การเกิดขึ้นของพระพุทธรูปครั้งแรกในโลก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Denverguy, 23 ธันวาคม 2009.

  1. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระธุดงค์เพื่ออยากโชว์ชาวบ้าน...ชั่ว เล่ม 2 หน้า 643

    บทว่า ปณิธาย ได้แก่ ทำความปรารถนาไว้.

    ข้อว่า เอวํ มํ ชโน สมฺภาเวสฺสติ มีความว่า (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง อยู่ในป่าด้วยตั้งใจว่า)
    ชนจักยกย่องเราผู้อยู่ในป่า ในความเป็นพระอรหันต์ หรือในภูมิแห่งพระเสขะ ด้วยวิธีอย่างนี้
    แต่กาลนั้นไป เราจักเป็นผู้อันชาวโลก สักการะ เคารพนับถือ บูชา.

    สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อเธอเดินไปด้วยตั้งใจอย่างนี้ว่า
    เราจักอยู่ในป่า เป็นทุกกฏ ทุกๆย่างเท้า.
    ในกิจทั้งปวง มีการสร้างกุฎี เดินจงกรม นั่ง และนุ่งห่มเป็นต้นในป่า
    เป็นทุกกฏ ทุก ๆประโยค เหมือนอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้นภิกษุไม่ควรอยู่ในป่า
    ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น. จริงอยู่ เมื่ออยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น
    จะได้รับความยกย่อง หรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องทุกกฏ.


    ส่วนภิกษุใด สมาทานธุดงค์แล้ว คิดว่า เราจักรักษาธุดงค์
    หรือว่า เมื่อเราพักอยู่ในแดนบ้าน จิตย่อมฟุ้งซ่าน, ป่าย่อมเป็นที่สบาย ดังนี้
    จึงเป็นผู้มีความประสงค์จะอยู่ป่าอันหาโทษมิได้ ด้วยทำความปรารถนาอย่างนี้
    ว่าเราจักบรรลุบรรดาวิเวกทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งในป่าแน่แท้ ดังนี้ก็ดี
    ว่าเราเข้าไปสู่ป่ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว จักไม่ออกมา ดังนี้ก็ดี
    ว่าชื่อว่าการอยู่ป่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ และเมื่อเราพักอยู่ในป่า
    เพื่อนพรหมจารีมากหลาย จักละทิ้งแดนบ้านแล้ว อยู่ป่าเป็นวัตร ดังนี้ก็ดี
    ภิกษุนั้น ควรอยู่ในป่า.
     
  2. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ภิกษุจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาพระวินัย เล่ม 1 หน้า 393

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
    อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
    เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้ออยาก ๑ (ผู้ไม่มีความละอาย)
    เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
    เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ (ธรรมที่ดี)
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑
     
  3. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    อานิสงส์การเรียนรู้พระวินัย เล่ม 1 หน้า 170

    เพราะฉะนั้น เพื่อให้พระวินัยตั้งมั่น อันภิกษุผู้กำหนดรู้อานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย)
    ใคร่ต่อการศึกษา ก็ควรเรียนพระวินัย ในอธิการว่าด้วยการพรรณนานิทานนั้น
    มีอานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย) ดังต่อไปนี้

    จริงอยู่ บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาบิดาของเหล่ากุลบุตร
    ผู้ได้ศรัทธาในพระศาสนา เพราะว่า บรรพชา อุปสมบท ข้อปฏิบัติวัตรใหญ่น้อย
    ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ (มารยาท) และโคจร(สถานที่ควรไป) ของกุลบุตรเหล่านั้น
    เนื่องด้วยความฉลาดในวินัยปริยัตินั้น อีกประการหนึ่ง เพราะอาศัยวินัยปริยัติ กองศีลของตน
    ย่อมเป็น ของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาดีแล้ว
    ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ย่อมกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
    ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ มีอยู่ ในบุคคลผู้ทรงพระวินัย คือ

    (๑) กองศีลของตน ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาไว้ดีแล้ว
    (๒) ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ
    (๓) ย่อมเป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
    (๔) ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม
    (๕) ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม (ธรรมที่ดี)
     
  4. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมของพระวินัย เล่ม 1 หน้า 171

    วินัย (ศีล) ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังวร (ความสำรวม)
    สังวรย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน)
    อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์
    ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปีติ (ความอิ่มใจ)
    ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ (ความสงบ)
    ปัสสัทธิย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสุข
    ความสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ (ความตั้งใจมั่น)
    สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นตามเป็นจริง)
    ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย)
    นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอกกิเลส)
    วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น)
    วิมุตติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นความหลุดพ้น)
    วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน (ความดับสนิทหาเชื้อมิได้)
    การกล่าว การปรึกษา กิริยานั่งใกล้ความเงี่ยโสตลงสดับ แต่ละอย่าง ๆ
    มีอนุปาทาปรินิพพาน คือ ความพ้นพิเศษแห่งจิต ไม่ถือมั่น นั่นเป็นผล
    เพราะฉะนั้น ควรทำความพยายามโดยเอื้อเฟื้อในการเล่าเรียนพระวินัย ดังนี้แล.
     
