ตกลงมันเห็นกันได้ หรือ รู้กันได้
ถ้าเห็นนี่ มันเป็นเรื่องเป็นราวเลยนะ
การเห็น นิพพาน ของพระโสดาบัน
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 25 มกราคม 2012.
หน้า 18 ของ 26
-
-
กั๊กๆ
จะเรียนธรรมะ หรือว่า เรียนภาษาไทย คร้าบ -
ใช้มั่ว มันก็เข้าใจกันออกมามั่ว
เห็นน้าเอกก็ให้ความสำคัญเรื่องภาษา มันก็น่าใช้ให้ถูกอยู่
เพราะ รู้ตรงไหน จิตก็ปรากฏตรงนั้น
วิญาณ มาจาก วิ + ญาณะ
วิ แปลว่า รู้ รู้แจ้ง
ญาณะ แปลว่า ปัญญา
จักขุวิญญาณ ท่านหมายเอา รู้แจ้งในสี หรือ เห็น ซึ่งเป็นโลกทางตา -
อืม...ถ้าอิอ่อนแห่งง้อไบ๊ มันสละสิทธิ
ม่ะคิดปรารถนา จาเป็น ลูกกระจ๊อก เอ๊ย ลูกกระรอก
ของทั่นจอมยุทธผู้เป็นหนึ่งชัดเจนแห่งบู้ตึ้ง
งั้น กระบี่เทพเกรียนเซียนนิ้วจรวด มันจะขอนุยาด ตะลึดตึ๊ดชึ่ง
กรอกใบสมัครเข้าชิงตำแหน่งลูกกระจ๊อก เอ๊ย ลูกกระรอก
ของ ทั่นกระบี่วิญญูชน ได้อ๊ะปล่าวคร้าาา
แบ่บว่า อะฮั้น ชอบ..
เปิดให้แทง เฉพาะคนที่เรา พอใจจะหั้ยแทง
ส่วน ครายจะแทงสูง แทงต่ำ แทงเสีย แทงถูก หรือไม่
อันนี้ มันก็แร้วแต่ วาสนาจริต ว่ะ
อิอิ อิอ่อนเจ้าขราาา มามะแทงเสีย ๆ เหอ...เหอ..
ปอลิง1
เห็นครายก็มิลู้ มาตะแล๊บแก๊บ ส่งสัญญาณควัน
ถึง อิเสือกินแหลก ที่ บล็อกสุมหัวนินทาชาวบ้าน ว่า
<table bgcolor="#edede5" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td width="57"></td> <td background="../template/theme/8/images/everyday_frame_03.gif"> </td> <td width="56"> </td> </tr> <tr> <td background="../template/theme/8/images/left.gif" width="57"> </td> <td><table border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr><td> </td><td> </td></tr> <tr> <td>มีเรื่องมาเล่าให้ตั่วเจ้ ฟัง ว่ะค่ะ
เมื่อวาน ไปต่อล้อต่อเถียงกะ อิเฮียนิวอนพังจิตมา
ถึงได้รู้ว่า ที่อีทำตัวเป็นหมาบ้่าตามกัดอิเจ้รองไม่เลิก
ก็เพราะอิเจ้รองดันมาเห็นดีเห็นงานเป็นผีเน่ากะโลงผุ
อยู่ก๊ะตั่วเจ้แห่งหลุมดำนี่เอง เป็นเหตุให้อีนิวอนทำตัว
เป็นมาม่าซังมาปรุงมาม่าใส่อิเจ้รองไม่ดูตาม้าตาเรือ
อิเจ้รอง เรยทำพิธีตัดสายรกทิ้งลงท่อไปซะเรยว่ะค่ะ
ประกาศตัดฟามเป็นเพื่อร่วมน้ำเมาให้โลกรู้โดยทั่วกันไปแระ
ว่าอิเจ้นะ ยังไง้ยังไง
ก็เห็นแม่นางเทียวเสี้ยมดีฝ่าอิเฮียหน้ามืดแห่งเว็บพังจิต
แน่นอนนนนนน อิอิ
ถึงแม้อิเจ้ผีเน่าจะมีลูกบ้าเยอะ ปากก็ไม่มีสัมมาคารวะ
แถมยังโดนข้อหาไม่รู้คุณพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์
อิเจ้รอง ก็จะคบหาสมาคมกะอิเจ้หลุมดำพังจิตต่อไป อิอิ
เจ้ประกาศไปแล้ว ว่าเจ้คบคนที่มีศีล5ศีล6 ว่ะ
ไม่ได้คบที่เขานับถือศาสนาอะไร หรือไม่มีศาสนาก็คบได้
เจ้ไม่นิยมการดูถูกดูแคลนคนต่างศาสนาว่ะ
อิเจ้รองมันตาสว่างขึ้นเยอะเรยว่ะค่ะ
ว่าคบคนบ้าในหลุมดำยังดีกว่าคบพวกงักปุ๊กคุ๊งในบู๊ลิ๊มเน่าๆ
แร้วก็ ขอไว้อาลัยแด่อดีตลูกเพ่พังจิต แบบถาวรเรย
อิอิ เข้าแก๊งส์ไหนหัวหน้าตายสนิทเจงๆ เรยกรู!!!
