ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทำไม page 15 หายไปคะ ตอบ pm แล้วนะคะ


    เอ๋ ชื่อโดนติดดาว เตรียมพักงานชื่อนี้หรือเปล่าหนอ ถ้าอย่างงั้นไม่คุยเรื่องนี้ต่อแล้วนะคะ

    โล่งอก ดาวจากฝากฟ้าหายไปแล้ว อิอิ แทนตัวด้วยดอกไม้ดีกว่าค่ะ
     
  2. จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอขอบคุณสำหรับ PM ครับ คงถูกสั่งให้หยุดนะครับ
    เพราะได้เอ่ยไว้ตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า ถ้าเป็นสมัยนี้ถือ
    ว่าเป็นเรื่อง ลับที่สุด สมัยก่อนอาจใช้คำว่า ลับสุดยอด
    ก็ได้นะครับ จะอย่างไรก็ตามก็ถือว่าเราได้มองต่างมุม
    นอกเหนือไปจากมุมที่มองกันอยู่เกี่ยวกับ สมเด็จพระ
    พี่นางสุพรรณกัลยา นะครับ

    ๐...มา..แม่มา ปวงราชประชา จักขอกราบกราน
    สิ้นภพ มิสิ้นตำนาน ก้องกู่กล่าวขาน ความดีแม่เอย
     
  3. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เวปไซด์นี้มีข้อเด่นกว่าที่อื่นตรงนี้แหละค่ะ

    บางท่านมีพลังจิต บางท่านปฎิบัติธรรมแล้วได้เห็นกรรม

    บางท่านระลึกชาติ บางท่านมีบารมีธรรมสูงแล้วเอาข้อธรรมมาคุยกัน

    ถ้าเป็นที่อื่น คุยกันเรื่องนี้ไม่ได้ค่ะ จะโดนคนอื่นๆที่ไม่เข้าใจ

    เข้ามาต่อว่าต่อขานว่าไม่มีหลักฐาน เชื่อถือไม่ได้

    ตอนนี้ทางสายธาตุค่อนข้างเชื่อว่าหลายคนในที่นี่ไม่ใช่ของปลอม

    แต่เป็นของจริง อยู่ที่เราต้องทำใจเป็นกลางพิจารณาข้อความ

    และการพูดการคุยของเขา ตัวเราเองจะพอแยกได้เองค่ะว่าใครของจริง

    การจะกล่าวถึงสิ่งใดก็ควรจะต้องหาหลักฐานให้มากที่สุด

    มาเทียบกับสิ่งที่ระลึกรู้ด้วยตนเอง เพื่ออ้างอิงได้

    สมัยอยุธยา คุณจงรักภักดีเป็นอุปนิขขิตเก่าแน่นอน ไม่ฟันธง 555
     
  4. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อ้าวคุณไก่เหลือง หายไปหลายวัน สวัสดีค่ะ
     
  5. จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    อนุโมทนา ครับ

    น่าจะฟันธงให้ด้วยครับ ก็สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกัน ว่า ณ กาล
    สมัยนั้น เราอาจจะเป็น CO ( case officer ) ของเรื่องนี้
    อยู่ก็ได้ ไม่แน่ใจตรงที่อยู่ว่า อยู่ที่อยุธยา หรือต้องไปอยู่ที่
    หงสาวดี กับพระพี่นางฯ เป็นที่ใดกันแน่หนอ
     
  6. ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    สวัสดีครับ คุณทางสายธาตุและทุกๆท่าน
     
  7. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่สอง ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสยาม (ต่อ)

    สำหรับบทที่สองของตอนที่สองนี้จะกล่าวถึงเรื่องบ้านเรือนในสมัยก่อน เป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนะคะ

    บทที่สอง บ้านเรือนของชาวสยาม และฝีมือการก่อสร้าง

    [SIZE=-1] ๑. ชาวสยามมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ชาวสยามแต่งตัวอย่างเรียบ ๆ ง่าย ๆ บ้านเรือนเครื่องเรือนและอาหารการกินก็เรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน กล่าวคือ เหมือนเศรษฐีที่อยู่ในห้วงแห่งความอนาถา เสมอเหมือนกันไปหมดทุกคน เพราะพวกเขาเป็นคนสันโดษมักน้อย ที่อยู่อาศัยของชาวสยามเป็นเรือนหลังย่อม ๆ มีอาณาบริเวณกว้างขวางพอใช้ พื้นเรือนใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นฟาก และเรียงไว้ไม่ค่อยถี่นัก และยังจักตอกขัดแตะเป็นฝา และใช้เครื่องบนหลังคา เสาตอม่อที่ยกพื้นขึ้นสูงให้พ้นน้ำท่วม ก็ใช้ไม้ไผ่ลำใหญ่กว่าขา และสูงจากพื้นดินประมาณ ๑๓ ฟุต เพราะบางครั้งน้ำท่วมสูงถึงเท่านั้น ตอม่อ แถวหนึ่งมีไม่มากกว่า ๔ - ๖ ต้น แล้วเอาลำไม้ไผ่ผูกขวางเป็นรอด บันได ก็เป็นกระได ไม้ไผ่ซึ่งทอดอยู่ข้างนอกตัวเรือน เหมือนกระไดโรงสีลม คอกสัตว์สยามก็อยู่กลางแจ้งและยกพื้นเหมือนกัน มีตะพานทำด้วยไม้ไผ่ฟากสำหรับสัตว์ปีนขึ้น[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๒. เรือนสร้างแล้วเสร็จได้รวดเร็ว การที่เรือนแต่ละหลังออกไปตั้งอยู่โดดหลังเดียวห่าง ๆ กัน อาจต้องการให้เป็นที่รโหฐาน ชาวสยามตั้งเตาหุงต้มกันกลางลานบ้าน ขณะที่เขาอยู่ในพระนคร มีเรือนถูกไฟไหม้ถึง ๓๐๐ หลังคาเรือน แต่กลับปลูกใหม่เสร็จภาายในสองวัน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. ไม่มีเรือนพักรับแขกเมือง ที่เขาจัดให้พวกเราพักที่ชายน้ำ ชาวสยามได้จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะ ด้วยไม่มีเรือนหลังใดพอให้เข้าพักได้ เหมือนประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเซีย ระหว่างทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปถึงเมืองละโว้ เห็นมีศาลาที่พักคนเดินทางเป็นโรงโถงขนาดใหญ่อย่างธรรมดา มีกำแพงล้อมรอบสูงพอเอื้อมถึง มีหลังคาคลุม หลังคาตั้งอยู่บนเสาไม้แก่น ซึ่งผังเรียงรายเป็นระยะลงในกำแพงนั้น บางทีพระเจ้ากรุงสยามก็ประทับเสวยพระกระยาหารที่นั่นในระหว่างเสด็จ ฯ แต่ส่วนเอกชนสามัญก็ใช้เรือที่ไปเป็นที่พักแรมไปในตัว[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๔. เหตุใดการต้อนรับอาคันตุกะให้พักอาศัยอยู่ด้วย จึงไม่เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวอาเซีย พระภิกษุไม่มีภรรยา ท่านจึงแสดงความกรุณาให้ที่พักอาศัย แก่อาคันตุกะดีกว่าพวกพลเมือง ที่สยาม (อยุธยา) มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเริ่มตั้งโรงเตี๊ยมขึ้น บางทีก็มีชาวยุโรปไม่กี่คนไปพักบ้าง[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๕. เรือนที่สร้างขึ้นเฉพาะสำหรับรับรองคณะฑุตานุฑูตฝรั่งเศส เจ้าพนักงานจึงสร้างเรือนแบบพื้นประเทศให้ สร้างบนเสาปูฟาก และลาดด้วยเสื่อกก รวมทั้งพื้นเฉลียงอีกด้วย ห้องโถงและห้องในนั้น แขวนผ้ามีดอกดวง เพดานผ้ามัสลินขาว ริมเฉลียงเพดานลาดลง พื้นเรือนในห้องนั้นลาดเสื่อกกสานลายละเอียด และเป็นมันลื่นกว่าที่ใช้พื้นเฉลียง และภายในห้องนอนของเอกอัครราชฑูตพิเศษนั้น ยังลาดพรมเจียมทับเสื่อกกอีกชั้นหนึ่ง มีความสะอาดอยู่ทั่วไป แต่มิได้โอ่โถงมีภูมิฐานอะไรที่บางกอก สยาม และละโว้ ซึ่งชาวยุโรป ชาวจีน และชาวมัวร์ สร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่ออิฐถือปูน เจ้าพนักงานได้จัดให้เข้าพักในตึกเช่นเดียวกัน มิใช่เรือนสร้างขึ้นเฉพาะสำหรับพวกเรา[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๖. ตึกสำหรับเอกอัคราชฑูตฝรั่งเศสและปอร์ตุเกศพักยังสร้างไม่เสร็จ เรายังได้เห็นตึกสองหลัง ซึ่งเจ้ากรุงสยามโปรดให้สร้างขึ้นหลังหนึ่ง สำหรับเอกอัคราชฑูตฝรั่งเศสอีกหลังหนึ่ง อีกหลังหนึ่งสำหรับเอกอัคราชฑูตปอร์ตุเกศ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๗. เรือนขุนนางผู้ใหญ่ในกรุงสยาม ขุนนางผู้ใหญ่แห่งราชสำนักอยู่เรือนไม้ทั้งหลัง รูปร่างดังตู้ใบใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะเจ้าบ้าน ภรรยาหลวงกับบุตรธิดาของตน ส่วนภรรยาน้อยคนอื่น ๆ กับบุตรธิดาของตน ทาสแต่ละคนกับครอบครัว มีเรือนหลังเล็ก ๆ แยกกันอยู่ต่างหากจากกัน แต่อยู่ในวงล้อมรั้วไม้ไผ่ร่วมกับเจ้าของบ้าน[/SIZE]