  5. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เรียนธรรม – วินัย ของพระพุทธเจ้าดีกว่า เล่ม 34 หน้า 470

    ....แน่ะกัสสป ถ้าภิกษุเถระก็ดี (บวชนานแล้ว) ภิกษุมัชฌิมะก็ดี (บวชมาปานกลาง)
    ภิกษุนวกะ (บวชใหม่) ก็ดี เป็นผู้ไม่ใคร่ศึกษา ไม่กล่าวคุณแห่งการบำเพ็ญสิกขา
    ไม่ชักชวนภิกษุอื่นๆที่ไม่ใคร่ศึกษาให้ศึกษา ไม่ยกย่องภิกษุอื่น ๆ ที่ใคร่ศึกษา
    โดยที่จริงที่แท้ตามเวลาอันควร

    กัสสป เราไม่สรรเสริญภิกษุเถระ ภิกษุมัชฌิมะ และภิกษุนวกะรูปนี้เลย เพราะเหตุอะไร
    เพราะเหตุว่า (ถ้าเราสรรเสริญ) ภิกษุอื่นๆ รู้ว่าพระศาสดาสรรเสริญภิกษุรูปนั้น
    ก็จะพากันคบภิกษุรูปนั้น ภิกษุเหล่าใดคบภิกษุรูปนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็จะถึงทิฏฐานุคติ (ได้เยี่ยงอย่าง)
    ของภิกษุรูปนั้น ซึ่งจะเป็นทางเกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เกิดทุกข์แก่ภิกษุผู้คบตลอดกาลนาน
    เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุรูปนั้น จะเป็นเถระ มัชฌิมะ นวกะก็ตาม.....
     
  6. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    อธิบายคำว่าพระสงฆ์ เล่ม 1 หน้า 315

    ชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะอรรถว่า รวมกันด้วยธรรมที่ทัดเทียมกันคือทิฏฐิ ( ความเห็น) และศีล.
    พระสงฆ์นั้นโดยอรรถ ได้แก่ประชุมพระอริยบุคคล ๘.

    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิมานวัตถุนั้นเหมือนกันว่า*

    บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ทาน อันบุคคลให้แล้ว ในพระอริยสงฆ์ ผู้สะอาด
    เป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ เป็นบุรุษบุคคล ๘ ผู้เห็นธรรมว่า มีผลมาก
    ท่านจงเข้าถึง พระสงฆ์นี้ เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด ดังนี้.
     
  7. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    จริงหรือเปล่า...ที่บอกว่าเคารพ เล่ม 37 หน้า 248

    ....ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์ด้วย
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพในสิกขา (ศีล)
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขา (ศีล) ด้วย
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิด้วย
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ
    จักเคารพในความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ
    ชื่อว่าไม่เคารพในความไม่ประมาทด้วย
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท
    จักเคารพในปฏิสันถาร (การต้อนรับ) ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท
    ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย…….
     
  8. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    แม้จะเป็นพระอริยะก็ต้องรักษาวินัยพระ เล่ม 34 หน้า 457

    บทว่า น หิ เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในที่นี้
    เราตถาคตมิได้กล่าวว่า พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้องและการออกจากอาบัติเห็นปานนี้
    พระพุทธเจ้าสอนว่า.... เล่ม 35 หน้า 79

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน
    มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ
    และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้
    มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร (สำรวม) เพื่อปหานะ (ความละ)
    เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัดยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ อันเป็นการละเว้นสิ่งที่กล่าวตามกันมา
    เป็นทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน เพื่อสังวร เพื่อปหานะ.
    ทางนั้น มหาบุรุษทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ดำเนินแล้ว ชนเหล่าใดดำเนินตามทาง
    ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
    จักกระทำที่สุดทุกข์ได้
     
  9. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ขอทราบเลยดีกว่าว่า ที่ว่าสอนการปฏิบัติผิดตรงไหนยังไง

    หากพื้นฐาน ทาน ศีล ไม่ดี ยังไม่ตัดกังวล อย่างที่ใครๆ ชอบว่าผม จะเอาแต่วิมุตติ ไม่เอาสมมติ ชอบข้ามขั้นตอน แหนะ พอชี้แนะ ตามพระไตรปิฎกว่าควรเริ่มจากพื้นฐาน ทานดี ศีลดี ละกังวล เล่าเรียนกรรมฐานว่า กรรมฐานใด เหมาะกับตัวเอง แล้วค่อยลงมือ ไม่ใช่ มาถึง ทาน ศีลก็ยังไม่มี ไม่ครบ ยังมีกังวลเต็มจิตใจ เช่น ยังมีบ้านต้องผ่อน เรื่องลูก เมีย สมบัติ ที่ยังกังวลในใจ เล่นข้ามขั้นมานั่งสมาธิเลย นั่งไปก็ยังห่วงที่บ้าน กังวล โน่น นี่ จิตจะสงบ เกิดสติปัญญาได้อย่างไร มาถึงจะสอนกรรมฐานแบบเดียวกันหมดทุกคนได้ยังไง แต่ละคนก็มีจริตต่างกัน กรรมฐานย่อมต่างกัน จึงต้องเรียนรู้เป็นขั้นตอน..
    รู้สึกคนในนี้จะเก่งรู้ วาระจิตคนอื่นหมด แต่ไม่รู้จิตตัวเองที่แสดงออกมาให้เห็นเป็นตัวอักษรเลย
    ตอบคำถามเรื่องสมาธิ เพียงเล็กน้อย

    พระพุทธพจน์ที่เรียกว่าพระธรรมวินัยมี 2 ส่วน
    พระวินัยมี 21,000 พระธรรมขันธ์
    พระธรรมมี 63,000 พระธรรมขันธ์
    ส่วนหนึ่งเป็นผลหรือวิบากหรืออัพยากตะ มีถึง 21,000 พระธรรมขันธ์ อีกส่วนหนึ่งเป็นเหตุล้วนๆ ที่เรียกว่า พระอภิธรรม 42,000 พระธรรมขันธ์

    ผลกับเหตุหรือเหตุกับผล ใกล้เคียงกัน บางครั้งก็แยกกันไม่ออก เช่น คำว่า สมาธินี้เป็นผลของฌาน (รูปฌาน 5 อรูปฌาน 4) พูดถึงปฐมฌานหรือสมาธิ หรือวิปัสสนานี่ ก่อนที่จะถึงสมาธินี้จะต้องมีปฐมฌานเป็นเหตุเครื่องกั้น สมาธิเป็นผลของปฐมฌาน

