ขอคำแนะนำผู้รู้ในการนั่งสมาธิอย่างจริงจัง

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ต้องดี, 14 ตุลาคม 2009.

  1. ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ปัจจุบันผมฝึกนั่งสมาธิด้วยตนเอง มาสักครึ่งปีแล้ว โดยใช้การ กำหนด เกศา โลมา นักขา กันตา ตะโจ ไปข้างหน้า และถอยกลับ จนจิตสงบ บางครั้งนั่งได้ 10 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จะมีอาการโยกคลอนของร่างกาย สั่นหมุนไปมา โยกหน้า หลัง หลังจากนั่งไปได้สัก 10 นาที เท่านั้น

    แต่ปัจจุบันนี้ ผมนั่งโดยไม่ต้องกำหนด ใด ๆ พอหลับตาให้เป็นสมาธิ ได้ ไม่ถึง1 นาที ก็เหมือนร่างกายเบา ๆ โยกโคลงเล็กน้อย และจิตนิ่งบ้างโดยไม่ต้องยึดคำบริกรรมใด ๆ แต่ถ้าเผลอ ก็อาจมีจิตหลุด แวบคิดนู่นนี่บ้าง แต่ก็ดึงกลับมา แต่ยังไม่รู้ว่าตอนนี้ นั่งอยู่ในขั้นใด ปฐมฌาน หรือต่ำกว่า หรือแค่ขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ หรือมากกว่านั้น เป็นฌาณ 1 2 3 4 หรือยังไม่เป็นก็ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่ให้บริกรรมพุทโธ ยุบหนอพองหนอ ไม่ได้ ไม่ถูกจริต ถ้าจะพัฒนาต่อไปให้มากกว่านี้ ต้องทำอย่างไรครับ ขอความกรุณาแนะนำให้ด้วยครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
     
  2. Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    บางคำถามต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันและกันทีชัดเจน ครับ

    ในส่วนของการกำหนดรู้เกศา โลมา... ผมมองว่าคุณต้องดีกำลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่ต้องดูวิธีการฝึกเพื่อพิจารณาเกศา... ด้วยครับ ข้อมูลที่ถูกให้ยังไม่เีพียงพอครับ (สำหรับผมนะ) ความรู้สึกที่คุณต้องดีรับรู้เป็นปีติ (หรือความเอิบอิ่มใจ) ครับ และกำลังของสมาธิน่าจะถึงอุปจารสมาธิ

    การนั่งและหลับตาเพื่อทำสมาธิเป็นสมถกรรมฐานครับ คุณต้องดีจะบริกรรม "พุท โธ" หรือไม่บริกรรม "พุท โธ" ก็ได้ครับ เพียงแต่คำบริกรรมช่วยให้จิตเกาะสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ (คือสิ่งที่เรากำหนดรู้) บางคนอาจคิดว่าการกำหนดรู้ถึงลมหายใจเข้า-ออก ก็น่าจะเพียงพอ หากทำได้ ก็ไม่ต้องนึกถึงคำบริกรรม แต่หลายคนอาจจะไม่สามารถทำได้ คำบริกรรมจึงจำเป็นครับ นอกจากนี้การบริกรรม "พุท โธ" เป็นการระลึกอย่างย่อถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นพุทธานุสสติด้วย (หากผู้ปฏิบัติพิจารณาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์)

    ขณะที่จิตของเราเผลอไปคิดสิ่งอื่น ภาวะนี้ยังไม่ถึงปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติซึ่งมี ๕ องค์ประกอบ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา (ดูเนื้อหาจากไฟล์ที่ถูกแนบ ครับ)

    ผมแนะนำให้คุณต้องดีศึกษาเนื้อหาเบื้องต้นของกองสมถกรรมฐานทั้งสี่สิบ ดูว่ามีอะไรบ้าง จับสิ่งใดเป็นอารมณ์ เพื่อให้เหมาะกับจริตของเรา คุณต้องดีสามารถปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปพร้อมๆ กันได้ครับ

    อ่านเนื้อหาเบื้องต้นจากไฟล์ที่ถูกแนบ และอย่าทิ้งอานาปานสติกรรมฐานนะครับ

    ธรรมรักษา ^_^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    ใจจริงอยากแนะนำให้ใช้อานาปานนุสติให้ได้
    แต่ถ้ามันฝืนจริงๆ ก็เว้นไว้ก่อนก็ได้

