คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube โทน บางแค FC.
    กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระโคนสมอ กรุวังหน้า ภาพถ่ายเก่า l หนึ่งในสยาม Ep.5
    www.youtube.com/watch?v=WBA5x3eHc4U
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    หลวงปู่ศุข กับ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    upload_2021-8-14_19-34-35.jpeg

    บางส่วนของบทความเรื่อง กฤติยาคม กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านเป็นชายชาตรี ใช้ชีวิตกลางแจ้งเพื่อศึกษาชีวิตของราษฎรตามหัวเมืองต่าง ๆ และที่สำคัญท่านชื่นชอบพุทธเวท ไสยเวท เป็นอย่างมากด้วยเหตุนี้เมื่อพระองค์เสด็จประพาสไปที่ใด หากทราบว่ามีพระอาจารย์ดีเรื่องอาคมเป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป พระองค์จะไปกราบนมัสการสนทนาในเรื่องของธรรมะและพุทธาคมอยู่เป็นนาน พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์อีกด้วย ในจำนวนพระเกจิอาจารย์มีชื่ออยู่ในยุคนั้นที่เสด็จในกรมทรงศรัทธามากเป็นพิเศษและไปมาหาสู่บ่อย ๆ คือ “หลวงปู่ศุข” หรือ “ท่านพระครูวิมลคุณากร” แห่งวัดปากคลองมะขาวเฒ่า อำเภอสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท

    แล้วก็เป็นเรื่องที่น่าแปลก เมื่อกล่าวถึงพุทธาคมของหลวงปู่ศุข ก็จะต้องเขียนเรื่องกรมหลวงชุมพรฯ และถ้าหากเขียนเรื่องเสด็จในกรมในเรื่องความขมังเวท ก็จะต้องมีเรื่องของหลวงปู่ศุข เข้ามาเกี่ยวข้องกันจนแยกไม่ออก หลวงปู่ศุข เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 ความเป็นมาในช่วงวัยเด็กจนเป็นหนุ่มรุ่นนั้น ข้อมูลมีกันอยู่หลายกระแส คือท่านเป็นเด็กซุกซน ชอบลงว่ายน้ำเกาะเรือโยงในแม่น้ำเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้มารดาของท่านเป็นห่วง ห้ามปรามก็ไม่เชื่อ ทำให้มารดาโกรธและทำโทษเฆี่ยนตีสั่งสอน แต่ผลจากการลงโทษนั้นทำให้เด็กชายศุขโกรธผู้เป็นแม่ รุ่งขึ้นจึงเกาะเรือโยงหนีออกจากบ้านแต่อีกข้อมูลก็แจ้งว่า ตอนเมื่อท่านเยาว์วัยอายุประมาณ 7 ปี มารดานำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ผู้เรืองอาคม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนมีความรู้ความชำนาญในเรื่องภาษาไทย จากนั้นจึงได้อำลาพระอาจารย์ไปแสวงหาวิชาความรู้เพิ่มเติมในกรุงเทพฯ โดยที่ท่านยังไม่บวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรแต่อย่างใด

    ขณะที่อยู่ในกรุงเทพฯ จนถึงวัยหนุ่มอายุ 18 ปี ได้พบเนื้อคู่ซึ่งเป็นสาวสายย่านบางเขน ชื่อสมบูรณ์ หนุ่มศุขใช้ชีวิตครองเรือนจนมีบุตรคนหนึ่งซื่อสอน (บ้างก็ว่าชื่อชวน) ใช้ชีวิตอย่างปุถุชนธรรมดาจนเบื่อในที่สุดท่านก็ตัดสินใจหักคานเรือน หนีภรรยาและบุตรไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์เชย เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ศุขก็มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเคร่งครัด ถือวัตรธุดงค์อยู่ตามสถานที่วิเวกสันโดษ เยี่ยงพระอนาคาริกทั้งหลายในสมัยนั้นการธุดงค์ไปตามป่าเขาของหลวงปู่ศุข ทำให้ท่านได้พบพระวิปัสสนาจารผู้ทรงคุณและมีความรู้หลายท่าน จนมีความเจนจบในไสยศาสตร์หลายสาขาอีกด้วย

    ครั้นมารดาของท่านถึงแก่กรรมลง หลวงปู่ศุขก็ได้กลับบ้านเพื่อจัดการฌาปนกิจศพเป็นที่เรียบร้อย ขณะเดียวกันท่านก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่านับแต่นี้ไปในกาลภายหน้าจะยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา โดยจะถือเพศบรรพชิตอยู่ในวัดปากคลองมะขามเฒ่าไปจนตลอดชีวิต ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ศุข ก็อยู่อย่างพระวิปัสสนาในวัดปากคลองมะขามเฒ่า มีความเคร่งครัดในศีลาจารวัตร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากจะเป็นพระวิปัสสนาจารที่สามารถแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่รอบรู้ด้านปริยัติธรรม มีความรู้แตกฉานในหลักธรรมและพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในเรื่องวิชาไสยศาสตร์ วิทยาคมต่าง ๆ นั้นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเลิศ มีหลักฐานบันทึกของสานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งว่า

    “หลวงปู่ศุขสำเร็จในอารมณ์กำหนดธาตุทั้ง 4 มี ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นผลแห่งฌานด้วย “กสิณ” สมาบัติ สามารถทำอะไร ๆ ได้ เช่น ผูกหุ่นพยนต์ ล่องหนหายตัวกำบังกาย ทั้งสามารถระเบิดน้ำลงดำในทะเล หรือเดินบนผิวน้ำ สะเดาะโซ่ตรวจ สะกดทัพ ท่านสามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้”จากหนังสือ กรมหลวงชุมพรฯ เรียบเรียงโดย บุรี รัตนา

    เดือนยี่ปีนั้นกำลังอยู่ในหน้าแล้ง มีชาวเหนือทางจังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางมาค้าขายโดยมีช้างเป็นพาหนะประมาณ 8-9 เชือก แต่สินค้าที่ขายกันนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นอะไรแน่ สมัยนั้นปรากฏว่าการคมนาคมไม่สะดวกราบรื่นเท่าที่ควร 2 ข้างทางเต็มไปด้วยป่าพงดงดิบ พ่อค้ากลุ่มนี้มีประมาณ 15 คน เดินทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านสุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี จนถึงชัยนาท พ่อค้าเหล่านั้นได้พากันพักแรมอยู่ที่ใต้ถุนศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า แต่แล้วบรรดาพ่อค้านี้ได้ปล่อยช้างให้กินใบไผ่ใบหญ้าอยู่ตามบริเวณวัด 2-3 วัน แล้วก็ช้าง 8-9 เชือกนี้เองบังเอิญไปเหยียบย่ำต้นไม้ของหลวงพ่อที่ปลูกไว้ เช่น ต้นกล้วย ผัก พริก มะเขือ และไม้ดอกสีต่าง ๆ บางทีช้างก็ใช้งวงเอาใบกล้วยมากินจนแหลกลาญเสียหาย

    ความจริงหลวงพ่อก็มิได้เอ่ยว่าประการใด บรรดาชาวบ้านแถวนั้นก็จูงลูกเด็กเล็กแดงมายืนดูช้างอยู่ในวัดจำนวนมาก เพราะมีทั้งช้างสีดอ ช้างพัง ช้างพลาย และลูกช้างอีกราว 2-3 เชือก ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 16.30 น. พวกเลี้ยงช้างที่มานั้นพากันหุงข้าวปลาอาหารอยู่ใต้ถุนศาลา กะว่ารุ่งขึ้นจะพากันเดินทางลงใต้ คือผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างที่หุงข้าวกันอยู่นั้น ชาวบ้านก็ได้ยินกลุ่มชาวเหนือที่กำลังนึ่งข้าวกันอยู่นั้นพากันบ่นว่า ข้าวไม่พอกินกัน อีกคนหนึ่งจึงพูดว่า"จะไปยากอะไร นกพิราบอยู่บนหลังคาโบสถ์เป็นฝูง ๆ ปืนเราก็มี หน้าไม้ก็มี จัดการเอาเลย"

    ชาวบ้านแห่งวัดมะขามเฒ่าได้ฟังดังนั้นจึงช่วยกันห้ามปราม อธิบายให้ฟังทั่ว ๆ กันว่า การกระทำดังนั้นจะผิดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อเคยห้ามไว้นานแล้วว่าไม่ให้ยิงนกภายในบริเวณวัด แม้ว่าจะเป็นการพูดทักท้วงที่ละมุนละม่อมเพียงไร เขาก็หาฟังเสียงไม่ คนหนึ่งคว้าปืนแก๊ปขึ้นประทับบ่ายิงไปยังนกพิราบฝูงนั้น สับนกดังเชี๊ยะ ๆ ตั้งหลายครั้งหลายครา พยายามยิงเท่าไหร่ลูกปืนก็หาออกไปสังหารชีวิตนกพิราบแม้แต่ตัวเดียว

    พวกที่หมายมั่นจะกินเนื้อนกพิราบให้จงได้ก็พยายามต่อไป คือเปลี่ยนเป็นหยิบหน้าไม้ออกไปยิง แต่เมื่อยิงทีไรลูกศรก็ตกจากร่องหน้าไม้ทุกที เป็นที่น่าประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นตาม ๆ กัน ร้อนถึงชายฉกรรจ์วัยกลางคนผู้หนึ่ง ท่าทางภูมิฐานเอาเรื่อง เปล่งเสียงออกมาอย่างเกรี้ยวกราดตามอารมณ์ดีเดือดว่า“ขรัวตาวัดนี้มีอะไรดีหรือวะ ชะ ชะ”พูดแล้วก็คว้าได้ขวานสั้นคมกริบเล่มหนึ่ง ฟันลงที่หน้าแข้งเสียงดังฉาด ๆ กระเด็นออกมาเป็นฟืนหุงข้าว ทำให้ผู้คนที่ต่างมุงดูอยู่บังเกิดความพิศวงเป็นกำลัง เพราะเห็นขวานกระทบหน้าแข้งกระเด็นออกมาเป็นท่อนฟืนได้ชาวเหนือผู้เลี้ยงช้างยิ่งแลเห็นผู้คนสนใจในอาคมของตนก็ยิ่งกำเริบใจ วางท่าหนักขึ้นไปอีก แสดงอาการถากหน้าแข้งต่อไปไม่หยุดยั้ง ในที่สุดก็ได้ฟืนเป็นกองใหญ่

    ขณะนั้นมีชาวบ้านคนหนึ่งวิ่งตะลีตะลานไปรายงานกับหลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่าว่า บัดนี้มีคนดีมาจากเหนือแสดงอาการถากหน้าแข้งให้เป็นฟืนหุงข้าวก็ได้ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ใคร ๆ ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก หลวงพ่อถามโพล่งออกมาว่า “ใครวะ คนดีคนเก่ง”
    ชาวบ้านตอบว่า “คนเลี้ยงช้างครับหลวงพ่อ” หลวงพ่อได้ฟังคำตอบชัดแจ้งดีแล้วก็พูดด้วยเสียงอันดังฉุนเฉียวว่า“เอ ไม่ได้การเสียแล้วไอ้ห่านี่บังอาจมาถากเสาศาลาของกู เดี๋ยวเหอะ กำแหงใหญ่แล้วพวกนี้”

    ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี หลวงพ่อจึงคิดจะทำการดัดสันดานพวกนี้ให้เข็ดหลาบเสียบ้าง ไม่รู้จักว่าใครเป็นใคร มันไม่รู้จักกู ดีละ เพราะท่านทราบว่าจวนถึงเวลาที่พวกเลี้ยงช้างจะต้องต้อนช้างไปผูกแล้วสุมไฟให้นอน หลวงพ่อเผ่นลงจากุฏิพร้อมด้วยกะลามะพร้าวซีกหนึ่ง เดินไปลานหญ้าหน้ากุฏิ หยุดบริกรรมร่ายพระเวทอันศักดิ์สิทธิ์เรียกฝูงช้างให้มารวมกัน จากแรงฤทธิ์อิทธิเดชของเวทมนต์หลวงพ่อ ช้างก็ถูกลมพัดปลิวเหลือตัวเท่าแมลงวันตกอยู่ตรงหน้า แล้วท่านก็เอากะลาครอบลง เอาเท้าเหยียบตรึงด้วยพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ เป่าลงบนกะลาครอบนั้น จากนั้นหลวงพ่อก็เดินกลับเข้าไปในกุฏิ

    ส่วนพวกเลี้ยงช้างนั้นเล่า หลังจากกิจข้าวปลาอาหารจนอิ่มหนำสบายใจดีแล้วก็นึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ต้อนช้างให้เข้านอน แต่เมื่อมุ่งหน้าไปยังที่ช้างอยู่ก็หาเห็นช้างแม้สักเชือกไม่ ช้างหายไปไหนหมด ทุกคนพบกับปัญหาที่คาดไม่ถึง แล้วก็ออกค้นหากันไป จนกระทั่งอ่อนใจ หนักเข้าถึงกับร้องไห้ขึ้นไปกราบเท้าหลวงพ่อพลางปรับทุกข์ให้ท่านฟัง “ถ้าช้างถูกขโมยไปหมดแล้ว พวกเขาจะกลับบ้านไม่ได้” พวกเขาว่าอย่างนี้ หลวงพ่อฟังแล้วก็เลยถือโอกาสสั่งสอนว่า “เรามาทำมาหากิน ก็จงทำมาหากินโดยซื่อสัตย์สุจริต มีความอุตสาหะหมั่นเพียร อย่าได้คิดเบียดเบียนคนอื่นให้เกิดความเดือดร้อน จะได้เอาเงินกลับไปบ้านเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย แต่นี่พวกมึงกำแหงมาก ศาลาของกูสร้างต้องเสียเงิน แต่มึงเอาขวานมาถากศาลาของกูเสียหาย” พวกเลี้ยงช้างต่างฟังกันเงียบไม่ยอมปริปากประการใด หลวงพ่อก็พูดต่อไปว่า “ศาลาของกูเสียหายอย่างนี้ มึงต้องเอาเงินมาเปลี่ยนทำเสาศาลากูให้ดีเหมือนเดิม กูถึงจะคืนช้างให้พวกมึง”พวกเลี้ยงช้างเหล่านั้นจำใจต้องยอมรับผิดเพราะตนผิดจริง ๆ แล้วมอบเงินให้กับหลวงพ่อให้พอกับการเปลี่ยนเสาศาลาให้มีสภาพดีเหมือนเดิม เมื่อหลวงพ่อได้รับเงินแล้วก็พูดว่า “มึงตามมา แล้วพรุ่งนี้มึงต้องไปนะ ต้นไม้ต่าง ๆ ของกูฉิบหายหมด เห็นไหม” พวกเลี้ยงช้างค่อย ๆ เดินตามหลวงพ่อมา จนกระทั่งถึงที่ช้างถูกกะลาครอบเอาไว้ “นี่ ช้างของมึง กูเอากะลาครอบเอาไว้” พูดจบหลวงพ่อก็เปิดกะลาที่ครอบออก ช้างที่เล็กเท่าตัวแมลงวันก็กลับกลายร่างใหญ่โตเท่าเดิม เหล่าชาวเหนือเห็นดังนั้นก็ก้มลงกราบแทบเท้าหลวงพ่อแล้วนำช้างกลับไปพักผ่อนตามปกติ

