ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม ฯ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 มิถุนายน 2012.

  1. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๖/๔๐๒
    [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับแห่งกรรม และ
    ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัย
    ทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
    หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า
    อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ
    [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
    กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
    [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ
    เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม ฯ
    [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑
    สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑สัมมาสมาธิ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม ฯ
    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรมและปฏิปทาอัน
    เป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลายด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล
    อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเรา
    ทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลาย
    จงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง
    นี้เป็นอนุศาสนี(คําสั่งสอน)ของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๑
     
  2. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ที่ดับแห่งกรรม ที่ดับแห่งกิเลส ที่ดับแห่งความทุกข์



    เราควรจะทำอานาปานสติไปตามลำดับ ทำกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา มันเป็นการชิมความว่างเรื่อยไป ตั้งแต่ต้นจนปลายทั้งนั้น ในที่สุดมันก็จะเข้าใจความว่าง เพราะมองเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่น แล้วจิตก็จะหันไปพอใจในอายตนะนั้น คือ นิพพาน หรือ ความว่างขึ้นมาได้ทันที นี่แหละ เรียกว่าเราดูความว่างไปได้เรื่อยๆ ดูสุญญตาไปเรื่อยๆ ก่อนที่จะไปถึงปรมสุญญตา เป็นการก้าวหน้าไปตามกฎของมันเอง หรือว่าตามกฎของธรรมชาติเอง ที่ว่ารู้เห็นสิ่งใดด้วยตนเอง อย่างมั่นคง แล้วเป็นไปได้อย่างมั่นคง ไม่โยกเยก เหมือนความรู้ที่ได้มาจากการได้ยิน ได้ฟัง หรือว่าเป็นความรู้ที่เป็นมายา ทำนองนั้น ทีนี้จะเป็นความสุขขึ้นมาได้อย่างไรนั้น เราไม่ต้องทำหรอก เราไม่ต้องอธิบาย หรือไม่ต้องไปทำให้ยุ่งยาก เราทำให้ว่างเถอะ มันกำพอแล้ว คือทำให้ว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ คือว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเรา ว่าของเราแล้ว มันก็ว่างจาก โลภะ โทสะ ธมหะ เมื่อว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ ก็คือว่างจริงๆ มันเป็นคำๆเดียวกัน เมื่อนั้นความทุกข์ทั้งปวงก็จะหมดไป แม้แต่กรรมก็หมดไปเอง
    ในบาลีอังคุตตรนิกาย ยืนยันในข้อที่ว่า กรรมหมดไปเอง ในเมื่อว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ หรือว่างจากตัวกู-ของกู ซึ่งพูดกันให้สั้นๆ ในที่นี้ก็ว่า ถ้ามันว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเรา ว่าของเราแล้ว กรรมก็จะหมดไปเอง ซึ่งหมายความว่า หมดไปทั้งกรรม และวิบากของกรรม และกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้ทำกรรมมันหมดพร้อมกันเอง เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปกลัวกรรม กลัวจะต้องเป็นไปตามกรรม เราไม่ต้องสนใจกับเรื่องกรรม แต่เราสนใจกับความว่าง ทำความว่างให้แก่ตัวกูและของกูได้แล้ว กรรมย่อมสลายไปหมดสิ้น ไม่มีทางที่จะต้องเป็นไปตามกรรม
    นี่แหละ จุดนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำให้คนอย่างองคุลีมาเป็นพระอรหันต์ได้ที่ตรงนั้น อย่าอธิบายผิดๆ อย่างที่เขาอธิบายกันว่า ไม่ฆ่าคนแล้วก็เป็นพระอรหันต์ หรือว่าพระพุทธเจ้าตรัสตอบแก่องคุลีมาลว่า ฉันหยุดแล้ว แกไม่หยุด แกไม่หยุดก็คือยังฆ่าคนอยู่ แล้วองคุลีมาลก็หยุดฆ่าคน แล้วจึงเป็นพระอรหันต์
