การ
ปฏิบัติธรรมก็คือ การเจริญสติ ทำให้ตระหนักรู้ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ จนเห็นได้ชัดเจนว่า การมีชีวิตที่ไม่ได้
ปฏิบัติธรรมนั้น เราถูกอะไรลากจูงไปมากมาย เวลาที่ขาดสติ เรามักจะทำอย่างหนึ่ง ใจอาจจะลอยไปอยู่กับอีกอย่างหนึ่ง หรือคิดโน่นคิดนี่สารพัดจนบั่นทอนจิตใจ ไม่ก็ปล่อยให้กิเลส รวมทั้งอุปกิเลส ซึ่งมีถึง 16 ตัว เช่น ความอิจฉา ริษยา มานะ เข้าครอบงำจิตใจจนทำให้เกิดความร้อนรน แข่งขัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น จนเราคิดว่า ตัวอุปกิเลสคือตัวเรา แต่จริงๆ แล้วเรากำลังถูกอุปกิเลสหลอกอยู่ จนไม่สามารถแยกออกว่า ไหนคือตัวเราอย่างแท้จริง
แต่การเจริญสตินี่เองจะช่วยให้เรารู้จักตัวเราอย่างแท้จริง เมื่อรู้จักตัวเองอย่างแท้จริงแล้ว กิเลสมันก็มาหลอกให้เราไปทำโน่นทำนี่ที่จะทำให้ใจเดือดร้อนอีกไม่ได้เลย
ดังที่
พระอาจารย์มิตซูโอะ เจ้าอาวาส
วัดสุนันทวนารามบรรยายธรรมตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ทำไปแล้วไม่ต้องคิดกังวล อย่าให้จิตใจเศร้าหมองจากเหตุการณ์ที่ไม่พอใจ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมรัก เหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา บางครั้งเราอาฆาตพยาบาทเมื่อไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ไม่พอใจคนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เราต้องใช้ปัญญาที่
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ความจริงของชีวิตคือ กฎแห่งกรรม
"เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรานี้ เราเป็นผู้ทำเหตุเอง ไม่ใช่เพราะแม่ เพราะพ่อ เพราะสามี เพราะภรรยา เพราะคนนั้น เพราะคนนี้ หรือเพราะคนที่มีอำนาจ เรามักจะคิดว่า เขาเหล่านี้ทำให้เราเป็นทุกข์ ทำให้เราเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นี่คือความที่เราไม่เข้าใจในสมมติ เป็นต้น"
กรรม คือการกระทำ ด้วยเจตนาในการคิด การพูด การกระทำ เป็นมโนกรรม กายกรรม วจีกรรม ที่เราทำอะไรในวันนี้ คือการสร้างเหตุไว้ในอนาคตที่เราจะต้องรับผลแห่งกรรม
ท่านยกตัวอย่างว่า ทำไม
พระพุทธเจ้าโดน
พระเทวทัตปาหินจนห้อเลือด ทำไม
พระเทวทัต ตั้งใจจะฆ่า ทำลาย
พระพุทธเจ้า หลายครั้งหลายหน อยู่บนภูเขาแล้วตั้งใจจะโยนก้อนหินใหญ่ๆ กลิ้งมาทับ
พระพุทธเจ้า แต่ก้อนหินใหญ่ๆ ก็เพียงแค่โดน
พระบาทของ
พระพุทธเจ้า ทำให้
พระพุทธเจ้าเท้าห้อเลือดเท่านั้น แล้วเราก็คิดว่า
พระเทวทัตบาปกรรมที่ทำกับ
พระพุทธเจ้า
"แต่
พระพุทธเจ้าก็สร้างเหตุไว้เมื่อชาติก่อน ๆ
พระพุทธเจ้าเคยฆ่าน้องชายคนละแม่
พระโพธิสัตว์เองก็เคยสร้างกรรมไว้เหมือนกัน แล้วก็มารับผลของกรรมในชาติที่เป็น
พระพุทธเจ้า ดังนั้น อะไรที่เกิดขึ้นกับเราในวันนี้ เป็นเพราะเราสร้างเหตุไว้ในอดีตชาติ ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง"
พระอาจารย์มิตซูโอะจึงให้เราทำความเข้าใจและยอมรับความจริงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเรานี้ ตัวเราเองเป็นผู้สร้างไว้ ถ้ายอมรับความจริงข้อนี้ เราก็สามารถทำใจได้ และการเจริญสติจะนำไปสู่กรรมที่ไม่ขาว ไม่ดำ ไม่บวก ไม่ลบ ผลก็คือความสงบ นี่คือหัวใจของ
พระ
พุทธศาสนา ที่
พระพุทธองค์ทรงค้นพบและชี้ทาง ส่วนเราเป็นเพียงผู้เดิน และผลเราเองเป็นผู้รับ
ง่ายนิดเดียว ถ้าจะหาของขวัญที่ทำให้หัวใจเรามีความสุขโดยไม่ต้องรอเทศกาล
ขอเชิญอบรม “อานาปานัสสติภาวนา” โดยพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เนื่องในวันวิสาขบูชา (8 พฤษภาคม) ตั้งแต่วันที่ 7-11 พฤษภาคม 2552 ณ
วัดสุนันทวนาราม จ. กาญจนบุรี สอบถามรายละเอียดได้ที่ มูลนิธิมายาโคตมี
โทร. 02-676 3453, 02-676 4323
<!-- Tags Keyword -->