ข้อสังเกตุ ลักษณะปัญญาที่เกิดในสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 16 เมษายน 2017.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน
    อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    ................................


    ในเมื่อเราภาวนาแล้ว จิตเคยสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะพอสมควร
    เราอาจจะไปติดอยู่ในสมาธิขั้นนี้

    เมื่อจิตมีพลังงานแก่กล้าขึ้น
    สามารถที่จะปล่อยวางบริกรรมภาวนา
    หรือ เปลี่ยนจากความสงบนิ่งสว่างไสวอยู่นั้น ไปเป็นความไม่สงบ

    คือ

    เกิดความคิดอ่านอยู่ตลอดเวลา อันนี้เรียกว่า ภูมิจิตมันก้าวไปข้างหน้า

    เมื่อมีพลังสมาธิแล้ว ปัญญามันก็เกิด
    เพราะจิตมีสมาธิ มีสติ แล้วก็มีปัญญา
    เมื่อ มีสมาธิ มีสติปัญญา มันก็ปฏิวัติตนให้เกิดมีความคิดอ่านขึ้นมา

    บางท่านก็เข้าใจว่าจิตมันไม่สงบแล้ว
    เวลานี้มันเปลี่ยนด้าน
    ก็มัวแต่จะไปบังคับให้มัน หยุดนิ่ง..หยุดนิ่ง..หยุดนิ่งอยู่อย่างนั่น แหล่ะ
    มันก็เลยไม่ก้าวหน้าซักที

    เพราะฉะนั้น

    นักปฏิบัติควรที่จะได้ ทำ..ทำความเข้าใจไว้

    เมื่อเรา..บางครั้ง ในขณะที่เราบริกรรมภาวนา พุทโธๆๆๆ อยู่
    เมื่อพอจิตมีอาการเคลิ้มลงไปเหมือนจะนอนหลับ
    แล้วก็ทิ้ง พุทโธ ปั๊บ..แล้วมันไปสวดคาถาชินบัญชรอยู่

    มันสวดเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ อันนี่ คือมันเปลี่ยนอารมณ์...เปลี่ยนอารมณ์จาก พุทโธ มาสวดคาถาชินบัญชร
    แล้วมันก็สวดของมันไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ

    เรานึกบางทีเรานึกอยากจะหยุดสวด มันก็ไม่ยอมหยุด
    ในลักษณะอย่างนี้ จิตมันก็เกิดความคิด ได้ วิตก วิจาร

    บางท่านมันไม่อย่างนั้น ภาวนาพุทโธๆๆ อยู่ พอมันสงบวูบ ลงไปนิดนึง

    มันทิ้งพุทโธ แล้วมันไปเกิดมีความคิด ฟุ้งๆๆๆ ขึ้นมา

    อันนี้

    บางท่านก็เข้าใจว่า จิตมันฟุ้งซ่าน
    แต่แท้ที่จริง มันเกิดปัญญา

    เพราะฉะนั้น เราจึงมีหลักที่ควรจะสังเกตุเอาไว้ว่า..

    ถ้า จิตของเราบริกรรมภาวนา พุทโธๆๆๆ อยู่
    ก็ให้มันอยู่ไปเถอะ อย่าไปกวนมัน

    แต่ถ้ามันทิ้งพุทโธปั๊บ..ไปคิดอย่างอื่นขึ้นมา
    คิดฟุ้งๆๆๆๆ ขึ้นมา ให้ปล่อยให้มันคิดไป
    แล้วรีบทำสติตามรู้มันไปดังที่กล่าวแล้ว

    ในเมื่อจิตมีความคิด สติก็ตามรู้ความคิด ทันกันอยู่ทุกขณะจิต

    ความคิดที่มีสติรู้ทันเอาทัน.. รู้เท่าเอาทัน
    มันเป็นปัญญาในสมาธิ


    แต่ถ้าหากว่าสติอ่อน รู้ไม่ทันความ คิด มันเป็นความฟุ้งซ่าน
    นี่นักปฏิบัติควรจะได้ทำความเข้าใจไว้อย่างนี้


    เครดิต เพื่อนสมาชิกพลูโตจัง
     
  2. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    ตามครับ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    คุณ ปราบ มีบทความเกี่ยวกับเรื่องปัญญาญาน
    ที่กล่าวโดยหลวงพ่อท่านไหมครับ...
     