    การที่จะได้ปฐมฌาน (ยังมีทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน) เบื้องต้นของการได้ฌานที่เรียกว่า ปฐม หรืออุปสรรคเบื้องต้นของการได้ปฐมฌาน ก็คือ นิวรณ์ (นิวรณ์คือเครื่องขัดขวางเครื่องกั้น ไม่ให้ได้กุศล ไม่ให้ได้ฌาน สมาธิ วิปัสสนา มหาสติปัฏฐาน รูปนาม มรรค ผล อภิญญา สมาบัติ) ต้องกำจัดนิวรณ์ให้ได้ก่อนจึงจะได้ ปฐมฌาน

    องค์คุณของปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    วิตกกำจัดถีนมิทธะ ถีนมิทธะ ไม่ได้แปลว่า ง่วงเหงาหาวนอนอย่างที่เรารู้ แต่พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องของถีนมิทธะนิวรณ์ก็คือ

    ถีนมิทธะนิวรณ์ที่เกิดจากความเดือดร้อนเรื่องของญาติพี่น้อง บริวาร บุคคลที่เกี่ยวข้อง

    ถีนมิทธะนิวรณ์ที่เกิดจากความเดือดร้อนจากการแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง ที่อยู่อาศัย ทำมาหากิน

    ถีนมิทธะนิวรณ์ที่เกิดจากความเดือดร้อนที่เกิดจากโรค (แบ่งออกเป็น 2 คือ 1.โรคทางจิต (โรคจิต) คือ ความโลภ กับความโกรธ 2. โรคพยาธิที่เกิดจากทางกาย คือเจ็บไข้ได้ป่วยทางกาย)

    ถีนมิทธะนิวรณ์ที่เกิดจากความเดือดร้อนจากการเลื่อมใสในสิ่งที่เข้าใจผิด รู้ผิด

    ถีนมิทธะนิวรณ์ที่เกิดจากความเดือดร้อนในความเห็นที่ผิด เรียกว่า ทิฏฐิ กลายเป็นความกังวล เซื่องซึมในความคิดอันเป็นผลจากความฟุ้งซ่าน

    อย่างนี้เขาเรียกว่า มีปัญหาของคำว่าถีนมิทธะนิวรณ์

    ต่อไปวิจาระ อุปสรรคของวิจาระก่อนที่จะได้ฌาน ก็คือว่า ทำอย่างไร จะต้องรู้เรื่องนิวรณ์ ที่เรียกว่าวิจิกิจฉานิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ไม่ได้แปลว่าสงสัย วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นอุปสรรคของการได้ฌานอย่างยิ่งใหญ่ เพราะจะต้องรู้ว่าองค์ประกอบของวิจิกิจฉานิวรณ์มี 8 ประการ คือ

    1. วิจิกิจฉานิวรณ์ในเรื่องไม่รู้ความเป็นมาของพระพุทธเจ้าปัญญาธิกะ 20 อสงไขยกำไรแสนกัปป์ พระพุทธเจ้าสัทธาธิกะ 40 อสงไขยกำไรแสนกัปป์ พระพุทธเจ้าวิริยาธิกะ 80 อสงไขยกำไรแสนกัปป์ วิจิกิจฉานิวรณ์จะต้องหาความรู้ความเข้าใจจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องรู้วิสัยของพระโพธิสัตว์ตั้งแต่ต้นจนตรัสรู้ ต้องฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ให้รู้ว่าพระพุทธองค์นั้นเป็นมาอย่างไร

    2. วิจิกิจฉานิวรณ์ในเรื่องไม่รู้พระธรรม ต้องรู้พระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ ต้องรู้ทั้งเหตุและผล ก่อนมีพระพุทธเจ้ามีแต่ผลไม่ทราบเหตุ เมื่อมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้วจึงจะรู้ว่า ผลนั้นมาจากเหตุใด

    3. วิจิกิจฉานิวรณ์ ไม่รู้จักบุคคลมี 4 ประเภท ไม่รู้ความแตกต่างของบุคคล 4 ประเภท บุคคล 4 ประเภท
    ประเภทที่ 1 ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล อริยสงฆ์สาวก
    ประเภทที่ 4 ฟังอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องแต่คิดว่ารู้เรื่อง อย่างเราท่านทั้งหลาย ไม่รู้เลยว่าบรรลุธรรมกันง่ายๆ ได้อย่างไร เช่น พระอุปติสสะฟัง “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุนั้นและความดับของเหตุนั้น” พระอุปติสสะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ส่วนเราฟังอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง ฟังอย่างไรก็ไม่บรรลุธรรม เพราะเราเป็นประเภทที่ 4

    4. วิจิกิจฉานิวรณ์ ไม่รู้สิกขา 3 ศีลคืออะไร สมาธิคืออะไร ปัญญาคืออะไร บุคคลกลุ่มที่ 4 พอพูดถึงศีลก็นึกถึง ศีล 5 ศีล 10 สมาธิก็นึกถึงจิตตั้งมั่น ปัญญาก็นึกถึงรอบรู้ในกองสังขาร

    5. วิจิกิจฉานิวรณ์ ไม่รู้ในอายตนะ ไม่รู้จักขันธ์ว่าคืออะไร ไม่รู้จักว่าธาตุคืออะไร ในส่วนที่เป็นอดีตภพภูมิชาติที่แล้ว ว่ามีจริงหรือไม่มีจริง ถ้ามีจริงก็ไม่รู้ว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ คืออะไร ไม่รู้ก็จัดว่าเป็น อเหตุกทิฏฐิ

    6. วิจิกิจฉานิวรณ์ ไม่รู้เรื่องขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เราทำในปัจจุบันแล้วจะส่งไปในอนาคตจะส่งผลไปข้างหน้าหรือไม่ ที่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ

