ความหมาย "ปฏิบัติธรรม" ที่แท้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 28 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    [FONT=&quot]ที่แท้[/FONT][FONT=&quot] คำว่า “ ปฏิบัติธรรม” ได้แก่การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม แต่ปัจจุบัน มักเข้าใจคำนี้ไปในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้

    [/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT][​IMG]
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]-->
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หลักการปฏิบัติธรรม

    หลักการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือ การนำหลักธรรมที่เป็นส่วนปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ มาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการเป็นแนวทางดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา กระบวนการนำหลักอริยมรรคมาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนที่สุด เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจัดเป็นตัวแท้ของการปฏิบัติ เป็นกระบวนการศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา โดยสามารถนำหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นมาย่นย่อลงมือบูรณาการปฏิบัติครอบคุลมได้ทั้งหมด

    อย่างไรก็ตาม ในการเข้าสู่กระบวนการศึกษาปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ซึ่งเรียกว่า ปฏิบัติธรรม นั้น มีรูปแบบหรือลักษณะการปฏิบัติอยู่ ๒ รูปแบบด้วยกัน คือ

    ๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ)
    ๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ)

    การปฏิบัติธรรมทั้งสองรูปแบบนี้มีคำจำกัดความ และความมุ่งหมายที่กว้าง และแคบต่างกัน ดังนี้

    ๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ: General Dhamma Practice) หมายถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น การที่คนเรามีสติสัมปชัญญะในการทำกิจการต่างๆ การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้งเพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะบีบคั้นกดดันต่างๆ ที่เผชิญอยู่ การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณนั้นให้เหมาะสม หรือการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ ในที่นี้

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือสติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือหิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้ จึงกินความกว้างมาก สุดแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบนี้ เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อปฏิบัติกิจ หรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การงานนั้นๆ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เช่น ในการทำงาน เมื่อนำหลักธรรมที่อำนวยให้ประสบผลสำเร็จ คืออิทธิบาท ๔ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม แม้แต่การออกไปที่ท้องถนนหรือการขับรถ ถ้าขับโดยเคารพวินัยจราจร รักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมาไม่ขับ ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง หรือง่วงนอนหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยดีโดยไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถอยู่กลางถนนนั้น ท่ามกลางรถรามากมาย เช่นนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

    นอกจากนี้ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานการบริการที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ก็ชื่อว่า ปฏิบัติธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดก็ตามปฏิบัติราชการโดยนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในชีวิตราชการ เช่น นำหลักอิทธิบาท ๔ โดยมีฉันทะ ยินดีพอใจในการเป็นข้าราชการ รักอาชีพราชการ มีวิริยะ มุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยทุ่มเท สู้งาน ไม่หวั่นย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน มีจิตตะ เอาใจใส่สนใจรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และมีวิมังสา คอยหมั่นไตร่ตรอง ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลดีอยู่เสมอ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จะโดยรู้ตัวว่านำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท ๔ มาใช้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม ข้าราชการผู้นั้น ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ: Intensive Dhamma Practice)) หมายถึงการเน้นนำหลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติโดยตรง หรือหลักธรรมในระดับที่สูงกว่าขั้นศีลธรรมมาฝึกอบรมจิต และพัฒนาปัญญา ที่เรียกว่า ปฏิบัติธรรมด้วยวิธีภาวนา หรือบำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการปลีกตัวออกไปจากสังคม หามุมสงบประคบประหงมจิต เช่น ไปปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ที่วัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม หรือไปหาสถานที่ที่สงบอื่นๆ เพื่อลงมือปฏิบัติฝึกหัดทดลองควบคุมจิตใจ เมื่อประสบสิ่งที่ใจไม่ปรารถนา ซึ่งวิธีที่จะควบคุมจิตใจได้ดีที่สุด ก็คือความใส่ใจใฝ่ฝึกศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนาในวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่มีพระภิกษุผู้มุ่งวิปัสสนาธุระเป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิชากัมมัฏฐานทั้งสายสมถะและวิปัสสนาโดยตรง ดังนั้น การปฏิบัติธรรมด้วยการปลีกตัวไปฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา จึงจัดเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้นเน้นหรือลงลึกเฉพาะเรื่อง โดยมุ่งฝึกฝนพัฒนาจิตใจ อย่างมีระบบ กำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อให้ได้รับปฏิเวธ คือผลจากการฝึกปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไปก๊อปปี้ตรงไหนมา
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ตอนนี้ยังไม่บอก แต่ขอความเห็นลุงหมานก่อน ว่าเห็นเป็นประการใด ผิดถูกยังไงใส่สุดกำลังเลยครับ
     
