นบาปเสมอและเมื่อเป็นบาป ผู้ฆ่าก็ต้องรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการฆ่านั้นเป็นธรรมดา[7] อีกกรณีหนึ่ง ที่ปรากฏใน พระบาลีวินัยปิฎก มหาวิภังค์ว่า [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัตราอันจะ[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้[8] [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] จากข้อความนี้จะเห็นได้ว่า พุทธศาสนา ถือว่าการกระทำใดที่ก่อให้เกิดการตาย จากการหาอาวุธหรือเครื่องมือต่างๆในการช่วยทำให้ตายเช่น ดาบ......มีด ยาพิษ หรือเชือก[9] ถือว่าเป็นความผิด ตามทัศนะนี้ถึงแม้ว่าลักษณะของพระพุทธศาสนานั้น จะมีบรรทัดฐานที่แน่นอน ดังเช่น Absolutism ที่ยึดถือว่า ดีก็คือดี การฆ่าเป็นสิ่งผิดก็ผิดตลอด แต่อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนาก็มีความพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิเหล่านี้คือพุทธศาสนามีความยืดหยุ่น ต่อสถานการณ์ต่างๆ ดังทัศนะในอัคคัญญสูตรว่า [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] สิ่งที่สมัยหนึ่งเป็นอธรรม อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ ถือว่าเป็นธรรมในอีกสมมัยหนึ่งก็ได้ [10][/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] พุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาก็หาปฏิเสธความจริงที่ยังไม่ปรากฏในปัจจุบัน แต่สิ่งนั้นอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การฆ่าในที่หนึ่งผิด อาจจะถูกต้องในอีกที่หนึ่ง เช่น การอนุญาตให้กระทำการุณยฆาตในลักษณะ Active euthanasia ในฮอนแลนด์ ในประเทศไทยเราก็กำลังดำเนินการในการยกร่าง พ.ร.บสุขภาพแห่งชาติและการกระทำการุณยฆาตก็ได้รับพิจารณาในร่างนี้ด้วย ถึงแม้จะอยู่ในลักษณะ passive euthanasia ก็ตาม แต่โดยหลักการแล้วการุณยฆาตจะเป็นปาณาติบาตเมื่อกระทำครบองค์ 5 ตามหลักพุทธศาสนา[/FONT]
     
  3. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica]ปัญหากับทางออกตามแนวพุทธศาสนา