    ความแก่งกล้าสามารถในด้านวิชาไสยศาสตร์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีผู้บอกเล่ากันต่อไปในที่ต่าง ๆ โด่งดังไปถึงในรั้วในวัง และทำให้กรมหลวงชุมพรฯ ทราบเรื่องที่ว่านี้มาตลอด แต่ก็ทรงเฉย ๆ อยู่ มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณฯ ได้นำพระเครื่องเก่าองค์หนึ่งมาถวายแก่กรมหลวงชุมพรฯ แล้วทูลว่าพระเครื่ององค์นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยอด ตกทอดมาตั้งแต่วังหน้า เนื่องจากพระองค์ชอบพิสูจน์หรือทดลองให้เห็นจริง จึงให้มหาดเล็กนำพระเครื่ององค์นั้นไปแขวนที่ปลายไม้ จากนั้นพระองค์จึงมีพระบัญชาให้นาวาเอกพระยาพลพยุหรักษ์ เป็นผู้ทดลองยิงพระเครื่ององค์นั้น โดยใช้ปืน ร.ศ. บรรจุกระสุนที่เลือกแล้วเป็นอย่างดี ท่ามกลางผู้ที่ยืนดูการทดลองจำนวนมาก จากการยิง 3 นัด ผลปรากฏว่าปืนกระบอกนั้นไม่มีเสียงระเบิดทั้ง 3 นัด คงมีเสียงสับนกกระทบตูดชนวนลูกปืนดัง แชะ แชะ แชะ อันหมายความว่า กระสุนด้านและไม่ทำงาน เสด็จในกรมทรางมีบัญชาให้หันลำกล้องปืนไปทางอื่นและยิงใหม่ ปรากฏว่ากระสุนเดิมทั้ง 3 นัด ส่งเสียงสนั่น อันหมายถึงกระสุนมิได้ด้าน

    นับตั้งแต่ครั้งนั้นกรมหลวงชุมพรฯ จึงมีความเชื่อถือในพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์และ พุทธานุภาพ พร้อมกันนั้นได้เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์ดี เพื่อศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากผู้ทรงคุณต่าง ๆ ครั้นชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงปู่ศุขมีมากขึ้น ก็มีความสนพระทัย
    ความคิดใคร่จะไปทดลองดูให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาว่าเป็นอย่างไร หากมีโอกาสเมื่อใดก็จะไปพบหลวงปู่ศุขให้จงได้ ในครั้งนั้น
    กรมหลวงชุมพรฯ เสด็จไปตากอากาศภาคเหนือและเสด็จกลับด้วยเรือทหารล่องลงมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา แต่แทนที่จะล่องกลับถึงกรุงเทพฯ พระองค์ทรงรับสั่งให้เรือกลไฟที่จูงเรือประเทียบล่องลงมาตามลำน้ำท่าจีน อันแม่น้ำท่าจีนนั้นแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท ไหลลงสู่อ่าวไทยที่เมืองสมุทรสาคร มีความยาวถึง 200 กม. และเส้นทางสายแม่น้ำท่าจีนนี้ได้ไหลผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย เมื่อเรือพระที่นั่งล่องมาถึงวัด ก็บังเอิญให้เรือมีอันขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะพยายามแก้ไขเครื่องยนต์อย่างไรก็ไม่สำเร็จ (ภายหลังหลายคนเชื่อว่าคงเป็นการสำแดงอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข)

    ในที่สุดก็เลยต้องชะลอเรือทั้งหมดเข้าไปจอดที่ศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่เรือประเทียบและเรือกลไฟเข้ามาเทียบอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ พระองค์ทรงแลเห็นเด็กลูกศิษย์วัดกำลังชุลมุนอยู่กับการตัดหัวปลีเอามากองที่ข้างศาลาทีละหัวสองหัว จนเรือเข้าเทียบศาลาท่าน้ำนั่นแหละจึงเห็นหัวปลีกองโตขึ้น ขณะเสด็จในกรมทรงยืนบนเรือมองดูการกระทำของเด็กวัดเหล่านั้นด้วยความฉงนพระทัย ได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินตรงเข้ามาที่กองหัวปลี ท่าทางเคร่งขรึม ท่านมองรอบ ๆ กองหัวปลีอยู่ 2-3 อึดใจ แล้วจึงหย่อนร่างนั่งบนกองหัวปลีนั้น พระภิกษุรูปนั้นนั่งหลับตาภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง จากนั้นท่านก็หยิบหัวปลีขึ้นมาเป่าลูบไล้ไปมา จากนั้นท่านเหวี่ยงหัวปลีลงพื้น แล้วเสด็จในกรมตลอดจนทหารข้าราชบริพารต้องตกตะลึงเพราะหัวปลีนั้นเมื่อตกถึงพื้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวนวล กระโดดโลดเต้นอยู่ไปมา ภิกษุรูปเดิมหาได้หยุดเสกเป่าหัวหลี ท่านทำอย่างต่อเนื่อง หัวปลีกลายเป็นกระต่ายขาวหลายตัววิ่งอยู่บนศาลาและพื้นดินเต็มไปหมด

    เมื่อเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนี้ กรมหลวงชุมพรฯ พร้อมด้วยนายทหารและข้าราชบริพารทั้งปวงในที่นั้นก็เข้าไปแสดงอาการคารวะต่อพระภิกษุรูปนั้นโดยทั่วหน้ากัน ครั้นกระต่ายวิ่งมาหาท่านทีละตัว ท่านก็เอามือลูบคลำไปมาสักครู่ แล้วปล่อยวางลงกับพื้น กระต่ายก็กลับเป็นหัวปลีอย่างเดิม และทำอยู่อย่างนั้นทุกตัว จนกลายเป็นหัวปลีกองโตเหมือนเดิม

    กรมหลวงชุมพรฯ ได้สอบถามพูดคุยกับหลวงพ่อองค์นั้น (ขณะนั้นเสด็จในกรมเรียกหลวงพ่อ) จึงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้าท่านก็คือ “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ที่พระองค์ได้ยินชื่อเสียงมาช้านานนั่นเอง และหลวงปู่ศุขก็รู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหน้าคือพระราชโอรสแห่งพระพุทธเจ้าหลวง “กรมหลวงชุมพรฯ” นั่นเอง

    การพูดคุยกันวันนั้นเป็นที่ถูกอัธยาศัยกันทั้ง 2 ฝ่าย เสด็จในกรมจึงอยากพักอาศัยอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าสักหลายวัน หลวงปู่ศุขก็มิได้ว่ากระไร ยกศาลาท่าน้ำให้เป็นที่จอดเรือ ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุชราและโอรสของเจ้าเหนือหัวได้เริ่มขึ้นแล้วเสกทหารกลายเป็นจระเข้ วันรุ่งขึ้น เสด็จในกรมได้ขึ้นไปสนทนากับหลวงปู่ศุขบนกุฏิ การสนทนาในวันนั้นส่วนมากก็วนเวียนอยู่กับฤทธิ์อาคมเสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย หลวงปู่ศุขก็เล่าบอกตามความเป็นจริงในทางที่ตนเองยึดถือปฏิบัติ

    ยิ่งพูดคุยกันมากเสด็จในกรมก็ยิ่งรู้ว่าหลวงปู่ศุขมีอาคมมากมาย ทั้งยังสามารถเสกคนให้เป็นจระเข้ได้อีกด้วย ในตอนหนึ่งของการสนทนา หลวงปู่ศุขได้สอบถามกรมหลวงชุมพรฯ ว่า “ปรารถนาจะใคร่ชมคนกลายเป็นจระเข้หรือไม่” เสด็จในกรมและข้าราชบริพารที่นั่งอยู่ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “อยากเห็นคนกลายเป็นจระเข้” เมื่อทุกคนอยากดูการเสกคนเป็นจระเข้ หลวงปู่ศุขจึงบอกให้เสด็จในกรมคัดเลือกคนรูปร่างล่ำสันแข็งแรง พระองค์จังคัดเลือกพลทหารมาได้คนหนึ่งชื่อ “จ๊อก”

    จากนั้นหลวงพ่อสั่งให้เอาเชือกเส้นใหญ่มักที่เอวของพลทหารจ๊อกอย่างแน่นหนา แล้วพาไปที่สระน้ำแห่งหนึ่งในวัด ให้พลทหารผู้นั้นนั่งคุกเข่าลงข้างสระ แล้วสั่งให้หลับตาพนมมืออยู่นิ่ง ๆ ส่วนตัวหลวงปู่จับปลายเชือกไว้แน่น พลางบริกรรมคาถาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็เป่าพรวดลงไปที่ศีรษะพร้อมกับใช้ฝ่ามือที่ไม่ได้จับปลายเชือกตบลงที่กลางหลัง พร้อมกับผลักพลทหารจ๊อกตกลงไปในสระน้ำเสียงตูมใหญ่
    สายตาทุกคู่จ้องเป็นจุดเดียว กรมหลวงชุมพรฯ ยืนมองร่างพลทหาร ท้องน้ำแตกกระจายเป็นวงกว้าง ครั้นน้ำสงบลงจึงแลเห็นร่างของจระเข้ตัวโตอยู่ในน้ำ ส่วนหัวมีเชือกผูกติดตัวแหวกว่ายวนเวียนสะบัดหากฟาดน้ำอยู่ไปมา

    ทุกคนในที่นั้นต่างอัศจรรย์ในความขมังเวทย์ของหลวงปู่ศุข ส่วนกรมหลวงชุมพรฯ ทรงทอดพระเนตรดูลูกน้องกลายเป็นจระเข้ แหวกว่ายอยู่ในสระน้ำด้วยใจระทึก ร่างของจระเข้พยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะดำดิ่งลงก้นสระ ติดแต่ว่าถูกล่ามเชือกอยู่ โดยเหล่าทหารเข้าช่วยหลวงปู่ดึงเอาไว้ หลวงปู่ศุขได้กล่าวกับเสด็จในกรมว่า “ท่านจะให้ลูกน้องกลับเป็นคนหรือจะให้เขาเป็นจระเข้อยู่อย่างนั้น” กรมหลวงชุมพรฯ ได้ตรัสตอบว่า “ต้องการให้เขากลับเป็นมนุษย์อย่างเดิม” หลวงปู่ศุขจึงให้พวกทหารช่วยกันดึงเชือกให้หัวจระเข้โผล่ขึ้นมาพร้อมกับสั่งกำชับว่า “อย่าปล่อยให้เชือกหลุดมือหรือขาด หากจระเข้หลุดไปแล้วมันจะดำลึกลงกบดานที่ก้นสระ โอกาสที่จะทำให้คืนร่างเป็นมนุษย์คงยาก”

    พวกทหารจึงช่วยกันดึงรั้งเชือกกันสุดแรง กลายเป็นการชักเย่อระหว่างคนกับจระเข้ ส่วนหลวงปู่ศุขท่านเดินกลับกุฏิ ครู่ใหญ่ถือบาตรน้ำมนต์ตรงมายังขอบสระที่จระเข้กำลังตะเกียกตะกายหนี จากนั้นท่านได้บริกรรมคาถากำกับน้ำมนต์อยู่อึดใจแล้วท่านได้สั่งด้วยเสียงอันดังว่า “เอา ออกแรงดึงขึ้นมาหน่อย” ทหารทุกคนทำตาม ออกแรงดึงให้ร่างจระเข้ลอยบนผิวน้ำ หลวงปู่ศุขจึงเอาน้ำมนต์ที่เสกแล้วเทราดบนหัวจระเข้ ความอัศจรรย์เกิดขึ้นเป็นคำรบสอง ร่างจระเข้ที่ดิ้นรนและฟาดหางไปมานั้นค่อย ๆ มีอาการสงบลง แล้วร่างที่ขรุขระของจระเข้ก็กลายเป็นผิวเนื้อของมนุษย์ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นทหารคนเดิมในเวลาต่อมา

    กรมหลวงชุมพรฯ มองดูทหารผู้นั้นด้วยความอัศจรรย์ในเป็นที่สุด เรื่องที่พระองค์ไม่เคยพบเห็นในชีวิตก็ได้มาเห็นที่วัดของหลวงปู่ศุข (เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้ “สระประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้ถูกถมเป็นพื้นดินราบและส่วนหนึ่งของสระได้ปลูกสร้างตึกเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่ารูปต่อ ๆ มา)

    อนึ่ง จากหนังสือพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยชัยมงคล อุดมทรัพย์ ได้บันทึกไว้เป็นความตอนหนึ่ง ดังนี้

    จากการบอกเล่าของพลทหารจ๊อก ภายหลังร่างกลับกลายเป็นคนว่า ขณะที่ตนลงไปในสระก็มิได้รู้สึกตัวว่าตัวเองเป็นจระเข้แต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกว่าตัวเองมีพละกำลังมหาศาลผิดปกติเท่านั้น และแหวกว่ายน้ำด้วยจิตใจคึกคะนองฮึกเหิม ในอยากดำผุดดำว่ายทั้งที่มองตัวเองแล้วก็มีร่ายกายเหมือนคนทุกอย่าง

    ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเสกคนให้เป็นจระเข้ของคุณทวี เย็นฉ่ำ ผู้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์คนหนึ่งของเมืองไทยกล่าวไว้ว่า “จระเข้วิชา” ก็คือ “คน” ซึ่งแก่กล้าวิชาอาคม และมีเหตุให้กลายร่างเป็นจระเข้ เพราะความเรืองวิชาอาคมของตนเอง จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญหรืออะไรก็ตามที ทำให้ไม่สามารถรดน้ำมนต์ลงไปที่ตัวจระเข้ได้ บุคคลผู้นั้นก็จะกลายเป็นจระเข้ต่อไปจนกว่าจะแก้มนต์กำกับหรือมนต์อาถรรพณ์ได้ดังเช่นตำนาน “จระเข้คน” จากจังหวัดพิจิตรอันเป็นแดนอาถรรพณ์ต้นกำเนิดนิทานพื้นบ้านอันลือลั่น เรื่องไกรทองและชาละวันนั่นเอง

    มีเรื่องเล่าจากนายเนตร แพงกลิ่น ที่เคยบวชเรียนอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้เล่าถึงคนกลายเป็นจระเข้แล้วมาให้หลวงปู่ศุขช่วยแก้อาถรรพณ์ให้ว่า ณ ท่าเรือทองนี้ (อยู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า) มีการลงอาถรรพณ์ไว้ หากจระเข้วิชามาถึงท่าเรือทองนี้ จะต้องลอยหัวโผล่ขึ้นมา ไม่สามารถดำน้ำได้อีกต่อไป คราวนี้พวกญาติจะนำน้ำมนต์หลวงปู่ศุขไปราดที่หัว จระเข้วิชาก็จะกลายเป็นคนตามเดิม โดยจะนอนแน่นิ่งเกยตื้นริมตลิ่งอยู่บางทีมีเรื่องทุลักทุเลไม่อาจราดน้ำมนต์ที่หัวจระเข้ได้ เพราะความกลัวของบรรดาญาติ หรืออะไรก็ตามแต่ บางทีเป็นเดือน ๆ เป็นปี ๆ ก็มี