    อย่างนี้คนนั้นอธิบายเอาเอง แต่หากแล้วยังเป็นการตู่พระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง เพราะคำว่า “หยุด” ของพระพุทธเจ้านี้ ท่านหมายถึงหยุดการทีตัวกู หยุดมีของกู หยุดมีตัวเรา หยุดมีของเรา หยุดความยึดมั่น มันคือความว่าง เพราะฉะนั้น ความว่างนั่นแหละ คือความหยุด ความหยุดชนิดนี้เท่านั้น ที่จะทำองคุลีมาลให้เป็นพระอรหันต์ได้ ไม่ใช่หยุดฆ่าคน หยุดฆ่าคนนั้น ใครๆ ก็ไม่ฆ่าคนอยู่แล้ว ทำไม่ไม้เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุว่าความหยุด หรือหยุดที่แท้นั้น มันคือความว่าจนไม่มีตัวเราที่จะอยู่ที่ไหน หรือจะไปที่ไหน หรือจะมาที่ไหน หรือจะทำอะไร นั่นมันจึงหยุดแท้ ถ้ายังมีตัวเราอยู่แล้ว มันหยุดไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงควรจะเข้าใจคำว่า ว่าง นี้ คือคำๆ เดียวกับคำว่า หยุด ที่พระพุทธเจ้าสั่งองคุลีมาลคำเดียวแล้วกลายเป็นพระอรหันต์ไปได้ ทั้งที่ฆ่าคนมามือยังเลือดแดงๆ อยู่ หรือที่แขวนคะแนนคนที่ฆ่าไปแล้วด้วยกระดูกนิ้วมืออยู่ที่คอตั้ง ๙๙๙ หรือ ๙๙ ซึ่งแปลว่ามันมากเต็มที่ นั่นแหละ คือไม่หยุด มันมีความยึดมั่นถือมั่นอะไร จนวิ่งป่วนไปหมดไม่หยุด ทีนี้กรรมจะหมดไปเอง หรือว่าจะถึงความหยุดก็ต้องอาศัยคำๆ เดียว คือความว่างจากตัวกู-ของกู ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกรรมทั้งปวง การกระทำให้ว่างนี้ จัดว่าเป็นการทำโยคะในทางพุทธศาสนาก็ได้ คือเราดูกันที่ตัวการกระทำให้ว่างนี้นี่แหละที่เรียกว่าโยคะ มันเป็นโยคะสูงสุด ถึงขั้นที่เรียกว่ายอดของโยคะ กล่าวคือชั้นราชะโยคะอะไรนั้น ในที่เช่นนี้ แม้เราจะยืมคำว่าราชะโยคะในฝ่ายเวทานตะมาใช้ ซึ่งมีความหมายว่าสุดยอดของโยคะ แต่ราชะโยคะอย่างเขาทีตัวตนถึงที่สุด สำหรับพระพุทธศาสนาเรา โดยเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อริยสัจจทัศนะ คือโยคะ นั่นก็แปลว่า โยคะในพุทธศาสนานี้ก็มี แต่มันหมายถึงการทำความว่างให้แจ้งออกมา ให้ปรากฏออกมา เพราะฉะนั้นการกระทำใดอันเป็นไปเพื่อความว่างปรากฏออกมาแล้ว การกระทำอันนั้นเรียกว่า “โยคะ” ได้เหมือนกัน ถ้าใครอยากจะใช้คำว่า โยคะ หรือชอบพูดถึงโยคะ อยากมีโยคะ อะไรนี้ ต้องมีให้ถูกอย่างนี้ จึงจะสมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า โยคะคืออริยสัจจทัศนะ-การทำของจริงที่สุดให้ปรากฏออกมาเรียกว่าโยคะ แล้วเราก็เอามาใช้กันกับการทำทุกอย่างในทางจิตใจเพื่อให้หยุดความยึดมั่นถือมั่น ว่าเรา ว่าของเราเสีย นี่และคือโยคะ เราจะเอาคำว่า โยคะ ของพวกอื่นมาใช้มาเรียกได้ทั้งนั้น มันจะมีความหมายที่ปรับให้เข้ากันได้ทั้งนั้น อย่าง กรรมโยคะ ให้ทำความไม่เห็นแก่ตัว ให้ประพฤติประโยชน์ของผู้อื่นดายไป อย่างนี้ก็มี ถ้าว่าเราอย่ามีตัวเรา มีของเรา เราอย่ามีความรู้สึกว่า ตัวเรา ว่าของเรา อย่างนี้ ทำไปเถอะ มันจะเป็นกรรมโยคะหมด แม้จะเป็นโยคะชั้นต่ำๆ เตี้ยๆ คือกาทำบุญทำกุศลทำความดี ความสงบ เสียสละแก่ผู้อื่น ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างนี้ ต้องทำด้วยจิตที่ว่าง ว่างจากตัวกู ว่างจากของกู อย่าให้ความรู้สึกแล่น หรือโน้มเอียงไปในทางว่าของฉัน หรือตัวฉัน มันก็เป็นโยคะไปหมด นี่แปลว่า ไม่ต้องแสวงหาโยคะอย่างอื่น จะเป็นชื่อสักกี่สิบโยคะ กี่ชนิดโยคะก็ตาม ก็เป็นอันทำโยคะทั้งสิ้น กล่าวคือ การทำตัวตน หรือของตนให้หมดไป คือทำความว่างให้ปรากฏขึ้นมา เท่าที่กล่าวมาค่อนข้างจะยืดยาวนี้ ก็เพื่อจะให้เข้าใจเรื่อง “ความว่าง” คำเดียว ว่าจากิเลส คือว่างจากความรู้สึกว่า ตัวกู หรือของกู แล้วว่างจากความทุกข์นั้นมันแน่นอน เพราะเมื่อมันว่างจากกิเลสแล้ว ก็ว่างจากทุกข์ ว่างจากตัวกู-ของกูอย่างเดียวเท่านั้น จะว่างหมดจากทุกสิ่ง และสภาพอันนั้นมันเป็นนิโรธธาตุ ไม่ใช่ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ใช่ อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่ อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่ วิญญาณัญจายตนะ อะไรเยอะแยะ ล้วนแล้วแต่พระพุทธเจ้าท่านปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ทั้งนั้น มันมีแต่ นิโรธธาตุ เป็นความว่างจาก ตัวกู-ของกู เป็นที่ดับแห่งกรรม เป็นที่ดับแห่งกิเลส เป็นที่ดับแห่งความทุกข์ ข้อสุดท้ายที่เราจะต้องนึกถึง ก็คือว่า สิ่งนี้เป็นของที่เนื่องกันอยู่กับทุกสิ่ง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่าลืมเสียว่า ทุกสิ่งไม่มีอะไรนอกจากธรรมะ ธรรมะก็ไม่มีอะไรนอกจากธรรมชาติธรรมดา หรือความที่มันเป็นอย่างนั้นเอง เป็น ตถตา เพราะฉะนั้น มันจึงว่างจากตัวตน-ของตนอยู่แล้ว

