ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา(Asalha Puja) 9vomuj@

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thailandkingdom, 2 กรกฎาคม 2014.

  1. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา(Asalha Puja) ตอนที่ ๑






    คำว่า "อาฬาสหบูชา" มาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ " เป็นที่ทราบกันดีถึงความมหัศจรรย์ของวันสำคัญในพระพุทธศาสนาของเรา


    ในวันที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้หรือ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือในวันที่พระพุทธองค์ประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันมาฆบูชาก็ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ วันอาฬาสหบูชามาเองนั้นก็มหัศจรรย์ไม่แพ้กัน คือเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ณ. บรรลังค์พระแท่นวัชรอาสน์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ในวันวิสาขบูชา แล้วพระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุติสุขอยู่ ๔๙ วัน หัวหน้า จากนั้นทรงมีพระราชดำริว่าจะนำธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาไปโปรดผู้ใดดี เมื่อท้าวท้าวสะหัมบดีพรหม ได้ทูลอาราธนาธรรม


    "พรัมมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ. กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันธีธะ. สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุธัมมัง. อะนุกัมปิมังปะชัง"


    พระพุทธองค์ทรงมีพระราชดำริว่าจะนำธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาไปโปรดผู้ใดดี เมื่อทรงเปรียบว่ามนุษย์มีหลายจำพวก เหมือนบัว ๔ เหล่า พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาจะโปรด


    ปัญจวัคคีทั้ง ๕ ก่อนเป็นกลุ่มแรก จึงทรงเสด็จพระราชดำเนินจากต้นพระศรีมหาโพธิไปยัง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี แคว้นกาสี เมื่อเสด็จไปถึงก็เป็นคืนวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง วันนั้นเป็นวันที่วงล้อแห่งพระธรรมหมุนเป็นครั้งแรก






    พระอานนท์ได้เล่าไว้ในพระไตรปิฏกว่า เมื่อพระพุทธองค์พบ ปัญจะวัคคีทั้ง ๕ ได้มีพระราชดำรัสว่า "เราตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมฤตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร 'จักทำให้เข้าใจแจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์' ที่คนทั้งหลายผู้พากันออกบวชจากเรือนต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง"

    แรกทีเดียวพระปัญจวัคคีย์ยังไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงค้านถึงสามครั้งว่า "แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษ อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ (อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส) ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐอย่างสามารถได้เล่า"

    พระพุทธองค์ตรัสว่ตอบปัญจวัคคีทั้ง ๕ ว่า "พวกเธอยังจำได้หรือว่า เราได้เคยพูดถ้อยคำเช่นนี้มาก่อน" แล้วตรัสต่อไปว่า








    ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่...




    (— มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์)




    ด้วยพระดำรัสดังกล่าว พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จึงได้ยอมเชื่อฟังพระพุทธองค์ เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง




    พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระสูตร"ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" หมุนวงล้อแห่งธรรมเป็นครั้งแรก













    พระสูตรธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร














    เอวัมเม สุตัง


    ( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )


    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา


    ( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )


    พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ


    ( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )






    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ


    ( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )





    เทฺวเม ภิกขะเว อันตา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )


    ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา ( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )





    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค


    ( คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด )


    โน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )


    อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )





    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตน


    เหล่านี้ใด )


    ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ )


    อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )


    อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )





    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น )


    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง )


    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )


    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    ( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )





    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน )


    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )


    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)


    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    ( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )





    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ


    ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )


    เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )


    สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )


    สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )


    สัมมาวาจา ( วาจาชอบ )


    สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ )


    สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )


    สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )


    สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )


    สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )





    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น )


    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )


    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้ )


    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ


    (ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )





    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )


    ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )


    ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )


    มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )


    โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา


    ( แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )


    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )


    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )


    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง


    ( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )


    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ


    ( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )






    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )


    ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )


    โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )


    นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอนาจความเพลิดเพลิน )


    ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )


    เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )


    กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ )


    ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น )


    วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น )





    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )


    โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ


    ( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )


    จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )


    มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )





    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ )


    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )


    เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )


    สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )


    สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ )


    สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )


    สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )






    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ )





    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ )






    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว )





    อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว



    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ )





    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว




    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล


    ควรละเสีย )





    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะนันติ เม ภิกขะเว



    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว )





    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว



    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ )





    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง )






    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว )





    อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ )





    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ )






    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว


    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ


    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


    ( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว


    ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )






    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ


    เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา


    ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว )





    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก


    สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ


    อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ


    ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์


    ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น )






    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ


    เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา


    มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว )





    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก


    สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ


    อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ


    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา


    เครื่องตรัสรู้ชอบ



    ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์


    ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ )





    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ


    ( ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว )


    อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ


    ( ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก )





    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ


    ( พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว )





    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ


    ( พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า )





    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน


    ( ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ )





    อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ


    ( จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ )


    "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"


    ( ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" )





    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก


    ( ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว )





    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง


    ( เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )





    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย


    อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา


    พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ


    ( ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้


    อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี


    อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ )





    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ


    (เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )





    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ


    ( เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )





    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ


    ( เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )





    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ



    ( เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )




    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ



    ( เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )




    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ



    ( เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )




    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง


    ( พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )





    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย


    อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา


    พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ"


    ( "นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี


    อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ" )





    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ


    ( โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ )





    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ


    ( ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป )





    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ


    ( ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก )


    อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ


    ( ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ )





    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ


    ( ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า )


    อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ


    ( โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ )





    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ


    ( เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว


    ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ )






    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแสดงพระปฐมเทศนานี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านโกณฑัญญะได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว












    พระพุทธองค์ทรงทราบความที่พระโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในคำสอนของพระองค์ จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" ท่านผู้เจริญ ท่านโกณฑัญญะ รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า "อัญญา" นี้ จึงได้เป็นคำนำหน้าชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ

    เมื่อท่านพระโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบันแล้ว จึงได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"

    ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงนับเป็น "พระสงฆ์อริยสาวกองค์แรก" ในพระพุทธศาสนาซึ่งวันนั้นเป็นวันเพ็ญ กลางเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน 8 เป็น วันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" ครบบริบูรณ

    ปัจจุบันสถานที่พระพุทธเจ้าประกาศพระอนุตตรสัจธรรมเป็นครั้งแรก และสถานที่บังเกิดพระสงฆ์องค์แรกในโลก อยู่ในบริเวณที่ตั้งของ ธรรมเมกขสถูป (แปลว่า: สถูปผู้เห็นธรรม) ภายในอิสิปตนมฤคทายวัน หรือ สารนาถในปัจจุบัน