  6. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    โดยรวมก็ถือว่า ใช้ได้ครับ แต่หัวข้อต้องปรับเปลี่ยนนิดหน่อย
    เพราะถ้าแปลว่า การปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ เหมือนจะไม่ตรงประเด็น
    ซักเท่าไหร่


    เพราะใครก็ตาม ที่สามารถนำธรรมะ
    มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
    คนผู้นั้น ก็ย่อมไม่ใช่ธรรมดาแน่นอน
    เพราะสัมมาทิฏฐิเกิดแล้ว

    ถ้าจะอธิบายคำว่า ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ
    ส่วนตัว น่าจะหมายถึง คนที่ปฏิบัติ
    หลายสาย เยอะแยะไปหมด
    แต่ยังไม่สามารถ ปรับมาใช้ใน
    ชีวิตประจำวันได้ เพราะว่า
    สติยังไม่เกิดนั่นเอง

    ส่วนผู้ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
    คนผู้นั้น เค้าสติเกิดแล้ว
    สามารถปฏิบัติธรรมขั้นสูงได้ต่อไป


    โดยการดึงมรรคแปด
    ให้เกิดขึ้นที่จิต เหมือนการทำสมาธิ
    แล้วพิจารณา วนไปวนมา
    ให้เกิดความรู้สึกว่า
    มรรคข้อที่หนึ่ง ของเรา
    เต็มหรือยังหนอ เมื่อทำจนมรรค
    เกิดขึ้นกับจิต จนจิตตั้งมั่นดีแล้ว
    ต่อไป ก็ทำกับมรรคข้อที่สอง
    แบบเดียวกันกับข้อแรก
    ทำไปจนถึงข้อที่แปด


    เมื่อรู้สึกได้ว่า มรรคทั้งแปดมั่นคง
    อยู่ในจิตดีแล้ว ให้รวมมรรคทั้งแปด
    ให้เป็นอันเดียวกัน จนรู้สึกว่า
    เป็นอันเดียวกันแล้ว


    ต่อไปก็ให้พิจารณาเรื่องไตรลักษณ์
    ลองตรองดูในจิตซิว่า
    มีธรรม ข้อไหนบ้าง
    ที่เราจะสามารถปฏิบัติแล้ว
    มันสะเทือนจิตใจเรา เช่น
    เราลองพิจารณาที่ ไม่เที่ยง
    ลองภาวนาว่า กายไม่เที่ยง ดู
    หากภาวนาแล้ว รู้สึกได้ว่า
    กายนี้ไม่เที่ยงจริงๆ เหมือนอย่างที่
    เราภาวนา ธรรมข้อนี้ใช้ได้
    ถูกกับจริตของเรา ก็ใช้ธรรมข้อนี้
    ปฏิบัติวิปัสสนาต่อได้เลย


    แต่ถ้าหากว่า เราลอง กายไม่เที่ยง
    แล้วรู้สึกเฉยๆ มันไม่สะเทือนจิต
    ก็ให้ลองภาวนาว่า กายเป็นทุกข์
    หากภาวนาแล้ว มันเริ่มสะเทือนจิต
    รู้สึกได้ว่า กายนี้มันเป็นทุกข์จริงๆ
    เหมือนกับที่เราภาวนา อันนี้ใช้ไ้ด้
    ถูกกับจริตของเรา ก็ให้ใช้ธรรมข้อนี้
    ทำวิปัสสนาต่อไปได้เลย


