ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการทำสมาธิ และ วิปัสสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คิดดีจัง, 1 กันยายน 2012.

  1. คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,354
    <CENTER></CENTER>

    <CENTER>ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการทำสมาธิ และ วิปัสสนา</CENTER>

    ..........คนเรามักจะเข้าใจผิด ว่า การทำสมาธิ จิตจะต้อง นิ่ง ไม่ขยับไปใหนเลยพอจิตไปคิด อดีต อนาคต ไม่อยู่กับลมหายใจ ก็ จะคิดว่า เราทำสมาธิไม่ได้ ก็เลยพาล ไม่ทำ ไม่ปฎิบัติ นี่คือการเข้าใจ ในเรื่องของสมาธิที่ไม่ถูกต้อง

    ..........ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนว่า จุดมุ่งหมาย ของพระพุทธเจ้า ที่ให้เรามาทำสมาธิ เพื่ออะไร

    ..........คนส่วนมากจะเข้าใจผิดว่า ทำสมาธิ เพื่อให้ จิตนิ่ง ที่จริง มันก็ ถูกอยู่ แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะการที่เรามาทำให้จิตนิ่ง ให้เป็นสมาธิ จุดประสงค์ ที่แท้จริง คือ พระพุทธเจ้า ต้องการให้เราทำสมาธิให้จิตมันนิ่ง ก็เพื่อให้เห็นว่า ที่จริงแล้ว ธรรมชาติของจิต มัน “ไม่นิ่ง” ธรรมชาติ ของจิต จะเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลาไม่มีทาง ที่จะอยู่นิ่ง โดยที่ไม่ดับ ถึงจะทำสมาธิ ได้ ระดับ ฌาน สูงๆ ระดับ ฌาน ๔ ขึ้นไป จิต ก็ ยังมีการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา ในระดับ รูปสัญญาสมาบัติ ขันธ์ทั้ง ๕ ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา และในระดับ อรูปสัญญาสมาบัติ ขันธ์ ทั้ง ๔ ก็ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอด

    ..........สิ่งที่พระพุทธเจ้า ให้เราทำสมาธิ ก็เพื่อให้เรา เห็นการเกิดดับของจิต เรียกว่า วิปัสสนา คือ ให้เห็นสภาวะตามความเป็นจริงที่ปรากฏ คือ เห็นว่า จิต มันเกิดดับ เกิดดับ ไม่นิ่ง เรียกว่า ให้ เห็น อนิจจัง ความไม่เที่ยง ของจิต นี่คือ วัตถุประสงค์ ของการทำสมาธิ และ วิปัสสนา ให้เห็นว่า จิต มันไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เดี๋ยวไปคิด อดีต บ้าง อนาคต บ้าง สุข บ้าง ทุกข์ บ้าง หรือ เฉยๆบ้าง กลับมาอยู่กับ ลมหายใจ บ้าง หรืออยู่กับการเคลื่อนไหวของกายบ้าง


    <CENTER>จิต จะเกิดดับ เกิดดับ วนเวียนอยู่ใน ๔ ขันธ์ นี้ คือ </CENTER>

    ..........๑. รูป ( กาย หรือ ลมหายใจ )
    ..........๒. เวทนา ( สุข ทุกข์ หรือ เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ )
    ..........๓. สัญญา ( ความจำในอดีต )
    ..........๔. สังขาร (ความคิดฟุ้งไปในอนาคต หรือ การปรุงแต่งของจิต )

    ..........จิตจะเกิดดับ เกิดดับ วนเวียนอยู่ใน ๔ ธรรมชาตินี้ ไม่ไปใหน ที่เราทำสมาธิวิปัสสนา ก็ ให้เราดูว่า มันเกิดดับ เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้น เราไปบังคับ ให้มันนิ่ง ให้มันไม่ดับ ไม่สามารถ ที่จะทำได้ จนเกิดความรู้ ขึ้นมาว่า อ้อ!!จิต ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะถ้าจิต เป็น เรา เราต้องบังคับ ไม่ให้ มันดับได้ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจึงบังคับให้เป็นไปตามอำนาจของเราไม่ได้ นี่คือ การ เห็น อนัตตา ว่า มันไม่ใช่ตัวตนของเรา มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ก็ ดับไปในที่สุด ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา นั้นมันเป็นเพียงธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วก็ดับไป ไม่ควรที่จะเข้าไปยึดถือ ถ้าเราเข้าไปยึดถือ จะทำให้เกิดทุกข์