    แต่อยากแนะนำอานาปานุสติอยู่ดี เอานิดนึงเนอะ
    เวลาปฏิบัติพระกรรมฐาน แล้วรู้สึกว่าจิตรวมตัวแล้ว
    ให้ถอยกลับมาพิจารณาลมหายใจ เอาแค่เข้่าหรือออก ยาวหรือสั้น

    ถ้าเรื่องที่เราพิจารณาละเอียดเกินไป หรือยังไม่คุ้นเคย
    มันจะเริ่มฟุ้งใหม่ หลังจากที่เราจิตรวมมาเมื่อกี้นี้จากกรรมฐานกองที่เราคุ้นเคย
    แก้โดยพิจาณราให้หยาบขึ้นหน่อย
    เช่น
    จับลมหายใจกับคำภาวนา เช่น
    เข้าพุท ออกโธ

    หากยังฟุ้งอีก ให้กลับไปใช้เทคนิกการภาวนาแบบที่ถนัด
    ที่ทำแล้วรู้สึกว่าจิตรวมตัวง่าย ตามความคุ้นเคยเดิม
    แล้วกลับมาพิจารณา ลมหายใจใหม่ เมื่อจิตรวมอีกครั้งหนึ่ง
    ทำวนไปวนมา จนกว่าจะสามารถรวมจิตขณะที่พิจารณาลมหายใจได้พร้อมๆกัน

    การเข้าสมาธิโดยใช้การพิจารณาลมหายใจ เป็นที่ตั้งของจิต
    มีผลทำให้เวทนาทางกาย คลาย หรือ หายไปเลย
    มีผลจริงๆ หากจิตรวมด้วยอานาปานุสติ เหมือนยกภูเขาออกจากอก
    เรื่องที่วิตกกังวลทั้งหมด เป็นอันว่าหมดไปเลย อย่างน้อยก็ขณะที่ยังทรงอารมณ์ใจ
    ในการพิจารณาลมหายใจได้

    มีคนบอกว่าฝึกอานาปานุสติแล้วจะ "ติด"
    อานาปานนุสติ เวลาติด แล้วอยากเข้าฌาน แต่ก้เข้าไม่ได้ซักที
    เป็นของดี

    เอามาพิจรณา ว่าลมหายใจที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตนี้
    ไม่มีความทรงตัวอะไรเลย

    นึกภาพว่าเรานอนหงาย
    มีผ้าเปียกๆ โปะลงไปทีละชั้น ทีละชั้น สุดท้ายหายใจไม่ออก
    สภาพที่แท้จริงของชีวิต มีแค่นี้เอง

    ตัวพ่อตัวแม่อานาปานนุสติ
    ที่ไหนก็ตาย อย่างนี้ทั้งสิ้น

    ถ้าสามารถชำนาญในอานาปานุสติได้
    กรรมฐานกองอื่นๆ จะเป็นของง่ายไปหมด
    หยิบตำราสำนักไหนมาก็ภาวนาได้หมด
    อยู่ที่จะยังอยากทำกรรมฐานกองอื่นอีกหรือเปล่า
     
  4. รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    จริงๆแล้วนักภาวนา
    หากสามารถรู้ตัวเองว่าฟุ้ง แล้วเตือนตัวเองได้ว่าฟุ้ง

    รู้ทันอารมณ์ฟุ้งช่านได้
    ในชีวิตประจำวัน

    พอรู้ว่าฟุ้งแล้วก้ไม่วิตกกังวล ก็โอเค มันฟุ้ง
    เดี๋ยวถ้าเราว่างๆไม่ติดกิจธุระอะไร เราจะไปเอาฟุ้งออก

    เหมือนปวดท้องหนัก ถ้ามีส้วมก็จะเข้าส้วม
    แต่ถ้ายังหาส้วมไม่ได้ ก็จะอั้นไว้ก่อน