    จระเข้วิชาเมื่อถูกราดด้วยน้ำมนต์แก้อาถรรพณ์แล้ว จะกลายเป็นคนนิ่งเงียบ ไม่ยอมพูดจา ญาติจะช่วยกันประคองไปหาหลวงปู่ศุขที่กุฏิ ท่านก็จะทำพิธีแก้อาถรรพณ์รักษาให้ นานอยู่ประมาณ 7-8 วัน คนผู้นั้นจึงจะพูดได้ ในบันทึกของนายเนตร แพงกลิ่น ยังกล่าวอีกว่า “เคยเห็นมีการรักษาจระเข้วิชานี้ประมาณ 3-4 ครั้งเท่านั้น และทั้งหมดเป็นจระเข้จากจังหวัดพิจิตร จุดสังเกตจระเข้วิชาปากจะสั้น มีรูปร่างเหมือนหัวปลี

    ย้อนกลับมาเรื่องเสด็จในกรมพระองค์ได้เห็นการเสกหัวปลีเป็นกระต่ายขาว จนถึงการเสกพลทหารจ๊อกเป็นจระเข้ แล้วทรงยอดรับว่าอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้นเหนือกว่าพระเกจิอาจารย์ท่านอื่น ๆ ที่พระองค์ประสบพบมา รู้สึกพอพระทัยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า

    ศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข

    ตลอดชีวิตของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้น มีลูกศิษย์มากหลาย แต่ผู้ที่นับเนื่องได้ว่าเป็น “ศิษย์เอก” มีเพียงท่านเดียวเท่านั้น คือ “กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์”

    ที่นับเป็น “ศิษย์เอก” มิใช้เพราะกรมหลวงชุมพรฯ มีเชื้อเจ้าหรือเป็นโอรสของรัชกาลที่ 5 แต่ที่นับเป็นศิษย์เอกก็เพราะศิษย์คนนี้รักและเคารพอาจารย์อย่างยอมตายถวายชีวิต กับอาจารย์จะสั่งอย่างไรก็ทำตามได้ รับถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ไว้ได้มากที่สุด และทำตามอาจารย์ได้ในการแสดงอิทธิฤทธิ์และอภินิหาร

    มีบันทึกจากคนเฒ่าคนแก่ยืนยันว่า “เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ” ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ศุขไว้มากที่สุดเหนือกว่าศิษย์คนใด และมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งดุจบิดากับบุตร

    กาลต่อมาเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์ (19 พฤษภาคม พ.ศ.2466) เมื่อหลวงปู่ศุขท่านทราบถึงกับนั่งนิ่งซึม ท่านอยู่ในอากัปกิริยาเช่นนั้นนานมากดุจท่านปลงวอย่างหนักกับกฎแห่งวัฏสงสาร หรือสังสารวัฏในโลกนี้ ในที่สุดปลายปี พ.ศ.2466 หลวงปู่ศุขได้มรณภาพลงด้วยโรคชราอันเป็นปีเดียวกับที่กรมหลวงชุมพรฯ สิ้นประชนม์

    ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์นั้นจะมีมากมายขนาดไหนคงจะต้องศึกษาจากบันทึกของ นายผล แก้วนพรัตน์ ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ศุขอีกท่านหนึ่ง ได้ระบุว่า เสด็จในกรมได้เคยพระราชทานเรือสำปั้นให้หลวงปู่ศุขลำหนึ่งเพื่อใช้ในเวลาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเรือลำนี้เป็นเรือมีประทุนกว้างประมาณ 5 ศอก ยาวราว 3 วา มีแจวหัว 2 แจวท้าย 2 มีห้องส้วมและห้องครัวพร้อมในตัว

    บันทึกของนายผลกล่าวอีกว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งมีเรือโยงผ่านมาและรู้ว่าเป็นเรือของหลวงปู่ศุข เขาก็จะหย่อนเชือกลงมาให้เพลาเรือของหลวงปู่ศุขมีโซ่สั้นเพียงนิดเดียว ซึ่งแสดงว่าเกียรติคุณของท่านในขณะนั้นเป็นที่รู้จักกันมาก

    กรมหลวงชุมพรฯ นอกจากพระองค์จะถวายเรือสำปั้นมีประทุนแล้ว พระองค์ยังได้ถวายเรือให้หลวงปู่ศุขใช้ในการบิณฑบาต เรือลำนี้มีความยาว 8 ศอก เป็นเรือที่สั่งต่อเป็นพิเศษคือทำด้วยไม้ชิ้นเล็ก ๆ อัดด้วยตะปูทองแดงทั้งลำ เรือลำนี้ไม่ต้องใช้ชันยาก็ไม่รั่ว นอกจากนี้ตรงกลางลำเรือยังมีพนักพิงสายงาม มีพนักทำโปร่ง สามารถถอดออกจากเรือได้ ทำเป็น 3 ชิ้น เวลาไม่ใช้ก็พับได้

    เวลาที่หลวงปู่ศุขท่านนั่งเรือออกบิณฑบาต ท่านจะนั่งตรงกลาง มีลูกศิษย์พายหัวพายท้าย หลังจากที่หลวงปู่ได้มรณภาพลง เรือลำนี้ยังคงใช้ได้อยู่จนถึงสมัยสมุหทองหล่อ ทัศมาลี จากนั้นเรือลำนี้ก็ได้นำมาเก็บไว้ที่หอประชุมทางด้านเหนือของบริเวณวัด เพราะเป็นหน้าแล้ง และไม่ได้นำมาใช้อีกเลย

    หลายครั้งที่หลวงปู่ศุขได้รับการนิมนต์จากเสด็จในกรมให้ไปพำนักที่วังของพระองค์ที่นางเลิ้ง โดยเสด็จในกรมได้จัดที่พักให้หลวงปู่ศุขพักอยู่กลางสระน้ำ พระและลูกศิษย์ที่ตามหลวงปู่มาจะอยู่ชั้นล่าง ส่วนหลวงปู่ศุขจะอยู่ชั้นบน ที่พำนักแห่งนี้เป็นที่สอนและทดลองวิชาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ นายผล แก้วนพรัตน์ ได้เล่าว่า เคยเห็นหลวงปู่ศุขและกรมหลวงชุมพรฯ ได้ทดลองวิชาควายธนูในกุฏิเหลืองกลางสระนี้ซึ่งเป็นที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก

    ในบันทึกของนายผลยังได้เล่าอีกว่า ได้ตามหลวงปู่ศุขเข้ากรุงเทพฯ และพำนักที่วังเสด็จในกรมหลายครั้ง ซึ่งขณะนั้นเขายังเป็นเด็กซุกซน ลงไปว่ายน้ำในสระแล้วขึ้นไปนั่งอยู่บนใบบัวขนาดใหญ่ (บัววิคตอเรีย) จนถูกหลวงปู่ศุขเอ็ดเอา ระหว่างที่พำนักอยู่นั้น นายผลเคยติดตามเสด็จในกรมไปเที่ยวย่านสำเพ็ง พระองค์เสด็จโดยนุ่งกางเกงถลกขาข้างหนึ่ง มือถืออ้อยเคี้ยวอ้อยและเสด็จไปเรื่อย ๆ เพราะในช่วงนั้นเป็นหน้าร้อน

    มีเรื่องเล่าบอกต่อ ๆ กันมาถึงเสด็จในกรมพระองค์ทรงโปรดการใช้วิถีชีวิตกลางแจ้ง พระองค์เสด็จมาวัดปากคลองมะขามเฒ่าบ่อย ๆ ส่วนใหญ่แล้วพระองค์จะเสด็จมาทางเรือ บางครั้งก็มีเรือติดตามมาด้วยหลายลำ ในการเสด็จมาของพระองค์นั้น บางครั้งพระองค์จะนำหม่อมและโอรสมาด้วย ซึ่งก็มีหลักฐานลายพระหัตถ์ในสมุดเซ็นเยี่ยมของวัดปากคลองมะขามเฒ่า

    บางครั้งกรมหลวงชุมพรฯ จะทรงคุยกับหลวงปู่ศุขจนถึงดื่น บางครั้งจะประทับที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าอยู่เป็นเดือน ๆ ซึ่งนอกจากจะมาศึกษาวิชาไสยศาสตร์แล้ว พระองค์ยังถือโอกาสพักผ่อนพระวรกายและคลุกคลีกับราษฎร ในบางครั้งพระองค์ก็ทรงพระสำราญโดยเสวย “ไอ้เป้” ซึ่งเป็นน้ำขาวที่ขึ้นชื่อมากแถบอุทัยธานี มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับไอ้เป้ว่า วันหนึ่งเสด็จในกรมฯ พบกับนายยอด พระองค์ทรงถามนายยอดว่า “อ้ายยอด อ้ายน้ำหวาน ๆ ขม ๆ มีที่ไหนวะ” นายยอดรีบทูลบอก “มีตรงนี้เองกระหม่อม” เสด็จในกรมทรงบอก “กูให้วันละบาท มึงเอาใส่กามาให้กูตรงต้นกระจะทุกวันนะ” นายยอดกระทำตามที่รับสั่ง จัดหาไอ้เป้มาไว้ที่ต้นกระจะทุกวัน แต่แล้ววันหนึ่ง พระองค์เสด็จมาไม่พบกาที่ใส่ไอ้เป้ จึงสั่งให้คนไปตามหาอ้ายยอด ครั้นได้พบจึงตรัสถาม “วันนี้ทำไมไม่นำกาน้ำมาให้” นายยอดจึงทูลตอบพระองค์ว่า “ตำรวจจับคนทำชื่อตาปั่นไปเสียแล้ว”

    เสด็จในกรมจึงเขียนจดหมายให้มหาดเล็กถือไปที่อำเภอเพื่อไปรับตัวตาปั่น ดีประเสริฐ คนทำไอ้เป้กลับมาจากตำรวจ

    ได้วิชาหายตัวอยู่ในขวดโหลทำน้ำมนต์
    ครั้งหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จไปศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่พระองค์สนทนากับพระอาจารย์สองต่อสองอยู่นั้น พอดีมีพ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งได้แวะมากราบหลวงปู่ พ่อค้าจีนรายนี้เป็นชาวเกาะไหหลำ เจ้าของเรือบรรทุกสินค้าที่ล่องมาจอดอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพฯ เมื่อเข้าไปกราบหลวงปู่ศุขแล้วก็ออกปากขอน้ำมนต์จากหลวงปู่ศุขเพื่อนำไปพรมเรือเดินทะเลให้เป็นสิริมงคล ปลอดภัยในการเดินทาง และเจริญรุ่งเรืองในการค้าขาย แต่ตอนที่พ่อค้าจีนรายนี้เข้าไปกราบหลวงปู่นั้น กะเร่อกะร่าเข้าไปไม่รู้ว่าผู้ที่นั่งอยู่กับหลวงปู่นั้นเป็นใคร เวลานั้นเสด็จในกรมนั่งถือขวดโหลแก้วใส่น้ำอยู่ เมื่อไม่รู้ว่าเป็นใครก็ไม่มีความคารวะเสด็จในกรม แล้วพ่อค้าจีนก็ออกปากขอน้ำมนต์จากหลวงปู่ศุข ทางฝ่ายหลวงปู่ก็พุดดุเอาว่า

    “ไม่มีสัมมาคารวะ เจ้านายกำลังเสด็จเซ่อซ่าเข้ามาได้ไง” เสด็จในกรมได้ยินหลวงปู่กล่าวดุพ่อค้าจีนรายนั้น พระองค์จึงตรัสขัดขึ้นว่า
    “โธ่ หลวงพ่อก็ในเมื่อสัตว์ผู้ยากที่ไหน ๆ พากันมาหาหลวงพ่อด้วยกันทั้งนั้น หลวงพ่อช่วยสงเคราะห์เขาไปเถอะ” หลวงปู่ศุขฟังเสียงขัดของเสด็จในกรมอย่างนั้น ก็มีท่าทางไม่พอใจที่เสด็จในกรมมาขัดคอต่อหน้าพ่อค้าจีน (แต่บางคนวิเคราะห์ว่าเป็นการแกล้งทำโกรธเพื่อจะลองวิชาให้พระองค์ได้เห็น) ขณะเดียวกันพ่อค้าจีนที่เข้าไปขอน้ำมนต์ก็ถือขวดโหลใส่น้ำเตรียมมาพร้อมเพื่อให้หลวงปู่เสกน้ำมนต์ให้ ทันใดสิ่งไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น หลวงปู่ศุขผุดลุกขึ้นยืนแล้วเปลื้องอังสะออก ทันใดนั้น ทั้งเสด็จในกรมและพ่อค้าจีนก็แลเห็นหลวงปู่ศุขกระโดดลงไปนั่งอยู่ในขวดโหลของพ่อค้าจีนรายนั้น ขวดโหลใบเล็กแต่มีร่างย่อของหลวงปู่ศุขนั่งแช่น้ำอยู่ในนั้น เป็นที่อัศจรรย์นัก

    การเข้าไปอยู่ในขวดโหลเกิดขึ้นรวดเร็วจนใคร ๆ จับตาดูไม่ทันว่าท่านหายตัวและย่อตัวลงไปตอนไหน ท่านนั่งแช่น้ำในขวดโหลอยู่ครู่หนึ่งจึงกระโดดออกจากขวดโหล พ่อค้าจีนยกมือขยี้ตาตัวเองด้วยความฉงน ส่วนหลวงปู่ศุขเดินไปหยิบอังสะมาครองเช่นเดิม แล้วกลับมานั่งลงเบื้องหน้าของเสด็จในกรมและพ่อค้าจีน “น้ำมนต์เสร็จแล้ว เอาไปสิ” หลวงปู่ศุขบอก พ่อค้าชาวจีนก็รีบปิดฝาขวดน้ำมนต์แล้วกราบลาหลวงปู่ไป ปล่อยให้เสด็จในกรมและหลวงปู่ศุขได้สนทนากันต่อไป

    ชาวจีนผู้นี้เมื่อได้น้ำมนต์ไปใช้สมใจนึก ก็ล่องเรือไปค้าขายที่กรุงเทพฯ ได้กำไรเกินคาด ขากลับขึ้นมาจากกรุงเทพฯ จึงซื้อ “ลิ้นจี่กระป๋อง” มาถวายหลวงปู่ บังเอิญตอนนั้นหลวงปู่จำวัดอยู่พอดี และเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อหลวงปู่จำวัดนั้น “ห้ามมิให้ผู้ใดปลุกเด็ดขาด” นอกจากเป็นเวลาฉันเพลหรือฉันยา โดยอนุญาตให้เด็กวัดใช้ไม้เคาะที่ฝากุฏิเป็นสัญญาณ แต่พ่อค้าจีนผู้นี้ก็ยังกะเล่อกะล่าเข้าไปปลุกท่านตื่นขึ้นมา หลวงปู่คว้าตาลปัตรซึ่งอยู่ใกล้มือตีชาวจีนผู้นั้นทันที สิ่งที่หลวงปู่ทำนั้นแม้จะแฝงด้วยอารมณ์โกรธ แต่ก็ไม่ทำร้ายใครให้ได้บาดเจ็บ เพียงแต่ทำให้ตกใจเพราะตาลปัตรเป็นของเบาและแบน เป็นการเตือนชาวจีนให้ทราบว่าตัวท่านไม่พอใจและควรมีสัมมาคารวะนั่นเอง

