คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    สวนสาธารณะเมืองชุมพร หรือ สวนอาภากรเกียรติวงศ์

    1169192573.jpg


    SV4035051.jpg SV4035081.jpg SV4035171.jpg

    สุดยอดกับพักผ่อน และการมาออกกำลังกายในยามเย็น บรรยากาศแบบโล่ง โปร่ง สบาย ประดับ ประดาไปด้วยพันธุ์ไม้นาๆชนิด มีสระน้ำขนาดใหญ่ ล้อมรอบ พร้อมกับน้ำพุ ที่มีรูปทรงแปลกตา และสนามเด็กเล่นของคุณหนูๆ

    SV4035071.jpg SV4035091.jpg SV4035181.jpg

    SV4035151.jpg SV4035131.jpg SV4035141.jpg

    ใจกลางของสวนอาภากรเกียรติวงค์ ยังเป็นที่ประดิษฐาน ของพระบรมรูปเสด็จในกรมหลวงชุมพร สูงเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้ชัดมีสระน้ำล้อมรอบ ประดับประดาไปด้วยพันธ์ไม้ดอก หลายชนิด
    และเสาไฟฟ้ารูปทรงแปลกตาสวยงามมากในยามค่ำคืน


    SV4035101.jpg SV4035111.jpg SV4035191.jpg

    นอกจากนี้ยังมีร้านค้าจำหน่าย ดอกไม้ ธูป เทียน และสถานที่เพื่อไว้จุดประทัดแก้บน สำหรับผู้ที่มีความเชื่อต่างๆอีกด้วย

    SV4035201.jpg SV4035211.jpg SV4035221.jpg

    SV4035161.jpg SV4035121.jpg SV4035231.jpg

    เดินชมธรรมชาติ ออกกำลังกายกันเหนื่อยแล้ว ยังมีร้านค้าสวัสดิการของเทศบาลเมืองชุมพร ไว้คอยบริการ อาหาร เครื่องดื่ม อาทิเช่น ส้มตำ ลาบ น้ำตก คอหมูย่าง ยำสารพัด รวมไปถึงอาหารตามสั่ง ด้วยราคาที่ไม่แพงจนเกินไป

    เป็นทั้งสถานที่พักผ่อน เป็นทั้งที่ออกกำลังกาย เป็นทั้งศูนย์รวมจิตใจ หลากหลายอารมย์ ในสวนสาธารณะแห่งนี้

    สวนอาภากรเกียรติวงศ์ยามค่ำคืน



    1168355725.jpg 1168355958infinitychumphoncom1.jpg

    หน้าลานพระบรมรูปเสด็จกรมหลวงชุมพร ยามค่ำคืนประดับประดาไฟ หลากสี สวยงามมาก


    1168355661.jpg 1168355678.jpg

    มีน้ำล้อมรอบ เดินไปมาได้ด้วยการข้ามสะพาน บรรยากาศห้อมร้อมไปด้วยต้นไม้นาๆพันธุ์



    1168355688.jpg 1168355709.jpg

    ยังเป็นสถานที่ออกกำลังกาย ยามเย็นของคนชุมพรอีกด้วย ไม่ว่าจะมา เต้นอาราบิค หรือมาวิ่ง
    เพื่อออกกำลังกาย นอกจากสถานที่สวยๆแบบนี้แล้ว ยังมีสนามเด็กเล่นแบบมาตรฐานสำหรับ
    เด็กทุกวัยให้ได้ออกกำลังกายไปพร้อมๆกับผู้ปกครองอีกด้วย



    1168355718.jpg

    ถ้ามีโอกาศขอเชิญท่านทั้งหลาย มาพักผ่อนหย่อนใจกันในสวนสาธารณะของจังหวัดชุมพร และ มากราบพระบรมรูปเสด็จในกรมหลวงชุมพร กันซักครั้งนะคะ......

    ที่มา: https://www.infinitychumphon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=413359&Ntype=7
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เรื่องเล่าพรรณพฤกษาอาเซียน ตอนที่ ๓
    ประดู่ ประดอกไม้ประจำชาติของเมียนมาร์

