ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
  2. Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ไม่ทราบว่าไปถึงโรงพบาบาลแล้วพี่ๆจะไปเจอกันที่ไหนหรอครับ
     
  3. pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วันอาทิตย์นี้ท่านใดต้องการร่วมทำบุญถวายอาหารและบริจาคซื้อเลือด ยา เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่โรงพยาบาลสงฆ์ เจอกัน 7.00น ที่บริเวณโรงอาหารของโรงพยาบาลสงฆ์ครับ หันหน้าเข้าโรงพยาบาลโรงอาหารอยู่ขวามือสุดครับ

    ตั้งใจกันให้ดีครับ ครั้งนี้บุญมากเพราะได้บริจาคโรงพยาบาลสงฆ์ และได้บริจาคเครื่องดูดเสมหะให้กับ โรงพยาบาลของหลวงปู่แฟ็บ พระอริยะเจ้าที่หาได้ยากในปัจจุบัน เป็นเนื้อนาบุญมากจริง และท่านใดสนใจในพระเครื่องพระพิมพ์หลังจากนั้นจะมีให้แจกให้ทำบุญกันตามสมควรครับ

     
  4. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ก่อนอื่นต้องขอรายงานตัวก่อน พอดีเพิ่งให้น้องขับรถจากระยองมาส่ง อาบน้ำเสร็จเลยต้องขอเข้ามาดูในกระทู้สักหน่อย หายไปนานจนเกือบลืม เพราะต้องประชุมทุกวันครั้งหนึ่งก็สองถึงสามชั่วโมง ว่างจากประชุมต้องมาเซ็นต์เอกสารอีก เหนื่อยจริงๆ แต่ยังไงก็ตาม พรุ่งนี้จะรีบไปโอนเงินบริจาคให้ รพ.ที่อยู่ต่างจังหวัดทั้งหมด 6 รพ.ดังนี้

    1.รพ. มหาราช จ.เชียงใหม่
    2.รพ. ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น(ผ่านกองทุนหลวงปู่เทสก์)
    3.รพ. 50 พรรษาฯ จ.อุบลฯ
    4.รพ.พระยุพราช (ปัว) จ.น่าน (อาจจะรอเช็คข้อมูลอีกเล็กน้อย)
    5.รพ.แม่สอด จ.ตาก
    6.รพ.สงขลา จ.สงขลา

    โดยจะทำการโอนเงินทั้งทางธนาณัติ และทางธนาคาร รพ.ละ 5,000.-บาท ก็คงยุ่งน่าดู เพราะแต่ละ รพ.ก็มีบัญชีต่างธนาคารกัน และแถมยังมีไปรษณีย์อีกที่หนึ่งคือ รพ.มหาราชฯ เพราะ รพ.มีบัญชีกับธนาคาร ธกส.เพียงแห่งเดียว โดยที่ธนาคารไม่มีช่องการโอนให้ ธกส.ด้วยจึงแปลกกว่าที่อื่นๆ

    สำหรับงานบุญ ก็ยังเป็นกำหนดการเดิม ตามที่คุณโสระแจ้งไว้แล้ว สำหรับนักเรียนดูพระ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม เตรียมสตางค์ไปได้เลย เพราะงานนี้มีของฝากจากต่างจังหวัดมาให้บูชาเพื่อนำไว้ใช้หลายอย่างครับ เช่นกริช และพระขรรค์(มีหลายเล่มหลายแบบ) พระพิมพ์เนื้อเมฆสิทธิ์ที่มีส่วนผสมของเงิน ทองแดง ทองคำ ดูด้วยตาเปล่าจากองค์ที่หักได้เลยครับมีอยู่ราวๆ 15 องค์ ครับ ส่วนราคายังไม่กำหนด แต่คิดว่าเป็นหลักร้อยนิดๆ หักต้นทุนไม่กี่บาท ที่เหลือทำบุญให้หมด เสร็จแล้วก็จะนำเครื่องดูดเสมหะที่จะถวายให้หลวงปู่แฟ้บจำนวน 2 เครื่องเอามาให้อธิษฐานกัน ส่วนจีวรหรือผ้าอาบ ที่ขอท่านให้อธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษให้พวกเราไว้นั้น ผมยังไม่ได้รับจากลูกศิษย์ท่าน จึงยังไม่สามารถตัดแบ่งแจกได้ คงต้องรอไปคราวหน้า หากได้รับแล้วจะนำมาแจกให้แน่นอนสำหรับทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งหน้าเช่นกัน ส่วนคราวนี้ใครที่มีเด็กน้อยไปด้วย ผมให้หลวงปู่ใหญ่พิมพ์เล็กไว้ใช้กันฟรีๆ คนละองค์ครับ (มีอยู๋ ราวๆ 20 องค์ / ได้รับบริจาคมาจากคุณชาญณรงค์ที่ ระยอง)


    ส่วนเรื่องจำนวนพระสงฆ์ที่จะถวายสังฆทานอาหารนั้น จะแจ้งให้ทราบสุดท้ายในวันเสาร์นี้


    สำหรับนักเรียนดูพระ คราวนี้อาจารย์ปุ๊ เตรียมนำหลวงปู่ใหญ่ พิมพ์ต้นตระกูลไปเรียนกัน ผมเองก็จะนำต้นตระกูลผงสุพรรณไปให้ส่องด้วยเหมือนกัน ใครมีของดีก็ลองเอาไปดู คราวนี้น้องตาดีไปด้วย จะขอให้น้องตาดีช่วยตรวจให้ว่าพลังของท่านที่อธิษฐานจิตไว้ให้เป็นไปในทางใด


    ก็คงแจ้งให้ทราบแค่นี้ก่อนเดี๋ยววันเสาร์ค่อยมาอัพเดท ในเรื่องนี้กันอีกครั้งหนึ่งครับ



    พันวฤทธิ์
    6/11/51
     
  5. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อ่านดูแล้ว น่าสนใจดี..มีทั้งเทคนิค ทั้งความรู้ ไม่อ่านก็รู้เท่าเดิม อ่านมากก็รู้เพิ่มขึ้น เอางัยดี ..อ่านเหอะน่า..


    บุญแห่งการภาวนา <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>
    <!--MsgIDBody=0-->บุ ญ แ ห่ ง ก า ร ภ า ว น า
    ศิยะ ณัญฐสวามี

    ภาวนา คือการทำให้เกิดขึ้น
    ภาวนา นี้จะเชื่อมโยงกับ ตบะ
    ตบะ แปลว่า การทำให้ตั้งมั่น

    ตัวภาวนาเองคือทำให้เกิดขึ้น
    ทำอะไรให้เกิดขึ้น ทำสมาธิทำปัญญาให้เกิดขึ้น
    เราจะได้ยินอยู่ ๒ คำก็คือ

    สมถะภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา
    ทั้งสองอันนี้มีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน
    คือ ต้องการให้เกิดสมาธิและปัญญา
    สมาธิและปัญญามันจะเชื่อมต่อกัน
    เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งรวมกัน

    ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ที่ ถู ก ต้ อ ง

    สติเป็นพื้นฐานของสมาธิ
    สมาธิเป็นพื้นฐานของปัญญา
    สติสัมปชัญญะ คือทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้ปรากฏ
    เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งรวมกัน
    สติสัมปชัญญะจะทำให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา โดยธรรมชาติ

    สติสัมปชัญญะจำให้กลับมารู้จักตนเอง
    ส่วนสติปัญญาจะทำให้เข้าใจความเป็นจริง
    สมาธิกับปัญญานั้น มันเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน
    หมายความว่า ถ้าเรามีสมาธิมาก
    ปัญญาของเราก็จะยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล
    พอเรามีปัญญามากเราก็จะยิ่งเข้าสมาธิได้ลึกซึ้ง