    ปรากฏการณ์อัศจรรย์ของหลวงปู่ศุขที่เข้าไปอยู่ในขวดโหลคราวนี้เป็นต้นเหตุให้กรมหลวงชุมพรฯ ขอเรียนวิชานี้กับหลวงปู่และเป็นผลสำเร็จ พระองค์ได้นำไปทดลองแสดงให้ “หม่อม” ของท่านดูเป็นขวัญตา ดังปรากฏในหนังสือ “พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์” เขียนโดย ชัยมงคล อุดมทรัพย์ มีใจความว่า

    คราเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ได้กลับจากการเรียนวิชากับหลวงปู่ศุขมาใหม่ ๆ ได้มีบัญชาให้หม่อมทุกคน (ที่เคยมาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า กับเสด็จในกรมจำนวน 8 คน ดังปรากฏรายนามตามลายเซ็นในสมุดเยี่ยมของขุนเธียรแพทย์) มารวมกันแล้วให้หาขวดโหลใส่น้ำสะอาดมาใบหนึ่ง ครั้นแล้วสั่งให้หม่อมทุกคนหลับตาและกลั้นลมหายใจจนเต็มกลั้น แล้วจึงลืมตาขึ้นมาใหม่ หม่อมทุกคนจึงได้เห็นต่อหน้าต่อตาว่า พระองค์ประทับทรงพระสรวลอยู่ภายในขวดโหลนั้นอย่างสำราญพระอารมณ์

    เมื่อหม่อมทั้ง 8 ได้อึดใจอีกครั้งหนึ่งและหลับตาลงพร้อมกันอีกครั้ง ต่างก็ได้เห็นเสด็จในกรมทรงออกมายืนอยู่ข้างโต๊ะที่วางขวดโหลเป็นร่างปกติพร้อมกันนั้นตรัสว่า “เป็นวิชาที่เรียนมาจากหลวงพ่อศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า"

    เสือมาทดสอบจิต

    เรื่องนี้หลวงพ่อเจริญ ธมมถิโร ได้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ เสด็จมาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าพร้อมด้วยหม่อมของท่านหลายคน

    ในครั้งนั้นเสด็จในกรมได้เดินเข้าไปชมภายในพระอุโบสถ ซึ่งพระองค์ได้เขียนภาพไว้ที่ผนังด้านใน ทางด้านทิศตะวันตก (เป็นภาพพระแม่อุมา) หลังจากที่พระองค์ได้เข้าไปชมเรียบร้อยแล้วจึงเดินออกมาข้างนอก พระอุโบสถ ทันใดนั้นเอง พอพระองค์เดินเลี้ยวพ้นมุมพระอุโบสถเท่านั้นก็ปรากฏร่างของเสือตัวใหญ่ตัวหนึ่งยืนผงาดแยกเขี้ยวคำรามเข้าใส่พระองค์ด้วยเสียงอันดังแห่งเจ้าป่า ในวินาทีแรกเสด็จในกรมทรงตกพระทัย ชะงักงัน บรรดาหม่อมน้อย ๆ ของพระองค์ต่างร้องวี้ดว้ายด้วยความกลัวพากันกระถดถอยหนีจ้าละหวั่น แต่พระองค์ก็ชายชาติเชื้อทหาร เป็นศิษย์มีครู เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อทรงระลึกได้เช่นนี้จึงบอกเดินต่อไปท่ามกลางสายตาของเหล่าหม่อม เสือตัวนั้นได้ก้าวถอย พอพ้นพระอุโบสถเสือใหญ่ตัวนั้นก็หายลับไป

    กรมหลวงชุมพรฯ เดินตามทางต่อไปด้วยอิริยาบถปกติจนถึงถาน (ส้วม) ของหลวงปู่ศุข ก็พบจีวรหลวงปู่พาดอยู่ข้างฝาถานอันทำด้วยไม้ ทันใดนั้นหลวงปู่ได้เดินออกมาพร้อมกับยิ้มให้ กรมหลวงชุมพรฯ ก็ทรงยิ้มตอบพร้อมกับยกมือขึ้นนมัสการ

    กรมหลวงชุมพรฯ ได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกชนิดที่ท่านสนพระทัย มียกเว้น 4 อย่างเท่านั้นที่หลวงปู่ไม่สามารถถ่ายทอดให้ได้เพราะอาจารย์ของท่านสั่งห้าม วิชาดังกล่าวประกอบด้วย

    1. ทางคด บางแห่งเรียกกระสุนคด วิชานี้นับว่ามีอันตรายอย่างสูง ถ้าตกอยู่กับคนไม่ดี เพราะวิชานี้เสกลูกปืนเพียงลูกเดียวยิงเข้าไปในกองทัพข้าศึก ทหารจะล้มตายทั้งกองทัพ วิชานี้หลวงปู่ศุขเคยทำให้พระองค์เห็นเมื่อครั้งหลวงปู่รับนิมนต์ไปพักที่วังนางเลิ้ง โดยหลวงปู่เสกลูกปืนลูกเดียวยิงใบบัวในสระทะลุทุกใบ (คันกระสุนวิเศษที่ใช้ยิง “ทางคต” นี้ทำจากไม้ที่ถูกฟ้าผ่า โดยหลวงปู่ทำขึ้นด้วยมือท่านเอง ปัจจุบันอยู่ที่วัดศรีวิชัยวัฒนาราม จ.ชัยนาท)

    2. วิชาเสกขี้เถ้าเป็นไฟประลัยกัลป์ เมื่อนำขี้เถ้าไฟมาปลุกเสกแล้วสาดออกไปทางทิศใดจะบังเกิดไปอาคมดวงใหญ่ไหม้ลุกลามใหญ่โตทางทิศนั้น ข้าศึกศัตรูไม่อาจผ่านและดับไฟได้ หากขี้เถ้าอาคมตกลงในเมืองไหน บ้านเมืองนั้นจะพินาศเป็นจุณ

    3. เสกข้าวสารให้เป็นภูเขา เมื่อนำข้าวสารมาบริกรรมปลุกเสกแล้วขว้างไปทางทิศใดจะเกิดเป็นภูเขาใหญ่ขึ้นในทิศทางนั้น ซึ่งวิชานี้จะทำให้บังเกิดแผ่นดินไหว กระแสน้ำไหลบ่าท่วมฉับพลัน บังเกิดภูเขาไฟระเบิด และมีพายุร้ายต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผู้คนในทิศทางนั้นจะเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

    4. เสกทรายให้เป็นน้ำ วิชานี้เมื่อบริกรรมเสกทรายแล้วสาดซัดออกไปจะปรากฏเป็นน้ำ เป็นห้วยหนองคลองบึงจนถึงแม่น้ำใหญ่ (จะบังเกิดฝนตกหนัก ฟ้าผ่า และอุทกภัยต่าง ๆ ในบริเวณนั้นได้) วิชานี้หลวงปู่ศุขกล่าวว่าสามารถทำให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้น้ำได้

    วิชาพิเศษทั้ง 4 อย่างนี้ สอนให้ใครไม่ได้ นอกนั้นหลวงปู่ศุขสามารถสอนให้กรมหลวงชุมพรฯ ได้ทั้งสิ้น

    การฝึกสอนนี้กระทำกันทั้งที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าและที่วังกรมหลวงชุมพรฯ เองที่กรงเทพฯ

    เรียนวิชาวิเศษ “ระเบิดน้ำ”

    จากบันทึกของนายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย ที่ออกสอบถามชาวบ้านคนเก่าแก่ที่มีชีวิตอยู่ เพื่อเขียนถึงการเรียนวิชาขมังเวทของเสด็จในกรมกับหลวงปู่ศุข ได้บันทึกไว้เป็นใจความดังนี้

    อันการเรียน “ระเบิดน้ำ” ของกรมหลวงชุมพรฯ นี้ นายแฉล้ม เอี่ยมรอด คนเก่าแก่ได้เล่าว่า (เล่าเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2521 และได้สอบถามเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2521) ได้มีการเรียนระเบิดน้ำกันในเดือน 4 หลังจาก นายแฉล้ม บวชได้ประมาณ 4 พรรษา ตกประมาณเดือนมีนาคม 2464

    คราครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ ได้ฝึกเรียนระเบิดน้ำกับหลวงปู่ศุขที่โบสถ์น้ำหน้าวัด โดยเสด็จในกรมนั่งบริกรรมอยู่บนโบสถ์น้ำพักหนึ่ง ก็กระโดดไปในน้ำตูมใหญ่ แต่กรมหลวงชุมพรฯ สามารถทนอยู่ใต้น้ำได้เพียง 4 อึดใจใหญ่เท่านั้น แล้วพระองค์ก็ทรงโลดขึ้นมาบนผิวน้ำ จนผิวน้ำแตกกระจาย จากนั้นพระองค์ทรงกล่าวกับหลวงปู่ว่า “ทนไม่ไหว”

    ผลการทดสอบเรียนระเบิดน้ำในวันแรกไม่อาจเป็นผลสำเร็จได้ ในวันรุ่งขึ้นกรมหลวงชุมพรฯ ได้ขอทดสอบผลการเรียนอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พระองค์มีความตั้งใจสูงแบบยอมตายถวายชีวิตกับวิชาพิเศษนี้ทีเดียว

    ฝ่ายหลวงปู่ศุขก็เอาจริงเช่นกัน แต่ท่านก็มีความเสี่ยงเพราะศิษย์ท่านนี้มิใช่สามัญชน หากเป็นถึงโอรสของพระมหากษัตริย์ ทว่าศิษย์กับอาจารย์ต่างก็ “ใจถึง” ด้วยกัน โดยหลวงปู่นั้นถึงกับเตรียมไม้ถ่อค้ำเรือไว้อันหนึ่ง ไม้ถ่อนี้ท่านยืมมาจากเรือบรรทุกข้าวที่จอดอยู่หน้าวัด หลวงปู่บอกว่า “ถ้าโผล่ขึ้นมาอีกจะเอาไม้ถ่อค้ำคอ” ปรากฏว่าในการทดสอบครั้งที่ 2 เสด็จในกรมสามารถผ่านการทดสอบได้สำเร็จ คือทนอยู่ในน้ำได้ถึง 3 ชม. แล้วจึงขึ้นบก

    ในบันทึกยังเล่าว่าหลวงปู่ศุขปลื้มใจมากที่ศิษย์เอกเรียนวิชานี้ได้สำเร็จ ท่านได้คุยให้ชาวบ้านและมัคนายกฟังว่า การที่กรมหลวงชุมพรเรียนครั้งนี้สำเร็จ เพราะได้ฝึกจิตได้สูงแล้วนั่นเอง

    การเรียน “ระเบิดน้ำ” นี้ทำในตอนกลางวัน หลังจากที่หลวงปู่ฉันเพลแล้ว โดยมีชาวบ้าน มัคนายก และพระเณรที่วัดร่วมดูอยู่ประมาณ 20-30 คน รวมทั้งพระภิกษุแฉล้ม (นายแฉล้ม เอี่ยมรอด) ผู้เล่าด้วย

    ในบันทึกของนายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย ยังกล่าวอีกว่าได้มีโอกาสคุยกับนายเชื้อ แตงฉ่ำ บ้านหมู่ที่ 5 ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท อายุ 84 ปี ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าตนเคยเห็นกรมหลวงชุมพรฯ เรียนระเบิดน้ำกับหลวงปู่ศุขด้วยตาตนเอง ดังนี้

    ครานั้น ตัวผู้เล่ารู้ว่ากรมหลวงชุมพรฯ เสด็จมาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพราะผู้ใหญ่บ้านบอกเมื่อตนไปที่วัดก็เห็นกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งสักตามตัวจนดูดำไปหมด ได้ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินตามหลวงปู่ไปที่แพโบสถ์น้ำ

    เมื่อพิธีเริ่มขึ้นกรมหลวงชุมพรฯ ลงไปที่แพโบสถ์น้ำต่อหน้าหลวงปู่ศุข ผู้เป็นอาจารย์ซึ่งนั่งบริกรรมอยู่ ครั้นแล้วพระองค์ท่านได้กระโดดลงไปในน้ำ ดำผุดดำโผล่อยู่หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายหลวงปู่จับพระเศียรกรมหลวงชุมพรฯ กดลงไปในน้ำ คราวนี้เสด็จในกรมจมหายลงไปในน้ำนานมากเป็นชั่วโมง ๆ จนนายเชื้อเองคิดว่าเสด็จในกรมต้องสิ้นพระชนม์แน่คราวนี้

    ทว่า ท่าทีสีหน้าของหลวงปู่มีแต่ความมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างสูง ไม่ได้มีความวิตกกังวลแม้แต่น้อย เวลาผ่านไปจนพิธีเสร็จ กรมหลวงชุมพรฯ โผล่ขึ้นมาแล้วปีนขึ้นแพโบสถ์น้ำ ทำให้นายเชื้อ หายใจโล่งอก

    หลวงปู่ศุขได้เดินขึ้นฝั่งไปที่กุฏิ มีเสด็จใจกรมเดินตามและพากันขึ้นไปบนกุฏิ

    ยังมีเรื่องการเรียนระเบิดน้ำของกรมหลวงชุมพรฯ อีกเรื่องหนึ่ง จะเป็นการเรียนระเบิดน้ำขั้นต้นหรืออย่างไรก็สุดจะสันนิษฐานได้ เพราะเป็นเรื่องของการ “แอบดู” และได้เห็นมา ดังนี้

    นางหีบ สุขทอง เป็นผู้เล่าเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2523 มีใจความว่า คราวนั้น นางหีบได้คลอดบุตรและกำลังอยู่ไฟในตอนกลางวันสามีของตนชื่อนายยอด ได้ทราบจากผู้ใหญ่อุ่น ศุภรัตน์ ว่าตอนกลางคืนกรมหลวงชุมพรฯ จะเรียนระเบิดน้ำ จึงได้ชวนกันไปแอบดู

    หลวงปู่ศุขและกรมหลวงชุมพรฯ ฝึกเรียนกันในตอนเที่ยงคืนวันเพ็ญเดือน 12 มีทหารควบคุมทางเข้าทุกทางไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปดู หลวงปู่เดินนำกรมหลวงชุมพรฯ ลงไปในน้ำตรงต้นมะเดื่อหน้าวัดทางทิศใต้ กรมหลวงชุมพรฯ ถือเทียน 7 เล่ม พนมมือ หลวงปู่ศุขเอาบาตรครอบพระเศียรกรมหลวงชุมพรฯ แล้วกดลงไปในน้ำ

    เสด็จในกรมทะลึ่งพ้นน้ำขึ้นมาถึง 2 ครั้ง จนหลวงปู่ศุขต้องกล่าวว่า “จะไม่เอาหรือไง ตัดสินใจให้ดี” คราวนี้หลวงปู่กดบาตรที่ครอบพระเศียรลงไปนานมาก เสด็จในกรมจึงโผล่ขึ้นเหนือน้ำและเทียนดับหมด

    เรื่องนี้จะเป็นการเรียนวิชาอะไรไม่ทราบแน่นอน เพราะนายยอดเป็นผู้เล่าให้นางหีบฟัง

    อันวิชา “ระเบิดน้ำ” นี้ก็เป็นวิชาเดียวกับที่ไกรทองใช้ลงไปปราบชาละวัน จระเข้ใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ ในตำนานท้องถิ่นไทยนั่นเอง คือการจุดเทียนส่องลงไปใต้น้ำโดยเทียนไม่ดับ