    20161207-5847aafc96a9a.jpg

    Burmese Rosewood is the National Flower of Myanmar
    သင်ဘယ်လိုရှိပါသလဲ

    ไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่มีเทศกาลสงกรานต์ในช่วงที่อากาศร้อนเช่นนี้ ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง ลาว กัมพูชา และพม่า ก็มีเทศกาลสงกรานต์เช่นเดียวกัน ในห้วงระหว่างกลางเดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์นอกจากจะเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังเป็นเทศกาลแห่งน้ำ เพื่อใช้น้ำในการช่วยบรรเทาความร้อนของสภาพอากาศในเดือนที่ร้อนที่สุดแห่งเอเชียอาคเนย์
    ดอกประดู่ หรือที่ชาวพม่าเรียกว่า “บะเด้าปาน” นอกจากจะถือว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่าแล้ว ยังเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลปีใหม่ของพม่า ที่ชาวพม่าเรียกว่า “ตะจั้น” หรือ “ตะจ่าน” (Thingyan) ราวกลางเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ดอกประดู่จะบานสะพรั่ง เป็นสีเหลืองทองอร่ามไปทั่วประเทศพม่า จากป่าสู่หมู่บ้าน และไม่เว้นแม้แต่เมืองใหญ่อย่างย่างกุ้ง ที่จะพบดอกประดู่ที่ปลูกเป็นไม้เรียงรายต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดสองข้างทางเข้าออกสนามบินย่างกุ้ง ประดู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ทรงต้นแผ่ให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ดอกประดู่มีขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเป็นช่อรวมกัน มักออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ที่กวี และนักประพันธ์บทเพลงได้เปรียบเทียบกับความจงรักภักดีต่อความรัก ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต เมื่อต้นประดู่เริ่มผลิดอกยามถึงเทศกาลสงกรานต์ชายหนุ่มจะปีนขึ้นไปเก็บดอกประดู่ นำมามอบให้กับหญิงสาวที่ตนเองชอบ เปรียบประหนึ่งเป็นของขวัญ เพื่อแสดงออกถึงความรัก ความซื่อสัตย์ และเป็นการขออนุญาตรดน้ำเธอ ส่วนหญิงสาวชาวพม่ามักไว้ผมยาวแล้วเกล้ามวยผมพร้อมประดับตกแต่งด้วยช่อดอกประดู่บนศีรษะ เช่นเดียวกับหญิงสาวทางเหนือของไทยที่ใช้ดอกเอื้องแซมผม นอกจากจะช่วยทำให้ผมมีกลิ่นหอมจากดอกไม้แล้ว ยังถือเป็นเครื่องประดับตกแต่งด้วยอีกทางหนึ่ง

    ชาวพม่าถือว่าดอกประดู่เป็นดอกไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีพระนามส่า “ติสส” ตรัสรู้ใต้ต้นประดู่ จึงนิยมใช้ดอกประดู่ในงานมงคล ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และถวายเป็นพุทธบูชา ประดับตกแต่งในกระถางหม้อดิน สลุงหรือขันน้ำสีเงิน ยวนยานพาหนะที่แล่นไปรอบๆ เมืองก็จะถูกประดับประดาตกแต่งด้วยพวงมาลัยดอกประดู่ที่ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว บริเวณสถานที่ที่พวกเขาสาดน้ำนักท่องเที่ยวหรือตามอาคารบ้านเรือนต่างก็จะถูกตกแต่งด้วยดอกไม้สีเหลืองทองอย่างดอกประดู่เช่นกัน เป็นการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ที่ชุ่มฉ่ำ และเหลืองทองอร่ามสดใสไปทั้งเมือง คราใดที่ดอกประดู่ชูช่อสีเหลืองทองอร่ามบานสะพรั่งอยู่ทุกหัวระแหง นั้นคือสัญลักษณ์บ่งบอกว่า เทศกาลสงกรานต์ ได้มาถึงแล้ว เนื่องจากดอกประดู่จะบานเพียงปีละครั้ง และจะบานเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น จึงเป็นดอกไม้ประจำเดือนเมษายนของชาวพม่า และเป็นดอกไม้ประจำเทศกาลสงกรานต์ด้วยอีกนัยหนึ่ง นอกจากนี้ชาวพม่ายังเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน คงทน

    ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุล Pterocarpus เป็นพืชดอกที่จัดจำแนกอยู่ในวงศ์ PAPILIONACEAE โดยมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ‘Pterocarpus indicus Willd.’ และชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า ‘Burmese Rosewood’ ส่วนการใช้ประโยชน์จากไม้ประดู่นั้น ชาวพม่านิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหรา และมีราคาแพง เนื้อไม้ประดู่นำไปใช้ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความทนทานสูง เนื้อไม้มีสีสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตบแต่งชักเงาได้ดี ซึ่งเป็นสินค้าที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ และการส่งไม้ประดู่ไปยังตลาดโลกยังเป็นรายได้หลักเข้าประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ไม้ประดู่ยังมีคุณสมบัติที่กลิ่นหอม จึงมีการนำไปใช้เป็นเครื่องประทินผิวเหมือน ทะนะคา (ในไทยเรียกต้นกระแจะ หรือ Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.) และมีสรรพคุณทางยา เนื้อไม้ประดู่ต้มดื่มแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล ใบอ่อนใช้พอกแผลช่วยให้แห้งเร็ว แก้ผื่นคัน ยางไม้ใช้แก้ท้องเสีย

    ส่วนในประเทศไทยดอกประดู่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย โดยได้เอาลักษณะเด่นของดอกประดู่มาเป็นสัญลักษณ์ของทหารเรือ เพราะดอกประดู่นอกจากงดงาม และหอมไกลแล้ว ยังแปลกกว่าดอกไม้อื่นๆ ตรงที่จะบาน และร่วงพร้อมกันทั้งต้น เปรียบเสมือนทหารเรือที่อยู่ในเรือรบกลางทะเล หากอยู่รอดก็รอดด้วยกัน หากเรือจมก็จะตายพร้อมกันหมดนั่นเองในประเทศมาเลเซียเรียกประดู่ว่า Padauk หรือ Angsana และ Sena ประเทศฟิลิปปินส์เรียก Narra ในประเทศอินโดนีเซียเรียก Sonokembang และในประเทศกัมพูชาเรียก tnug