    ..........ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพชัดๆก็ เหมือนเรา ไปยึดความฝัน ว่า มันเป็นความจริง พอมันตื่นขึ้น ความฝัน มันก็หายไป ไม่มีอะไรที่เราจะเข้าไปยึดถือได้เลย พระพุทธเจ้า จึงไม่ให้เข้าไปยึดถือ สิ่งที่มันเกิดแล้วก็ดับ เพราะมันจะเหมือน เราไปยึดถือความฝันคิดว่ามันจะไม่หายไป ไม่ดับ ที่จริง มันก็ ดับไปได้ พระพุทธเจ้า จึงได้ชื่อว่า เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่จิตมันปรุงแต่ง

    ..........นี่คือ จุดมุ่งหมาย ของการทำสมาธิ และ วิปัสสนา ที่แท้จริง คือ พยายามทำจิตให้นิ่งเพื่อให้เห็นว่า มันไม่นิ่ง นั่นเอง อย่าไปคิดว่า เราทำสมาธิไม่ได้ เลย ไม่ทำดีกว่า

    ..........แล้วเราต้องทำอย่างไรบ้าง ในการทำสมาธิ และวิปัสสนา เมื่อเราทราบว่า จิต มันวนเวียน อยู่ใน ๔ ธรรมชาตินี้ ไม่ไปไหน เราก็ แค่ตามดู มันไปเรื่อยๆหรือ จริงๆแล้ว การทำสมาธิ และวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ ฝึก ทิ้ง ภพ ไปด้วย ในตัว

    ..........อะไรที่เรียกว่า ภพ ก็ คือ สถานที่ ที่จิต เข้าไปตั้งอาศัย คือ ภพ ขันธ์ ทั้ง ๔ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร นั่นแหละ คือ ภพ ที่จิต หรือ วิญญาณ เข้าไปตั้งอาศัย แต่ ขั้นต้น เราจะทิ้ง ภพ ทั้ง ๔ ทีเดียวไม่ได้ ต้องค่อยฝึกทิ้งทีละขั้นตอน เพราะเรายังทิ้งไม่ได้หมด จิตเรายังต้องการที่ตั้งอาศัย พระพุทธเจ้า จึง ให้เรา ตั้งจิต ไว้ กับภพปัจจุบันคือ รูป (การเคลื่อนไหวของกาย หรือ ลมหายใจ )ไม่ให้เราไปตั้งอาศัยกับ ภพที่จะพาเราไปเกิดในอนาคต คือ เวทนา ( สุข ทุกข์ ) สัญญา สังขาร ทั้ง ๓ขันธ์นี้ คือ ภพ ที่จะพาเราไปเกิดในชาติถัดไป

    .......... พระพุทธเจ้าจึงให้เราฝึกทิ้งภพที่จะพาเราไปเกิด ให้เรา ตั้งจิตอยู่ในภพที่เป็นปัจจุบัน คือ ให้รู้อยู่แต่ปัจจุบัน ให้ ตั้งจิตอยู่ที่ กาย หรือ ลมหายใจ เท่านั้น เมื่อเราฝึกจิตให้อยู่กับ ภพปัจจุบัน เป็นอย่างดีแล้ว พอเราตาย จิต ก็ ไม่มีภพ ให้เป็นที่ตั้งอาศัย จิตก็จะดับไป พร้อมๆกับลมหายใจ ไม่ไปเกิดอีกต่อไป

    ขอบคุณข้อมูลจาดคุณปีเตอร์Bloggang.com :
     
  2. firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    พระพุทธเจ้าตรัสอยู่ในพระสูตรไหนบ้างครับ
     
  3. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ลักษณะของฌาน

    เรื่องนี้มีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่นำมาเทศน์ดังนี้
    1. หลวงปู่เทสก์ บอกว่าความตั้งมั่นแห่งจิตมี 2 แบบคือ “ฌาน กับ สมาธิ”
    2. หลวงพ่อพุธ อธิบายว่า ฌาน ของหลวงปู่เทสก์ หมายถึง อารัมมณูปนิชฌาน ส่วน สมาธิของหลวงปู่เทสก์ หมายถึง ลักขณูปนิชฌาน
    3. หลวงพ่อปราโมทย์ อธิบายเช่นเดียวกับหลวงพ่อพุธกล่าว