    <CENTER>

    </CENTER>[SIZE=-1] ๘. เรือนชาวสยามมีเพียงชั้นเดียว วิธีสร้างเรือน น่าอยู่กว่าตามแบบของเรามาก ไม่ต้องกังวลในเรื่องพื้นที่ สร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก ไปตัดไม้จากป่าตามชอบใจ หรือไม่ก็หาซื้อมาด้วยราคาถูก ๆ จากผู้ที่ไปตัดชักมา กล่าวกันว่าเรือนของชาวสยามที่มีเพียงชั้นเดียว ก็เพื่อมิให้ผู้ใดอยู่สูงกว่าพระเจ้ากรุงสยาม ในขณะที่พระองค์ทรงช้างเสด็จ ฯ ไปในท้องถนน ไม่ว่าพระองค์เสด็จ ฯ ทางชลมารคหรือสถลมารค พวกราษฎรจะต้องปิดหน้าต่างเรือนแล้วลงมาสู่ถนน หรือลงมาสู่เรือของตนเพื่อถวายบังคม ข้อที่ราษฎรระวังกันนักคือ เรือนของตนจะต้องไม่ใหญ่โตงดงามเทียบเท่าพระราชมณเฑียร อนึ่งปราสาทราชมณเฑียรก็มีเพียงชั้นเดียวทั้งสิ้น[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๙. ตึกสำหรับชาวต่างประเทศ ชาวยุโรป ชาวจีน และชาวมัวร์ ต่างสร้างบ้านเรือนของตนเป็นตึก ตามแบบนิยมและศิลปของชาติตน[/SIZE]


    <CENTER>

    </CENTER>[SIZE=-1] ๑๐. หอที่เรียกว่าดีวัง ผนังสามด้าน ด้านที่สี่เปิดโล่งไว้ ด้านนี้มีพะไลยื่นออกไปบัวสูงเท่าตัวหลังคา ภายในหอมักจะประดับตั้งแต่ข้างบน จนถึงข้างล่างด้วยกุฎิเล็ก ๆ ที่แขวนอยู่หรือเจาะเป็นช่องเข้าไปในผนัง เพื่อตั้งถ้วย โถ ขาม และแจกะนกระเบื้อง[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๑. พระที่นั่งและพระวิหารก่ออิฐแต่เตี้ย ๆ พระราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวังที่สยาม (อยุธยา) กับที่ละโว้กับโบสถ์ หรือวิหารหลายแห่งก็สร้างด้วยอิฐเหมือนกัน โบสถ์วิหารมีลักษณะคล้ายกับหอพระของเรา คือ ไม่มีโค้งหลังคา ไม่มีเพดาน มีแต่เสาไม้แก่น ค้ำเครื่องบนมุงกระเบื้อง ล่องชาด และวาดลายทองเล็กน้อย[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๒. ตึกในสยามยังเป็นของริเริ่มใหม่ อาคารก่ออิฐถือปูนยังเป็นของริเริ่มใหม่ของสยามอยู่มาก ชาวยุโรปเป็นผู้นำเอาแบบอย่างการสร้างตึกเข้ามาใช้[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๓. ชาวสยามยังไม่รู้จักองค์การก่อสร้าง ๕ ประการ ชาวสยามไม่รู้จักการประดับภายนอกราชมณเฑียร หรือโบสถ์วิหารเลย นอกจากเครื่องหลังคาซึ่งมุงด้วยแผ่นดีบุกอย่างธรรมดา เรียกว่า กะลิน หรือกระเบื้อง เคลือบสีเหลือง เหมือนอย่างหลังคาพระราชมณเฑียนพระเจ้ากรุงจีน ส่วนที่เกี่ยวกับองค์ ๕ ของสถาปัตยกรรมอันประกอบด้วยเสา ลวดลายประดับคานบนยอดเสา และการประดิดประดอยอื่น ๆ นั้น ชาวสยามไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๔. บันไดและประตู เป็นบันไดอย่างธรรมดา มี ๑๐ - ๑๒ ขั้น ความกว้างไม่ถึง ๒ ฟุต ก่อด้วยอิฐถือปูนติดผนังเบื้องขวา เบื้องซ้ายก็ไม่มีรางกั้น แต่ขุนนางสยามไม่จำเป็นต้องใช้ราวบันไดแต่อย่างใด เพราะเขาคลานขึ้นไปด้วยมือและเข่า และคลานอย่างเงียบกริบ ทวารท้องพระโรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ต่ำและแคบ[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๕. การวางศักดิ์ในพระราชมณเฑียรนั้นคืออย่างไร แม้พื้นเรือนจะมีอยู่เพียงชั้นเดียว แต่พื้นเรือนมิได้อยู่ในระดับเดียวกันหมดทั้งหลัง มีการลดหลั่นกันไปโดยลำดับ จึงมีบันไดสำหรับก้าวจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่ง ด้วยพื้นห้องและชานของแต่ละห้องนั้น ยกอยู่ในระดับเดียวกันทั้งสิ้น เป็นเหตุให้หลังคาของแต่ละห้องสูงต่ำไม่เท่ากัน หลังคาเป็นรูปหลังลาทั้งสิ้น แต่ตอนหนึ่งนั้นต่ำกว่าอีกตอนหนึ่ง ลดหลั้นตามระดับพื้นห้องที่ต่ำกว่ากัน หลังคาค่อนที่ต่ำกว่านั้นดูคล้ายแลบออกมา จากหลังคาตอนชั้นสูง และหลังคาชั้นสูงนั้นครอบทับชายหลังคาชั้นต่ำกว่าไว้ เหมือนอานม้า ซึ่งหัวอานที่งอนขึ้นมาซ้อนท้ายอานอีกอันหนึ่งไว้[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๖. ที่เมืองจีนก็เช่นกัน[/SIZE]


