ขอเชิญร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ วัดหัวสะแกตก พร้อมรับวัตถุมงคล

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 เมษายน 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ข้อควรรู้เรื่องกรรม ตอน ผู้เชื่อกรรมย่อมไม่ทำกรรมชั่วเลย : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    [​IMG]
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต
    อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


    เศษบาปที่ที่ได้ทำมาแต่ก่อนนู่นน่ะมันยังไม่หมดในตำราที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้
    เช่น ตายแล้วไปตกนรกอย่างนี้ พ้นจากนรกมาแล้วบาปนั้นยังไม่หมด
    มันก็มาเกิดเป็นเปรต หรือเป็นอสุรกาย หรือเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    แล้วแต่เศษบาปนั้นมันจะมีมากมีน้อยเท่าไร
    มันก็มาตกแต่งให้เป็นสัตว์เหล่านี้แหละ
    ก็เรียกว่าได้รับทุกข์เบาลงกว่าสัตว์นรกนั้น อีกเพราะว่าบาปกรรมนั้นมันเบาลงแล้ว

    เอ้า พ้นจากเปรตหรือว่าพ้นจากสัตว์เดรัจฉานนั้นเศษบาปนั้นก็ยังไม่หมด
    มาเกิดเป็นคน บาปกรรมอันนั้นก็มาตกแต่งร่างกายให้ไม่สมประกอบ
    ให้ได้รับทุกข์ทนทรมานอยู่กับอวัยวะร่างกายอันไม่บริบูรณ์นั้นอีกทีหนึ่ง
    เรื่องบาปมันเป็นอย่างนี้น่ะ มันให้ผลไปโดยลำดับ ๆ ไป ให้น้อยลง น้อยลง
    ไม่ใช่ว่ามันหมดไปทีเดียวนะบาปให้ผลน่ะ ต้องสังเกตดูให้ดี


    นักปราชญ์ทั้งหลายท่านพิจารณาเห็นเหตุผลดังกล่าวมานี้น่ะก็จึงไม่ทำบาป
    แม้จะทุกข์จนหนโลกอย่างไรก็ตาม..ก็จะไม่ทำบาป

    อันนี้เป็น "ความรู้ความฉลาดของนักปราชญ์ทั้งหลาย" ผู้ที่เกิดมาในโลกนี้
    ซึ่งตรงกันข้ามกับ "ความรู้ของคนพาล" ความรู้ของคนพาลนั้น
    มันรู้ผิดไปจากความเป็นจริง มันเชื่อโดยไม่มีเหตุผล
    เชื่อตาม ๆ กันไปเฉย ๆ ที่เข้าตำราว่า คบคนเช่นใดก็เป็นเช่นคนนั้น
    ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตนไม่มีปัญญานั่นแหละ เอาผู้อื่นเป็นชีวิตจิตใจ
    ถ้าได้คบคนพาล คนพาลเขาชักชวนไปทำความชั่วก็เข้าใจว่าเป็นความดีก็ทำไปตามเขา

    ถ้าผู้ใดได้คบนักปราชญ์บัณฑิต นักปราชญ์ท่านชักชวนทำคุณงามความดี
    อันผู้มีนิสัยชั่วติดตัวมามากแล้วนี่มันจะทำตามคำชักชวนของนักปราชญ์บัณฑิตไม่ค่อยได้หรอก
    ก็ต้องอ้างว่า ไม่มีความสามารถ ทำไม่ได้
    นั่นแหละยอมเอาดื้อ ๆ อย่างนั้นเลย
    แต่ถ้าผู้มีบุญวาสนาติดตัวมาบ้างอย่างนี้ ก็พอมีความสามารถ
    ทำตามคำแนะนำของนักปราชญ์ได้อยู่บ้าง แต่ทำไม่ได้เต็มที่ ก็พอเป็นอุปนิสัยปัจจัยไป

    นี้ล่ะชีวิตของคนเรามัน.."กรรมมันเป็นเครื่องตกแต่ง" มันจึงมีอาการเป็นไปแตกต่างกัน
    เราเห็นกันด้วยตาหนังนี่แหละ ไม่จำเป็นต้องไปรู้ด้วยญาณอะไรหรอกอันนี้น่ะ
    เมื่อเป็นเช่นนี้น่ะ ผู้รู้ผู้เห็นผู้เชื่อกรรม ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลาย
    และเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมที่ตัวกระทำลงไปอย่างนี้แล้ว