    สมถะกับวิปัสสนาคือสองสิ่งที่จะต้องไปด้วยกัน
    เหมือนคนละด้านของเหรียญเดียวกัน
    คือด้านหัวกับด้านก้อย

    ในขณะที่เราหงายด้านหัวขึ้น
    ก็ต้องมีด้านก้อยรองรับ
    ขณะที่หงายด้านก้อยขึ้น
    ก็ต้องมีด้านหัวรองรับ
    หมายความว่าในขณะที่เราเจริญวิปัสสนาให้ได้ผล
    เราจะต้องมีสมถะรองรับเสมอ

    ถ้าจะเปรียบอีกอย่างได้อย่างนี้

    วิ ธี ก า ร ป ฏิ บั ติ ท า ง จิ ต ใ จ

    สมถะเหมือนการเดินหน้าเข้า คือ ดำดิ่งจิตไปเลย
    ทำให้จิตสงบดิ่งมั่งมั่นลง
    ไปสู่ความสงบ ความเวิ้งว้าง ความบริสุทธิ์
    เรียกว่าเดินหน้าเข้า
    ส่วนวิปัสสนาเหมือนถอยหลังเข้ามองข้างนอกก่อน เช่น

    มองโลกเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางโลก
    มองสังคมเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางสังคม
    มองร่างกายเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางร่างกาย

    มองความคิดก็ไม่เที่ยง ปล่อยวางความคิด
    มองความรู้สึก ความรู้สึกก็ไม่เที่ยง ปล่อยวางความรู้สึก

    เมื่อปล่อยไปเรื่อยๆ
    มันก็เข้าไปสู่ความสงบลึกล้ำเหมือนกัน
    พอเข้าไปสู่ความสงบล้ำลึกก็ได้ปัญญาญาณอันยิ่งใหญ่เช่นกัน

    ฉะนั้นสมถะเหมือนเดินหน้าเข้า
    วิปัสสนาเหมือนเดินถอยหลังเข้า
    แต่มันเข้าไปสู่ที่เดียวกัน
    คือ มันเข้าไปสู่ความสงบ
    ความสะอาดหมดจด

    พอมันสะอาดหมดจดมันจึงเป็นบุญ
    เพราะบุญคือการชำระให้บริสุทธิ์

    ฉะนั้นสมถะกับวิปัสสนาต้องไปด้วยกันและอาศัยกันและกันเสมอ
    เพราะข้างหน้าข้างหลังเป็นอยู่ด้วยกันตลอด

    เพราะมันคือสองด้านของสิ่งเดียวกัน

    คือมันไปด้วยกัน
    เพียงแต่จะเอาด้านไหนไปด้วยกัน
    ด้านไหนเป็นตัวตามเท่านั้น
    แต่มันต้องติดตามกันไปตลอดไม่อาจพรากจากกัน
    ถ้าพรากจากกันเมื่อไรก็หลุดจากกรรมฐาน

    เมื่อภาวนา คือการทำให้เกิดขึ้น
    ทีนี้รู้อะไรที่เราต้องทำให้เกิดขึ้น
    พระพุทธเจ้าบอกว่า เมื่อเราภาวนาแล้ว
    เราสามารถทำสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นได้ คือ

    ๑. ความสุข : ความสุขเกิดขึ้นแน่ๆ จากการภาวนา
    ๒. ปัญญา : ปัญญาเกิดขึ้นแน่ๆ จากการภาวนา
    ๓. อำนาจ : มันจะมีพลังอำนาจเกิดขึ้นจากการภาวนา
    ๔. ความบริสุทธิ์ : ถ้าเราภาวนาไปเรื่อยๆ จะเต็มรอบโดยลำดับขึ้น

    ทั้งหมดนี้ คือขบวนการแห่งบุญอันเกิดจากการภาวนา

    คิดดู ความสุขใครไม่ต้องการ
    ปัญญาใครไม่ต้องการ อำนาจในตนเองใครไม่ต้องการ
    ความบริสุทธิ์ใครไม่ต้องการ
    ทั้งหมดนี้ คือสุดยอดของคุณค่าแห่งชีวิตเลยทีเดียว
    เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการภาวนา

    วิ ธี ก า ร ภ า ว น า

    ทำอย่างไรล่ะ เราจึงจะภาวนาให้ได้ผล
    และภาวนาวิธีไหนให้ดีที่สุด
    ถ้าภาวนาหลายๆ วิธีตีกันไหม
    อันนี้เป็นคำถามที่ได้ยินได้ฟังมามาก

    เคยตั้งใจไว้ว่า จะฝึกภาวนาทุกวิธีที่มีสอนอยู่ในโลกนี้

    ก็ไปฝึกมาเกือบหมดเกือบทุกศาสนา
    ไปฝึกจากหลายๆ อาจารย์
    กับฤาษีหลายท่าน
    กับพระหลายท่าน
    ฝึกตามคัมภีร์หลายคัมภีร์ในหลายศาสนา
    และตามเทคนิคในศาสตร์สมัยใหม่ต่างๆ มามากมาย

    จึงได้พบความจริงว่า

    เทคนิคต่างๆของการฝึกจิต
    มันก็เหมือนอาหารต่างๆ แต่ละประเภท

    พอเรากินหลายๆ อย่างไป
    ถามว่าอาหารมันตีกันไหม

    มันก็ไม่ได้ตีกัน
    มันกลับไปผสานสร้างคุณสมบัติของเราให้เข้มแข็ง
    แข็งแกร่งและพร้อมรับทุกสภาพ
    เพราะในเทคนิคการฝึกแต่ละวิธีมันให้ผลไม่เหมือนกัน

    สารแต่ละประเภทมันทำงานไม่เหมือนกัน
    การฝึกจิตก็เช่นกัน
    เทคนิคการฝึกแต่ละวิธีทำงานก็ไม่เหมือนกัน เช่น

    กสิณ การรวมศูนย์ทำให้เกิดพลังอำนาจ

    อัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    เป็นการกระจายออกจากศูนย์กลาง
    เพื่อทำให้จิตยิ่งใหญ่ ทำให้มีความสุข

    อนัตตาญาณ ทำให้มันมองอะไรทะลุปรุโป่ง ทำให้ปัญญาไร้ขอบเขต

    การพิจารณาอสุภะ สิ่งไม่สวยงามทั้งหลาย
    มันจะตรงข้าม เมตตา

    ถ้าเรา เมตตา มากๆ มันจะไปรักคนง่าย
    พอรักคนง่ายมันจะหลงอีกแล้ว
    เมตตา มากก็อาจะหลงได้อีก เพราะมันรักคนง่าย
    แล้วคนก็มารักเรามากเหลือเกิน เพราะ เมตตา มันฉ่ำ
    ใครอยู่ใกล้ก็สบายใจ
    จึงควรเจริญ อสุภะ ควบคู่ไปด้วย
    อสุภะ จะเป็นตัวล้างฉันทะทำให้มีเมตตาในอุเบกขาได้

    แต่ละเทคนิคมันทำหน้าที่กันคนละหน้าที่

    ดังนั้น จิตใจที่สมบูรณ์มันจะต้องมีกรรมฐานทุกอย่าง
    จะต้องมีวิธีการฝึกทุกๆ วิธี
    และพร้อมที่จะใช้เทคนิคที่เหมาะสมเสมอในทุกขณะ
    ในทุกๆปรากฏการณ์แห่งชีวิต
    แล้วมันจะได้จิตใจที่สมบูรณ์