    <CENTER>

    </CENTER>[SIZE=-1] ๑๗. [COLOR=#cc0000]โบสถ์วิหารก็เช่นเดียวกัน[/COLOR] ส่วนโบสถ์นั้น ได้สังเกตเท่าที่เห็นแต่เฉพาะพะไล ที่ยื่นออกมาเป็นมุขด้านหน้า และอีกอันหนึ่งทางด้านหลังเท่านั้น ตอนใต้เป็นที่ประดิษบานพระพุทธรูป ส่วนหลังคามุขหน้า และมุขหลังนั้น ดูเหมือนจะมีไว้ให้ประชาชนเข้าไปนั่งเท่านั้น[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๘. [COLOR=#cc0000][U]เจดีย์[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] เครื่องประดับสำคัญของอุโบสถ ต้องมีเป็นธรรมดาทุกวัดคือ เจดีย์ปูนขาว หรือก่อด้วยอิฐมากมายหลายองค์ สร้างด้วยฝีมือประดิดประดอยอย่างหยาบ ๆ เจดีย์ทั้งหลายนั้นทรงกลมและยิ่งสูงขึ้นไปก็ยิ่งลดเรียวลง ตอนปลายคล้ายโดม เมื่อเป็นเจดีย์ทรงต่ำ ตอนปลายที่ทำเป็นโดมนั้น มีก้านดีบุกเล็ก ๆ ปลายแหลมปักอยู่ และสูงมากพอใช้เมื่อเทียบส่วนกับเจดีย์ทั้งองค์ เจดีย์บางองค์มีลักษณะคอดเข้า แล้วเลื่อมออกขึ้นไปตามส่วนสูงถึง ๔ - ๕ ชั้น ดูเป็นลูกคลื่น โดยรอบทรงกลมนี้ประดับลวดลายแวง ตั้งเป็นมุมฉากอยู่ ๓ - ๔ แห่ง ทั้งที่ตามรอยคอดและส่วนที่สูงขึ้นไป ลายนี้ค่อยเรียวลงตามส่วนเรียวขององค์เจดีย์ ไปสิ้นสุดลงที่ยอด ตอนเริ่มเม็ดทรงมันอันมีลายประดับอีก[/COLOR][/SIZE]

    [COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๙. [U][COLOR=#cc0000]ลักษณะห้องบางห้องในพระราชมณเฑียร[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ได้เห็นแต่เพียงหัองชั้นนอก ห้องแรกอันเป็นท้องพระโรงที่สยาม (กรุงศรีอยุธยา) กับที่เมืองละโว้ เท่านั้น กล่าวกันว่าไม่มีใครจะล่วงล้ำเกินกว่านั้นไปได้ แม้พวกมหาดเล็ก ยกเว้นพระสนมนางใน และะพวกขันทีเท่านั้น ได้เห็นห้องประชุมองคมนตรีในพระราชวังที่เมืองละโว้ แต่ก็เป็นห้องนอกแรกเข้าไปถึง ในอาคารหลังนี้ยังมีห้องชั้นใน ๆ เข้าไปอีก หมายความว่า ไม่มีห้องพักคอย (Anti chambre) ที่ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสองข้าง ห้องประชุมมีชานเฉลียงแลออกไปเห็นอุทยานล้อมอยู่โดยรอบ บนชานเฉลียงนี้เป็นกลางแจ้ง เจ้าพนักงานได้จัดขึงผ้ากันแดดทางด้านเหนือ เพื่อให้เป็นที่คณะเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าเป็นส่วนพระองค์ พระเจ้ากรุงสยามเสด็จประทับพระราชอาสน์ ณ สีหบัญชร ช่องหนึ่งในห้องประชุมนั้น ในท่ามพระราชอุทยานและลานสนามนั้น มีทิมโถงหลายห้องเรียกว่า ศาลา ตั้งอยู่ห่าง ๆ กัน ล้อมรอบด้วยกำแพงสูงมีหลังคาปก มีแต่เสาลอยรับเป็นระยะ ๆ ในกำแพงนั้น ศาลาเหล่านี้ทำขึ้นสำหรับขุนนางผู้ใหญ่ ในตำแหน่งสำคัญ ๆ เข้าไปนั่งขัดสมาธิเพื่อปฎิบัติหน้าที่ราชการของตน หรือประชุมหารือกัน มาคอยรับพระบรมราชโองการในตอนสาย ๆ ระยะหนึ่ง และตอนเย็นจนค่ำอีกระยะหนึ่ง และจะลุกกลับออกไปไม่ได้ จนกว่าจะได้อาณัติให้กลับไปได้แล้ว ขุนนางชั้นผู้น้อยนั่งอยู่ที่สนามหญ้า หรือในอุทยาน และเมื่อได้อาณัติสัญญาณว่า พระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรมาเห็นตัวแล้ว ก็จะหมอบลงทันที[/COLOR][/SIZE][/COLOR]

    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๐. [U][COLOR=#cc0000]สถานที่ในพระบรมมหาราชวังที่เราได้รับพระราชทานเลี้ยง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] เป็นสถานที่อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ และใกล้ขอบสระ ในพระราชวังที่เมืองละโว้ พวกเราได้รับพระราชทานเลี้ยงในพระราชอุทยาน ภายในห้องโถงแห่งหนึ่ง ซึ่งผนังสูงขึ้นไปจนจรดหลังคา และรองรับตัวหลังคาไว้ ผนังโบกปูนสีขาว เรียบเป็นมันวับ มีประตูด้านสะกัดด้านละช่อง มีคูกว้าง ๒ - ๓ ตัวซ์ ลึกประมาณ ๑ ตัวซ์ ล้อมรอบ ภายในคูมีน้ำพุสายเล็ก ๆ เรียงรายประมาณ ๒๐ แห่ง สายน้ำพุพุ่งขึ้นมาเหมือนจากฝักบัวรดน้ำ น้ำพุ่งขึ้นมาเสมอระดับขอบคู[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๑. [U][COLOR=#cc0000]พระราชอุทยานที่เมืองละโว้[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ไม่สู้กว้างขวางเท่าไร แปลงปลูกต้นไม้ต่าง ๆ มีน้อย ก่อด้วยอิฐตั้งซ้อนกันขึ้นไปเป็นขอบคัน ช่องทางเดินระหว่างแปลงต้นไม้นั้น แปลงต้นไม้นั้นปลูกพันธุ์ไม้ดอกไว้ กับต้นไม้จำพวกปาลม์ และพรรณอื่น ๆ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๒. [COLOR=#cc0000][U]พลับพลาไม้ไผ่ในป่า[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ เรียบ ๆ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]

