คัมภีร์ 100 กตัญญู

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย paang, 18 มิถุนายน 2011.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]

    ฟ้าดินให้ความสำคัญกับ “ความกตัญญู” เป็นอันดับแรก

    ความกตัญญูเพียงหนึ่งคำ ทำให้ทั้งครอบครัวมีความร่มเย็นเป็นสุข
    ผู้ที่มีความกตัญญูจะสามารถให้กำเนิดบุตรที่มีความกตัญญู
    บุตรหลานที่กตัญญูย่อมมีสติปัญญาและคุณธรรมอันดีงาม
    ความกตัญญูเป็นคุณธรรมก้าวแรกของมนุษยธรรม
    บุตรที่มีความกตัญญู เมื่อจากโลกนี้ไปจะได้เป็นเทพเซียน
    แต่ครั้งโบราณกาล ขุนนางที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ล้วนแต่เป็นบุตรที่มีความกตัญญู


    กษัตริย์คัดเลือกขุนนางที่ดีจากผู้ที่มีความกตัญญู มีสุจริตธรรม
    <!--more-->

    ให้มีความกตัญญูต่อบิดามารดาอย่าทุ่มเทสุดใจ สุดกำลังความสามารถชั่วชีวิต

    ความกตัญญูมิได้อยู่ที่การให้บิดารมารดาได้รับประทานอาหารที่ดีและมีเสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่

    คุณค่าแห่งกตัญญุตาธรรมอยู่ที่ความกตัญญูที่ออกจากจิตใจอันแท้จริง

    การกตัญญูต่อบิดามารดา เมื่อบิดามารดาว่ากล่าวตักเตือนอย่าได้เถียงคำ

    แต่น่าเสียดายยิ่งนักว่า ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดที่รู้จักความกตัญญูอย่างแท้จริง

    ถ้าสามารถย้อนจิตกลับสู่ความกตัญญู ก็สามารถคืนสู่หลักแห่งฟ้า
    เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดอุปสรรค ไม่ราบรื่น ก็เพราะไม่มีความกตัญญู
    หารู้ไม่ว่า ความกตัญญูนั้นสามารถดลจิตดลใจให้ฟ้าเบื้องบนซาบซึ้งใจได้

    ความกตัญญูกตเวทีเป็นธรรมอันล้ำค่สูงส่ง ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน
    การจะกตัญญูต่อบิดามารดานั้น ไม่ได้แบ่งว่าต้องเป็นหญิงหรือชาย
    บุญวาสนา เกียรติยศที่ได้มาล้วนเพราะคำว่า “กตัญญู”
    ฟ้าเบื้องบนจะมองบุตรที่มีความกตัญญูด้วยสายตาเอ็นดูเป็นพิเศษกว่าผู้ใด

    ทุกๆ คนล้วนสามารถกตัญญูต่อบิดามารดาได้
    เคารพ กตัญญูต่อบิดามารดาดั่งเคารพฟ้า
    ปากของบุตรกตัญญูจะเปี่ยมด้วยคำพูดแห่งความกตัญญู
    สะใภ้ที่กตัญญู ก็จะมีสีหน้าและรอยยิ้มแห่งความกตัญญู

    หากได้กตัญญูต่อบิดามารดาของสามีอย่างเต็มที่
    ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญูและเป็นเมธีคนดีงาม

    ลูกผู้หญิงได้ชื่อว่าเป็นกุลสตรี ต้องเริ่มต้นหัดเรื่องความกตัญญูก่อน
    หลักพึ่งพาสาม คุณธรรมสี่ของสตรีนั้น ความกตัญญูมาเป็นอันดับแรก
    ผู้มีความกตัญญูจะเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนในชุมชนและหมู่บ้าน
    หากคนในครอบครัวต่างมีความกตัญญูต่อกัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กก็จะยินดีปรีดา เป็นสุขทั่วหน้า

    บุตรกตัญญู พบใครก็จะพูดเตือนให้ผู้อื่นมีความกตัญญูด้วย
    ความกตัญญูสามารถเปลี่ยนแปลงหรือกล่อมเกลาจรรยา ความประพฤติของมนุษย์ให้บังเกิดความดีงาม

    ขณะมีชีวิตอยู่ บุตรที่มีความกตัญญูเป็นผู้ที่มีคุณค่าสูงส่ง
    แม้สิ้นชีพแล้ว ผู้กตัญญูมีชื่อเสียงจรรโลงสืบทอดชั่วกาลนาน
    การมีชีวิตบนโลกนี้ อะไรฤาจะสู้แรงกตัญญูได้
    ความกตัญญูสามารถดลใจฟาดินให้ซาบซึ้งได้
    คัมภีร์กตัญญูและหนังสือว่าด้วยความกตัญญู ล้วนสอนให้คนเรารู้จักกตัญญู

    ให้รู้กตัญญูต่อบิดามารดาและต่อบรรพบุรุษ
    บิดามารดาให้กำเนิดบุตรก็เพื่อแสดงความกตัญญูนั่นเอง
    ถ้าใครมีความกตัญญู ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุตรชายหญิงที่ดี

