https://vt.tiktok.com/ZSF9uTs1G/
วัดท่าใหม่อิ เป็นวัดแรกที่ตั้งรูปทั้งสองพระองค์คู่กัน (ครั้งหนึ่งในอดีต ขึ้นไปเมื่อใด คาดว่าปี 2128 ไปพบพระเจ้าเชียงใหม่ สหายพระนเรศสมัยอยู่หงสา ทั้งพระนเรศกับมังนรธาช่อทรงมีอายุอานามไล่เรี่ยกัน ไปเกลี้ยกล่อมให้มาเข้ากับอยุธยา)
ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.
หน้า 227 ของ 234
-
-
พระนางมณีจันทร์ไปเป็นประธานหล่อหลวงพ่อใหญ่วัดปราสาท จังหวัดนนทบุรี ด้วยการเสด็จไปทางเรือแล้วจากนั้นขึ้นพระวอแบบอยุธยาไปพร้อมกองทหารเกียรติยศ ประดับด้วยฉัตร 5 ชั้น (ตอนแรกนึกว่าจะต้อง 7 ชั้นค่ะ)
พระวอเห็นลายไม่ชัดเท่าไหร่ แต่คิดว่าน่าจะเป็นลายพรรณพฤกษา แบบเจ้านายสตรีอยุธยาใช้กัน
https://vt.tiktok.com/ZSF9WfJe2/
วัดปราสาท นนทบุรี น่าจะมีโพธิ์สามต้นด้วยค่ะ แต่เห็นแค่ สองต้น ปลูกห่างกันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า พระเจ้าปราสาททองทรงรับสืบทอดพิธีกรรมและอาคมสายพุทธาคมตามแบบสมเด็จพระนเรศวรในการเป่ามนต์เพื่อรักษาสถานที่หรือที่อยู่อาศัย -
คนปัจจุบันเรียกพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นสายมู แต่อันที่จริงมีสายมูระดับตัวท็อปมือพระกาฬ คือพระนเรศวร ทรงเป็นไอดอลให้พระเจ้าปราสาททองทรงมูตาม
https://vt.tiktok.com/ZSF99UKWd/ -
หน้าบันวัดปราสาทมีตรา คชสีห์ และราชสีห์ ที่หน้าบัน คชสีห์คือ ทหาร แทนเจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ส่วนราชสีห์แทนสมุหนายก ตอนนั้นคือท่านเฉกอะหมัด แขกเดินทัพมาสร้างวัดด้วย คงจะเป็นรุ่นลูกที่เปลี่ยนมานับถือพุทธตอนที่ตามเสด็จพระเจ้าทรงธรรมไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี
บนพนังยังมีขบวนทหารรัดผมกลางกระหม่อมร่วมกันมาสร้างวัด
แสดงว่าพวกกรมท่าขวากับพวกกรมท่าซ้าย สนิทกันมาก และสมุหนายกกับสมุหกลาโหมก็สนิทกัน เรื่องของพระนางอาจจะถูกเขียนอยู่บ้างในพงศาวดารการค้าของแขกเปอร์เซีย(เดาว่าอาจจะมีเขียนถึงพระนางอยู่บ้าง) -
หลังพระเอกาทศรถขึ้นเป็นสายหลักโดยออกกฎหมายลักษณะกบถ(กฎอัยการศึก) คาดว่าท่านอาจจะเรียบเรียงบันทึกการศึกใหม่เพื่อลบบุคคลออกจากหน้าประวัติ เช่น ศึกพม่าโดยมังกยอชวายกตามมาตีกรุงศรีทันทีหลังจากประกาศเอกราช 2127 ก็บันทึกผิดพลาดไป แต่ปี 2128 ซึ่งเป็นปีที่เว้นศึก ก็ไปบันทึกว่ามีศึก และมีชื่อพระเอกาออกรบคู่พระนเรศวรโดยรบตะรุมบอนกับพระเจ้าเชียงใหม่
แต่ตามหลักฐานพม่า ปี 2128 เป็นปีที่พม่าเตรียมการปลูกข้าว สะสมเสบียง จะมารบพุ่งกับอยุธยาในปี 2129 และถ้าตามหลักฐานไทยเป็นจริงแล้วหล่ะก็ ไทยจะไม่สามารถอธิบายการมีอยู่ของพระกรุวัดบ่อทองคำได้เลย เพราะกรุนี้สร้างในปี 2128