    ถ้าไปฝึกอย่างเดียว
    ฉันจะต้องไปฝึก กสิณ อย่างเดียว
    อย่างอื่นฉันไม่สนก็ได้
    ก็อาจจะเก่งมากในเรื่อง กสิณแต่คุณสมบัติอื่นๆจะไม่ค่อยได้

    จะเก่งในการรวมศูนย์
    พวกนี้จะไม่ชอบพูด
    พวก กสิณ จะบรรยายธรรมไม่ค่อยเก่ง จะชอบอยู่นิ่งๆ
    มีอะไรมาไหวนิดนึงมาสั่นคลอน เสียสมาธิ

    แต่ถ้า เมตตา อย่างเดียวก็เพลิดเพลินกับมหาชน
    มันเพลิดเพลินกับหมู่คณะไปหมด
    เสียศูนย์ง่ายอีกเช่นกัน

    มันจะต้องมีทุกอย่างผสมผสานกัน

    ดังนั้น จากประสบการณ์แห่งชีวิต
    รับรองว่าสมาธิไม่ตีกัน
    แต่ที่ตีกันนั้น คือ ทิฏฐิมานะ อันเกิดจากการยึดถือ

    สมาธิ คือสภาวะจิตใจ
    วิธีการฝึกหลายวิธีก็เพื่อตะล่อมใจให้เข้าสมาธิได้ทุกด้าน
    เพียงแต่เราจะต้องรู้จักการประกอบให้ถูกส่วน
    และการใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

    และแม้เราจะฝึกมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจนชำนาญ
    เวลาไปฝึกวิธีอื่นจะง่ายเลย

    เช่น ถ้าเราฝึก อานาปนสติ มาแล้วจนได้ฌาณ
    เพียงฝึก กสิณ ทีเดียวก็ได้สมาธิเลย
    หรือฝึก กสิณ เข้าสมาธิแล้ว
    ฝึก อสุภะ ทีเดียวเลยก็เช่นกัน

    ถ้าได้สมาธิโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
    แล้วไปฝึกวิธีอื่นยิ่งง่ายใหญ่เลย

    ดังนั้น จงเรียนรู้....จงฝึกฝน
    อาจารย์ท่านใดสอน ฝึกไปให้หมด
    วิธีไหนเหมาะกับภาวะใด
    เอามาใช้ให้ถูกภาวะ
    แล้วท่านจะได้ประโยชน์ยิ่งใหญ่จากการภาวนา



    ที่มา
     
  6. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 15 พฤษภาคม 2551 21:08:57 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗๓ | ประทานอุปสมบท พระอุรุเวลกัสสป
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗๓ : ประทานอุปสมบท พระอุรุเวลกัสสป

    ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร
    แล้วประทานอุปสมบทแก่เหล่าชฎิล

    เมื่อชฎิลทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ ในการที่พระพุทธองค์ทรงห้ามสมุทรได้เช่นนั้น จึงยอมอ่อนน้อมและฟังคำสอนของพระองค์ แล้วขอบรรพชา แม้พระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลกัสสปโดยอเนกประการถึง 2 เดือน อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฏฐิแรงกล้า จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังชฎิลให้สลดจิตคิดสังเวชตนเอง

    ดังนั้น จึงมีพระวาจาตรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า
     
  7. narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    นำข้อความดี ๆ กลับมาให้อ่านอีกครั้งครับ ;aa22
     
  8. Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ไม่ทราบว่าถวายอาหารเอาอาหารแห้งอาหารกระป๋องมาถวายด้วยได้ไหมครับ เพราะพวกข้าวพวกแกงผมหิ้วไปอาจจะไม่สะดวกหรือกระแทกหรือไม่ก็อาหารที่จะถวายเย็นพอดี
     
  9. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ขอเป็นนมกล่องยี่ห้อ "ดีน่า" ที่ผสมงาดำ ทั้งหมดดีกว่าครับ เดี๋ยวจะพาไปกราบท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ด้วยครับ ถือว่าได้ทำสังฆทานและได้กราบอริยะสงฆ์ที่สำเร็จกิจแล้วด้วย มาใหม่ๆ ต้องให้ได้บุญใหญ่ไว้เพื่อเป็นกำลังบารมีในภายหน้าก่อนครับ
     
  10. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  11. narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ประสบการณ์11วันในแดนพุทธภูมิ ... by โสระ

    สถานที่ประสูติ

    เสาหินสมัยพระเจ้าอโศก

    สภาพปัจจุบันของสระโบกขรณี

    ภาพเวียงวังในที่เคยรุ่งเรืองอดีตของกรุงกบิลพัสดุ์

    บรรยากาศวัดไทยในสวนลุมพินี

    บรรยากาศวัดจีนในสวนลุมพินี

    บรรยากาศวัดของชาวธิเบต


    หลังจากพาชมสวนลุมพินีวันและกรุงกบิลพัสดุ์ในตอน ประสูติ และวัดนานาชาติในประเทศเนปาล จากนี้เราจะมารับทราบเรื่องราวต่อไปคือการ ตรัสรู้

    เจ้าชายเสด็จออกผนวช

    บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม


    สถานที่ตรัสรู้

    บรรยากาศบริเวณบ้านนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวมธุปายาส ข้าวมื้อแรกก่อนตรัสรู้




    <!-- / message --><!-- sig -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097


    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 5 พฤศจิกายน 2551 16:35:24 น.-->ผ้าของคนข้างบ้าน


    <!--Main-->มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง อาศัยอยู่บ้านหลังหนึ่ง ทุกๆเช้า ภรรยาจะแอบมองดูเพื่อนบ้าน จากหน้าต่างชั้นบนบ้านและวิ่งกลับมารายงานให้สามีฟัง
     
  13. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อ่านแล้วจับเอาสักข้อหนึ่งพอสอนใจ ดีกว่าอ่านทุกข้อ แล้วก็ผ่านเลยไป...... ไม่จำ



    <CENTER>การฝึกใจ : พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)




    บทนำ






    จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต</CENTER><DD>ชีวิตคนในสมัยของท่านอาจารย์มั่นและท่านอาจารย์เสาร์นั้นสบายกว่าในสมัยนี้มาก ไม่มีความวุ่นวายมากเหมือนอย่างทุกวันนี้ สมัยโน้นพระไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับพิธีรีตรองต่างๆเหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ ท่านอาศัยอยู่ตามป่า ไม่ได้อยู่เป็นที่หรอก ธุดงค์ไปโน่น ธุดงค์ไปนี่เรื่อยไป ท่านใช้เวลาของท่านปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่ <DD>สมัยโน้นพระท่านไม่ได้มีข้าวของฟุ่มเฟือยมากมายอย่างที่มีกันทุกวันนี้หรอก เพราะมันยังไม่มีอะไรมากอย่างเดี๋ยวนี้ กระบอกน้ำก็ทำเอา กระโถนก็ทำเอา ทำเอาจากไม้ไผ่นั่นแหละ