    นั่นล่ะผู้นั้นก็จะไม่ทำกรรมชั่ว จะขยันทำแต่กรรมอันดี
     
  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ข้อควรรู้เรื่องกรรม ตอน ความแตกต่างระหว่าง “ผลของทาน” และ “อานิสงส์ของทาน”

    ความแตกต่างระหว่าง “ผลของทาน” และ “อานิสงส์ของทาน”
    อาจารย์ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม
    [​IMG]
    ข้าพเจ้าอยากจะสะกิดใจเพิ่มเติม
    เพื่อชี้ให้ทุกท่านผู้ใฝ่ธรรมและผู้มีจิตศรัทธา
    ได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง “ผลของทาน”
    และ “อานิสงส์ของทาน”

    ซึ่งมีกล่าวไว้ใน ทานสูตร อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต
    โดยพอสรุปใจความได้ดังนี้

    ให้ทานเพราะ

    ๑. อยากได้รับผลแห่งทานที่ได้ให้ไป

    เช่น ไปเกิดในที่ดีดีๆ ได้รับผลตอบแทนในทางใดทางหนึ่ง
    จากทานที่ได้ให้ไป เป็นต้น

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - ไม่มาก

    ๒. เห็นว่าให้ทานแล้วจะเป็นการสั่งสมบุญกุศลประจำตัวเรา

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - ไม่มาก

    ๓. เห็นว่าพ่อแม่ปู่ยาตายายเคยทำกันมา ก็เลยทำตาม

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - ไม่มาก

    ๔. เห็นว่าต้องการส่งเสริมและช่วยเหลือสมณพราหมณ์
    ผู้ยังชีพจากทานที่มีบุคคลอื่นยื่นให้

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - ไม่มาก

    ๕. ต้องการเดินตามแบบอย่างของผู้มีน้ำใจในการให้ทาน

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - ไม่มาก

    ๖. เพราะหวังอยากให้ใจมีความสุข เกิด ปิติ
    ความทุกข์จะได้ไม่ย่างกรายเข้ามา

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - ไม่มาก

    ๗. เพราะเห็นว่าให้ทานจะเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจ
    ให้หมดจดจากกิเลสเพื่อก้าวสู่ความเป็นพระอริยะบุคคล

    • ผลของทาน - มาก
    • อานิสงส์ - มาก

    ท่านจะเห็นได้ว่าการให้ทาน การสร้างบุญ สร้างกุศลใดก็ตาม
    แม้ผลของทานและบุญกุศลจะมีมาก

    เช่น การได้เกิดในสวรรค์ชั้นต่างๆ
    การได้เกิดเป็นเศรษฐีในโลกมนุษย์ ฯลฯ
    แต่ก็ไม่อาจขัดกิเลส ๓ กองใหญ่ คือ โลภ โกรธ หลง
    ให้สูญสิ้นไปจากจิตใจได้ จริงๆ

    แม้คุณภาพของจิตหรือใจเราจะเหนือกว่าสามัญชนอื่นๆ
    แต่ไม่อาจตัดวัฏฏะ
    (การเวียนว่ายตายเกิดนั้นลงๆ จนถึงจุดสูงสุด
    คือการไม่กลับมาเกิดอีกได้)

    เพราะพุทธองค์ตรัสว่า

    การเกิดเป็นการนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งปวงอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

    เพราะเมื่อมีเกิด ก็ต้องตามมาด้วยความแก่
    ความเจ็บ (โรคภัยไข้เจ็บ) ความตาย
    ความโศกเศร้า ความร่ำไห้รำพัน ความโทมนัส
    ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
    ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
    ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สิ่งนั้น ฯลฯ
    ล้วนนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งสิ้น

    ฉะนั้น ถ้าอยากจะดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
    ก็จะต้องไม่มาเกิดอีก
    ซึ่งจะทำได้ก็ต้องตัดกิเลส ๓ กองใหญ่
    อันได้แก่ โลภ (รวมราคะด้วย) โกรธ หลง
    ให้หมดสิ้นไปให้เหลือเชื้อหลงเหลือ

    ดังนั้นผู้ที่ยังหวังผลจากทานที่ได้ให้ไปหรือจากบุญกุศลที่ได้ทำ
    ย่อมถือว่า ยังมีความอยากอยู่
    แม้ผลของทานหรือบุญกุศลจะมีมาก

    เพราะคำว่า “อานิสงส์” มุ่งเน้นให้จิตหมดจด
    จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
    ไม่ให้หลงเหลือ เพื่อหลีกหนีการเกิดนั่นเอง
    ข้าพเจ้าจึงขอฝากข้อคิดนี้ให้กับผู้อ่านทุกๆ ท่าน
    เพื่อที่ทุกๆท่านจะได้ยกระดับจิตเหนือกว่า
    ผู้ให้หรือผู้บำเพ็ญธรรมทั่วไป

    อันเป็นเป้าหมายโดยตรงในการปฏิบัติธรรม
    เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏฏะอย่างแท้จริง........