    [COLOR=darkgreen]อื่นบ้านช่องชาวสยามก็รู้จักแล้ว ต่อด้วยเครื่องเรือน และสำรับกับข้าวชาวสยามกันเลยดีกว่าค่ะ[/COLOR][/FONT][/FONT]

     
  8. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่สอง ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสยาม (ต่อ)

    บทที่สาม เครื่องเรือนของชาวสยาม

    [SIZE=-1] ๑. เครื่องเรือนชิ้นใหญ่ ๆ ของชาวสยาม เตียงนอนเป็นแคร่ไม้แคบ ๆ และลาดเสื่อไม่มีพนักหัวเตียง และเสาเตียง บางทีก็มีหกขา แต่ไม่มีเดือยติดกับแม่แคร่ บางทีก็ไม่มีขาเลย แต่คนส่วนใหญ่มิได้ใช้แคร่นอน คงใช้เพียงเสื่อกกผืนเดียว โต๊ะอาหารเป็นโตก หรือถาดยกขอบ แต่ไม่มีขา ที่กินอาหารไม่มีผ้าปูรอง ไมมีผ้าเช็ดปาก ไม่มีช้อน ไม่มีส้อม ไม่มีมีด กับข้าวจะหั่นมาเป็นชิ้น ๆ ไม่ใช้เก้าอี้ แต่จะนั่งบนเสื่อกก ไม่มีพรมรองนั่ง จะมีแต่ของพระราชทานเท่านั้น ผู้ที่มีสันถัตรองนั่งถือว่า มีเกียรติยศมาก คนมั่งมีมีหมอนอิง สิ่งที่ทางบ้านเมืองเราทำด้วยผ้าหรือไหม หรือแพรไหม ในประเทศนี้ทำด้วยผ้าฝ้ายสีขาว หรือมีดอกดวงเป็นพื้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๒. ภาชนะของชาวสยาม ถ้วยชามเป็นเครื่องกระเบื้องก็มี เครื่องดินเผาก็มี กับขันทองแดง บางชิ้นภาชนะทำด้วยไม้อย่างเกลี้ยง ๆ หรือขัดมันกะลามะพร้าว และกระบอกไม้ไผ่ ก็เป็นภาชนะสำหรับใช้กระจุกกระจิกได้หมด มีภาชนะของใช้ที่ทำด้วยทองคำ และเงินอยู่บ้างแต่ก็มีน้อย เกือบจะมีแต่เครื่องยศที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้เป็นของประจำตำแหน่งเท่านั้น ครุที่ใช้ตักน้ำก็ใช้ไม้ไผ่สานอย่างประณีต ในท้องตลาดจะเห็นราษฎรหุงข้าวกันในกะลามะพร้าว และข้าวจะสุกก่อนที่กะลาจะไหม้[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. เครื่องมือของชาวสยาม ถ้าไม่ใช่พวกทาส ชาวสยามก็สร้างบ้านเรือนของตนอยู่เอง เหตุนี้เลื่อย และกบไสไม้ จึงเป็นเครื่องมือของทุกคน [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๔. เครื่องราชูปโภค เกือบจะอย่างเดียวกันกับราษฎร แต่เป็นของดีมีค่ากว่าของสามัญชน ท้องพระโรง ณ สยาม และ ณ เมืองละโว้ ก็กรุฝา และเพดานด้วยไม้กระดาน ไม่ที่กรุนั้น ล่องชาด และเขียนกนกทองลายกระดาน และลายก้านขด พื้นปูพรม ท้องพระโรงที่เมืองละโว้ ประดับไว้รอบด้านด้วยกระจกเงา ซึ่งเรือกำปั่นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสบรรทุกมาสู่เมืองสยาม หอประชุมองคมนตรีก็ตกแต่งไว้ทำนองเดียวกัน ทางด้านลึก มีบัลลังก์ ราชอาสน์ ทำอย่างแท่นไม้ขนาดใหญ่คล้ายเตียงนอน มีเสาฐาน พื้น และวิสูตร ล้วนหุ้มด้วยแผ่นทองคำ พระราชอาสน์ปูพรม แต่ไม่ได้ดาษเพดาน กั้นวิสูตร หรือมีเครื่องประดับอย่างอื่นอีก ที่หัวพระแท่นมีพระเขนยอิง ไม่ได้ประทับบนพระยี่ภู่ แต่ประทับบนพรมเท่านั้น ในหอประชุมที่ผนังด้านขวาของพระบัลลังก์ มีกระจกเงาบานหนึ่ง ซึ่งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสโปรดให้ มร.เดอะ โชมองต์ นำมาน้อมเกล้า ฯ ถวาย พระเจ้ากรุงสยาม ยังมีพระราชอาสน์ไม้ปิดทองอีกองค์หนึ่ง ที่ทรงประทับในวาระที่ให้คณะฑูต พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ มีเตียบ หรือพานพระศรี องค์หนึ่งสูง ๒ ฟุต ตั้งไว้ด้วย ทำด้วยเงินและลงทองบางแห่ง ฝีมือประณีต [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๕. ชาม จาน เครื่องโต๊ะอาหารในพระราชวัง ได้เห็นจานเงินเป็นจำนวนมากพอใช้ โดยเฉพาะถาดกลม และก้นลึก มีขอบสูงราวหนึ่งนิ้วฟุต ในถาดวางโถขนาดใหญ่กลม เส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งนิ้วฟุตครึ่งไว้ หลายใบ มีฝาปิด มีเชิงเท้าได้ขนาดกับสัดส่วนของมัน ใช้ใส่ข้าวให้บริโภค ส่วนจานผลไม้นั้นเป็นจานทองคำ เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชาวสยามนิยมใช้ภาชนะทรงสูงตั้งเครื่องต้นถวาย และภาชนะที่ใช้เป็นปกติในการเสวยนั้น ก็เป็นเครื่องกระเบื้อง มิได้ใช้ภาชนะทองคำหรือเงิน ดังธรรมเนียมทั่วไปในราชสำนักทั้งหลาย ทางภาคพื้นอาเซีย และแม้ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=+1]บทที่สี่ สำรับกับข้าวของชาวสยาม[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑. ชาวสยามกินอาหารน้อย และอาหารของเขามีอะไรบ้าง สำรับกับข้าวของชาวสยามไม่สู้ฟุ้มเฟือยนัก เนื่องด้วยมีฤดูร้อนติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา อาหารหลักคือ ข้าวกับปลา ทะเลได้ให้หอยนางรม ตัวเล็ก ๆ มีรสชาดดีมาก เต่าขนาดย่อมเนื้อรสดี กุ้งทุกขนาด ปลาเนื้อดีอีกมาก แม่น้ำสมบูรณ์ด้วยปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาไหลตัวงาม ๆ แต่ชาวสยามไม่สู้นิยมกินปลาสด[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๒. ความประหลาดของปลาสองชนิด มีปลาน้ำจืดอยู่สองชนิดเรียกว่า ปลาอุต และปลากระดี่ เมื่อจับปลาได้แล้ว นำมาหมักเกลือใส่รวมไว้ในตุ่ม หรือไหดินเผาดองไว้ ปลาจะเน่าในไม่ช้า[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. การหมักเค็มของชาวสยาม พวกเขาชอบบริโภคของที่หมักเค็มไว้ยังไม่ได้ที่ และปลาแห้งยิ่งกว่าปลาสด ธรรมชาติคงจะแต่งให้ชาวสยามกินอาหารประเภทที่ย่อยง่าย[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๔. ชาวสยามคนหนึ่งกินวันละเท่าใด เขาจะอิ่มด้วยข้าววันละ ๑ ปอนด์ ราคาประมาณ ๑ ลิอาร์ด และมีปลาแห้งอีกเล็กน้อย หรือไม่ก็ปลาเค็ม ซึ่งไม่แพงกว่าข้าวนัก เหล้าโรงหรือเหล้าที่ทำจากข้าว ขนาด ๑ ไปน์ ตกประมาณ ๒ ซู ก็พอแล้ว ฉะนั้นจึงไม่สงสัยว่าทำไมชาวสยามจึงไม่สู้ สนใจกับการทำมาหากินนัก พอตกค่ำก็ได้ยินแต่เสียงร้องรำทำเพลงไปทั่ว ทุกบ้านเรือน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๕. [COLOR=#cc0000][U]น้ำจิ้มของชาวสยาม[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] ทำกันอย่าง่าย ๆ ใช้น้ำนิดหน่อยกับเครื่องเทศ กระเทียม หัวหอมกับผักบางชนิด เช่น กะเพรา พวกเขาชอบกินน้ำจิ้มเหลวชนิดหนึ่ง คล้ายกับมัสตาร์ด ประกอบด้วยกุ้งเคยเน่า เรียกว่า [COLOR=#cc0000]กะป[/COLOR][COLOR=#000099]ิ[/COLOR][/COLOR][/SIZE]