    “หอมดอก ประดู่ เจ้า โชยกลิ่น
    งามยิ่งได้ยลยิน แมกไม้
    ทองอร่ามเหลืองริน ระรื่น
    ฝากแผ่นผืนดินไว้ คู่ฟ้าเมียนมาร์”

    ကျေနပ်
    กวีศิลป์ คำวงค์

    อ้างอิง
    ธีรภาพ โลหิตกุล. พาเที่ยวพม่า พม่าพาเที่ยว.[เวปไซต์] https://www.facebook.com/permalink.php?
    story_fbid=100882880082446&id=181474105223246 (21 มกราคม 2558)
    สาละวินนิวส์.ประดู่ ดอกไม้แห่งเทศกาลสงกรานต์.[เวปไซต์] http://salweennews.org/home/p=7332
    (21 มกราคม 2558)
    Thein, Myat Kyi La. Padauk. [เวปไซต์] http://blog.aseankorea.org/archives/838 (20 มกราคม 2558)
    National Tropical Botanical Garden. [เวปไซต์] http://ntbg.org/plants/plant_details.php (22 มกราคม 2558)

    อ้างอิงรูป

    http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4858
    http://salweennews.org/home/p=7332
    http://www.photoontour.com/worldphotos/23/23_water_festival01.htm


    ที่มา : https://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/23
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Sattahip Today
    เพลง เกียรติยศนาวี
    www.youtube.com/watch?v=gqkPMV202Mc

    เพลง เกียรติยศนาวี อำนวยการผลิต : น.อ.กำจร เจริญเกียรติ
    คำร้อง-ทำนอง : น.อ.พฤทธิธร สุมิตร
    เรียบเรียงเสียงประสาน : น.ต.ตระกูล บุญสร้าง
    ขับร้อง : จ.อ.อภิชัย ดาวัลย์, จ.ท.หญิง สราญรัตน์ ชูอำนาจ
    และ นักร้องประสานเสียง : กองดุริยางค์ทหารเรือ
    บทบรรยาย : พ.จ.อ.นิคม ดีแจ่ม บรรเลง : วงดุริยางค์ราชนาวี
    ประดู่งามยามต้องลมโปรยพรมเหลือง สีรองเรืองบอกเรื่องราวพราววิถี ประดุจดังคนล้ำค่าชาวนาวี สร้างความดีเลิศล้ำตามเวลา ต้นคงยืนงามเด่นเป็นหลักไว้ ไม่อ่อนไหวต่อลมฝนทนหนักหนา ประดุจดังคนมุ่งมั่นและฟันฝ่า เพื่อนำพาวนเวียนสู่วันประดู่บาน *เปี่ยมคุณธรรมนำพาให้เลิศล้ำ จิตใจผู้นำดั่งชายชาติทหาร จงรักภักดีซื่อสัตย์ตราบเท่านาน จิตประสานสามัคคีทุกที่ไป คือเกียรติยศแห่งราชนาวี คือศักดิ์ศรีควรคู่เชิดชูไว้ คือสายเลือดทหารเรือไทย คือความภูมิใจตรึงอยู่คู่กายา ประดู่งามยามเบ่งบานสะพรั่งเหลือง สีรองเรืองบอกเรื่องราวชาวนาวา ประดุจดังหลายหมื่นใจร่วมกันมา พัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เขาพระสุเมรุในความรับรู้ของคนญี่ปุ่น
    Shumisen1.jpg


    คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่รู้จัก “เขาพระสุเมรุ” คำนี้ถือเป็นคำยากและเฉพาะทางมากในภาษาญี่ปุ่น เขียนด้วยตัวอักษรคันจิจะได้ว่า須弥山 อ่านว่า “ชุมิเซ็ง (Shumi-sen) คนที่อ่านคำนี้ออกมีไม่มากนัก แต่ถึงแม้ไม่รู้ก็ไม่ได้หมายความว่าคติไม่ปรากฏในญี่ปุ่น อันที่จริงเรื่องนี้แพร่หลายทั่วไปเพราะมาจากศาสนาพุทธ (และฮินดู) คนญี่ปุ่นซึ่งนับถือศาสนาพุทธและชินโต จึงรับคตินี้ของฝ่ายมหายานเข้ามาด้วย

    ตามวัดต่างๆ ในญี่ปุ่น นอกจากพระพุทธรูปแล้ว มักมีประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเขาพระสุเมรุปรากฏอยู่ เพียงแต่ว่าความใกล้ชิดต่อศาสนาและการศึกษาเรื่องนี้ในระบบโรงเรียนของญี่ปุ่นมีไม่มากนัก คนทั่วไปจึงรู้จักศาสนาพุทธในเชิงพิธีกรรมมากกว่าด้านคติความเชื่อที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะในพิธีศพ ซึ่งคนญี่ปุ่นจัดพิธีแบบพุทธโดยการเผาศพ ส่วนในแง่อื่นที่เกี่ยวกับวัด หากคนญี่ปุ่นไปวัดและพบสิ่งใดอันมีที่มาจากคติเรื่องเขาพระสุเมรุ ส่วนใหญ่จึงได้แต่ดู ทว่ามองไม่เห็นอย่างลึกซึ้ง

