การเปลี่ยนรูป เปรียบได้กับการเปลี่ยนอารมณ์ ได้รึเปล่าคับ ถ้าใช่แล้วมีผลดีผลเสียอย่างไรคับ
การเปลี่ยนรูป
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย digimon1234, 31 ตุลาคม 2019.
หน้า 1 ของ 7
-
-
ขำ แปป...
-
การภาวนา นั้น ไม่ยาก
แค่ทำใจร่มๆ ฟังให้ ถึงใจ....
แต่...พอเหนว่า ธรรมะ ปฏิบัติ
ง่ายนิดเดียว ....
"ไม่ต้องทำอะไร"
เท่านั้นแหละ ยาก กว่าเข็นช้าง
เข้ารูเข็ม ฯลฯ
อันนี้ มีปริเฉทมากมาย หาก จขกท
ตั้งจิตให้ตรงอยู่ ก้ ไม่ต้องฟังอะไร
ใครทั้งนั้น ควร งดเสวนาธรรม แล้ว
มะงุมมะงาหรา ไปเถอะ ( เกาะจิต
ไม่เสีย )
หรือ หากจะใช้คำ ตถาคต คือ อย่า
ไปกลัวการซ่องเสพกุสล(ฌาณ เพ่ง
อารมณ์ )
ทีนี้....
ถ้า ทนไม่ไหวจริงๆ ไม่กล้า เดินคน
เดียว ...ก้ช่วยม่ายได้ ใน การฝุ้ง
ไปใน เพื่อนสอง ( คลาดธรรมอมตะ
นะเตือนไว้ก่อน.. )
ทีนี้ ถ้าอดรนทนไม่ไหว พึง ทราบ
ว่า.....
เมื่อรู้ ทุกขคามินีปฏิปทา แล้ว ให้
สังเกต การ รู้ช้า ( หา รูปอื่น มา
สับปิติ กลัว สันติลักษณะ ไม่กล้า
เข้าไปในรูเข็ม ) ไปตรงๆ โน้มไป
เพื่อการสละ แล้วตามเหน ความ
ดับของการโน้มนั้น อย่าให้เหลือ
อย่าเสียว อย่าถอย อย่าประครอง
เกินไป อย่าละความเพียร (มีสติ
จริงต้องสว่าง มีน้ำมีนวล อย่าให้
เคลื่อน )
พอทราบชัด อาการ หรือ สภาวะ รู้ช้า
ขิปภิญญา ก้ อาสัยระลึกเหน นาม
แทนรูป
ถ้า ยังย้ายยักษ์ ควักคว้า เม็ดแตงโม
ไม่เลิก ........
ก้ขออนุญาติ พาเดินเล่น.....
ดูจิตได้ ให้ดูจิต(รู้รูปนั่นแหละ)
ดูจิตไม่ได้ให้ ดูกาย ..... ดูจิต
ไม่ได้ ดูกายไม่ได้ ให้เปลี่ยนรูป
(แบบ)ที่เปนกุสล.....
ให้จิตเสพอาหารที่ดี ...บริกรรม
ไปเหอะ
.....
ยังอีก....ถ้ายังเอ้อระเหยอีก.....
พึง กำหนดรู้ สุญญตสัญญา ที่เกิดดับ
พึง กำหนดรู้ อนิจสัญญา ที่เกิดดับ
เปลี่ยน รูป ไปเรื่อย
พึง กำหนดรู้ อนัตตสัญญา จิตบริกรรม
เอง พ้นเจตนา ..ที่เกิดดับ....
พึง กำหนดรู้ รูปราคะสัญญา อเนญชา
ลหุสัญญา นานัตตสัญญา ฯลฯ
........ตายเปล่า......หาก ไม่มี อธิษฐาน
ประกอบ......
แต่ถ้า มี อธิษฐาน ประกอบ ก้ให้
กำหนดรู้ ปลากรอบ ....เสีย อย่า
ไปเสียเวลา เนิ่นข้า....เจริญปัญญา
(ชำแรกกิเลส) สำคัญกว่า
ปล. จะเหนว่า มีความหลากหลาย
แปรเปลี่ยนเปนกิจ ตามธรรมชาติ
ของ ขันธ์ ( สีลขันธ์ ปัญญาขันธ์
สมาธิขันธ์ อันคนละเรื่องกับ วิมุตติขันธ์ ) -
ถ้า จะอยู่คนเดียว....