    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. [COLOR=#cc0000][U]ชาวสยามทาตัวเด็กให้เป็นสีเหลือง[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] สิ่งที่เขาให้แทนหญ้าฝรั่น เป็นหัวไม้ชนิดหนึ่งมีรสและสีอย่างเดียวกัน เมื่อตากให้แห้ง และป่นให้เป็นผงแล้ว เหง้าชนิดนี้เขาเห็นว่าเป็นการรักษาสุขภาพให้เด็ก[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗. [COLOR=#cc0000][U]ชาวสยามบริโภคน้ำมันอะไร[/U] [/COLOR][COLOR=#000099]เขาไม่มีน้ำมันผลนัต น้ำมันผลมะกอก หรือน้ำมันอย่างอื่น นอกจากน้ำมันผลมะพร้าว ใช้บริโภคได้ดีเมื่อเคี่ยวออกมาใหม่ ๆ ถ้าทิ้งไว้นานจะมีกลิ่นหืน[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘. [U][COLOR=#cc0000]เรื่องที่เขียน (ผู้อ่าน) ต้องเข้าใจความนึกคิดของผู้แต่ง[/COLOR][/U][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. [U][COLOR=#cc0000]ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้[/COLOR][/U][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๐. [U][COLOR=#cc0000]ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้[/COLOR][/U][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๑. [COLOR=#cc0000][U]น้ำนมที่กรุงสยาม[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] เขามีน้ำนมจากควาย ซึ่งมีครีมมากกว่านมวัว[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๒. [COLOR=#cc0000][U]การแต่งกับข้าวชาวสยาม[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] ใช้ปลาแห้งแต่งเป็นกับข้าวได้หลายรูปแบบ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๓. [U][COLOR=#cc0000]อาหารจีน[/COLOR][/U][COLOR=#000099] กับข้าวมากกว่า ๓๐ ชนิด ตามตำรับจีนที่นำมาเลี้ยงนั้น เขาไม่อาจกินได้สักอย่างเดียว[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๔. [COLOR=#cc0000][U]ชาวสยามไม่ชอบกินเนื้อสัตว์และไม่มีโรงฆ่าสัตว์[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] จะกินบ้างแต่ลำใส้และเครื่องใน ในตลาดมีตัวแมลงต่าง ๆ ปิ้ง ย่าง วางขายอยู่ พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานเป็ด ไก่ และสัตว์อื่นที่ยังเป็น ๆ อยู่ให้ เราต้องมาทำอาหารเอง เนื้อสัตว์ทุกชนิดเหนียว ไม่ค่อยฉ่ำและย่อยยาก ในที่สุดชาวยุโรปที่เข้ามาอยู่ในเมืองสยาม ก็ค่อย ๆ เว้นกินเนื้อสัตว์[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๕. [COLOR=#cc0000][U]เป็ด ไก่[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] ชาวสยามไม่สนใจตอนไก่ เขามีแม่ไก่อยู่สองพันธุ์ พันธุ์หนึ่งเหมือน ๆ กับเรา อีกพันธุ์หนึ่งมีหนัง และหงอนสีดำ แต่เนื้อและกระดูกขาว ส่วนเป็ดมีอยู่มาก และรสดีมาก[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๖. [U][COLOR=#cc0000]สัตว์นก[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ชาวสยามบริโภคนก ซึ่งมีขนสีต่าง ๆ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๗. [U][COLOR=#cc0000]สัตว์ที่เป็นเหยื่อล่าในป่า[/COLOR][/U][COLOR=#000099] เขาไม่นิยมฆ่า หรือจับเอาตัวมากักขังไว้ พวกแขกมัวร์ชอบเลี้ยงเหยี่ยวไว้จับนกอื่น[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๘. [U][COLOR=#cc0000]นกพันธุ์แปลก ๆ ในสยาม[/COLOR][/U][COLOR=#000099] นกแทบทุกชนิดในสยาม มีสีสันงามตามาก และขันได้ไพเราะมีอยู่หลายพันธุ์ พูดเลียนเสียงมนุษย์ได้ กากับแร้ง มีชุม และเชื่องมาก เพราะไม่มีใครทำอันตราย คนให้อาหารมันกิน[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๙. [U][COLOR=#cc0000]สิ่งที่เราเรียกว่า เนื้อสัตว์ไม่มีราคาในสยาม[/COLOR][/U][COLOR=#000099] แพะกับแกะ หาได้ยาก ตัวเล็ก เนื้อไม่สู้ดีนัก หาซื้อได้จากชาวมัวร์เท่านั้น พระเจ้ากรุงสยามให้เลี้ยงแพะ แกะไว้จำนวนหนึ่งสำหรับพระองค์เอง ส่วนวัวกับควายผู้นั้น เขาเลี้ยงไว้ใช้ไถนา และขายแม่วัวเสีย[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๐. [COLOR=#cc0000][U]หมูเป็นของดี[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] หมูนั้นตัวเล็ก และมีมันมากจนไม่น่ากิน[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๑. [COLOR=#cc0000][U]ราคาเนื้อสัตว์[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] แม่วัวราคาตามหัวเมืองไม่เกิน ๑๐ ซอล ในพระนครตัวละ ๑๐ เอกิว แกะตัวละ ๔ เอกิว แพะตัวละ ๒ - ๓ เอกิว หมูตัวละ ๗ ซอล เพราะพวกมัวร์ไม่กินหมู ไก่ตัวเมียโหลละ ๒๐ ซอล เป็ดโหลละ ๑ เอกิว[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๒. [U][COLOR=#cc0000]สัตว์ปีกขยายพันธุ์มากในกรุงสยาม[/COLOR][/U][COLOR=#000099] สัตว์จำพวก กวาง เก้ง มีชุม ชาวสยามฆ่ากวาง หรือสัตว์จำพวกนี้เพียงเพื่อถลกหนังเอาไปขาย ให้พวกฮอลันดาซึ่งกว้านซื้อไปขายเป็นสินค้าสำคัญในญี่ปุ่น[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๓. [COLOR=#cc0000][U]โรคภัยไข้เจ็บ[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] ต้องตำหนิการดื่ม (สุรา) น้อยของชาวสยามแต่เมื่อเทียบส่วนสมดุล กับไฟธาตุของเขาแล้ว ก็พออนุมานว่าเขาไม่ได้ดื่มน้อยกว่าพวกเราเลย เขามีอายุไม่ยืนนัก โรคที่เป็นกันมากคือ โรคป่วงและโรคบิด บางทีเป็นไข้ตัวร้อน (จับสั่น) ซึ่งพิษอาจขึ้นสมองได้ง่าย และอาจคล้ายเป็นโรคปอดบวมได้ โรคปวดตามข้อ ลม อัมพาต ลมบ้าหมู วัณโรคปอด ปวดวท้องทุกชนิด และโรคไตอักเสบมีน้อย ส่วนมะเร็ง ฝีโพรงหนองและปรวตมีมาก ไฟลามทุ่งเป็นกันมาก ไม่มีโรคลักกะปิดลักกะเปิดและโรคท้องมาน[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒๔. [U][COLOR=#cc0000]อะไรคือโรคห่าในกรุงสยาม[/COLOR][/U][COLOR=#000099] โรคห่าแท้จริงคือ ฝีดาษ เคยสังหารชีวิตมนุษย์เป็นอันมากอยู่เสมอ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=darkgreen]เอกิวละเท่าไหร่ ไม่ทราบค่ะ เงินฝรั่งเศสสมัยโบราณ ไม่ทราบจริงๆค่ะ[/COLOR]