    คัดลอกมาจาก
    แก่นพุทธศาสน์
    เรื่อง
    ความว่าง (ตอนที่ ๓)
    พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)
     
  3. NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    ผขออนุญาต อธิบายตามความเข้าใจของตนเอง
    ...การดับกรรม ก็คือ การละกิเลศนั่นเอง
    ...การละกิเลศจะเกิดได้ด้วยการภาวนา(เท่านั้น)คือต้องไต่สมาธิและวิปัสสนากรรมฐานไปถึงฌาน4และอรูปฌาน4โน่น...จึงจะละกิเลศได้เป็นขั้นเป็นตอนไป..(ด้วยญานหยั่งรู้)
    ..เมื่อละได้แล้ว เป็นอริยะสงฆ์แล้ว...ก็ทรงฌาน ทรงญานนั้นๆได้ไม่มีเสื่อมไป
    ...พอจะละสังขาร ก็จะทบทวนสมาธิขั้นต่างๆ ในการดับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาและทิ้งรูปไป...(ละสังขาร)
    ...ทั้งหมดนี่คือพระอรหันต์ เท่านั้น....เช่นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
  4. lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
    สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
    วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
    นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
    สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
    ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
    เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
    ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
    อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
    ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
    ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท
     
  5. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๖๘/๒๘๘
    [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
    เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
    บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
    สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
    เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี
    เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน
    เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
    อย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
    ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
    อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
    มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
    ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
     

แชร์หน้านี้