คัมภีร์พระมาลัยอักษรขอม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b98ce0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b8b2e0b8a5e0b8b1e0b8a2e0b8ade0b8b1e0b881e0b8a9e0b8a3e0b882e0b8ad.jpg

    เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครรัฐวาติกัน สาธารณรัฐอิตาลี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รมว.วัฒนธรรม หัวหน้าคณะผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ พระราชรัตนสุนทร พระราชปริยัติมุนี 2 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ผู้แทนคณะสงฆ์ไทย พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าเฝ้าฯ ถวายคัมภีร์พระมาลัยอักษรขอม (บาลี-ไทยโบราณ) ที่ปริวรรต (แปล)แล้วเสร็จแด่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก องค์ที่ 266 อย่างเป็นทางการ

    พระราชปริยัติมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน หัวหน้าคณะทำงานปริวรรตพระคัมภีร์ เปิดเผยว่า ร่วม 2 ปีที่คณะสงฆ์ไทยโดยวัดพระเชตุพนฯ ได้ดำเนินการปริวรรตคัมภีร์พระมาลัยอักษรขอม(บาลี-ไทย) จนแล้วเสร็จและได้นำขึ้นถวายแด่องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสอาตมภาพ ขอกราบขอบคุณในความเมตตา ของพระเดชพระคุณพระเทพวีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ที่มอบหมายให้อาตมภาพและคณะสงฆ์วัดโพธิ์ทำงานชิ้นนี้และก่อนที่จะเดินทางมาถวายพระคัมภีร์ คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ได้รับความเมตตาอย่างสูงสุด จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(อัมพร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้เข้าเฝ้าถวายรายงานการทำงานและกราบบังคลทูลลา เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้

    โดยได้ถวายการรายงานว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จฯเยือนนครรัฐวาติกัน ได้นำพระคัมภีร์เล่มหนึ่ง ไปถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปาปิโอที่ 11 เมื่อปี พ.ศ 2477 ณ วันนี้สมเด็จพระสันตะปาฟรานซิส พระประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีพระสมณประสงค์ที่จะจัดแสดงคัมภีร์พระมาลัยเล่มดังกล่าว จึงได้นิมนต์คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนเป็นผู้ปริวรรตคัมภีร์ จนแล้วเสร็จและได้นำขึ้นถวายพระองค์ท่าน

    ทั้งนี้ พระคัมภีร์ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จฯเยือนนครรัฐวาติกัน และได้นำพระคัมภีร์เล่มหนึ่งไปถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปาปิโอที่ 11 เมื่อปี พ.ศ 2477 หรือเมื่อ 84 ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นคัมภีร์เขียนด้วยอักษรขอม(บาลี-ไทยโบราณ) ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นหนังสือสมุดไทยขาวหรือสมุดข่อยสีขาว มีความกว้าง13 เซนติเมตร ยาว 66 เซนติเมตรมีเนื้อหา 6 ตอน นับจำนวนหน้าสมุดรวมทั้งหมด 186 หน้า ด้านในมีภาพวาดประกอบสีสันสวยงาม ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์แห่งนครรัฐวาติกันไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถอ่าน หรือปริวรรตคัมภีร์เล่มดังกล่าวได้

    ต่อมา องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จึงมอบหมายให้มงซินญอร์ วิษณุ ธัญญอนันต์ และคณะเข้าพบพระเทพวีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ปรึกษาหารือและขอความร่วมมือในการปริวรรตคัมภีร์ดังกล่าว ซึ่งพระเทพวีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯจึงจัดหาผู้เชี่ยวชาญในการปริวรรตคัมภีร์ฉบับนี้ เพื่อถวายแด่องค์สมเด็จพระสันตะปาปา ตามสมณประสงค์และเพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างคริสตจักรกับพระพุทธศาสนาจนปริวรรตคัมภีร์แล้วเสร็จ เนื้อหาคัมภีร์มีทั้งหมด 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 บทสวดอภิธรรม 7คัมภีร์ ตอนที่ 2-5 เรื่องราวพระมาลัยกลอนสวด เริ่มจากพระมาลัยไปโปรดสัตว์ นรก สวรรค์ สนทนากับพระอินทร์และพบกับ พระโพธิสัตว์ ที่จะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป หรือที่เรียกว่า พระศรีอาริย์ และตอนที่ 6 บทสวดแจงภาษาบาลี (ขึ้นต้นด้วย ยนฺเตน ภควตา ชานตา ปสฺสตาอรหตา…) แต่งด้วยฉันทลักษณ์ที่เรียกว่า “กลอนสวด” ประกอบด้วยกาพย์ชนิดต่างๆ อาทิ กาพย์ยานี กาพย์ฉบังกาพย์สุรางคนางค์ ฉันท์ เป็นต้น

    หลังจากนี้ ทางสำนักวาติกัน จะมีการนำไปแปลเป็นภาษาอื่นๆ อีก 7 ภาษา

    มองซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ อดีตสมณทูต รองเลขาธิการสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ผู้ประสานโครงการปริวรรตพระคัมภีร์ ระหว่างคณะสงฆ์ไทยและนครรัฐวาติกัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงรู้สึกปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง ท่านทรงให้ความเมตตาอย่างสูงสุด ต้อนรับคณะสงฆ์ไทยเพื่อทำพิธีถวายพระคัมภีร์อย่างเป็นทางการและทรงเปิดพิพิธภัณฑ์วาติกัน เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อให้คณะสงฆ์ไทยได้เยี่ยมชมความงดงามของพิพิธภัณฑ์และเยี่ยมชมการทำงานของเจ้าหน้าที่วาติกันอย่างใกล้ชิด

    ด้านนายฐาปน สิริวัฒนภักดี ผู้ได้รับเชิญเพื่อเดินทางไปร่วมพิธีถวายพระคัมภีร์ ในฐานะไวยาวัจกร วัดพระเชตุพนฯ กล่าวว่า ในฐานะไวยาวัจกรวัดพระเชตุพนฯ และเป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง รู้สึกปลาบปลื้มใจอย่างยิ่งที่ได้ถวายการทำงานชิ้นนี้ ตนได้กราบเรียนพระอาจารย์ว่า ขอปวารณาตนเอง ได้ร่วมทำงาน เพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชของเราและถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะพุทธศาสนิกชนมีความปรารถนาอย่างสูงสุด ที่จะได้รับใช้พระพุทธศาสนา

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.naewna.com/politic/columnist/35448
     

แชร์หน้านี้

Loading...