ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ตอน เสียขวัญตั้งแต่ได้ยินเสียงโห่ร้อง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 สิงหาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ตอน เสียขวัญตั้งแต่ได้ยินเสียงโห่ร้อง
    20882616_475414016148383_8570357616545886031_n.jpg
    ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางประเภททนต่อผงคลีได้, ทนต่อยอดธงชัยได้, แต่พอสักว่าได้ยินเสียงโห่ร้องของข้าศึกแล้ว ก็ขวัญหนี ครั่นคร้ามหวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ ไม่อาจจะเข้าต่อต้านสงคราม. นักรบอาชีพบางประเภทในกรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป็นนักรบอาชีพประเภทที่สาม มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก . . .
    ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพเช่นนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุทนต่อ “ผงคลี” ทนต่อ “ยอดธงชัยของข้าศึก” ได้, แต่พอสักว่าได้ยิน “เสียงโห่ร้องของข้าศึก”เข้าแล้ว ก็ระย่อท้อถอย ระทมระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา บอกเลิกสิกขาหมุนกลับคืนไปสู่เพศต่ำแห่งคฤหัสถ์. ข้อว่า “เสียงโห่ร้องของข้าศึก” สำหรับภิกษุนั้นได้แก่อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุอยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง, มีมาตุคามเข้าไปชวนระริกซิกซี้ สรวลเสหัวเราะเสียงดัง ยั่วเย้า. ภิกษุนั้นถูกมาตุคามชวนระริกซิกซี้ สรวลเส หัวเราะเสียงดังยั่วเย้าเข้าแล้ว ก็ระย่อท้อถอย ระทมระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศต่ำแห่งคฤหัสถ์. ความที่ถูกมาตุคามยั่วยวนกวนใจนี้ ได้ในข้อว่า “เสียงโห่ร้องของข้าศึก” สำหรับภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพประเภทที่ทนต่อผงคลี ทนต่อยอดธงชัยได้, แต่พอสักว่า ได้ยินเสียงโห่ร้องของข้าศึกเข้าแล้ว ก็ขวัญหนี ครั่นคร้าม หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ ไม่อาจจะเข้าต่อต้านสงคราม ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป็นนักบวชที่เปรียบด้วยนักรบ อาชีพประเภทที่สาม มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ.

    ที่มา. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๑,๑๐๓/๗๕.
     

แชร์หน้านี้

Loading...