คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : True4U
    THE XCLUSIVE EP.5 | ฐานทัพเรือสัตหีบ

    www.youtube.com/watch?v=f6pYy7yCbTA

    ที่มา : youtube Thai Militaty Weapons
    ครบรอบ 25 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 เดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ !!!
    www.youtube.com/watch?v=By6wN1Plxew


    ที่มา : youtube คุณพระช่วย
    "โชว์สุดพิเศษ 30 คนสุดท้าย" เพลงบ้านเกิดเมืองนอน จากรายการเพลงเอกซีซั่น2
    www.youtube.com/watch?v=4aF_9x2xFCY


    เลือดไทยไหลริน ทาแผ่นดินไว้ชื่อ ให้โลกเขาร่ำลือ ว่าเลือดไทยกล้าหาญ
    เลือดไทยไหลหลั่ง ดุจน้ำเต็มฝั่ง ไหลหลั่งท้องธาร
    ท่วมแผ่นดินทอง บ้านพี่เมืองน้อง กันทุกถิ่นฐาน
    เลือดไทยเจ้าเอ๋ย ไหลเลยมานี่ ปรองดองน้องพี่ อย่ามีร้าวราน
    โลหิตสายเดียว กลมเกลียวกันไว้ อย่าแตกแยกไป เป็นหลายลำธาร

    ที่มา : youtube
    ชญานนท์ เจริญสุข
    ชญานนท์ เจริญสุข - จงทำจริง (กยิราเจ กยิราเถนํ)
    www.youtube.com/watch?v=4VA9eEFrR4w

    จริงนะ? จริงซิ ทำจริงทุกอย่าง :D
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2022
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcQXT199jBXp9CLJd8SC166A-KCXHHfP00OsYA&usqp=CAU.jpg
    ต๊ะเอ๋! มาส่งเพลงหวานๆ ให้ฟังยามเช้าก่อนทำงานนะ ฮิฮิ

    ที่มา : youtube nnattarika
    สาธิดา พรหมพิริยะ | มันคงเป็นความรัก | งานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 28
    www.youtube.com/watch?v=Avb9mybNwts
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-5-12_19-29-33.jpeg

    ที่มา : https://hrh-abhakara-120anv-homecoming.com/forum03-meastro/

    “…บทเพลงพระนิพนธ์ของเสด็จเตี่ยเป็นงานที่มีคุณค่า พิสูจน์แล้วจากกาลเวลาที่ผ่านมาแล้วกว่า 100 ปี แต่ที่ทรงคุณค่าไม่ใช่ว่าเพราะเป็นบทพระนิพนธ์ แต่ทรงคุณค่าเพราะเป็นเรื่องของคุณค่าที่อยู่ในตัวบทเพลง ทั้งในเชิงที่เป็นศิลปะ และในเชิงความหมาย … สิ่งโดดเด่นของเพลงพระนิพนธ์คือ มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน นั่นคือพระองค์ทรงใช้คำศัพท์เฉพาะ เพลงขึ้นต้นมาแล้วก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นเพลงทหารเรือ…แล้วที่น่าสนใจคือ บทพระนิพนธ์เป็นเพลงที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัยยะ ความหมายตรงคือ เราก็เข้าใจไปตามถ้อยคำในเนื้อเพลง แต่ความนัยยะหมายความว่า เพลงแต่ละเพลงที่พระองค์ทรงนิพนธ์ขึ้นมา บางเพลงมันมีเบื้องลึกเบื้องหลังของประวัติศาสตร์ ซึ่งถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์ เข้าใจบริบทที่มาของเพลง เราก็จะเข้าใจเพลงนั้นในอีกระดับหนึ่ง…”

    อีกหนึ่งเครื่องสะท้อนถึงความรอบรู้และพระปรีชาทางด้านการดนตรีของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ นั้นก็คือการที่พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้บรรจุเพลงให้กับละครที่ยาวขนาดแสดง 2 คืนจบ ของคณะ “ละครปรีดาลัย” ซึ่งคือคณะละครในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