    <CENTER>ความสันโดษของพระป่า




    </CENTER><DD><CENTER>
    </CENTER>
    <DD>ชาวบ้านก็นานๆจึงจะมาหาสักที ความจริงพระท่านก็ไม่ได้ต้องการอะไร ท่านสันโดษกับสิ่งที่ท่านมี ท่านอยู่ไป ปฏิบัติภาวนาไป หายใจเป็นกรรมฐานอยู่นั่นแหละ <DD>พระท่านก็ได้รับความลำบากมากอยู่เหมือนกัน ในการที่อยู่ตามป่าตามเขาอย่างนั้น ถ้าองค์ใดเป็นไข้ป่า ไข้มาลาเรีย ไปถามหาขอยา อาจารย์ก็จะบอกว่า "ไม่ต้องฉันยาหรอก เร่งปฏิบัติภาวนาเข้าเถอะ" <DD>ความจริงสมัยนั้นก็ไม่มีหยูกยามากอย่างสมัยนี้ มีแต่สมุนไพรรากไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่า พระต้องอยู่อย่างอดอย่างทนเหลือหลาย ในสมัยนั้นเจ็บไข้เล็กๆน้อยๆ ท่านก็ปล่อยมันไป เดี๋ยวนี้สิเจ็บป่วยอะไรนิดหน่อยก็วิ่งไปโรงพยาบาลกันแล้ว <DD>บางทีต้องเดินบิณฑบาตตั้งห้ากิโล พอฟ้าสางก็ต้องรีบออกจากวัดแล้ว กว่าจะกลับก็โน่นสิบโมงสิบเอ็ดโมงโน่น แล้วก็ไม่ใช่บิณฑบาตได้อะไรมากมาย บางทีก็ได้ข่าวเหนียวสักก้อน เกลือสักหน่อย พริกสักนิด เท่านั้นเอง ได้อะไรมาฉันกับข้าวหรือไม่ก็ช่าง ท่านไม่คิด เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง ไม่มีองค์ใดกล้าบ่นหิวหรือเพลีย ท่านไม่บ่น เฝ้าแต่ระมัดระวังตน <DD>ท่านปฏิบัติอยู่ในป่าอย่างอดทน อันตรายก็มีรอบด้าน สัตว์ดุร้ายก็มีอยู่หลายในป่านั้น แต่ท่านก็มีความอดความทนเป็นเลิศ เพราะสิ่งแวดล้อมสมัยนั้นบังคับให้เป็นอย่างนั้น



    <CENTER>การภาวนาของท่านนักปฏิบัติสมัยนี้

    </CENTER>
    <DD>มาสมัยนี้สิ่งแวดล้อมบังคับเราไปในทางตรงข้ามกับสมัยโน้น ไปไหนเราก็เดินไป ต่อมานั่งเกวียนแล้วก็นั่งรถยนต์ แต่ความทะยานอยากมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ใช่รถปรับอากาศ ก็จะไม่ยอมนั่ง ดูจะไปเอาไม่ได้เทียวแหละ ถ้ารถนั้นไม่ปรับกอากาศ คุณธรรมในเรื่องความอดทนมันค่อยอ่อนลงๆ การปฎิบัติภาวนาก็ย่อหย่อนลงไปมาก เดี๋ยวนี้เราจึงเห็นนักปฎิบัติภาวนาชอบทำตามความเห็น ความต้องการของตัวเอง <DD>เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงเรื่องเก่าๆแต่ครั้งก่อน คนเดี๋ยวนี้ฟังเหมือนว่าเป็นนิทานนิยาย ฟังไปเฉยๆแต่ไม่เข้าใจเลยแหละ เพราะมันเข้าไม่ถึง พระภิกษุที่บวชในสมัยก่อนนั้นจะต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์อย่างน้อยห้าปี นี่เป็นระเบียบที่ถือกันมา และต้องพยายามหลีกเลี่ยงการพูดคุย อย่าปล่อยตัวเที่ยวพูดคุยมากเกินไป อย่าอ่านหนังสือ แต่ให้อ่านใจของตัวเอง



    <CENTER>พิจารณาอ่านใจและดูใจตัวเอง

    </CENTER>
    <DD>ดูวัดหนองป่าพงเป็นตัวอย่าง ทุกวันนี้มีพวกจบจากมหาวิทยาลัยมาบวชกันมาก ต้องคอยห้ามไม่ให้เอาเวลาไปอ่านหนังสือธรรมะ เพราะคนพวกนี้ชอบอ่านหนังสือ แล้วก็ได้อ่านหนังสือมามากแล้ว แต่โอกาสที่จะอ่านใจของตัวเองน่ะหายากมาก ฉะนั้นระหว่างที่มาบวชสามเดือนนี้ ก็ต้องขอให้ปิดหนังสือ ปิดตำรับตำราต่างๆให้หมดในระหว่างที่บวชนี้น่ะ เป็นโอกาสวิเศษแล้วที่จะได้อ่านใจของตัวเอง <DD>การตามดูใจของตัวเองนี้ น่าสนใจมาก ใจที่ยังไม่ได้ฝึก มันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยเคยชินที่ยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้อบรม มันเต้นคึกคักไปตามเรื่องตามราว ตามความคะนอง เพราะมันยังไม่เคยถูกฝึก ดังนั้นจงฝึกใจของตัวเอง การปฏิบัติภาวนาในทางพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติเรื่องใจ ฝึกจิตฝึกใจของตัว ฝึกอบรมจิตของตัวเองนี่แหละ เรื่องนี้สำคัญมาก การฝึกใจเป็นหลักสำคัญ พุทธศาสนาเป็นศาสนาของใจ มันมีเท่านี้ ผู้ที่ฝึกปฏิบัติทางจิต คือผู้ปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนา



    <CENTER>การฝึกใจ

    </CENTER>
    <DD>ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง ยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั้นด้วย ใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้ ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้ว มันก็อาละวาด เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนา ด้วยสมาธิ นี้แหละที่เราเรียกว่า "การฝึกใจ"



    <CENTER>พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม

    </CENTER>
    <DD>ในเบื้องต้นของการฝึกปฏิบัติธรรม จะต้องมีศีลเป็นพื้นฐานหรือรากฐาน ศีลนี้เป็นสิ่งอบรมกาย วาจา ซึ่งบางทีก็จะเกิดการวุ่นวายขึ้นในใจเหมือนกัน เมื่อเราพยายามจะบังคับใจไม่ให้ทำตามความอยาก <DD>กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย นิสัยความเคยชินอย่างโลกๆ ลดมันลง อย่ายอมตามความอยาก อย่ายอมตามความคิดของตน หยุดเป็นทาสมันเสีย พยายามต่อสู้เอาชนะอวิชชาให้ได้ด้วยการบังคับตัวเองเสมอ นี้เรียกว่าศีล <DD>เมื่อพยายามบังคับจิตของตัวเองนั้น จิตมันก็จะดิ้นรนต่อสู้ มันจะรู้สึกถูกจำกัด ถูกข่มขี่ เมื่อมันไม่ได้ทำตามที่มันอยาก มันก็จะกระวนกระวายดิ้นรน ทีนี้เห็นทุกข์ชัดละ



    <CENTER>เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา

    </CENTER>
    <DD>"ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์ที่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท <DD>กิเสลสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อน ว่าทุกข์คืออะไร <DD>ตอนแรกเราจะต้องฝึกใจของเราอย่างนี้ เราอาจยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร ทำไป ทำไปก่อน ฉะนั้นเมื่อครูอาจารย์บอกให้ทำอย่างใดก็ทำตามไปก่อน แล้วก็จะค่อยมีความอดทนอดกลั้นขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรให้อดทนอดกลั้นไว้ก่อน เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง อย่างเช่นเมื่อเริ่มฝึกนั่งสมาธิ เราก็ต้องการความสงบทีเดีวแต่ก็จะไม่ได้ความสงบ เพราะมันไม่เคยทำสมาธิมาก่อน ใจก็บอกว่า "จะนั่งอย่างนี้แหละจนกว่าจะได้ความสงบ"