    วันอาฬาสหบูชา เป็นวันหยุดราชการ ประเพณีไทยมีการทำบุญเข้าวัดมาแต่โบราณกาล แล้วแต่ว่าครอบครัวใดชอบทำบุญที่วัดไหน กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนนิยมทำกันในเทศกาลนี้ คือ ช่วงเช้าการไปทำบุญ-ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน และเวียนเทียนในช่วงเย็น


    เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง(๑๑ ก.ค. ๒๕๕๗ - ๑๔ ก.ค. ๒๕๕๗ ) ปีนี้จึงสามารถไปทำบุญพร้อมท่องเที่ยวกันได้ในหลายๆจังหวัดที่มีการจัดงานเทศกาลท่องเที่ยว เช่น



    งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

    เป็นงานเทศกาลใหญ่ระดับประเทศ ปีนี้ชื่อ” สืบฮีตวิถีชาวอุบลฯ ยลพุทธศิลป์ถิ่นไทยดี” โดยจะจัดขึ้นตลอดเดือนกรกฎาคม ณ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข เป็นงานประเพณีด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และในช่วงวันเข้าพรรษานั้นก็จะมีการประกวดเทียนพรรษา ขบวนแห่เทียนพรรษาภาคกลางคืนประกอบการแสดงแสง สี เสียง

    งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดนครราชสีมา

    งานแห่เทียนโคราชถือเป็นงานประเพณียิ่งใหญ่ประจำจังหวัด ปีนี้มีชื่อว่า “เสริมบุญ สร้างทานบารมี แห่เทียนโคราช” กิจกรรมในปีนี้จะมีขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นการแห่รอบตัวเมืองโคราชเป็นระยะทางกว่า 7 กิโลเมตร การประกวดต้นเทียน มหรสพสมโภช และการทำบุญ 9 วัด เป็นต้น

    งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดนครพนม

    เป็นงานใหญ่อีกงาน จัดขึ้น ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ขบวนแห่ต้นเทียนที่ตกแต่งด้วยบุพชาติ การประกวดต้นเทียน การร่วมนมัสการพระธาตุพนม การเวียนเทียนและการร่วมทำบุญตักบาตร

    ประเพณีใส่บาตรเทียนจังหวัดน่าน

    จัดขึ้น ณ วัดบุญยืน พระอารามหลวง ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา ในวันที่ 24 กรกฎาคม ประเพณีใส่บาตรเทียนนี้ มีแห่งเดียวในประเทศไทย และอยู่คู่กับอำเภอเวียงสามาช้านาน


    งานแห่เทียนพรรษาเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

    ในปีนี้กิจกรรมโดดเด่นของงานแห่เทียนพรรษา อำเภอเชียงแสน คือการจัดประกวดกลองหลวง 12 ราศี กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม ณ วัดเจดีย์หลวง

    งานตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี

    ประเพณี นี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี

    งานหล่อเทียน 12 นักษัตร จังหวัดกรุงเทพฯ

    งาน พิธีหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษาในปีนี้ ได้ผนวกเข้ากับการฉลองเทอดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจริญพระชันษา 100 ปี โดยพิธีหล่อเทียน 12 ปีนักษัตร จะจัดขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม และมีขบวนแห่เทียนพรรษาในเขตพระนคร ไปยังวัดบวรนิเวศน์ ในวันที่ 19 กรกฎาคม

    งานประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    จัดขึ้น ณ คลองลาดชะโด อำเภอผักไห่ ในวันที่ 22 กรกฎาคม เป็นงานประเพณีโบราณของท้องถิ่น มีการจำลองบรรยากาศตลาดน้ำย้อนยุค และการแสดง แสง สี เสียง ในช่วงค่ำ เพื่อเล่าถึงความเป็นมาของชุมชนริมน้ำแห่งนี้

    ประเพณีแห่เทียนพรรษา และขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

    จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม ในเขตเมืองพัทยา จะมีกิจกรรมแห่เทียนพรรษา และขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ

    งานเทศกาล “เที่ยวเมืองคอน เพิ่มพลังชีวิต เสริมสิริมงคล ตามรอยธรรม น้อมนำพระธาตุสู่มรดกโลก” จังหวัดนครศรีธรรมราช


    (สถานที่ท่องเที่ยว อ้างอิง เวปไซด์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)





    ๑ ก.ค. ๒๕๕๗ น.พ. โสพันธ์ บวรสิน
    จาก blog พุทธศาสนา นานา สาระ
    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (Asalha Puja) ตอนที่ ๒ และ ตอนที่ ๓ มีให้อ่านใน blog พุทธศาสนานานาสาระ ตามลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ<?xml:namespace prefix = "o" ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4355639820690185186#allposts/src=dashboard<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2014
  2. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2014
  3. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา ตอนที่ ๒

    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (Asalha Puja)....ตอนที่ ๒
















    พระอัญญาโกณฑัญญะ




    ในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด หรือวัน อาสาฬหบูชานั้นเอง ในขณะที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือ ปฐมเทศนาจบลงจบลง ก็ได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นมาว่า โกณทัญญะรู้แล้วหนอ คือ อัญญาโกณทัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว






    "อญญาสิ วต โภ โกณฑัญญโญ อญญาสิ วต โภ โกณฑัญญโญ "






    ขณะที่ เทวดากลุ่ม ภุมมเทวดา ก็เป็นพวกแรกที่ประกาศออกไปว่า " ธรรมจักรเริ่มเดินหน้าแล้ว " เทวดาชั้นต่างๆ และ พรหม ก็พากันประกาศต่อกันไป จนทั้งหมื่นโลกธาตุสั่นสะเทือนและเกิดแสงสว่างไปทั่ว








    พระอัญญาโกณฑัญญะ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์





    พระวัปปเถระ


    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้น ท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย พอถึงวันรุ่งขึ้น ท่านได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย
    พระวัปปเถระ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์






    พระภัททิยะ


    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้นท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย ต่อมาได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัย


    ท่านบวชด้วย วิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแบ้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านก็หลุดพ้นจากกิเลศ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์






    พระมหามามเถระ



    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้นท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย ต่อมาได้ฟัง


    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนาครบวาระที่สาม ในเวลาจบเทศนาจึง


    ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    ท่านได้รับ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้รับฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์