    การสร้างบารมีนั้นจะต้องไม่หวังผลตอบแทนใดใดทั้งสิ้น
    จึงจะถือว่าเป็นการบารมีที่แท้จริง

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม สาธุ

    สาธุ สาธุ สาธุ

    คัดลอกบางตอนมามา : มาทำความเข้าใจ “ผลของทาน” และ “อานิสงส์ของทาน” ต่างกันอย่างไร โดย อ.ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม ในข่าวสารกัลยาณธรรม ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๐, หน้า ๒-๓
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    เชิญร่วมบุญครับ
     
  6. รักษ์พระ

    รักษ์พระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ผมได้รับพระ ผ้ายันต์และกระดาษยันต์ที่จัดส่งมาให้วันนี้เรียบร้อยแล้วครับ สวยงามมากครับ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงนะครับ
     
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    g=bPij;,[6P8iy[เชิญร่วมบุญครับ
     
  8. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  9. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  10. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  11. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    ข้อควรรู้เรื่องกรรม ตอน ชีวิตสัตว์ทั้งหลายเนื่องอยู่ด้วยบุญ-บาป : หลวงปู่เหรียญ
    ทุกคนนะถ้ารู้ว่าตนน่ะยังบรรลุนิพพานยังไม่ได้
    ก็พยายามสร้างสวรรค์ ให้เกิดขึ้นในใจของตนไปก่อน อย่าไปสร้างนรกขึ้นมา
    เมื่อสร้างสวรรค์ให้เกิดขึ้นแล้ว นรกมันก็ดับไป นั่น..อย่างนี้แหละ

    ทีนี้เมื่อจิตใจนี้มีคุณธรรมของเทวดาเป็นเครื่องอยู่แล้วมันก็มีสติมีปัญญา
    พิจารณาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้ก็เห็นแจ้งประจักษ์ขึ้นมาอย่างนี้แหละ
    เมื่อปัญญามันแก่กล้าขึ้นแล้ว อ้าวมันก็จะมองเห็นเลยบัดนี้ว่า
    แม้รูปร่างของเทวดาเทวบุตรอยู่บนสวรรค์นั้นถึงแม้จะสวยจะงามจะละเอียดประณีตอย่างไร
    มันก็ไม่เที่ยงอยู่ดีๆนี่ล่ะ เพราะเหตุปัจจัยที่ไปแต่งให้เป็นเทวบุตรเทวดานั้น
    ก็คือบุญกุศล อันเป็นส่วน “โลกียธรรม” นี้เองแหละ บุญกุศลเหล่านี้มันก็มีขอบเขตจำกัด
    เมื่อมันไปแต่งให้แล้วมันก็อำนวยความสุขความสบายให้ไป
    ตามกำลังของบุญนั้นจะพึงอำนวยให้ไปได้ ไปๆ บุญเหล่านั้นมันหมดลงเป็นทีนี้

    ชีวิตของมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี ท่านอุปมาไว้เหมือนตะเกียงและโคมไฟ
    อาศัยน้ำมันกับไส้เมื่อจุดไฟเข้าไฟก็ลุกโพลง เมื่อนานๆ ไปไส้มันก็สั้นลงไป
    น้ำมันก็หมดลงไป ในที่สุดเมื่อน้ำมันหมด ไฟก็ดับวูบลงทันที
    อันนี้ฉันใดชีวิตสัตว์ทั้งหลายก็เนื่องอยู่ด้วยบุญกรรมบาปกรรม
    เมื่อบุญนั้นหมดลงเมื่อใด ชีวิตนี้ก็ดับลงเมื่อนั้น