    ว่ากันว่าน้ำจะระเบิดเป็นช่องลงไปในบาดาล ผู้สำเร็จวิชานี้เดินไปในน้ำหายใจดุจบนบก ไม่มีอันตรายใดๆ

    เป็นที่คาดกันว่าการที่กรมหลวงชุมพรฯ ต้องการเรียนวิชานี้เพื่อคิดช่วยชาติบ้านเมืองในยามคับขัน โดยใช้ยุทธวิธีลงไปในน้ำระเบิดเรือรบข้าศึก

    ผ้าเจียดของพระอาจารย์

    การเรียนพุทธาคมของเสด็จในกรมเป็นไปด้วยดีจนคนทั่วไปยอมรับว่า กรมหลวงชุมพรฯ ทรงมีกฤติยาคมสูงส่งหาใครเทียบเสมอได้ในยุคนั้นในกองทัพเรือยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ข้าราชบริพาร จนถึงลูกศิษย์ที่เป็นนักเรียนนายเรือ รู้กันว่าพระองค์ทรงโปรดการลองวิชา และชีวิตของพระองค์เต็มไปด้วยความผาดโผนมหัศจรรย์ยิ่งนักในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ครองราชย์อยู่นั้น เป็นยุคที่กีฬามวยไทยเฟื่องฟู ค่ายมวยต่าง ๆ ผุดขึ้นมากมาย ทางราชสำนักจึงจัดให้มีการแข่งขันกีฬามวยไทยขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อหาเงินบำรุงสมทบทุนซื้อปืนให้กองเสือป่าทั่วประเทศ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้นายแม็ค เศียรเสวี (พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี) นายเสือป่าใหญ่ เป็นผู้จัดการหาเงินสมทบมีประกาศเรียกนักมวยฝีมือดีจากทุกภาคทุกหัวเมืองให้เข้ามาอยู่รวมกันโดยพักอยู่ที่สโมสรเสือป่า ใกล้เขาดินวนา และในสมัยนั้นเองได้มีนักมวยจากโคราช ฝีมือยอดเยี่ยมมีชื่อเสียงเข้ามาร่วมอยู่ด้วย คือ นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล

    โดยเฉพาะนายยัง หาญทะเล มีชื่อเสียงดีเป็นพิเศษ นักมวยคนนี้เป็นชาวนครราชสีมา บ้านอยู่ตำบลหัวทะเล ฝีมือในการชกมวยจัดว่าสูงมาก เพราะเคยชกนักมวยจีนชั้นครูถึงแก่ความตายไปถึง 2 คน

    แต่ข่าวบางกระแสกล่าวว่า นายยัง หาญทะเล เป็นศิษย์เอกของเสด็จในกรม เนื่องจากนายยังเคยรับราชการทหารเรือ เพราะความมีชั้นเชิงในเรื่องหมัดมวยติดตัวมาด้วย เสด็จในกรมจึงทรงโปรดปรานนายยังเหนือกว่าใคร ๆ ในคราวเสด็จประพาสเรือรบหลวง เกี่ยวกับการฝึกภาคทะเล นายยังคนนี้ก็ติดตามไปด้วย ขณะเรือรบหลวงกำลังแล่นฝ่าคลื่นกลางทะเลลึกในอ่าวไทยในวันหนึ่ง ก็มีเสียงเป่าแตรเรียกทหารประจำการเข้าแถว แล้วเสด็จในกรมทรงดำเนินตรวจพลบนดาดฟ้าเรือ จากนั้นทรงมีรับสั่งให้เรือรบหลวงทอดสมอลอยลำกลางทะเล ในโอกาสนี้เสด็จในกรมทรงแจกผ้าเจียดลงเลขยันต์ศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ทหารทุกคน พระองค์มีรับสั่งว่า

    “ผ้าเจียดที่ข้านำมาแจกแก่พวกเจ้านี้ เป็นของท่านอาจารย์วัดมะขามเฒ่า มีอานุภาพและอภินิหารยิ่ง ถ้าใครมีความเคารพนับถือสามารถเดินบนผิวน้ำไม่จมน้ำตายและป้องกันสัตว์ร้ายนานาชนิด การที่นำมาแจกในวันนี้ใครจะทดลองโดดลงในทะเลให้ข้าดูบ้างหรือไม่”
    ทหารทุกคนฟังแล้วเงียบกริบ ไม่มีใครกล้าตอบและคงไม่มีใครคิดเสี่ยง เพราะขณะนั้นเรือลอยลำอยู่ท่ามกลางดงฉลาม เสด็จในกรมรู้สึกไม่พอพระทัยในความไม่พูด ไม่กล้าของเหล่าทหารทั้งหลาย พระองค์จึงตรงมาที่นายยัง หาญทะเล ทรงรับสั่งถามว่า “อ้ายยัง เอ็งพอจะกล้าลงไปว่ายเล่นในทะเลให้สนุกสักครั้งหรือไม่ ให้ข้าเห็นความศักดิ์สิทธิ์ในผ้าเจียดของท่านอาจารย์สักหน่อยไม่ได้รึ”
    นายยังทูลตอบ “เมื่อเป็นพระประสงค์ กระหม่อมจะขออาสาพระเจ้าข้า” เสด็จในกรมดีพระทัย พร้อมกับทรงพระสรวลอย่างชอบใจในความไม่ประหวั่นพรั่นพรึงของนายยัง จึงรับสั่งอีกว่า “อ้ายยัง มึงสมชายชาติทหาร จะรอช้าอยู่ทำไม อาราธนาแล้วระลึกถึงท่านอาจารย์วัดมะขามเฒ่าเสียก่อน แล้วกระโดดลงไปเลย”

    นายยังยอดนักมวยเมืองโคราชจึงออกเดินไปยังกราบเรือ แล้วก็พุ่งตัวลงในทะเลลึกอย่างไม่เกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น เหมือนปาฏิหาริย์ เหล่าทหารเรือทุกคนได้เห็นนายยังลงไปยืนเด่นบนผิวน้ำอย่างอัศจรรย์ และรอบข้างนายยังมีปลาฉลามหลายตัวเวียนว่ายอยู่รอบ ๆ แต่ไม่ได้ทำอันตรายนายยังแม้แต่น้อย ทหารเรือต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเพราะบุญบารมีกฤติยาคมของเสด็จในกรมและความขลังศักดิ์สิทธิ์ของผ้าเจียดหลวงปู่ศุข ลูกประดู่ทุกคนรีบยกผ้าเจียดขึ้นไว้ทันที ครั้นนายยังไต่บันไดเรือขึ้นมา ก็คุกเข่าเข้ากราบถวายบังคมเสด็จในกรม พระองค์ทรงพระสรวลด้วยความพอพระทัย ก้มพระวรกายลงเอาพระหัตถ์ลูบศีรษะนายยังด้วยความเอ็นดูพลางตรัสว่า
    “อ้ายยัง เอ็งนี่หาญทะเล สมสกุลที่ข้าตั้งไว้ให้ดีแท้”

    เจอ “ตากัน” ยอดนักเลง
    ครั้นเสด็จในกรมไปตากอากาศทางเรือ พอถึงสัตหีบก็เอาเรือเล็กลงเพื่อเที่ยวหายิงสัตว์ให้เพลิดเพลินบนเกาะ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนกกระยางฝูงหนึ่งบินมาเกาะอยู่บนกิ่งไม้ ทรงประทับปืน ร.ศ. และเหนี่ยวไกยิงทันที น่าประหลาด ลูกกระสุนปืน ร.ศ. กลับไม่ระเบิด พยายามยิงหลายครั้งก็ยิงไม่ออกอยู่ดี เสด็จในกรมทรงประหลาดพระทัยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงสงบนิ่งหลับตาอยู่ครู่หนึ่ง จึงลืมพระเนตร รำพึงขึ้นว่า “ชะรอยจะต้องมีผู้มากอาคมอยู่บนเกาะแห่งนี้แน่” จากนั้นพระองค์ทรงพระราชดำเนินชมแมกไม้ไประยะหนึ่ง ก็เหลือบเห็นกระต๊อบเล็กอยู่หลังหนึ่งมุงด้วยจาก เสด็จในกรมจึงแวะเข้าไปดูพร้อมกับมหาดเล็ก ขณะเดียวกัน ประตูกระต๊อบเปิดออก ชายวัย 50 ปีเศษ ก้าวเดินออกมา เขามองดูเสด็จในกรมและมหาดเล็กอย่างเฉยชา แล้วพูดด้วยซุ่มเสียงขึงขังว่า “นี่..พวกนี้จะมาล่าสัตว์ในป่านี้ไม่ได้นะ” เสด็จในกรมทรงพระสรวลก้องพลางตรัสว่า “สัตว์ในป่านี้แกเลี้ยงไว้ตั้งแต่เมื่อไร..แกชื่ออะไรล่ะ” ชายสูงอายุตอบ “ชื่อกัน”
    เสด็จในกรมถามอีก “ทำไมมาอยู่ที่นี่คนเดียว ไม่กลัวเสือกินหรือ” “ไม่อยากอยู่ใกล้มนุษย์มันเหม็นสาบ ข้าอยู่ที่นี่นายแล้ว ตกเบ็ดหาปลา เก็บผักเก็บหญ้ากิน เลี้ยงตัวคนเดียวสบายใจดี.. แกล่ะเป็นใคร บังอาจมายิงสัตว์ในป่าที่ข้ารักษาอยู่ ในแถวนี้ไม่มีใครกล้ามารังแกสัตว์ในเกาะนี้หรอกนะ” ตากันบอก เสด็จในกรมได้ฟังคำพูดเย่อหยิ่งของตากัน ทรงรู้สึกหมั่นไส้เหลือกำลัง จึงตรัสออกไปว่า
    “แกนี่รู้สึกอวดดีนักนะ เดี๋ยวก็จับตัวไปถ่วงลงในอ่าวให้ขาดใจตายเสียเลย” ตากันได้ฟังก็หัวเราะลั่นไม่แยแสคำขู่ แล้วยังพูดท้าทายอีกว่า “อย่าว่าแต่อ่าวแค่นี้เลย ในท้องทะเลข้ายังเคยเดินเล่นนั่งเล่นหลาย ๆ วันเลย พวกเอ็งเก่งจริงจับข้าใส่กระสอบมัดเอาไปถ่วงในอ่าวได้เลย”

    เสด็จในกรมถูกลองดีอย่างนี้มีหรือจะทรงยอม และอยากดูของดีจากตากันด้วย ทรงรับสั่งมหาดเล็กที่ติดตามมาด้วยช่วยกันจับตากันมักใส่กระสอบ เอาขึ้นเรือเล็กไปถ่วงที่เรือรบจอดทอดสมออยู่ โดยเอาเชือกโยงปากกระสอบติดไว้กับเรือรบ ทั้งยังทรงรับสั่งอีกว่า “ถ่วงให้นานครบ 24 ชม. แล้วค่อยเอาขึ้น ถ้าตายก็เอาไปฝังบนเกาะให้เป็นผีเข้าเกาะไปเลย”(กล่าวกันว่าเสด็จในกรมทรงทราบดีว่า“ตากัน” มีวิชาไสยเวทพอตัว จึงเกิดการลองวิชากันขึ้น) ครั้นครบ 25 ชม. ทหารเรือก็ช่วยกันดึงกระสอบขึ้นมาบนเรือ แล้วแก้มัดปากกระสอบออก ทุกคนต้องตะลึงเพราะเห็นตากันนั่งขัดสมาธิยิ้มแฉ่ง เชือกที่เคยมัดมือมัดเท้าหลุดออกหมด ตากันลุกขึ้นแล้วคลานเข่าเข้ามากราบเสด็จในกรม (คงทราบแล้วว่าคนที่ตนท้าทายเป็นเชื้อพระวงศ์) พระองค์จึงตรัสว่า “ตากัน แกมีวิชาอะไรดี” ชายขมังเวทรีบทูลตอบ “เกล้ากระผมเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่าจึงมีวิชาอาคมติดตัวอยู่บ้างพะยะค่ะ”
    เสด็จในกรมทรงได้ยินเช่นนั้นก็ปีติยินดีอย่างยิ่ง ตรัสบอกไปว่า “เออ..เป็นลูกศิษย์อาจารย์เดียวกันกับฉันนะสิ” แล้วพระองค์ได้ให้เรือเล็กไปส่งที่ฝั่ง พร้อมทั้งมอบอาหารการกินที่จำเป็นไปด้วย ในเวลาต่อมาจึงเรียกอ่าวแห่งนี้ว่า “อ่าวตากัน”

    ส่วนตากันนั้นชาวบ้านย่านสัตหีบและบางเสร่นั้นศรัทธากันมาก จนเป็นที่เลื่องลือว่า แกเก่งด้านกสิณ สามารถที่จะใช้อำนาจจิตบังคับธรรมชาติได้ เช่น ห้ามฝน ลุยไฟ ล่องหน กำบังตน เรียกลมเรียกฝนได้ มีวัตถุมงคลที่แกสร้างจนดังสืบมาทุกวันนี้คือ “ปลัดขิก” ซึ่งทำมาจากกัลป์ปังหา ซึ่งมีอยู่ในท้องทะเล ถือเป็นของขลังตามธรรมชาติ ว่าวันว่า...หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการทำปลัดขิกนั้น ก็ร่ำเรียนวิชามาจาก “ตากัน” นี้แหละ

    หลวงปู่ศุขให้ตะกรุดสามกษัตริย์
    ในคราวหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จไปเยี่ยมหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีจางวางถึกตามเสด็จไปด้วย พร้อมกับทหารเรืออีกหลายนาย และวันนั้นหลวงปู่ศุขได้ทำพิธีลงตะกรุดสามกษัตริย์ให้เสด็จในกรมซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา 12.00 น. พอดี หลวงปู่ได้กล่าวกับเสด็จในกรมว่า “วิชาอาคมต่าง ๆ อาตมภาพได้ประสิทธิ์ประสาทให้พระองค์ไว้มากแล้ว แต่ยังขาดของสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง สิ่งนี้พระองค์จะขาดไม่ได้เพราะจะต้องติดตัวไว้กับพระองค์เสมอ เป็นของวิเศษที่มีอภินิหารมาก”

    นอกจากนี้หลวงปู่ได้ตระเตรียมสิ่งของไว้ให้คือ แผ่นโลหะเป็นเงินหนัก 1 บาท นาคหนัง 1 บาท ทองคำหนัก 1 บาท รวมเป็น 3 กษัตริย์ สามารถแก้อาถรรพณ์ต่าง ๆ ได้ เมื่อลงตะกรุดแล้วเอาด้ายสายสิญจน์มาเสกแล้วควั่นร้อยผูกเอวหรือจะคล้องคอก็ได้ ของสิ่งนี้แหละที่หลวงปู่ศุขตั้งใจทำถวาย และกล่าวกับพระองค์อีกว่า “รอเดี๋ยว เข้าที่บูชาก่อน”