555
</td> </tr></tbody></table></td> <td background="../template/theme/8/images/right.gif" width="56"> </td> </tr> <tr> <td width="57"></td> <td background="../template/theme/8/images/everyday_frame_15.gif"> </td> <td width="56"> </td> </tr> </tbody></table>
โดย: ตะแล๊บแก๊บถึงอิตั่วเจ้ IP: 124.120.20.173 วันที่: 31 มกราคม 2555 เวลา:10:36:08 น.
อิเสือมันเก๊าะเรยนึกครึ้ม
วิญญาณ ผีตะกละเข้าสิงอ่า
จึง หยุด รจนา จม. ตอบแควน ๆ
แร้วแล่น ออกจากกะลา
แวะมาหาของขบเคี้ยว เล่นๆ
ณ กาทู้อันเป็นเหุตุปัจจัย นี้อ่ะจร้าาาาาาาา
ว่าแต่ เห็นถกกันเรื่อง
วิชั่น เอ๊ย การเห็น นิพพาน ของพระโสดาบัน
แล้วอ่ะฮั้นก็หั้ยฉงฉัย ต่อไปอีกอ่า ว่า
ถ้าเปลี่ยนจากการ เห็น นิพพาน เป็นการ เห็น ภาพนี้ ล่ะหว่า
อยากลู้จังเยยยยง่ะ ว่า ถ้าเห็น ภาพข้างบนนั้น แล้ว
เหล่าพระโสดาบัน มันจะเห็นเช่นเดว ก๊ะ พระโซดาปั่น อ๊ะปล่าน้อออ เอิ๊ก ๆ
ปอลิง 2
เออ นี่ ๆ อิอ่อนจ๋าาาา หล่อนว่า
ถ้าอะฮั้น ยกเอา เจ้าอุปทาน ขันทั้ง 5 ใบ ของตัวเอง
ไปวางสุมไว้บนหัว ของทั่นผู้เป็นหนึ่งชัดเจน แห่ง บู้ลิ้ม
แม่ดอกบัวเกี๋ยง คนนั้น เค้าจา รู้สึก อิ่มเอมเกษมสันต์
จนยอมยก เก้าอี้โซดาปั่น แอนด์ ตำแหน่งลูกกระจ๊อก
ให้แม่นาง ดอกบัวป่อง ไหมน้อออออออ :'(
ปอลิง 3
เอาล่ะ แวะมาปฏิบัติภารกิจ กระตุกหางหมา เสร็จแระ
กลับเข้าไปซุกหัวในกะลา เพื่อปั่นน้ำลายปิดประเด็น ที่บล็อกตัวเอง ต่อดีกั่ว
ขืน ยังสะแหล๋นแจ๋น มาเล่นน้ำลาย ในนี้บ่อย ๆ
เด๋ว ไอ้งักปุ๊กคุ้ง มันจะเม้งแตก อ่า่
มันยิ่งชอบเจ้ากี้เจ้าการ ทำตัวเป็นสติ
คอยห้ามมิหั้ย อิผีเน่า แอบเข้ามาเล่นขรี้เล่นเยี่ยว อยู่แถวนี้ซะด้วย
งั้นก็ตามใจมันหน่อยแระกาน
จะได้เป็น แม่นางจิญจา ฯผู้น่าร้ากกก ในสายตาของมันมั่ง อิอิ
-
อวตาล ยัยบัวผุดดรึเปล่าเนี่ย
-
พี่นิ้วจรวดแกฉลาด หัวไว
แต่ว่า กัมมุนา วัตกีโลโก -
ปอลิง 2
เออ นี่ ๆ อิอ่อนจ๋าาาา หล่อนว่า
ถ้าอะฮั้น ยกเอา เจ้าอุปทาน ขันทั้ง 5 ใบ ของตัวเอง
ไปวางสุมไว้บนหัว ของทั่นผู้เป็นหนึ่งชัดเจน แห่ง บู้ลิ้ม
แม่ดอกบัวเกี๋ยง คนนั้น เค้าจา รู้สึก อิ่มเอมเกษมสันต์
จนยอมยก เก้าอี้โซดาปั่น แอนด์ ตำแหน่งลูกกระจ๊อก
ให้แม่นาง ดอกบัวป่อง ไหมน้อออออออ :'(
แหะ แหะ
ขอตอบแม่นางเทียมเสี้ยม ว่าไม่รู้ใจเค้า ง่ะ
อาจเผ่นหนีขึ้นเขาบู๊ตึ๊งป่าราบไปแระม้างงงงง
เฮียเค้าเป็นสัญชาติกระรอกนะเว้ยเฮ้ย เจออิเสือกินแหลกนี่ เค้าคงไม่อยู่ให้เคี้ยวร๊อก ฮี่ฮี่
จะให้ดี แม่นางเทียวเสี้ยม ลื้อไปให้หมอประจำตระกูลผ่าตัดทำศัลยกรรมยกเครื่องมาใหม่ก่อนดิ
เผื่ออาเฮียกระรอกอีจาหน้ามืดหลงคารมลื้อ อิอิ
อ้อ อย่าลืมกำจัดกลิ่นสาบเสือสมิงสาวด้วยล่ะ เดี๋ยวเฮียกระรอกมันตื่น ก็จากลายเป็นไร่แห้วแทน
666 -
ที่ผมบอกเสียดายอารมณ์ เพราะบางเวลาผมนิ่งสงบ และสุข
แต่ผมต้องออกมารู้สึกตัวกายใจ เลยรู้สึกเสียดายช่วงเวลานั้น
กลับมาเล่าต่อแล้วครับ -
ก็ไม่เสียหลายแล้วล่ะป๋า .....รู้ทันใจตัวเอง :cool:
อารมณ์นิ่ง สงบสุข นี่ใช่อารมณ์ฌาณไหม คะ -
อารมณ์ฌานเหรอ ผมไม่รู้จักคำว่าฌาน ผมรู้แค่ว่า สภาวะนึง สู่สภาวะนึง
ที่เปลี่ยนไปตาม กำลังสติของเราครับ บางครั้งก็ไม่จมแช่อยู่ในความอ้างว้าง
บางครั้งก็ไม่นิ่ง และปิติ บางครั้งก็เหมือนอยู่ท่ามกลางทะเลที่คลื่นกำลังบ้า และมีผมเป็นภูเขา โพล่ตรงนั้น -
พิจารณาว่า ของมันเคยมี ตอนนี้ไม่มีแล้ว
หรือ ว่ามันไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ของนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย
ตกลงใครเป็นเจ้าของใครหว่า -
เอาชาดกเรื่องกระรอกโพธิสัตว์มาฝากจ้า
กระรอกโพธิสัตว์
วันนี้เล่าถึงเรื่องกระรอกพระโพธิสัตว์
กิรดังได้สดับมาว่า
ครั้งนั้นยังมีกระรอกตัวหนึ่ง
ลูกของกระรอกตัวนี้ตกลงไปในบึงใหญ่
กระรอกก็พยายามจะช่วยลูกตนเอง
โดยการเอาหางไปจุ่มน้ำ
แล้วก็วิ่งไปสลัดออก
พูดง่าย ๆ ก็คือ เอาหางวิดน้ำนั่นเอง
เทวดาที่อยู่ตรงนั้นเห็นเข้าก็หัวเราะเยาะแล้วว่า
"เจ้ากระรอกโง่ เหตุไฉนมาเอาหางวิดน้ำอยู่อย่างนี้เล่า"
กระรอกก็บอกว่า
"ลูกของข้าพเจ้าตกลงไปในบึงนี้ ข้าพเจ้าจะวิดน้ำในบึงให้แห้งเพื่อช่วยลูกขึ้นมา"
เทวดาก็ว่า
"เจ้าโง่เอ๊ย หางเล็ก ๆ ของเจ้า จะวิดน้ำสักกี่ชาติกันบึงใหญ่นี้มันถึงจะแห้ง ดีไม่ดีจะตายซะก่อน เจ้านี่ช่างโง่นัก"
กระรอกก็ตอบว่า
"ถึงจะต้องวิดจนตัวตายก็ทำ เพราะข้าพเจ้านี้เป็นกระรอก
กระรอกก็ทำได้แต่เพียงเท่านี้
แม้จะรู้วิธีการอย่างอื่นแต่ก็ทำไม่ได้
อนึ่ง นี้เป็นความเพียร หากว่าเราเพียรพยายามเสียแล้ว
ทุกสิ่งต้องสำเร็จ แต่หากไม่สำเร็จ
ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียร ตายไปก็ไม่ตายเปล่า