    เมื่อเป็นคนหากสามารถแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดาแล้ว
    รุ่นบุตรของตนก็จะกตัญญูต่อตนเช่นกัน
    ผู้ที่ยังไม่รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าในบ้าน
    เมื่อไม่กตัญญู ยามต้องอับจนลำบาก ก็อย่าได้โทษฟ้า
    บุตรกตัญญู มีใบหน้าลักษณะแสดงความสันติ ละมุนโอบอ้อม
    ผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดาและปรองดองในพี่น้อง ย่อมจะมีความสุขสบายใจ

    ยามบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ควรกตัญญูต่อท่าน แต่กลับไม่รู้จักกตัญญู
    รอจนกระทั่งบิดามารดาสิ้นแล้ว ค่อยสำนึกรู้ตัว เสียใจภายหลังก็สายเสียแล้ว

    ความกตัญญูอยู่ที่ใจ มิได้อยู่ที่รูปลักษณ์เปลือกนอก
    คุณค่าความกตัญญูอยู่ที่การปฏิบัติจริง ไม่ใช่อยู่ที่คำพูด
    บุตรกตัญญู สามารถทำให้ครอบครัวมีความผาสุกทั่วหน้า
    หากบุตรกตัญญูปกครองบ้านเมือง เหล่ามวลประชาราษฏร์ก็จะร่มเย็นเป็นสุข

    พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ล้วนแต่เพราะพลานุภาพแห่งความกตัญญู

    ด้วยพลานุภาพความกตัญญู ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสันติ
    ผู้ที่รู้กตัญญู มิใช่อยู่ที่ความมั่งมีหรือยากจน

    การเข้าใจถึงจิตใจ ความรู้สึกของบิดามารดาได้ดี ก็ถือว่าเป็นบุตรกตัญญู

    การมีความปรองดองในหมู่พี่น้อง ก็เป็นความกตัญญูเช่นกัน
    ให้รู้ “อดทน-สละให้” สองคำนี้จะช่วยให้ความกตัญญูพร้อมสมบูรณ์
    เมื่ออยู่ในสภาวะที่ทุกข์ยากลำบาก ยังมีความกตัญญูนั่นแหละ จึงถือเป็นความกตัญญูอันแท้จริง

    ให้มีใบหน้าที่เปี่ยมด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาเสมอ
    ขณะที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่พร้อมหน้า ยิ่งเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะได้แสดงความกตัญญู

    เมื่อเหลือบิดามารดาที่ว้าเหว่เพียงคนเดียว ยิ่งต้องรู้จักกตัญญู
    ด้วยเพราะเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องเร่งรีบแสดงความกตัญญู

    เราต้องเป็นผู้แสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา ส่วนอายุขัยของท่านนั้นขึ้นอยู่กับฟ้าเป็นผู้กำหนด

    การได้แสดงความกตัญญูในขณะที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ จึงจะถือได้ว่ามีความกตัญญูอย่างแท้จริง

    หากรอจนท่านสิ้นแล้ว ค่อยมาแสดงความกตัญญูก็ไร้ความหมาย
    ความกตัญญูที่สืบทอดต่อกันมาถือเป็นมรดกอันล้ำค่ายิ่งของครอบครัว

    จิตกตัญญูมีความโอบอ้อมละมุน ทำให้เกิดความหวานชื่น
    ลูกแพะคุกเข่าดูดนมแม่แพะ แสดงให้เห็นถึงจิตที่รู้กตัญญู
    นกอีกาก็รู้จักกตัญญู โดยคาบอาหารมาป้อนให้แม่กา
    หากเกิดเป็นมนุษย์แล้วไม่รู้จักกตัญญู
    ก็ยังสู้สัตว์เดรัจฉานไม่ได้ นับว่าน่าสงสาร น่าสมเพชจริง ๆ

    ร้อยกระทำ หมื่นกุศลความดีงาม “ความกตัญญู” สำคัญเป็นอันดับแรก
    พึงรู้คำว่า “กตัญญู” เป็นรากต้นธาร

    ผู้ศรัทธาไหว้พระ ทำความดี ก็ถือว่าเป็นผู้กตัญญู

    กตัญญูทำให้ได้อาศัยพระพุทธานุภาพให้ล่วงพ้นสวรรค์เก้าชั้นฟ้า
    ความกตัญญูเอย ความกตัญญูอันยิ่งใหญ่

    ความกตัญญูช่างยิ่งใหญ่และมีพลานุภาพไร้ขอบเขตสุดที่จะประมาณได้


    ที่มา ˹ѧ��͸����
     
  2. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,353
    ค่าพลัง:
    +6,491
    บุญคุณต้องทดแทน แค้นใครจงลืมซะ..
     
  3. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    อนุโมทนาสาธุ คุณโยมเเป้ง
    (f) คำสอนสมเด็จองค์ปฐมฯ(f)
    "ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องลงอบายภูมิมีนรกเป็นต้น เป็นของไม่ยาก"
    1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
    2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยความศรัทธาแท้ ด้วยความจริงใจ
    3. มีศลีบริสุทธิ์เป็นปกติ
    4.เป็นกรณีพิเศษ ปฎิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหมในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นพระนิพพานแล้ว ตั้งใจไปพระนิพพานโดยเฉพาะเท่านี้ทุกท่านจะหนีอบายภูมิพ้นและไปนิพพานได้ในที่สุด
    เทศน์ ณ เทวสภา 8 สิงหาคม 2534 เวลา 8.00น.พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำเมตตาเล่าให้ลูกหลานฟังเมื่อ 11 สิงหาคม 2535
     

แชร์หน้านี้

Loading...