ขยายวัดส่งเสริมสุขภาพ พัฒนา “ พระอสว. ” หยุดสงฆ์ไทยอาพาธ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 20 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b894e0b8aae0b988e0b887e0b980e0b8aae0b8a3e0b8b4e0b8a1e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89e-e0b89e.jpg

    วิกฤตพระสงฆ์ไทยเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากกว่าแสนรายยังเป็นปัญหาทางสุขภาพของพระที่ต้องการความร่วมมือในการดูแลและแก้ไขอย่างจริงจังสะท้อนผ่านข้อมูลจากการตรวจคัดกรองสุขภาพของพระสงฆ์และสามเณรทั่วประเทศปี2559 พบพระและเณรเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังทั้งความดันโลหิตสูงเบาหวานแล้วยังมีพฤติกรรมเสี่ยงเกิดโรคปอดเรื้อรังจากการสูบบุหรี่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอบริโภคอาหารไม่เหมาะสม

    เพื่อหยุดภัยคุกคามและเดินหน้าพัฒนาสุขภาวะพระสงฆ์ให้พระอาพาธน้อยมีร่างกายกระปี้กระเปร่าปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเต็มที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กรมการศาสนา(ศน.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สานพลังเชื่อมปัญญาพัฒนาสุขภาพพระสงฆ์” ณวัดยานนาวา

    ถือเป็นการขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัยและธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติพ.ศ.2560 โดยตรงภายในงานสมเด็จพระมหาธีราจารย์กรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์มอบเกียรติบัตรพระสงฆ์ต้นแบบขับเคลื่อนวัดส่งเสริมสุขภาพและพระคิลานุปัฏฐากอีกด้วย

    เวทีใหญ่นี้ทั้งทบทวนและกำหนดทิศทางโดยชูวัดส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาพระคิลานุปัฏฐากหรือพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด( อสว.) เป็นเครื่องมือใหม่เฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพในวัดและชุมชนแต่ละพื้นที่แล้วยังมีบทบาทดูแลพระสงฆ์อาพาธรวมทั้งป้องกันโรคลดปัจจัยเสี่ยงทำลายสุขภาพพระเณร สำหรับพระ อสว. จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตร70 ชั่วโมงติวเข้มใน3 หมวดได้แก่พระธรรมวินัยกับการดูแลสุขภาพ,การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลพระสงฆ์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และพระศิลานุปัฏฐากกับการพัฒนาวัดและชุมชน

    894e0b8aae0b988e0b887e0b980e0b8aae0b8a3e0b8b4e0b8a1e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89e-e0b89e-1.jpg

    ธนิตพล ไชยนันท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์สู่ระดับพื้นที่มีการสร้างพระคิลานุปัฏฐากจนประสบผลสำเร็จกรมอนามัยและสสส. มีการขยายผลอย่างเนื่องพระอสว. ให้ความรู้คำปรึกษาด้านสุขภาพพระสงฆ์และโยมรวมถึงชุมชนลดปัญหาน้ำหนักเกินลดเจ็บป่วย มีการตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ตามโครงการ1 วัด1 โรงพยาบาลเพื่อให้พระดูแลสุขภาพตามหลักพระธรรมวินัยกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ปรับพฤติกรรมสุขภาพดูแลโภชนาการออกกำลังกายควบคุมความดันและระดับน้ำตาลในเลือด

    การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดแต่เป็นบทบาทหน้าที่ของชาวพุทธเรียนรู้เข้าใจอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายพระและตัวเองลดหวานมันเค็มร้านค้าก็ปฏิบัติได้ปรุงอาหารสุขภาพเป็นร้านอาหารปลอดภัยทั้งกรมอนามัยและสสส. จัดทำคู่มือเมนูสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ถือเป็นทางเลือกที่ส่งผลดีต่อสุขภาพต้องขยายผลต่ออีกงานพัฒนาสุขภาวะที่ทำต่อเนื่องคือวัดส่งเสริมสุขภาพโดยจัดสภาพแวดล้อมวัดให้ถูกสุขลักษณะอนามัยเทศนาเผยแพร่ธรรมร่วมทำกิจกรรมดูแลรักษาสุขภาพชุมชนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นแนวทางในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์” ธนิตพลกล่าว

    องค์กรร่วมขับเคลื่อนนายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชาติ สช. กล่าวว่า การสานพลังนโยบายดูแลสุขภาพพระสงฆ์ภายใต้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์เน้นพระแข็งแรงวัดมั่นคงชุมชนเป็นสุขให้พระสงฆ์ดูแลสุขภาพตัวเองตามหลักพระธรรมนัยโยมดูแลพระตามหลักพระธรรมวินัยและบทบาทพระสงฆ์เป็นผู้นำชุมชนดูแลสุขภาพ

    894e0b8aae0b988e0b887e0b980e0b8aae0b8a3e0b8b4e0b8a1e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89e-e0b89e-2.jpg

    นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรสสส. กล่าวว่าพระสงฆ์เจ็บป่วยไม่ได้เป็นภาระแต่ต้องพลิกให้เป็นโอกาสในการสื่อสารสร้างเสริมสุขภาพเพราะคนไทยนับถือพุทธศาสนาร้อยละ95 พระที่ดำรงตนเป็นเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพตามหลักพระธรรมวินัยสามารถเป็นผู้นำสร้างสุขภาพป้องกันโรคได้การลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพพระสงฆ์ สสส. เดินหน้าโครงการสงฆ์ไทยไกลโรคจัดทำสื่อรณรงค์ให้ความรู้และแก้ไขความเข้าใจผิดของฆราวาสโฟกัสเรื่องการถวายน้ำปาณะที่ดีต่อสุขภาพแทนน้ำดื่มเติมน้ำตาลรสหวาน เพราะนี่คือคำตอบสุขภาพเสียหายเจ็บป่วยน้ำหนักเกินเนื่องจากผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่าพระได้น้ำตาลจากเครื่องดื่ม1 กล่องหรือ1 ขวดสูงเกินค่ามาตรฐานร้อยละ20 เท่ากับอาหาร1 มื้อถัดมาจัดการเรื่องถวายอาหารไม่มีคุณค่าทางโภชนาการนี่คือจุดแตกหักเกิดโรคในพระโดยทำคู่มือแนะนำพร้อมเสริมความรู้ด้านออกกำลังกายที่เหมาะสมเช่นเดินบิณฑบาตเดินจงกรมทำความสะอาดวัด

    ก้าวต่อไปจะพัฒนาคุณภาพชีวิตพระสงฆ์และชูบทบาทพระสงฆ์เป็นนักส่งเสริมสุขภาพซึ่งจะมีประสิทธิภาพได้ พระต้องผ่านการอบรมและถวายความรู้ความเข้าใจแก่พระ นอกจากนี้มีการขับเคลื่อนพัฒนาสุขภาวะพระสงฆ์ผ่านการมอบชุดองค์ความรู้ป้องกันโรคให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลกว่าหนึ่งหมื่นแห่งเพื่อสื่อสารเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพระสงฆ์มากขึ้นผลลัพธ์เกิดการสานพลังเครือข่ายสุขภาพพระสงฆ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพระดับพื้นที่ นพ.ชาญวิทย์กล่าวทิ้งท้ายแนวทางดำเนินงานร่วมสร้างสุขภาพของพระอย่างยั่งยืน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/46049
     

แชร์หน้านี้

Loading...