    <CENTER>อย่าทอดทิ้งจิต

    </CENTER>
    <DD>แต่พอความสงบไม่เกิดก็เป็นทุกข์ ก็เลยลุกขึ้น วิ่งหนีเลย การปฏิบัติอย่างนี้ไม่เป็น "การพัฒนาจิต" แต่มันเป็นการ "ทอดทิ้งจิต" ไม่ควรปล่อยใจไปตามอารมณ์ ควรที่จะฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ขี้เกียจก็ช่าง ขยันก็ช่าง ให้ปฏิบัติมันไปเรื่อยๆ ลองคิดดูซิ ทำอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือ การปล่อยใจตามอารมณ์นั้นจะไม่มีวันถึงธรรมของพระพุทธเจ้า <DD>เมื่อเราปฏิบัติธรรม ไม่ว่าอารมณ์ใดจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน แต่ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ การตามใจตัวเองไม่ใช่แนวทางของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติธรรมตามความคิดความเห็นของเรา เราจะไม่มีวันรู้แจ้งว่าอันใดผิด อันใดถูก จะไม่มีวันรู้จักใจของตัวเราเอง และไม่มีวันรู้จักตัวเอง ดังนั้นถ้าปฏิบัติธรรมตามแนวทางของตนเองแล้วย่อมเป็นการเสียเวลามากที่สุด แต่การปฎิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเป็นหนทางตรงที่สุด



    <CENTER>การพัฒนาจิต

    </CENTER>
    <DD>ขอให้จำไว้ว่า ถึงจะขี้เกียจก็ให้พยายามปฏิบัติไป ขยันก็ให้ปฏิบัติไป ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่ง นี่จึงจะเรียกว่า "การพัฒนาจิต" ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนเองแล้ว ก็จะเกิดความคิดความสงสัยไปมากมาย มันจะให้คิดไปว่า "เราไม่มีบุญ เราไม่มีวาสนา ปฏิบัติธรรมก็นานหนักหนาแล้ว ยังไม่รู้ เรายังไม่เห็นธรรมเลยสักที" การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็น "การพัฒนาจิต" แต่เป็น "การพัฒนาความหายนะของจิต" <DD>ถ้าเมื่อใดที่ปฏิบัติธรรมไปแล้ว มีความรู้สึกอย่างนี้ว่ายังไม่รู้อะไร ยังไม่เห็นอะไร ยังไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้างเลย นี่ก็เพราะที่ปฏิบัติมามันผิด ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า



    <CENTER>สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง

    </CENTER>
    <DD>พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น <DD>การปฏิบัติทางจิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น ตรงกันข้ามกับหนทางของโลกอย่างสิ้นเชิง คำสั่งสอนของพระองค์มาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสอาสวะทั้งหลาย นี่คือแนวทางของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์ <DD>เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้ พอเริ่มปฏิบัติ ทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน



    <CENTER>ธรรมชาติของจิตฝึกได้เสมอ

    </CENTER>
    <DD>ธรรมชาติของใจนี้มันฝึกกันได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้ เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า ถ้าปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติของมัน เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้ จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้ หรือทำอะไรอย่างอื่นที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้ แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการไม้ไปสร้างบ้าน เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้ และตัดต้นในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย <DD>การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้ ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึกเหมือนไม้ในป่านี่แหละ มาฝึกมัน จนมันละเอียดประณีตขึ้น รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น ทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมัน เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ เราก็เปลี่ยนมันได้ ทิ้งมันก็ได้ ปล่อยมันไปก็ได้ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป



    <CENTER>จิตยึดมั่นมันก็สับสนวุ่นวาย

    </CENTER>
    <DD>ธรรมชาติของใจเรามันก็อย่างนั้น เมื่อใดที่เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่นถือมั่นก็จะเกิดความวุ่นวายสับสน เดี๋ยวมันก็จะวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่ พอมันวุ่นวายสับสนมากๆเข้า เราก็คิดว่าคงจะฝึกอบรมมันไม่ได้แล้ว แล้วก็เป็นทุกข์ นี่ก็เพราะไม่เข้าใจว่ามันต้องเป็นของมันอย่างนั้นเอง ความคิด ความรู้สึก มันจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่อย่างนี้ แม้เราจะพยายามฝึกปฏิบัติ พยายามให้มันสงบ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เมื่อเราติดตามพิจารณาดูธรรมชาติของใจอยู่บ่อยๆ ก็จะค่อยๆเข้าใจว่าธรรมชาติของใจมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้



    <CENTER>ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

    </CENTER>
    <DD>ถ้าเราเห็นอันนี้ชัด เราก็จะทิ้งความคิดความรู้สึกอย่างนั้นได้ ทีนี้ก็ไม่ต้องคิดนั่นคิดนี่อีก คอยแต่บอกตัวเองไว้อย่างเดียวว่า "มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง" พอเข้าใจได้ชัด เห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว ทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆได้ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไป มันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่มันหมดอำนาจเสียแล้ว <DD>เปรียบก็เหมือนกับเด็กที่ชอบซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญ จนเราต้องดุเอา ตีเอา แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนั้นเอง พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อนรำคาญของเราก็หมดไป มันไปได้อย่างไร ก็เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราเปลี่ยน และเรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวาง จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฎฐิ <DD>ถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ยังเป็นมิจฉาทิฎฐิอยู่ แม้จะไปอยู่ในถ้ำลึกมืดสักเท่าใด ใจมันก็ยังยุ่งเหยิงอยู่ ใจจะสงบได้ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิเท่านั้น ทีนี้ก็หมดปัญหาจะต้องแก้ เพราะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น นี่มันเป็นอย่างนี้ เราไม่ชอบมัน เราปล่อยวางมัน เมื่อใดที่มีความรู้สึกเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น เราปล่อยวางทันที เพราะรู้แล้วว่าความรู้สึกอย่างนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะกวนเรา แม้บางทีเราอาจจะคิดอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงความรู้สึกนั้นเป็นของมันอย่างนั้นเอง <DD>ถ้าเราปล่อยวางมันเสีย รูปก็เป็นสักแต่ว่ารูป เสียก็สักแต่ว่าเสียง กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น รสก็สักแต่ว่ารส โผฎฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์ เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำท่า ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกัน มันก็ไม่ปนกัน เพราะธรรมชาติมันต่างกัน เหมือนกับคนที่ฉลาดก็ต่างกับคนโง่ พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" เท่านั้น