    ดับแต่ “ร่างกาย” นะ “จิตนี้เมื่อมีอุปาทานอยู่มันก็ไม่ดับ”
    เมื่อมีอุปาทานอยู่มันก็เป็นตัวกรรมบัดนี้ เอ้า..ตัวกรรมนั้นก็นำไปอีก
    นำไปเกิดในภพอื่นอีกต่อไป เออ..มันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ
     
  12. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  13. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  15. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  16. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  17. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  18. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
  19. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ข้อควรรู้เรื่องกรรม ตอน มีวิถีทางใดจะชดใช้กรรมจากการทำแท้งได้บ้าง
    [​IMG]
    วิสัชนาธรรมโดย หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

    :b45: ปุจฉา - หลังทำแท้งขณะตั้งครรภ์ได้ ๒ เดือน รู้สึกเป็นบาป
    แต่จำเป็นต้องทำเพราะแพ้ท้อง ทำงานไม่ได้ สามีไม่ได้เอาใจใส่ต่อครอบครัวเลย
    และถ้าปล่อยให้เกิดมาเขาจะลำบาก และทำให้ลูกคนเกิดก่อนลำบากด้วย
    อยากทราบว่าบาปที่ทำนี้ มีวิถีทางใดจะชดใช้ได้บ้าง
    เช่น บวชพราหมณ์ สร้างพระ หรือถือศีล เป็นต้น

    :b44: วิสัชนา - ไม่ว่าใครๆ เมื่อความทุกข์ใจมาถึงแล้ว ก็ต้องมองหาที่พึ่ง เพื่อแบ่งเบา
    ชะรอยสามีจะล่วงละเมิดไปเล่นสาว จึงเป็นเหตุไม่อาลัยในของเดิม
    แต่ก็คงเป็นเรื่องของกรรมมาในภพก่อนๆ ที่พวกเราสร้างไว้
    เพราะการท่องเที่ยวในสงสารมากกว่าเม็ดหินเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรตั้ง ๔ มหาสมุทร
    สมมติว่าชาติหนึ่งก็เม็ดทรายหนึ่งเป็นการเทียบ
    เมื่อเป็นดังนี้ การท่องเที่ยวในสงสารจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
    พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้นอนใจในโลกสงสาร
    สอนให้รีบเร่งภาวนาปฏิบัติศีลธรรม
    เพื่อให้ชนะความหลงของตนเข้าสู่พระนิพพานไปซะ

    อนึ่ง เรื่องลูกๆ ตั้งครรภ์แล้ว ๒ เดือนจะหาอุบายทำลายนั้น
    มันเป็นบาปมากนัก หลวงปู่ไม่อนุโมทนาด้วย
    พระวินัยบอกว่า ปาราชิก ๔
    จะว่าแต่ข้อ ๓ ความว่า "ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตายต้องปาราชิก"
    มีหลักพูดอย่างนี้ แต่อธิบายหลักออกพิสดารมาก
    มนุษย์ในครรภ์ก็ดี นอกครรภ์ก็ดี ฆ่าเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี หรือด้วยอุบายก็ดี
    ห้ามขาดทั้งนั้น ถ้าฝืนล่วงละเมิด ภิกษุเป็นปาราชิก นี้อธิบายให้ฟังอย่างย่อๆ
    เมื่อเป็นดังนี้ องค์หลวงปู่ไม่เห็นด้วย
    แม้เราทำลายแล้วเราจะไปบวชชีพราหมณ์ หรือทำบุญอะไรๆ ก็ตาม
    จะทำบุญแก้บาปไม่ได้เพราะมันเป็นเงินคนละกระเป๋า
    สมมติว่าใจของเรานี้เปรียบเหมือนคลัง
    บาปบุญนี้เปรียบเหมือนสมบัติที่มีอยู่ในคลัง
    คราวใดเราเอาบาปออกมาค้า ผลกำไรก็ไปบวกบาปอยู่ที่ใจ