    พระอัสสชิ


    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้นท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย ต่อมาได้ฟัง


    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนาครบวาระที่ห้า ในเวลาจบเทศนาจึง

    ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    พระอัสสชิเถระ ได้บรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์





    พระปฐมเทศนาโดย ธัมจักรกัปปวัตนสูตร ทำให้ พระปัญจะวัคคี ทั้ง ๕

    ได้ดวงตาเห็นธรรม ยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหัตนต์ แต่ได้ได้ดวงตาเห็นธรรมคือจิตหยั่งถึงอาริยสัจ ๔ ในระดับ ปรมัตตสภสวะธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา-ทางสายกลาง

    บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ตามวาระที่ต่างกันเป็นลำดับและเข้ารับการ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ตามลำดับคือ

    ๑.พระอัญญาโกณฑัญญะ

    ๒.พระวัปปเถระ และ พระภัททิยะ บวชพร้อมกัน

    ๓.พระมหามามเถระ และ พระอัสสชิ บวชพร้อมกัน


    เมื่อพระโสดาบัน ทั้ง ๕ ได้ฟัง พระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกันทั้ง ๕ รูป ณ.เวลานั้น โลกจึงมีพระอรหันต์

    ๖ รูป (รวมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) พระอานนท์ตรัสเล่าถึงใจความของ พระสูตร อานัตตลักขณสูตร ไว้ดังนี้







    พระสูตร อนัตตลักขณสูตร




    เอวัมเม สุตัง




    อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้




    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา


    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า


    พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทะเย


    เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี


    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคียเย ภิกขู อามันเตสิ


    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์(ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)






    รูปัง ภิกขะเว อนัตตา


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)


    ลัพเภถะ จะ รูเป


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง


    เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อโหสีติ


    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    ตัสมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะจะ ลัพภะติ รูเป


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง


    เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มาอโหสีติ


    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    เวทนา อนัตตา


    เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    เวทนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)


    ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง


    เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ


    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา เวทนา อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะจะ ลัพภะติ เวทะนายะ


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง


    เอวัง เม เวทนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ


    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    สัญญา อนัตตา


    สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)


    ลัพเภถะ จะ สัญญายะ


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง


    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ


    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จ โข ภิกขะเว สัญญา อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะจะ ลัพภะติ สัญญายะ


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง


    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ


    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    สังขารา อนัตตา


    สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะ ยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง


    สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง


    เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขาร มา อเหสุนติ


    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ


    เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง


    เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อเหสุนติ


    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    วิญญาณัง อนัตตา


    วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    วิญญานัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    ลัพเภถะ จะ วิญญาเน


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง


    เอวัง เม วิญญานัง โหตุ เอวัง เม วิญญานัง มา อโหสีติ


    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญานัง อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเน


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง


    เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อโหสีติ


    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ


    รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจัง ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณา มะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    เวทะนา นิจจา วา อนิจจา วาติ


    เวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจา ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    สัญญา นิจจา วา อนิจจา วาติ


    สัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจา ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภัน เต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    สังขารา นิจจา วา อนิจจา วาติ


    สังขารทั้งหลายเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจา ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลังนุตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    วิญญาณัง นิจจังวา อนิจจัง วาติ


    วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจัง ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เมอัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตัสมาติหะ ภิกขะเว


    เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย


    ยังกิญจิ รูปัง


    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตัง วาพหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนัง วา ปณีตัง วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพัง รูปัง


    รูปทั้งหมด ก็เป็นสักว่ารูป


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้






    ยากาจิ เวทะนา


    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกา วา สุขุมา วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนา วา ปณีตา วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพา เวทะนา


    เวทนาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าเวทนา


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้






    ยากาจิ สัญญา


    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกา วา สุขุมา วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนา วา ปณีตา วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพา สัญญา


    สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น






    เยเกจิ สังขารา


    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกา วา สุขุมา วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนา วา ปณีตา วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    เยทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพเพ สังขารา


    สังขารทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น






    ยังกิญจิ วิญญาณัง


    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนัง วา ปณีตัง วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพัง วิญญาณัง


    วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่าวิญญาณ


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้






    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้


    รูปัสสะมิงปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป


    เวทะนายะปิ นิพพินนะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา


    สัญญายะปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัญญา


    สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขารทั้งหลาย


    วิญญานัสมิงปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ


    นิพพินทัง วิรัชชะติ


    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด


    วิราคา วิมุจจะติ


    เพราะคลายความติด จิตก็พ้น


    วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ


    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้


    ขีณา ชาติ. วุสิตัง พรัหมจริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ


    อริย สาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว


    กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี






    อิทะมะโวจะ ภะคะวา


    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง


    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู


    พระภิกษุปัญจวัคคีก็มีใจยินดี


    ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง


    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจัา


    อิมัสสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน


    ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่


    ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุตจิงสูติ


    จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล
















    จิตหยั่งถึงอาริยสัจ ๔ ในระดับ ปรมัตตสภสวะธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา-ทางสายกลาง ได้ดวงตาเห็นธรรม นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการบรรลุมรรคผลนิพพาน






    ดวงตาเห็นธรรม

    เป็นจุดเริ่มต้น


    ให้เกิดปัญญา ซึ่งสามารถจะทำให้อาสวะทั้งหลายดับลงได้ ลำดับต่อไปจึงเกิด วิชชา และจิตบรรลุนิโรธญาณ(นิพพาน) พ้นอำนาจกฏแห่งไตรลักษณ์ของโลกธาตุ






    การได้โสดาปัตติผลญาณ เป็น กุศลสัญญาข้ามภพข้ามชาติ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็จะ บรรลุ โสดสปัตติผลได้โดยง่ายอีกวาระหนึ่ง จิตจะไม่กลับมาเป็นปุถุชนอีก แต่ยังไม่พ้น




    อำนาจกฏแห่งไตรลักษณ์ของโลกธาตุ















    นพ.โสพันธ์ บวรสิน ๒ ก.ค. ๒๕๕๗


















    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (Asalha Puja)....ตอนที่ ๒
















    พระอัญญาโกณฑัญญะ




    ในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด หรือวัน อาสาฬหบูชานั้นเอง ในขณะที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือ ปฐมเทศนาจบลงจบลง ก็ได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นมาว่า โกณทัญญะรู้แล้วหนอ คือ อัญญาโกณทัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว






    "อญญาสิ วต โภ โกณฑัญญโญ อญญาสิ วต โภ โกณฑัญญโญ "






    ขณะที่ เทวดากลุ่ม ภุมมเทวดา ก็เป็นพวกแรกที่ประกาศออกไปว่า " ธรรมจักรเริ่มเดินหน้าแล้ว " เทวดาชั้นต่างๆ และ พรหม ก็พากันประกาศต่อกันไป จนทั้งหมื่นโลกธาตุสั่นสะเทือนและเกิดแสงสว่างไปทั่ว








    พระอัญญาโกณฑัญญะ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์





    พระวัปปเถระ


    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้น ท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย พอถึงวันรุ่งขึ้น ท่านได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย
    พระวัปปเถระ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์






    พระภัททิยะ


    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้นท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย ต่อมาได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัย


    ท่านบวชด้วย วิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแบ้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านก็หลุดพ้นจากกิเลศ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์






    พระมหามามเถระ



    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้นท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย ต่อมาได้ฟัง


    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนาครบวาระที่สาม ในเวลาจบเทศนาจึง


    ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    ท่านได้รับ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้รับฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์






    พระอัสสชิ


    เมื่อจบพระปฐมธรรมเทศนานั้นท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย ต่อมาได้ฟัง


    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนาครบวาระที่ห้า ในเวลาจบเทศนาจึง

    ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    พระอัสสชิเถระ ได้บรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์





    พระปฐมเทศนาโดย ธัมจักรกัปปวัตนสูตร ทำให้ พระปัญจะวัคคี ทั้ง ๕

    ได้ดวงตาเห็นธรรม ยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหัตนต์ แต่ได้ได้ดวงตาเห็นธรรมคือจิตหยั่งถึงอาริยสัจ ๔ ในระดับ ปรมัตตสภสวะธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา-ทางสายกลาง

    บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ตามวาระที่ต่างกันเป็นลำดับและเข้ารับการ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ตามลำดับคือ

    ๑.พระอัญญาโกณฑัญญะ

    ๒.พระวัปปเถระ และ พระภัททิยะ บวชพร้อมกัน

    ๓.พระมหามามเถระ และ พระอัสสชิ บวชพร้อมกัน


    เมื่อพระโสดาบัน ทั้ง ๕ ได้ฟัง พระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกันทั้ง ๕ รูป ณ.เวลานั้น โลกจึงมีพระอรหันต์

    ๖ รูป (รวมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) พระอานนท์ตรัสเล่าถึงใจความของ พระสูตร อานัตตลักขณสูตร ไว้ดังนี้







    พระสูตร อนัตตลักขณสูตร




    เอวัมเม สุตัง




    อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้




    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา


    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า


    พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทะเย


    เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี


    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคียเย ภิกขู อามันเตสิ


    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์(ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)






    รูปัง ภิกขะเว อนัตตา


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)


    ลัพเภถะ จะ รูเป


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง


    เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อโหสีติ


    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    ตัสมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะจะ ลัพภะติ รูเป


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง


    เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มาอโหสีติ


    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    เวทนา อนัตตา


    เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    เวทนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)


    ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง


    เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ


    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา เวทนา อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะจะ ลัพภะติ เวทะนายะ


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง


    เอวัง เม เวทนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ


    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    สัญญา อนัตตา


    สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)


    ลัพเภถะ จะ สัญญายะ


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง


    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ


    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จ โข ภิกขะเว สัญญา อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะจะ ลัพภะติ สัญญายะ


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง


    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ


    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    สังขารา อนัตตา


    สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะ ยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง


    สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง


    เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขาร มา อเหสุนติ


    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ


    เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง


    เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อเหสุนติ


    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    วิญญาณัง อนัตตา


    วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)


    วิญญานัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว


    นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ


    วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    ลัพเภถะ จะ วิญญาเน


    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง


    เอวัง เม วิญญานัง โหตุ เอวัง เม วิญญานัง มา อโหสีติ


    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญานัง อนัตตา


    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่ตัวตนของเรา


    ตัสมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ


    เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


    นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเน


    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง


    เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อโหสีติ


    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ


    รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจัง ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณา มะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    เวทะนา นิจจา วา อนิจจา วาติ


    เวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจา ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    สัญญา นิจจา วา อนิจจา วาติ


    สัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจา ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภัน เต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    สังขารา นิจจา วา อนิจจา วาติ


    สังขารทั้งหลายเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจา ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลังนุตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว


    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย


    วิญญาณัง นิจจังวา อนิจจัง วาติ


    วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง


    อนิจจัง ภันเต


    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


    ทุกขัง ภันเต


    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง


    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์


    วิปะริณามะธัมมัง


    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง


    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เมอัตตาติ


    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา


    โน เหตัง ภันเต


    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า






    ตัสมาติหะ ภิกขะเว


    เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย


    ยังกิญจิ รูปัง


    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตัง วาพหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนัง วา ปณีตัง วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพัง รูปัง


    รูปทั้งหมด ก็เป็นสักว่ารูป


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้






    ยากาจิ เวทะนา


    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกา วา สุขุมา วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนา วา ปณีตา วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพา เวทะนา


    เวทนาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าเวทนา


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้






    ยากาจิ สัญญา


    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกา วา สุขุมา วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนา วา ปณีตา วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพา สัญญา


    สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น






    เยเกจิ สังขารา


    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกา วา สุขุมา วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนา วา ปณีตา วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    เยทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพเพ สังขารา


    สังขารทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น






    ยังกิญจิ วิญญาณัง


    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง


    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง


    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี


    อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา


    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี


    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา


    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี


    หีนัง วา ปณีตัง วา


    เลวก็ดี ประณีตก็ดี


    ยันทูเร สันติเก วา


    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี


    สัพพัง วิญญาณัง


    วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่าวิญญาณ


    เนตัง มะมะ


    นั่นไม่ใช่ของเรา


    เนโสหะมัสมิ


    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่


    นะ เมโส อัตตาติ


    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


    เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง


    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้






    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้


    รูปัสสะมิงปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป


    เวทะนายะปิ นิพพินนะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา


    สัญญายะปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัญญา


    สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขารทั้งหลาย


    วิญญานัสมิงปิ นิพพินทะติ


    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ


    นิพพินทัง วิรัชชะติ


    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด


    วิราคา วิมุจจะติ


    เพราะคลายความติด จิตก็พ้น


    วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ


    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้


    ขีณา ชาติ. วุสิตัง พรัหมจริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ


    อริย สาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว


    กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี






    อิทะมะโวจะ ภะคะวา


    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง


    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู


    พระภิกษุปัญจวัคคีก็มีใจยินดี


    ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง


    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจัา


    อิมัสสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน


    ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่


    ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุตจิงสูติ


    จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล
















    จิตหยั่งถึงอาริยสัจ ๔ ในระดับ ปรมัตตสภสวะธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา-ทางสายกลาง ได้ดวงตาเห็นธรรม นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการบรรลุมรรคผลนิพพาน






    ดวงตาเห็นธรรม

    เป็นจุดเริ่มต้น


    ให้เกิดปัญญา ซึ่งสามารถจะทำให้อาสวะทั้งหลายดับลงได้ ลำดับต่อไปจึงเกิด วิชชา และจิตบรรลุนิโรธญาณ(นิพพาน) พ้นอำนาจกฏแห่งไตรลักษณ์ของโลกธาตุ






    การได้โสดาปัตติผลญาณ เป็น กุศลสัญญาข้ามภพข้ามชาติ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็จะ บรรลุ โสดสปัตติผลได้โดยง่ายอีกวาระหนึ่ง จิตจะไม่กลับมาเป็นปุถุชนอีก แต่ยังไม่พ้น




    อำนาจกฏแห่งไตรลักษณ์ของโลกธาตุ















    นพ.โสพันธ์ บวรสิน ๒ ก.ค. ๒๕๕๗

    จะแก้ไขส่วนใดหรือให้เกร็ดความรู้เป็นวิทยาทานก็เชิญนะครับ หรือไปที่ blog พุทธศาสนานานาสาระ ก็ได้นะครับ
    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (Asalha Puja) ตอนที่ ๑ และ ตอนที่ ๓ มีให้อ่านใน blog พุทธศาสนานานาสาระ ตามลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ

    https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4355639820690185186#allposts/src=dashboard
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2014
  4. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2014
  5. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (ตอนที่ ๓) (Asalha Puja part 3)

    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (ตอนที่ ๓) (Asalha Puja part 3)











    จากตอนที่ ๑ และ ๒ เราทราบกันแล้วว่าวันอาสาฬหบูชา มีสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของพุทธศาสนา หลายประการ





    ๑. พระปฐมเทศนา คือพระสูตรธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ทำให้มีผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาบัน ๕ ท่าน


    ๒. ปฐมสาวก พระอัญญาโกณทัณญะ


    ๓. การเทศโปรดเรื่อง มัชฌิมาปติปทา หรือ อริยมมรรคมีองค์ ๘ ครั้งแรก


    ๔. การเทศโปรดเรื่อง อริยสัจ ๔ ครั้งแรก ทำให้มีผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาบัน ๕ ท่าน


    ๕ การเทศโปรดด้วยพระสูตร อนันตลักขณะ สูตร ทำให้พระโสดาบันปัญจวัคคีทั้ง ๕ บรรลุอรหัตน์พร้อมๆกัน จึงเกิดอรหันตสาวกเป็นครั้งแรก


    ๖ การเทศโปรดเรื่องขันธ์ ๕ ทำให้พระโสดาบันปัญจวัคคีทั้ง ๕ บรรลุอรหัตน์พร้อมๆกัน จึงเกิดอรหันตสาวกเป็นครั้งแรก


    ๗ การเทศโปรดไตรลักษณ์ ทำให้พระโสดาบันปัญจวัคคีทั้ง ๕ บรรลุอรหัตน์พร้อมๆกัน จึงเกิดอรหันตสาวกเป็นครั้งแรก


    เรามาดู อนันตลักขณะสุตรกันดรกว่าครับว่ามี เนื่้อหาอย่างไร จึงเหมาะที่จะเทศโปรดให้ปัญจวัคคีทั้ง ๕ เพื่อให้บรรลุธรรม





    อนันตลักขณสูตรประกอบด้วยเรื่องของ





    ๑.เบญจขันธ์ ๕


    กาย


    เวทนา


    สัญญา


    สังขาร


    วิญญาณ





    ๒. กฏแห่งไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นอนัตตา ในโลกธาตุ คือ ความไม่เที่ยงปรวนแปรเปลี่ยนไปเสมอของทุกสิ่ง ไม่มีอะไรคงที่


    เกิดขึ้น


    ตั้งอยู่


    ดับไป





    ๓.วิชชา





    ๔. ถือพรรมจรรย์การทำที่สุดแห่งกองทุกข์

    กลับมาที่ประเพณีเกี่ยวกับเทียนพรรษาที่เขียนไว้ตอนที่ ๑ อีกครั้งนะครับ

    เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษาเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน<?xml:namespace prefix = "o" ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    วิวัฒนาของการเทียนพรรษา<o:p></o:p>
    เทียนพรรษามีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา<o:p></o:p>
    ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก คือ"มัดรวมติดลาย" เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด<o:p></o:p>
    การตกแต่งต้นเทียน<o:p></o:p>
    เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน<o:p></o:p>
    พ.ศ. 2482 มีช่างทองชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน<o:p></o:p>
    ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี พ.ศ. 2497 นายประดับ ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์<o:p></o:p>
    ปี พ.ศ. 2502 มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อๆ มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจนคือ
    1.
    ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
    2.
    ประเภทแกะสลัก<o:p></o:p>
    การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง

    งานประเพณีแห่เทียนพรรษา<o:p></o:p>
    ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี

    งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย <o:p></o:p>
    ศิลปะการฟ้อนรำที่นิยมนำมาประกอบการแสดงในขบวนแห่ คือ การรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระลอ เซิ้งกระติบ เซิ้งสวิง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ซึ่งดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิต ประจำวันทั้งสิ้น <o:p></o:p>
    งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานที่ทำให้คนวัยรุ่น หนุ่มสาว ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัส กับศิลปวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่การเข้าเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เป็นลูกมือช่างของทางวัด ในการแกะสลักทำลวดลายต้นเทียน ค้นคว้าหาวิธีการทำเพียรพรรษาให้วิจิตรพิศดาร งดงาม แต่ประหยัดการเข้าร่วมในขบวนแห่จะเป็นการผสมผสานระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เช่น การเล่นดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง หรือเป่าแคน จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาว ส่วนขบวนฟ้อนรำ จะใช้เด็กๆ รุ่นเยาว์ ถึงวัยหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงวัย ซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะสืบทอดต่อไปอีกยาวไกล<o:p></o:p>