    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  9. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตอนนี้หน้าจอตอน log in แล้วดูยากนิดนึง

    จะโชว์ข้อความเพียงข้อความเดียวต่อหนึ่งความเห็น

    ทำให้ดูยากนิดหน่อย อาจไม่ได้อนุโมทนาใครไปบ้าง

    ปกติในกระทู้นี้จะอนุโมทนาทั้งหมดทุกคนค่ะ

    ขออภัยไว้ล่วงหน้าค่ะ
     
  10. Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    สวัสดีครับคุณไก่เหลืองหางขาว
     
  11. Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    ทรงพระเจริญ
     
  12. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทรงพระเจริญ

    ขอส่งพระบรมรูปใหม่อีกครั้ง เพราะเมื่อสักครู่ไม่สมบูรณ์ ขออภัยในความไม่สมบูรณ์ค่ะคุณ Fort ครั้งนี้สมบูรณ์แล้วค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ด่านภาษีแรกสำหรับเรือสำเภาที่เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา คือ ด่านขนอนบางกอก


    ..

    สภาพของบางกอกนั้นได้พบว่ามีบันทึกของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพุทธศักราช ๒๑๖๐-๒๑๖๑ซึ่งนับว่าเป็นบันทึกที่เก่าที่สุดเป็นบันทึกของพ่อค้าชาวฮอลันดาที่เขียนถึงอาณาจักรสยาม (จากเอกสารชุด AND FOREIGN COUNTRIES IN 17 TH CENTURY VOL 1)มีข้อความเล่าถึง บางกอกว่า


    กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ประมาณ๑๕ องศาทางเหนือต้องข้ามแม่น้ำไปภายในแผ่นดินประมาณ๒๐ไมล์ฮอลันดาแม่น้ำนี้จัดอยู่ในประเภทแม่น้ำที่ดีที่สุดในย่านอินดิสซึ่งสามารถให้เรือระวางหนักตั้งแต่ ๑๕๐ ถึง ๒๐๐ ลาสท์กินน้ำลึกตั้งแต่ ๑๒ ถึง ๑๓ฟุตขึ้นไปจอดได้โดยสะดวกจากปากน้ำเข้าไป ๕ ไมล์เป็นที่ตั้งของเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีชื่อว่าบางกอกที่นี่เป็นที่ตั้งของด่านภาษีแห่งแรกเรียกว่าขนอนบางกอก (CANEN BANGKOK) ซึ่งเรือและสำเภาทุกลำไม่ว่าจะมาจากชาติใดก็ตามจะต้องหยุดจอดทอดสมอและแจ้งให้ด่านนี้ทราบก่อนว่าจะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์อันใดบรรทุกสินค้ามาจากไหนมีผู้ใดมากับเรือบ้างและมีสินค้าอะไรบ้างที่บรรทุกมาก่อนที่เรือเหล่านั้นจะล่วงล้ำหรือเดินทางเข้าไปกว่านั้น





    จาก บางกอกขึ้นมาประมาณ ๑ไมล์มีด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งเรียกว่าบ้านตะนาวซึ่งเรือทุกลำที่จุขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยาจะต้องหยุดตรวจอีกครั้งหนึ่งเพราะอยู่ในรัศมีไม่ไกลจากกรุงศรีอยุธยากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงหิน

    และมีแม่น้ำโอบไปโดยรอบมีประชาชนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองสวยงามเป็นที่เชิดหน้าชูตาของกรุงสยามตามแบบฉบับของเมืองในแถบตะวันออกในทำนองเดียวกันเมื่อเรือจะกลับออกไปและเมื่อผ่านด่านภาษีที่บ้านตะนาวอีกก็จะต้องหยุดทอดสมอเพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะออกเดินทางไปไหนมีสินค้าสัมภาระและบรรทุกใครออกไปบ้างในเรื่องเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัตินั้น