ไม่เป็นที่ตำหนิติเตียนของปวงปราชญ์ทั้งหลาย"
เทวดาได้ฟังดังนั้นแล้วก็ซาบซึ้งในธรรมของกระรอก
จึงอาสาช่วยเอาลูกกระรอกขึ้นมาจากน้ำให้
เรื่องก็จบแต่เท่านี้
ความเพียร เป็นองค์ประกอบแห่งคุณธรรมอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นทั้งปวง
เป็นองค์ประกอบในหลายข้อธรรม
แม้ในการบำเพ็ญบารมีก็มี วิริยบารมี
ในพละ ๕ อินทรีย์ ๕ หรือ โพชฌงค์ ๗ ก็มี วิริยะ
ก่อนที่เราจะปล่อยวางทุกสิ่ง เราต้องทำให้ถึงที่สุด แม้ด้วยชีวิต
นั่นหมายความว่า หากจะเกิดการปล่อยวาง ก็ย่อมเป็นเพราะจิตเห็นแจ้งด้วยจิตเองจึงเกิดการปล่อยวางตามธรรมชาติ หาใช่มาคิดปล่อยวางเองไม่
Arty House
8 11 2554
A R T Y H O U S E: กระรอกโพธิสัตว์
-
ได้ยิน เฮีย ว.12 เขาบอกว่า มีแต่ของกลาง
แต่ของกลางมาอยู่ในความครอบครองของเราชั่วคราว
แล้วเราก็เผลอไปยึดไว้ว่าเป็นของเรา -
ฌาน,สมาบัติ<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%">
</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top noWrap width=132 background=bg/t_back.gif bgColor=#4682b4>
<CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ศาลาปฏิบัติ[/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ฌาน,สมาบัติ[/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ปฐมฌาน,๑,๒[/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ฌาน๓, ๔[/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อรูปฌาน ๔[/FONT]
</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
<TD vAlign=top width="100%">[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=20 width="90%" bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="90%">[/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌาน ที่ ๓ ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ- สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข ที่เนื่องด้วยกาย
- เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัด จากกาย ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์ ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญ ในเสียงก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวัง ด้วยการทรงสติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตราย แก่ฌาน ๓ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อานิสงส์ฌานที่ ๓ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่า จะไม่หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตา สดชื่นผ่องใส เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ- ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
- ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
- ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือนฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุข ออกเสียเหลือแต่ เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจากฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามา แทนที่ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อาการของฌาน ๔ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้- จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจน ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่า ลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิ- มรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มีลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจน ในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และ ขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติ หลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวายบอกว่าไม่เอาแล้วเพราะเกรงว่าจะตาย เพราะไม่มีลมหายใจบางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อยก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจที่ปรากฏอยู่กับปลาย จมูกนั่นเอง
- อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ ภายนอกจริง ๆ ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มี อารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่าฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกาย เลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัดอันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิ ที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริงร่างกายนี้จำเป็นมาก ในเรื่องหายใจเพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกาย ก็ยังไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการ ทรงอยู่ของร่างกาย ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมี ตามปกติที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการ ของร่างกายเลย