    แต่ถ้าหากว่า ทำสองอย่างข้างต้น
    แล้วยังไม่เกทอีก คือมันไม่สะเทือนจิต
    ไม่เห็นมันจะเกิดอะไรขึ้นเลย
    ไอ้คนประเภทนี้ มันฉลาดเกินไป
    ต้องไปภาวนาว่า กายไม่ใช่ของเรา
    หรือ กายนี้คือสมมุติ
    เลือกเอาอย่างเดียวพอ
    คำภาวนาอันนี้ มันออกแนว ปรัชญา
    เพราะฉนั้น คนที่จะภาวนาได้
    จะต้องเป็นคนที่มีจินตการล้ำ้้ลึก เช่น
    หมอ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก
    จิตกร ช่างต่างๆ นักบวช นักดนตรี
    พวกที่เรียนสูงๆ เป็นดอกเตอร์
    พวกไม่เอาถ่าน จึงจะเห็นผลได้
    เมื่อภาวนาว่า กายนี้ไม่ใช่ของเรา
    ก็ต้องรู้สึกให้ได้ตามนั้นจริงๆ

    หากภาวนาทั้งสามอย่างแล้ว
    ก็ยังรู้สึกว่า ไม่เห็นสะเทือนจิตตรงไหนเลย
    ก็ให้ลอง ทำเวทนาในเวทนาดู อาจจะเกทก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มีนาคม 2015
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    Nilakarn ตอบให้แล้ว
    ทีถามนะจะได้ติดตามเจ้าของบทความครับ...
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมมุติ มีแม่ค้าข้าวแกง (คนหนึ่ง) เขาทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักจัดรู้จักทำ รู้จักเก็บรู้จักใช้จ่ายทรัพย์ เป็นต้น เขาเลี้ยงชีวิตยังงี้มาตลอด แต่เขาไม่รู้เลยว่า ที่เขาทำนั่นเป็นธรรมะ อย่างนี้ สัมมาทิฏฐิเกิดหรือยังครับ
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ติดตามจะนำมาลงให้ดู นั่นเป็นน้ำจิ้ม :)
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014





    สมัยหนึ่ง พวกนอกศาสนา
    ที่พระพุทธองค์ มักกล่าวถึงบ่อยๆ
    เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ เค้าก็มีศีล
    เค้าก็มีธรรม อยู่ในตัวเค้าเองเหมือนกัน
    แต่เค้ากลับไม่รู้ว่า ศีลคืออะไร ธรรมะคืออะไร


    ต่อมา เมื่อพระพุทธองค์ ประกาศคำสอนแล้ว
    เค้าก็ได้รู้จัก กับ ศึลต่างๆ และ ธรรมต่างๆ
    จึงได้รักษาศีล และ ปฏิบัติตามธรรมนั้น
    จึงเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นในจิต
    จึงไม่เรียกว่า พวกนอกศาสนาอีก
    แต่เรียกเป็น พุทธมามกะ แทน

    ส่วนแม่ค้าข้าวแกง ถือว่า แค่เลี้ยงชีพได้ เท่านั้น
    แต่ไม่ใช่ การเลี้ยงชีพชอบ เพราะการจะเลี้ยงชีพชอบได้
    ก็ต้องรู้ว่า ศีลมีอยู่ ธรรมมีอยู่ มรรคมีอยู่ สัมมาอาชีโวมีอยู่
    แล้วทำให้ได้ตามนั้น