    คติทางพุทธศาสนาทั้งของเถรวาทและมหายานเชื่อว่าเขาพระสุเมรุเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล ในคัมภีร์ของแต่ละฝ่ายต่างก็กล่าวถึงเขาพระสุเมรุไว้ โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไปบ้าง ของมหายานในญี่ปุ่นซึ่งรับมาจากจีนผ่านทางคาบสมุทรเกาหลีนั้นกล่าวถึงเขาพระสุเมรุไว้ว่า

    “พระพุทธเจ้าประทับอยู่หนใด? กล่าวกันว่าพระองค์ประทับอยู่ในห้วงอากาศเหนือเขาพระสุเมรุ หากเป็นเช่นนั้นแล้ว เขาพระสุเมรุอยู่ ณ แห่งใด? อรรถาธิบายเรื่องนี้เขียนอยู่ในพรหมชาลสูตรว่าด้วยปัทมครรภโลกธาตุ”

    เมื่อขยายความตามพระสูตรจะได้ว่า เหนือยอดเขาพระสุเมรุขึ้นไปคือแดนพุทธะ ส่วนพรหมชาลสูตร ซึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “บมโม-เกียว” (梵網経; Bonmō-kyō) คือ คัมภีร์ของมหายาน ชื่อพ้องกับของเถรวาท แต่เป็นคนละคัมภีร์และมีเนื้อหาแตกต่างกัน ในพระสูตรนี้มีเรื่องที่เล่าถึงปัทมครรภโลกธาตุ (蓮華蔵世界; Rengezōsekai)หมายถึง องค์ประกอบของโลกอันบรรจุในดอกบัว คำว่า “ปัทม-” หรือ “ปัทม์” หมายถึง ดอกบัวพันธุ์หนึ่ง หรือ “เร็งเงะ” (蓮華;renge) ในภาษาญี่ปุ่น

    Shumisen2.jpg

    ภาพร่างเขาพระสุเมรุ (ญี่ปุ่น) โดย Kōchō Nishimura

    อรรถาธิบายส่วนนี้กล่าวไว้ว่า ในทะเลอันไพศาลมีดอกบัวขนาดใหญ่ดอกหนึ่งบานอยู่ ในดอกบัวนั้นเล่าก็มีทะเลอีก และในทะเลนั้นมีดอกบัวขนาดเล็กจำนวนเหลือคณานับ ในดอกบัวบานแต่ละดอกก็มีทะเลอีก และ ณ ใจกลางทะเลเหล่านี้คือที่ตั้งของเขาพระสุเมรุ ครั้นมองจากรอบนอกของดอกบัวขนาดเล็กทั้งหลาย จะเห็นเกาะขนาดใหญ่อันเป็นจตุทวีปแห่งพระสุเมรุตั้งอยู่สี่ทิศ โดยมีภูเขาโลหะล้อมรอบทะเล

    เกาะทางทิศตะวันออก ได้แก่ “โทโชชิง-ชู” เกาะทางทิศตะวันตก ได้แก่ “ไซโงะเกะ-ชู” เกาะทางทิศเหนือ ได้แก่ “ฮกกุรุ-ชู” และเกาะทางทิศใต้ ได้แก่ “นันเซ็มบุ-ชู” รอบ ๆ เกาะแต่ละเกาะก็มีเกาะเล็ก ๆ อีกห้าร้อยเกาะ พวกเราทั้งหลายอันได้แก่มนุษย์และสัตว์ อยู่ที่เกาะใต้ซึ่งมีชื่อว่านันเซ็มบุ-ชู

    Shumisen3.jpg

    ภาพร่างเขาพระสุเมรุ (ญี่ปุ่น) โดย Kōchō Nishimura

    กึ่งกลางจตุทวีปแห่งพระสุเมรุมีภูเขาทองเจ็ดชั้น ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นอวลไปด้วยกลิ่นหอม ที่ใจกลางภูเขาทองมีเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ นั่นคือเขาพระสุเมรุ เหนือขึ้นไปกลางหาว ตรงนั้นมีเหล่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ และเพื่อมิให้ปีศาจร้ายทั้งหลายปีนขึ้นไปตรงนั้นได้ จึงมี (เทพ) ธรรมบาลและอมนุษย์ปกปักรักษาอยู่ตลอดตั้งแต่ฐานของเขาพระสุเมรุขึ้นไปจนถึงยอด

    แรกสุดคือพญานาคสองตัวขดพันกันอยู่ที่ฐาน จากตรงนั้นขึ้นไปถึงยอดมีหอห้าชั้น ตั้งแต่ชั้นล่างจนถึงชั้นสามมียักษ์รักษา ชั้นสี่มีท้าวจตุโลกบาล และชั้นบนสุดคือสวรรค์ชั้นโทริเต็งอันมีเทพสามสิบสามพระองค์ประทับ รวมทั้งเทพบนเต็งและเทพไทชะกุ คอยรักษาพุทธสีมาอย่างเคร่งครัด เช่น ยักษ์จะคอยขับไล่ปีศาจร้ายที่พยายามปีนป่ายขึ้นไปจากเชิงเขาโดยทำหน้าตาน่ากลัวใส่ และท้าวจตุโลกบาลจะคุ้มกันประจำทิศทั้งสี่