    ผู้ที่จะออกไปจะต้องได้รับหนังสือพระราชทานสำคัญเสียก่อนเรียกว่า ตรา(สารตรา)หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง (ใบผ่าน)ซึ่งจะต้องนำไปแสดงที่ด่านภาษีที่บางกอก ซึ่ง ณที่นี้เรือจะต้องหยุดอีกครั้งหนึ่งเพื่อจ่ายอากรแผ่นดินสำหรับเรือและสินค้าหากไม่ปฏิบัติตามแล้วไม่ว่าจะเป็นนายเรือหรือเจ้านายอื่นๆ ก็ตาม จะถูกยึดเรือทันที

    บางกอกและบ้านตะนาวจึงปรากฏหลักฐานว่าเป็นย่านภาษีสำคัญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาส่วนจะมีความสำคัญมาก่อนในสมัยกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏว่าพบหลักฐานอื่นใดระบุไว้

    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา "บางกอกมีด่านภาษีที่สร้างกำแพงล้อมรอบเหมือนป้อมสมัยแรกจะตั้งป้อมนี้ตรงที่แห่งใดนั้นไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดแต่เข้าใจว่าน่าจะอยู่ตรงปากน้ำก่อนที่จะไปยังแม่น้ำเดิม (คือคลองบางกอกน้อย)เพราะเป็นจุดที่สร้างป้อมในสมัยต่อมา (คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์)แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่ไหลผ่านบางกอกนั้นเป็นแม่น้ำที่คดเคี้ยวไหลวกวนไปมาจนทำให้เกิดพื้นที่คล้ายเกาะหรือโคก อยู่หลายแห่ง

    ดังนั้นเวลาเดินทางไปตามแม่น้ำจึงวกวนอ้อมโค้งให้เสียเวลาและเป็นที่รู้จักกันว่าแม่น้ำสายนี้ทำให้เกิดความเป็นบางอยู่หลายแห่งและสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือแม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลจากทางเหนือลงสู่ปากน้ำและอ่าวไทยลักษณะไหลคดเคี้ยวจนเกิดพื้นที่เป็นเกาะหรือกระเพาะหมูหากดูในแผนที่ “A map of the course of the river menam from Siam to the sea: Reduced From a Large One Made by MONS DE LE MAR : ingenie to the FRENCH KING

    จะเห็นว่าแม่น้ำสายนี้ก่อให้เกิดพื้นที่เป็นเกาะอยู่หลายแห่งตั้งแต่เกาะกรุงศรีอยุธยา (SIAM) และมีการเรียกชื่อหมู่บ้านหรือบาง (BAN)ที่ตั้งอยู่ริมทั้งสองฝั่งแม่น้ำพยายามอ่านชื่อให้เข้าใจและตรงกับชื่อในปัจจุบันก็อ่านและคาดเดาไม่ได้อยู่บางแห่งแต่ที่น่าสังเกตก็คือในแผนที่ดังกล่าวมีการระบุจุดที่ตั้งป้อมอยู่หลายแห่งทั้งที่เป็น brick fort หรือ wooden fort


    สำหรับแม่น้ำเดิมที่ไหลซอกซอนคดเคี้ยวไปมาตรงพื้นที่บางกอกนั้นแม่น้ำสายนี้จะแยกเข้าทางทิศตะวันตกตรงหน้าตลาดขวัญ (เมืองนนทบุรีเก่า)แล้วไหลไปตามแม่น้ำอ้อมผ่านปากคลองบางใหญ่แล้ววกลงทางใต้ผ่านคลองบางกรวยมาออกทางปากน้ำตรงวัดเขมาภิรตารามแล้วไหลผ่าสามเสนมาจนถึงท่าช้างวังหน้าแล้วหักเข้าทางฝั่งตะวันตกเข้าคลองบางกอกน้อยผ่านปากคลองบางระมาด บางพรมบางเชือกหนัง บางแวกภาษีเจริญออกมาทางคลองบางกอกใหญ่ข้างวัดกัลยามิตรตรงวัดโลกยาราม (วัดท้ายตลาด)พื้นที่บางกอกส่วนนี้จึงเหมือนกระเพาะหมู่ที่มีคอคอดระหว่างแม่น้ำสายเดี่ยวกันจนมีเรื่องเล่ากันว่าตั้งหม้อข้าวทิ้งไว้แล้วลืมฝาหม้อข้าวไว้ที่ปากคลองก็เดินขึ้นกลับไปเอามาทันข้าวเดือดพอดีไม่เสียเวลาเหมือนเดินเรืออ้อมการขุดคลองลัดในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (เมื่อพ.ศ.๒๐๗๗-๒๐๘๙) นั้น









    บางแห่งเล่าว่าพระองค์โปรดให้ขุดคลองลัดตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยไปออกแม่น้ำเก่าที่หน้าวัดแจ้งเรียกว่า คลองลัดบางกอกใหญ่เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๐๖๕ (น่าจะคลาดเคลื่อน)การขุดลัดครั้งนั้นได้ทำให้เกิดแม่น้ำสายใหม่และลัดตรงระหว่างปากคลองบางกอกน้อยถึงคลองบางกอกใหญ่ทำให้แม่น้ำไหลตรงผ่านตลาดขวัญเมืองนนทบุรี วัดเขมาภิรตารามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พระบรมมหาราชวังในปัจจุบันและเชื่อมกับแม่น้ำสายเดิมที่ปากคลองที่วัดอรุณราชวรารามทำให้พื้นที่ บางกอกส่วนคอคอดที่เคยติดกันตั้งแต่เดิมถูกแม่น้ำสายใหม่ที่ขุดลัดตัดออกจากกันแยกเป็นฝั่งธนบุรีและ ฝั่งกรุงเทพอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้


    สำหรับคำว่า บางกอกแม้จะไม่ชี้ชัดว่าเรียกมาจากบางที่มีต้นมะกอกอยู่ก็มีเหตุที่ชวนเชื่อว่าบางกอกนั้นเรียกมาจากพื้นที่ที่เป็นโคกหรือเป็นเกาะนั้นเองดังนั้นการที่ชาวต่างประเทศเขียนว่า Bangkok,Bancoc,Banckok, Bankoc,Bangok, Banckock,Bancocq, Bancok,Bancock นั้น เป็นสื่อความได้ทั้งโคกและเกาะ เช่าเดียวกับ ตำบล สามโคกเขียนไว้ว่าในแผนที่ Samkoc และหากสังเกตชื่อที่เขียนในแผนที่จะมีทั้งที่เขียนเป็น Ban (บ้าน)แยกต่างหากกับชื่อเช่น Ban Tert Noi (บ้านเกร็ดน้อย)และเขียนติดกันกับชื่อ เช่น Banpac Tert Noi (บ้านปากเกร็ดน้อย) Banyai (บ้านใหญ่) Ban Samlevo (บ้าน..)Ban Cotraya (บ้าน..)เช่นเดียวกันหากคำว่า Bangkok, Bancoc, Bangok เป็นต้นนำมาแยกคำให้เป็นบ้าน-คือ Ban -Gkok, Ban-Coc, Ban-Gok เช่นเดียวกันน่าจะมีเหตุผลพอที่จะเชื่อได้ว่าบางกอกก็คือ บ้านโคก หรือ บ้านเกาะตามลักษณะของพื้นที่นั้นเองเหตุผลที่สนับสนุนก็คือชื่อที่ปรากฏในแผนที่ส่วนใหญ่ระบุเป็นบ้าน (Ban)เกือบทั้งหมดไม่มีที่ใดว่าเป็นบาง (Bang) ทั้งๆที่ตำบลริมแม่น้ำฝ่ายไทยเรียกว่า บาง แทนคำว่าบ้านอยู่หลายแห่งและชาวต่างประเทศคงไม่เขียนเฉพาะบางกอก(Bangkok) ไว้แห่งเดียวเท่านั้น