    7. วิจิกิจฉานิวรณ์ ไม่รู้ เรื่องขันธ์ อายตนะ ธาตุ ชาติที่ผ่านมาแล้วชาติที่จะไปในอนาคต เชื่อแต่ปัจจุบัน เรียกคนอย่างนี้ว่า อกิริยทิฏฐิ

    8. วิจิกิจฉานิวรณ์ ในเรื่อง ไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท อันเป็นเหตุต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต ส่งผลมาปัจจุบัน และส่งผลไปในอนาคต เช่น ความโกรธ ไม่ต้องมีการสอน ติดตัวมาอย่างไร ความโกรธเป็นผล ไม่มีใครรู้ว่ามาจากเหตุอะไร โกรธ น้อยใจ เสียใจ หิวกระหาย การเดิน นั่ง ยืน นอน เคลื่อนไหว ซึ่งเป็นผล มาจากเหตุอะไร เราก็เลยมักง่ายบอกว่าเป็นธรรมชาติ อะไรก็ธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือผล เราไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่ามันติดตัวมาอย่างไร เรียกว่า อัตตทิฏฐิ

    พยาบาทนิวรณ์ เป็นอุปสรรคของการได้ฌาน คุณสมบัติของการจะได้ก็คือ ต้องรู้จักว่าปีติควบคุมพยาบาทนิวรณ์อย่างไร ไม่รู้ว่าต้นเหตุมาจากไหน เราหงุดหงิดง่าย เสียใจง่ายมาจากไหน มีพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ ไม่ใช่ไปนั่งสมาธิ ทำสติวิปัสสนาแล้วจะหาย ไปแผ่เมตตาแล้วจะแก้ได้อย่างไร เราไม่รู้จักว่าพยาบาทนิวรณ์มาจากไหน องค์ประกอบของพยาบาทนิวรณ์มี 10 ประการ องค์ประกอบของ 10 ประการเราก็ไม่รู้ พยาบาทนิวรณ์เป็นผล เราไปนั่งจะรู้ได้อย่างไร เพราะเราไม่ได้สิกขาธรรม (คนนั่งสมาธิจึงหงุดหงิด จิตตก จิตหล่น ฟุ้งซ่าน คิดหลายเรื่อง คิดไม่หยุด)

    สุขที่เป็นองค์ประกอบของฌานจะควบคุมอุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ได้อย่างไร

    เอกัคคตา กำจัดกามฉันทะนิวรณ์ได้อย่างไร ซึ่งเราจะต้องรู้อีกมากมาย

    ถ้ากำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 นี้ได้ ถ้าท่านทำได้ก็ได้ปฐมฌานกุศล และจากปฐมฌานกุศลแล้วถึงจะไปทำสมถ 26 ที่เรียกว่า กสิณ 10 อสุภ 10 ฯ หรือวิปัสสนาภูมิ วิปัสสนาธรรมต่อไป ทุกคนต้องเริ่มจากกำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 ก่อน

    เบื้องต้นของการได้ฌานต้องกำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสให้ไปนั่งสมาธิ ตรัสให้ไปกำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 นี้ให้ได้ก่อน พระพุทธองค์จะสอนเรื่องสมาธิต่อไป สมาธิเป็นผลจากการเก็บนิวรณ์แล้ว เช่นเดียวกันกับวิปัสสนา

    เมื่อเก็บนิวรณ์ทั้ง 5 แล้ว สมาธิ สติ วิปัสสนา มหาสติปัฏฐานจึงจะทำได้ หลังจากเก็บนิวรณ์ได้แล้วจึงจะทำสมถสมาธิต่อไป

    ที่เราบอกว่านั่งสมาธิ นั่งแล้วได้อะไร ก็ได้ความปวด ความเมื่อย ความคิดฟุ้งซ่านไม่สงบ ก็เพราะว่าทำไม่ถูกต้อง ข้ามขั้นตอนไปทำสมาธิโดยไม่ได้กำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก่อน ไม่รู้ว่าสมาธิอยู่ตรงไหน ก็ต้องรู้ว่าสมาธิอยู่ที่ไหน เป็นความโชคร้ายของคนที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าในวิจิกิจฉานิวรณ์ข้อ 1 และ 2 ไม่รู้ว่าพระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องวิจิกิจฉานิวรณ์นี้แก้ได้อย่างไร

    คนนั่งสมาธิแล้ว มันไม่ได้พัฒนาถึงไหน เดี๋ยวก็ฟุ้ง เดี๋ยวก็หลงลืมสติ ก็พูดกันอยู่อย่างนี้ นั่งไปนั่งมาเดี๋ยวก็หลงว่าได้ฌานได้เป็นพระอรหันต์ พอออกจากสมาธิก็วุ่นวายเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม มีโลภะโทสะมากกว่าเดิม มีตัวอย่างให้เห็นทั่วไป ไม่รู้คุณสมบัติของฌาน มัวแต่ไปแปลฌานว่าเพ่ง โดยไม่รู้ว่าฌานของพระพุทธองค์คืออะไร ฌานแปลว่าเพ่งเป็นของโยคี ฤาษี

    พระพุทธองค์ต้องมาแก้ไขให้ว่า จะเป็นสมาธิที่ได้ฌาน ต้องกำจัดนิวรณ์ก่อน พอกำจัดนิวรณ์ได้ จึงเรียกว่าติเหตุกบุคคล (ติเหตุกบุคคล คือ บุคคลนั้นมีเหตุ 3 อย่างที่ทำงานภายในจิต ก็คือ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ โดยไม่มีอกุศลเหตุ คือ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุเลย จึงบรรลุธรรมได้ง่าย) จึงจะทำสมถสมาธิ หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน มหาสติปัฏฐาน รูปนามต่อได้