    ผศ.ดร.รังสิพันธุ์: “…ละครคือแหล่งที่รวมของสรรพศาสตร์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี นาฏศิลป์ ฯลฯ ล้วนอยู่ในละครทั้งสิ้น…คนที่จะบรรจุเพลงได้นั้นต้องรู้จักเพลงเยอะ จึงจะสามารถเลือกเพลงให้เข้ากับลีลาและอารมณ์ของบท…รู้จักเพลงมากอย่างเดียวไม่พอยังต้องมีความหลากหลาย คือละครหนึ่งเรื่องเล่นวันเดียวจบก็ใช้เพลงจำนวนมากแล้ว แล้วถ้ายิ่งเล่นสองคืน เพลงก็ต้องไม่ซ้ำ เพราะถ้าเพลงซ้ำ คนเบื่อ…”

    ไม่เพียงแต่การเป็นผู้ทรงดนตรีเท่านั้น แต่เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ยังเป็นผู้ทรงอุปถัมภ์การดนตรี ทรงมีคุณูปการทั้งในการทรงเมตตาชุบเลี้ยงตัวบุคคล และในด้านการสืบสานต่อยอดศิลปะดนตรีไทย

    ผศ.ดร.รังสิพันธุ์: “…ชีวิตความเป็นอยู่ของนักดนตรีวังนางเลิ้งแตกต่างจากนักดนตรีวังอื่นคือ อยู่ประจำไม่ได้ไปกลับ กินนอนอยู่ในวัง พระองค์ทรงดูแลเลี้ยงอาหาร…ครูสิน สินธุนาคร เป็นครูที่พระองค์ท่านทรงโปรดมาก ในฐานะที่เป็นครูที่มีความสามารถแล้วท่านก็มีอายุมากแล้ว…พระองค์ทรงจัดห้องพักให้ครูสินใกล้กับที่ประทับ เพราะครูเป็นครูผู้ใหญ่ เผื่อมีเจ็บป่วยอะไรขึ้นมา แล้วเวลาครูสินป่วย พระองค์ทรงดูแลด้วยพระองค์เอง…”


    สิน สินธุนาคร

    (พ.ศ.๒๓๗๕-๒๔๕๗)
    นายสิน เป็นนักดนตรีสืบเชี้อสายมาจากคณะดนตรี และคณะละครตำบลบ้านขมิ้น แขวงคลองบางกอกน้อย และวัดระฆังโฆษิตาราม บิดา ชื่อ เมือง นามมารดาไม่ปรากฎ เกิดในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย ชีวิตในวัยเด็กจะเป็นศิษย์ของผู้ใดยังค้นไม่ได้ ทราบแต่ว่าชำนาญเพลงการประกอบการแสดงโขนละครมาแต่เล็ก เพราะญาติพี่น้องมีอาชีพละครสืบกันมานาน

    สืบประวัติได้เพียงว่า เมื่อเป็นหนุ่มต้องไปเข้าประจำการที่วังกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ คือวังบ้านหม้อ ก่อนที่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์จะได้รับราชการเป็นเจ้ากรมมหรสพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ในระยะแรก นายสินทำหน้าที่เป็นนักระนาดคนสำคัญอยู่แล้ว เนื่องจากมีความรู้เพลงประกอบโขนละครเพลงขับร้องรวมทั้งตีกรับขับเสภาได้ดี จึงรับหน้าที่เป็นครูฝึกซ้อมรับร้องให้แก่ หม่อมเนย หม่อมจันทร์ หม่อมเจริญ และหม่อมมาลัย มาตั้งแต่ท่านทั้ง ๔ นี้ยังเป็นเด็ก และยังมิได้เป็นหม่อมของเจ้าพระยาเทเวศน์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเข้ามาร่วมงานกับเจ้าพระเทเวศร์ ฯ จัดละครดึกดำบรรพ์ คอนเสิร์ต และการแสดงต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้รวบรวมนักดนตรีจากกรมพิณพาทย์หลวงเข้ามาช่วยงานด้วย ครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ได้ทรงนำพระประดิษฐ์ไพเราะ (ตาด) ครูของท่านเข้ามาช่วยบอกเพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและได้นายแช่ม สุนทรวาทิน (ก่อนเป็นขุนเสนาะดุริยางค์) มาช่วยตีระนาดเอก ได้นายเกษ นายต่วม เข้าร่วมวงด้วย ต่อมาจึงได้ต่อเพลงให้กับนักดนตรีอื่น ๆ ที่เข้ามาประจำรุ่นหลัง อาทิ นายศุข ดุริยประณีต พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) ฯลฯ