ก้
อย่าประมาท ใน ธรรม แม้นเล็กน้อย
( รูป นั่นแหละ )
สังขารแม้นน้อยนิด เปน ภัย -
-
แต่ อย่าไป พยายาม เลย
พระสาวกท่านว่า
" มีความพยายามที่ไหน
....มีความล้มเหลว ที่นั่น !? "
( จิตรู้ไม่ถึงฐาน ...ไม่มีที่ตั้ง.)
ถ้า จะเอา คำตถาคต
" ไม่เพียร ไม่พัก จึง อยู่บนฝั่ง "
และ...
" บัณฑิตพึงรู้ธรรม ด้วยอุปมา " -
ขำ.....
_/\_ _/\_ _/\_ -
เปลี่ยนรูปในประเด็นไหน ? ถ้ารูปที่เป็นนามธรรม
กรณี ถ้าเป็นการเปลี่ยนเพราะเคยขึ้นรูป
ด้วยกรรมฐานที่ขึ้นต้นด้วยรูปมาก่อนในกำลังระดับ
ปฏิภาคนิมิต มีประโยชน์ ทางด้านการสร้างกำลังจิต....
สร้างกำลังสมาธิ ส่งผลให้เกิด ความสามารถพิเศษทางจิต
แต่ถ้ากรณีมีรูปอื่นๆเข้ามาเปลี่ยนในกำลังระดับอุคหนิมิต
หรือไปเปลี่ยนเป็นรูปอื่นๆ ในกำลังระดับนี้
เป็นโทษทุกกรณี คือ ทำให้ล้าช้า บางทีก็ฟั่นเฟือน.
ยกเว้นว่า จะพิจารณาให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปและ
สภาพแวดล้อมของรูป ย้ำว่ารูปที่เปลี่ยนและสภาพแวดล้อมของรูป จะเป็นแนวทางให้จิตจะไปทางด้านปัญญาได้
เหมาะสำหรับ บุคคลที่ไม่คิดทางด้านพิเศษต่างๆ
แต่ต้องการเดินทางตรงเพื่อการหลุดพ้น....
วิธีเหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ ที่พอมีสัมผัสบ้างครับ
อารมย์นั้นเป็นฝ่ายนามธรรมเช่นกัน
มันมีเหตุที่เกิดจากภายใน
และเหตุเกิดจากภายนอก
ธรรมชาติของจิต มันจะเกิดเพียงอารมย์เดียวเท่านั้น
ถ้ารู้ว่าเหตุเกิดจากภายใน แล้วพร่ำสอน แล้วเตือนตนได้
หรือถ้ารู้ว่าเหตุเกิดจากภายนอก แล้วใช้สติ พากาย
ไปแก้ปัญญา. ถึงจะมีประโยชน์ .... -
เหมือนกันครับ
เพียงแต่ว่า
รูปเป็นของหยาบ
อารมณ์เป็นของละเอียด
ผลดี ผลเสีย อยู่ที่ การเข้าไปยึดถึอ สำคัญตน ว่า เป็นตัวตน บุคลเราเขา
หากจะให้ผลดี ก้ต้องเอามาฝึกเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึก ของสติ จะเป็นผลดี -
ถ้าเราประคองสภาวะพ้นทุกไว้ตลอดเวลา มีผลกับจิตอย่างไรบ้างคับ
-
[๓๗๐] ญาณในโวทาน ๑๓ เป็นไฉน ฯ
จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไป
ข้างฝ่ายฟุ้งซ่านพระโยคาวจรเว้นจิต
นั้นเสียย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง
จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย
อาการอย่างนี้
จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึง
ความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้น
จิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะ
นั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
แม้ด้วยอาการอย่างนี้
จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความ
เกียจคร้าน พระโยคาวจรประคอง
จิตนั้นไว้แล้วละความเกียจคร้าน
จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย
อาการอย่างนี้
จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุท
ธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสีย
แล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความ
ฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
จิตรู้เกินไปตกไปข้างฝ่ายความ
กำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น
ละความกำหนัดเสีย จิตย่อมไม่ถึง
ความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความ
พยาบาทพระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิต
นั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่
ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้
ย่อมขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรม
อย่างเดียว ฯ -
จะเรียกว่านิพพานก็ไม่ผิด เพราะพ้นไปแล้ว เหนือบุญเหนือบาป ทุกข์ก็ไม่มีแล้ว
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
สภาวะพ้นทุกข์ จะเกิดกระพระอรหันต์โดยสิ้นเชิง
พระอนาคามี ก็ทุกข์สั้นลง ลดลงตามลำดับ
พระสกทาคามีก็ทุกข์ยาวกว่าพระอนาคามี
พระโสดาบันก็ทุกข์ยาวกว่าสกทาคามี
ปุถุชนผู้ที่กำลังดำเนินสติปัฏฐานก็ทุกข์ยาวกว่าพระโสดาบัน
ปุถุชนที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน เป็นทุกข์อย่างยิ่ง ตามลำดับของกรรม ให้ผลไม่จบสิ้น
สิ่่งที่จะสามารถประครองสภาวะพ้นทุกข์ได้ ก็คือ
การเพียรเจริญสติปํัฏฐานให้เป็น สติวินโย (อ่านว่า สะติ วินะโย ) -
สังเกต นะ ฮับ
หากเกิด สติ จะต้อง สว่าง ....
