ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมสาธยายพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เฉลิมพระเกียติ ๘๐ พรรษา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 26 พฤศจิกายน 2007.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    [​IMG][​IMG][​IMG]



    ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมสาธยายพระไตรปิฎก
    ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เฉลิมพระเกียติ ๘๐ พรรษา


    เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    สาธยายพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวม ๕๗ วัน

    ณ วิหารสาธยายพระไตรปิฎก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง มีถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    .
    อานิสงส์ของการสาธยายพระไตรปิฎก

    <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]

    [​IMG]


    ถ่ายจากป้ายในงานการสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  3. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    .

    ครั้งหนึ่งในชีวิต ทำจิตให้บริสุทธิ์ ร่วมสาธยายพระไตรปิฎก ถวายแด่พ่อหลวง



    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    ขอเชิญร่วมงาน การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

    ..
    ณ วิหารสาธยายพระไตรปิฎก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    วันจันทร์ที่ ๑๕ ตุลาคม-วันจันทร์ที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

    ณ ปีมหามงคล มีหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
    เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรแด่ในหลวง ของปวงชนชาวไทย


    หนึ่งในนั้นคือ โครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติ ที่ทุกท่าน ทุกครอบครัว สามารถปฏิบัติได้โดยง่ายที่บ้านของตัวเอง
    พุทธศาสนิกชน หลายท่านได้ปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ หลายท่านเริ่มปฏิบัติไปแล้ว แต่ยังมีหลายท่าน ที่ยังไม่เคยทำ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธ


    การสวดมนต์ก่อนนอน ออกจะเป็น(คำแก้ตัว)ที่ยุ่งยาก สำหรับหลายๆท่าน ในสังคมกรุงเทพฯ ที่บ้านอาจมีความอึกทึก ไม่มีห้องพระ ไม่เป็นส่วนตัว บรรยากาศไม่สงบพอที่จะทำใจให้มีสมาธิ เริ่มต้นสวดมนต์ได้


    แต่ถ้ารู้สึกว่า จิตใจยังร้อนรุ่ม ก็ขอเชิญที่นี่เลย...

    การสาธยายพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๔๕ เล่ม

    ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวม ๕๗ วัน

    ครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งแรกของโลก

    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเทียน บูชาพระไตรปิฎก
    งานนี้ จัดโดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เริ่มต้นมาหลายวันแล้ว หลายท่านอาจยังไม่ทราบข่าว เหมือนกับข้าพเจ้า ที่ผ่านไปแถวสนามหลวง และไม่รีรอที่จะเข้าร่วม สาธยายพระไตรปิฎก พร้อมทั้งนำภาพข่าว กิจกรรมดีๆ มาบอกกล่าว เชิญชวนชาวพุทธ ให้ไปร่วมงานกัน
    [​IMG]
    วิหารพระไตรปิฎก เย็นสบายกาย สบายใจ ด้วยเสียงธรรม​

    พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ วัดใหม่ยายแป้น บางกอกน้อย กทม. (ประธานจัดงานสาธยายประไตรปิฎก) เล่าว่า
    การสาธยายพระไตรปิฎก ในครั้งนี้ มีความพิเศษ ที่ถือเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรก ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และอาจเป็นครั้งแรกของโลกด้วย ที่มีพุทธบริษัท ๔ ครบองค์บริบูรณ์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา
    โดยเชิญ ภิกษุณีธัมมนันทา (รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา และสามเณรี ของวัตรดังกล่าวมาร่วม สาธยายพระไตรปิฎก ในครั้งนี้ด้วย
    [​IMG]
    พระสงฆ์จากวัดต่างๆ จะหมุนเวียนมาร่วม สาธยายพระไตรปิฎก ตลอด ๒๔ ชั่วโมง​
    พระไตรปิฎก (ติปิฎก หรือ เตปิฎก-บาลี) เป็นตำรา หรือ คัมภีร์สูงสุดของพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับ ไตรเวท ของศาสนาพราหมณ์ ไบเบิ้ล ของศาสนาคริสต์ อัล กุรอาน ของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
    คำว่า พระไตรปิฎก แปลว่า ๓ คัมภีร์ (พระ-ไตร-ปิฎก) พระ แสดงถึงความเคารพ หรือยกย่อง ไตร แปลว่าสาม ปิฎก แปลความหมายได้ ๒ อย่าง คือ ตำรา หรือ คัมภีร์ และ กระจาด หรือ ตะกร้า
    ความหมายโดยรวมคือ เป็นที่รวบรวม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย
    พระไตรปิฎก ประกอบด้วย ๑. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย หรือศีล ของภิกษุ ภิกษุณี /๒. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆไป / ๓. อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วนๆ หรือธรรมะที่สำคัญ
    [​IMG]
    พุทธบริษัทสามารถเข้าร่วม สาธยายพระไตรปิฎก ได้ทุกช่วงเวลา ในระหว่างงาน​
    ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

    ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ไม่ทรงแต่งตั้ง พระภิกษุรูปใด เป็นศาสดา ปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ นอกจากประทานแนวทางไว้ว่า
     
  4. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,272
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,095
    อนุโมทนาครับถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและในอนาคตไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณพร้อมเหล่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านทุกองค์ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ สาธุมหาสาธุ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาสาธุค่ะ....ถ้าบ้านอยู่ กทม.แล้วไม่มีภาระอะไร จะไปร่วมสาธยายทุกวันเลยค่ะ ^_^
     
  6. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ
    ๑. ย่อมได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง
    ๒. สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนขึ้น
    ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
    ๔. ทำความเห็นให้ตรงได้
    ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล."

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ร่วมสาธยายพระไตรปิฎก
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่าน(ทั้งมนุษย์และอมนุษย์)ที่ได้ฟังการสาธยายพระไตรปิฎก
    ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ตั้งกระทู้
    และขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่ร่วมอนุโมทนาบุญกุศลใหญ่นี้ครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     
  7. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,596
    ค่าพลัง:
    +6,346
    อนุโมทนาครับ ผมคิดว่าจะไปภายในสัปดาห์นี้ขอบคุณที่มาช่วยบอกบุญ
     
  8. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ไปมาแล้วครับ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พ.ย. นี้เอง 2550
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.9 KB
      เปิดดู:
      102
  9. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ตอนแรกมีผู้บอกว่า อยู่ทางด้านวัดพระเก่า แต่พอไปถึงที่สังเกตุดูดี ๆ จะอยู่ ฝั่ง ศาลฎีกาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.9 KB
      เปิดดู:
      85
  10. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    บนโต๊ะ สาธยายพระไตรปิฏก จะมีหนังสื พระไตรปิฎก อยู่เล่มหนึ่ง

    ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงจะมีผู้สาธยาย ตลอดเลยครับ ว่างตอนไหน ก็ไปตอนนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.8 KB
      เปิดดู:
      87
    • 004.jpg
      004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.5 KB
      เปิดดู:
      88
  11. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ภายในงานจะมีทั้งพระภิกษุ และฆราวาส ร่วมสาธยาย กันตลอด 24 ชั่วโมง

    สำหรับผม ร่วมบุญสาธยาย 2 ชั่วโมงครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 005.jpg
      005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      218.3 KB
      เปิดดู:
      98
    • 006.jpg
      006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.7 KB
      เปิดดู:
      110
  12. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมา สัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปเป็นค้างคาวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นเช่นกัน กำลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรม ก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้นหาได้รู้ความหมายใด ๆ ไม่ แต่ก็พากัน ตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้นจากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียนพระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมา

    การสาธยายท่องจำและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังจาก ถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีปฏิภาณไหวพริบ มีโวหารและวาทะที่จะทำให้ผู้อื่นรู้ตามเข้าใจตามได้โดยง่าย) ฉฬภิญญะ (ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ มีหูทิพย์ ๓ ทายใจผู้อื่นได้ ๔ ระลึกชาติได้ ๕ มีตาทิพย์ ๖ สามารถทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) และเตวิชชะ (ผู้ที่ได้วิชชา ๓ อันได้แก่ ๑ ระลึกชาติได้ ๒ รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓ มีปัญญาที่ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) ได้ช่วยกันทำสังคายนา พระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา การทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2007
  13. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาสาธุค่ะ....ยิ่งเห็นบรรยากาศยิ่งอยากไปค่ะ
     