พระเอกาอาจจะเขียนบทบาทตัวเองแทรกในพงศาวดารเพื่อให้ดูมีบทบาทมากขึ้น ต่างจากที่พงศาวดารพม่าที่เขียนถึงบทบาทของพระเอกาน้อยมาก ขนาดออกรับศึกพม่า ปี 2127 กับ 2129 เป็นพระมหาธรรมราชากับพระนเรศวรที่ออกรบคู่กัน สายนักรบทั้งคู่ พ่อกับลูก
อันที่จริงพระนเรศกับพระเจ้าเชียงใหม่องค์ใหม่เป็นเกลอกัน เจ้าชายที่โตขึ้นมาในราชสำนักหงสาด้วยกัน พระนเรศท่านอยากจะทำไมตรีด้วยมากกว่าจะรบพุ่ง แต่ตอนนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่เชื่อว่าพระนเรศจะสู้และยันทัพหงสาไว้ได้ ต่อมาภายหลังเมื่อเห็นว่าหงสาอ่อนแอจริงจึงค่อยหันมาเข้ากับอยุธยา การศึกของภูมิภาคนี้ก็เป็นไปแบบญาติตีกัน ยกเว้นพม่าที่กะจะกลืนชาติวัฒนธรรมให้ไทไปเป็นพม่าตอนนั้น ถ้าตอนนั้นยันศึกพม่าไม่อยู่ วัฒนธรรมไทยอาจจะไม่ใช่แบบนี้ และอาจจะต้องไปเป็นเมืองขึ้นอังกฤษตามพม่าด้วยก็ได้
พระมหาธรรมราชาและพระนเรศทรงทำทุกอย่างให้แผ่นดินนี้คืนความเป็นไทกลับมาได้ การไปเจรจาขอความช่วยเหลือจากจีนก็เป็นอีกหนทางเพื่อแก้ไขสถานการณ์ในตอนนั้น
https://vt.tiktok.com/ZSFxLnguB
พม่ามองว่าไทยต่ำกว่า จึงไม่มีเจ้าหญิงพม่ามาแต่งกับกษัตริย์ไทย -
วาดพระรามไว้บนพนังโบสถ์วัดปราสาท(พระนเรศเปรียบเป็นพระราม)มาร่วมงานเททองด้วย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระองค์บัวคาดว่าจะทรงเกิดปีระกา ต้นปี 2128 -
พระนเรศเจ้าเคยประชุมทัพและเดินทางออกจากบริเวณบางปะอินในปัจจุบันเพื่อไปตั้งทัพที่ชายเคือง หรือ บางขดานชื่อในสมัยนั้น จากจารึกวัดโรมโลก เพื่จัดทัพไปตีละแวก ตั้งทัพเมื่อ 2130 นั้นพระองค์ไลประสูติแล้ว
แสดงได้ว่าพระนเรศมีวังที่บางกดานจริง เพราะจารึกบอกว่ายกพยุหยาตราออกจากบางกดาน ที่มาของชื่อวัดชุมพลนิกายาราม เกิดจากการประชุมพลครั้งนั้นที่จะไปตีละแวก
ปีนั้น พระนเรศติดศึกพม่า ดูเหมือนจารชนชาวละแวกจะส่งคนมาสืบว่าที่บางกดานเป็นบ้านใคร เอาผู้หญิงและเด็กน้อยมาบังหน้าทำทีว่าจะขออาศัย แต่พูดแบบสยามไม่ได้เลย เดินจากด้านใต้เกาะขึ้นมาๆ มาเป็นกลุ่มชายหญิงเป็นผู้หญิงกะเตงเด็กน้อยมา ดูแล้วเหมือนชาวบ้าน แต่ทหารที่ดูแลอยู่รู้สึกผิดสังเกต เข้าฟันผู้ชายตายแต่ยับยั้งผู้หญิงไม่ทัน หญิงนั้นกำลังจะขึ้นเรือนใหญ่ พระนางใช้ปืนยิงไปโดนหญิงนั้นตาย พระนางต้องปกป้องลูกสองคนเช่นกัน ครั้งนั้นเป็นการฆ่าจารชนด้วยมือพระนางเอง รู้สึกว่าความเป็นความตายของคนสมัยก่อนห่างกันนิดเดียว ถ้าเกิดพลาดก็ตายได้ทุกเมื่อไฟล์ที่แนบมา:
-
-