    <CENTER>ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด

    </CENTER>
    <DD>พระองค์ทรงปล่อยวางมันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ทรงเข้าพระทัยแล้วว่า ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด พระองค์ไม่ทรงเอามาปนกัน ใจก็สักว่าใจ ความคิดความรู้สึกก็สักว่าความคิดความรู้สึก ปล่อยให้มันเป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" รูปก็สักว่ารูป เสียงก็สักว่าเสียง ความคิดก็สักว่าความคิด จะต้องไปยึดมั่นถือมั่นทำไม ถ้าคิดได้รู้สึกได้อย่างนี้เราก็จะแยกกันได้ ความคิดความรู้สึก (อารมณ์) อยู่ทางหนึ่ง ใจก็อยู่ทางหนึ่ง เหมือนกับน้ำมันกับน้ำท่า อยู่ในขวดเดียวกัน แต่มันแยกกันอยู่ <DD>พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระองค์ ก็อยู่ร่วมกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้ธรรม ท่านไม่ได้เพียงอยู่ร่วมเท่านั้น แต่ท่านยังสอนคนเหล่านั้น ทั้งคนฉลาด คนโง่ ให้รู้จักวิธีที่จะศึกษาธรรมปฏิบัติและรู้แจ้งในธรรม ท่านสอนได้เพราะท่านได้ปฏิบัติมาเอง ท่านรู้ว่ามันเป็นเรื่องของใจเท่านั้น เหมือนอย่างที่ได้พูดมานี้แหละ <DD>ดังนั้นการปฏิบัติภาวนานี้อย่าไปสงสัยมันเลย เราหนีจากบ้านมาบวช ไม่ใช่เพื่อหนีมาอยู่กับความหลงหรืออยู่กับความขลาดความกลัว แต่หนีมาเพื่อฝึกอบรมตัวเอง เพื่อเป็นนายตัวเอง ชนะตัวเอง ถ้าเราเข้าใจได้อย่างนี้ เราก็จะปฏิบัติธรรมได้ ธรรมะจะแจ่มชัดขึ้นในใจของเรา



    <CENTER>ธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

    </CENTER>
    <DD>ผู้ที่เข้าใจธรรมะก็เข้าใจตัวเอง ใครเข้าใจตัวเองก็เข้าใจธรรมะ ทุกวันนี้ก็เหลือแต่เปลือกของธรรมะเท่านั้น ความเป็นจริงแล้วธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำเป็นที่จะต้องหนีไปไหน ถ้าจะหนีก็ให้หนีด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา หนีด้วยความชำนิชำนาญ อย่าหนีด้วยความโง่ ถ้าเราต้องการความสงบก็ให้สงบด้วยฉลาด ด้วยปัญญาเท่านั้นพอ <DD>เมื่อใดที่เราเห็นธรรมะ นั่นก็เป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว กิเลสก็สักแต่ว่ากิเลส ใจก็สักแต่ว่าใจ เมื่อใดที่เราทิ้งได้ ปล่อยวางได้แยกได้ เมื่อนั้นมันก็เป็นเพียงสักว่า เป็นเพียงอย่างนี้อย่างนั้นสำหรับเราเท่านั้นเอง เมื่อเราเห็นถูกแล้ว ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่ง ความเป็นอิสระตลอดเวลา <DD>พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายท่านอย่ายึดมั่นในธรรม" ธรรมะคืออะไร คือทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ ความรักความเกลียดก็เป็นธรรมะ ความสุขความทุกข์ก็เป็นธรรมะ ความชอบความไม่ชอบก็เป็นธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็เป็นธรรมะ



    <CENTER>ปฏิบัติเพื่อละ อย่าปฏิบัติเพื่อสะสม

    </CENTER>
    <DD>เมื่อเราปฏิบัติธรรมเราเข้าใจอันนี้ เราก็ปล่อยวางได้ ดังนั้นก็ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเรา ในจิตเรา ในร่างกายของเรา มีแต่ความแปรเปลี่ยนไปทั้งนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น พระองค์ทรงสอนพระสาวกของพระองค์ให้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อถอนไม่ให้ปฏิบัติเพื่อสะสม <DD>ถ้าเราทำตามคำสอนของพระองค์ เราก็ถูกเท่านั้นแหละ เราอยู่ในทางที่ถูกแล้ว แต่บางทีก็ยังมีความวุ่นวายเหมือนกัน ไม่ใช่คำสอนของพระองค์ทำให้วุ่นวาย กิเลสของเรานั้นแหละที่มันทำให้วุ่นวาย มันมาบังคับความเข้าใจอันถูกต้องเสีย ก็เลยทำให้เราวุ่นวาย <DD>ความจริงการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีอะไรลำบาก ไม่มีอะไรยุ่งยาก การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์เพราะทางของพระองค์คือ "ปล่อยวาง" ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง <DD>จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้ "ปล่อยวาง" อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้งความถูกต้องก็ทิ้ง คำว่าทิ้งหรือปล่อยวางไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติ แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ "การละ" "การปล่อยวาง" นั่นแหละ



    <CENTER>จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต

    </CENTER>
    <DD>พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละ ดังนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง เอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น ให้มันเป็นใจอิสระ ทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไป อย่าไปยึดไว้ หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้ว ก็ปล่อยมันไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรือนาคต <DD>คำสอนที่เข้าใจผิดกันมาก แล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุด ตามความคิดเห็นของตนก็คือเรื่อง "การปล่อยวาง" หรือ "การทำงานด้วยจิตว่าง" นี่แหละ การพูดอย่างนี้เรียกว่าพูด "ภาษาธรรม" เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้น ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบละซิ <DD>ความจริงมันมีความหมายอย่างนี้ อุปมาเหมือนว่าเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้ แต่แบกอยู่อย่างนั้นแหละ พอมีใครบอกว่า ให้โยนมันทิ้งเสียซี ก็มาคิดอีกแหละว่า "เอ...ถ้าเราโยนทิ้งไปแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ" ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง



    <CENTER>ประโยชน์ของการปล่อยวาง

    </CENTER>
    <DD>ถ้าจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละ เพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที จนแบกไม่ไหวแล้วก็เลยปล่อยมันตกลง ตอนที่ปล่อยให้มันตกลงนี้แหละก็จะเกิดความรู้เรื่องการปล่อยวางขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกเบาสบาย แล้วก็รู้ได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้นเราไม่รู้หรอก ว่าการปล่อยวางมีประโยชน์เพียงใด <DD>ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวาง คนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก ก็จะหลับหูหลับตาแบกก้อนหินก้อนนั้นยังไม่ยอมปล่อย จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละ ถึงจะยอมปล่อยแล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตนเอง ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้ ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้ แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า ผลของการแบกนั้นเป็นอย่างไร เราก็ปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น ความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละ คือตัวอย่างที่แสดงถึงการรู้จักตัวเอง <DD>ความยึดมั่นถือมั่นในตัวของเราก็เหมือนก้อนหินหนักก้อนนั้น พอคิดว่าจะปล่อย "ตัวเรา" ก็เกิดความกลัวว่าปล่อยไปแล้วก็จะไม่มีอะไรเหลือ เหมือนกับที่ไม่ยอมปล่อยก้อนหินนั้น แต่ในที่สุดเมื่อปล่อยมันไปได้ เราก็จะรู้สึกเองถึงความเบาสบายในการที่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น



    <CENTER>การฝึกใจต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น

    </CENTER>
    <DD>ในการฝึกใจนี้ เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งสรรเสริญ ทั้งนินทา ความต้องการแต่สรรเสริญ และไม่ต้องการนินทางนั้น เป็นวิถีทางของโลก แต่แนวทางของพระพุทธเจ้าให้รับสรรเสริญตามเหตุตามปัจจัยของมัน และก็ให้รับนินทาตามเหตุตามปัจจัยของมันเหมือนกัน เหมือนอย่างกับการเลี้ยงเด็ก บางทีถ้าเราไม่ดุเด้กตลอดเวลา มันก็ดีเหมือนกัน ผู้ใหญ่บางคนดุมากเกินไป ผู้ใหญ่ที่ฉลาดย่อมรู้จักว่าเมื่อใดควรดุ เมื่อใดควรชม <DD>ใจของเราก็เหมือนกัน ใช้ปัญญาเรียนรู้จักใจ ใช้ความฉลาดรักษาใจไว้ แล้วเราก็จะเป็นคนฉลาดที่รู้จักฝึกใจ เมื่อฝึกบ่อยๆมันก็จะสามารถกำจัดทุกข์ได้ ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจนี่เอง มันทำให้ใจสับสน มืดมัว มันเกิดขึ้นที่นี่ มันก็ตายที่นี่