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึง ฌาน ๔ จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่ เพียงอุปจารฌาน แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจากฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็น โพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายในกายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติ- ปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไปในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้น ประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ ต่อไปจะบังคับ กายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่าน จะฝึกวิชชาสาม อภิญญาหกหรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึก ต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการ เคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือน นักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้วจะทำอะไรก็ทำได้เพราะกำลังพอจะมีสะดุด บ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้นพอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วนอภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำได้โดยตรง [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เสี้ยนหนามของฌาน ๔ [/FONT]
[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่า มีลมหายใจปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้วจงอย่าสนใจกับลมหายใจเลยเป็นอันขาด [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อานิสงส์ของฌาน ๔- ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวัน เวลาจะแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
- ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ ถ้าท่านต้องการ
- ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระ กิเลสให้หมดสิ้นไป อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
- หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตาย ในระหว่างฌานที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/meditation3.html</TD></TR></TBODY></TABLE>
</TD></TR></TBODY></TABLE> -
ห้องแห่งความสุข เข้าไปแล้วอยู่สุข สำราญ เย็นได้ทุกเช้าค่ำ
เข้าๆ ออกๆ ให้ ชิน แล้ว ใช้ให้เป็นประโยชน์
ก็หะแล่มๆได้ ขอรับ -
อนุโมทนา คุณ K ที่นำมาอ่าน -
มหาสติปัฏฐาน 4
เอกสารนำอภิปรายปัญหาธรรมะในพระพุทธศาสนา
โดย น.อ. ประยงค์ สุวรรณบุบผา
ณ มูลนิธิส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางพระพุทธศาสนาเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ
ในองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2543 เวลา 14.00 - 16.00 น.
คำว่า "มหาสติปัฏฐาน" หมายถึง การตั้งสติอย่างใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสมหาสติปัฏฐานแก่พระภิกษุและชาวแคว้นกุรุรัฐ ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ นิคม ชื่อกัมมาสทัมมะ* มีใจความสำคัญว่า
"ภิกษุทั้งหลาย หนทางสายเอกสายเดียวนี้คือ เอกายโน มคฺโค (เอกายนมัคค์) เป็นทางที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์ พ้นจากความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อกำจัดทุกข์กายทุกข์ใจเพื่อให้เข้าถึงธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการตั้งสติ 4 อย่าง"
มีคำกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสมหาสติปัฏฐาน 4 แก่พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปวงชนทั่วไปแห่งกุรุรัฐ ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ
1. ผู้ฟังพระธรรมเทศนามีสุขภาพกายดีในกุรุรัฐนี้ มิใช่แต่มนุษย์เท่านั้นที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานที่อาศัยมนุษย์ ก็เจริญสติปัฏฐานเหมือนกัน มีตัวอย่าง นกแขกเต้าแสดงให้เห็นเป็นกรณีศึกษาดังนี้
2. เป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาดสามารถรับพระธรรมเทศนาที่มีอรรถะ ลึกซึ้งได้
3. เป็นผู้มีความเพียรสูง
4. มีการเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติ นับแต่คนรับใช้ไปจนถึงผู้ใช้แรงงาน