    แล้วเวลาเห็นคนฟุ้ง ก้ไม่ใช้จะไปเอาฟุ้งออกให้เค้า

    ส้วมใคร ส้วมมัน

    เที่ยวทักคนโน้นคนนี้ฟุ้ง อย่างนั้นอย่างนี้
    จะเข้าตัว
    เวลาปวดขี้ก็อั้นไปแล้วกัน
     
  5. รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    ในเบื้องต้นให้ลืมเรื่อง ฌานอะไร ฌานไหนไปก่อน
    เพราะหลัการของมันคือ ยิ่งกังวลสนใจว่า ฉันได้ฌานนั้นฌานนี้หรือยัง มันจะไม่ได้อะไร
    ไม่ได้จริงๆ นะไม่ได้ส่งเดช

    หากเคยภาวนาจนจิตรวม ด้วยวิธีใดวิธีไหนก้แล้วแต่
    แล้วมาลองใช้อานาปานุสติ
    เวลาจิตรวม มันจะมีทางเลือกต่อไปอยูู่ ทางเท่านั้นแหละ
    คือเข้าฌานลึกขึ้นไป จะจากขณิกสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิ เป็นปฐมฌาน และ 2 3 4 หรืออื่นๆ

    ปรกติมันไม่โดดข้ามหรอกครั้ง
    ลมหายใจของคนเราเนียะมันละเอียดกว่า ปฐมฌาน หรือทุติยะฌานเสียอีก

    มันมีสองทางเลือกเอง คือเข้าฌานลึกกว่าเดิม
    หรือถอยออกมาฟุ้งซ่านเหมือนเดิม

    ไม่ต้องไปกังวลว่ามันจะเป็นฌานไหนใดๆทั้งสิ้นในเบื่องต้น
    ปล่อยให้มันทำของมันไปตามใจชอบ
    เรามีหน้าที่จับลมหายใจ จับลมอย่างเดียว

    แล้วเวลาเลิกปฏิบัติพระกรรมฐาน
    มานั่งทวนว่า ทำไมมันเข้าฌานลึกขึ้น ทำไมมันถอยออกมาที่อารมณืหยาบกว่าเดิม

    ดูด้วยตัวเองเห็นด้วยตัวเอง

    การที่มามัวสงสัยว่าเป็นฌานนั้นหรือยัง เป็นฌานนี้ใช่มั้ยถามกันไปมาไม่ได้อะไรแน่นอน เสียเวลาเปล่าๆ

    ไม่ได้ห้ามถาม ห้ามตอบนะ แต่หากไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
    ถามตอบไปก็เท่านั้นเอง ถามตอบกันแค่ได้แค่หายอยากเท่านั้นเอง
     
  6. รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    ปรกติเค้าจะไม่เขียนหรืออธิบายอารมณ์ฌานแบบละเอียด
    เพราะจะทำให้คนภาวนาเสียประโยชน์

    หากรู้เอาไว้ก่อนว่าภาวนาแล้วจะมีอารมณือย่างไร
    มันจะไปควานหาอารมณ์ที่หมายเอาไว้ว่าจะเจอ

    กลายเป็นว่าตั้งใจฟุ้งอยู่เป็นชั่วโมง จิตไม่รวมซักที

    ปรกติแล้ว รอยต่อระหว่า อุปจาระสมาธิ ต่อ ปฐมฌาน
    ปฐมฌาน ต่อ ทุติยะฌาน(ฌาน2)
    ตติยะฌาน ต่อ จตุตฌาน (ฌาน3ต่อ4)

    รอยต่อพวกนี้ชัดเจนมาก
    มันแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดๆ โดยไม่ต้องอาศัยตำรา
    หรือต้องมีความรู้มาก่อน

    แต่อ่านตำรามาก่อนแล้ว รู้อารมณืมาก่อนแล้ว "ดี"
    เพราะเวลาภาวนาถึง จะได้ไม่ต้องสงสัยเพราะเหมือนในตำรา

    เอาว่าเวลาภาวนา จับแค่อารมณ์ปฐมฌาน เพราะจับง่ายที่สุด
    แล้วสังเกตุแค่รอยต่อระหว่าง
    อุปจาระสมาธิ กับปฐมฌาน
    และ ปฐมฌาน ต่อ ทุติยะฌาน
    ก้พอแล้ว