    จากนั้นหลวงปู่ก็เข้าห้อง จุดธูปเทียนจนควันตลบออกมาถึงข้างนอก สักครู่หนึ่งจึงเรียกเสด็จในกรมเข้าไปในห้อง ครู่ใหญ่ทั้ง 2 ก็เดินออกมาจากห้อง ในมือของหลวงปู่ศุขถือเหล็กกับแผ่นโลหะและด้ายควั่นสีขาว อีกมือหนึ่งถือเทียนเล่มโตนำเสด็จในกรมลงจากกุฏิ จางวางถึกและทหารคนสนิทรีบก้าวตามออกไปด้วยจนถึงศาลาน้ำหน้าวัด หลวงปู่จึงพูดว่า “พระองค์รออยู่ที่นี่เดี๋ยว อาตมาจะระเบิดน้ำลงไปทำตะกรุดที่กลางแม่น้ำเดี๋ยวนี้”

    กรมหลวงชุมพรฯ มิได้ตรัสตอบแต่ประการใด คงยืนนิ่งอยู่ที่ศาลาพร้อมด้วยเหล่าทหารคนสนิท ส่วนหลวงปู่ศุขก็หันตัวก้าวเดินลงบันไดท่าน้ำ มีเทียนเล่มใหญ่จุดไฟลุกโชติช่วง ตัวท่านค่อย ๆ จมหายไปในน้ำในที่สุดทุกคนเฝ้ามองด้วยใจระทึก เพราะเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก น้อยคนจะมีโอกาสเช่นนี้ หลายคนเฝ้าจับจ้องท้องน้ำอย่างใจจดใจจ่อ ท่ามกลางสายน้ำที่ไหลวกวนไปมา นานเกือบหนึ่งชั่วโมง หลวงปู่จึงเดินขึ้นมาที่บันไดศาลาท่าน้ำ เทียนยังสว่างเหลือเพียงคืบกว่า ๆ ผ้าสบง จีวร หาได้เปียกน้ำอะไรมากมาย (หมาด ๆ)

    หลวงปู่ขึ้นมาแล้วก็มุ่งสู่กุฏิทันที แต่ก็ไม่ลืมหันมาสั่งเสด็จในกรมฯ ให้ไปกุฏิพร้อมกัน เมื่อเดินไปถึงและเข้าห้องบูชา หลวงปู่เอาเทียนที่เหลือปักไว้บนโต๊ะหมู่บูชา จึงได้นั่งลง หลวงปู่ศุขส่งตะกรุดสามกษัตริย์ให้เสด็จในกรมฯ พลางว่า “เก็บไว้ให้ดี ไปไหนมาไหนก็ให้เอาติดตัวไปด้วย” พระองค์ทรงกราบแล้วรับเอาตะกรุดจากหลวงปู่ พลางตรัสถามว่า “ท่านอาจารย์ ตะกรุดนี้มีข้อห้ามอะไรหรือไม่” หลวงปู่บอก “ไม่มีห้ามอะไร ทองคำตกอยู่ที่ไหนก็เป็นทองคำอยู่นั่นแหละ” จากนั้นหลวงปู่เอาพระเครื่ององค์เล็กดำ ๆ มาแจกให้เหล่าทหารที่ตามเสด็จพร้อมกับประพรมน้ำมนต์ให้ทั่วหน้า จนเวลา 15.30 น. พระองค์จึงได้มาลงเรือและเสด็จกลับ

    ตะกรุดสามกษัตริย์นี้ กรมหลวงชุมพรฯ มิเคยเอาออกห่างพระวรกายเลย เท่าที่ทราบมาตะกรุดดอกนี้ตกอยู่ที่หม่อมเจ้ารังสิยากร เนื่องจากก่อนที่เสด็จในกรมจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงหยิบตะกรุดสามกษัตริย์ดอกนี้ออกจากคาดเอว มอบให้กับหม่อมของท่าน ทรงรับสั่งว่า “เอาเก็บไว้ให้เจ้าตุ่น” “เจ้าตุ่น” นี้คือหม่อมเจ้ารังสิยากร โอรสพระองค์โปรดของเสด็จในกรม ในช่วงสมัยมหาสงครามเอเชียบูรพา (เสด็จในกรมสิ้นพระชนม์แล้ว) หม่อมเจ้ารังสิยากรประทับอยู่ใกล้วัดคอกหมู คลองบางหลวง ฝั่งธนบุรี วันนั้นเวลา 10.30 น. ฝูงบินฝ่ายสัมพันธมิตรส่งป้อมบินมาทิ้งระเบิดฐานทัพญี่ปุ่น เครื่องบินสีน้ำเงินสะท้อนแสงอาทิตย์วับวาวเต็มท้องฟ้า

    หม่อมเจ้ารังสิยากรแหงนหน้ามองฝูงบินที่บินผ่านไปพร้อมกับพูดกับนายทหารผู้หนึ่งที่ยืนมองดูเครื่องบินด้วยกัน “นี่เครื่องบิน บี.27” ฉับพลันนั้น ก็ได้ยินเสียงลูกระเบิดที่ลงถล่มทางปากคลองตลาดเทเวศร์สนั่นหวั่นไหว นายทหารผู้นั้นทำความเคารพก่อนจะถามหม่อมเจ้ารังสิกากรว่า “ฝ่าบาทไม่กลัวลูกระเบิดหรือ” หม่อมเจ้ารังสิยากรได้ฟังก็ควักเอาตะกรุดขึ้นจากกระเป๋าเสื้อชูให้ดู แล้วพูดว่า “จะต้องกลัวอะไร นี่..เสด็จพ่อให้ของดีไว้”
    ใช่แล้ว เป็นตะกรุดสามกษัตริย์ที่หลวงปู่ศุขทำถวายกรมหลวงชุมพรฯ นั่นเอง

    ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-sook/lp-sook-hist-02.htm
    รูปภาพ : tnews.co.th
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bar-1s.jpg
      bar-1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.1 KB
      เปิดดู:
      53
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube PaiNaiDii
    ชัยนาท...จริงดิ!!! 6 สถานที่ Unseen ที่ไม่คิดว่าจะมีในชัยนาท
    www.youtube.com/watch?v=o8fZ2CeT8Ao
     
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ทหารเรือรอด กอดพระรูปเสด็จเตี่ย สู้คลื่นยักษ์สึนามิ

    upload_2021-8-15_7-47-56.jpeg

    แม้เวลาจะผ่านไป ยังคงมีเรื่องราวของเหยื่อผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตราวกับปาฏิหาริย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง “เสด็จเตี่ย” ช่วยคุ้มชีวิต …. “เมื่อมองออกไปที่ทะเล เห็นคลื่นสูง มีลักษณะเหมือนฝุ่นสีดำขนาดใหญ่ กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ชายหาด ห่างออกไปเพียง 10 เมตรเท่านั้น”ภาพนั้นมันเหมือนผีหลอก ทำให้ผมต้องวิ่งเข้าฐานทัพเรือ เพื่อเตือนภัยชาวบ้านและทหารเรือในฐานทัพเรือ ระหว่างที่วิ่งก็เป่านกหวีดเตือนคนอื่นๆ ไปด้วย มีพี่คนหนึ่งวิ่งไม่ไหว ปีนต้นมะขามหนีตาย แต่ผมวิ่งต่อไปที่หน้าอาคารสื่อสาร และผ่านหน้า บก.ฐานทัพ พบเรือเอกธนันต์ชัย แผ้วเกตุ ที่ปฏิบัติงานอยู่ เราสองคนวิ่งไปถึงด้านหน้าฐานทัพแล้ว อยู่ๆ เรือเอกธนันต์ชัยก็ตะโกนบอกว่า ให้ปีนขึ้นไปที่พระราชานุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งทหารเรือ ขณะนั้นน้ำทะเลสูงถึง 4-5 เมตรแล้ว…”

    จ่าเอกวิธวินท์ มานะพัฒนพงศ์ อายุ 38 ปี ผบ.หมู่ หน่วยรักษาความปลอดภัย ฐานทัพเรือภาคที่ 3 (ฐานทัพเรือพังงา) บ้านทับละมุด ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เล่านาทีที่รอดชีวิตจากคลื่นสึนามิว่า เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ขณะทำหน้าที่ครูฝึกลูกเสือสามัญและเยาวชนให้กับนักเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งใน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต จำนวน 200 คน ซึ่งมาเข้าค่ายฝึกเยาวชนที่หาดสวนงาม ฐานทัพเรือพังงา หลังจากช่วงเช้าทำพิธีจบการฝึกแล้วนั้น เด็กนักเรียนได้เดินทางกลับไปหมด

    จากนั้นตนจึงเดินตรวจความเรียบร้อยของฐานผจญภัยที่ชายหาด เมื่อมองออกไปที่ทะเล เห็นคลื่นสูง มีลักษณะเหมือนฝุ่นสีดำขนาดใหญ่ กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ชายหาด ห่างออกไปเพียง 10 เมตรเท่านั้น”ภาพนั้นมันเหมือนผีหลอก ทำให้ผมต้องวิ่งเข้าฐานทัพเรือ เพื่อเตือนภัยชาวบ้านและทหารเรือในฐานทัพเรือ ระหว่างที่วิ่งก็เป่านกหวีดเตือนคนอื่นๆ ไปด้วย มีพี่คนหนึ่งวิ่งไม่ไหว ปีนต้นมะขามหนีตาย แต่ผมวิ่งต่อไปที่หน้าอาคารสื่อสาร และผ่านหน้า บก.ฐานทัพ พบเรือเอกธนันต์ชัย แผ้วเกตุ ที่ปฏิบัติงานอยู่

    เราสองคนวิ่งไปถึงด้านหน้าฐานทัพแล้ว อยู่ๆ เรือเอกธนันต์ชัยก็ตะโกนบอกว่า ให้ปีนขึ้นไปที่พระราชานุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งทหารเรือ” จ่าเอกวิธวินท์ เล่านาทีหนีตายจ่าเอกวิธวินท์ เล่าอีกว่า ตนปีนขึ้นไปก่อนจะดึงเรือเอกธนันต์ชัยตามขึ้นมา เมื่อถึงบริเวณพระบาทของเสด็จเตี่ย ตนเกาะที่พระบาทด้านซ้าย ส่วนเรือเอกธนันต์ชัย เกาะพระบาทด้านขวา ขณะนั้นน้ำทะเลสูงถึง 4-5 เมตรแล้ว แต่มันสูงไม่ถึงจุดที่อยู่ จากนั้นน้ำทะเลก็ไหลไปด้านหน้า ทะลุประตูออกไป จังหวะนั้นได้ภาวนาบอกเสด็จเตี่ยว่าพอแล้ว ขอให้หยุดแค่นี้ เวลาผ่านไป 4-5 นาที น้ำเริ่มลดลง จึงไต่ลงมาเพื่อช่วยเหลือคนอื่นๆ”ที่รอดมาได้คงเป็นเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย โดยเฉพาะเสด็จเตี่ยที่เป็นที่เคารพนับถือของทหารเรือและประชาชนทุกคน

    ในตอนที่ผมเกาะพระบาทท่าน พระรูปนิ่งมาก แม้ในใจผมจะกลัวว่าคลื่นที่มาแรงจะทำให้พระรูปล้มลง แต่ท่านนิ่งมาก” จ่าเอกวิธวินท์ เล่าอย่างตื่นเต้นจ่าเอกวิธวินท์ กล่าวอีกว่า สิ่งหนึ่งที่ตนคิดว่าเป็นเรื่องปาฏิหาริย์คือ การอบรมเด็กๆ ที่มาเข้าค่ายนั้น กำหนดการที่แท้จริงคือ วันที่ 25-27 ธันวาคม 2547 และวันที่คลื่นยักษ์สึนามิมา เป็นวันที่เด็กๆ ต้องไปชมเรือรบหลวงและชมศูนย์อนุรักษ์ใต้ทะเลจุฬาภรณ์ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะความผิดพลาดอะไร เด็กๆ มากันวันที่ 24-26 ธันวาคม ทำให้เด็กๆ กว่า 200 คนรอดชีวิต ตนเชื่อว่าเป็นเพราะพระบารมีของเสด็จเตี่ย ที่ทำให้เด็กรอดชีวิตเพียงเสี้ยวนาที

    ด้าน เรือเอกธนันต์ชัย แผ้วเกตุ อายุ 49 ปี ประจำกองขนส่งฐานทัพเรือ จ.พังงา เล่าว่า ในวันเกิดเหตุเป็นนายทหารเวรที่ตึกกองบัญชาการฐานทัพเรือพังงา ตั้งแต่เวลา 08.00 น.แต่เมื่อถึงช่วงเวลา 10.00 น. ยามฝั่งที่หมู่เกาะสุรินทร์ ได้โทรมาแจ้งว่าให้ขนคนขึ้นฝั่ง เพราะคลื่นกำลังจะพัดเข้าฝั่งอย่างรุนแรง แต่หลังจากรับโทรศัพท์ได้ไม่เกิน 2 นาที ก็ได้ยินเสียงคนตะโกนว่าให้หนีเพราะคลื่นมาแล้ว เมื่อหันไปมองก็เห็นน้ำเข้ามาในตัวอาคารด้านข้างและด้านหลัง จึงวิ่งหนีออกมาทางด้านหน้าเรือเอกธนันต์ชัย เล่าอีกว่า เมื่อวิ่งมาถึงพระราชานุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ ก็เกิดความคิดว่าน่าจะปีนขึ้นไปข้างบนเพื่อหนีน้ำ และได้ตะโกนเรียก จ่าเอกวิธวินท์ อีกคน ที่วิ่งเลยพระราชานุสาวรีย์ไป เพื่อให้ขึ้นไปหลบด้านบน” ในใจก็คิดแต่ว่า เสด็จเตี่ยช่วยลูกด้วย เสด็จเตี่ยช่วยลูกด้วย เมื่อมองไปตามกระแสน้ำ เห็นพวกโต๊ะเก้าอี้ลอยออกมา เหมือนคนจับโยนอย่างแรง ผมตกใจกลัวมาก และมือทั้งสองก็ล็อกขาของเสด็จเตี่ยไว้แน่น ภาวนาให้ช่วยด้วย จนกระทั่งน้ำเริ่มลดจึงปีนลงมา รอดชีวิตได้ราวกับปาฏิหาริย์…

    ที่มา : 1. http://97pattaya.com/?p=412
    2. บทความ "พระบารมีเสด็จเตี่ย"นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕
    http://www.rtni.org/library/download/2555/april/09_ด้วยพระบารมีของเสด็จเตี่ย .pdf
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2021
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube ป๋อง ช่างภาพ
    ศาลพ่อกรมหลวงชุมพร ทับละมุ จ.พังงา
    www.youtube.com/watch?v=m2Oe2z4cTHI
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ประวัติคทา

    จากสารานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ ๔ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๔๗๓-๒๕๐๔ รูปศัพท์ คำว่า คทา ตามรูปศัพท์เดิมในภาษาบาลีหมายถึง “ตะบอง” คืออาวุธที่ไม่มีคมชนิดหนึ่งสำหรับใช้ทุบตี ขนาดยาวประมาณหนึ่งศอก ลักษณะเป็นรูปกลมบ้างเหลี่ยมบ้าง ในโบราณเห็นจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นพื้น เพราะเป็นอาวุธที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ แต่ในปัจจุบันอาจทำด้วยวัสดุอย่างอื่นก็ได้ เช่น ตะบองตำรวจทำด้วยยางแข็ง เป็นต้น

