ความเป็นมาของวัดธัมมธโร และมูลนิธิธรรมธารา

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <!-- หัวเรื่อง --> <center> [SIZE=+2]ความเป็นมาของวัดธัมมธโร[/SIZE]
    [SIZE=+1]และมูลนิธิธรรมธารา[/SIZE] </center> <!-- รายละเอียด -->


    [SIZE=+1]นามวัด[/SIZE]
    [SIZE=+1]ชื่อวัดธัมมธโร[/SIZE]

    [SIZE=+1]นามมูลนิธิ[/SIZE]
    [SIZE=+1]ชื่อมูลนิธิธรรมธารา[/SIZE]

    [SIZE=+1]สถานที่ตั้ง / ปัจจุบัน[/SIZE]
    [SIZE=+1]๘๐ ถ. อาร์ชิบาบด์ เขตไลห์นัม กรุงแคนเบอร์รา เอซีที ๒๖๐๒ [/SIZE]

    [SIZE=+1]นามผู้สนับสนุน / อุปถัมภ์[/SIZE]
    [SIZE=+1]มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย, วัดอโศการาม สมุทรปราการ[/SIZE]

    [SIZE=+1]พื้นที่ หรือที่ดินของวัด / ปัจจุบัน[/SIZE]
    [SIZE=+1]มีที่ดินพร้อมอาคาร เนื้อที่ ๑๓,๔๕๑ ตารางเมตร หรือประมาณกว่า ๘ ไร่ ๒ งาน[/SIZE]
    [SIZE=+1]นามเจ้าอาวาส / ปัจจุบัน[/SIZE]
    [SIZE=+1]พระปรีชาญาณวิเทศ(พระมหาศุภชัย ติกฺขวีโร)[/SIZE]