    เดี๋ยว ฌาน3 ฌาน4 มันไปของมันเอง

    อ่านตำรามา แต่เวลาภาวานาแกล้งลืมให้หมด

    ห้ามจำว่าจะภาวนาเอาอะไร
    ดุตอนจิตรวม ดูตอนมันเลื่อนขึ้น เลื่อนลง

    หลังจากเลิกปฏิบัติ ให้มาจดใส่สมุด พร้อมระบุวันเวลา
    แล้วก้แกล้งทำเป็นลืมว่าจดอะไรไว้

    จดเก็บไว้หลายๆเดือน แล้วค่อยมาเปิดอ่านดูซักครั้ง
    เพื่อดูพัฒนาการของตัวเอง

    อย่าดูบ่อย หากเราไม่เจ๋งจริง
    แค่เปิดอ่านบันทึกของตัวเองก้ฟุ้งแล้ว
    อย่าว่าแต่ไป คุนเรื่องกรรมฐานกับเพื่อนเลย
    คุยกับตัวเองก้ฟุ้งสุดๆแล้ว

    แต่หากปฏิบัติคล่องแล้ว
    จะหัดกลับมาไล่อารมณืฌานเล่น หรือ มาสนทนาธรรมกับคนอื่นก็ยังไม่สาย
    ในเบื้องต้นระงับปัจจัยเรื่องความฟุ้งไปให้หมด
     
  7. Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    การลงมือปฏิบัติสมถกรรมฐานเป็นไปตามคำแนะนำของคุณรำมะนาด ครับ (ในความเห็นของผม)

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำแนะนำให้เราโง่ไว้ก่อน คือเพียรปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ (อย่าได้สงสัย) แต่โง่นี่ต้องโง่ให้ถูกที่ถูกทางด้วย คือเราต้องศึกษาก่อนว่าบุคคลใดปฏิบัติได้ เราจึงไปขอคำแนะนำจากท่าน ^_^

    ดังนั้น ก่อนทำสมาธิ อย่าไปคาดหมายว่าเราจะต้องถึงสมาธิขั้นนั้นขั้นนี้ และขณะทำสมาธิ อย่าไปกังวลว่าเรากำลังอยู่ในสมาธิขั้นไหน การทำสิ่งเหล่านี้จะเป็นเหตุให้จิตของเราวุ่นวายหรือไม่สงบ

    ธรรมรักษา ครับ
     
  8. ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    หมั่นภาวนา ทำให้ได้ตลอด ตื่นกระทั่งจนนอนหลับ
    เลิกคิดเรื่อง อยู่สมาธิขั้นใด อยู่ฌานไหน ดีที่สุดครับ
    จิตสงบเป็นใช้ได้ พิจารณาดีแล้วครับ เอาให้ครบถ้วน
    ท่านอื่นอธิบายไปแล้ว โมทนาด้วยครับ
     
  9. huten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,808
    ค่าพลัง:
    +15,229
    คุณรำมะนาด อธิบายดีมากเลยเข้าใจง่ายจะลองทำดู
     
  10. ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ขอบพระคุณครับ คือผมฝึกเองแล้วเคยอ่านในบอร์ดเห็นหลายท่านพูดไว้หลายแนวทาง จึงไม่อยากให้การฝึกเกิดความผิดพลาด และติดอยู่ที่เดิม โดยไม่เกิดความก้าวหน้าครับ แต่ก็จะพยายายามฝึกต่อไปครับ
     
  11. singhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +1,941
    ขออนุโมทนาครับ...สรรพสิ่งในโลกล้วน..อนิจจัง...ตอนมีชีวิตอยู่...เร่งปฏิบัติให้สำเร็จกันเถอะครับ
     
  12. ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ห่างหายไปนาน ทุกวันนี้ก็ยังปฏิบัติอยู่ทุกวัน แต่ก็ไม่พัฒนาอะไรมากครับ ได้แค่จิตใจสงบ
     
  13. supatk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +200
    ต้องหาครูบาอาจารย์ครับถ้าอยู่แถวดอนเมือง หลวงปู่เจือสำนักสงฆ์คลองประปาไปตอนเช้าถามได้ลูกศิษย์น้อยครับ วัดพระศรีบางเขน หลวงปู่บุญกู้สอนทุกวันศุกร์เช้าครับติดขัดถามได้
     