5. เรื่องที่สนทนากันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐาน แม้แต่สัตว์เดรัจฉานที่อาศัยมนุษย์ก็เจริญสติปัฏฐาน กล่าวหรือพูดกันถึงแต่เรื่องสติปัฏฐาน 4 ทั้งสิ้น
"มีนักรำท่านหนึ่ง เลี้ยงลูกนกแขกเต้าเอาไว้ แล้วฝึกให้พูดภาษามนุษย์ ไปไหนก็พาเอาไปด้วย คราวหนึ่ง นักรำท่านนี้ไปขออาศัยพักอยู่ ณ ที่อาศัยของนางภิกษุณีรูปหนึ่ง เวลาลาไป กลับลืมนกแขกเต้าตัวนั้นเสียสนิท สามเณรีจึงเลี้ยงนกแขกเต้าตัวนั้นไว้ ตั้งชื่อให้ว่า พุทธรักขิต นางภิกษุณีสอนให้นกพุทธรักขิตสาธยายคำว่า อัฐิ อัฐิ (กระดูก กระดูก) เป็นเนืองนิตย์ นกแขกเต้าพุทธรักขิตก็ปฏิบัติตามคำสอนของนางภิกษุณีรูปนั้นเป็นอันดี วันหนึ่งตอนเช้า ขณะที่นกพุทธรักขิตกำลังนั่งผิงแดดอ่อนอยู่ บนซุ้มประตู เหยี่ยวตัวหนึ่งมาโฉบเฉี่ยวเอาไป นกพุทธรักขิต ส่งเสียงร้องว่า กิริ กิริ พวกสามเณรีทั้งหลายได้ยินเข้าก็พากันช่วยนกพุทธรักขิตจนปลอดภัย นางภิกษุณีเถรีถามนกพุทธรักขิตว่า เวลาที่ถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไปว่าคิดอย่างไร นกพุทธรักขิตตอบว่า มิได้คิดอื่นใด คิดถึงแต่เพียงว่า -- อย่างนี้ว่า 'กองกระดูกพากองกระดูกไป จะไปเรี่ยรายกลาดเกลื่อนอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ได้เท่านั้น พระเถรีให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ พุทธรักขิตเจ้าคิดอย่างนั้น ก็จักเป็นปัจจัยแห่งความสิ้นภพ สิ้นชาติของเจ้าในอนาคต"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสอนให้ใช้หลักมหาสติปัฏฐาน 4 (การตั้งสติอย่างใหญ่) ซึ่งเป็นทางสายเอกและเป็นทางสายเดียว (เอกายนมัคค์) ที่จะทำให้สรรพเวไนยสัตว์บริสุทธิ์สะอาดปราศจากโรคจิต ล่วงพ้นเสียได้จากความโศก ความร่ำไร ความดับทุกข์ ความเสียใจ (โทมนัส) เพื่อบรรลุญายธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ธรรมที่ถูก คืออริยมรรค เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
มหาสติปัฏฐาน 4 (Foundation of Mindfulness) คือ การตั้งสติอย่างใหญ่ กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ว่าสิ่งนั้น ๆ ว่ามันเป็นของมันเอง โดยธรรมชาติ โดยธรรมดา
มหาสติปัฏฐานจำแนกออกไปได้ ดังนี้
มหาสติปัฏฐาน 4 ส่วนย่อย
1. กายานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณากาย แบ่งย่อยออกไปเป็น 6 ส่วน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)อานิสงส์ผลของการปฏิบัติมหาสติปัฏฐานทั้ง 4
1. อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก2. เวทนานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ
2. อิริยาบถ กำหนดให้รู้เท่าทันอิริยาบถ
3. สัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการเคลื่อนไหวทุกอย่าง
4. ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบของร่างกาย (อวัยวะต่าง ๆ) ว่าเป็นของไม่สะอาด
5. ธาตุมนสิการ พิจารณาร่างกายของตนให้เห็นว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุแต่ละอย่าง ๆ
6. นวสีวถิกา พิจาณาซากศพในสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนถึงกระดูกป่นเป็นผุยผง (อันแตกต่างกันใน 9 ระยะเวลา ท่านเรียกว่าป่าช้า 9) ให้เห็นว่าเป็นคติธรรม ร่างกายของผู้อื่น (ซากศพที่กำลังพิจารณา) เป็นเช่นใด ร่างกายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น (รวมเป็น 6 ส่วน)
การรู้สึกอารมณ์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงเวทนา ... ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ) 1) สุข 2) ทุกข์ 3) ไม่ทุกข์ไม่สุข 4) สุขประกอบด้วยอามิส 5) สุขไม่ประกอบด้วยอามิส 6) ทุกข์ประกอบด้วยอามิส 7) ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส 8) ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส 9) ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ประกอบด้วยอามิส (รวมเป็น 9 อย่าง)
3. จิตตานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ...) 1) จิตมีราคะ 2) จิตไม่มีราคะ 3) จิตมีโทสะ 4) จิตไม่มีโทสะ 5) จิตมีโมหะ 6) จิตไม่มีโมหะ 7) จิตหดหู่ 8) จิตฟุ้งซ่าน 9) จิตใหญ่ (จิตในฌาน) 10) จิตไม่ใหญ่ (จิตที่ไม่ถึงฌาน) 11) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า 12) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า 13) จิตตั้งมั่น 14) จิตไม่ตั้งมั่น 15) จิตหลุดพ้น 16) จิตไม่หลุดพ้น (รวม 16 อย่าง)