    จากคติมหายานของญี่ปุ่น เมื่อเทียบชื่อเป็นภาษาไทยจะได้ว่า คำว่า “เกาะ” นั้นหมายถึง “ทวีป” ดังที่คนไทยคุ้นเคยกันอยู่โดยแปลงเป็นทวีปต่างๆ ในภาษาไทยได้ดังนี้

    ตะวันออก - ปุพพวิเทหทวีป- โทโชชิง-ชู (東勝身洲; Tōshōshin-shū)
    ตะวันตก - อมรโคยานทวีป- ไซโงะเกะ-ชู (西牛貨洲; Saigoke--shū)
    เหนือ - อุตรกุรุทวีป- ฮกกุรุ-ชู (北倶盧洲; Hokkuru-shū)
    ใต้ - ชมพูทวีป- นันเซ็มบุ-ชู (南贍部洲; Nansenbu-shū) อันเป็นที่อยู่ของมนุษย์
    และสัตว์โลก

    นอกจากนี้ก็ปรากฏความเชื่อเกี่ยวกับเทพที่เราได้ยินชื่อกันอยู่บ่อย ๆ ด้วย กล่าวคือ ในสวรรค์ชั้นโทริเต็ง (忉利天; Tōri-ten) หรือดาวดึงส์ ซึ่งถือว่าเป็นรอยต่อกับโลกมนุษย์และอยู่ที่ยอดเขาพระสุเมรุนั้น มีเทพปกปักรักษาอยู่ องค์ที่รู้จักกันกว้างขวางหน่อย ได้แก่ บนเต็ง (梵天; Bon-ten) หรือ “พระพรหม” กับไทชะกุเต็ง (帝釈天; Taishaku-ten) หรือท้าวสักกะ หรือพระอินทร์นั่นเอง

    Shumisen4.jpg

    (ซ้าย) ไทชะกุเต็ง หรือ ท้าวสักกะ (ขวา) บนเต็ง หรือ พระพรหม


    ถัดจากยอดหรือสวรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาคือที่ประทับของท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ เรียกว่า “ชิเต็นโน” (四天王; Shitennō) ซึ่งก็คือสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ชิไดโอชุเต็ง” (四大王衆天; Shidaiōshu-ten) อันหมายถึงวิมานอันเป็นที่สถิตของมหาเทพทั้งสี่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลแต่ละทิศดังนี้

    Shumisen5.jpg

    Shumisen6.jpg

    (ซ้ายบน) ท้าวธตรฐ (โทไดจิ), (ขวาบน) ท้าววิรูปักษ์ (โทไดจิ), (ซ้ายล่าง) ท้าวกุเวร (โทไดจิ), (ขวาล่าง) ท้าววิรุฬหก (โทไดจิ)

    ตามคติของไทยเชื่อกันว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ เมื่อสวรรคตจึงมีการสร้างพระเมรุมาศในฐานะเขาพระสุเมรุจำลองเพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย โดยมีประติมากรรมที่สร้างตามความเชื่อเกี่ยวกับทวยเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ สำหรับสำหรับญี่ปุ่นนั้น แม้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธอยู่ไม่น้อย แต่แนวคิดเรื่องเขาพระสุเมรุกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินมิได้เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดดังของไทย แต่ลักษณะที่ถือว่าเทียบเคียงกันได้อย่างหนึ่งในเชิงพุทธคือ ตามความรู้สึกของคนญี่ปุ่น เมื่อวิญญาณออกจากร่างแล้ว ที่สิงสถิตของวิญญาณมักจะเป็นภูเขา และเมื่อถึงฤดูกาลกราบไหว้บรรพบุรุษประมาณเดือนสิงหาคม วิญญาณก็จะลงจากเขามาหาลูกหลาน

    คติเรื่องเขาพระสุเมรุกับเทพผู้รักษาพบเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมตามวัดของญี่ปุ่น ประติมากรรมท้าวจตุโลกบาลอันเลื่องชื่ออยู่ที่วัดโทไดจิในจังหวัดนะระ เป็นรูปปั้นดินเหนียวทำขึ้นเมื่อ พ.ศ.1298 ความสูงประมาณ 160 เซนติเมตรเศษทุกองค์ สิ่งที่ได้รับการชื่นชมมากคือพระเนตรของเทพทั้งสี่ซึ่งทำจากหินออบซิเดียนที่ได้มาจากการะเบิดของภูเขาไฟ ว่ากันว่าแววพระเนตรทรงพลังดุจมีมนต์ขลังสมกับเป็นเทพที่ปกปักรักษาเขาพระสุเมรุและคอยดูแลความเรียบร้อยในสี่ทิศ


    Shumisen9.jpg

    หินในสวนที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อะซุกะ จังหวัดนะระ
    นอกจากประติมากรรมที่จำลององค์เทพขึ้นโดยตรงแล้ว คตินี้ก็ปรากฏในเชิงสุนทรียภาพของการจัดสวนด้วย หากใครมีโอกาสได้ชมสวนญี่ปุ่นซึ่งมักใช้หินเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ลองสังเกตให้ดีๆ ถ้าสวนไหนมีหินตั้งโดดเดี่ยวเป็นจุดเด่นและจัดส่วนประกอบถัดจากหินก้อนนั้นออกมาเป็นชั้นๆ ย่อมอนุมานได้ว่านั่นคือการจัดโดยอิงเขาพระสุเมรุ ด้วยการใช้หินเป็นสัญลักษณ์แทนแกนจักรวาลอันหมายถึง “ชุมิเซ็ง” ซึ่งคนญี่ปุ่นเองก็มักดูสวนและเห็นแค่ความสวยงามกับความเรียบง่าย แต่ไม่รู้ถึงคติเบื้องหลังของภูมิทัศน์ที่ปรากฏ

    ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธกับชินโต แต่ในทางปฏิบัติเอนเอียงไปทางชินโตมากกว่า รวมถึงสถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่นด้วย เรื่องเขาพระสุเมรุจึงเป็นสิ่งที่เกินความรับรู้ปกติของคนญี่ปุ่น และด้วยเหตุนี้ ก่อนจะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเจ้าชายอะกิชิโนะแห่งญี่ปุ่นและพระชายาจะเสด็จเข้าร่วมพิธี เมื่อสบโอกาสผมจึงได้เลือกเรื่องนี้ไปถ่ายทอดให้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นผู้ตามเสด็จและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้าโดยสังเขปว่าเหตุใดพระเมรุมาศจึงสร้างเช่นนี้และมีคติอันใดแฝงอยู่บ้าง



    Shumisen9.jpg
    สวนในวัดโทฟุกุ

    ที่มา : https://www.jatschool.com/index.php?route=module/pageview&path=2305&catagory=8
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube วิธีหนีนรก ตามแนว หลวงพ่อฤาษีลิงดํา
    คาถาบวงสรวง ท้าวมหาราชทั้ง 4
    www.youtube.com/watch?v=P962fIRvarQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube ศรัทธา ความเชื่อ
    เทวดากรมหลวงชุมพรฯทำผิดกฎจึงต้องถูกกักบริเวณ เล่าโดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    www.youtube.com/watch?v=Kn6jxVBxOhk&t=1323s
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube CHULALONGKORNTV
    H 0014 รัชกาลที่ 5 ตอน พระราชกรณียกิจด้านทหารและตำรวจ
    www.youtube.com/watch?v=h0h0WSLkdGo
    สารคดีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนที่ ๑ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี สารคดีชุดนี้ มีทั้งหมด 20 ตอน จัดทำโดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับคณะอนุกรรมการจัดทำสารคดีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันสำคัญของพระมหากษัตริย์และ พระบรมวงศานุวงศ์ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระเกียรติคุณอย่างกว้างขวางสู่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้นำออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ในช่วงเวลาหลังข่าวภาคค่ำ โดยได้เริ่มดำเนินการเผยแพร่ ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ตั้งแต่ตอนที่ ๑-๒๐ เป็นลำดับมา * * http://www.identity.opm.go.th/identit...
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เรือนเจ้าจอมมารดาโหมด
    พักผ่อนในเรือนไม้สไตล์โคโลเนียลอายุนับร้อยปี ที่ย้ายจากกรุงเทพฯ มาสู่หัวหิน


    เจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นพระมารดาของนายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ ‘เสด็จเตี่ย’ ผู้เป็นองค์บิดาของทหารเรือไทย

    travel-stay-chaochom-1.jpg

    เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาได้กราบบังคมทูลลาออกจากพระบรมมหาราชวังมาพำนักกับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ณ วังนางเลิ้ง และยังปลูกบ้านพักตากอากาศริมทะเลหัวหิน โดยนำเรือนไม้หลังหนึ่งจากบางกอกใส่เรือมาปลูกใหม่ในพื้นที่ราว 3 ไร่ เมื่อมาประจวบคีรีขันธ์ก็พำนักที่นี่เสมอ

    หลังเจ้าจอมมารดาถึงแก่อสัญกรรม อาคารและที่ดินใกล้พระราชฐานวังไกลกังวลนี้ได้รับการดูแลโดยลูกหลานในตระกูลมาตลอด จนสิ้นปี 2018 จึงได้รับการแปลงโฉมใหม่เป็น ‘เดอ เจ้าจอม หัวหิน’ โรงแรมริมทะเลที่ผสานกลิ่นอายไทยโบราณกับยุคสมัยใหม่อย่างลงตัว


    travel-stay-chaochom-25.jpg

    travel-stay-chaochom-3.jpg

    เมื่อมองมาจากถนน จะเห็นด้านหน้าโรงแรมมีซุ้มประตูทรงสามเหลี่ยม ถอดลักษณะมาจากชฎา สื่อถึงอดีตกาลที่นำมาประยุกต์ให้ร่วมสมัย

    travel-stay-chaochom-23.jpg

    “หลังเดินผ่านซุ้มชฎาแล้วเราปรับอารมณ์ให้ย้อนสู่อดีตนิดๆ จากข้างนอกที่วุ่นวาย เข้ามามีสะพานยาวไปถึงหาด สองข้างทางมีต้นมะขามซึ่งเป็นต้นไม้เดิมของที่นี่ และต้นหูกระจงที่จะให้ร่มเงาได้เร็วที่สุด จุดรวมสายตาที่มีฉากหลังเป็นทะเลคือเรือนของเจ้าจอมมารดาโหมด เป็นพระเอกอยู่ด้านในสุด”