    [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ปัญหาหลักของบทความนี้คือพุทธศาสนาคิดอย่างไรเกี่ยวกับการทำการุณยฆาต และจะมีข้อเสนอประการใดอันจะเป็นแนวทางในทางปฏิบัติ (Morality in practice) อันจะช่วยให้คนเหล่านั้นตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลและรอบคอบ ในกรณีที่เกี่ยวกับการุณยฆาตที่ควรมาพิจารณากัน คือ ปัญหาเรื่องความตาย(dying and death)ทัศนะเรื่องความตายหรือที่สุดของชีวิต (End of life) เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกับการพิจารณาเรื่องการเริ่มต้นของชีวิตในกรณีการทำแท้ง คำจำกัดความของคำว่า "ตาย" ซึ่งมีการให้ทัศนะที่แตกต่างกันมากมาย ในที่นี้ขออ้างอิงถึง American Medical Association and National Conference of Commissioner on Uniform state Laws ได้ให้ความหมายหรือรูปแบบของการตัดสินว่าความตายได้เกิดขึ้นแล้วว่า คนใดผู้มีลักษณะอาการไม่ว่าจะเป็น การหยุดการไหลเวียนและหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจ ที่ไม่สามารถกลับมาเป็นดังเดิม หรือการหยุดทำงานของระบบสมองทั้งหมดรวมทั้งตัวหรือก้านสมองด้วยจึงถือว่าผู้นั้นตาย การตัดสินถึงความตายต้องถูกยอมรับในวงการแพทย์ด้วย ศาลสูงได้ให้ความเห็นและนำลักษณะการตายนี้มาเป็นเครื่องตัดสินทางศาลในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด[11] พุทธศาสนาได้ให้ทัศนะที่ถือว่าตาย จะเห็นได้ชัดจากพุทธพจน์ว่า เมื่อใด อายุ ไออุ่นและวิญญาณ ละกายนี้เมื่อนั้นกายก็ถูกทอดทิ้งนอนไร้จิตใจ [12] จึงสรุปได้ว่าการตายในพุทธศาสนานั้น คือการตายทางชีวภาพ ซึ่งหมายถึงอวัยวะทั้งหมดไม่ทำงาน [13]การกล่าวอย่างนั้นเพราะ จิตหรือวิญญาณมีที่อยู่อาศัย คือหทัยรูปซึ่งก็คือหัวใจนั้นเอง ซึ่งเกี่ยวไปถึงสมองซึ่งเป็นที่ทำงานของวิญญาณ การยกเรื่องความตายนี้สามารถชี้ให้เห็นถึงความจริงบางอย่างว่า การกระทำการุณยฆาตนั้น อาจจะไม่มีความผิดเลย หากผู้ป่วยได้เข้าสู่สภาพของความตายตามทางการแพทย์ แต่อยู่ได้เพียงเครื่องมือสมัยใหม่ ผู้ที่อยู่ในอาการนี้หาได้เกี่ยวโยงกับการกระทำการุณยฆาตไม่ เพราะผู้นั้นได้ตายไปแล้ว เขาตายไปตามธรรมชาติ หาได้เกิดจากการกระทำของหมอหรือผู้ใดไม่ การุณยฆาตหากกระทำในกรณีผู้ที่ถูกกระทำอยู่ในสภาว คล้ายผักปลา ( Persistent vegetative state) ซึ่งหมายถึง คนป่วยไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นคนธรรมดาได้ ไม่มีความรู้สึกทางด้านสัมผัส สมองตาย (brain death) แต่มีเครื่องช่วยหายใจอยู่เท่านั้น ประดุจดังต้นไม้ที่ยืนตายซากอยู่รอแต่วันจะมีลมพัดให้ล้มก็เท่านั้นจนเป็นอย่างเช่นผัก และหมดซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นคนและไม่สามารถที่จะกลับมาสร้างประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้แล้ว หากมองตามหลักการโดยทั่วไปแล้วจะเห็นว่าพุทธศาสนามอง ชีวิตคนนั้น หาได้มีค่าเพราะการอยู่นานไม่ ดังข้อความว่า บุคคลผู้มีศีล มีใจมั่นคง แม้จะมีอายุสั้นเพียงวันเดียวก็ดีกว่าคนไร้ศีล จิตใจไม่มั่นคงที่มีอายุยืนถึงร้อยปี[14] และคนประมาทเหมือนคนตาย[15] ซึ่งมองตามทัศนะนี้แล้ว พุทธศาสนาเน้นถึงคุณค่าความเป็นคนที่คุณธรรมของสิ่งมีชีวิตนั้น (being) และสะท้อนถึงแนวคิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ดังจะเห็นได้จากคำที่พระเถระกล่าวว่า [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ แม้ชั่ว [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] เวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้วประคอง[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] แขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัตรา[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขาเสีย[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] อย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้........