4. ธัมมานุปัสสนา (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ...) 1) พิจารณาธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจะ และวิจิกิจฉา) เรียกว่า นี วรณบรรพ 2) ... ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เรียกว่า ขันธบรรพ 3) ... อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกว่า อายตนบรรพ 4) ... ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ 7 คือ โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา) เรียกว่า โพชฌงคบรรพ 5) ตั้งสติกำหนดรู้ชัดธรรมทั้งหลายมีนีวรณ์ 5 (กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา) ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) อายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) อายตนะภายนอก 6 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์) โพชฌงค์ 7 {สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ (ความสงบกาย-สงบใจ) สมาธิ อุเบกขา] และอริยสัจจ์ 4 ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญขึ้นและดับไปอย่างไร เป็นต้น ตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง อย่างนั้น ๆ (รวม 5 ส่วน)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสเทศนามหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว ได้ตรัสถึงอานิสงส์คือ ผลการตั้งสติอย่างใหญ่นี้ว่า ผู้ปฏิบัติจะได้รับผล 2 ประการ ประการใดประการหนึ่ง คือ บรรลุพระอรหัตตผลในชาติปัจจุบัน หากยังมีอุปาทิคือสังโยชน์ 10 (เขียนสัญโญชน์ก็ได้) หรือ อนุสัย 7 (มีกามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ และอวิชชา) เหลืออยู่ จะได้เป็นพระอนาคามี (ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก) คือ เป็นผู้จะได้บรรลุพระอรหัตตผล หรือพระอนาคามิผล ในชาตินี้เป็นแม่นมั่น ภายใน 7 ปี หรือลดลงไปจนถึงเพียง 7 วัน (7 ปี, 6 ปี, 5 ปี, 4 ปี. 2 ปี, 1 ปี; 7 เดือน, 6 เดือน, 4 เดือน, 3 เดือน, 2 เดือน, 1 เดือน, 15 วัน, (กึ่งเดือน) หรือ 7 วัน)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงพฤติกรรมของจิตมนุษย์พร้อมวิธีแก้ไขพฤติกรรม
ในหลักพระพุทธศาสนาได้จำแนกพฤติกรรมของจิต เรียกว่าจริต (ความประพฤติเป็นปกติ; พื้นฐานของจิต ที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง) ออกเป็น 6 ชนิด
พฤติกรรมของจิต
1. ราคจริต (ผู้หนักไปทางรักสวยรักงาม)วิธีการแก้ไข
2. โทสจริต (ผู้หนักไปทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่ายคิดประทุษร้าย)
3. โมหจริต (ผู้หนักไปทางซึมเซา งมงาย)
4. สัทธาจริต (ผู้หนักไปทางเชื่อง่าย)
5. พุทธิจริต/ญาณจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทาง การใช้ความคิดพินิจพิจารณา)
6. วิตกจริต (ผู้ประพฤติหนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน)
1. อสุภะและกายคตาสติ (การพิจารณาให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม, การมีสติพิจารณาด้วยการเจริญกรรมฐาน)จริต 6 นี้ เนื่องในอกุศลมูล 31 คือรากเหง้าของความชั่ว บาปทั้งหลายทั้งปวง มีหลักธรรมสำหรับแก้จริตทั้ง 6 ดังได้เสนอผ่านมาแล้ว
2. เจริญกรรมฐานข้อธรรมคือ พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และกสิณ คือ วัณณกสิณ (กสิณสี คือการเพ่งสีเขียว เหลือง แดง ขาว)
3. เจริญกรรมฐานข้ออานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้า-ออก การเรียน การฟัง การถาม การศึกษาหาความรู้ การสนทนาตามกาลกับครูอาจารย์)
4. การพิจารณาพุทธานุสสติ แนะนำให้เชื่ออย่างมีเหตุผล
5. การพิจารณาพระไตรลักษณ์ (อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา) การเจริญกรรมฐานข้อมรณสติ อุปมานุสติ จตุธาตุววัฎฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
6. การสะกดอารมณ์ด้วยการใช้หลักอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น
(ขุ.ม. 29/727/435;889/555: ขุ.จุ. 30/492/244;/วิสุทธิ. 1/127)
สติปัฏฐาน 4 เป็นทางเดียว เป็นทางบริสุทธิ์ที่ทำให้มนุษยชาติพ้นจากราคะ*/โลภะ โทสะ และโมหะ พ้นจากความโศก ความคร่ำครวญ กำจัดทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ถูกต้อง ด้วยการทำพระนิพพานให้แจ้ง
ได้โปรดศึกษาความพิสดารเรื่อง "สติปัฏฐาน 4" ได้ใน "สวดมนต์แปล" ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม (หน้า 130-463) และ "พระไตรปิฎกฉบับประชาชน" ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (หน้า 336-337), พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ฉบับภาษาบาลี) หน้า 325-351, หนังสือ "นวโกวาท" พระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พิมพ์ครั้งที่ 74/2525 หน้า 34.