    อภิชาต สุขนิรันดร์ สถาปนิกผู้ชุบชีวิตโรงแรมอธิบายแนวคิดที่พัก เรือนไม้สไตล์โคโลเนียลได้รับการปรับปรุงเป็นที่พักหลักและเป็นสัญลักษณ์ของโรงแรมชื่อ ‘เรือนลูกไม้’ บ้านชั้นเดียวนี้มีระเบียงกว้างรับลม แต่งด้วยระแนงไม้ฉลุแบบโบราณ มีสนามหญ้าเล็กๆ ส่วนตัวด้านหน้าบ้านก่อนเดินลงทะเล และอยู่ติดสระว่ายน้ำด้วย


    travel-stay-chaochom-6.jpg

    travel-stay-chaochom-15.jpg



    “ก่อนรีโนเวตตัวบ้านทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และชำรุดเพราะโดนไอน้ำเค็ม พอตัดสินใจทำโรงแรม เราก็ตั้งใจรักษารูปลักษณ์ของอาคารไว้ และเพิ่มความสะดวกสบายของสมัยใหม่เข้าไป”

    นอกจากเรือนนี้ ริมทะเลยังมีอาคารที่พักอีก 2 หลัง ได้แก่ บ้านจันทรา ตึกเก่าอายุราว 60 ปีที่ปรับปรุงใหม่เป็นที่พัก 4 ห้องนอน และบ้านเมธา ตึกใหม่ที่สร้างขนานกับบ้านจันทรา เป็นที่พัก 4 ห้องนอนเช่นกัน ทั้ง 2 บ้านจะเลือกจองห้องเดี่ยว หรือจองทั้งบ้านเลยก็ได้ เหมาะกับแขกหมู่คณะที่ต้องการห้องนอนวิวทะเล


    travel-stay-chaochom-19.jpg


    “ส่วนที่พักด้านซ้ายขวาของสะพานสู่ทะเล ผมตั้งใจให้เป็นพระรอง เป็นวิลล่าที่ดูเรียบง่าย ทุกหลังมีสระว่ายน้ำส่วนตัวเล็กๆ มีรั้วมิดชิด ไม่มีใครมองเห็นคุณ ลูกค้าจะได้อยู่ในโลกส่วนตัวของตัวเองอย่างสงบ แต่ถ้าอยากเห็นทะเล เดินออกมาก็เห็นได้ทันที”



    สถาปนิกเล่าแนวคิดของวิลล่าแบบโมเดิร์นทั้ง 9 หลังที่ตั้งชื่อตามดอกไม้ทั้งหมด เช่น บุนนาค มะลิลา มะลุลี ศรีตรัง เหมาะสำหรับคู่รักหรือครอบครัวที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง แต่หากต้องการออกไปช้อปปิ้งของดีไซน์ กินข้าว นั่งคาเฟ่หรือบาร์ ก็เดินไป Seenspace หัวหินที่อยู่ห่างออกไปเพียง 350 เมตรได้ตลอด

    travel-stay-chaochom-27.jpg

    ถ้าขี้เกียจออกไปไหน เดอ เจ้าจอม มีครัวประกอบอาหาร 3 มื้อให้บริการ และในอนาคตอันใกล้จะมีบาร์เครื่องดื่มริมสระน้ำด้วย ส่วนในปีหน้าทางโรงแรมแย้มให้ฟังว่าที่ดิน 4 ไร่ฝั่งตรงข้ามกัน ซึ่งเจ้าจอมมารดาโหมดเคยรับซื้อจากชาวบ้านไว้ จะได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมวิวภูเขา รับรองว่าเป็นที่พักแสนสงบน่าพักผ่อนไม่แพ้ที่นี่แน่นอน



    ที่มา : https://readthecloud.co/de-chaochom-hotel/
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtbe spsakorn199
    หัวหินสิ้นมนต์รัก สุเทพ วงศ์กำแหง YouTube
    www.youtube.com/watch?v=_Jyk5jTtxMI
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube T 3D
    หัวหินสิ้นมนต์รัก - ชวลี ช่วงวิทย์ (ต้นฉบับเดิม พ.ศ.2494)
    www.youtube.com/watch?v=L_eJ-5kOe6g
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ
    ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง
    น้อยคนที่จะรู้!!


    หลายคนสงสัยถึงที่มาของถนนหรือสถานที่ต่างๆ โดยสถานที่นั้นๆ อาจสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองพระเกียรติ หรืออันเชิญพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์มาเป็นชื่อของสถานที่นั้นๆ นอกจากพระนามกรมของพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังถูกนำมาใช้เป็นชื่อของสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนน อาคาร เป็นต้น รวมทั้งยังปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ โดยพระนามกรมที่นำมาใช้นั้นมีปรากฏ

    นอกจากนี้ชื่อถนนบางสายในกรุงเทพมหานครนั้น ก็ตั้งตามชื่อพระนามกรมของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เช่นถนนกำแพงเพชร ตั้งตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน "

    [​IMG]
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หรือ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ - ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙) พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย พระบิดาแห่งการรถไฟไทย พระบิดาแห่งการท่องเที่ยวไทย และ พระบิดาแห่งโรตารีไทย