    ส่วนทวิเหตุกบุคคล ไม่สามารถทำให้ได้ฌานสมาธิหรือวิปัสสนาได้ ก็คือ บุคคลที่มีโลภะเหตุทำงานร่วมกับโมหะเหตุ โทสะเหตุทำงานร่วมกับโมหะเหตุ อโลภะเหตุทำงานร่วมกับอโทสะเหตุ

    คณาจารย์ทั้งหลายหลงประเด็น เพราะไปแปลฌานคือเพ่ง เลยเพ่งนิมิตกันใหญ่ แล้วก็ไม่รู้จักคำว่านิมิตอีกต่างหาก

    แล้วก็ให้ไปศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า จะทราบความจริงต่อไป หากไม่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นกรรมของสัตว์ก็แล้วกัน
     
  10. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เพราะพระต้องพึ่งโยม – เพราะโยมต้องพึ่งพระ เล่ม 45 หน้า 678

    คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยกันและกันทั้ง ๒ ฝ่าย
    ย่อมยังสัทธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมให้สำเร็จ
    (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อมปรารถนาเฉพาะ จีวร บิณฑบาต ที่นอนที่นั่ง
    และคิลานปัจจัย (ยารักษาโรค ,ปัจจัย 4 นี้ ไม่มีเงินและทองนะ)
    อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งอันตราย จากฝ่ายคฤหัสถ์ทั้งหลาย

    ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
    เชื่อถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้มีปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี
    ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติในศาสนานี้ มีปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่กาม ย่อมบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

    พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า

    ภิกษุทั้งหลาย พราหมณคหบดีทั้งหลายเหล่านี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย
    ซึ่งได้แก่ ทั้งพราหมณ์ทั้งผู้ครองเรือนที่เหลือ เธอทั้งหลายเท่านั้นที่เขาพากันทำนุบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น
    โดยคิดว่า (นี้) เป็นบุญเขตของเราทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจะพากันประดิษฐานไว้ซึ่งทักษิณา (ของทำบุญ)
    ให้มีค่าสูง มีผลอันงามเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิสทาน
    คือ โดยการแจกแบ่งอามิสทาน ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิสทาน อย่างนี้แล้ว

    บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม
    คือ การแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม

    ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร ?
    ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑบาต (เคารพในอาหารบิณฑบาต).

    ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะเหตุที่พราหมณ์และคหบดีเหล่านี้
    ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้ ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษ
    โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้เป็นผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำในสมณะเหล่านี้
    จักมีผลานิสงส์มาก ดังนี้ พวกเขาจึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น
    ฉะนั้น เธอทั้งหลายควรให้ความประสงค์นั้นของพวกเขาเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
    แม้ธรรมเทศนา ก็จะงดงามและน่าถือเอาสำหรับเขาเหล่านั้นผู้ทำตามอยู่นั่นแหละ
    ไม่ใช่สำหรับคนเหล่าอื่นนอกจากนี้
    เธอทั้งหลายพึงทำความไม่ประมาทในสัมมาปฏิบัติ (พึงปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมวินัย)


    แต่ถ้าพระปฏิบัติไม่ดี ก็เป็นเนื้อนาบาปอันมโหฬารแก่ผู้ถวายของทำบุญเหมือนกันนะ
    (อันนี้ซิเป็นเรื่องน่าเศร้า)
    เล่ม 51 หน้า 45


    ...ก็ในที่ไม่ไกล ที่พระเถระอยู่ มีภิกษุผู้โกหกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
    แสดงตนเหมือนเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เหมือนเป็นผู้สันโดษ เที่ยวลวงโลกอยู่.
    มหาชนพากันยกย่องภิกษุรูปนั้น เหมือนอย่างพระอรหันต์.

    ลำดับนั้น ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ
    ทรงทราบพฤติการณ์นั้นของเธอแล้ว จึงเข้าไปหาพระเถระ
    แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้โกหก กระทำกรรมชื่อไร ?

    พระเถระเมื่อจะตำหนิความปรารถนาลามก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

    บุคคลผู้ลวงโลก ย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึงฆ่าผู้อื่น บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย
    เหมือนนายพรานนก ที่หาอุบายฆ่านก และทำตนให้ได้รับความทุกข์ในอบายภูมิ ฉะนั้น
    บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ไม่ใช่พราหมณ์ (นักบวชผู้ลอยบาปแล้ว) เพียงแต่มีเพศเหมือนพราหมณ์ในภายนอกเท่านั้น
    เพราะพราหมณ์ (ที่แท้จริง) ย่อมมีเพศอยู่ภายใน บาปกรรมทั้งหลาย มีในบุคคลใด
    บุคคลนั้น เป็นคนดำ ดูก่อนท้าวสุชัมบดี ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ หนติ อตฺตานํ ความว่า
    บุคคลผู้โกหกเพื่อลวงโลก (ในที่นี้คือ พระทุศีล) ด้วยประพฤติเป็นคนโกหกของตน ชื่อว่า ย่อมฆ่าตน
    ด้วยธรรมอันลามก มีความเป็นผู้ปรารถนาลามกเป็นต้นก่อนทีเดียว คือ ยังส่วนแห่งความดีของตนให้พินาศไป.

    บทว่า ปจฺฉา หนติ โส ปเร ความว่า บุคคลผู้โกหกนั้น ฆ่าตนเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว เป็นอย่างแรกก่อน
    ต่อมาภายหลังจึงฆ่าคนทั้งหลาย ผู้สรรเสริญตนว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นพระอริยะ ดังนี้
    แล้วกระทำสักการะ คือ ทำสักการะที่เขาถวายตน ให้ไม่มีผลมาก ให้พินาศไป โดยการพินาศแห่งปัจจัย.
    พระเถระเมื่อจะแสดงว่า แม้ในการฆ่าทั้งสองอย่าง ของคนโกหกจะมีอยู่ แต่ข้อแปลกในการฆ่าตนมีดังนี้
    จึงกล่าวว่า สหตํ หนติ อตฺตานํ (บุคคลผู้ลวงโลกนั้นย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย).