[16][/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ดังนั้นตามทัศนะของพุทธศาสนาแล้ว คุณค่าของคนอยู่ที่คุณภาพหาใช่ปริมาณไม่ แม้เราจะมีอายุร้อยปีแต่ทำความชั่วก็สู้คนที่มีอายุวันเดียวที่ไม่ทำความชั่วไม่ได้ [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ปัญหาเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อยืดอายุ ( Prolongation of life) การยืดชีวิตนั้นหากไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนเองและประโยชน์ผู้อื่น พุทธศาสนามองว่าไม่เห็นสมควร ดังมีคำกล่าวไว้ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกาว่า จริงอยู่ถ้าภิกษุผู้อาพาธนั้นได้ฟังพรรณนาของภิกษุนั้นแล้ว มรณภาพลงในระหว่าง ในเมื่ออายุแม้ยังเหลืออยู่ชวนวาระเดียว ด้วยความพยายามมีการอดอาหารเป็นต้นไซร้ เธอเป็นผู้ชื่อว่าอันภิกษุนี้แลฆ่าแล้ว ท่านแนะนำว่าเราไม่ควรเกี่ยวข้องในการเข้าไปทำลายซึ่งชีวิตคนป่วย แต่ควรกระทำโดยการแนะนำถึงมรรคและผลของศีล และให้พิจารณาในกาย ในธรรม เป็นต้น หากความตายเข้ามาสู่ผู้ป่วยก็ให้เป็นไปตามธรรมชาติหรือตายไปตามธรรมดาของตนตามอายุ และตามความสืบต่อ(แห่งอายุ) [17] ฉะนั้น การถอดหลอดอาหารพุทธศาสนายังมองเห็นว่าไม่สมควรกระทำ แต่การปฏิเสธการรักษาหรือการให้ตายตามธรรมชาติโดยไม่ได้ใช้เครื่องมือในการยืดออกไปย่อมกระทำได้หากความตายได้มาถึงแล้วแต่อยู่ได้เพียงเครื่องเทคโนโลยี พุทธศาสนาย่อมมองถึงสัจจะของชีวิตว่าการยืดนั้นเป็นเพราะธรรมดาของชีวิตหรือเป็นเพราะการดำรงอยู่เพราะเพียงเครื่องมือต่างๆ [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] การใช้เครื่องยืดอายุนี้มีคำถามตามมาว่า การช่วยคนป่วยที่หมดหวังจะเป็นประโยชน์มากเท่าการนำไปช่วยคนที่มีหวังอยู่หรือไม่ เพราะเท่าที่ปรากฏทางการแพทย์ว่าการรักษาผู้ป่วยที่หมดหวังด้วยการยืดการตายจะใช้ทรัพยากรมากกว่าการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วๆไปหลายเท่าหรือหลายร้อยหลายพันเท่า ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้วิธีการยืดชีวิตให้วิจิตรพิสดารเพียงไรพุทธศาสนาได้ให้หลักในการตัดสินใจแล้วโดยจากที่กล่าวมาแล้วข้างและต้นพุทธศาสนายังมองไม่เห็นเหตุผลเพียงการอ้างเรื่องเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอแล้วกระทำการุณยฆาต แต่พุทธศาสนาเน้นธรรมชาติของชีวิต และหากจะพูดถึงการใช้สิทธิแล้วหากการใช้สิทธิไปกระทบก่อให้เกิดความทุกขเวทนาต่อผู้อื่นๆพุทธศาสนาก็หาได้หาได้ให้เห็นสมควรไม่ แต่สิ่งที่สามารถกระทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้คือ การเดินตามลักษณะ มัชฌิมาปฏิปทา[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ปัญหาเรื่องกรรมกับแนวคิดเรื่องการุณยฆาตนั้น พุทธศาสนาถือว่า เจตนา (Volition) นั้นคือกรรม (เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ) นี้คือกรรมที่ส่งผลให้เกิดวิบากในภพต่อๆไป มิใช่กรรมที่เป็นเพียงอากัปกิริยาเคลื่อนไหวเท่านั้น และพุทธศาสนาหาได้ยกปรากฏการณ์ต่างๆไว้ที่กรรมอย่างเดียวไม่แต่ปรากฏการณ์ทุกอย่างขึ้นตรงต่อ กฎของธรรมชาติ (Law of nature) คือ[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT]
    • [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica]
      [*] อุตุนิยาม กฎธรรมชาติที่ เกี่ยวกับอุณหภูมิ
      [*] พีชนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์รวมทั้งพันธุกรรม
      [*] กรรมนิยาม กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมขอมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ
      [*] ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และความสมเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย
      [*] จิตตนิยาม กฎธรรมชาติกับการะบวนการทำงานของ [18]
      [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] มีคำถามว่า การเข้าไปกระทำการุณยฆาตนั้น เป็นการทำให้เขาพ้นทุกข์แล้วจริงหรือ พุทธศาสนาให้คำตอบว่า ยังไม่ใช่ เพราะผู้ใดจะพ้นกรรมก็โดยตนเองเท่านั้น จะเห็นจากพระพุทธพจน์ที่ว่า [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย เราทำกรรมอันใดไว้[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ดีก็ตามชั่วก็ตาม เราจักได้รับผลของกรรมนั้น[19][/FONT]
     