    คทาจอมพล
    คทาจอมพล หมายถึง อาวุธอย่างหนึ่ง มีรูปลักษะคล้ายคทาและกำหนดให้จอมทัพ (ผู้บังคับบัญชาสูงสุดฝ่ายทหารของประเทศ) และจอมทัพ (นายทหารยศสูงสุดของกองทัพบก) ใช้ถือเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ เท่าที่ค้นหลักฐานได้ทราบว่าคทาจอมพลในปัจจุบันมักเป็นรูปทรงกระบอกกลม ข้างในกลวง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔-๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร น้ำหนักไม่มากนักพอที่จะถือไปด้วยมือเดียวได้สะดวก ตัวคทาอาจทำด้วยโลหะชนิดหนึ่งชนิดใดล้วนๆ หรือประกอบด้วยวัตถุอย่างอื่นอีกก็ได้ แล้วแต่ความนิยม ชาวไทยนิยมทองคำ ถือว่าเป็นของมีค่าสูง จึงทำคทาด้วยทองคำทั้งอัน แต่คทาในกองทัพชาติต่างๆ ในยุโรปมักทำด้วยเหล็กกล้า หุ้มด้วยกำมะหยี่ หนังสีต่างๆ บ้าง ตามผิวนอกของคทาทั่วไปอาจเกลี้ยง หรือประดับด้วยลวดลาย ส่วนยอดประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์ หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งก็แล้วแต่ความนิยมอีกเช่นเดียวกัน
    การคิดทำคทาขึ้น เพื่อให้นายทหารชั้นสูง ถือเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ ในพิธีทหารที่มีเกียรติยิ่ง เช่น พิธีตรวจพลสวนสนาม พิธีปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล เป็นต้น เช่นนี้ก็เพื่อให้ทหาร และบุคคลในบริเวณพิธีเห็นแตกต่างจากนายทหารอื่นๆ ได้อย่างเด่นชัด

    ตำนานคทาในสมัยดึกดำบรรพ์
    ไม้ถือที่มีลักษณะยาว เรียก Scepter หากมีลักษะสั้นเรียกว่า คทา หรือ Baton การถือไม้ถือหรือคทาเพื่อเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ หรือบอกตำแหน่งนั้น ได้ใช้กันในประเทศต่างๆ ทางริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มาแต่โบราณกาลแล้ว ทั้งในวงการทหาร วงการพลเรือน หรือทางศาสนา ดังจะเห็นได้ว่ารูปสลักของพระเจ้าตูตังคาเมน (ครองราชย์เมื่อ๘๐๗ ปีก่อนพุทธศักราช) ของอียิปต์ ทรงถือไม้ขอควบกับแส้ในขณะเสด็จออกขุนนาง ไม้ขอนี้ยาวประมาณหนึ่งศอก
    ล่วงลงมาถึงสมัยกรีกและโรมันเรืองอำนาจตามลำดับ อาณาจักรทั้งสองนี้ได้รับเอาประเพณีของชาวอียิปต์ดังกล่าวมาใช้ด้วย แต่ได้ดัดแปลงรูปลักษณะของไม้ถือเหล่านั้น ให้ผิดแผกไปตามคตินิยมของตนเช่น แม่ทัพโรมันที่ไปรบมีชัยชนะศัตรูมา จะได้รับไม้ถือทำด้วยงาช้าง บนยอดประดับด้วยนกอินทรีกางปีกทำด้วยทองคำ และกำหนดไว้ให้ถือเป็นเกียรติในมือซ้าย ไม้ถือนี้จะเห็นได้จากรูปสลักเก่าๆ ของจอมทัพคนสำคัญๆ ของโรมัน เช่น ซีซ่าร์ เป็นต้น
    สารานุกรม Encyclopedia des Sciences Militaries ได้ให้อรรถธิบายไว้ว่า “คทา ได้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว ด้วยถือว่าเป็นเครื่องหมายประจำตำแหน่ง ของผู้บังคับบัญชามาตลอดมาทุกยุคทุกสมัย ดังได้ปรากฏรูปคทาอยู่ตามอนุสาวรีย์เก่าแก่ของ อียิปต์ กรีก และโรมัน คทาเหล่านั้นมีลำดับชั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าผู้มีสิทธิ์ใช้ได้นั้น จะมียศชั้นหรือขอบเขตอำนาจชั้นใด ฉะนั้น ตุลาการ แม่ทัพ ข้าหลวง ฝ่ายปกครองทั้งทหารและพลเรือน ต่างมีคทาของตนไว้แสดงอำนาจในการบังคับบัญชาด้วยกันทั้งสิ้น ธารพระกรของกษัตริย์ ก็เป็นคทาอย่างหนึ่งเช่นกัน คงแล้วแต่ระดับสูงต่ำของอำนาจและหน้าที่ของผู้ได้รับคทานั้น”
    ต่อมา ประเพณีได้แพร่ออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป โดยได้ดัดแปลง ตกแต่งรูปลักษณะเสียใหม่ ส่วนการใช้มือถือคทาในประเทศต่างๆ ในภาคตะวันออกของโลกนั้นได้ทราบแต่เพียงว่า ในสมัยหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินจีนทรงมอบ ตะบองอาญาสิทธิ์แก่ขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อเป็นเครื่องหมาย แสดงถึงอำนาจการบังคับบัญชาผู้คน นอกจากนั้น ประเพณีของไทย พม่าและชาติอื่นๆ ให้เป็นเครื่องประดับเกียรติยศ แก่ขุนนางชั้นสูงอีกด้วย
    อนึ่ง สันนิษฐานกันว่าคทาจอมพลในสมัยปัจจุบันนี้ คงเนื่องมาจากประเพณีโบราณ ที่บรรจุม้วนเอกสารตราตั้งตำแหน่ง ลงในกระบอกที่แม่ทัพจะต้องนำไปแสดง ในที่ประชุมกองทัพ โดยเพียงแต่ชูขึ้นให้เห็นทั่วกันเท่านั้นก็พอ แม่ทัพจึงต้องรักษากระบองนี้ไว้กับตัวเสมอ ในสมัยต่อๆ มาได้ดัดแปลงกระบองนี้ให้เป็นเครื่องประดับตำแหน่ง แล้วมาเป็นเครื่องประดับยศของจอมพลทั่วโลก วิธีการชูกระบองเพื่อให้แม่ทัพนายกองชั้นรองๆ เห็นนี้เองกลายมาเป็นพิธีแสดงการเคารพ และการรับการเคารพของจอมพลบางประเทศ ด้วยการชูคทาขึ้นแค่ขอบหมวกในปัจจุบัน

    คทาจอมพลของประเทศฝรั่งเศส
    สารานุกรม Encyclopedia des Sciences Militaries ที่ได้อ้างมาแล้วในตอนต้น ได้กล่าวอีกว่าในกองทัพฝรั่งเศส ได้เริ่มใช้คทาเป็นเครื่องหมายอำนาจ ในการบังคับบัญชาของแม่ทัพใหญ่อย่างแท้จริง ใช้ในสมัยพระเจ้าฟิลิปป์ที่ ๒ หรือที่เรียกกันว่า ฟิลิปป์ ออกัสต์ (Philippe Auguste พุทธศักราช ๑๗๐๘-๑๗๖๖) ในพุทธศักราช ๒๑๘๗ ดยุคอองเชียง (Duc dE chien) ผู้ซึ่งต่อมาได้สมญานามว่า “คองเดผู้ยิ่งใหญ่” (Grand Conde) ได้นำกำลังทหารเข้าโจมตีเมืองฟรีบูร์ก (Fribourg) ด้วยการขว้างคทาของพระองค์ เข้าไปในแนวทหารของข้าศึกก่อน แล้วให้ทหารฝ่าตามเข้าไปเก็บคทาคืนมาให้ได้
    จากนั้น จอมพลของกองทัพฝรั่งเศส ได้รับคทาเป็นเกียรติยศต่อๆ มาจนถึงทุกวันนี้ รูปร่างส่วนรวมคงหมือนคทาอันแรกๆ เว้นแต่ลวดลายประดับภายนอก ได้เปลี่ยนแปลงไปตามความนิยม และพอพระทัยของกษัตริย์ในสมัยนั้นๆ ดังจะเห็นว่าตัวคทาในสมัยแรก ทำด้วยเหล็กกล้าเป็นรูปทรงกระบอกกลวงยาว ๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔.๕ เซนติเมตร ภายนอกหุ้มด้วยกำมะหยี่สีน้ำเงินสด และบนพื้นกำมะหยี่ประดับด้วย เครื่องหมายของดอกพลับพลึงสามดอก (Fleur-de-Lis) เรียงทแยงทั้งอัน ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายนี้ เป็นตราพระลัญจกรของพระเจ้าฟิลิปป์ออกัสต์ในสมัยนั้น ครั้นถึงสมัยของพระเจ้านโปเลียนที่ ๑ ได้เปลี่ยนเป็นรูปช่อดอกพลับพลึง ต่อมาเป็นรูปนกอินทรีกางปีก
    ต่อมาเมื่อถึงสมัยพระราชวงศ์บูร์บองส์ (พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๘ และพระเจ้าชาลล์ที่ ๑๐) ได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องหมายช่อดอกพลับพลึงสามดอกอีกครั้งหนึ่ง และในพุทธศักราช ๒๓๗๓ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปป์ ได้เปลี่ยนมาใช้รูปดาวประดับแทนในที่สุด เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๔ ได้เปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งหลังสุด โดยประดับรูปนกอินทรีกางปีก ซึ่งได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้

    คทาจอมพลของกองทัพอังกฤษ
    แม้ว่ากองทัพอังกฤษจะได้แต่งตั้งยศจอมพลทหารบกให้แก่ เอิร์ล ออร์คเนย์ (Earl of Orkney) เป็นคนแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๒๗๙ แต่ก็ยังมิได้สร้างคทาให้ถือว่าเป็นเกียรติยศด้วย จนกระทั้งเมื่อดยุค เวล ลิงตัน (Duke of Wellington) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นจอมพลทหารบก เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๕๖ ทางราชการอังกฤษจึงได้สร้างคทาให้ถือเป็นครั้งแรก
    คทาจอมพลกองทัพของอังกฤษทำด้วยทองคำ ตรงกลางเป็นรูปทรงกระบอกกลมเล็ก และยาวกว่าคทาจอมพลของไทย ก้านกลางหุ้มกำมะหยี่สีแดงแก่ มีรูปสิงโตเล็กๆ ติดทแยงตลอด บนยอดที่ผายออกมีรูปเซนต์ยอร์จ กำลังสังหารมังกรร้าย ตอนท้ายบานออกเป็นแบบเชิงเทียนกลม

    คทาจอมพลของกองทัพเยอรมัน
    จากการสอบสวนทราบแต่เพียงว่า ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่แล้วมานี้ กองทัพทั้งสามเหล่าของเยอรมัน มีจอมพลที่ได้รับคทาอยู่หลายคน คทาเหล่านั่นเป็นรูปทรงกระบอกกลวง ทำด้วยเหล็กกล้า หุ้มด้วยหนังสีแดง บนหนังมีรูปนกอินทรีกางปีกติดทแยงกับสวัสดิกะเล็กๆ โดยรอบ เว้นแต่จอมพลเกอริงได้รับคทาพิเศษ หุ้มด้วยหนังสีขาว ด้วยเหตุผลที่จอมพลในกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ได้รับคทาด้วยนั่นเอง
    คทาจอมพลของกองทัพไทย
    ในขณะที่กิจการทหารของประเทศไทย ยังจัดตามแบบโบราณ แบ่งอำนาจการสักเกณฑ์ และการระดมพลให้ขึ้นอยู่ในอำนาจของมหาดไทย กลาโหมและกรมเท่านั้น มีข้าราชการเพียงพวกเดียว มิได้แบ่งเป็นข้าราชการพลเรือน เหมือนในปัจจุบัน เพราะทั้งสองแผนกนี้รวมกันอยู่ในตัวข้าราชการคนเดียวกัน ในยามปกติก็บริการกิจการพลเรือน พอเกิดสงครามขึ้นก็จับอาวุธโดยหันไปบริหารกิจการทหารทันที
    การจัดการปกครองแบบดังกล่าวนี้ ในสมัยแรกๆ อาจจะเกิดความสับสนไม่เป็นระเบียบอยู่บ้างแต่ เมื่อถึงแผ่นดินสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พุทธศักราช ๑๙๗๗) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยทรงตั้ง “ทำเนียบศักดินา” ขึ้นเป็นเครื่องเทียบระดับยศชั้น ของประชาชนทั้งประเทศ สำหรับข้าราชการอาจจะมีศักดินาสูงสุดได้เพียง ๑๐,๐๐๐ ไร่ คือ ชั้น “เจ้าพระยา” และชั้น “พระยา” ดังที่มีคำกล่าวว่า “พระยานาหมื่น” ตามทำเนียมโบราณ เจ้าพระยาและพระยานั้นมีอยู่ในราชการเพียง ๑๙ ตำแหน่ง เท่านั้น (ภายหลังมีพระยานอกทำเนียบขึ้นอีกมากมายหลายตำแหน่ง แต่มีศักดินาไม่ถึงขั้น “พระยานาหมื่น”)
    เครื่องยศระหว่าง “เจ้าพระยา” กับ “พระยา” ที่กล่าวถึงนี้ มีส่วนแตกต่างกันหลายอย่าง แต่ในบรรดาเครื่องยศเหล่านั้น จะมี “ดาบ” เป็นเครื่องประดับเกียรติยศ เช่นเดียวกับคทารวมอยู่ด้วยอีกอย่างหนึ่ง และระหว่างดาบเครื่องประดับเกียรติยศของ “เจ้าพระยา” กับของ “พระยา” นี้ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกัน เพื่อแสดงความสูงต่ำอยู่บ้างเป็นธรรมดา
    ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะได้ทรงปรับปรุงกิจการทหาร ของประเทศไทย ให้เป็นแบบใหม่ทั้งหมด โดยทรงตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้นก่อน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๐ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงใช้ ”ศักดินา” ควบกับยศของทหารอยู่ และยศทหารที่สูงสุดขณะนั้นมีเพียง “นายพันเอก” ยศ “จอมพล” ยังไม่มี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ จึงได้ทรงตั้งตำแหน่ง ”ที่จอมพล” (Commander-in-Chief) ขั้นตามพระราชบัญญัติจัดกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๓ แต่พึงเข้าใจว่า ”ที่จอมพล” นี้เป็นเพียงตำแหน่งเท่านั้น ฉะนั้น ”ที่จอมพล” ที่ตั้งขึ้นนี้จึงไม่มีคทาจอมพล สำหรับ ผู้ที่ได้ตำแหน่ง ”ที่จอมพล” คนแรกในครั้งนั้นคือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
    จากการค้นคว้าและได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคทาของกองทัพไทยมีอยู่ ๓ ประเภทดังนี้

    คทาจอมพลประเภทที่ ๑ เป็นคทาเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ มี ๕ องค์
    องค์ที่ ๑