    คนโกหกนั้น (พระทุศีล) เมื่อฆ่าตน ย่อมฆ่าคือทำให้พินาศให้ตนได้ง่ายดาย.
    ถามว่า เหมือนอะไร ?
    ตอบว่า เหมือนนายพรานนกที่หาอุบายฆ่านก ฉะนั้น.

    บทว่า ปกฺขิมา ได้แก่ นายพรานนก. เปรียบเหมือนนายพรานนก ลวงนกเหล่าอื่นไปฆ่าด้วยนกต่อนั้น

    ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนแม้ในโลกนี้ เพราะเป็นกรรมที่ท่านผู้รู้ตำหนิ และเป็นกรรมที่มีโทษเป็นสภาพ เป็นต้น
    ส่วนในสัมปรายภพ (โลกหน้า) ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนด้วยความมืดมน มัวหมองของทุคติทีเดียว
    แต่ในภายหลัง ก็ไม่สามารถจะฆ่านกเหล่านั้นได้อีก ฉันใด

    คนโกหกก็ ฉันนั้น ลวงโลกด้วยความเป็นคนโกหก
    ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนเองแม้ในโลกนี้ เพราะวิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) และถูกตำหนิจากวิญญูชนเป็นต้น.
    แม้ในปรโลก (โลกหน้า) ก็ชื่อว่าฆ่าตน เพราะความมืดมน มัวหมองของทุคติ
    ใช่แต่เท่านั้น ยังชื่อว่า ทำทายกผู้ถวายปัจจัยเหล่านั้นให้ถึงทุกข์ในอบาย (มีทุกข์ในนรก เป็นต้น) อีกด้วย
     
  11. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175



    กรุณา ตอบให้ตรงคำถาม อย่าเฉไฉสไลเดอร์



    คุณใกล้ชิดกับพระองค์ท่านมาก ขนาดที่รู้ว่า พระองค์ท่านทรงคิดยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้เชียวหรือครับ เอาให้แน่ๆ นะครับ เพราะผมมีพยานหลักฐาน พยานบุคคล ที่ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน ว่าพระองค์ท่านทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธรูป พระเครื่องหรือไม่ ที่คุณพูดมา ผมไม่เชื่อคุณหรอก และจะเรียนเชิญคุณไปพบกับผู้ที่ใกล้ชิดตัวจริงด้วย อย่ามาแอบอ้างแบบลอยๆ กับจะพาคุณไปกราบเรียนถามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในเรื่องนี้สัก 5 องค์ ว่าท่านมีความเห็นว่าอย่างไร ผมเอาจริงนะ ว่างเมื่อไหร่บอก จัดให้


    พระธรรมในพระไตรปิฎก ผมเคยอ่านแล้ว ศึกษาแล้ว และ ปฏิบัติตามความเหมาะสมแก่ตัว ไม่ข้ามขั้น



    แล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ละครับ คุณจะว่ายังไง



    ก็คุณเล่นยกเอาพระไตรปิฎกมาอ้าง (ทั้งๆ ที่ พระธรรมในพระไตรปิฎก มีอยู่ตั้งหลายระดับ) เอาอาจารย์เกษมมาอ้าง แล้วทำไมผมจะยกในหลวง ยกครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือมาอ้างบ้างไม่ได้



    มีครูบาอาจารย์องค์ไหนบ้าง ที่บอกให้เลิกกราบพระพุทธรูป สอนว่า การกราบพระพุทธรูปผิด ทำให้ลงนรก ผมเห็นมีแต่คุณ กับ อาจารย์ของคุณ


    ยังมีการมาบอกอีกว่า ขายอิฐ ขายปูน ฯลฯ เป็น บาป ยกพระไตรปิฎกมาแจงหน่อยสิครับ ว่ามีตรงไหนแสดงไว้ ว่า คฤหัสถ์ขายของ ขายอิฐ ขายดิน ขายปูน เป็น บาป...


    ยอมรับแล้วรึครับ เพราะคุณบอกเองว่า ขึ้นชื่อว่าเอาพระมาขายกินนะ ตกลงเห็นว่า พระพุทธรูป เป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้า แล้วรึครับ เรากำลังคุยในเรื่องของ การกราบ การนับถือในพระพุทธรูป พระเครื่อง เป็นบาป ทำให้ลงนรก ใช่หรือไม่


    ใครบอกว่า คุณเป็นผู้เริ่มต้นงานนี้ เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ผู้เริ่มต้น ไม่ใช่แม้แต่อาจารย์ของคุณด้วยซ้ำไป มีเริ่มตั้งแต่ ศาสนาอื่นๆ แล้ว ที่ห้ามการกราบไหว้รูปเคารพของศาสนาอื่น ตามด้วย สันติอโศก (คนที่นับถือสันติอโศก ส่วนใหญ่ก็เป็นคนดีนะครับ ตอนหลังได้ยินว่า ยอมรับนับถือในพระพุทธรูปแล้ว)


    ไม่ใช่แค่ในเว็บหรอก ต่อให้คุณออกสื่ออื่นๆ ก็เหมือนกัน เพราะคนทั่วไป เขายังยึดติดอยู่ แต่ถ้าเขาได้เจริญพุทธานุสติจากองค์พระพุทธรูปบ้าง ก็ถือว่า ยังดีกว่า ไปหลงใหลมัวเมาในสิ่งอื่นๆ มิใช่หรือ


    พระธรรมนั้น ดีอยู่แล้ว ขอบคุณที่เอามาให้อ่าน และ ย่อมมีความเหมาะสมในแต่ละระดับนั้นเอง