    เหตุนั้น การล้างบาปในพระพุทธศาสนาจึงไม่มี
    แต่เมื่อสร้างบารมีไปมากแล้ว บาปก็เว้นพอแล้ว บุญก็สร้างพอแล้ว
    จึงจะทรงเหนือบาปและบุญไปได้ ยกตัวอย่างเช่นพระอรหันต์
    กรรมเก่าตามมาถึงก็มาเจอแต่เรือนร้าง คือสกลขันธ์ คือรูปนาม
    แต่มันไม่ถึงธรรมะของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์พ้นจากกองนามรูปไปแล้ว
    แต่พวกเราที่ยังมีกิเลสหนา เมื่อผลของกรรมตามมาหา
    มันก็ได้ทั้งหนังทั้งเขา เพราะเรายังไม่พ้นจากกิเลส
    เหตุนั้นเราจึงไม่ควรทำในมหันตโทษ
    โทษฆ่ามนุษย์เป็นมหันตโทษไม่มีศาลอุทธรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
    คดีดำคดีแดงในโรงในศาลมันหมดเป็น
    ส่วนกรรมและผลของกรรมที่ทำไว้แต่ละท่านละคน
    มันไม่จบเกษียณเป็นเลย มันตามไปจนถึงชาติเข้าสู่พระนิพพานดังกล่าวแล้วนั้น

    คำว่ากรรม และผลของกรรม ว่าโดยย่อเพื่อเข้าใจง่ายคือ
    บาปและผลของบาป บุญและผลของบุญ
    ส่วนสร้างเหตุบาปบุญแล้วผลไม่ได้ประสงค์ก็ได้รับตามส่วน
    ควรค่าของเหตุที่ทำน้อยและมาก เจ้าตัวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ไม่เป็นปัญหา
    เหตุนั้นวัฏสงสารจึงเวียนว่ายตายเกิด อยู่สนองกรรมสนองเวรกันเหมือนพายเรือในอ่าง

    ต่อเมื่อถึงพระโสดาบันตราบใด จึงจะเดินตรงในทางความประพฤติ
    ข้ามทะเลหลงของตนไม่ถอยหลัง ไม่แวะซ้ายไม่แวะขวาด้วย ตรงจุดหมายพระนิพพาน
    ต่ำกว่าพระโสดาบันลงมาแล้วพายเรือในอ่างทั้งนั้น หรือเป็นมดไต่ขอบกระด้งทั้งนั้น

    ถ้าอยากทราบว่าตนเป็นพระโสดาบันหรือไม่นั้น ก็มีแผนที่สอบ
    คือ สอบตนว่าตนเสียดายอยากล่วงละเมิดศีล ๕ หรือไม่
    เสียดายอยากจะถือศาสดาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนาไปหรือไม่
    เสียดายอยากจะจองเวรท่านผู้อื่นหรือไม่
    เสียดายอยากจะเล่นอบายมุขหรือไม่
    เสียดายอยากจะถือฤกษ์ดียามดีหรือไม่
    เสียดายอยากจะค้าขายเครื่องประหาร
    ค้าขายมนุษย์ ค้าขายสัตว์เป็นและเนื้อสัตว์ที่ตัวฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
    ค้าขายน้ำเมา ค้าขายยาพิษ ทั้งหลายเหล่านี้หรือไม่
    ถ้าไม่เสียดายอยากล่วงละเมิดทั้งหลายเหล่านี้แต่ต้นมา
    ก็ตัดสินเอาเองว่าเรานี้แหละคือพระโสดาบัน
    ถ้าไม่อย่างนี้แล้วก็เป็นโมฆะทั้งนั้น

    ให้เข้าใจว่าสิ่งใดที่เราไม่เสียดายอยากล่วงละเมิด
    เพราะเห็นชัดด้วยปัญญา ด้วยดวงตาเห็นธรรม
    คือเห็นว่ามันเป็นเวรเป็นภัยจริงๆ ไม่มีศาลอุทธรณ์
    ถ้าเราเห็นชัดอย่างนี้ความเสียดายอยากล่วงละเมิดของเราก็ไม่มี เราก็ไม่หนักใจด้วย
    คล้ายๆ กับเราเห็นหลุมถ่านเพลิงอย่างชัดแจ้ง
    เราไม่เสียดายอยากไปลุยเลย และก็ไม่สงสัยอีกด้วย
    นี้แหละคือภูมิพระโสดาบัน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็เป็นพายเรือในอ่าง ดังกล่าวมาแล้ว

    อนึ่ง การหงุดหงิดฉุนเฉียวก็เพราะอารมณ์ของเรามีหลายแพร่ง
    แพร่งหนึ่งเกี่ยวกับสามีที่ไม่รับผิดชอบไม่อาลัย
    แพร่งสองเป็นธรรมดาของผู้ตั้งครรภ์ก็ต้องหงุดหงิดบ้างอย่างนั้น
    จะอย่างไรก็ตามความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
    เพราะอดทนในสิ่งที่ควรอดทน ไม่ใช่อดทนในการสร้างบาป อดทนในการไม่สร้างบาป
    ความอดทนกับความเพียรก็คงมีความหมายอันเดียวกันนั่นเอง
    แต่เพียรในทางพระพุทธศาสนา "เพียรละบาปบำเพ็ญบุญ" เป็นหลักของจิตใจ