แต่แรกตรงที่วัดชุมพล สร้างเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นไปนั่งทำบุญได้เกือบร้อยคน โดยจะนิมนต์พระมาที่นี่มารับถวายฉันต์เช้า ฉันต์เพล เป็นเสมือนวัดประจำวังที่ไม่มีพระจำพรรษา ภายหลังเมื่อสร้างเป็นวัดจึงชื่อวัดชุมพล เนื่องจากคนที่นี่มาก ถ้าจะพากันไปทำบุญจะต้องเดินทางไกลและต้องใช้เรือจำนวนมาก ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีนิมนต์พระท่านมารับบิณฑบาตร และอยู่เทศน์ให้คนบนเกาะนี้ฟัง อยู่กันเป็นพันคน พระท่านมาทีก็ได้ฟังธรรมพร้อมกัน ส่วนวัดที่ใกล้ที่สุดอยู่บนเกาะเรียนมีพระจำพรรษา. ตัวตำหนักบ้านเลนค่อนไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาและเข้าไปอยู่ทางกลางๆเกาะ ไม่ได้อยู่ริมตลิ่งเหมือนวัดชุมพล เพื่อสะดวกในการรักษาความปลอดภัย การเดินจากท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยามีสะพานไม้ทอดยาวไปไม่ต้องลงเดินบนดิน สำหรับเดินไปขึ้นเรือพระราชพิธี. ส่วนตลิ่งด้านหลังบ้าน จะเรียกหลังบ้านก็ไม่ได้ ด้านหันไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเรียกว่าตำหนัก ส่วนด้านหลังหันเข้าคลองเรียกว่าบ้าน เรือนหลังใหญ่หลังเดียวใช้งาน 2 ฟังก์ชั่น.จึงมีทางขึ้นหลักแบบเจ้าอยู่ด้านหน้า และทางขึ้นแบบชาวบ้านอยู่หลังบ้าน สวนไม้ดอกปลูกบนกระถางเคลือบอยู่ด้านหลังบ้านก่อนถึงศาลาทรงธรรม ด้านที่หันเข้าคลอง ไม่มีสะพานไม้ ต้องเดินขึ้นจากตลิ่งไปตามทางเดินที่ปูอิฐก้อนไว้ ทางด้านหลังเป็นทางสำหรับงานสวน งานเกษตร งานไม่เป็นทางการ
ศาลาทรงธรรมก็กลายเป็นวัดและเรือนตำหนักนั้น พระเจ้าปราสาททองทรงใช้เป็นตำหนักหลักและสร้างตำหนักใหม่ทรงให้ที่นี่เป็นวังเจ้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา -
พงศาวดารไทยช่วงนี้จะสับสน คิดว่าเป็น เพราะพระเอกาวางพล็อตเรื่องใหม่ แต่งออกมาคล้ายนวนิยายแอ็คชั่นที่พระเอกาเข้ามามีบทบาทมากขึ้นและแต่งพงศาวดารให้มีบทพูดที่ดุเด็ดเผ็ดมันอยู่ในพงศาวดารด้วย และยุบการทำยุทธหัตถี 2 ครั้งมารวมกันจึงทำให้เกิดความอลหม่านในการวาง timeline ที่ถูกต้อง อลหม่านในการหาสถานที่สำคัญ
-
ย่านการค้านานาชาติ ชุมชนนายก่าย มีลักษณะคล้ายซ้ายมือของภาพ เป็นตึกปูนสองชั้น ให้เปิดเป็นหน้าร้าน แต่ไม่สามารถนอนที่ร้านได้ มีเวรยามเฝ้าให้ยามค่ำคืน
ทางเดินกว้างกว่าในภาพสัก 4-5 เมตรหรือจะกว่า เพื่อรองรับขบวนเสด็จ เสลี่ยงคานหามของเจ้าองค์ที่จะเข้ามาทรงงานหรือมาดูสินค้า ได้ด้วย
ไม่มีศาลาท่าน้ำ มีการปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นระยะๆ ที่ริมตลิ่ง
มีท่าให้ลงเรือเป็นระยะ เพื่อขนถ่ายสินค้า แต่จะไม่มีแบบติดคลองอย่างด้านขวา เพราะจะสร้างทางเดินให้พวกชาวต่างชาติเดินทอดน่องชมสินค้าได้
เจ้าของสถานที่นี้ทั้งหมด สร้างโดยนายก่าย
เกาะเมืองบริหารคนบนเกาะแบบวังหลวงปักกิ่งคือ ต่างชาติต้องให้ออกไปนอนนอกเกาะเวลาค่ำคืนและปิดประตูเมือง