    <CENTER>ถ้ายึดมั่นเข้าเราก็ถูกกัด

    </CENTER>
    <DD>เรื่องของใจมันเป็นอย่างนี้ บางทีก็คิดดี บางทีก็คิดชั่ว ใจมันหลอกลวง เป็นมายา จงอย่าไว้ใจมัน แต่จงมองเข้าไปที่ใจ มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนั้นของมัน ยอมรับมันทั้งนั้น ทั้งใจดีใจชั่ว เพราะมันเป็นของมันอย่างนั้น ถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราไปยึดมันเข้า เราก็จะถูกมันกัดเอา แล้วเราก็เป็นทุกข์ ถ้าใจเราเป็นสัมมาทิฎฐิแล้วก็จะมีแต่ความสงบ จะเป็นสมาธิ จะมีความฉลาด ไม่ว่าจะนั่งหรือจะนอน ก็จะมีแต่ความสงบ ไม่ว่าจะไปไหน ทำอะไรก็จะมีแต่ความสงบ <DD>วันนี้ท่าน (ภิกษุชาวตะวันตก) ได้พาลูกศิษย์มาฟังธรรม ท่านอาจจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ผมได้พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้ท่านอาจจะเข้าใจได้ง่าย ท่านจะคิดว่าถูกหรือไม่ก็ตาม ก็ขอให้ท่านลองนำไปพิจารณาดู ผมในฐานะอาจารย์องค์หนึ่ง ก็อยู่ในฐานะคล้ายๆกัน ผมเองก็อยากฟังธรรมเหมือนกัน เพราะไม่ว่าผมจะไปที่ไหน ก็ต้องไปแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง แต่ตัวเองไม่มีโอกาสฟังเลย คราวนี้ก็ดูท่านพอใจในการฟังธรรมอยู่ เวลาผ่านไปเร็ว เมื่อท่านนั่งฟังอย่างเงียบๆ เพราะท่านกำลังกระหายธรรมะ ท่านจึงต้องการฟัง <DD>เมื่อก่อนนี้ การแสดงธรรมก็เป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่ง แต่ต่อมาความเพลิดเพลินก็ค่อยหายไป รู้สึกเหนื่อยและเบื่อ ก็กลับอยากเป็นผู้ฟังบ้าง เพราะเมื่อฟังธรรมจากครูอาจารย์นั้น มันเข้าใจง่ายและมีกำลังใจ แต่เมื่อเราแก่ขึ้น มีความหิวกระหายในธรรมะ รสชาติของมันก็ยิ่งเอร็ดอร่อยมากขึ้น <DD>การเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นตัวอย่างให้แก่พระภิกษุอื่นๆ เป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ เป็นตัวอย่างแก่ทุกคน ฉะนั้นอย่าลืมตนเองแล้วอย่าคิดถึงตนเอง ถ้าความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้น รีบกำจัดมันเสีย ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเอง



    <CENTER>ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

    </CENTER>
    <DD>วิธีปฏิบัติธรรมมีมากมายเป็นล้านๆวิธี พูดเรื่องการภาวนาไม่มีที่จบ สิ่งที่จะทำให้เกิดความสงสัยมีมากมายหลายอย่าง แต่ให้กวาดมันออกไปเรื่อยๆ แล้วจะไม่เหลือความสงสัย เมื่อเรามีความเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ ไม่ว่าจะนั่งหรือจะเดิน ก็มีแต่ควาสงบ ความสบาย ไม่ว่าจะปฏิบัติภาวนาที่ไหน ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อย่าถือว่าจะปฏิบัติภาวนาแต่เฉพาะขณะนั่งหรือเดินเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างทุกหนทุกแห่งเป็นการปฏิบัติได้ทั้งนั้น <DD>ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ให้มีสติอยู่ ให้เห็นการเกิดดับของกายและใจ แต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย ให้ปล่อยวางมันไป ความรักเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป มันมาจากไหนก็ให้มันกลับไปที่นั่น ความโลภเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป ตามมันไป ตามดูว่ามันอยู่ที่ไหน แล้วตามไปส่งมันให้ถึงที่ อย่าเก็บมันไว้สักอย่าง



    <CENTER>ฝึกใจได้ใจจักปราศจากกิเลส

    </CENTER>
    <DD>ถ้าท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ ท่านก็จะเหมือนกับบ้านว่าง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นี่คือใจว่าง เป็นใจที่ว่างและอิสระจากกิเลส ความชั่วทั้งหลาย เราเรียกว่าใจว่าง แต่ไม่ใช่ว่างเหมือนว่าไม่มีอะไร มันว่างจากกิเลส แต่เต็มไปด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ทำด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา จะมีแต่ปัญญาเท่านั้น <DD>นี่เป็นคำสอนที่ผมขอมอบให้ในวันนี้ ถ้าการฟังธรรมทำให้ใจท่านสงบ ก็ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องจดจำอะไร บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ถ้าเราทำใจให้สงบ ฟังแล้วก็ไม่ให้ผ่านไป แต่นำพิจารณาอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ เราก็เหมือนเครื่องบันทึกเสียง เมื่อเรา "เปิด" มัน มันก็อยู่ตรงนั้น อย่ากลัวว่าจะไม่มีอะไร เมื่อใดที่ท่านเปิดเครื่องบันทึกเสียงของท่าน ทุกอย่างก็อยู่ในนั้น <DD>ขอมอบธรรมะนี้ต่อพระภิกษุทุกรุปและต่อทุกคน บางท่านอาจจะรู้ภาษาไทยเพียงเล็กน้อย ก็ไม่เป็นไร ให้ท่านเรียนภาษาธรรมเถิด เท่านี้ก็ดีเพียงพอแล้ว
    </DD>
     
  14. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ขอไปสว่าง


    ตัดสินใจเขียนตอนที่3 เพราะ รู้สึกว่ายังเล่าไม่ครบถ้วน และแน่ใจว่าพวกเราคงไม่สามารถ "นิพพาน" ได้ในชาตินี้ เป็นแน่ อิอิ ชาติหน้าคงรอพวกเราทุกคนอยู่ และคิดว่าทุกคนคงอยากจะเกิดใหม่ในภพของ"มนุษย์" เพราะเป็นภพเดียวที่จะได้สะสมบุญและไปนิพพานได้



    แล้วไหนๆจะได้เกิดเป็นคนอีก เราคงอยากจะเกิดมา สวย ผิวพรรณดี เกิดในครอบครัวมีฐานะหน่อย จะได้ไม่ต้องลำบากนัก เกิดมาเป็นคนแข็งแรง ปัญญาดี ฯลฯ เราเลือกได้ !!!


