ความเข้าใจใหญ่เกี่ยวกับวิญญาณ!

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พรเทพ คชมาศ, 29 พฤศจิกายน 2006.

  1. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +1,295
    หลังจากได้อ่านทบทวนความรู้ใหม่ เลยได้ความหมายของวิญญาณมาดังนี้ครับ
    ....................................................................................

    ในทางพราหมณ์ เชื่อว่า วิญญาณเป็นอัตมัน มีความเป็นตัวตน เป็นอัตตา ออก
    จากร่างแล้วไปเข้าร่างใหม่ แต่คิดแบบนี้จะไม่ใช่ "อนัตตา" เป็น "อัตตา" ซึ่ง
    ผิด พระพุทธองค์จึงใช้ศัพท์เฉพาะใหม่ คือ "ภวังคจิต" เป็นเสมือนจิตหลังร่าง
    กาย "ตาย" คือ เหมือนตกอยู่ในภวัง เช่น ถ้าทุกข์ตอนนั้นก็ตกนรกในภวังนี่เอง
    ภวังคจิต เป็นเหตุให้เกิด จุติจิต คือ เมื่อภวังคจิตมีลักษณะที่พร้อมเกิดสิ่งใหม่
    ก็กลายเป็นเหตุให้เกิด "ปฏิสนธิจิต"

    แต่ภวังคจิตนี้ ไม่ได้เกิดจาก "จิต" เป็นเหตุ เนื่องจากจิตเกิดดับเป็นดวงๆ และ
    มีสภาวะธรรมเป็น "นเหตุ" คือ ไม่ใช่เหตุให้เกิดอะไรได้อีก ดับไปแล้วดับเลย
    สงสัยว่า "ภวังคจิต" อาศัย เจตสิก เป็นตัวเกิดหรือไม่? ประการหนึ่ง

    เช่นนี้ การสะสมบุญบารมีก็ไม่ใช่ "ของเรา" กายแตกสลาย ก็แยกธาตุสี่ออก
    ไป และทิ้งภวังคจิตเป็นเหตุให้เกิดสิ่งอื่นต่อ เสมือนเครื่องทำอาหาร เอาวัตถุ
    หนึ่งเข้ามา แปรไปเป็นอีกอันหนึ่ง แล้วก็แปรไปเป็นอีกอันหนึ่ง

    เมื่อกายแตกสลาย ภวังคจิตมากมาย ก็กระจายอยู่ในธรรมชาติ ภวังคจิตนั้น
    จะมีสภาพที่รับรู้ได้ มีอายตนะ? จึงรู้สึกเจ็บปวดแล้วทุกข์ หรือสุขได้ เมื่อทรง
    สภาพนั้นจนเริ่มแปรเปลี่ยนไปอีกตามธรรมชาติ มีลักษณะพร้อมจุติ คือ เป็น
    จุติจิต ก็จะไปปฏิสนธิเข้า เกิดเป็นปฏิสนธิจิต

    เสมือนวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต ที่ดึงเอา "จุติจิต" มาเป็นเครื่องจุดให้ร่างนั้นขยับ
    เขยื้อนกายไป แล้วก็ให้เกิดรวมเข้าเป็น "ปฏิสนธิจิต" แล้วก่อ จิต เกิดดับ เป็น
    ดวงๆ ต่อไป


    เช่นนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย? แม้แต่การบำเพ็ญเพียรบารมี
    เกิดชาติอะไรต่อไป เราก็แค่วัตถุดิบ แห่งการเกิดของสิ่งอื่นไปแล้ว
    พระพุทธองค์ก็เกิดจากเหตุต่างๆ จากธรรมชาติมารวมกัน นานแสน
    นานให้มีสภาพแบบนั้น หาใช่เป็นดวงวิญญาณเป็นตัวตน ออกไป
    อยู่ที่นั่นที่นี่ แล้วเข้ามาในร่างใหม่ แล้วมาเป็นคนนั้นนี้


    แต่การระลึกชาติก็คงได้ จากการที่รู้ระลึกย้อนเหตุกลับไปได้นี่เอง?


    ท่านอื่นๆ คิดว่าอย่างไรกับแนวคิดนี้ครับ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...