การเผา-ทำลายพระเจดีย์หรือพระปฏิมา (พระพุทธรูป) มีกรรมหนัำกเท่า อนันตริยกรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 21 กันยายน 2011.

  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ในช่วงนี้ มีเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับวงการพระพุทธศาสนาให้เสื่อมเสียเกิดขึ้นมา ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเรื่องเก่าเกี่ยวกับ "การห้ามบูชาพระพุทธรูป" โดยเห็นว่าเป็นเพียงแค่ทองเหลือง แล้วมีการนำเอาพระพุทธรูปมาเผา ผมจึงได้ืทำการศึกษาค้นคว้า และค้นพบความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในชั้นอรรถกถา จึงนำมาให้ทุกท่านได้ทราบว่าอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้อย่างไร ขอให้ทุกท่านอ่านแล้วทำในสิ่งที่เห็นผิดอยู่จงกลับมาเห็นถูก หากทำผิดอันไม่สมควรจงกลับใจมาทำในสิ่งที่ถูกต้องเถิด...


    =============================
    วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕
    =============================

    พึงทราบวินิจฉัยใน โลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทำพระโลหิต
    ให้ห้อ) ต่อไป ชื่อว่าการทำให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้ว
    ทำให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่
    พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ. แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็น
    ไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคต
    พระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระ-
    เทวทัตทำเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนัง
    พระบาท ตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นำเลือดเสียออกจากที่นั้น ทำให้
    ทรงพระสำราญ เมื่อทำอย่างนั้น เป็นการกระทำที่เป็นบุญทีเดียว

    ถามว่า ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วชนเหล่าใด
    ทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ กรรมอะไรจะเกิดแก่
    ชนเหล่านั้น ?

    ตอบว่า (การทำเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม.
    แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ หรือพระปฏิมา ควร
    ทำ แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือน
    กัน. ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่อง
    ใช้สอยของพระพุทธเจ้า) แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทำลายพื้นที่ ที่ตั้งเจดีย์
    จะตัดทิ้งก็ควร ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อ
    รักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มี
    ไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในเรือน
    อาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น จะตัดกิ่ง
    โพธิ์เสียก็ได้. เพื่อการบำรุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสีย
    ออกไปก็ควรเหมือนกัน แม้บุญก็ได้ เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า.

    ที่มา : เล่มที่ ๒๒ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปํณณาสก์ หน้า ๓๑๓ ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล


    ------------------------------------------------------------------

    จากอรรถกถาข้างต้น ยกมาเพียงบางส่วน ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานไปแล้ว แต่ถ้าหากใครทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุย่อมถือว่ามีกรรมหนัก เีทียบเท่า "อนันตริยกรรม" เลยทีเดียว ซึ่งในคำถามข้างต้นจะยังไม่มีการระบุถึงว่าทำลายพระพุทธรูป หรือในสมัยนั้นเรียกว่า พระปฏิมา ว่าจะก่อให้เกิดอนันตริยกรรมหรือไม่? แต่ถ้าหากเราทำการศึกษาเพิ่มเติมให้ยิ่งขึ้นไปจะทราบว่า พระปฏิมาเป็นสิ่งที่ควรเคารพ มีระดับเทียบเท่าพระเจดีย์ อันเป็นสิ่งที่ไม่ควรไปทำลาย ดังต่อไปนี้


    ====================================================
    พระปฏิมา ( พระพุทธรูป) และพระเจดีย์ควรเป็นที่เคารพยำเกรง
    ====================================================


    ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้
    เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่
    เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว เทวดาแลมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่า
    เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำ ความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อม
    ไม่บูชารัตนะไร ๆ อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชาพระ
    ตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ. และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์
    ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้น
    ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิ
    ทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว. ก็จะป่วยกล่าวไปไย สำหรับหมู่คนที่เคารพ
    ยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไร ๆ อื่น แม้ปรินิพพาน
    แล้ว การทำความเคารพยำเกรง อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศ
    พระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือ พระปฏิมา [พระ-
    พุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถา-
    คต แม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.

    ที่มา : เล่มที่ ๓๙ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตก-สุตตนิบาต หน้า ๒๓๖ เวรัญชกัณฑวรรณนา



    --------------------------------------------------------

    ผมเข้าใจว่าเจตนาการสอนแบบนั้น คือ อาจต้องการให้คนถึงแก่น แต่ด้วยวิธีการนำเสนอที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ึศึกษาให้รอบคอบเพียงพอ นำมาซึ่งการทำผิดอย่างมหัน แล้วอาจจะนำไปสู่การส่งเสริมให้ใครต่อใครอีกหลายๆ คนที่เชื่อและทำตามก่อ "อนันตริยกรรม" ขึ้น โดยไม่รู้ตัวได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...