    นพ.โสพันธ์ บวรสิน


    ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2014
  6. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    มีตอน ๑ และ ตอน ๒ นะครับ อ่านได้ใน พุทธศาสนา นานาสาระ

    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา (Asalha Puja) ตอนที่ ๑ ตอนที่ ๒ และตอนทืี่ ๓ มีให้อ่านใน blog พุทธศาสนานานาสาระ ตามลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ<?xml:namespace prefix = "o" ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4355639820690185186#allposts/src=dashboard<o:p></o:p>
    https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4355639820690185186#allposts/src=dashboard
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2014
  7. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา ตอนที่ ๔(Asalha Puja)

    ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา ตอนที่ ๔(Asalha Puja)

    พระอัญญาโกณฑัญญะเอกทัคคะด้านรัตตัญญู

    พระอัญญาโกณฑัญญะตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาลชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ 7 วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด” พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
    ในอีก 100,000 กับข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู
    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างกำแพง แก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ครั้นถึงวันประดิษฐานพระเจดีย์ ก็ได้สร้างเรือนแก้วไว้ภายในพระเจดีย์อีก จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
    ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของกฎุมพีชาวเมืองพันโฌฤฆฏธุมดี มีชื่อว่า “ มหากาล” มหากาลมีน้องชายชื่อ “ จูฬกาล” (ในชาติสุดท้ายคือสุภัททะปริพาชก) ทั้ง 2 มีอุปนิสัยแตกต่างกัน กล่าวคือ มหากาลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าวิปัสสี แต่จูฬกาลกลับไม่เลื่อมใส ดังนั้น ทั้ง 2 จึงมีความเห็นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการทำบุญ
    มหากาลได้แบ่งนาออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ส่วนหนึ่งเป็นสมบัติของตน และอีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นสมบัติของจูฬกาล แล้วได้นำเอาผลิตผลที่เกิดจากนาส่วนของตนนั้นมาทำบุญ จนจวบสิ้นอายุขัย จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่าง ๆ
    การได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะฝ่ายรัตตัญญู-ผู้รู้ราตรีนาน[แก้]
    เมื่อมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันท่านมาเกิดเป็น บุตรพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่ได้รู้แจ้งธรรมและบวชในพระพุทธศาสนาก่อนใคร พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ดังกล่าวมาแล้ว ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ คือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ซึ่งมีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน ก็ได้สิ่งที่ปรารถนาไว้คือ ได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก่อนใครและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันในที่สุด
    ทำนายพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ
    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดา ได้เชิญพราหมณ์ 108 คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีทำนายพระลักษณะ ตามราชประเพณี ให้คัดเลือกพราหมณ์ผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจาก 108 คน เหลือ 8 คน และมีโกณฑัญญะอยู่ในจำนวน 8 คน นี้ด้วย
    ในบรรดาพราหมณ์ทั้ง 8 คนนั้น โกณฑัญญะมีอายุน้อยที่สุดจึงทำนายเป็นคนสุดท้ายฝ่ายพราหมณ์ 7 คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของสิทธัตถะอย่างละเอียด เห็นถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ ครบทุกประการแล้ว จึงยกนิ้วมือขึ้น 2 นิ้ว เป็นสัญลักษณ์ในการทำนายเป็น 2 นัย เหมือนกันทั้งหมดว่า“พระราชกุมารนี้ ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปราบปรามได้รับชัยชนะทั่วปฐพีมณฑล ถ้าออกบวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก แนะนำสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่มีศาสดาอื่นยิ่งไปกว่า
    ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ได้สั่งสมบารมีมาครบถ้วนตั้งแต่อดีตชาติ และมีความปัญญารู้มากกว่า ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของพระกุมาร โดยละเอียดแล้ว ได้ยกนิ้วขึ้นเพียงนิ้วเดียวเป็นการยืนยันการพยากรณ์อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัยเดียวเท่านั้นว่า “พระราชกุมาร ผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่างแน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย”
    การได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะฝ่ายรัตตัญญู-ผู้รู้ราตรีนาน
    เมื่อมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันท่านมาเกิดเป็น บุตรพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่ได้รู้แจ้งธรรมและบวชในพระพุทธศาสนาก่อนใคร พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ดังกล่าวมาแล้ว ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ คือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ซึ่งมีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน ก็ได้สิ่งที่ปรารถนาไว้คือ ได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก่อนใครและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันในที่สุด
    ท่านได้อยู่จำพรรษา ในป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์ เป็นเวลานาน 12 ปี วันที่ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้ว ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลลานิพพาน ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานในบรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก ได้เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน



    เอตทัคคะ หมวด ภิกษุ

    พระอัญญาโกณฑัญญะ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
    ร่วมทำนายพระลักษณะ / ออกบวชติดตามพระสิทธัตถะ / ปัญจวัคคีย์ปลีกตัวหนี /
    ฟังปฐมเทศนา / พระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา / ได้รับยกย่องทางรัตตัญญู / บั้นปลายชีวิต

    พระอุรุเวลกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
    บวชเป็นฤาษีชฎิล / ละลัทธิเดิม / ฟังอาทิตตปริยายสูตร / ตามเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร / ได้
    รับยกย่องในทางผู้มีบริวารมาก

    พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
    เบื่อโลกจึงออกบวช / ได้รับยกย่องในทางผู้มีปัญญา / ถูกพระภิกษุหนุ่มฟ้อง / เปรียบตนด้วย
    อุปมา ๙ อย่าง / ถูกพราหมณ์ตี / ถูกนันทกยักษ์ทุบ / เป็นต้นแบบการทำสังคายนา / พระธรรม
    เสนาบดีสารีบุตรนิพพาน / เทศน์โปรดโยมแม่แล้วนิพพาน

    พระมหาโมคคัลลานเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
    ทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ / ได้รับยกย่องในทางอิทธิฤทธิ์ / มีความสามารถใน
    ทางอิทธิปาฏิหาริย์ / ทรมานพญานาค / มีอัธยาศัยกว้างขวาง / ถูกโจรทุบ / บุพกรรมของท่าน /
    กราบทูลลานิพพาน

    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
    ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น / สนทนาธรรมกับพระสารีบุตร

    พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
    แจ้งข่าวพระบรมศาสดาเสด็จ

    พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    อุ้มบาตรตามเสด็จ / จำใจบวช / เปรียบอดีตเจ้าสาวเหมือนลิงแก่ / ได้รับยกย่องเป็นผู้สำรวม
    อินทรีย์

    พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    ทูลขอทรัพย์สมบัติ / พระราชทานอริยทรัพย์ / พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร / ได้รับยกย่องเป็นผู้
    ใคร่การศึกษา / เป็นต้นบัญญัติห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน

    พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    ขอบวชตามเจ้าศากยะ / ตัดสินคดีภิกษุณีท้อง / ปฐมสังคายนาวิสัชนาพระวินัย

    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
    บวชเพราะเพื่อนชวน / เปล่งอุทานว่า สุขหนอ ๆ

    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
    พี่ชายชวนบวช / ไม่รู้จักคำว่า “ไม่มี” / เรียนเรื่องการทำนา / ตายดีกว่าถ้าไม่ได้บวช / ให้อุบาลี
    กัลบกบวชก่อน / ได้รับยกย่องผู้มีทิพยจักษุญาน / ปฐมเหตุประเพณีทอดผ้าบังสุกุล-ผ้าป่า /
    พระพุทธองค์ช่วยเย็บจีวร

    พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฏฐาก / ทูลขอพร ๘ ประการ / พระพุทธองค์ตรัสถามคุณและโทษของ
    พร ๘ ประการ / ยอมสละชีวิตแทนพุทธองค์ / ได้รับยกย่องหลายตำแหน่ง / ปฐมสังคายนารับ
    หน้าที่สำคัญ / นิพพานกลางอากาศ

    พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
    ทดสอบการตรัสรู้ / กราบทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๑๕

    พระปิณโฎลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
    โทษของการไม่รู้ประมาณในอาหาร / เศรษฐีอยากรู้จักพระอรหันต์ / เดียรถีย์แสดงท่าเหาะ /
    พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปเอาบาตร / ได้รับยกย่องในทางผู้บันลือสีหนาท

    พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    กราบทูลขอแก้ไขพุทธบัญญัติ / ความสามารถพิเศษของท่าน / พระเถระแปลงร่าง/ ได้รับยกย่อง
    ในทางอธิบายความย่อให้พิสดาร

    พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุอาศัยบุญพระสีวลี / ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก

    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ
    อยู่ชนบทบวชพระยาก / เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค / ถวายพระธรรมเทศนา / ได้รับยกย่องในทางผู้
    มีวาจาไพเราะ

    พระมหากัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร / สภาพชีวิตครองคู่ / อุปสมบทด้วยวิธีรับโอวาม ๓ ข้อ /
    ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์ / ขับไล่นางเทพธิดา / เป็นประธานปฐมสังคายนา /
    สาระสำคัญของปฐมสังคายนา / ชีวิตบั้นปลาย


    พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย
    ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม / ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

    พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
    คนแคระก็บวชได้ / ถูกล้อเลียนว่าเป็นสามเณร / ได้รับยกย่องว่าพูดเสียงไพเราะ

    พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    ประสูติบนเชิงตะกอน / โกนผมเสร็จก็บรรลุอรหันต์ / ขอรับภารกิจของสงฆ์ /
    ถูกภิกษุณีกล่าวหาว่าข่มขืน / ได้รับยกย่องทางจัดเสนาสนะ

    พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ
    คลอดจากท้องคนเข้าไปอยู่ในท้องปลา / ลูกใครกันแน่ / เข้ามาบวชในพุทธศาสนา /
    ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ไม่มีโรคาพาธ

    พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ
    บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม / ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย

    พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุ
    ทรงทราบข่าวพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโลก / เสด็จออกบวชพร้อมอำมาตย์ / พระพุทธองค์ทรง
    รับเสด็จ / พระเทวีและภรรยาอำมาตย์ออกบวช / พระมหากัปปินะเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ ๆ”

    พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส
    แค่ ๑ พรรษาตั้งตนเป็นอุปัชฌาย์ / เป็นต้นบัญญัติเรื่องตั้งอุปัชฌาย์ / ความปรารถนาบรรลุผล

    พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    ๗ ขวบได้แต่งงาน / หนีเมียบวช / พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม / พระหลวงตานินทาพระเถระ

    พระสุภูมิเถระ เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล
    ออกบวชคราวฉลองพระเชตวัน / พักกลางแจ้งฝนจึงแห้งแล้ง

    พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา
    เรือแตกแต่รอดตาย / อรหันต์เปลือย / เดินทางทั้งวันทั้งคืน / ตรัสรู้เร็วพลัน

    พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
    รับจ้างดีดกะโหลก / บวชเพื่อเรียนมนต์


    พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
    มีขนสีเขียวขึ้นที่ฝ่าเท้า / ทรงแนะนำให้ทำความเพียรเหมือนพิณ ๓ สาย / มูลเหตุทรงอนุญาตให้
    ภิกษุสวมรองเท้าได้

    พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    ได้รับยกย่องในทางระลึกบุพเพนิวาสานุสติ

    พระนัทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
    หลีกเลี่ยงแสดงธรรมแก่ภิกษุณี

    พรกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ
    แอบนั่งฟังธรรมท้ายสุด / เหตุที่ได้นามว่ากังขาเรวตะ

    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
    ธิดาเศรษฐีหนีตามชายหนุ่ม / มาอยู่กับตายายจึงได้บวช / ได้รับยกย่องในทางผู้เจริญวิปัสสนา

    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    เพราะปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก / ประกาศความเป็นอรหันต์ / บุพกรรมของพระจูฬปันถก

    พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง
    มีหญิงสาวตามทุกย่างก้าว / กรรมเก่าของท่าน / พระเจ้าปเสนทิโกศลพิสูจน์ความจริง /
    สุขภาพกายดีจิตก็ดีด้วย

    พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
    บวชด้วยศรัทธาแรงกล้า / บิดามารดาอ้อนวอนให้สึก / แสดงธรรมมุทเทศแด่พระเจ้าโกรัพยะ

    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    ภิกษุณีตั้งท้อง / พระอุบาลีตัดสินคดีภิกษุณีท้อง / พระเจ้าปเสนทิโกศลขอลูกภิกษุณีไปเลี้ยง /
    พระเถระต่อว่ามารดา / ได้รับยกย่องว่าแสดงธรรมอย่างวิจิตร

    พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    ทิ้งพราหมณ์ถือพุทธ / เป็นผู้แตกฉานเพราะชอบถามปัญหา