    ราว พ.ศ. ๒๔๔๘ ครูสิน มีอายุประมาณ ๗๐ ปี เข้าสู่วัยชราแล้ว จึงได้ส่งบุตรชายชื่อ นายเถา สินธุนาคร ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ประมาณ ๑๒ ปี ไปประจำที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ แทนตัว (นายเถานี้ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสมานเสียงประจักษ์) ส่วนตัวท่านกลับมาพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ตำบลบ้านขมิ้น

    ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (พระยศขณะนั้น) มีพระประสงค์จะจัดตั้งวงดนตรีส่วนพระองค์ขี้น จึงทรงพระกรุณาให้ นายสิน เข้าไปอยู่ในวังของท่านที่นางเลิ้ง โปรดนายสินมาก จึงให้ขึ้นไปอยู่บนตำหนัก ทรงเอาพระทัยใส่ ดูแล ด้วยทรงเห็นว่า เป็นครูผู้ชราแต่มีความรู้มาก นายสินจึงอยู่ในวังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์มาจนถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๗ อายุได้ ๘๐ ปีเศษ

    ในขณะที่นายสินอยู่ในวังกรมหลวงชุมพรฯ นั้น ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวงดนตรีนำวงออกประชันกับวงอื่น ๆ อยู่เสมอ อาทิ ประชันกับวงวังบูรพาภิรมย์ ประชันกับวงของกรมพระนครสวรรค์วรพินิต (สมัยนั้นยังใช้วงของตระกูลนิลวงศ์อยู่) ประชันกับวงของกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม วงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นต้น และเป็นต้นคิดยืดเพลงต่าง ๆ ขึ้นเป็นเพลงสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเถา เพื่อบรรเลงประลองฝีมือระหว่างวง เป็นที่น่าเสียดายว่า ทางเพลงของท่านที่ได้เคยทำไว้สูญหายไปหมด เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ทรงเลิกวงปี่พาทย์ นักดนตรีก็กระจัดกระจายกันไปหมด

    ด้านชีวิตครอบครัวของท่านนั้น นายสิน มีภรรยา ๓ คน คนแรกชื่อ แสง มีบุตร ชื่อ พร้อม เป็นนักดนตรีสังกัดวงวังบูรพาภิรมย์ ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อ คร้าม มีบุตรชื่อ เฮ้า เป็นคนฆ้องประจำวงดนตรี เจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ภรรยาคนที่ ๓ ชื่อ มี มีบุตรีคนแรกชื่อทรัพย์ เป็นขับร้อง ตีกรับขับเสภาได้ดีมาก บุตรคนที่ ๒ ชื่อ เถา คือ ขุนสมานเสียงประจักษ์ เป็นนักดนตรี สามารถบรรเลงได้รอบวง และคนสุดท้องเป็นชายชื่อ วงศ์์

    (เรียบเรียงจาก คำให้สัมภาษณ์ของ ขุนสมานเสียงประจักษ์-เถา สินธุนาคร)

    ที่มา : นามานุกรมศิลปินเพลงไทย ในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพูนพิศ อมาตยกุล, หัวหน้าโครงการ ; ผู้ร่วมโครงการ, พิชิต ชัยเสรี …[และคนอื่น ๆ]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๖.

     
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcTXecGvLi2jq3SHMooQgcPVwuqJFhkD_d4L6g&usqp=CAU.jpg

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7... ครองราชย์ ตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 จนกระทั่งสละราชสมบัติ ในปี พ.ศ. 2478 ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในปี พ.ศ.2461 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ หลังจาการรัฐประหาร 2475 หลังสละราชสมบัติ ทรงพำนักอยู่ที่ประเทศอังกฤษและทรงสวรรคตที่นั่น พระอัฐิของพระองค์ถูกนำกลับสยามหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2527


    เพลงราตรีประดับดาว... บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7เพลงราตรีประดับดาวนี้ เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ ๗ แห่งพระมหาจักรีบรมวงศ์ กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง และทรงมีพระปรีชาสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย โดยเฉพาะการทรงซอ ทรงศึกษาดนตรีไทยจากหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งเป็นครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น

