"ความสุขที่แท้จริง" โดยพระพุทธองค์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 4 พฤศจิกายน 2011.

  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]
    ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ! ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ
    ความสุขชนิดนี้ สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง
    ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น
    เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย

    มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นไว้ เพื่อให้ตัวเองวิ่งตาม
    แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสดงหาความสุขโดยปล่อยใจ
    ให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย​

    เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียว
    มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน เรื่องเกียรติ
    จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา
    สิ่งนั้น คือ ดวงจิตที่ผ่องแผ้ว

    เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน
    เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา และ
    เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้

    เมื่อมีเกียรติมากขึ้น ภาระที่จะต้องแบกเกียรติ
    เป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว​

    ในหมู่ชนที่เพิ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น
    จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา
    ไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย
    เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลก
    อย่างหลับหูหลับตา​

    เขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย
    พร้อม ๆ กันนั้นเขาดได้แบกก้อนหิน
    วิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง"​

    คัดลอกมาจากหนังสือ "พุทธโอวาท ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน" หน้า ๒๐-๒๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2011
  2. NONEOS

    NONEOS สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุ ครับ
    แค่ได้อ่าน ก็เกิดสงบขื้นที่ใจแล้วครับ ขอบคุณ
     
  3. songshake

    songshake Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +70
    อ่านแล้ว พิจารณาตามแล้ว เป็นตามที่่ พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสใว้จริงๆ แล้วเราจะ ดิ้นรน แสวงหา แบก กันอีกทำไม
     

แชร์หน้านี้

Loading...