    ตกลง การที่เว็บนี้ส่งเสริม เปิดโอกาส ให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนพระเครื่องได้นี่ ไม่ถูกต้อง ใช่ไหมครับ



    เอ้าๆ ทางเว็บ พิจารณาด้วยนะครับ ถูกของเขานะ มีคนเขาตำหนิมาแล้ว เอาแต่ธรรมะล้วนๆ มาลงอย่างเดียวจะได้ไหมครับ ท่านอดุลย์ ท่านวีระชัย ฯลฯ
     
  12. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    อ่านของพี่ แล้วโคตรยาวเลยครับ บัญชี ช่วยชาติบ้านไหน ธนาคารไหนมีครับ แล้วเขาใช้ บัตรประชาชน ช่วยชาติที่ไหนละครับมาเปิด เพื่อบ่งบอกว่าเป็นเจ้าของบัญชี อ่านแล้วเหมือนคนบ้า ยังไงไม่รู้ สติแตก มองโลกแง่ร้ายไปป่าว ผมสรุปง่ายๆ เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครอ่านหรอกครับพระไตรปิฏก ผมเองก็ไม่เคยอ่าน แต่แค่ผมเห็นพระพุทธรูปผมก็นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงบาปบุญ นึกถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ซึ่งช่วยยับยั้งความเลว ที่กำลังจะผุดออกมาได้ เช่นพี่กำลังจะฆ่าตัวเอง แล้วเกิดพี่มองไปเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งมาจากไหนไม่รู้เข้าแสกหน้าพี่ เป้ง แล้วก็มึน พี่ก็จะรู้สึกชะงัก แล้วก็คงมีสติได้ แล้วถ้าบอกว่า ไม่ควรมี หรือไม่ควรยึดถือ ต่อไป เด็กรุ่นหลังๆมันจะรู้จักศาสนาพุทธเหรอ มันจะรู้จักหน้าตาพระพุทธเจ้าไหม ก็ไม่รู้หรอก สิ่งปลูกสร้างต่างๆ อย่าว่าแต่ศาสนาพุทธเลย ศาสนาอื่นเขาก็มี ไม้กางเขน รูปปั้นพระคริสต์ พระอัลลาะ เพื่อไว้เตือนให้ระลึกถึง ถ้ามันไม่รู้ มันคงเอา พระพุทธรูป มาแขวนกระเป๋า ห้อยรองเท้า ห้อยมือถือ เหมือนที่พี่สติแตกคิดอยู่นี่แหละ ผมจะรอดูพี่นะว่าเมื่อไหร่จะได้เป็นอรหันต์ หรือจะเป็นควายใต้น้ำ ใต้บัว ไม่ชอบ ก็ไม่ต้องมาบอก การนับถือไม่นับถือมันสิทธ์ของแต่ละคน หัดอ่านหนังสือโป้บ้างก็ดีนะครับจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2010
  13. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175


    จ้าๆ ไหว้พระพุทธรูป นับถือพระพุทธรูป พระเครื่อง เป็นบาป ผิดศีล ผิดธรรม จ๊ะ



    งั้นก็ เคลียร์ กับท่านเจ้าของเว็บ เอาเองแล้วกันนะ เพราะท่านเจ้าของเว็บ กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในเว็บนี้ เปิดช่อง เปิดโอกาสให้มีเรื่องของวัตถุมงคลในเว็บนี้เอง



    ผมเป็นแค่ สมาชิกตัวเล็กๆ สติปัญญาน้อย ธรรมะยังน้อย เลยเดินตามท่านเหล่านั้น




    ขอบคุณที่ช่วยเตือนสติ ถ้าทางเว็บยกเลิกเรื่องของวัตถุมงคลเมื่อไหร่ ผมก็จะเลิกตาม นะจ๊ะ พ่อคุณทูนหัว... ^_^
     
  14. fcaon

    fcaon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +72
    สำหรับ ปุถุชน อย่างเราๆ ทั่วไป

    ขอเพียงแค่อย่าพยายามไปยึดมั่นถือมั่นทุกสิ่ง มากจนเกินไป

    ทุกอย่างก็ล้วนเป็นข้อมูลความรู้ ที่นำมาศึกษาได้เสมอ

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2010
  15. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    เอาพระวินัยของพระสงฆ์มาลงเผยแพร่ อวดภูมิของตน ช่างโง่เง่าเหลือเกิน

    ทั้งๆที่ ในห้องนี้มีแต่ฆราวาสเข้ามาอ่าน

    ไม่รู้จะนำมาลง เพื่ออะไร บ๊องส์แท้ๆ


    อ่านดู จะได้หายโง่ เลิกเป็นหัวหน้ากระบือ หมู่บ้านควายไทย

    จขกท. บวชพรรษาเดียว นึกว่า กูรู้เจนจบทั้งพระวินัยและพระสูตร

    ยังไม่รู้เรื่องสิกขาบัญญัติวินัยสงฆ์ อีกมาก

    อ่านแล้วตีความมั่วๆ อย่างเดียว ยิ่งนำมาลงมากยิ่งโดนเปิดแผลมาก

    พระวินัยทรงบัญญัติ
    เพื่อมิให้พระภิกษุอยู่ในที่ลับตาลับหูกับมาตุคาม

    ทรงอนุญาติให้
    คนที่ควรเชื่อได้ป็นผู้ชี้อาบัติแก่พระภิกษุผู้กระทำผิด
    พระวินัยในข้อ
    อนิยต หากพระภิกษุผู้กระทำผิดยอมรับการกระทำผิดในอาบัติ
    โดยปรับตามนั้น

    คำว่า
    คนที่ควรเชื่อได้ หมายถึง เป็นพระโสดาบันผู้ถึงพระไตรสรณคม
    นางวิสาขา เป็นพระโสดาบัน จึงมีคุณสมบัติเป็น
    คนที่ควรเชื่อได้