    ประวัติของเพลงราตรีประดับดาวนั้น ว่าไว้ว่า ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงฟังเพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมพระนครสวรรค์พินิต เพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงเป็นมอญ ซึ่งบทร้องที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในตอนชั้นเดียวท่อนสุดท้ายนั้นมีว่า “ชื่อแขกมอญบางขุนพรหมนามสมญา ฉันได้มาจากวังบางขุนพรหม” รัชกาลที่ ๗ จึงมีพระราชประสงค์จะทรงแต่งเพลงเถาในสำเนียงมอญอย่างนั้นบ้าง จึงทรงหารือกับครูผู้ใหญ่ในวงการดนตรีไทยในสมัยนั้น


    เพลงที่ทรงเลือกมาเพื่อพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นเพลงเถานั้น คือเพลงมอญดูดาว สองชั้น ของเก่า ซึ่งเมื่อทรงพิจารณาเพลงลงไป ทรงเห็นว่า เพลงมอญดูดาวของเดิมใช้หน้าทับมอญ (เทียบได้กับประเภทหน้าทับสองไม้ของไทย) และมีอยู่เพียง ๑๑ จังหวะ แต่โดยที่พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชนิพนธ์เพลงโดยใช้หน้าทับเป็นประเภทปรบไก่ ซึ่งความยาวเป็น ๒ เท่าของหน้าทับประเภทสองไม้ ดังนั้นหากทรงคงเนื้อเพลงของเดิม ก็จะได้จำนวนหน้าทับปรบไก่เพียง ๕ จังหวะครึ่ง แล้วจึงทรงประดิษฐ์ทำนองขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้น และตัดแต่งลงเป็นชั้นเดียวจนครบเป็นเพลงเถา กับทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้นสำหรับร้องเป็นประจำโดยเฉพาะว่า

    (สามชั้น)

    วันนี้แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจเจ้า ไปเที่ยวเล่น(๒)ลมพัดเย็นเย็น หอมกลิ่นมาลีหอมดอกราตรี แม้ไม่สดสีแต่หอมดีน่าดมเหมือนงามน้ำใจ แม้ไม่ขำคมกิริยาน่าชม สมใจจริงเอยชมแต่ดวงเดือน ที่ไหนจะเหมือนได้ชมหน้าน้องพี่อยู่แดเดียวเปลี่ยวใจหม่นหมองเจ้าอย่าขุ่นข้องจงได้เมตตาหอมดอกชำมะนาด สีไม่ฉูดฉาดแต่หอมยวนใจเหมือนน้ำใจดีปรานีปราศรัยผูกจิตสนิทได้ให้รักจริงเอย

    (สองชั้น)

    ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจเพลงของท่านแต่ใหม่ในวังหลวงหอมดอกแก้วยามเย็นไม่เห็นใจพี่เสียเลยเอยดวงจันทร์หลั่นลดเกือบหมดดวงโอ้หนาวทรวงยอดชีวาไม่ปรานีหอมมะลิกลีบซ้อนอ้อนวอนเจ้าไม่ฟังเอย

    (ชั้นเดียว)

    จวนจะรุ่งแล้วนะเจ้าพี่ขอลาแสงทองส่องฟ้าสง่าศรีหอมดอกกระดังงาชิชะช่างน่าเจ็บใจจริงเอยหมู่ภมรร่อนหาช่อมาลีแต่ตัวพี่จำจากพรากไปไกลหอมดอกจำปีนี่แน่ะพรุ่งนี้จะกลับมาเอย ฯ

    "ราตรีประดับดาว" บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
    เพลงราตรีประดับดาวนี้นัยว่าพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ที่วังไกลกังวล หัวหิน เมื่อเสร็จใหม่ ๆ ยังไม่มีชื่อ มีเจ้านายและผู้ทรงคุ้นเคยหลายท่านเสนอชื่อถวายหลายอย่าง เช่น ดาวประดับฟ้าบ้าง ดารารามัญบ้าง แต่ระหว่างที่ยังมิทรงเลือกจะใช้ชื่อใดดี วงมโหรีหลวงซึ่งได้รับพระราชทานต่อเพลงนี้ ได้นำออกกระจายเสียงที่สถานี พีเจศาลาแดง ประกาศชื่อเพลงนี้ว่า ราตรีประดับดาว อันเป็นชืื่อที่พระองค์ทรงคิดเอง จึงเรียกเพลงนี้ว่า เพลงราตรีประดับดาวมาจนทุกวันนี้