    [SIZE=+1]ประวัติความเป็นมาของวัด[/SIZE] วัดธัมมธโร เป็นวัดพุทธศาสนาแบบไทย นิกายเถรวาท เพียงวัดเดียว ตั้งอยู่ที่กรุงแคนเบอร์รา นครหลวงของประเทศออสเตรเลีย มีพระสงฆ์เป็นพระไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยอาศัยแรงศรัทธาร่วมกันจากชาวไทยและชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในประเทศ ออสเตรเลียและชาวไทยในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีพระสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นองค์นายกกรรมการมูลนิธิฯ มีพระปรีชาญาณวิเทศ (พระมหาศุภชัย ติกฺขวีโร) เป็นเจ้าอาวาส
    สถานที่ตั้งของวัดธัมมธโรปัจจุบัน อยู่ที่ ๘๐ ถ. อาร์ชิบาบด์ เขตไลห์นัม กรุงแคนเบอร์รา เอซีที ๒๖๐๒ เป็นบริเวณสงบเรียบร้อย เป็นย่านศาสนา ซึ่งประกอบด้วยวัดเวียดนาม และโบสถ์คริสต์
    [SIZE=+1]ก่อนหน้าที่จะมีวัดธัมมธโร[/SIZE]
    ได้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งเอซีที (Buddhist society ACT) ณ กรุงแคนเบอร์รา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีสมาชิกหลายชนชาติ เช่น ไทย ลาว เขมร ธิเบต ศรีลังกา เวียดนาม ออสเตรเลีย และผู้สนใจอื่น ๆ คนไทยที่เป็นสมาชิกของพุทธสมาคมฯ ได้มีโอกาสเป็นประธานพุทธสมาคมฯ ๒ ท่าน คือ คุณบุญศรี เบ็นน์ และ ดร.เอมอร สจ๊วต ในระยะแรกที่สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนและอนุเคราะห์ช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก พระอาจารย์ ขันติปาโล พระชาวอังกฤษ ที่เคยบวชและศึกษาพระธรรมในประเทศไทยหลายพรรษา
    [​IMG] ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้ที่ดินที่นาราบันด้าแก่พุทธสมาคม เพื่อจัดตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาตามที่สมาคมขอ
    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ คุณบุญศรี เบ็นน์ ประธานพุทธสมาคมแห่งเอซีที ได้นิมนต์พระสงฆ์ไทยจำนวน ๒ รูป เพื่อมาจำพรรษา ณ พุทธสมาคมแห่งเอซีที นาราบันด้า โดยความอนุเคราะห์ของพระราชวิสุทธิมุนี เจ้าอาวาสวัดพุทธรังษี ซิดนีย์ประธานสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายในประเทศออสเตรเลีย ได้เมตตาส่งพระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร และพระอาจารย์สมบัติ ฐิตวฑฺฒโน จากวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ มาจำพรรษาเป็นครั้งแรกในนครหลวงกรุงแคนเบอร์รา ในขณะนั้นยังไม่มีอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง พระสงฆ์ต้องจำพรรษาในรถคาราวาน
    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ พุทธสมาคมแห่งเอซีที ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ไทย คือพระอาจารย์ณรงค์ วิจิตฺโต และพระอาจารย์สุรัตน์ ปิยธมฺโม มาจำพรรษาร่วมกับพระศรีลังกา คือพระอาจารย์คุณสิริ
    ต่อมาพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่ง [​IMG]คือ คุณทัศนีย์ เรืองวรพจน์ คุณอุทัยทอง ส. ผาบมีชัย คุณสุกัญญา ส.ผาบมีชัย เป็นต้น มีความเห็นว่า ในการก่อสร้างวัดโดยมีบุคคลจากหลายชาติ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ที่แตกต่างกันย่อมทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ หรือการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ก็มีความแตกต่างกันบ้าง จึงได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิ จดทะเบียนเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๓๕ ใช้ชื่อว่ามูลนิธิธรรมธารา โดยมีคุณทัศนีย์ เรืองวรพจน์ เป็นประธาน เพื่อรวมรวมเงินจัดสร้างวัดไทยในนิกายเถรวาทในกรุงแคนเบอร์รา นครหลวงของประเทศออสเตรเลีย
    มูลนิธิธรรมธาราได้รับการอนุเคราะห์สนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง จากคณะสงฆ์ในประเทศ ออสเตรเลีย คือ พระราชวิสุทธิมุนี (ปัจจุบันเป็น พระเทพญาณกวี เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ ) เจ้าอาวาสวัดพุทธรังษี นครซิดนีย์ พระวิบูลสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธรังษี ( ลูเมียร์ ) พระครูกิตติวโรปการ พระอาจารย์เสน่ห์ อคฺคาสโย พระอาจารย์ณรงค์ วิจิตฺโต พระอาจารย์สุรัตน์ ปิยธมฺโม และคณะสงฆ์ในประเทศไทย คือพระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญฺญารามเถร) วัดบวรนิเวศวิหาร พระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน และพระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร วัดอโศการาม เป็นต้น
    วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ ๒๕๓๖ มูลนิธิฯ ได้ทำสัญญาเช่าบ้านเลขที่ ๑๑ Spafford street, Farrer, ACT [​IMG]ใช้ เป็นการวัดชั่วคราว โดยพระวิบูลสีลาภรณ์ได้อนุเคราะห์ส่ง พระอาจารย์ถาวร จนฺทเสโน และสามเณรอีก ๑ รูป มาพำนักชั่วคราว เพื่อรอคณะสงฆ์ จากประเทศไทยที่จะเดินทางมาจำพรรษา ซึ่งเป็นพรรษาแรกของ วัดธัมมธโร มีพระภิกษุ จำนวน ๔ รูป จากวัดอโศการาม คือพระอาจารย์ศุภชัย ติกฺขวีโร พระอาจารย์พายัพ อุทโย พระอาจารย์ณรงค์ วิจิตฺโต และพระอาจารย์สุรัตน์ ปิยะธมฺโม มาอยู่จำพรรษา
    ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะกรรมการมูลนิธิธรรมธารา ได้ตกลงซื้อผ่อนบ้าน เลขที่ ๔๔ Limestone Aventue, Ainslie, ACT [​IMG]เพื่อ สร้างเป็นวัดธัมมธโร ในราคา A$ ๒๖๕,๐๐๐.๐๐ ในขณะนั้นทางมูลนิธิฯ มีเงินปัจจัยซึ่งได้มาจากการทอดผ้าป่าจากซิดนีย์ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงได้ขอยืมจากพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาและให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคซื้อ ที่ดินถวายวัด ในราคาตารางเมตรละ A$ ๒๐๐.๐๐ จากจำนวนที่ดินทั้งหมด ๑,๕๑๗ ตารางเมตร รวบรวมปัจจัยได้ประมาณ ๓๐% ของราคาบ้าน และได้ย้ายเข้าอยู่เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
    ในปีพรรษา ๒๕๓๗ มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน ๕ รูป คือพระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร พระอาจารย์เริ่มชัย ชินวํโส พระอาจารย์พายัพ อุทโย พระอาจารย์ณรงค์ วิจิตฺโต และพระอาจารย์ห่ม อาภรโณ
    ในปีพรรษา ๒๕๓๘ มีพระภิกษุจำพรรษา ๒ รูป คือพระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร และพระอาจารย์ลิขิต วิสุทธธมฺโม
    ในเดือนกันยายนปีนี้ คุณปรีชา จันทนะมาฬกะ ก็ได้รับเลือกเป็นประธานมูลนิธิฯ ฝ่ายฆราวาส ได้มีการออกหนังสือธรรมสาร (Dhamma News) เป็นครั้งแรก
    ในปีพรรษา ๒๕๓๙ มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน ๓ รูป คือพระโสภณธรรมาภรณ์ (นิล วรคุตฺโต) พระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร และพระสิริธโร (Wayne Mow) (สัญชาติออสเตรเลีย)
    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยสมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก องค์นายกกรรมการมูลนิธิฯ ได้อนุเคราะห์มอบเงินเพื่อเป็นปัจจัยชำระหนี้สินของวัดธัมมธโร จำนวน ๒,๑๐๐,๐๐๐.๐๐บาท ($ ๑๐๔,๔๗๗.๖๑) ซึ่งคณะกรรมการวัดธัมมธโรและมูลนิธิธรรมธาราได้ทำพิธีมอบถวายวัดธัมมธโร ให้แก่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐
    ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน ๒ รูป คือ พระโสภณธรรมาภรณ์ และ พระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร
    ในปีพ.ศ. ๒๕๔๑ มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน ๕ รูป คือ พระโสภณธรรมาภรณ์ พระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร พระอาจารย์ วิวัฒน์ ยโสธโร พระมหาประชิต สุทฺธิรํสี และพระจิตติ สุจิตฺโต
    ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน ๘ รูป คือ พระโสภณคุณาธาร (เนียม สุวโจ) พระโสภณธรรมาภรณ์ พระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร พระอาจารย์วิวัฒน์ ยโสธโร พระมหาประชิต สุทฺธิรํสี พระชาติชาย อตฺตทนฺโต พระประยุทธ ฐานุตฺตโม และพระจิตติ สุจิตฺโต
    จากการประชุมสามัญประจำปี ๒๕๔๐ ได้มีการแก้ไขธรรมนูญของมูลนิธิใหม่ คือ