การประครอง จิตเหมือนรู้อยู่ที่
ฐาน ไม่ส่งออก แต่ พระบางท่าน
จะเรียกว่า จิตส่งใน นิ่งเกินจริง
( ความเปนจริง ทุกสิ่งต้องไม่เที่ยง
แม้น ปฏิปทาที่ภาวนาอยู่ ต้องมี
รสไม่เที่ยง ให้ระลึก ) .....อันนี้
เรียกว่ามันเกียจคร้าน ...ภาษา
พระไตรปิฏก คือ "จิตหดหู่"
จิตหดหู่ ไม่ใช่ หงอย ...เต่างอย
จิตหดหู่ เปน ศัพทโบราณ ที่มี
อุปมา ขนนกเวลาโดนความร้อน
จะขดเปนปมมัวนตัวเข้ามา
ภาษาสมัยใหม่ มักเรียก จิตส่งใน
ไปติดเฉย -
ยกบท โวทาน มาให้ จขกท
ให้ ใช้ ธรรมบทนี้ แทน .....
อัปนาโกศล 10 ที่ พระโฆษาจารย์
( ผู้สังคยานาพระไตรปิฏก เปน
พราหม์แต่ง ตำราหลอกชาวพุทธ ) -
ไม่เที่ยงคับไม่เที่ยง 55 ขอบคุงคับ
-
การประครอง การภาวนา ด้วย
เจตนาเจือ จะเกิดความรู้สึก
เปน ก้อน เปนจุด เปนดวง
แหลมเรียว. ทิ่มแทง.....
อันนี้ คือ ถือจัด ..... ความสว่าง
จะเปนแบบ แฉลยไปเปน กสิณ
ความสว่าง ของ พุทธ จะเบา
ไม่เปนจุด เปนดวง ไม่มีสันฐาน
อันนี้ ห้ามตำหนิจิต แค่ ข่มใจ
ยอมรับ วิบาก ไปซื่อๆ จะหลุด
ออกมา ห่างจาก ก้อนวิบาก
เปนอันใช้ได้ -
-
นะ....
ปรารภแล้วว่า ไม่เที่ยง
อุบายใด ใช้ละได้ ให้ กำหนดรู้
อุบายนั้น แล้ว ปล่อย อุบายนั้นด้วย
ตรงนี้ละ มันส์ ภาวนาด้วยสิลปะ
.....
ทีนี้ ธรรมที่ชื่อ "ปัญญาอันยิ่ง"
จะปรากฏ ป๋มก้มักจะ ชักชวน
ให้ยกขึ้นเหน เหมือนสุญญต
สัญญาอื่นๆ ให้เหมือนตาเหนรูป
เพื้อ ลวงล่อให้เกิด ปฏิสัมภิทาญาน
แก่ สาวกของสมณโคดม ให้พระ
สารับุตรเทิญขึ้นศรีษะ แห่รอบวัด
แล้วก้ จะแอบ นั่ง ขำ สาวกของ
ศาสดาหน่อยๆ เว้นแต่จะ
เน้น ความไม่ประมาท กับ
การเหน สังขารทั้งหลาย
เปนภัย ก้จะขอหลบไปเขี่ย
ดินเล่น -
เอาจั๊กหน้อย...
"ซาหวักลีวังพุ๊ก..." -
[๑๗๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมวันต์
พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผัก
กาด ๗ ก้อน
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป
หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่
ไหนจะมากกว่ากัน?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่
สิ้นไปหมดไป มากกว่าก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน
ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป
หมดไป ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่
ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็น
อริยสาวก ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมี
ประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับการเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว
เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไป อย่างสูงเพียง
๗ ชาติ
ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ
ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธคา
มินีปฏิปทา.
หน้า 1 ของ 7