  14. นางสาววาสนา

    นางสาววาสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +137
    สาธุ (ดีแล้ว)

    (deejai) (deejai) (deejai) อนุโมทนาด้วยค่ะ
     
  15. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    บุญสาธยายพระไตรปิฎก

    สวดพระไตรปิฎกใช้สำหรับพระอรหันต์

    ส่วน การสาธยายพระไตรปิฎกใช้กับบุคคลที่ยังไม่เป็นพระโสดาบัน ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ที่เข้าร่วมสาธยายพระไตรปิฎกจะไม่รับการถวายปัจจัย (เงิน) แต่อย่างใด เพื่อให้ผู้มาสาธยายพระไตรปิฎกได้รับบุญกุศลเต็มที่ การสาธยายพระไตรปิฎกไม่รับบริจาคเงินโดยเด็ดขาด

    ๑.เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพิมพ์พระไตรปิฎกแจกไปทั่วโลก ๒๖๐ ประเทศ สถาบันอื่นๆ และวัดในประเทศไทย ๕๐๐ วัด ในปี ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๑) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถคงความเป็นเอกราช หลุดพ้นจากอำนาจการยึดครองอธิปไตยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกในเวลานั้น เพราะอานิสงส์ของพระไตรปิฎก

    ๒.เมื่อบุคคลใดนำเอาพระไตรปิฎกมาสาธยายจะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคล คือ ได้มรรค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ ในภายหน้า

    ๓.เมื่อบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกจะช่วยปิดประตูอบายภูมิ ๔ คือ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉาน ๔.เมื่อบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกแล้วได้น้อมจิตตามพระธรรมอาจบรรลุธรรมชั้นหนึ่งชั้นใด (พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์) ได้ตามอุปนิสัยที่สร้างสมธรรมมา

    ๕.บุคคลใดที่เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อได้สาธยายพระไตรปิฎกจะกลายเป็นสัมมาทิฐิ

    ๖.เพื่อมีผลให้ประเทศชาติไม่เกิดภัยพิบัติ ทำให้ประเทศมีแต่ความร่มเย็น และมีสันติสุข

    ๗.สมัยพุทธกาลค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ฟังพระสงฆ์สาธยายธรรมทุกวัน เมื่อถึงกาล ตกมาตาย ได้ปฏิสนธิเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์

    ๘.มงคลที่๒๖ กาเลนะ ธัมมัสสะวะนังฯ หน้าที่ ๓๘๑ งูเหลือมใหญ่ ฟังพระภิกษุสาธยายพระอภิธรรม เฉพาะ สฬายตนะกถา จิตก็ปิติโสมนัสหรรษา ครั้นทำกาลกิริยาตาย ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ และปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์ ชื่อ "โสณาชีวก"

    ๙.บุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกและได้ฟังธรรม มีอานิสงส์หาประมาณมิได้ ด้วยอานิสงส์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับพุทธศาสนิกชนจะได้เจริญบุญกุศล อันเป็นภาวนากุศลส่วนสำคัญนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทย อีกทั้งยังเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่แก่ตนเอง
     
  16. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    การสาธยายพระไตรปิฎกทั้ง 20 ครั้ง