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    มีหลาย บริบทครับ

    มีเป็นบางจังหวะ ของ
    เกือบทุกไฟล์

    อย่างเรื่อง "ตายแล้วเกิด"
    ก็มีบริบทที่อธิบายถึง ปัญญาญาน ที่เป็น โครตภู

    เช่น


    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    สมาธิเป็นสิ่งที่ นักปฏิบัติทั้งหลายต้องการ
    สมาธิเป็นสิ่งที่ เป็นคุณธรรม ที่เป็นพื้นฐาน
    ให้เกิด สติ ปัญญา
    เป็นคุณธรรม ที่เป็นพื้นฐาน
    ให้เกิด พลังทาง สติสัมปชัญญะ
    ทำให้จิตมั่นคง เป็นที่รวมของจิต

    โดยปกติแล้ว จิตของเรามัน แส่ ส่าย อยู่รอบทิศ
    เมื่อสามารถทำจิตให้สงบ มารวมอยู่ในสมาธิเป็นจิตหนึ่ง
    แม้เพียง 5 นาที 10 นาที เป็นชั่วโมงได้ ยิ่งดี จะไม่ดีหรือ

    เพราะฉะนั้น
    อย่าไปกลัว

    ถ้าจิตสงบได้แล้ว ปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง

    แม้ว่าปัญญาจะไม่เกิดในขณะที่จิตสงบนิ่ง ก็อย่าไปตกใจ

    เมื่อเราออกจากความนิ่งมาแล้ว
    สมาธิ สติ ปัญญาของเรามันจะมาอยู่
    กับ
    การ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูดคิด
    ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ
    มันจะได้ประโยชน์ในตอนนี้

    ตอนที่เข้าไปนิ่งอยู่เฉยๆ
    ก็เปรียบเหมือนกันกับการนอนหลับ
    การนอนหลับท่านได้อะไรดีขึ้น

    ธรรมชาติของร่างกายมันก็ได้พักผ่อน
    เมื่อนอนหลับแล้วร่างกายก็ได้พักผ่อน
    ในเมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างพอสมควรหรือเต็มที่
    ตามที่ต้องการ
    ก็ทำให้เกิดกำลังกาย

    ในเมื่อเกิดกำลังกาย ร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพจิตมันก็ดีขึ้น

    เพราะฉะนั้น
    การที่จิตเข้าไปสงบอยู่ในสมาธิขั้น อัปปนา
    แม้ว่ายังจะไม่เกิดปัญญาความรู้ใดๆก็ตาม
    ร่างกายของเราก็ได้พักผ่อน จิตของเราก็ได้พักผ่อน

    ได้พักผ่อนแล้วมันก็ทำให้เกิดพลังงาน
    ในเมื่อเกิดพลังงานแล้ว กายก็แข็งแรง
    จิตก็เข้มแข็ง

    ในขณะที่เราทำงานทำการ
    ความแน่วแน่ ของจิต ของสติ
    มันจะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

    แม้ว่าในขณะที่จิต นิ่ง รู้ อยู่ที่จิตนั้นมันไม่เกิดความรู้อะไรก็ช่าง
    ขอให้มัน นิ่งรู้อยู่ในจิต จุดเดียว ซึ่งเรียกว่า สมถะหรือ อัปปนาสมาธิ
    เป็นชั่วโมงๆเป็นปี ก็ ปล่อยให้มันเป็นไปเถอะ

    แต่เมื่อลืมตาออกมาแล้ว
    จะมองเห็นประโยชน์ของมันได้ทันที

    อีกอย่างหนึ่ง
    มีผู้กล่าวว่า สมาธิขั้นสมถะ สมถะกรรมฐานไม่เกิดความรู้
    ความรู้มันไม่เกิดขึ้น.. จริง !!