    แต่คุณเป็นแค่
    คนที่ควรเชื่อไม่ได้ ไม่สมควรมาชี้อาบัติพระภิกษุสงฆ์

    การที่จะชี้ปรับอาบัติ
    พระภิกษุสงฆ์
    คนที่ควรเชื่อได้ กระทำได้บางข้อในพระวินัยเท่านั้น ไม่ใช่ทั้ง 227 ข้อ

    กรณี
    ฆราวาส ชี้ปรับอาบัติ พระภิกษุสงฆ์ มีแต่พวกนรกกินกระบาลเท่านั้น

    ตัวเองไม่ใช่พระสงฆ์ และไม่ใช่พระวินัยธร

    แม้แต่พระสงฆ์เองก็ไม่สมารถชี้
    ปรับอาบัติได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในฐานะที่สมควร

    นอกจากพระอุปัชฌาย์เท่านั้น เพราะเป็นผู้บวชและขอนิสัยต่อกัน

    หากเป็นอาบัติเบา ไม่ใช่อาบัติหนัก ไม่มีใครเขาจ้องจับผิดกันหรอก

    แม้แต่กรมพระศาสนาก็ไม่มีอำนาจจะมาลงโทษหรือตำหนิติเตียน

    มีแต่คุณ โง่แสนโง่เกินบรรยาย ไม่รู้ตัวเอง


     
  16. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    หลงตัวเอง เก่งกว่าคณาจารย์ทั้งหลาย ยกตนเทียบพระพุทธเจ้า

    ตำหนิคณาจารย์ทั้งหลาย ทั้งๆที่เคยบวชพรรษาเดียว

    ควายจริงๆ คนแบบนี้ ไม่รู้เคยนั่งสมาธิบ้างหรือเปล่า

    อ่าน แล้วก็อ่าน หลับฝันไป เคลิ้มหลงว่าตน เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีปัญญาปราดเปรื่อง

    เอา แฟนคลับ อย่าลืมโหวต ถ้าเชียร์ Denverguy ส่ง SMS เข้ามา
     
  17. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    เห้อพี่ Denver ก๊าบ กินยาเขย่าขวดบ้างนะก๊าบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2010
  18. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ตัวหนังสือสีน้ำเงินเข้มบรรทัดสุดท้าย แต่งเติมเข้ามาเอง ไม่มีในพระไตรปิฏก

    ใช่แต่เท่านั้น ยังชื่อว่า ทำทายกผู้ถวายปัจจัยเหล่านั้นให้ถึงทุกข์ในอบาย (มีทุกข์ในนรก เป็นต้น) อีกด้วย

    แสดงถึง การกระทำของผู้ทำลายพระศาสนา นำเอาพระไตรปิฏก มาดัดแปลงแก้ไข
     
  19. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระศาสนาจะดำรงอยู่ได้ด้วยบริษัทสี่ ต่างต้องช่วยกันรักษาธรรมวินัย อย่าคิดแต่ว่าชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ ผู้ที่บวชไปห่มผ้าเหลือง ยังมิใช่พระอริยะบุคคล ยังเป็นผู้ต้องศึกษาในธรรมวินัย ศีล วิปัสสนาธุระ อยู่เช่นเดียวกับเราฆราวาส จึงต้องต่างศึกษาทั้งข้อปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับฆราวาสที่มีต่อสงฆ์ และสงฆ์เองก็ต้องศึกษาธรรมวินัย เพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์เราท่าน คือ เมื่อพระรักษาวินัย ถูกต้อง ย่อมเกิดประโยชน์แก่ตนในการปฏิบัติเพื่อถึงความหลุดพ้น นี่คือจุดหมายที่สมควรแก่สมณเพศที่บวชเข้ามา มิใช่บวชมาหากินในศาสนานี้ และเมื่อพระเหล่านั้นทำถูกวินัย ย่อมเป็นเนื้อนาบุญอันนี้ แก่ชาวพุทธที่ต้องการทำบุญ ทาน อันยังความเจริญในทางโลก และเอื้อต่อความเจริญในทางธรรม
    หากชาวพุทธคิดแบบคุณกันหมด ศาสนาจะไปรอดได้อย่างไร เมื่อเห็นพระทำผิดวินัยก็ปล่อยเพราะคิดเอาเองว่า ไม่ใช่เรื่องของฆราวาสไปเตือนพระ พวกที่บวชเขาไปก็ทำผิดกันอย่างเต็มที่เพราะ เดี๋ยวก็ขู่พวกนี้ได้ว่าเป็นโยมอย่ามาเตือนพระมันบาป ทั้งๆ ที่เป็นบุญอย่างมหาศาลตะหากที่เราช่วยสอดส่องเป็นหูเป็นตา เพื่อรักษาศาสนาในดำรงไปด้วยความเจริญแต่เพียงฝ่ายเดียว..
    ฉะนั้นโยมเตือนพระได้ และพระก็เตือนโยมได้ เมื่อเห็นว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก้าวล่วงในธรรมวินัย ในศีลธรรมอันดีงาม อย่างนี้สิ ศาสนาจึงจะเจริญ
     
  20. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    โยมเตือนพระได้ อยู่ในขอบเขตบางเรื่อง ไม่ใช่ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของศีล

    คุณลองพิมพ์ข้อความของคุณและเพื่อนสมาชิกไปถามพระสุปฏิปันโน

    พระผู้ทรงธรรม ทรงวินัย สายป่ากรรมฐานมีหลายองค์

    บอกก่อน ยกเว้น อาจารย์เกษม อาจารย์คุณนะ

    ให้ท่านพิจารณาดู ไม่ใช่คนกิเลสหนาแบบคุณจะมาตัดสินได้ในเรื่องแบบนี้

    พระไตรปิฏก คนกิเลสหนาอ่านแล้วมาตีความ ใช้ไม่ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...