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยดนตรีและเพลงไทยอย่างมากถึงกับโปรดให้ตั้งวงดนตรีไทยส่วนพระองค์ขึ้นในพระราชวัง ประกอบด้วยเจ้านายข้าราชการที่ใกล้ชิดพระองค์ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน พระองค์เองและพระราชินีก็ทรงฝึกหัดด้วย พระองค์ทรงเริ่มหัดสีซออู้ก่อน ต่อมาก็ทรงสามารถสีซอด้วง เพื่อช่วยแนะนำพระราชินีด้วยพระองค์เองได้ พระองค์ทรงรู้แจ้งการดนตรีไทยทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎีอย่างรวดเร็ว จนสามารถเข้าใจวิธีการแต่งเพลงไทยได้อย่างน่าอัศจรรย์

    ในบทร้องตอนสองชั้นที่ว่า ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง เป็นที่รู้ทั่วกันว่าแม้จะไม่ได้ทรงในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) แต่ทรงใช้คำว่าวังหลวงเป็นสัญลักษณ์ตามแบบ เป็นการล้อเลียนเพลงแขกมอญบางขุนพรหมด้วย

    นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 ขณะประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลง เขมรละออองค์ เสร็จทั้งทำนองดนตรี และทำนองร้องและพระราชทานชื่ื่อเพลงว่า เขมรละออองค์ บทร้องโปรดให้นำมาจากบทละครรำเรื่องพระร่วง ของรัชกาลที่ 6 โดยทรงแก้ไขเพิ่มเติมบ้าง

    ในปี พ.ศ. 2474 ทรงเสด็จทางชลมารคประพาสสัตหีบ หัวเมืองชายทะเลที่มีทิวท้ศน์งดงาม ได้ทอดพระเนตรและสดับเสียงคลื่นต่าง ๆ ระหว่างทางด้วยความสุขพระราชหฤทัย ทรงดำริพระราชนิพนธ์เพลงไทยให้มีท่วงทำนองเป็็นละลอกคลื่นต่างๆ จึงทรงเลือกเพลงคลื่นกระทบฝั่งอัตราสองชั้นเก่า พระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นอัตราสามชั้น

    ลำนำของเพลงเป็นเหมือนเสียงคลื่นกระทบฝั่งสมดังชื่อเพลง ในท่อนต้นมีลูกล้อและลูกขัดเป็นเสียงคลื่นกระฉอก เมื่อกระทบกับแง่หินที่ยื่นย้อยออกมาตามชายฝั่ง โดยลักษณะต่าง ๆ กัน ในตอนท้ายท่อนสองเที่ยวแรกแสดงถึงคลื่นใต้น้ำอันหนุนเนื่องซ้อน ๆ กันมา ผสมกับคลื่นเหนือน้ำ ส่วนตอนท้ายใกล้จะจบเพลง ฟังเหมือนลูกคลื่นเล็ก ๆ ที่วิ่งพลิ้วไล่กันมาตามกระแสอย่างรวดเร็ว ถ้าจะอธิบายตามหลักการดนตรีเปรียบเทียบธรรมชาติก็กล่าวได้ว่า ทรงสอดแทรกลูกล้อลูกขัดให้มีทำนองเลียนเสียงคลื่นที่ซัดสาดด้วยอาการต่างๆ ไว้อย่างแนบเนียนสมกับชื่อว่า คลื่นกระทบฝั่ง อย่างแท้จริง แต่เดิมคงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ใช้เป็นเพลงขับร้อง แต่ยังมิได้ทรงพระราชนิพน์ทำนองร้องขึ้น ก็โปรดให้ใช้เป็นเพลงโหมโรงไปก่อน และได้ใช้กันมาจนทุกวันนี้ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดนตรีไทย อีกพระองค์หนึ่ง


    เขียนใน GotoKnow
    โดย พลอยโพยม
    ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/458681
     
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Nan Sathida Prompiriya
    RBSO Plays Suntaraporn | ปองใจรัก | สาธิดา พรหมพิริยะ | นรอรรถ จันทร์กล่ำ
    www.youtube.com/watch?v=GxcXGLWfWvA
    images?q=tbn:ANd9GcQUN1Xcm3nbGK7WnaaK2nzWV9r1zS0CyxQXtw&usqp=CAU.jpg
    เป็นไง ๆ เคลิ้มล่ะสิท่าo_O เป็นคนโรแมนติกสุดๆ อะไรนะ? โรแมนติกแปลว่า บุคคลช่างเพ้อฝัน :mad:(โหทั้งเพ้อ ทั้งฝัน) คือไม่มีวันเป็นจริง ว่าซั่น? ชอบแกงคนอื่น แบบนี้ต้องเจอนักต้มตุ๋นอย่างเรา o_O

