ลม. ถ้าสังคมมนุษย์ไร้ศีลแล้ว (ตนเอง) ผู้คนจะเจริญคุณธรรม เช่น สมาธิ ปัญญา (ศีลเพื่อสมาธิ สามาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ) ให้เกิดขึ้นก็ยาก เพราะต้องคอยระแวดระวังภัยจากมนุษย์ด้วยกัน เทียบ ตย. นี้
https://www.youtube.com/watch?v=VrVwgT5TjGY
แล้วก็นึกถึงเหตุการณ์ภาคใต้ หรือเหตุการณ์ในประเทศอื่นๆเทียบเอา
ขอเรื่องรูปนามอีกสักรอบ
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 11 สิงหาคม 2015.
หน้า 8 ของ 9
-
-
ฟังดูแล้ว
คุณของศีลด้อยค่าวูบ
คนอ่านในระบบทุนนิยม
ตบมือเกรียวว่ามาจากดินฉลาดมากวุ้ย!!
ถามมี้หตุผลจับต้องได้
เธอพาคนลบหลู่ศีล..
เท่ากับลบหลู่ใคร??
ตอบได้หรือ?เจ้าคนฉลาด -
ลม. เข้าใจศีลว่ายังไง เล่าไป -
ถ้าคนใส่ใจจะเข้าไปนานแล้ว!!
บาลีก็แล้ว
แปลไทยก็แล้ว
ตรรกะทุนนิยมกระทืบโครมเดียว
ศีลกลายเป็นต้วตลก
อย่างนี้ที่เพียรจะเผยแผ่ศาสนา แบบลุ่มลึก
เอาเอา!!ลึกต่อไป ลุงแมวเอาแบบตื้น
ๆนี้แหละแต่เชื่อในคุณของศีล
ตามที่คุณจะเรียกว่าสรุปสแลบอะไรของคุณ
เพื่ออุบายจัดระเบียบก็ว่าไป หลงไปตามเรื่องนะ -
แต่เอาเถอะอย่างนั้นก็ เอาตามที่ ลม.สบายใจแล้วกัน คิกๆๆ -
เพิ่งนึกได้ ไม่เคยถามเลย
ลม.ถือศีล สมาทานศีล เพื่ออะไรครับ -
จริงๆเคย แต่ปฏิิบัติข้อ ปาณา ไม่ช้วร์
เลยพิจารณาต้วเองว่าขืนสมาทานเข้า
ไปกูลบหลู่แน่ เพราะตบยุงอยู่เรื่อยมันคัน
โคตรมันเลยโดนประจำ การลูบคลำข้อบัญญัติ
ที่ทำไม่ได้จริง เหมือนล้อเล่นกับผู้บัญญัติ
ลุงแมวคิดว่าเลิกสมาทานปลอดภัยกว่า
ใช้วิธีสังวรระวังอีก 4 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยดีกว่า
จึงเหลือที่ประพฤติโดยไม่มีการบ้งคับหรือบีบคั้น
ตนเองเพียง 4 ข้ออย่างชัวร์เป็นธรรมชาติ
เช่นเดียวกับไม่ใส่เหรียญหรือแบ๊งค์ต่างๆ
ที่มีพระฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวลงในกระเป๋ากางเกง
เพราะยกท่านเป็นผู้สูงส่งด้วยพระบารมี
ดีกว่านี้ทำไม่เป็น -
มันก็น่าสนใจนะฮะ
แต่การเที่ยวประกาศในเวบ
สาธารณะนี่ กูจะทำให้ใครๆ
เขาเรียกว่าไอ้บ้าทำไมวะ!!
ไม่เคยอยากและไม่เคยประกาศ
เลยมาจากลิง ผิดข้อพูดปดมดเท็จอีก!!! -
เสกหนังควายเข้าท้องสะอีกคนดีไหมเนีย -
-
เพราะระวังเรื่องนี้เป็นกำลังนะฮะ -
-
สีเลนะ...
........