    น่าเห็นใจลูกๆ หลานๆ อยู่เหมือนกัน
    ใครเกิดมาในโลกนี้ไม่เป็นทุกข์ใจไม่มีเลย (เว้นพระอรหันต์เสีย)
    พระโสดาบันเว้นทุกข์ใจไปเป็นเอกเทศแล้ว และส่วนที่เว้นนั้นไม่กลับมาทุกข์อีก
    ส่วนพระอรหันต์เว้นโดยเด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว

    และคำสอนพระพุทธศาสนาเจตนามุ่งหมายให้สัตว์โลกเข้าสู่พระนิพพานทั้งนั้น
    เพราะในไตรโลกธาตุไม่มีสุขเท่าเมล็ดงาเลย
    ถ้าหากว่ามีความสุขเท่าเมล็ดงาแล้ว
    พระอรหันต์ก็ไม่เบื่อหน่ายความหลงของตนที่เคยหลงมา
    เมื่อเบื่อหน่ายความหลงของตนที่เคยหลงมาแล้ว
    ก็เท่ากับว่าเบื่อหน่ายโลกทั้งปวงไปในตัว
    คำว่าเบื่อหน่ายในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไปฆ่าตัวตายโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
    ถ้าไปฆ่าตัวตายโดยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว เรียกว่าโทสะสัมปยุตถ์อยู่
    เกิดมาในภพใดชาติใดก็ต้องฆ่าตัวตายอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ผู้พ้นจากกิเลสแล้ว
    ท่านผู้พ้นจากกิเลสแล้วนั้น ท่านไม่เป็นกังวลเพื่อจะฆ่าตัวตาย
    เพราะความหลงมันหายไปหมดแล้ว เหลือแต่พระปัญญาที่เหนือความหลง
    และธรรมชาติฝ่ายสังขารก็บันดาลมรณภาพไปเอง
    โดยไม่มีเงื่อนไขเจ้าตัวจะวางแผนไปฆ่าด้วยวิธีใดๆ เลย
    ดังนี้ ผู้ที่ไปฆ่าร่างกายให้ตายนั้นเป็นผู้ที่ไร้ปัญญามาก
    ชะรอยผู้นี้เคยฆ่าตนเองมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว
    สิ่งที่จะควรสำเหนียกอีกก็มีอยู่ว่า ถ้าสามีของลูกเขาลอบไปรักหญิงอื่น
    ก็ให้ยกมือใส่หัวซะ "ถ้าหากว่าข้าพเจ้าเคยได้ไปรักผัวเขา
    แล้วได้เคยล่วงละเมิดผัวเขามาแต่ชาติก่อนๆ ก็ดี
    แม้ข้าพเจ้าโกรธบ้างก็ตาม แต่จะไม่จองเวร
    ขอให้แล้วกันไปซะ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน" ต้องทำจิตอย่างนี้
    ถ้าไม่อย่างนี้แล้วก็จะมึงทีกูทีไปในชาติหน้าตะพึดตะพือลูกๆ เอ๋ย

    คัดจาก หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓
     
  20. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฏก ตอน การบูชาตถาคตอย่างสูงสุด
    [​IMG]
    อานนท์ ! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่
    มีศีรษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนัก, จักนอน
    (ประทับสีหไสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาลโปรยลงบนพระสรีระ,
    ดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์, ดนตรี ล้วนแต่ของทิพย์ ได้ตกลงและบรรเลงขึ้น;
    เพื่อบูชาตถาคตเจ้า).

    อานนท์ ! การบูชาเหล่านี้
    หาชื่อว่า ตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะ เคารพนับถือ บูชาแล้วไม่.
    อานนท์ ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด
    ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง,
    ปฏิบัติ ตามธรรมอยู่;
    ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมสักการะ เคารพนับถือ
    บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด.
    อานนท์ ! เพราะฉะนั้นเธอพึงกำหนดใจว่า
    “เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
    ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่”
    ดังนี้.

    -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘.
    ที่มา http://palungjit.org/posts/9990616
     

แชร์หน้านี้

Loading...