    เป็นคทาที่ พลโท พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล่าเจ้าอยู่หัว ในนามกองทัพบกเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธี ทวีธาภิเษกสมโภช (ทรงครองราชย์นานเป็นสองเท่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
    ลักษณะคทาจอมพลองค์แรกนี้ เป็นรูปทรงกระบอกยาวประมาณ ๓๕ เซนติเมตร ตรงยอดเป็นรูปช้างสามเศียรลงยาสีขาวเหนือหัวช้างขึ้นไปเป็นพระเกี้ยว ตอนท้ายเป็นทรงกระบอกตัด องค์พระคทาทำด้วยทองคำหนักประมาณ ๔๐ บาท และใต้หัวช้างลงมามีลายนูนเป็นรูปหม้อกลศ ซึงหมายถึงการทูลเกล้าถวายเนื่องในพิธีทวีธาภิเษก นั่นเอง
    พระคทาจอมพลองค์แรกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นประจำตลอดรัชกาล
    [​IMG]
    พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงถือพระคทาจอมพลที่กองทัพบกได้สร้างทูลเกล้าฯ ถวาย
    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๖ mace02.jpg
    พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    ทรงถือพระคทาจอมพลองค์ที่ ๑ (ที่กองทัพบกได้สร้างทูลเกล้าฯ
    ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๖)
    ตลอดรัชการ
    mace03.png
    พระคทาจอมพลองค์ที่ ๑

    องค์ที่ ๒
    ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๓ พลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทูลเกล้าฯ ถวาย พระคทาแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    ลักษณะพระคทาจอมพลองค์ที่ ๒ นี้ มีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับพระคทาองค์แรกมาก ต่างกันตรงยอด ซึ่งแต่เดิมเป็นรูปช้างสามเศียรและพระเกี้ยว ส่วนองค์ที่ ๒ นี้ทำเป็นยอดมงกุฎและมีลายเฟืองอยู่ที่แกนกลาง ใต้ฐานยอดของมงกุฎโดยรอบ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระคทาจอมพลองค์นี้ในตอนต้นๆ รัชกาลเท่านั้น
    mace04.jpg
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงถือพระคทาที่กองทัพบกสร้างทูลเกล้าฯ ถวาย
    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓
    (จาก A Half Century among the Siamese adn Lao) mace05.png
    พระคทาจอมพลองค์ที่ ๒

    องค์ที่ ๓
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแบบพระคทาขึ้นใหม่ มีลักษณะป่องตรงกลางและคอดเรียวไปทางด้านยอดและด้านปลาย ตรงยอดพระคทาเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ลงยาตามแบบพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน และใต้พระครุฑพ่าห์เป็นลูกแก้ว รองฐานบัวหงาย ลงยาราชาวดี ส่วนด้านบนปลายมีลูกแก้วและยอดบัวกลุ่มสี่ชั้น ลงยาราชาวดีเช่นกัน
    พระคทาจอมพลองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้มาตลอดรัชกาล นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้พระคทาจอมพลองค์นี้เป็นครั้งคราว
    mace06.png
    mace07.png
    พระคทาจอมพลองค์ที่ ๓

    องค์ที่ ๔
    ในวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมทัพภูมิพล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุเข้าปีที่ ๔๐ เพื่อเป็นเครื่องหมายของความจงรักภัคดีของข้าราชการทหารทุกนาย
    ลักษณะทั่วไป เหมือนพระคทาจอมพลองค์ที่๓ คือองค์พระคทา ทำด้วยทองคำหนัก ๔๓ บาท แกนกลางป่อง เรียวไปทางด้านยอดและปลาย ประกอบด้วยเครื่องหมายมงคลแปด ซึ่งถือกันว่าเป็นนิมิตหมายแห่งความมงคลในศาสนาพราหมณ์ ด้านยอดมีพระครุฑพ่าห์ลงยา และลูกแก้วฐานบัวหงาย ลงยาราชาวดี ด้านปลายมีลูกแก้วและยอดบัวกลุ่มสี่ชั้น ลงยาราชาวดี ส่วนที่ต่างออกไปคือเหนือพระครุฑห์พ่าห์มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ฝังเพชรอยู่ในกรอบรูปไข่ และมีรูปพระมหาภิชัยมงกุฎทองฝังเพชรอยู่เบื้องบนตอนปลาย ต่อจากเครื่องหมายมงคลแปดมีเครื่องหมายกระทรวงกลาโหม
    mace08.png
    mace09.png
    mace10.png
    พระคทาจอมทัพภูมิพล

    องค์ที่ ๕
    ในวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ กองทัพไทย โดย พลเอกวิโรจน์ แสงสนิท ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้มอบหมายให้ พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เสนาธิการทหารรับผิดชอบเป็นปรธานคณะทำงานการจัดสร้างพระคทาจอมทัพไทย และพลโท รัตนะ เฉลิมแสนยากร ผู้อำนวยการสำนักงานสารนิเทศ (ปัจจุบันคือ กรมกิจการพลเรือนทหาร) ได้รับมอบหมายให้ประสานกับกรมศิลปากรกระทรวงศึกษาธิการ ในการออกแบบและจัดสร้างพระคทาจอมทัพไทย ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสฉลองศิริราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐ ปีกาญจนาภิเษก
    เป็นพระคทาที่สร้างด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก ๕๐ บาท ทรงกลมเรียวไปทางด้านบนและด้านล่าง ตรงกลางป่องเล็กน้อย ส่วนยอดพระคทาเป็นรูปช้างเอราวัณทองคำ ประดับไพลินเทินพระแท่นอัฐทิศทองลงยา ประดิษฐานพระอุณาโลมสีทองประดับเครื่องเพชรในกงจักรทอง ไส้กรงจักรลงยาสีน้ำเงิน วงขอบกงจักรลงยาสีแดงเปร่งรัศมีทอง มีฉัตรเจ็ดชั้น ประกอบทั้งสี่ทิศอยู่ภายใต้พระมหาเศวฉัตรและฉัตรซึ่งมีตราพระราชลัญจกร ตราประจำพระองค์รัชการที่ ๙ ส่วนของของพระมหาเศวตฉัตรและฉัตรประกอบทั้ง ๔ ทิศ ประดับเพชร ทั้งหมดนี้จะเทินบนเศียรของช้างเอราวัณ ๔ เศียร ซึ่งเป็นทองคำ ทรงเครื่องพระคชาธารเป็นเทพพาหนะยื่นอยู่เหนือก้อนเมฆ และก้อนเมฆรองรับด้วยบัวรองสองชั้นตรงกลางท้องด้าม ส่วนบนเป็นตราปีกาญจนาภิเษก ส่วนล่างเป็นตรากองบัญชาการทหารสูงสุด
    mace11.png
    พระคทาจอมทัพไทย

    คทาประเภทที่ ๒ เป็นพระคทาสำหรับพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศจอมพล หรือพลเอก (อัตราจอมพล)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ดำรงพระยศจอมพล ๔ พระองค์คือ
    mace12.png
    พระคทาจอมพล
    ที่เคยพระราชทานแด่
    พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่
    ซึ่งดำรงพระยศจอมพล
    องค์ที่ ๑ จอมพล สมเด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้รับพระราชทานเมื่อ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และจเรทหาร
    องค์ที่ ๒ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ได้รับพระราชทาน เมื่อ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
    องค์ที่ ๓ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พุทธศักราช ๒๔๖๐ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
    องค์ที่ ๔ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานเมื่อ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
    ลักษณะคทา แกนกลางเป็นรูปทรงกระบอกกลวง ทำด้วยทองคำขัดเกลี้ยง แต่ที่ตัวพระครุฑพ่าห์กับลายดอกที่ฐานของพระครุฑพ่าห์ และที่หัวเม็ดตอนท้ายได้ลงยาสีต่างๆ งดงามเป็นพิเศษ
    สร้างด้วยทองคำหนักราว ๔๐ บาท แกนกลางของกระบอกซึ่งข้างในกลวงยาว ๒๒.๔ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ เซนติเมตร ตอนยอดที่เป็นตัวพระครุฑพ่าห์ทองคำลงยาสูง ๘.๕ เซนติเมตร ตอนท้ายทำเป็นหัวเม็ดทองคำลงยา สูง ๘.๕ เซนติเมตร ตอนท้ายทำเป็นหัวเม็ดทองคำลงยาสูง ๔ เซนติเมตร (เปิดไม่ได้) มีจารึกพระนามจอมพลที่ได้รับพระราชทาน

    mace24.png
    จอมพล สมเด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข
    เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช mace25.png
    จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
    mace26.png
    จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
    เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ mace27.png
    จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
    เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
    องค์ที่ ๕ พระคทาจอมพล
    mace13.png
    พระคทาจอมพล
    ที่พระราชทานแด่
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
    พระบรมราชินีนาถ
    จอมพลหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยกองทัพไทยจัดสร้างถวาย เนื่องในวโรกาสได้รับพระราชทานพระยศเป็นจอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง พระองค์แรกของชาติไทยและของโลกเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ และวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคมพุทธศักราช ๒๕๔๐ ทรงเป็นสตรีที่ได้รับพระราชทานเป็นพรองค์แรกของประเทศไทย ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถล้ำ ทรงเป็นคู่บารมีช่วยเหลือพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในทุกด้าน ทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกองทัพอย่างอเนกอนันต์
    ลักษณะคทาจอมพลเป็นรูปทรงกระบอกกลวง ตรงกลางป่องเล็กน้อยและคอดเรียวไปทางด้านยอด ด้านปลาย มีความยาว ๓๕ เซนติเมตร จัดสร้างด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก ๓๕ บาท ส่วนที่กว้างที่สุดตรงกึ่งกลางมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๕ เซนติเมตร ยอดของพระคทาเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ลงยา ตามแบบพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ส่วนยอดของพระครุฑพ่าห์ประกอบด้วยเพชรเจียระไนตรงกลางพระคทาเป็นพระนามาภิไธย “ส.ก.” อยู่ใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านใต้พระนามาภิไธย จารึกพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยวันเดือนปีที่ได้รับพระราชทานพระยศเป็นจอมพล มีเครื่องหมายกองบัญชาการทหารสูงสุด ลักษณะนูนต่ำเป็นทองเรียบมันอยู่ด้านล่าง ด้านตรงข้ามกับพระนามาภิไธย “ส.ก.” เพื่อแสดงว่ากองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดสร้างขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ด้ามพระคทาประกอบด้วยนพรัตน์จำนาน ๙ เม็ด หนักประมาณ ๑ กระรัตต่อเม็ด ซึ่งแสดงให้ทราบว่าได้จัดสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชการที่ ๙ โดยใช้เพชรเจียระไนจำนวน ๑๕๙ เม็ด หนักประมาณ ๑๐ สตางค์ต่อเม็ด ทับทิม มรกต และไพลิน จำนวน ๙๐ เม็ด หนักประมาณ ๑๐ สตางค์ต่อเม็ด ใช้เวลาจัดสร้างน้อยมากพียง ๕๔ วันเท่านั้น แต่มีความงดงามเหมาะสมกับพระอิสริยยศอย่างยิ่ง

    mace28.png
    จอมพลหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
    องค์ที่ ๖ พระคทาจอมพล
    พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดสร้างพระคทาจอมพลและทูลเกล้าฯ ถวาย พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๓
    mace14.gif mace15.png
    พระคทาจอมพล
    ทูลเกล้าฯ ถวาย พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
    เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร mace30.jpg
    พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
    เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

    คทาจอมพลประเภทที่ ๓ เป็นคทาสำหรับจอมพลทั่วไป
    จัดสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ดำรงยศเป็นจอมพล ซึ่งได้พระราชทานมาแล้วจนถึงปัจจุบันมี ๙ ท่านคือ
    จอมพล เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณฉัตรกุล) ได้รับพระราชทานเมื่อ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๐ ขณะที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
    จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก ได้รับพระราชทานเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๔๘๔
    จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานเมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๖ ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ในสมัยรัชกาลที่ ๙)
    จอมพลอากาศ ฟื้น รณภากาศ ฤทธาคธานี ได้รับพระราชทานเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๗
    จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล ได้รับพระราชทานเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๗
    จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้รับพระราชทานเมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๙๙ ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ในสมัยรัชการที่ ๙)
    จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับพระราชทานเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๐๗ ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรี (ในสมัยรัชการที่ ๙)
    จอมพล ประภาส จารุเสถียร ได้รับพระราชทานเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก นับเป็นคทาจอมพลอันสุดท้ายที่มีการพระราชทานแก่จอมพล
    ลักษณะคทา เป็นคทาไม่ลงยา ทำด้วยทองคำหนักราว ๕๐ บาท ตัวกระบอกแกนกลางยาว ๒๔.๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ เซฯติเมตร (ข้างในกลวง) ยอดมีตัวพระครุฑพ่าห์ ทองคำขัดเกลี้ยงสูง ๙ เซนติเมตร ตอนท้ายเป็นหัวเม็ด ทองคำขัดเกลี้ยง สูง ๕ เซนติเมตร (เปิดท้ายได้) มีจารึก นามจอมพลที่ได้รับพระราชทาน พร้อมทั้งวัน เดือน ปี ที่พระราชทาน
    mace16.png
    จอมพล เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณฉัตรกุล) mace17.png
    จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)
    mace18.png
    จอมพล ผิน ชุณหะวัณ mace19.png
    จอมพลอากาศ ฟื้น รณภากาศ ฤทธาคธานี
    mace20.png
    จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล mace21.png
    จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์
    mace22.png
    จอมพล ถนอม กิตติขจร mace23.png
    จอมพล ประภาส จารุเสถียร

    ที่มา : หนังสือ คทาจอมพล โดย กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    https://www.greatcadettutor.com/index.php?option=com_content&view=article&id=463&Itemid=409
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube KANA LAB
    คทาจอมพล (คทาจอมทัพไทย6พระองค์ คทาจอมพล6พระองค์ คทาจอมพล11ท่าน)
    www.youtube.com/watch?v=oglpgCKZhuY
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

    ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ บริเวณศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปากน้ำตาปี อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในอดีตศาลเสด็จเตี่ยริเริ่มจากกลุ่มดอกประดู่ ข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญและทหารนอกประจำการได้จัดตั้งศาลเสด็จเตี่ยเพื่อเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจ จึงได้เช่ารูปจำลอง ขนาดความสูง 198 เซนติเมตร จากกองทับเรือมาประดิษฐานไว้เป็นการชั่วคราว
    ณ ที่บริเวณสะพานนริศ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2542

    ต่อมาได้มีการขอใชที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์บริเวณปากน้ำบ้านดอนสุดเขตแม่น้ำตาปี เพื่อก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรหลังจากเสร็จการก่อสร้างก็ได้มีการอันเชิญพระรูปจำลองมาประดิษฐานเป็นการถาวร เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 จนถึงปัจจุบันซึ่งนำมาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้สักการะ

    096_n.jpg?_nc_cat=105&ccb=1-5&_nc_sid=110474&_nc_ohc=rGWcQIwfBo0AX9LTM9C&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg

    472_n.jpg?_nc_cat=100&ccb=1-5&_nc_sid=973b4a&_nc_ohc=-bDbwRSrudsAX8tZW9P&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg

    312_n.jpg?_nc_cat=108&ccb=1-5&_nc_sid=973b4a&_nc_ohc=Kgp8xdHyMqkAX87HZtu&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.jpg

    ที่มา : facebook เทศบาลเมืองนครสุราษฎร์ธานี
     

แชร์หน้านี้

Loading...