เเล้วลุงแมวคิดว่า ขนาดไม่ได้สมาทานแต่ประพฤติ
โดยการเจตนาเว้นจาก.....2....3....4...5(ต้องเจตนา
เว้นนะฮะ)
ทำให้ปกติให้เป็นธรรมชาติ
ตามที่พระพุทธทรงกล่าวว่าให้เว้น
ต้องไม่ดี ท่านถึงได้ยกมา ให้เว้น
แค่ 5 ข้อต้องเป็นสิ่งไม่ดีแน่ๆ
ทั้งที่ความชั่วมีเป็นร้อยเป็นพัน
ทำไมห้ามแค่ 5 แต่น่าอัศจรรย์
มากแค่ 5 ข้อ
ทำไมหยุดความชั่วอบายมุข
ได้ตั้งร้อยตั้งพัน
ลุงแมวเจตนาทำ 4 ข้อให้ชัวร์
โดยมีความหวังลึกๆ ว่าอีกไม่นานเกินรอ
ลุงแมวจะค้นพบวิธีไม่ให้ยุงมากัดได้สักวัน
เมื่อนั้นก็จะมีศีล5 ที่สมบูรณ์ กล้าสมาทานได้ฮะ -
ศีลพตปรามาส อนาถมากฮะ -
-
ไม่ขัดแล้ว เอาเท่าที่ ลม.สบายเถอะขอรับ อิอิ:d -
# 132 ว่าจะลงเกี่ยวกับกัลยาณมิตร ฯลฯ
เอาหลักๆแล้วกัน ดูเอง
สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้
"ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ”
(องฺ.ทุก.20/371/110 )
ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ
๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร
ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา
๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ
ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา -
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
คนดี ว่าโดยลักษณะเฉพาะตัวของเขา ที่เรียกว่าเป็นสัตบุรุษ หรือบัณฑิต มีคุณสมบัติบางอย่างที่ควรรู้ ดังนี้
สัตบุรุษ คือคนดี หรือคนที่แท้ มีธรรมของสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ ประการ ดังนี้
๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ กฎเกณฑ์แบบแผนหน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำการได้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมที่ตนจะต้องศึกษาและปฏิบัติคืออะไร มีอะไรบ้าง ผู้ปกครองรู้ธรรมของผู้ปกครอง คือรู้หลักการปกครอง
๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมาย และรู้จักผล คือ รู้ความและความมุ่งหมายของหลักธรรม หรือหลักการ กฎเกณฑ์ หน้าที่ รู้ผลที่ประสงค์ของกิจที่จะกระทำ เช่น ภิกษุรู้ว่าธรรมที่ตนศึกษาและปฏิบัตินั้นๆ มีความหมายและความมุ่งหมายอย่างไร ตลอดจนรู้จักประโยชน์ที่เป็นจุดหมายหรือสาระของชีวิต
๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ของตน ตามเป็นจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติได้เหมาะสม และให้เกิดผลดี เช่น ภิกษุรู้ว่าตนมีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณแค่ไหน
๔. มัตตัญญุตา รู้จัก ประมาณ คือ รู้ความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ในการใช้จ่ายทรัพย์ ภิกษุรู้จักประมาณในการรับปัจจัย ๔ เป็นต้น
๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล เช่น รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร รู้จักเวลาเรียน เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน เป็นต้น
๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน รู้จักมารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และข้อความรู้ควรปฏิบัติ ต่อชุมชนนั้น
๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง เช่นว่า ควรจะคบหรือไม่ จะเกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิ หรือจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี เป็นต้น -
คุณสมบัติพื้นฐาน ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดังนี้
๑. ปิโย น่ารัก คือ เข้าถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนม เป็นกันเอง ชวนใจผู้เรียนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม
๒. ครุ น่าเคารพ คือ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึงได้ และปลอดภัย
๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอ เป็นที่น่ายกย่อง ควรเอาอย่าง ทำให้ศิษย์เอ่ยอ้าง และรำลึกถึง ด้วยความซาบซึ้ง มั่นใจ และภาคภูมิใจ
๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล คือ พูดเป็น รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าว ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕. วจนักขโม ทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคำล่วงเกิน และคำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อหน่าย ไม่เสียอารมณ์
๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แถลง เรื่องล้ำลึกได้ คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ลึกซึ้งซับซ้อนให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗. โน จัฏฐาเน นิโยชะเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร
องฺ.สตฺตก.23/34/33 -
การทำหน้าที่ของกัลยาณมิตร
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม การมีมิตรทำกิจต่างๆ ร่วมกัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นับว่าเป็นเพียงส่วนประกอบภายนอก สิ่งที่นับว่าสำคัญก็คือ ความมีอิทธิพลชักจูงกันในด้านความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยาม ความรู้ความเข้าใจต่างๆ ที่ท่านเรียกว่า ทิฏฐิ
ถ้าเป็นความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยาม ความรู้ความเข้าใจ ที่ไม่ถูกต้อง มีโทษ ก็เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นฝ่ายที่ดีงาม ถูกต้อง เป็นประประโยชน์ ก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
มิตรใด มีอิทธิพลชักจูงให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นมิตรไม่ดี เรียกว่า ปาปมิตร มิตรใด ชักนำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นมิตรดี มิตรแท้ เรียกว่ากัลยาณมิตร
มีบ่อยๆ มีมิตรชนิดในเรือน คือมารดาบิดา หรือแม้แต่ครูอาจารย์ มีอิทธิพลชักนำทิฏฐินี้ น้อยกว่ามิตรชนิดเพื่อนที่คบหาเที่ยวเล่นชุมนุมด้วยกัน แต่บางครั้งปรากฏว่า แม้แต่มิตรชนิดชิดใกล้นั้น กลับมีอิทธิน้อยไปกว่ามิตร ชนิดตัวอยู่ไกล ไม่ว่าโดยเทศะหรือกาละ แต่มีพลังแรงเข้าถึงใจ ได้แก่ มิตรที่มาทางสื่อมวลชน มาทางสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ตลอดจนหนังสือ รวมทั้งชีวประวัติวีรชน บุคคลสำคัญ อันเข้าหลักทิฏฐานุคติ ที่ท่านเน้น
ตัวเชื่อมที่ทำ ให้มิตรนั้นเข้ามามีอิทธิพลชักจูงได้ หรือปัจจัยเครื่องเชื่อมต่อระหว่างมิตร กับอิทธิพลที่เกิดขึ้นในใจ ก็ได้แก่ ความเชื่อ ความเลื่อมใส ความนิยมชมชอบ ความซาบซึ้งใจ ที่เรียกว่า ศรัทธา
เมื่อมีศรัทธาแล้ว หรือทำให้เกิดศรัทธาได้แล้ว ถึงตัวมิตรจะอยู่ไกล ไม่ได้คลุกคลี ก็มีอิทธิพลได้ ถึงตัวมิตรจะอยู่ใกล้ แต่ถ้าไม่ศรัทธา ก็หามีอิทธิพลชักจูงได้ไม่ ดังนั้น ท่านจึงถือเป็นหลักการว่า ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่ชักนำสั่งสอนผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น เป็นต้น อันถูกต้อง ควรจะต้องยังศรัทธาให้เกิดแก่ผู้รับฟังคำสอนนั้นได้ พูดง่ายๆว่า หลักการเบื้องต้นข้อหนึ่งในทางการศึกษา คือ กัลยาณมิตรเป็นปัจจัยให้เกิดศรัทธา หรือจะพูดขยายออกไปอีกก็ได้ว่า การคบหาบัณฑิต หรือเสวนาสัตบุรุษ เป็นปัจจัยแห่งศรัทธา
ผู้ใด แม้จะเป็นคนดีมีปัญญา แต่เมือยังไม่อาจให้เขาเกิดศรัทธาได้ ก็ยังไม่ได้ฐานะเป็นกัลยาณมิตร และการเสวนาหรือการคบหาก็ยังไม่เกิด เมื่อศรัทธาแล้ว ใจรับ ก็นำความคิดได้ นำพฤติกรรมได้ อาจได้เกิดการเลียนแบบ หรือชักจูงให้รู้ให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่อไป ข้อตัดสินว่า ทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้สำเร็จ คือ ทำให้ผู้เสวนาเกิดมีสัมมาทิฏฐิ
หน้า 8 ของ 9