    ถึงเส้นชัยอาจจะช้ากว่าที่กำหนด แต่ก็ไปถึงเส้นชัยนะจ๊ะ ดีกว่ายอมแพ้เสียแต่เนิ่นๆ 4 หมื่น (ถ้าไม่ถึงขอยืมยอดคนอ่านบทความอื่นได้ไหมคะ admin ไม่ต้องตอบก็รู้นะเพราะเราคนโรแมนติกอ่ะนะ:rolleyes:

    คืนนี้จัดไปอีกเพลง หว้านหวาน...
    ที่มา : youtube Various Artists - Topic
    เสน่หา
    www.youtube.com/watch?v=u-VUpRMb6mo

    เรื่องอะไรจะเป็นที่สอง เป็นที่โหล่ยังดีกว่าอีก คือ "คนสุดท้าย" จริงไหมคะท่านผู้ชม:D
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2022
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    “สะใภ้หลวง” ในกรมหมื่นชุมพรฯ คือหม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์ พระธิดาที่รักของ “สมเด็จฯ วังบูรพา” สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยทรงเสกสมรสในปี ๒๔๔๓ ตั้งแต่เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ และเพิ่งเสด็จกลับจากอังกฤษมาถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่กี่เดือน

    the-couple-recolor-adj.jpg
    นอกจาก “ท่านหญิงทิพย์ฯ” แล้ว กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงมี “หม่อม” อีกหลายท่าน ที่ปรากฏนามได้แก่ หม่อมกิม หม่อมแฉล้ม หม่อมเพื่อน หม่อมช้อย หม่อมเมี้ยน หม่อมแจ่ม หม่อมแม้น และหม่อมเดซี่

    บางท่านเช่น หม่อมกิม (๒๔๒๙-๒๕๐๖) และหม่อมแฉล้ม (๒๔๓๐-๒๕๑๙) มีบิดาเป็นชาวจีน ซึ่งอาจเป็นพ่อค้าคนจีนในสยาม ขณะที่อีกหลายท่านเป็นธิดาขุนนางระดับกลาง เช่น หม่อมช้อย (๒๔๓๓-๒๕๑๗) กับคู่พี่น้องที่ถวายตัวเข้ามาด้วยกัน คือหม่อมเมี้ยน (๒๔๓๓-๒๕๑๗) และหม่อมแจ่ม (๒๔๓๗-๒๕๐๕)

    ส่วนหม่อมเดซี่ (ไม่ปรากฏหลักฐานปีเกิด-ตาย) พิจารณาจากชื่อแล้ว เชื่อว่าเป็นสาวลูกครึ่ง และน่าจะตรงกับคำบอกเล่าเรื่องหม่อมคนหนึ่งของเสด็จในกรมฯ ว่า “เป็นฝรั่ง” ถึงขนาดเวลาตามเสด็จไปต่างจังหวัด ชาวบ้านจะพากันมามุงดู เพราะไม่เคยเห็นผู้หญิงที่มีสีผิวสีผมเช่นนั้น

    แม้ไม่มีข้อมูลอายุของหม่อมแต่ละท่านเมื่อแรกถวายตัว แต่หากสันนิษฐานจากอายุเมื่อประสูติหม่อมเจ้าพระองค์แรก (มีลูกคนแรก) คือราว ๑๕-๑๘ ปี แสดงว่าล้วนถวายตัวกันเข้ามาตั้งแต่ยังเป็น “วัยรุ่น” เช่นเดียวกับสะใภ้หลวง คือหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ ซึ่งทรงเสกสมรสเมื่อมีพระชันษาเพียง ๑๔-๑๕ ปี

    แต่แล้วเกิดเหตุน่าสลดใจขึ้น หลังจากเสกสมรสมาได้ ๘ ปี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๕๑ ท่านหญิงทิพยสัมพันธ์ พระชันษา ๒๓ ปี เสวยยาพิษปลงพระชนม์พระองค์เอง ขณะที่พระโอรสองค์เล็ก คือหม่อมเจ้ารังษิยากร มีพระชันษาเพียงขวบเดียว