http://www.wfb-hq.org/specth11.htm -
ว่า โอกาสที่จะสำคัญตัวว่า ภาวนาเจริญอยู่นี่ มีสูงมาก ยิ่งถ้าไปเสวนา
กับพวกไม่เอาอ่าวแล้วละก้อ เขาไม่ได้พาไปยังจุดที่ใช่ แต่ พวกนี้จะพูด
จาเหวี่ยงแหไปเรื่อย เพียงแค่อยากจะแสดงความรู้ แต่ไม่ใช่เป็นไปเพราะ
รู้อุบายที่จะนำออก หรือ รู้วิธีบอกแบบกั๊กๆเพื่อให้ไปเห็น "สิ่งหนึ่ง" เอา
เอง
การภาวนาเวลาเข้าด้ายเข้าเข็ม มาถึงจุดนี้ คนที่แนะนำหรือชี้ทาง จะต้อง
ไม่ชี้อะไรตรงๆ จะบอกอ้อมๆ แต่ถ้าปฏฺบัติอยู่ละก้อ ผลจะเกิดตรงๆ ซึ่งจะ
ต่างกับพวกที่บอกไม่ตรงแบบโบ้เบ้ มันตลาดไปเรื่อย
* * * *
อารมณ์ฌาณไหม ต้องตอบว่า "มี" แต่ถามว่า ใช่ฌาณไหม ตอบว่า "ไม่ใช่"
แล้วต้องทำอย่างไร ก็ทำอย่างเดิมต่อ
ทำ ทำไม ก็เพื่อให้ อารมณ์ฌาณมันเกิดแนบแน่น
* * * * *
ตรงหวงอารมณ์ ต้องยกสภาวะการหวงอารมณ์นั้นเป็น สิ่งถูกรู้ถูกดู แล้ว
ทำอย่างไรต่อ ก็เข้าไปส่องเสพอารมณ์ที่หวงนั่นแหละ อย่าไปไหน
พูดง่ายๆคือ คล้ายทำฌาณให้มันเกิด แต่การทำนั้น เราจะมีสติสัมปชัญยะ
พิจารณาจิตที่ส่องเสพฌาณนั้นด้วย เพื่อให้มันคลายออก
พระไตรปิฏกตรงนี้ พระพุทธองค์ก็จะตรัสว่า "บางอย่างควรเสพ บางอย่าง
ไม่ควรเสพ"
หรืออีกแง่ก็คือ ฌาณมันเป็นโลกียะ แต่ใช่ว่าจะไม่เสพฌาณ ฌาณต้องเสพ
แต่ความเป็นโลกียะของมัน ซึ่งติดมาด้วยเป็นธรรมคู่ ส่วนนั้นเราไม่เสพ
คงไม่งงนะครับ ถ้างง หรือ ใช้สมองตรึกเอา จะเข้าใจว่า ไม่ให้ทำฌาณ
หรือ อาจจะเข้าใจว่า กำลังบอกให้ทำฌาณ
* * *
ข้างบนนั้น ภาษาปริยัติ มาดู นัยปฏิบัติกันบ้าง
ป๊ะป๋า สังเกตุดีๆ ตรงอาการ ปิติ5 ซึ่งมันจะเกิด เมื่อจิตส่องเสพฌาณ ซึ่ง
มันจะเสพแบบชั่วฟ้าแล๊บ แต่ปิติ5นี่เกิดแล้ว หากปิติเกิดแล้วมันเกิดบ่อยๆ
เพราะเราเจริญสติ สำรวมอินทรีย์ดีอยู่แล้วละก้อ ตรงนี้จะเห็นว่า "วิตก
วิจาร" ไม่ขึ้นวิถี ผู้ภาวนาจะปรารภอย่างไม่รู้ว่า "ว่าง" จริงก็แค่ "วิตก
วิจาร" มันดับไป ส่วนใหญ่จึงเป็นภูมิจิตที่มี "ปิติสุขเอกัคคตา" แต่เนื่อง
จากมันไม่ใช่ฌาณ แฌณ เพราะไม่มีการ เสพแบบสมาบัติ หรือ อยู่
ในฌาณ หรือ ยกนิมิตเพื่ออุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต อะไร คนรุ่นใหม่
ก็เรียก จิตที่โคจรแบบนี้ว่า "อุปจารสมาธิ"
ทีนี้ เราต้องฉลาดในการ ยกปิติมาอาบกาย อาบจิต ถ้ายกได้ "เอโกธิ
ภาวะ" หรือ จิตผู้รู้จะถูกตั้งขึ้น
ถ้าไม่ฉลาดในการ ยกปิติมาอาบกาย อาบจิต ก็จะติดเฉย หรือติดว่าง
หรือติดสุข อันเป็นวิบาก ไม่ใช่ภูมิจิตที่กำลังทำกรรมฐาน
เหมือนคนที่ทำงานนิดหน่อย ก็ตายใจ นอนรอผลบุญที่กำลังหมดไป
ก็จะเห็นว่า หากปล่อยไปแบบนี้ กลายเป็นพวก ภาวนาเพื่อกินขี้ คือ
กินสิ่งที่ถ่ายออกมาเป็นผล กินแล้วก็หมดไป หมดแล้วก็ตำข้าวสารกรอก