    ซึ่งเรื่องนี้มีที่มาจาก อรรถกถา พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ ดังรายละเอียดนี้
    ฌานนี้นั้น มีอยู่ ๒ อย่างคือ

    ๑) อารัมมณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งอารมณ์)
    ๒) ลักขณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งลักษณะ)
    บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร ท่านเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน.
    ถามว่า เพราะเหตุไร ?
    แก้ว่า (ตอบว่า) เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์คือกสิณ.
    วิปัสสนามรรคและผล ท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาณ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร ?
    แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ.
    จริงอยู่ บรรดาวิปัสสนามรรคและผลเหล่านี้ วิปัสสนา ย่อมเข้าไปเพ่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น. ก็กิจคือการเข้าไปเพ่ง ด้วยวิปัสสนาย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น มรรคท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน. ส่วนผล ท่านก็เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งลักษณะ
    ที่แท้จริงแห่งนิโรธ.
    แต่ในอรรถนี้ (หมายถึงในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑) ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น ในอธิการว่าด้วยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ชื่อว่าฌานที่ควร จะพึงอ้างถึงอย่างนี้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร ฯลฯ มีปีติและสุข ดังนี้ นั้นเป็นไฉนเล่า ?
    ข้าพเจ้า จะกล่าวเฉลยต่อไป :- เปรียบเหมือนบุรุษคนอื่นเว้นเว้นทรัพย์และปริชนเสีย ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรภาวะที่จะพึงอ้างถึงในประโยคมีอาทิว่า ผู้มีทรัพย์ ผู้มีปริชน ฉันใด ฌานอื่น เว้นธรรมมีวิตกเป็นต้นเสีย ควรจะพึง อ้างถึง ย่อมไม่มี ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า การสมมติว่าเสนา ในองค์เสนา
    ทั้งหลาย ที่ชาวโลกกล่าวว่า เสนา มีพลรถ มีพลเดินเท้า ดังนี้นั่นแล บัณฑิตควรทราบฉันใด ในอธิการนี้ ก็ควรทราบ การสมมติว่าฌาน ในองค์๔ นั้นแลฉันนั้น.
    ควรทราบในองค์ ๕ เหล่าไหน ? ในองค์ ๕ เหล่านี้ คือ
    วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสบายใจ
    จิตเตกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เดียว. จริงอยู่ องค์ ๕ เหล่านี้และ พระ
    ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยความเป็นองค์แห่งฌานนั้น โดยนัยมีอาทิว่า เป็นไป
    กับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.
    ถ้าหากพระอาจารย์ผู้โจทก์พึงท้วงว่า เอกัคคตา (ความที่มีจิตมีอารมณ์
    เดียว) จัดเป็นองค์ (แห่งฌาน) ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้
    (ในบาลีแห่งฌาน) มิใช่หรือ ?
    แก้ว่า ก็คำที่ท่านกล่าวนั้น ย่อมไม่ถูก.
    ถามว่า เพราะเหตุไร ?
    แก้ว่า เพราะจิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลี
    แห่งฌานนั่นเอง จริงอยู่ จิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แน่นอนใน
    คัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ชื่อว่า ฌาน
    เพราะฉะนั้น คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร
    ดังนี้ ฉันใด แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า สจิตเตกัคค-
    ตา แม้จิตเตกัคคตา ก็ควรทราบว่า เป็นองค์ (แห่งฌาน) ทีเดียว ตาม
    พระบาลีในคัมภีร์วิภังค์นี้ ฉันนั้น. จริงอยู่ อุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ
    ไว้แล้วด้วยพระประสงค์ใด อุเทศนั้นนั่นเอง ก็เป็นอันพระองค์ทรงประกาศไว้
    แล้ว แม้ในคัมภีร์วิภังค์ ด้วยพระประสงค์นั้นแล
    อ้างอิง
    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑
    http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/attha_thai/01.pdf
    ลักษณะของฌาน | drronenv
     

แชร์หน้านี้