ความเป็นคนจน และการกู้ยืมเรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 28 มีนาคม 2013.

  1. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม
    แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้ดอกเบี้ย
    แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว
    ไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา
    แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา
    แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทันไม่ให้ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลาย
    ย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริ ในกุศลธรรม
    ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า
    เป็นจนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระอริยเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจ
    ยากไร้นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
    ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เรากล่าว
    การประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ
    ปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา
    ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
    เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯ
    เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดมโนทุจริตนั้น
    ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
    เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริตของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ยเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีล
    เป็นที่รักได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้
    เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาปประกอบด้วยความ
    เดือดร้อน ย่อมครอบงำเขาผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าวการถูก
    อกุศลวิตกครอบงำนี้ของเขาว่า เจ้าหนี้ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล ครั้นประพฤติ
    ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือใน
    เรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำอื่นเพียงแห่ง
    เดียว ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมเกษมจากโยคะ
    หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือนเรือนจำ คือ นรก หรือเรือนจำ คือ
    กำเนิดดิรัจฉานเลย ฯ

    ความเป็นคนจนและการกู้ยืมเรียกว่า เป็นทุกข์ในโลก คนจนกู้ยืมเลี้ยงชีวิต
    ย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา เพราะไม่ใช้หนี้นั้น
    เขาย่อมเข้าถึงแม้การจองจำก็การจองจำนั้น เป็นทุกข์ของชนทั้งหลาย
    ผู้ปรารถนาการได้กาม ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา
    ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต
    และมโนทุจริต ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา พอกพูน
    บาปกรรมในที่นั้นๆ อยู่บ่อยๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เราตถาคต
    ย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม
    ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มีหนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน
    ลำดับนั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้นเพราะความเดือดร้อนของเขา
    ย่อมติดตามเขาที่บ้าน หรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม
    ทราบความชั่วของตนอยู่ ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง
    หรือถูกจองจำในนรก ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้
    บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มา
    โดยชอบธรรม ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสองของผู้มีศรัทธา
    อยู่ครองเรือน คือ
    เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
    และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ
    การบริจาคของคฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น ย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
    มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา และสำรวมในศีล
    ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข
    ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส
    ยังอุเบกขา (ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่นละนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นผู้
    ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ
    มีปัญญารักษาตัว มีสติจิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุ
    ในนิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่น
    โดยประการทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ คงที่อยู่ในนิพพาน
    เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมมีญาณ
    หยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณ
    ชั้นเยี่ยม ญาณนั้นเป็นสุขไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ญาณนั้นไม่มีโศก หมดมัวหมอง
    เป็นญาณเกษมสูงสุดกว่าความไม่มีหนี้ ฯ

    (อิณสูตร)
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๒๐/๔๐๗ ข้อที่ ๓๑๖
     
  2. Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    พระพุทธองค์เปรียบกามไว้อย่างไร
    กามเปรียบด้วยรูรั่วของเรือ
    เมื่อสัตว์ มีความใคร่ในกามอยู่, ถ้ากามนั้น สำเร็จ
    แก่เขา คือเขาได้ตามปรารถนาแล้ว, เขา ย่อมมีปีติในใจ
    โดยแท้. เมื่อสัตว์ ผู้มีความพอใจ กำลังใคร่ในกามอยู่, ถ้า
    กามนั้น สูญหายไป, เขา ย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกแทง
    ด้วยศร ฉะนั้น.
    ผู้ใด เว้นขาดจากกาม ด้วยความเห็น ว่า เป็ นดุจ
    หัวงู ผู้นั้นเป็ นคนมีสติ ล่วงพ้นตัณหาอันส่ายไปในโลก
    เสียได้.
    ผู้ใด เข้าไปผูกใจอยู่ในที่นา ที่สวน เงิน โค ม้า
    ทาสชายและสตรี พวกพ้อง และกามทั้งหลายอื่นๆเป็ น
    อันมาก กิเลสมารย่อมครอบงำบุคคลผู้นั้นได้, อันตราย
    รอบด้าน ย่อมย่ำยีบุคคลผู้นั้น ; เพราะเหตุนั้น ความทุกข์
    ย่อมติดตามเขา เหมือนนํ้าไหลเข้าสู่เรืออันแตกแล้ว ฉะนั้น.
    เพราะฉะนั้น บุคคล ควรเป็ นผู้มีสติ ทุกเมื่อ, พึงเว้น
    ขาดจากกาม, ละกามแล้ว พึงข้ามโอฆะเสียได้ ดุจบุคคล
    อุดยาเรือดีแล้ว ก็พึงข้ามไปถึงฝั่งโน้น (นิพพาน) ได้ ฉะนั้น
    แล.
    - สุตฺต.ขุ.๒๕/๔๘๔/๔๐๘.
     

แชร์หน้านี้