หม้อ ภาวนาเหมือนได้เสพ ได้กิน แต่ ภาวนาแบบนี้ ให้ตายก็ไม่ได้
อะไร
ก็ต้อง ฉลาดในการยกปิติ เพื่อให้ ผู้รู้ มันเด่นดวงขึ้นมาก่อน พอ
จิตผู้รู้เด่นดวง จะสังเกตุว่า ภูมิจิตนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น สองฝ่าย คือ
"จิตผู้รู้" ที่มันเด่นอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับอาการ ปิติ หรือ สุข หรือ
สิ่งปรุงแต่งอื่นๆ ซึ่งมันอยู่ฝาก ขันธ์5
เมื่อไหร่ก็ตาม ป๊ะป๋า เริ่มกลับมาที่กาย คือ จิตผู้รู้หายไป และจิตที่
เป็นขันธ์5หายไป เพราะวิ่งไปรับกายมาเป็นตน เมื่อนั้น เวทนาจะเกิด
แทนปิติ ปิติจะเสียคุณภาพเป็นไฟร้อน แสบๆคันๆ ยุกยิก คับแคบ น่า
รำคาญ เรียกว่า เกิดสุข/ทุกข์เวทนา ....ตรงนี้สังเกตุดีๆ มี อุเบกขา
เวทนาด้วย คือ พอเกิดสุขเวทนา ทุกขเวทนาแล้วไปวางจิตเผิกเฉย ก็
จะผลิกภูมิเข้าสู่ เฉยแบบควาย ว่างแบบควายขึ้น ภูมิจิตตรงนี้จะไม่ใช่
สมาธิแล้ว ไม่ใช่ฌาณด้วย เรียกว่า อเนญชาสังขาร
พวกภาวนาไม่เป็นทั้งหลาย นักอภิธรรมจำนวนมาก มาติด ตัว อเนญชานี้
คิดว่าภาวนาอยู่
ที่มันแตกต่าง ชัดที่สุดคือ ภูมิจิตที่ส่องเสพฌาณ มันหายไป หากให้พวก
นี้อธิบายสมาธิ ผลคือ จะอธิบายแบบเอาตูดมาเป็นเหตุ คือ ไปเอาภูมิจิตที่
ตกท้องช้างมาอธิบายเป็นเหตุของการหมั่นประกอบ หมั่นส่องเสพสมาธิ ซึ่ง
จะคนละเรื่องเลย
ถ้าฟังยากอยู่ให้อ่านข้ามๆ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนทำความเข้าใจ การที่เกิด
กังขา สงสัย ตรงนี้ มันจะนำสุขมาให้ จะไม่เหมือน สงสัยที่เป็นนิวรณ์
สงสัยที่เป็นนิวรณ์ หรือไม่เป็นนิวรณ์นั้น ป๊ะป๋า จะค่อยๆชัดเมื่อ พอเข้า
ใจเรื่องการยกภูมิจิตให้ส่องเสพฌาณจิตเนืองๆแบบไม่เอา มันถึงจะชี้ได้ว่า
สงสัยแบบไหน คือ กังขาวิตรณวิสุทธิ กับ กังขาตัวไหนที่เป็น วิจิกิจฉา -
แล้วเรื่อง ลูกสาว ตรงนี้ จะเห็นว่า ผมเอามาเล่นกับป๊ะป๋ามาก ไม่ใช่
อะไร ไม่ใช่ผมหน้าภาชนะอะไร เป็นแต่เพียงว่า มันเป็น ภูมิจิตใหญ่
ที่สามารถกระชากผู้ภาวนากลับมายังโลกโดยลืมพิจารณา
ผมจึงพยายามทำให้ อารามณ์กระชากกลับมายังโลก มันสำแดงตัวให้เด่น
ขึ้นมา เพื่อที่จะ ยกพิจารณาจิตเหล่านี้ไว้ด้วย อย่า เออออห่อหมกไปกับ
จิตเหล่านี้แบบสมยอม สิโรราบ ไม่พิจารณาเลย เพราะมันจะเป็นการฝึก
จิตให้ยอมแพ้ต่อโลก ทำให้ "วินัย" ไม่เกิด
วินัย เล็กน้อยไม่เกิด อย่าไปนึกถึงว่า จิตจะผลิกภูมิไปสู่ ธรรมวินัยได้
เป็นไปไม่ได้
แต่พูดแบบนี้ คนโง่ๆฟังแล้ว ก็จะคิดว่าให้ทิ้งลูก
ก็ไม่ใช่ หากพลิกดูดีๆ จะสังเกตเหูนเลยว่า มันก็ภูมิจิตที่ส่องเสพฌาณแบบไม่เอา
นั่นแหละ ทำอย่างไร ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่ทราบ
* * *
จะเห็นนะครับว่า มรรค มีหนึ่งเดียว
หน้า 18 ของ 26