    นั่นก็คือ
    เมื่อเรา เลี้ยงชีพได้แล้ว เราก็ต้องรู้ว่า
    การเลี้ยงชีพของเรานั้น ผิดศีลข้อไหนหรือไม่
    หากการงานของเรา ผิดศีล เป็นประจำ
    เราก็รู้ว่ามีวิธีไหนบ้าง ที่จะทำให้เราไม่ผิดศีล
    เช่น อาจเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น ที่ไม่ผิดศีล
    หรือ หาวิธีลดทอนกำลังของบาปลงมา
    ในกรณีที่อาจจะยังเปลี่ยนอาชีพไม่ได้ เพราะมีอาชีพเดียว
    หากมีอาชีพเดียว แล้วเลี่ยงไม่ได้
    อย่างกรณี แม่ค้าข้าวแกง เมื่อต้องการขายของให้ได้มากทีสุด
    หัวใจของการค้า ก็คือ ของที่จะนำมาทำอาหาร
    ต้องสดใหม่อยู่เสมอ ลูกค้าจึงจะติดใจ
    แม่ค้าเลยต้อง เตรียมสัตว์เป็นๆ ไว้ทำอาหาร
    พอลูกค้าสั่งอะไร ก็ฆ่าเดี๋ยวนั้นเลย
    อันนี้เป็นกรรรมหนักมาก เพราะไม่ได้ฆ่าเพื่อยังชีพ
    แต่ฆ่าเพื่อการค้า ฆ่าเพื่อความสุขของผู้อื่น
    แม่ค้าก็ต้องรู้ว่า เมื่อเราก่อกรรมหนักเช่นนี้
    มีวิธีหลีกเลี่ยงหรือไม่ เช่น
    เปลี่ยนไปซื้อ เนื้อสัตว์จากตลาด แทน
    เนื่องจาก ไม่ได้เจาะจง ขายให้เราคนเดียว
    กรรมส่วนใหญ่ จึงไปตกกับคนที่ฆ่า
    ส่วนคนที่ซื้อ ก็มีกรรมเหมือนกัน
    แต่ไม่หนักมาก
    อย่างนี้ เรื่ยกได้ว่า สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแล้ว
    มรรคเกิดขึ้นแล้ว บางข้อ


    ต่อไป ถ้าแม่ค้านั้น ไปศึกษาเพิ่มเติ่ม
    ในธรรมะ ข้อที่เรียกว่า มรรคมีองค์แปด หรือ มรรคแปด
    จนสามารถปฏิบัติตาม มรรค ได้ถูกต้องทั้งแปดข้อ
    สัมมาทิฏฐิ ในข้อมรรค ก็จะเปิดออกเต็มที่
    ก็มีสิทธิ์ที่จะ บรรลุ มรรคผล หรือ บรรลุธรรม ได้
     
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    อุปปาทานเป็นกลไกธรรมชาติอย่างหนึ่ง
    มีธรรมดายึดว่าเป็นของเรา ของคนอื่นๆ โอนถ่ายจากการยึดไว้ที่หนึ่ง ไปเกาะหนึบอีกที่หนึ่ง ได้เหมือนตีนตุ๊กแก
    แต่ อุปปาทานในโลกของความคิด โลกของสังขารขันธ์
    จะเหมือนกะกระป๋องกระแป๋งน้ำ ที่รั่ว เห็นว่ามีรูที่พอจะเอามืออุดได้ นิ้วอุดได้ สองนิ้ว
    ปรกติในโลกจริงเราต้องเอานิ้วสองนิ้ว อุดรูรั่วพร้อมกัน น้ำจึงจะหยุดรั่ว
    แต่ในโลกของความคิดเราจะอุดได้แค่รูเดียว
    ไม่มีทางที่จะอุดได้ พร้อมกันสองรู
    เพราะ..........
    คิดสิมันคือคิด
    และตัวที่เรารู้ว่าเราคิด ขณะที่เรา เราหนะ รู้ว่าเราคิด
    นิ้วเราจะไปอุดอีกรูเสมอ นิ้วที่เราอุดรู ที่เรารู้ จริงๆแล้วมันไปอุดอีกรูหนึ่ง เสมอ