    คำว่า บางกอกจึงเรียกกันตามคำว่า Bangkok (Bang-kok) และที่น่าจะถูกต้องกว่า คือ บ้านโคกหรือบ้านเกาะหากแยกคำเสียใหม่ให้เหมือนชื่อบ้านอื่นๆ ในแผนที่ว่า Ban -Gkok, Ban-Coc, Ban-Gok เป็นต้นดูจะสอดคล้องกับชื่ออื่นๆที่เขียนในแผนที่และไม่ใช่คำว่า Bang-kok (บางกอก)ซึ่งต่อมาเป็นคำที่นิยมใช้เรียกกันในภายหลังแทนที่จะเป็นบ้านเกาะหรือบ้านโคกเหตุที่นิยมเรียก บางกอกก็เพราะ บางกับ บ้านนั้นมีความหมายเดียวกันและไทยก็เรียกตำบลที่อยู่ริมแม่น้ำว่าบางอยู่แล้วส่วนที่ไม่ยอมเรียก บางโคกหรือ บางเกาะก็อาจจะมีเหตุผลหนึ่งสำหรับสำเนียงต่างประเทศจึงทำให้ชื่อบางกอกเป็นคำแทนบางโคกหรือบ้านโคกซึ่งชื่อหมู่บ้านอย่างนี้ก็นิยมตั้งกันอยู่หลายแห่งเช่น บ้านสามโคก บ้านโคกหม้อบ้านโคกสูงเนิน ฯลฯแต่การยอมรับเอาชื่อ บางกอกมาเรียกนั้นก็เพราะชาวต่างประเทศที่เดินเรือไปมาระหว่างปากน้ำและกรุงศรีอยุธยาได้พากันเรียกจนรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดีแล้วจนพากันเข้าใจว่า บางกอกก็คือตัวแทนเมืองสยามเพราะภายหลังได้มีการตั้งกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงขึ้นในพื้นที่บางกอกแห่งนี้





    จะว่าไปก็น่าขำที่ว่า คนบางกอกเมื่อสมัยอยุธยานั้น เป็นคนต่างจังหวัดนะคะ
     
  14. ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    หวัดดีค้าบคุณFort gordon
     
  15. ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ไม่ทราบว่ามีท่านใดในที่นี้เคยเข้ากระทู้ รวมพลคนรัก สมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชเจ้า เทอดไท มหาราชจอมราชันย์ บ้างครับ?
     
  16. Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    -ขอรับกระผม คุณไก่เหลืองหางขาว
     
  17. จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    ส่ง EMS ไปแล้วนะครับ ถ้าไม่ได้รับบ่ายวันนี้ ก็เป็นวัน
    พรุ่งนี้แน่นอนครับ
     
  18. จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เจ้าแม่วัดดุสิต

    วันจันทร์ ที่ 03 สิงหาคม 2552 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​



    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 90px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เจ้าแม่วัดดุสิต ไม่ใช่คนทรงเจ้าเข้าผี หรือผู้มีอิทธิฤทธิ์ใด ๆ แต่เป็นสตรีที่มีความสำคัญผู้หนึ่งในสมัยอยุธยา ในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า เจ้าแม่วัดดุสิต เป็นสมญานามเรียกพระนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งมีหน้าที่ถวายพระอภิบาลเมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าแม่วัดดุสิตมีนามเดิมว่า บัว มีพระภัสดา (สามี) สืบเชื้อสายมาจากขุนนางมอญที่สวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นตัวประกันที่พม่า และได้ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๑๑ ซึ่งได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดขุนแสน

    เจ้าแม่วัดดุสิตมีบุตร ๒ คน คือ เหล็ก [ต่อมาคือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)] และปาน [ต่อมาคือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)] เมื่อบุตรทั้งสองยังเล็ก เจ้าแม่วัดดุสิตได้เข้ารับราชการฝ่ายใน เป็นพระอภิบาล ตำแหน่งพระนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้รับพระราชทานให้มาปลูกเรือนในเขตวัดดุสิตาราม (ปัจจุบันอยู่ในตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ด้วยเหตุนี้ คนทั่วไปจึงเรียกว่า “เจ้าแม่วัดดุสิต”

    จากการที่เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นพระนมนี้เอง บุตรทั้งสองจึงได้เป็นพระสหายสนิทในสมเด็จพระนารายณ์และเป็นที่โปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลังทั้ง ๒ คน ครั้งหนึ่งหลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือพระเจ้าเสือ) ขัดแย้งกับออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ชาวกรีกที่รับราชการจนเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงกับมีเรื่องชกต่อย ด้วยเหตุออกญาวิไชเยนทร์สึกพระภิกษุและสามเณรออกไปทำราชการเป็นจำนวนมาก หลวงสรศักดิ์เกรงจะถูกลงพระราชอาญา จึงขอให้เจ้าแม่วัดดุสิตขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็พระราชทานอภัยโทษให้หลวงสรศักดิ์ ภายหลังเจ้าแม่วัดดุสิตได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์.

    ปิยรัตน์ อินทร์อ่อน
     
  19. จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอเชิญร่วมงานครบรอบ 25 ปี วันมรณภาพครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก
    ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน

    วันที่ 17 สิงหาคม 2552 วัดพระพุทธบาทตากผ้าจะได้จัดงานทำบุญครบรอบ 25 ปี
    วันมรณภาพท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก
    งานเริ่ม 11-17 สิงหาคม 2552 ท่านเจ้าอาวาสฝากบอกข่าวมา


    ๐๐๐ ช่วยกันกระจายข่าวครับ
     
  20. ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอบคุณค่ะ วันนี้กลับมาก็ยังมาไม่ถึงนะคะ พรุ่งนี้คงจะได้ค่ะ ขอบคุณมากๆๆค่ะ
    ;aa40

    ดีใจเจอข้อมูลเจ้าแม่วัดดุสิตที่คุณจงรักภักดีโพส คือไม่คิดว่าจะมีใครสนใจข้อมูลของท่านหน่ะค่ะ

    เจ้าแม่วัดดุสิตนี้ท่านเป็นต้นสายราชวงศ์จักรีเท่าที่จะสืบข้อมูลได้จากเอกสารและพงศาวดาร

    ขออนุญาตนำบทวิเคราะห์ของนักวิชาการอันเกี่ยวข้องกับเจ้าแม่วัดดุสิตมาไว้ ณ แห่งนี้ค่ะ

    ติดตามรับข้อมูลได้ ณ บัดนี้

    (อดขำไม่ได้ ใครติดตามกระทู้นี้ต้องกลายเป็นหนอน หนอนอะไรใช่ไหมคะ หนอนหนังสือค่ะ ^^)
     

แชร์หน้านี้