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ กระทั่งวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๙ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรได้สิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชนมายุได้ ๕๕ ปี

    ถนนพิษณุโลก ตั้งตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ"

    071_1(1).jpg

    จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ - ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓) ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย"

    ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง ๓๗ พรรษา เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓


    ถนนนครราชสีมา ตั้งตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา"

    Prince_Asdang_Dejavudh_of_Siam.jpg

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงออกทรงพระนามว่า "เอียดเล็ก" ชางวังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"

    พระองค์ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ (โรคไต) และทิวงคตที่พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ สิริพระชนมายุได้ ๓๖ พรรษา

    ถนนศุโขทัย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา"

    King_Prajadhipok_portrait_photograph(5).jpg

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ — ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ ๗ ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕น. หรือตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ ๙ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (นับศักราชแบบเก่า) รวมดำรงสิริราชสมบัติ ๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รวมพระชนมพรรษา ๔๗ พรรษา


    ถนนพิไชย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม"

    Benbadhanabongse.jpg

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระนามเดิม พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "เพ็ญพัฒน์" เป็นผู้พระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือน พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๕ เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ขณะพระชนมายุ ๒๐ พรรษา กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม สิ้นพระชนม์ด้วยโรคปอดเรื้อรัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา

    ถนนนครไชยศรี ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช"

    Field_Marshal_Prince_Chirapravati_Voradej.jpg

    จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช หรือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาทับทิม โดยเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อกลับมาประเทศไทยทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมในตำแหน่งต่างๆ และทรงเป็นจอมพลพระองค์ที่ ๒ ของกองทัพบกสยาม พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล "จิรประวัติ"

    จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ สิริพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกองทัพบกไทย"

    ถนนเพชรบุรี ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร"

    นายพันเอกหญิง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๔๓ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม และเป็นเชษฐภคินีของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น

    พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการเรื้อรัง เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง ๒ ครั้ง จนเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ มีพระอาการหนักอย่างน่าวิตก พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๒๓.๑๕ นาฬิกา ของวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ สิริพระชนมายุ ๕๓ พรรษา

    ถนนสุพรรณ ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี"

    Srivilailaksana(1).jpg

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงได้รับพระกรุณายกย่องพระเกียรติยศไว้ยิ่งกว่าพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นหลายประการและสมเด็จพระบรมชนกนาถถึงกับรับสั่งว่าพระองค์เป็น "ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก"

    พระองค์ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ทำหน้าที่ดูแลพระเจ้าน้องที่ยังทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ได้รับพระราชทานเกียรติให้เป็นผู้สั่งพระกนิษฐาให้เป็นสาว เนื่องจากตามธรรมเนียมการเป็นสาวของสตรีในพระราชสำนักฝ่ายในนั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์

    พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หลังประชวรเรื้อรังมานาน พระชันษา ๓๖ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปในงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพของกรมขุนสุพรรณภาควดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ ก็ประชวรและสิ้นพระชนม์ ด้วยพระอาการไข้พิษ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งในสี่แผ่นดินกล่าวว่า "ต้องเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอองค์หนึ่งลงมา แล้วเชิญพระศพของอีกพระองค์ขึ้นไป"


    ถนนอู่ทอง ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี"

    Nibha_Nobhadol.jpg

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๓ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ พระองค์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ก็มีพระราชหัตถเลขามาถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ ซึ่งพระราชหัตเลขาเหล่านั้นได้นำมารวมรวบเป็นหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านในเวลาต่อมา

    หลังจากมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พร้อมกับครอบครัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘


    ถนนสวรรคโลก ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี"

    Yaovamalaya_Narumala.jpg

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อแรกประสูติทรงพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวมาลย์นฤมล"

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล" หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี" ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี"

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง หรือภายหลังคือ สภากาชาดไทย ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ พระชันษา ๓๖ ปี

    ถนนนครปฐม ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนเทพทวาราวดี" เนื่องจากนครปฐมเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยกรุงทวารวดี

    99(1).jpg

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นองค์ที่ ๒ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๕ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๕ ปี

    นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญที่อันเชิญพระนามมาตั้งเป็นชื่อสถานที่ด้วย
    อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนเทพทวาราวดี"


    001(7).jpg

    วังศุโขทัย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา" ผู้เป็นเจ้าของวัง
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา"


    22338_1437814193_3_th.jpg

    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งชื่อตามพระนามกรมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงสงขลานครินทร์"
    มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คือ "เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช"


    father(1).jpg

    จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ ๘) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ ๑๐) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ๗ พระองค์ พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "พระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"

    หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ(ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ๘ เดือน ๒๓ วัน

    โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งตามพระนามกรมของ
    "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์"


    056_1(1).jpg

    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"

    พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี ๒๕๓๖ มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" และในปี ๒๕๔๔ แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย" ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและอนุเสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น ๒๑๗ แห่งทั่วประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หรือที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร

    ที่มาจาก :

    https://www.tnews.co.th/religion/33...ละพระราชธิดา-ในพระพุทธเจ้าหลวง-น้อยคนที่จะรู้!!
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...