    สองรูที่อุด ประหนึ่งอายตนะ ที่มีการเกาะกันเป็นคู่ๆ
    เหมือนบุญและบาป ที่ยึดเป็นของคนโน้นนี้นั้นได้
    ปรกติเรารู้ว่าบุญนี้เป็นของเรา
    แต่ในโลกของความคิดมันไปเป็นของ รูอื่นแน่ๆ
    เพราะ.....
    คิดสิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2015
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    เราเรียกอาการสลับตำแหน่งการผิดของตำแหน่ง
    เช่าบุญนี้ได้เครื่อนไปจากการเป็นเราเป็นของเราไปแล้วจะไปตกงอกที่ชาติภพอื่นๆ
    เรียกอาการอย่างนี้ว่าสังโยชน์
    แต่ถ้าเราทำมันผิดๆบุญที่เรายึดไว้ว่าเป็นเราเป็นของเรา
    มันจะเข้าทำลายอวิชชาได้
    เพราะ.....
    มันคือคิด
    ลูกของอวิชชาทำการบิตุฆาตมาตุฆาต
    เหมือนที่องคุลีมารถือดาบวิ่งไล่พระพุทธ
    เพราะเข้าใจว่านี่คือแม่ของตน
    บุญทำให้องคุลีมานอุดแผ่นฟ้าด้วยฝ้ามือผิดรู
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    เมื่อรูปดับนามดับ
    เพราะมันไม่มีรูปไม่มีนามเป็นปัจจัยณขณะหนึ่งๆ
    องคุลีมาลจะเอานิ้วอุดรูของน้ำที่รั่วพร้อมกัน
    แต่คิดไม่ถึงว่าอุดได้ทีละนิ้ว
    และอุดผิดรู
    เพราะรูปดับนามดับ ณขณะนั้นจะไม่เหลือความเข้าใจใดๆที่ตรงกันได้
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หาที่มันเข้ากับเรื่องที่พูดฮี่

    https://www.youtube.com/watch?v=wJOy6PJw6fY
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ใช่เลยกระทู้ดีๆ กลายเป็นกระทู้ขยะ
     
  16. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ขอโทษครับคุณดูและอ่านแล้วรู้เรื่องหรือครับผมอ่านแล้วบอกตรงๆนะครับไม่รู้เรื่องเลยเจอหลายๆที่กระทู้ดีๆเป็นวิทยาการที่ดีเจอแบบนี้งงงงงหลายตัวหน่อย. สาธุ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ครูสอนลิง เขาก็มีวิธีของเขา

    https://www.youtube.com/watch?v=sR0qnSKUXy4

    พระพุทธเจ้าใช้หลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งย่นย่อจากมรรคมาสอนคน คือสอนจากง่ายด้านศีล ไปหายากคือด้านสมาธิ และปัญญา หรือจะพูดว่าสอนจากภายนอก (= ศีล) เข้าไปหาภายใน (=สมาธิ และปัญญา)
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กัมมัฏฐาน: กระบวนการฝึกปฏิบัติ

    กัมมัฏฐาน นับเป็นอุบายวิธีฝึกจิตพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนา เพื่อให้จิตใจได้ทำงาน คือ ได้รับการฝึกจนสามารถอยู่กับอารมณ์เดียวได้ หากไม่มีอุบายวิธี จิตก็ไม่มีที่สำหรับทำงานฝึกรับอารมณ์เดียว ก็จะยิ่งวุ่นวาย คอยแต่จะคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ตามที่ปรารถนา เนื่องจากสภาพหรือธรรมชาติของจิตนั้นมีสภาพดิ้นรนกวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก สามารถรับอารมณ์ได้ในที่ไกล เที่ยวไปตามลำพัง ไม่มีรูปร่าง เห็นได้ยาก ละเอียด มักตกไปในอารมณ์ที่ตนใคร่ปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ และจิตนั้นจะมีเจตสิก คือ อาการ หรือคุณสมบัติเฉพาะที่เกิด ร่วมกันอยู่เสมอ ซึ่งทำให้จิตมีความสามารถพิเศษต่างๆ มากมหันต์ กล่าวคือ สามารถรู้ดี ไม่ดี หรือเฉยๆ ต่ออารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาทางประสาทสัมผัสรับรู้ของคนเรา ที่เรียกว่า เสวยเวทนา ก็ได้ สามารถสะสมอารมณ์ที่ประสบมาเก็บไว้ แปรสภาพเป็นความจำ เมื่อเวลาผ่านไป ที่เรียกว่าสัญญาก็ ได้ สามารถปรุงแต่งอารมณ์ ให้เป็นความคิดนึกต่างๆ ทั้งที่ดี (กุศล) ไม่ดี (อกุศล) หรือเป็นกลางๆ (อัพยากฤต) ที่เรียกว่า สังขาร ก็ได้ และสามารถกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ ถึงขั้นพัฒนาความรู้นั้นขึ้นไปเป็นความรู้จักรู้แจ้งที่เรียกว่าวิญญาณ และความรู้ทั่วหรือความชัดที่เรียกว่า ปัญญา ก็ได้