    มีข่าวลือว่าสาเหตุเกิดจากความน้อยพระทัยเสด็จในกรมฯ ด้วยเรื่องที่ “พระสวามีทรงยกย่องสตรีท่านหนึ่งกว่าหม่อมคนอื่น” เพราะ “ทรงเคยรู้จักสนิทสนมมาตั้งแต่ยังประทับอยู่ต่างประเทศ และเจ้าจอมมารดาของพระสวามีก็ยังให้ความเอ็นดูกับหม่อมท่านนี้อีกด้วย…”

    ปี ๒๔๕๑ จึงนับเป็นช่วงเวลาแห่งความวิปโยคซ้ำแล้วซ้ำเล่าของ “สมเด็จฯ วังบูรพา” พระชันษา ๔๙ ปี เริ่มตั้งแต่เดือนที่ ๒ ของปี คือพฤษภาคม พระโอรสผู้เป็นประดุจแก้วตาดวงใจ คือพระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (๒๔๓๒-๒๔๕๑) ซึ่งประสูติจากหม่อมแม้น (น้องสาวเจ้าจอมมารดาโหมด) พระชันษา ๒๐ ปี ประชวรสิ้นพระชนม์กะทันหันในเยอรมนีระหว่างเสด็จไปศึกษาวิชาทหาร พระศพเพิ่งส่งกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯ และเริ่มพิธีบำเพ็ญพระกุศลที่วังบูรพาภิรมย์เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม หลังจากนั้นเพียง ๒ สัปดาห์ หม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์ พระธิดาองค์ใหญ่ก็มาปลงพระชนม์พระองค์เองอีก

    งานพระราชทานเพลิงพระศพหม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๑ หรือ ๗ เดือนหลังสิ้นชีพตักษัย ต่อเนื่องจากงานพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช พร้อมกับหม่อมแม้น พระมารดา ผู้ถึงแก่กรรมมาตั้งแต่ปี ๒๔๓๘ อัฐิและอังคารของหม่อมแม้นบรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์ที่ผนังตึกแม้นนฤมิต อาคารเรียนของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ส่วนหม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์ พระบิดาทรงสร้างอนุสาวรีย์เล็กๆ ด้านหลังตึกแม้นนฤมิตไว้เป็นที่บรรจุสรีรังคาร
    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2021/11/18/กรมหลวงชุมพร-สามี-พ่อ/
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
    ถึงเธอ
    www.youtube.com/watch?v=K4xoKUKBSL4


    ที่มา : youtube Central Department Store
    Heartbeat...จังหวะจะรัก
    www.youtube.com/watch?v=2H-1oS8EVIY

    มีใครได้ยินหัวใจเราเต้นไหมนะ เมื่อวันที่เดินขึ้นเขาแหลมปู่เจ้า เต้นเป็นจังหวะเพลงเดินหน้า นะจ๊ะo_O
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2022
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube กองทัพเรือ Royal Thai Navy - Official Channel
    การแสดงแฟนซีดิล 2565 ของนักเรียนจ่าทหารเรือ ในกิจกรรมเดิน-วิ่ง เทิดพระเกียรติ 99 ปี วันอาภากร
    www.youtube.com/watch?v=oTNVHwHjOgo
    วันงานไม่มีโอกาสได้ดู มาแอบหาดูในวันนี้:rolleyes:

    เรื่องควงปืนน่ะไม่เคย แต่ควงคฑาเนี่ย เราได้นะตั้งแต่วัยรุ่นถึงปัจจุบัน ควงบนอากาศหมุน 3 ตลบไม่มีอะไรยากนะสำหรับเราของแบบนี้เขาเรียกว่าความสามารถพิเศษนะพวกเธอ แต่เราโยนอย่างเดียวนะเดี๋ยวค่อยเดินไปเก็บo_O

    ที่มา : youtube
    Nurhidayah Junaidi
    1 Hour of Puff Daddy & Faith Evans - I'll be Missing You 《1HourMusics》 (12 Replays, 1080p)
    www.youtube.com/watch?v=be2lm4cQRQc
    สุขสันต์วันหยุดกันนะจ๊ะ ใช้ชีวิตแบบพอดีๆ :D
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2022
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283

แชร์หน้านี้

Loading...