    การสาธยายพระไตรปิฎก ทั้ง 20 ครั้ง

    ๑.การสาธยายครั้งแรกเนื่องในวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เริ่มสาธยาย วันเสาร์ที่ ๖- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ๑๖๕.๔๙ ช.ม.(๙.๙๔๙นาที)พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑-๘ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๒.การสาธยายครั้งที่สองเนื่องในวันงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและจะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เริ่มสาธยายวันเสาร์ที่ ๓-๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ เริ่มเวลา ๐๘.๐๙นาที ๑๖๔.๕๙ชั่วโมง (๙,๘๙๙นาที)พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙-๑๕ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๓.การสาธยายครั้งที่สามเนื่องในวันอาสาฬหบูชาเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เริ่มสาธยายวันอาทิตย์ที่ ๒-๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙เริ่มเวลา๐๘.๐๙น. ๒๑๓ ช.ม.(๑๒,๘๑๙นาที)เล่มที่๑๖-๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงพระราชทานเทียนบูชาพระไตรปิฎก จำนวน ๓๐ เล่ม พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๒๕ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๔.การสาธยายครั้งที่สี่เนื่องในวันเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหามหาราชินี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและจะทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา เริ่มสาธยายวันศุกร์ที่ ๔-๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เริ่มเวลา๐๘.๐๙น. ๑๔๔ ช.ม.พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ -๓๑ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๕.การสาธยายครั้งที่ห้าเนื่องในวาระเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและจะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาที่ โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เริ่มสาธยายวันจันทร์ที่ ๒๘-๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เริ่มเวลา๐๘.๐๙น. ๓๖ ช.ม. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕-๒๖

    ๖. สาธยายครั้งที่หกเนื่องในวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและจะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เริ่มสาธยายวันเสาร์ที่ ๒๑-๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เริ่มเวลา๐๘.๐๙น. ๕๖ ช.ม. ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย)อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๓๕

    ๗. สาธยายครั้งที่เจ็ดเนื่องในวันเฉลิมชนพรรษา ๕ ธันวามหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เริ่มวันพุธที่ ๒๙ พฤศจิกายน- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เริ่มเวลา๐๘.๐๙น. ตลอดเล่มที่๓๔-๔๐ รวม ๘ วัน ๗ คืน ๒๗๔ ชั่วโมง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ได้พบพระไตรปิฎกที่พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่วัดบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ๑ ชุด พร้อมตู้และหนังสือครบ ๓๙ เล่ม ชุดแรกของโลก

    ๘.การสาธยายครั้งที่แปดเนื่องในวันมาฆบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชาและ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันอังคารที่ ๒๗กุมภาพันธ์-วันจันทร์ที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑-๔๓ รวม ๙๖ ชั่วโมง รวม ๕ วัน ๔ คืน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๙.การสาธยายครั้งที่เก้าเนื่องในวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชาและ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันศุกร์ที่ ๒๕-๓๑พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง พระไตรปิฎกเริ่มเล่มที่ ๔๔ -๔๕ เป็นการสาธยายครบ ๔๕ เล่มรอบที่ ๑ และเริ่มรอบที่ ๒ เล่มที่ ๑ ต่อไป ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๑๐.การสาธยายครั้งที่สิบเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชาและ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันศุกร์ที่ ๘-๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง พระไตรปิฎกเริ่มเล่มที่ ๑๐ วัดสมานราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

    ๑๑.การสาธยายครั้งที่๑๑ เพื่อเป็นพุทธบูชาและ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่วัดท่าข้าม อำเภอบางประกง จังหวัดเฉชิงเทรา

    ๑๒.การสาธยายครั้งที่สิบสอง เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เล่มที่ ๒๕ วันพุธที่ ๒๘-๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่มหาวิทยาลัยสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

    ๑๓.การสาธยายครั้งที่สิบสามเนื่องในวันอาสาฬหบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันพุธที่ ๒๕- ๓๐กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔-๙ ต่อไป ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๑๔.การสาธยายครั้งที่สิบเนื่องในวันสิงหาราชินี เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันพฤหัสบดีที่ ๗-๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง พระไตรปิฎกเริ่มเล่มที่ ๑๐-๑๕ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    ๑๕.การสาธยายครั้งที่สิบห้า เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันอังคารที่ ๒๑-๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕

    ๑๖.การสาธยายครั้งที่สิบหก เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันอังคารที่ ๒๘-๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕

    ๑๗.การสาธยายครั้งที่สิบเจ็ด เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันเสาร์ที่ ๑-๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่วัดดาวดิงสาราม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙-๑๐

    ๑๘.การสาธยายครั้งที่สิบแปด เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันศุกร์ที่ ๑๔-๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่วัดสมานราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐

    ๑๙.การสาธยายครั้งที่สิบเก้า เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ที่วัดยายร่ม เขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร ทุกวันเว้นวันจันทร์ เวลา ๑๘.๐๐ น.- ๒๑.๐๐ น.ตลอดไตรมาส เริ่มที่เล่ม ๙ เป็นต้นไป, ทีวัดนางนอง ทุกวันพระ ตลอดไตรมาส เขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร เริ่มที่เล่ม ๙ เวลา ๑๗.๐๐ น.-๑๙.๐๐ น

    ครั้งที่ 20 การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา
    ณ วิหารสาธยายพระไตรปิฎก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    วันจันทร์ที่ ๑๕ตุลาคม-วันจันทร์ที่๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
     
  17. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    การสาธยายพระไตรปิฎกในต่างประเทศ

    การสาธยายพระไตรปิฎกในต่างประเทศ

    การสาธยายพระไตรปิฎกเพื่อเป็นพุทธบูชาและ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและทรงเจริญพรชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

    ๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิเริ่มวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์- ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ รวม ๗ ประเทศที่เป็นเถรวาท รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

    ๒.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ เริ่มวันจันทร์ที่ ๑๒-๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๐ รวม ๗ ประเทศที่เป็นเถรวาท รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

    ๓.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ วัดไทยพุทธคยา วันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ฯ เป็น ประธาน รวม ๗ ประเทศที่เป็นเถรวาท รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
     