    อันร่างกายของคนเรา จะแข็งแรงมีสุขภาพดีได้ ก็เพราะเจ้าของออกกำลังกาย รู้จักรักษาสุขภาพ เช่น รู้จักบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอ และได้อากาศบริสุทธิ์ ข้อนี้ ฉันใด จิตใจของคนเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะมีสุขภาพสมบูรณ์ได้ กล่าวคือ สงบเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ก็เพราะเจ้าของได้ฝึกฝนอบรมด้วยวิธีที่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีอุบายวิธีที่เรียกว่า กัมมัฏฐาน สำหรับนำมาใช้ในการสร้างความสงบให้แก่จิต หรือฝึกจิตให้สงบเป็นเบื้องต้น เมื่อจิตสงบ ก็จะพบความสุขที่ประณีตเยือกเย็น และเป็นมาตรฐานสำหรับการฝึกจิตเพื่อให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน ต่อไป

    การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิเป็นต้นนั้น ในพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นความดี ที่สามารถทำหให้หลุดพ้นทุกข์ได้ ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสรับรองไว้ในพระสุตตันตปิฎก....ความว่า

    "การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก รวดเร็ว มักตกไปในอารมณ์น่าใคร่เสมอ เป็นความดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

    ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์น่าใคร่เสมอ เพราะว่าจิตที่คุ้มครองดีแล้วนำสุขมาให้

    ชน เหล่าใด จักสำรวมจิตที่ไปได้ไกล เที่ยวไปตามลำพัง ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือหทัยเป็นที่อาศัยได้ ชนเหล่านั้น ย่อมพ้นจากบ่วงแห่งการ"


    อนึ่ง เหตุที่เราต้องมีอุบายวิธีฝึกจิตที่เรียกว่ากัมมัฏฐาน ก็เพราะว่าทางแห่งสันติหรือความสงบ ได้แก่ ไตรทวาร ทางทำกรรม มี ๓ ทาง คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ที่เป็นไปโดยสุจริต คือ เว้นจากพฤติกรรมที่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เช่น การประทุษร้าย การกล่าวร้าย การคิดร้าย ในการทำกรรมทางไตรทวารของคนเรานั้น มโนทวาร คือการทำงานของจิตที่เป็นไปทางมโนทวาร นับว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเรามากที่สุดในทางที่จะนำไปสู่สันติหรือตรง ข้ามกับสันตินั้น เพราะพฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย และวาจา จะเป็นไปโดยสงบเรียบร้อย หรือไม่สงบเรียบร้อยนั้น ขึ้นอยู่กับจิตหรือใจเป็นสำคัญ เพราะจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน ทุกสิ่งในชีวิตคนเรา สำเร็จมาได้จากจิต เมื่อจิตคิดชั่ว พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็เป็นไปในทางชั่ว เมื่อจิตคิดดี พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็เป็นไปในทางที่ดี ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ข้อนี้ สมดังพระบาลีพุทธพจน์....ว่า