    ความรู้มันไม่เกิดขึ้น แต่..ถ้ามันมีสิ่งรู้ล่ะ
    เช่น
    อย่างเวลาท่านเพ่งอสุภะกรรมฐาน
    พอจิตมองเห็นกระดูก โครงกระดูก
    อ้าว ..ถ้าใครเคยทำกรรมฐานมองเห็น
    นิมิตเห็นโครงกระดูก
    ในขณะที่ท่านมองเห็นโครงกระดูกนั่น
    จิตของท่านว่า เรียกว่านี่โครงกระดูกหรือเปล่า

    อาตมะเข้าใจว่า มันไม่เรียก มันแต่เพียงเห็นอยู่รู้อยู่เท่านั้น

    ทีนี้
    สมาธิขั้นสมถะหรือ อัปปนาสมาธินี่
    มันยังมีเหนือ
    สมถะยังมีเหนือสมถะขึ้นไปอีก

    สมถะที่เหนือสมถะท่านเรียกว่า
    โคตะระภูญาณ หรือ โคตะระภูฌาน

    มันเกิดกับภูมิจิตของผู้ที่พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างจนแตกฉาน
    ชำนิคล่องตัว ชำนิชำนาญแล้ว
    ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิขั้น อัปปนา
    ไปสู่จุดว่างไม่มีอะไร

    ทีนี้
    เมื่อจิตไปยับยั้งไปอยู่ ในจุดว่างไม่มีอะไรนานพอสมควร

    ปัญญามันผุดโผล่ขึ้นมา

    ปัญญาอันนี้มันจะเป็น ปัญญาขั้นโลกุตระ

    จิตจะไปลอยเด่นอยู่เหนือโลก
    แล้วมองเห็นโลกทุกส่วน
    เหมือนดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงลงมายังโลกให้เกิดความสว่างไสว
    แล กระทบ ต้นไม้ ภูเขา เหล่ากา สัตว์ บุคคล อะไรต่างๆทั่วไปหมด

    ข้อ อุปมาอุปมัยอันนี้ฉันใด
    ในเมื่อจิตของผู้ที่ผ่านสมถะสมาธิขึ้นไป อยู่เหนือ
    เหนือสมถะอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า
    โคตะระภูฌาน หรือ โคตะระภูญาณ

    จิตดวงนี้สามารถ ที่จะส่งกระแสมามองดูโลกได้ทั่วถ้วนแล้วแต่พลังจิต


    อ่านต่อที่นี่

    http://palungjit.org/threads/ตายแล้วเกิด-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.336833/page-2
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    อันนี้ก็เป็น บริบทนึง ที่หลวงปู่พุธ ฐานิโย ท่านอธิบาย ฌานในอริยมรรค
    หรือจะเรียก ปัญญาญาน ก็แล้วแต่ จะเป็นจุดคาบเกี่ยว
    .....................................................


    ความรู้ขั้น โลกุตระ หมายถึง ความรู้ที่ไม่มี สมมติ บัญญัติ

    ทีนี้

    เมื่อ จิตไม่มีสมมติบัญญัติ หรือสิ่งรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมาจากไหน

    ก็จิตตัวที่ละเอียดนั่นแหล่ะ มันปรุงแต่งขึ้นมาอบรม ตัวเอง
    เพราะจิตปรุงแต่งขึ้นมา
    สังขารตัวนี้มันปรุงแต่งขึ้นมา
    แล้ว จิตไม่ยึด
    มันก็กลายเป็น วิสังขาร เป็นแต่เพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของ สติ
    รู้แล้วก็ปล่อยวางไป เรียก ว่า ฌานในอริยะมรรค

    ฌานในอริยะมรรค นี่ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
    และจิตทำหน้าที่กำหนดรู้สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    ถ้าหากว่าใครรู้เห็นธรรมะในขั้นนี้