  4. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica]ในทัศนะนี้การเวียนว่ายตายเกิด (Rebirth) เป็นแนวคิด (concept) ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า ความตายเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของสังสารวัฏและความตายไม่ใช่ที่สุดแต่เป็นเพียงการไปสู่ชีวิตใหม่และจะมีการเวียนว่ายอย่างนี้จนกว่า จะหมดกิเลส ถึงจะพ้นทุกข์ ดังข้อความว่า[/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] พระโคธิกเถระ เป็นพระเถระที่มุ่งปฏิบัติธรรมด้วยความเพียนจนได้ฌาน แต่[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] อาพาธ (ป่วย)เป็นโรคเรื้อรังทำให้ทุกข์ทรมานจนเสื่อมจากฌานถึง6ครั้ง [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ทำให้เสียใจจนฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ตรัสว่าพระโคธิกเถระเป็นปราชญ์ [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] มีปัญญา มีฌาน มีความยินดีในฌานทุกกาลทุกเมื่อประกอบความเพียรทั้ง[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] กลางวันกลางคืน ไม่ใยดีชีวิต พระโคธิกเถระจะไม่กลับมาเกิดอีก [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] เพราะได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้ ปรินิพพานแล้ว [20][/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] physician –assisted suicide เป็นสิ่งทีพุทธศาสนายังไม่ให้การยอมรับตามหลักการที่เคร่งครัด เพราะการฆ่าตัวตายหาใช่ที่สุดของชีวิตไม่ ตราบใดที่มีขันธ์ทั้ง 5ครบ การฆ่าตัวตายเพื่อหลบหลีกทุกข์ในสังสารวัฏ การเจ็บป่วยหรือลักษณะอาการที่เกิดทุกขเวทนานั้น เป็นสิ่งเฉาะตัวของผู้ป่วย หากการกระทำการุณยฆาตโดยมองเห็นอาศัยความกรุณาโดยใช้ความคิดของญาติ หรือ แพทย์ ซึ่งหน้าที่ของแพทย์คือการรักษาคนป่วยให้ดีที่สุด แต่หาใช่หน้าที่ในการดำรงชีวิตของผู้ป่วยหรือตัดสินใจแทนผู้ป่วยไม่ และการตัดสินใจอาจจะผิดพลาดได้ พุทธศาสนามองว่า ตราบใดที่เขายังมีกิเลสอยู่ หรือทำกรรมไม่ดี ความทุกขเวทนาย่อมเกิดแก่เขาตลอดไป ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน พุทธศาสนาถือว่า เป็นผลกรรมที่เขาได้กระทำ ไม่ว่ากรรมที่เป็นปัจจุบันหรือกรรมที่สั่งสมมาในอดีต หากกระทำใดๆที่ประสงค์จะให้ผู้ป่วยพ้นทุกข์ ก็เป็นการช่วยให้พ้นทุกข์ในปัจจุบัน คือสังขารทุกข์เท่านั้นแต่หาใช่ การให้พ้นทุกข์ตามหลักพุทธศาสนา ดังที่กล่าวมาข้างต้น[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] สิทธิ (right) ในที่นี้สิทธิตามธรรมชาติเป็นสิ่งทีควรยกมาพิจารณาเช่นสิทธิในชีวิต ว่าสมควรที่จะใช้ในการกระทำการุยฆาตหรือไม่ การทำการุณยฆาตในลักษณะของ(Voluntary active) ละการฆ่าตัวตายนั้นดูเหมือนจะมีส่วนคล้ายกัน เพราะมีความเกี่ยวข้องของการใช้สิทธิส่วนตัว(individual will)ร้องขอให้กระทำอย่างเช่นกรณีการร้องขอของพระฉันนะต่อพระสารีบุตรให้กระทำการุณยฆาตแต่พระสารีบุตรพยายามในการที่จะหายามารักษา แต่พระฉันนะก็ทนไม่ไหว ต่อมา พระสารีบุตรได้กล่าวธรรมให้ท่านฟัง พระสารีบุตรก็มาทูลถามพระพุทธเจ้า และพระองค์ตรัสว่า[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ดูกรสารีบุตร บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเรา เรียกว่า ควรถูกตำหนิ [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างไม่ควรถูกตำหนิ[21][/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคล (Personal freedom) แต่สิทธิในพุทธศาสนา หาใช่สิ่งที่ยึดเป็นหลักตายตัวได้ไม่ พุทธศาสนาว่าโดยปรมัตถ์แล้วเชื่อว่า สภาวะต่างๆนั้น เป็นอนัตตา ฉะนั้นสิ่งใดเป็นอนัตตา หมายถึงนั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั้น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา [22] แต่สิทธิในส่วนระดับสมมติพุทธศาสนาก็หาได้ปฏิเสธไม่ ดังเช่นการยอมรับ สัจจะทั้งสองระดับ ฉะนั้นสิทธิในชีวิตจึงเป็นสิ่งที่พุทธศาสนาให้ความสำคัญ แต่ไม่ได้หมายถึงให้กระทำการฆ่าตัวตายเมื่อต้องการ แต่พุทธศาสนากลับให้คนพิจารณาเสมอว่า เมื่อจิตบริสุทธิ์ ย่อมมีสุคติเป็นจุดหมาย แต่คนมีจิตเศร้าหมองย่อมมี ทุคติเป็นที่ไป จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนา ได้ให้สิทธิที่ติดตามตัวมา(Personal freedom)เป็นสำคัญ อย่างเช่นในพระไตรปิฎกเช่นกันเล่าว่า พระจำนวนหนึ่งเบื่อหน่ายในชีวิตแล้วฆ่าตัวตาย ในกรณีนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า พระที่ฆ่าตัวตายไม่ผิด เพียงแต่การกระทำนั้นไม่สมควรแก่สมณวิสัยเท่านั้น ในทางวินัยพระที่ฆ่าตัวตายไม่ต้องอาบัติปาราชิก ส่วนพระที่ลงมือฆ่าคนที่ขอร้องต้องอาบัติปาราชิก......การฆ่าตัวตายไม่ถือว่าเป็นปาณาติบาต ในขณะที่การฆ่าผู้อื่นจะเพราะเขาขอร้องก็ตาม เพราะสงสารต้องการให้เขาพ้นทุกข์ก็ตาม พุทธศาสนาวินิจฉัยว่าเป็นปาณาติบาต[23][/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] พุทธศาสนายังมองว่า การใช้สิทธิของผู้ที่ไม่ได้มีสิทธิที่ติดตามตัวมาเช่น การใช้สิทธิของญาติ อาจจะยังไม่ชัดเจนและอาจผิดพลาดได้ จะเห็นได้จากกรณีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า ครั้งหนึ่งมีคนแขนด้วนขาด้วน ญาติพี่น้องก็เลี้ยงไว้ และญาติพี่น้องก็มองเห็นว่าไม่ประโยชน์เลย เห็นแล้วก็มีแต่ความทุกข์ บุรุษนี้สมควรตายดีกว่าอยู่ วันหนึ่งภิกษุณี ได้มาแนะนำให้กินยาให้ตาย เหตุนั้นพุทธองค์ทรงวินิจฉัยตัดสินว่า เป็นอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุณี จากข้อความนี้ จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญในการตัดสินใจแก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิเช่น สิทธิของมารดา บิดา (Parent consent) และยังมองได้อีกว่า สิทธิของผู้อื่นหาใช่เครื่องมือของผู้ร้องขอไม่ แต่สิทธิแต่ละอย่างแยกกันต่างหาก การทำการุณยฆาตที่อ้างสิทธิยังไม่สมควรตามหลักพุทธศาสนา แต่ให้สิทธิในชีวิตและในการตัดสินใจในเรื่องการรักษาเป็นสำคัญ การปฏิเสธการรักษาจึงเป็นสิทธิและทางหนึ่งที่สามารถทำได้โดยไม่ให้ยืดอายุแต่ขอตายอย่างธรรมชาติอย่างสงบ ฉะนั้น การกำหนดกฎเกณฑ์ประการใดเกี่ยวกับค่าทางจริยธรรมแล้วนั้นทางพระพุทธศาสนาถือว่า จริยธรรมต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรม และต้องสอดคล้องกับสัจธรรม[24] จึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง[/FONT]
     