    • ข้อ ๗.๒ ประธานต้องเป็นพระสงฆ์ไทยซึ่งเป็นเจ้าอาวาสประจำวัด (เดิมประธานเป็นฆราวาส)
    • ข้อ ๗.๓ ประธานเป็นผู้ตั้ง รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และนิติกร
    ดังนั้นเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการทั้งคณะซึ่งมีอาจารย์ปรีชา จันทนะมาฬกะ เป็นประธาน ได้ทำหนังสือลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ท่านเจ้าอาวาสวัดธัมมธโร คือ พระอาจารย์มหาศุภชัย ติกฺขวีโร ได้เป็นประธานตามธรรมนูญของมูลนิธิฯ และจัดตั้งกรรมการวัด ตามธรรมนูญ
    เนื่องจากวัดธัมมธโรในปัจจุบัน เป็นบ้านอนุรักษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่สามารถจัดตั้งเป็นวัดถาวรได้ ตลอดระยะเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา ทางวัดได้พยายามติตต่อขอที่ดินจากรัฐบาล ACT เพื่อจัดสร้างวัดใหม่ แต่ก็ยังหาที่เหมาะสมไม่ได้
    คณะกรรมการมูลนิธิธรรมธารา วัดธัมมธโร มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เห็นชอบตกลงซื้อ Ursula College เลขที่ ๘๐Archibald Street, Lyneham, ACT ๒๖๐๒ เนื้อที่ ๑๓,๔๕๑ ตารางเมตร(หรือ ๘ ไร่ ๒ งาน) รวมทั้งอาคาร ๓ หลัง มีห้องจำนวน ๓๖ ห้อง ในราคา A$ ๕๖๐,๐๐๐.๐๐ ซึ่งทางวัดยังขาดปัจจัยอยู่ จึงขอบอกบุญมายังผู้มีจิตศรัทธาเพื่อร่วมกันสร้างวัด โดยการบริจาคซื้อที่ดินถวายวัดในราคาตารางเมตรละ A$ ๒๕.๐๐ หรือบริจาคค่าห้อง ในราคา A$ ๓,๐๐๐.๐๐ (๒ห้อง A$๕,๐๐๐.๐๐) ซึ่งทางวัดจะจัดทำป้ายชื่อของผู้บริจาค ติดไว้ ณ ห้อง ที่บริจาค เพื่อเป็นเกียรติประวัติในการสร้างวัด จะเห็นได้ว่าวัดธัมมธโรเริ่มขึ้นจากบ้านเช่าจนเป็นวัดที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ และใหญ่ที่สุดในต่างประเทศวัดหนึ่ง ในช่วงเวลาเพียง ๕- ๖ ปี เท่านั้น
    การปฏิบัติงานของพระธรรมทูตวัดธัมมธโร และการดำเนินงานของคณะกรรมการวัดฯ และมูลนิธิธรรมธารา แบ่งออกเป็น
    ก. การร่วมมือระหว่างประเทศ

    • การเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันประเทศอื่นๆ เช่นจัดร่วมฉลองวันวิสาขบูชากับ วัดธิเบต [​IMG]( Tibetan Buddhist Society of Canberra) วัดเวียดนาม Sakayamuni Buddhist Center วัด Srilanka Buddhist Association, Rigpa Fellowship และ A.C.T. Buddhist Society ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้ที่สนใจมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมากนับว่าการจัดร่วมกันครั้งนี้ประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง
    • ได้ให้ความร่วมมือในงาน Multicultural โดยส่งตัวแทนของวัดเข้าร่วมประชุมวางแผนจัดงานร่วมออกร้านจำหน่ายอาหารไทย และการแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยทุกปี
    • ส่งผู้แทนวัดธัมมธโรเข้าร่วมศาสนกิจของวัดลาว วัดเวียดนาม วัดธิเบต และวัดศรีลังกา
    ข. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย

    • ได้มีนักเรียนที่เรียนภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย [​IMG]มหาวิทยาลัย แคนเบอร์รา และโรงเรียนมัธยม ประถมหลายแห่ง ที่สนใจเกี่ยวกับพระศาสนาได้มาร่วมทำบุญ และสังเกตการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ การนั่งวิปัสสนาและอื่นๆ เป็นประจำ นอกจากนี้ยังช่วยจัดหาหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามอบให้แก่สถานศึกษารวม ทั้งการจัดส่งผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไปบรรยายตาม โรงเรียนที่เสนอขอมา
    ค. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยทั่วๆไป