    แม้จะมองเห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง
    จิตมันก็ไม่ว่าเน่าเปื่อยผุพัง
    มองเห็นความสุขทุกข์เป็นอนัตตา
    จิตก็ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    มีแต่รู้อยู่โดยถ่ายเดียว

    เพราะฉะนั้น...ความรู้อันนี้

    ท่านจึงเรียกว่า สังขาร ขั้นวิสังขาร
    เป็นการปรุงแต่งของจิตขั้นละเอียด

    จิตที่ปรุงแต่งอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงมีประหนึ่งว่า

    สิ่งที่รู้ก็เป็นอันหนึ่ง

    จิตตัวผู้รู้ก็เป็นอันหนึ่ง


    ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย
    อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้า มีอะไรบันดาลให้เข้ามาปรุงแต่ง
    มาให้เรารู้

    แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียด มันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง

    ทีนี้

    ในเมื่อจิตไม่มีความสำคัญ มั่นหมาย
    สิ่งใดว่าเป็นอะไร มีแต่รู้อยู่เฉยๆ

    ยกตัวอย่าง
    เช่น
    ภาพนิมิตอาจจะบังเกิดขึ้น
    นี่เป็นร่างศพที่เน่าเปื่อยผุพัง
    แต่นี่เป็นร่างที่สวยงามที่สุด

    ในขณะที่จิตรู้อยู่ จิตจะไม่สำคัญ
    ไม่มีความเอนเอียง ลำเอียงว่า อันนี้ดี อันนี้เสีย มีความรู้สึกเสมอกันหมด

    ทีนี้

    แม้ว่าจะไปรู้กฏของบุญของบาป อะไรต่างๆ ก็ดี
    คล้ายๆ ว่า ความดี...ความดีไม่ปรากฎ ความชั่วไม่ปรากฎ
    เพราะในขณะนั้นจิตเป็นกลาง ในเมื่อจิตเป็นกลางแล้ว
    จิตจึงไม่สำคัญมั่นหมายในสิ่งดีสิ่งชั่ว
    แต่จิตจะยอมรับกฏของธรรมชาติ
    กฏธรรมชาติที่เราสมมติ

    ว่า

    บุญนี้ เป็นสิ่งพยุงดวงจิตของเราให้สูงขึ้น
    แต่สิ่งที่เราสมมติ

    ว่า บาปนี้ เป็นกฏที่จะถ่วงดวงจิตของเราให้ต่ำลง

    คำว่าบุญบาปนี้หายไปหมด เพราะรู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ

    เพราะฉะนั้น

    ความรู้ใน จุดนี้จึงเป็นอันตรายแก่นักปฏิบัติ
    ในเมื่อไปเห็นทุกอย่างไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีสมมติบัญญัติ
    ในที่สุด นิพพานัง ปรมัง มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีใครสำเร็จพระนิพพาน
    บุญบาปที่ทำลงไป มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีอะไร สักแต่ว่าธรรมเท่านั้น
    นิยตะ มิจฉาทิฏฐิ มันจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้

    เพราะฉะนั้นนักภาวนาทั้งหลายควรระมัดระวัง...
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ขัดเจนทั้งสองบทความ
    ตรงประเด็นมากๆครับ
    ไม่ผิดหวังจริงๆที่ได้อ่าน
    ขอบคุณมากครับ (^_^)
     
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    อันนี้เป็นลิ้งค์ ส่วนใหญ่จะมี คำแนะนำของหลวงปู่พุธ ฐานิโย
    สนใจในการศึกษาก็ลองไว้ว่างๆลองไปตามอ่าน ตามหัวข้อนั้นๆดูครับ

    สิ่งที่สำคัญทีสุด คือ จำวิธีให้แม่น และลงมือทำตามที่พระท่านสอนครับ

    http://palungjit.org/search/545017/
     

แชร์หน้านี้

Loading...