    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ
    แสดงฤทธิ์ช่วยชาวบ้าน / พระเถระเมาเหล้า (ต้นบัญญัติห้ามดื่มสุรา)

    พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
    เบื่อโลกจึงออกบวช / มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย” / ถูกเพื่อนภิกษุฟ้องพระพุทธเจ้า /
    ได้รับยกย่องว่าเป็นที่รักของเทวดา




    เอตทัคคะ หมวด ภิกษุณี

    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    เป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง / ขอบวชแต่ผิดหวัง / พระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวช

    พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด / พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน

    พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช / บวชแล้วยังถูกข่มขืน / พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ /
    ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า

    พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    ดอกฟ้าได้ยาจก / คลอดลูกกลางทาง / สามีถูกงูกัดตาย /
    หัวใจสลายเพราะสูญเสียลูกน้อยทั้งสอง / ทราบข่าวตายของบิดามารดาถึงกับเสียสติ / หายบ้าแล้วได้บวช

    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน
    เพราะรักญาติจึงออกบวช / พอเบื่อหน่ายก็ได้สำเร็จ

    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    ถูกสามีตัดเยื่อใยจึงออกบวช / ถูกอดีตสามีลองภูมิ / เป็นผู้เลิศทางทรงธรรม

    พระโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    จากเศรษฐีเป็นอนาถา / ไร้ที่พึ่งพาจึงออกบวช / พอสำเร็จอรหันต์ก็แสดงอภินิหาริย์ /
    ได้รับยกย่องว่าเลิศทางความเพียร

    พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    ออกบวชเพราะเบื่อโลก / ได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศทางทิพยจักษุ

    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    ลูกปุโรหิตเกิดฤกษ์โจร / ดอกฟ้าในมือโจร / สันดานโจรไม่เจือจาง /
    ปัญญามิได้มีไว้เพื่อต้มแกงกิน / โจรชั่วสิ้นชีพ / ถอนผมบวชเป็นเดียรถีย์ /
    โต้วาทีกับพระสารีบุตร / ขอบวชในพุทธศาสนา

    พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    ไม่ทำบาปแต่ต้องคอยรับบาป / บวชในสำนักปริพาชก

    พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา
    พอประสูติโอรสพระสวามีก็หนีบวช / บวชตามพระสวามีและโอรส

    พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    เงินทองของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน / ถ่านกลับเป็นเงินทองตามเดิม / อุ้มศพลูกหาหมอรักษา
    / พระศาสดาบอกยาให้

    พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา
    สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖ / สิงคาลมาตาออกบวช


    เอตทัคคะ หมวด อุบาสก

    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    ได้ชื่อใหม่เพราให้ทาน / สำเร็จพระโสดาบัน / สร้างวัดถวาย / ทำบุญจนหมดตัว /
    ขับไล่เทวดา / ต้นแบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย / มอบภารกิจของตนให้ลูกหลาน /
    ลูกสาวป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย /พระโสดาบันร้องไห้ไปกราบทูลพระศาสดา

    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    สร้างวัดอัมพาตการาม / เชี่ยวชาญในการแสดงธรรม

    หัตถกคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
    ถูกยักษ์จับ / พุทธานุภาพปราบยักษ์

    พระเจ้ามหานามศากยะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต
    ครองกรุงกบิลพัสดุ์ / ถวายทานมีรสประณีต

    อุคคคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต
    ผู้ให้ของที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ

    อุคคตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์
    ต้นคดปลายตรง

    สูรอัมพัฏฐอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
    ความคิดมีเหตุผล / มารแปลงร่างเป็นพระพุทธเจ้า / มารร้ายพ่ายพระ

    ชีวกโกมารภัจ เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล
    จากทารกถูกทิ้งที่กองขยะมาเห็นลูกเจ้า / หนีจากวังหาสำนักศึกษา /
    ได้เรียนวิชาแพทย์พิเศษ / คนไข้คนแรกของหมอชีวก / ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ /
    หลอกให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยเนยใส / แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ /
    พาพระเจ้าอชาตศรัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า / กราบทูลขอพรห้ามบวชคนมีโรคติดต่อ /
    กราบทูลขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้ / สร้างวัดชีวกัมพวัน

    นกุลบิดาคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคย
    กล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นลูก / แม้ทางใจก็ไม่เคยคิดชั่ว



    เอตทัคคะ หมวด อุบาสิกา

    นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส / ลูกชายหาย / ยสะบรรลุอรหัตผล / อุบาสิกาคนแรก

    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    ๗ ขวบสำเร็จโสดาบัน / หญิงงามเบญจกัลยาณี / ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม /
    ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว / อานิสงส์การทำบุญแล้วแถม / นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว /
    พ่อผัวยกย่องวิสาขาให้ฐานะมารดา / คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา / ร้องไห้อาลัยหลาน /
    วิสาขาสร้างวัด / เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน / พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า

    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม
    สาวพิการหลังค่อม / โฆสกเศรษฐีสร้างวัดถวาย / นางขุชชุตตราบรรลุโสดาบัน /
    เป็นอาจารย์สอนธรรม / บุพกรรมล้อเลียนพระ

    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา
    เศรษฐีตกยาก / ได้นามว่าสามาวดี / นางสามาวดีบรรลุโสดาบัน /
    นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระศาสดา / จ้างนักเลงด่าพระพุทธองค์ /
    นางสามาวดีถูกใส่ความเรื่องไก่ / ถูกใส่ความเรื่องงู / อานุภาพแห่งเมตตาธรรม /
    นางสามาวดีถูกเผาทั้งเป็นพร้อมหญิงสหาย / ชดใช้กรรมเก่า / กรรมใหม่ให้ผลทันตา

    นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน
    ขี้ไถกลายเป็นทอง / นางอุตราถูกน้ำมันเดือดราดศีรษะ

    พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต
    ตั้งครรภ์นานเกือบ ๘ ปี / ให้อาหารชื่อว่าให้สิ่งประเสริฐ ๕ ประการ

    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
    เฉือนเนื้อตัวเองถวายพระ / ทรงบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์

    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    โจรขุดอุโมงค์เข้าบ้าน / พาโจรบวช

    นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา

    นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา
    กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์เป็นลูก / แม้ทางใจก็ไม่เคยคิดชั่ว

    นพ.โสพันธ์ บวรสิน ๔ ก.ค. ๒๕๕๗
     
  8. thailandkingdom

    thailandkingdom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...