  5. HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica]สรุป

    [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] การกระทำการุณยฆาตนั้นเป็นกรณีที่ต้องใช้การพิจารณาอย่างมากเพราะเป็นปัญหาซึ่งกำลังถกเถียงกันในวงกว้างของทัศนะต่อการทำลายชีวิต (Human begin) แต่ประกอบด้วยความกรุณา พุทธศาสนาหาได้ให้หลักตายตัวในการพิจารณาปัญหานี้ไม่ แต่จากเหตุผลโดยรวมและหลักต่างๆแล้วพุทธศาสนายังไม่ทิ้งหลักการดังเดิมในการพิจารณาเรื่องนี้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในชีวิตตนเอง แต่การกระทำใดๆที่เป็นการละเมิดชีวิตผู้อื่น เป็นสิ่งไม่สมควรยิ่งนัก แต่อย่างไรก็ตามการทำการุณยฆาตนั้น คือการทำให้ตายอย่างสงบเป็นกิจกรรมทีเกี่ยวกับความตาย พุทธศาสนาได้กล่าวถึงความตายและให้ข้อคิด ว่าความตายนั้นสมควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ ชีวิตนี้ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตน การหมดจากกองทุกข์คือ ขันธ์ 5 เป็นจุดมุ่งหวังของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง พุทธศาสนา ให้ระลึกนึกถึงความตาย เพื่อให้เห็นถึงความจริงแท้ต่างๆ ฉะนั้น ความตายไม่ใช่สิ่งแปลกอะไรต่อความเป็นจริงของชีวิต แต่ทุกคนควรจะทำอย่างไรเมื่อความตายจะมาถึงและจะได้ชื่อว่าตายอย่างสงบและหมดทุกขเวทนา พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ผู้ใดไม่มีความอิงอาศัย (คือไม่ขึ้นต่อตัณหาและทิฐิ),รู้ธรรมแล้วไม่ขึ้นต่ออะไรๆ[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] (คือจิตใจเป็นอิสระ),ไม่มีตัณหาไม่ว่าเพื่อภพหรือเพื่อวิภพ (ภวาย วิภวาย วา ตัณฺหา=[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] ความทะยานอยากเพื่อจะเป็น หรือเพื่อจะไม่เป็น),เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นผู้สงบ[25]
    [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica]
    [/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] การอ้างอิง[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] <!--msthemeseparator-->[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica][/FONT]​
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [1] death Bok, R.G., Euthanasia and physician-assisted suicide, Cambridge: Cambridge University Press, 1998 หน้า 107[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [2] Robert Audi, the Cambridge dictionary of philosophy, Cambridge: Cambridge University Press, 1999หน้า 252[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica][3]Keown,Damien,Buddhism and Bioethics , London:Macmillan.2000หน้า 169[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] 4] พระธรรมปิฏก, พระพุทธธรรม กรุงเทพฯ; มูลนิธิพุทธธรรม พิมพ์ครั้งที่ 4, 2538.หน้า 772[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [5] เรื่องเดียวกัน .หน้า 733[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [6] ่วินัยปิฏก. มหาวิ.1/ 180/401[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [7] สมภาร พรมทา , พุทธปรัชญา, กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.หน้า 161[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [8] วินัยปิฏก. มหาวิ. 1/167/ 383[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [9] วินัยปิฏก. มหาวิ. 1/ 172/388[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [10] อัคคัญญสูตร สุต. ที .ปา .11/51-71/87[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [11] Tom L. Beauchamp, Robert M, Ethical issues in death and dying, Saddle River, N.J.: Prentice Hall, 1996 หน้า 7[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [12] สํ.ข .17/247/174[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [13] Keown,Damien,Buddhism and Bioethics ,.หน้า 155[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [14] ขุททกนิกาย เล่มที่ 25 ข้อที่ 18[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [15] ขุททกนิกาย เล่มที่ 25 ข้อที่ ข้อที่12[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [16] สุต. สัปปทาสเถรคาถา ข้อ 352 เล่มที่ 18[/FONT]
    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT][FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [17] มหามกุฏราชวิทยาลัย,ปฐมสมันตปาสาทิกา แปล 3 ภาค , กรุงเทพฯ: (มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูประถัมภ์, 2529 )หน้า 124[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [18] ที .อ.2/34 .สังคณี อ .408[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [19] สุต. ขุ. ปญจก 22/58/72[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [20] สํ.ส.15/488/176[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [21] สุต. มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ข้อ 6/753 [/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [22] วิสุทธิ.ฏีกา 3/383[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [23] สมภาร พรหมทา.พุทธปรัชญาหน้า335[/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [24] พระธรรมปิฎก ,ปุจฉา-วิสัชนา เทคโนโลยีการแพทย์กับจริยธรรมพุทธ,กรุงเทพฯ:อักษรสยามการพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 .2542หน้า2 [/FONT]

    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT] [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [25] ในปุราเภทสูตร ในสุตตนิบาต (ขุ.สุ.25/417/501) [/FONT]


    [FONT=Trebuchet MS, Arial, Helvetica] [/FONT]
     
  6. pongso สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ครับ

    ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวิจัยแนวคิดระหว่างวิทยาศาสตร์ กับพุทธศาสนาที่ผมกำลังทำอยู่ในวิชา Bio-Ethics หรือชีวจริยศาสตร์ครับ ขอบคุณมากครับ

    ปราชญ์ - มนุษยศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา มศว ปี 3
     

แชร์หน้านี้