    ท่านบอกว่า การจะเกิดมาเป็นคนอีกในชาติหน้า เราต้องรักษาศีล5ให้ครบถ้วนอย่าให้บกพร่อง ถ้าคนไหนขาดศีลข้อ1คือชอบเบียดเบียนสัตว์ ก็จะเกิดมาขึ้โรค ถ้าฆ่าสัตว์บ่อยๆ ก็จะเกิดมาอายุสั้น และเป็นโรคร้ายเช่นมะเร็ง


    ถ้าอยากมีผิวพรรณหน้าตาสวยงามก็อย่ามักโกรธ อยากปากฟันสวยก็ให้พูดจาไพเราะ อยากจะเกิดในชาติตระกูลสูง ก็อย่าเย่อหยิ่ง ถือตัว ให้ทำตัวอ่อนน้อมถ่อมตน


    อยากจะเกิดมาร่ำรวยก็ต้อง มั่นทำบุญบริจาคมากๆ ยิ่งให้จะยิ่งได้เยอะ เหมือนเราเอาเงินไปฝากแบงค์ในชาตินี้ แล้วชาติหน้าเงินก็จะรอให้เราใช้ในชาติต่อไปเลย


    ถ้าอยากจะเกิดมามีปัญญาดี ก็ต้องให้ความรู้แก่คนอื่น ช่วยเหลือคนให้มีความรู้ และรักษาศีลข้อ5 ให้ดี อย่าดื่มของมึนเมา หรือใช้ยาเสพย์ติด ถ้าเราตายไปขณะที่เรากำลังเมาๆๆ ท่านว่าตายไปต้องไปเกิดเป็นสัตว์ ไม่ก็เกิดมาปัญญาอ่อน


    ถ้าเกิดมาแล้วอยากให้มีชีวิตรักที่ดี ได้คู่ครองที่ดี และไม่กลายเป็นเพศที่3 ก็ให้รักษาศีลข้อ กาเม ให้ดีๆ อย่าผิดลูกเมียหรือสามีของชาวบ้าน คนสมัยนี้เกิดมาเป็นชาย อยู่ๆ ไปกลายเป็นหญิง นับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในชาติก่อนผิดศีล ข้อกาเม



    อาจารย์วรากร เล่าว่า คนที่ชอบไปทำบุญกับรถฉิ่งฉับทัวร์ คือพอขึ้นรถ ก็ดื่มเหล้าไปตลอดทาง พอถึงวัดก็เดินลงไปแล้วควักเงินบริจาค แล้วขึ้นรถ เมาต่อ จนถึงอีกวัด ก็เดินเมาแอ่น ลงไปบริจาคเงินอีก ทำยังงี้ไปเรือยๆ จนครบ 9วัด


    เขาได้บุญ!! แต่เขาก็ทำบาปไปในตัว สุดท้ายเมื่อตาย ก็ไปเกิดเป็นสัตว์!!แต่เป็นสัตว์ที่มีฐานะ!! เคยดูข่าวต่างประเทศ มีสุนัขตัวหนึ่ง เจ้าของเป็นมหาเศรษฐี เจ้าของตาย ยกสมบัติทั้งหมดให้เจ้าหมาตัวนี้ เจ้าหมาตัวนี้เลยมีปราสาทอยู่!! พร้อมมีเงินเป็นพันล้าน!! ก็ด้วยผลบุญที่ทำมาแบบนี้ อิอิ


    ชาติหน้าของเราจะเป็น"ผล"ของสิ่งที่เราทำในชาตินี้ เราเลือกเกิดได้!! ของเก่าที่ผ่านมาเราทำอะไรไม่ได้ แต่ขณะนี้เป็น สิทธิ์ของเราแล้ว.....

    ย่าชอบเล่า


    ศีลเป็นสะพาน บุญและทานเป็นเสบียง
    "นิพพาน" คือเป้าหมาย !!
    มา!! ไปด้วยกัน!!


     
  15. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ปรัชญาจากสายรุ้ง

    <!-- Main --><CENTER>

    หลังสายฝนพรำเมฆหมอกมัวหม่น
    ก็มักจะมีแสงแดดอ่อน ๆ ทอประกาย
    ตามด้วย รุ้ ง กิ น น้ำ แสนสวย...
    ที่พาดโค้งงามระยับอยู่เบื้องหน้า

    ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง

    รุ้งสายนั้นปรากฎตัวเพียงครู่ของความประทับใจ
    แต่นั่นคือปรัชญาน่ารัก ๆจากธรรมชาติ
    ซึ่งจะบอกกับผู้คนที่กำลังเป็นทุกข์และสิ้นหวังว่า
    หลังจากฝันร้ายที่เรากำลังเผชิญหน้า ก็มักจะมีสิ่งดี ๆ ตามมาด้วยเสมอ
    เช่นเดียวกับ...สายฝน
    ที่ไม่ได้มาพร้อมกับความมืดมนเปียกปอนอย่างเดียว
    แต่จะนำมาซึ่งเ รี ย ว รุ้ ง แ ส น ส ว ย
    ที่ทอตัวอยู่เหนือเวิ้งฟ้าด้วยเช่นกัน


    เมื่อใดที่รุ้งแห่งความหวังปรากฎ
    นั่นคือสัญญาณว่า...ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน
    เพราะตัวสายรุ้งเองนั้น...กว่าที่มันจะทอตัวเรียงราย
    จ น เ ป็ น สี สั น ส ด ใ ส
    ก็ยังต้องผ่านความอึมครึมของฝนฟ้ามาก่อน...มิใช่หรือ

    ว่าแต่...เรา กล้า พอไหม...
    ที่จะแหงนหน้ามองฟ้าทะมึนหลังม่านเมฆ
    เราอดทนรอคอยเพื่อที่จะได้เห็นรุ้งงามหลังฝนซา
    ...ได้ไหม



    ............................................................
    </CENTER><CENTER> </CENTER>
     
  16. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097



    น้ำตาลูกสาว


    อาม่า(ยาย)เล่าว่า ที่เมืองจีน(ในสมัยโน้นเมื่อ 100 กว่าปีก่อน) คนจีนจะไม่ชอบลูกสาว พอมีลูกสาวก็จะฆ่าทิ้ง บางบ้านถ้าเจอความอดยากเพราะภัยแล้ง ก็จะเอาลูกสาวไปทิ้ง เพื่อจะได้ไม่เปลืองข้าว อาม่าเล่าเรือง เด็กคนหนึ่ง อายุสัก4-5ขวบ พ่อแม่จนมากเลยเอาลูกสาวพาไปปล่อยทิ้งไว้ในป่า แล้วก็เดินหนีจากมา (เหมือนคนที่เขาเอาหมาไปปล่อยทิ้งเวลาเลี้ยงไม่ไหว)


    หนูน้อยก็ ร้องไห้แล้วพูดว่า
     
  17. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 7 พฤศจิกายน 2551 10:51:06 น.-->
    พุทโธเป็นอย่างไร



    <!-- Main -->

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า พุทโธเป็นอย่างไร [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด[/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif] ความรู้ที่เราเรียนกับตำรับตำราหรือจากครูบาอาจารย์[/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif] อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]จิตของเราสงบเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆเข้า [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ[/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif] แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง... เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย [/FONT]​

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif](ถอดจากเทป)[/FONT]​


    [FONT=arial,helvetica,sans-serif] [/FONT]



    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]จากหนังสือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้ได้ดำเนินการโอนเงินไปยัง รพ. ภูมิภาค เรียบร้อยแล้ว 5 รพ. ยกเว้น รพ.ที่ อ.ปัว จ.น่าน ที่เพิ่งได้รับข้อมูลการโอนเงินทางไปรษณีย์ พร้อมรูปภาพประกอบ ก็ลองดูเอาเองครับ สภาพของ รพ.สมเด็จพระยุพราช ประจำอำเภอ และพระสงฆ์ที่อาพาธ ซึ่งมีทั้งพระฝั่งไทยและฝั่งลาวที่มารักษา



    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER></CENTER></CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
  19. hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    ร่วมทำบุญด้วยค่ะ (ได้โอนเงินแล้ว 500.00 บาท เมื่อเวลา 16.59 น.)

    โมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยค่ะ
     
  20. พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

แชร์หน้านี้