คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Rati Channel
    เพลงสรรเสริญพระแม่อุมาเทวี
    www.youtube.com/watch?v=RpUCo27cJxA
    ...................................................................
    ที่มา : youtube RUANGSAK KHOWDEE
    บทสวดเจ้าแม่ทับทิบเจ้าแม่หม่าโจ้ว
    www.youtube.com/watch?v=dlDlRqOJYUc

    ปรับหู จูนคลื่นกันด้วยนะจ๊ะ สองประเทศนะคะ สองประเทศ:D
    ...................................................................
    ที่มา :
    IndianRaga
    Shiva Shambho: Most Watched Bharatanatyam Dance | Best of Indian Classical Dance
    www.youtube.com/watch?v=JWhA3ldZcyY
    ...................................................................
    ที่มา :
    Zing MP3
    CHÚ ĐẠI BI 21 biến Tiếng Phạn - Peto - Quan Âm Nghìn Mắt Nghìn Tay
    www.youtube.com/watch?v=ZGP74yeASlo

    .....................................................
    ที่มา : youtube BeeGeesTrio999
    The Innocent Reunite Concert - 10 - รักไม่รู้ดับ
    www.youtube.com/watch?v=Cu67HB0lD5E
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2021
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    qzl7bi5egcGKUUOJV8o0-o.jpg

    ปัญหาความเหงาแก้ง่าย ปัญหาชีวิตคู่แก้ลำบาก :)
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ชวนฟังเรื่องผี:eek:
    ที่มา : youtube TheghostradioOfficial
    ระลึกถึงเก้าปี • คุณเบื๊อก | 14 พ.ย. 64 | THE GHOST RADIO
    www.youtube.com/watch?v=MSdYElinOqQ

    .....................................................
    ที่มา : youtube Benley Film
    เวลาสุดท้าย OST.ไสหัวไปนายส่วนเกิน - ดา เอ็นโดรฟิน【OFFICIAL MV】
    www.youtube.com/watch?v=oE0k2JdqCvE

    .....................................................
    ต้องต่อด้วยเพลงนี้ (แอบมาโพสต์)
    ที่มา : youtube
    GMM GRAMMY OFFICIAL
    ใครคิดถึง - เบิร์ด ธงไชย (เพลงประกอบละคร วิมานทราย) [OFFICIAL MV]
    www.youtube.com/watch?v=2kh-re0Wass
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2021
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    น.ส.มโน : วันนี้มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง;)
    นายสติ : เล่าอีกแล้วเหรอ:eek:
    น.ส.มโน : ดีใจล่ะสิ
    นายสติ : ม่ายอ่ะ แต่ก็นะอาจจะมีคนที่หลงเข้ามาแล้วอ่านเรื่องของเธอบ้างก็ได้
    น.ส.มโน : เธอเนี่ยเป็นกำลังใจที่ดีของฉันจริงๆ :D
    นายสติ : :rolleyes:
    น.ส.มโน : ขอบอกผู้อ่านทุกท่านก่อนนะคะว่า ดิฉันจะโพสต์กระทู้นี้จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2564 เท่านั้นนะคะ งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เพราะทำตามความตั้งใจของตนเองแล้วค่ะ และขอขอบพระคุณทุกท่านทีเข้ามาอ่านนะคะ :)

    เรื่องเล่าวันนี้ไม่ใช่เรื่องผี แต่เป็นเรื่องของลูกแมวที่เราให้ชื่อว่า "มังกร"
    ก่อนหน้าที่จะเลี้ยงแมวจร ที่เกือบได้เลี้ยงเจ้ามังกร เหตุการณ์คืนวันนั้นฝนตกหนัก เรากลับถึงบ้านก็มืดค่ำเปิดประตูถอยรถเข้าบ้าน มองที่กล้องหลังอะไรตะคุ่มๆ ใจนึงคิดว่าใบไม้ อีกใจนึงสงสัย จะถอยต่อแต่โชคดีที่คิดว่าลงไปดูดีกว่า ลงไปดูปุ๊บใจนึกในใจว่า "เวรล่ะกรู"