ช่วงเวลา Prime Time ของย่านนี้คือเวลาเที่ยงวัน ใครจะนัดใครเจอกันที่นี่เพื่อเจรจาการค้า จะนัดเวลาพระอาทิตย์ตรงหัวหรือหน้าหนาวก็นัดช่วงที่เงาสั้นที่สุดก็ได้
-
ช้างบนเหรียญปี 2128 กับภาพช้างบนผนังวัเชิงท่ามีศิลปะแบบเดียวกัน อ้วนๆ คอเป็นชั้นๆ วัดเชิงท่าอาจจะถูกสร้างยุคใกล้เคียงกับสมัยพระนเรศวร
https://vt.tiktok.com/ZSFbh4sjL/ -
ที่นี่มีโรงครัวใหญ่เลี้ยงคนเป็นพันคนอยู่แล้ว อาหารพร้อม ส่วนน้ำดื่มให้ไปตักที่สระน้ำผุด ที่มีพระที่นั่งไอยสวรรค์ทิพยอาสน์(สร้างภายหลัง) ความพร้อมของเกาะนี้มีสูง
ส่วนข้าวสารและอาหารแห้งเช่นปลาแม่น้ำตากแห้ง ข้าวคั่วแห้ง มะพร้าวคั่ว มะม่วง กล้วย ก็เตรียมไว้คราวละมากๆมีความพร้อมเรื่องเสบียงตลอดเวลา พร้อมให้ขนไปเป็นเสบียงทัพทุกเมื่อไฟล์ที่แนบมา:
-
-
สมเด็จพระนเรศวร ตัวตึง(คนที่เก่งมากๆ) ในย่านอุษาคะเนย์ เขตแดนกว้างใหญ่
-
ถ้าจะนับตามหลักฐานแล้ว พระองค์ไลเป็นลูกพระนเรศวร มากกว่า จะเป็นลูกพระเอกา เพราะพระนเรศวรเสด็จบางกดานบ่อยมาก มีตำหนักอยู่ที่นี่ -
สมัยสุโขทัย มีทำเนียมส่งองค์รัชทายาทเป็นหัวหน้าคณะทูตไปแสดงมิตรไมตรีกับจีน(ราชวงศ์หยวน)
ธรรมเนียมนี้พระมหาธรรมราชารับสืบต่อจากบรรพบุรุษราชวงศ์พระร่วง ส่งพระนเรศวรไปจีนหลังจากพระมหาธรรมราชาได้เป็นกษัตริย์กรุงศรีประมาณ 4 ปี
จางจวีเจิ้งทำค้าขายกับกรุงศรีมาก่อนหน้า ท่านค้าพริกไทยกับกรุงศรีตั้งแต่สมัยยังเป็นขุนนางระดับกลางๆ -
การส่ง หัวเจ้าซ่ง พระนเรศวร ไปเมืองจีนปี 2116
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระมหาธรรมราชา พระนเรศวร และจางจวีเจิ้ง ร่วมกันวางแผนการประกาศอิสระภาพ เตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อยตั้งแต่ปี 1580 (พ.ศ. 2123) แต่คิดว่าเตรียมการนานกว่านั้น การแต่งงานของลูกสาวคนเล็กของจางจวีเจิ้งกับพระนเรศวร น่าจะเตรียมการไปด้วยกันกับแผนการนี้ ปี 2123 นางอายุประมาณ 13-14 ปีแล้ว ฉายแววความสวย (จางจวีเจิ้งคาดว่าพระนเรศคงไม่ปฏิเสธที่จะแต่งงานกับนางเพราะนางมีชาติตระกูลดีพอสมควร มีพ่อเป็นราชเลขาธิการมีสายเลือดเผ่าไทสายหนึ่งแต่แยกตัวมาจากเผ่าไทสายหลักตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเหลือง และมีแม่เป็นเจ้าหญิงมองโกล) การเตรียมการทั้งหมดนี้ พระวิสุทธิกษัตริย์ คงทรงทราบด้วยและทรงไม่ขัดข้อง
-
จากหนังสือ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย อ่านที่ หน้า 130 เป็นต้นไปค่ะ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ผู้ยิ่งใหญ่ ของ สามนคร อายุอานามไล่เรี่ยกันค่ะ
ชุดราชเลขาธิการ เป็นชุดสีน้ำเงินกรมท่า ปักมังกร 4 เล็บ ไม่ใช่ชุดสีแดงอย่างในหนัง ขุนนางจีนใส่สีต่างกันตามชั้นยศ ยกเว้นสีเหลืองทองเป็นชุดสำหรับฮ่องเต้เท่านั้นค่ะ
หน้า 227 ของ 234