  14. ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    มาถูกทางแล้ว ตั้งสติไว้กลึ่งกลางใบหน้า ไม่ต้องกำหนด การกำหนดจะทำให้การรับรู้น้อยลงไป
     
  15. solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,773
    ขอนอกเรื่องนิดนึงครับ ท่านจขกท.
    เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ แปลตรงตัวว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    (ไม่ใช่ กันตา นะครับ)

    แปลเป็นไทย ตอนทำวิปัสสนาว่า รูปกายภายนอกสวยงามแค่ไหน ต้องตาต้องใจแค่ไหน ก็มีเพียงเท่านี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
     
  16. บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    ผมคือรำมะนาดแหละ
    ผมมีอาการจิตประสาทย้ำคิดย้ำทำ
    มีอาการซึมเศร้า

    คือป่วยแหละครับ

    แต่สำหรับตอนนี้
    รู้อยู่ว่ากำลังฟุ้ง

    ถือว่าภาวนาก้าวหน้าแล้ว
    และอุทิศกุศลได้เลย
    อุทิศให้พ่อ กะแม่
    ทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่

    จะได้เห็ฯผลของการอุทิศกุศล
    จากการรู้ว่าตัวเองฟุ้ง

    ได้เร็ว
    เห็นผลชัดมาก
     
  17. raksudhaporn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอคำแนะนำด้วยค่ะ เวลานั่งสมาธิ ก็กำหนด พุท โธ แต่พอสักพัก ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่นิ่ง บางครั้งก็ปล่อยแล้วแต่จะเป็นไป บางครั้งก็กลัว จึงหยุดค่ะ ควรที่จะทำอย่างไรต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  18. Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    หาที่สงบคนเดียว ปิด lock ประตูให้เรียบร้อย แล้วก็ภาวนาในกรรมฐานไปเรื่อย อะไรจะเกิด ก็อย่าไปสนใจ มีสติ อยู่กับคำภาวนา ผ่านอาการปิติ พวกนี้ไปได้ เดี่ยวก็สงบเอง

    ที่มันเป็นเพราะ เวลาเป็นแล้วฟุ้งซ่าน เผลอลืมภาวนา หลุดจากคำภาวนาไปจับอาการพวกนี้ ยิ่งไปจับอาการพวกนี้เท่าไหร่ ส่งจิตออกไปรับรู้อาการพวกนี้เท่าไหร่ อาการก็ยิ่งออกมากเท่านั้น

    ฉนั้น ไม่ต้องไปสนใจอาการพวกนี้ จะเกิดอะไรก็ช่างหัวมัน มีสติกลับมาอยู่กับคำภาวนา จิตสงบลงสมาธิ เรื่องพวกนี้ ก็จะสงบ หายไปเอง

    ทำสมาธิ ภาวนา อย่าไปกลัว ครับ ยิ่งกลัวก็ยิ่งหลง โดนขวางผลการปฏิบัติ ทำสมาธิ มีบุญกุศลกรรม คอยรักษา คุ้มครอง ไม่ต้องไปกลัวอะไร
     
  19. animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    (ฮา) มีใครนั่งเป็นบ้าง
    ถ้าเป็นต้องได้"ญาณ"
    เมื่อนั่งไปได้เยอะแล้วต้องได้"ญาณ"
    ถ้าไม่ได้อย่ามาสอนเลย(ฮา)
    ไม่รู้ว่าฝึกถูกหรือเปล่า

    คือผมหวังดีนะครับ
    ถ้าผมทำอะไรผิดก็ขอโทษด้วยนะครับ
     
  20. Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ถาม : ฝึกสมาธิมาถึงตอนนี้แล้วตัวโยกไปมา สงสัยว่าทำไมถึงติดอยู่แบบนี้ ?


    ตอบ : ต่อไปให้ลืมไปเลย ไม่ต้องไปสนใจ ตามรู้อย่างเดียวว่าตอนนี้เป็นแบบนี้

    จะ โยกก็โยกไป จะเป็นจะตาย หัวโขกพื้นท่าไหน หกคะเมนตีลังกาอย่างไรก็ช่าง ของ
     

แชร์หน้านี้