  18. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    งูเหลือมฟังธรรม

    เทพบุตรอีกองค์หนึ่งตอนเป็นเดรัจฉานสมัยสมเด็จพระมหากัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า มีงูเหลือมใหญ่ตัวหนึ่งอาศัยในป่าอันเป็นเขตท้ายวัดใหญ่ในพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น และในวัดป่าแห่งนี้มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากมายในบรรดาแห่งคณะพระภิกษุเหล่านั้นพระภิกษุบางคณะที่เล่าเรียนศึกษาในพระวินัยก็พากันทำสังวัธยายพระวินัย ขณะที่พระภิกษุที่เล่าเรียนศึกษาในพระสุตตันตปิฎก ก็พากันกระทำคณะสังวัธยายคณะพระภิกษุที่เล่าเรียนศึกษาในพระอภิธรรมปิฏกก็พากันกระทำคณะสังวัธยายพระอภิธรรม ต่างคนต่างก็ทำกิจในพระศาสนา เนื่องด้วยคันถธุระ ดังกล่าวหมดทั้ง ๓ ประการยังมีคณะพระภิกษุผู้มีปกติเห็นภายในวัฏสงสาร ก็พากันบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาคือ คำว่าวิปัสสนาหมายถึงการทำสมถะภาวนาให้ปรากฏคือมีสมาธิจิตแน่วนิ่ง คือนิ่งเป็นหนึ่งเดียวและก็น้อมพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือความไม่เที่ยงของสังขาร สรุปแล้วรวมความว่าพระภิกษุทั้งหลายในอาวาสป่านี้ต่างก็กระทำกิจของตนตามสมณะวิสัยอย่างเต็มที่ในตอนนั้นขณะคณะภิกษุพระอภิธรรมเมื่ออุตสาหะเล่าเรียนพระอภิธรรมปิฎกจนจำได้แล้ว แต่เพื่อความชำนาญก็ชวนกันเข้าไปในป่าอาวาสหาที่ได้แล้วก็ทำคณะสังวัธยายพระอภิธรรมปิฎก ณ ที่ใกล้ ๆ งูเหลือมใหญ่อาศัยอยู่โดยไม่รู้ตัวเลย ตอนนั้นงูเหลือมหลับอยู่ตามปกติวิสัยของงูที่ชอบหลับ(ใครที่หลับนานหลับยาวนี้จัดอยู่ในประเภทภูมิงู) งูหลับก็ไม่ได้มีอาการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด พระภิกษุนักอภิธรรมทั้งหลายพากันสวดสังวัธยาย มาถึงพระบาลีแจกอายตนะซึ่งมีทวงทำนองน่าฟัง ซึ่งพระภิกษุก็สวดไปเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย งูเหลือมใหญ่ก็ตื่นจากความหลับ พอตื่นขึ้นมาก็ได้ยินเสียงแห่งพระสงฆ์สังวัธยาย อายตนะวิภัง ก็เกิดความยินดีชอบใจในเสียงสวดนั้นไปตามประสา ตะแคงฟังอยู่โดยไม่รู้ว่าเสียงนั้นคืออะไร ใครเป็นผู้สวด และสวดไปทำไม ฟังเพลินจนพระภิกษุเหล่านั้นสวดจนจบก็หลับต่อ ต่อมาเมื่อพระภิกษุคณะพระอภิธรรมพากันมากระทำคณะสังวัธยาย สวดพระอภิธรรมในที่นั้นอีกงูเหลือมใหญ่ซึ่งอาศัยอยู่ในที่นั่นก็ไม่หลีกหนีหรือคิดทำร้าย ก็มีใจยินดีที่จะฟังพระธรรมอยู่ทั้ง ๆที่ตนก็ไม่เคยรู้เรื่องแต่ประการใดเลย เหตุการณ์ก็เป็นไปเช่นนี้มานานจนงูเหลือมใหญ่ที่ฟังในเสียงพระสวดนั้นฟังเป็นประจำ มันเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยก็นอนซมในที่อาศัยไปไหนมาไหนไม่ได้ และในตอนหัวเลี้ยงหัวต่ออันสำคัญของชีวิตก็ดูเหมือนจะเป็นกุศลแต่หนหลังมาดลบันดาลให้เป็นไป เพราะเมื่อถึงเวลาบ่ายพระภิกษุทั้งหลายที่เล่าเรียนพระอภิธรรมคณะเก่านั้นเองก็พากันมาสวดพระอภิธรรมอีกตามเคย และเมื่อพระท่านทั้งหลายสวดถึงพระบาลีแจกอายตนะวิภังซึ่งเป็นตอนที่งูตัวนี้ชอบฟังมันก็ฟื้นขึ้นจากพิษไข้ และก็ตะแคงหูฟังเหมือนเดิม พอสวดพระบาลีนั้นจบลง งูเหลือมใหญ่ก็ขาดใจตายพอดี ด้วยกรรมอันเป็นฝ่ายกุศลก็ทำหน้าที่ชักนำไปถือปฏิสนธิในสุคติภูมิเป็นเทพบุตรบนชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่ช้านานมาถึงพุทธกาล หมายถึงสมัยของพระบรมครูพระศาสดาของเราพระองค์นี้ พวกสัตว์ทั้งหลายพากันตื่นตัวและก็ได้รับอมตะธรรมพอสมควร เทพบุตรซึ่งเป็นอดีตงูเหลือมหลังวัดนั้นก็จุติจากเทวโลกลงมาเกิดในตระกูลพราหมณ์ซึ่งมีทรัพย์มากมาย เมื่อเจริญวัยขึ้นก็เกิดเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัยและเห็นอานิสงส์ในการบรรพชาจึงออกจากบ้านเรือนไปสู่ป่า ทรงพรตบวชเป็นดาบสภายนอกพระบวรพุทธศาสนาตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรตามประเพณีแห่งดาบสมีนามว่า ชรสานาชีมกะ ซึ่งปรากฏว่าดาบสชรสานาชีมกะเกียรติประวัติดีเด่น มีปัญญาลึกล้ำ พวกชีวกทั้งหลายต่างก็พากันยกย่องนับถือเป็นอาจารย์ ต่อมาหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขรรค์ปรินิพพานไปแล้ว ตนเองเพิ่งจะได้มีโอกาสฟังธรรมจากสำนักแห่งองค์อรหันต์พระอัตถะเถระเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และก็บำเพ็ญธรรมวิปัสนาภาวนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคลในที่สุด คือจากเดรัจฉานภูมิขึ้นมาเป็นเทวดา ลงมาและได้บวชและบรรลุอรหัตผลภายในชาติเดียวนั้นเอง
     
  19. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอร่วมอนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ไปร่วมสาธยายพระไตรปิฎก และผู้ที่จะไปร่วมสาธยายทุกท่านด้วย นะคะ ขอให้บุญจงส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของปวงชนชาวไทย ทรงพระเกษมสำราญสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและอยู่เป็นมิ่งขวัญของประชาชาวไทยตราบนานเท่านาน สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  20. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...