    • จัดพิมพ์วารสาร ธรรมสาร (Dharma News) ออกเผยแผ่ทุก ๓ เดือนเป็นการเผยแผ่ความรู้ทางพระพุทธศาสนาให้กับสาธุชน และผู้สนใจทั้งไทย และต่างประเทศ
    • จัดการสอนกรรมฐาน แก่ชาวต่างประเทศที่สนใจ ทุกวันจันทร์ตอนเย็น
    • ทำพิธีทางศาสนาให้แก่ชาวไทย ศรีลังกา พม่า ลาว และออสเตรเลีย ในกรุงแคนเบอร์ราและเมืองใกล้เคียง หรือเมืองอื่นๆ
    ง. ศาสนพิธีและกิจกรรมทางศาสนา

    • จัดให้มีกิจกรรมในวันต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษาวันออกพรรษา [​IMG]วัน สงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ โดยทางวัดจัดให้มีการทำบุญตักบาตร สวดมนต์ รับศีล ฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติสมาธิภาวนา เวียนเทียน และการบวชชีพราหมณี
    • การสวดมนต์ และการนั่งสมาธิภาวนาประจำวัน หลังจากการใส่บาตรถวายภัตตาหารเพลแล้ว ผู้มาทำบุญร่วมกันสวดมนต์ประจำวัน หลังจากนั้นก็จะมีการนั่งสมาธิภาวนาประมาณ ๕ นาที เป็นประจำทุกวัน
    • สำหรับพุทธศาสนิกชนบางท่านอาจจะมาร่วมสวดมนต์ทำวัตรเช้า เวลา ๘.๐๐-๙.๐๐ น.หรือจะมาสวดมนต์ทำวัตรเย็น แล้วปฏิบัติภาวนา และสนทนาธรรม เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น..
    จ. การให้การศึกษาอบรมทางด้านภาษาและวัฒนธรรม

    • [​IMG]
    • ทางวัดได้จัดหลักสูตรสอนภาษาไทยแก่ผู้ที่สนใจเรียนภาษาและวัฒนธรรม เปิดฝึกอบรมมารยาทไทย เช่น การไหว้ กราบ การรับของ เป็นต้น แก่เด็กไทยในวันอาทิตย์
    ฉ. การร่วมมือกับทางราชการ

    • วัดธัมมธโร ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้จัดงาน บำเพ็ญกุศลออกพระเมรุพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ ๒๕๓๙ และงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล- อดุลยเดชมหาราช เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งมีผู้มารวมพิธีเป็นจำนวนมาก ทั้งสองงาน[​IMG]
    • ส่งตัวแทนเข้าร่วมฟังนโยบาย ของกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ของรัฐบาลออสเตรเลีย(Deparment of Immigration and Multicultural Affairs)
    • สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ The Ethnic Communities Council of the ACT
    • วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ จัดงานผ้าป่าช่วยชาติหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน โดยมี ฯพณฯ เอกอัครราชทูตไทยเป็นประธาน รวบรวมปัจจัยส่งผ่านกระทรวงต่างประเทศ เป็นเงิน A$ ๔,๓๑๐.๐๐+๑.๗๕๐.๐๐ และ U$ ๖.๐๐
    จะเห็นได้ว่าพระธรรมทูตโดยการนำของท่านพระมหาศุภชัย ติกฺขวีโร เจ้าอาวาสวัดธัมมธโรและคณะสงฆ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้สำเร็จผลเป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่เป็นที่พึ่งทางใจของพระพุทธศาสนิกชนชาวไทยเท่านั้น ยังมีชาวพม่า ลาว เวียดนาม ศรีลังกา ออสเตรเลีย และผู้สนใจพระพุทธศาสนาหลั่งไหลกันเข้ามาหาที่พึ่งทางใจมากขึ้นทุกวัน นับว่าวัดธัมมธโรประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในชั่วระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ก็เพราะพระธรรมทูตทุกรูป และคณะกรรมการ ที่มีความเสียสละ อดทนต่อความยากลำบาก และมีความสามัคคี
     

แชร์หน้านี้

Loading...