    "สิ่งทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จมาด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว จะพูดหรือทำก็ตาม ทุกข์ย่อมตามเขาไป เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น (คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต) เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคที่กำลังลากเกวียนไปฉะนั้น"


    ดังนั้น จิตที่สงบ จิตที่ประกอบด้วยมโนสุจริต ๓ คือ ไม่คิดโลภอยากได้ ไม่คิดพยาบาทปองร้าย มีความเห็นชอบตามคลองธรรม จัดเป็นสันติ คือ ความสงบภายใน เมื่อจิต ซึ่งเป็นมโนทวาร มีความสงบภายในแล้ว ย่อมมีอิทธิพลอำนาจบังคับบัญชาให้ทวารทั้งสอง คือ กายทวาร และวจีทวาร ดำเนินไปเอย่างสงบ จัดเป็นสันติ คือ ความสงบภายนอก คือ เป็นไปโดยสุจริต โดยกายกรรม ก็จะประกอบด้วยกายสุจริต ๓ คือ เว้นจากการฆ่าการเบียดเบียน เว้นจากการลักขโมยฉ้อฉลฉ้อโกง เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ส่วนวจีกรรมก็จะประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ คือ เว้นจากการพูดเท็จ คือ เป็นพยานเท็จ เป็นต้น เมื่อสามารถควบคุมมโนทวารให้ เป็นมโนสุจริตเช่นนี้ ก็จะส่งผลให้พอกพูนทางแห่งสันติครบทั้งไตรทวาร นับเป็นการพอกพูนทางแห่งสันติเบื้องต้น อันเป็นโลกิยะเหมาะสำหรับสังคมมนุษย์ในโลกได้


    ตามที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญเบื้องต้นของกัมมัฏฐาน เป็นกระบวนการฝึกอบรมพัฒนาจิตที่ชาวพุทธควรจะได้ศึกษาปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์ คือ ปีติสุขสงบจากการเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
     
  19. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    1.อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปรกติสุข จากการไม่เบียดเบียน มีการสงเคราะห์ เป็นต้นฯ เป็นผลจากการประพฤติตามหลัก ศีล5, บุญกิริยาวัตถุ10,สังคหวัตถุ4 แลพรหมวิหาร4
    2.มีกำลังใจหนักแน่น เป็นหลักได้ ย่อมเป็นผลจากการใช้กำลังใจควบคุมนิวรณ์5ประการ
    3.มีปัญญาแยกแยะ ตามเหตุผล ย่อมได้จากการฝึกฝนคิดพิจารณาตามเป็นจริง กล่าวคือ มีใจยอมรับความจริง ไม่ฝืน โดยมีหลักให้ฝึกพิจารณาดังนี้ หลักแห่งอริยะสัจสี่ วิปัสสนาญาน9, ไตรลักษณ์ ,พิจารณาขันธ์5 เป็นต้นฯ
     
  20. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    กัมมัฏฐาน นับเป็นอุบายวิธีฝึกจิตพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนา เพื่อให้จิตใจได้ทำงาน คือ ได้รับการฝึกจนสามารถอยู่กับอารมณ์เดียวได้




    อันนี้ถูกต้อง เมื่อก่อนอารมณ์เดียวของเรา
    แยกเป็น อารมณ์เดียวของสมถะ กับ
    อารมณ์เดียวของวิปัสสนา

    เดี๊ยวนี้ เมื่อเราเข้าใจแล้ว
    อารมณ์เดียวของเรา ก็คือ
    อารมณ์ธรรม หรือ อารมณ์ในธรรมะ
    ที่รวมเอา สมถะ รวมเข้ากับ วิปัสสนา
    แล้วก็รวมเข้ากับ
    อุบายของการทรงอารมณ์ธรรม

    คือ การหาทางทรงอารมณ์ธรรมของเรา
    ไว้ให้ตลอดรอดฝั่ง ในวันหนึ่ง
    ไม่ให้อารมณ์มาแทรกได้
    หากแทรกได้ ก็ต้องดึงกลับมาให้เร็วที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มีนาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...