    สิ่งที่เห็นคือลูกแมวตัวจิ๋วนั่งงงๆ อยู่ท่ามกลางความมืด และพอเข้าไปอุ้มดูตาบอดด้วย คือตาปิดทั้งสองข้างขี้ตาเกรอะกรัง งานงอกจะทิ้งไว้ก็เป็นบาปในใจไม่รู้มันเป็นอะไรมากหรือเปล่า ฝนก็ตก สรุปเอารถออกอุ้มลูกแมวไปหาหมอ โชคดีตาไม่ได้บอดอย่างที่คิดแต่ติดเชื้อโน่นนี่ เลยต้องฝากไว้ที่คลินิคเพราะไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง อยู่ 3-4 วันไปรับกลับ เสียตังหลายพันสบายใจไป โชคดีมีเพื่อนต้องการทำบุญช่วยมา 1200 ขอบคุณมา ณ ที่นี้

    ตั้งชื่อเขาว่า "มังกร" เพราะคืนก่อนหน้านั้นฝันเห็นงู พอกลับมาบ้านเริ่มคิดแมวมีเจ้าของไหม ลองเดินหาเจ้าของก่อนตัวแค่นี้จะต้องมีแม่ ติดนมแม่แน่นอน ให้เขาได้อยู่กับครอบครัวจะดีกว่ามาอยู่ตัวคนเดียว จะเหงาอีกอย่างเราไม่เคยเลี้ยงแมว เคยเลี้ยงแต่หมาบางแก้วที่ตายไป 2 ตัว (สิบกว่าขวบทั้ง 2 ตัว) รักมาก เศร้ามาก จึงไม่อยากผูกพันอะไรกับใครอีก สุดท้ายเดินหาจนพบบ้านของป้าที่เลี้ยง แต่ป้าดูไม่ไยดีเท่าไหร่ รับเป็นเจ้าของจริงแต่แกเลี้ยงหลายตัวมากเลี้ยงแบบปล่อย และก็ไม่ได้ใส่ใจว่าใครจะหายไป แต่ก็ตั้งใจคืนแล้วจึงคืนแกไป

    แต่ทุกวันนี้ยังคิดอยู่ว่า มันก็อุตสาห์มาหาถึงในบ้าน ยังเอามันไปคืนเขาอีก ส่วนแมวจรที่มาขอข้าวกินไม่มีตัวไหนที่สีเหมือนเจ้ามังกร ยังคิดถึงอยู่นะเจ้ามังกร ตอนนี้โตเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้วล่ะ :)
     
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube คุณพระช่วย
    "ซี ศิวัฒน์" เพลงเพื่อคุณ จากรายการเพลงเอกเสียงนี้ที่คิดถึง
    www.youtube.com/watch?v=dMREPDmRKA8

    ..........................................................
    ที่มา : youtube 2478
    โอ๊ยยยย ทะเลหวานหมดล้าววว #กันมารี
    www.youtube.com/watch?v=wBt1tlUCgxI

    .........................................................
    ที่มา : youtube DEMONESZ'
    ขอบฟ้า • เจี้ยบ วรรธนา วีรยวรรธน
    www.youtube.com/watch?v=yD8ab9XIjcM
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2021
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ธุดงค์
    ศาสนาพุทธ
    110px-Dharmacakra_flag_%28Thailand%29.svg.png

    150px-Buddhist_monk_in_Khao_Luang-Sukhothai.jpg 150px-Dhutanga02.jpg 150px-Buddhist_pilgrimage.jpg 200px-Monk_on_pilgrimage.jpg
    ธุดงค์ หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎกการถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวดการจาริกของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน
    ธุดงค์ (บาลี: ธุตงฺค, อังกฤษ: Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ

    โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏใน
    พระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ

    ธุดงค์ในปัจจุบันยังคงเป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน ปัจจุบัน คำว่า
    ธุดงค์ ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ไปยังที่ต่าง ๆ หรือเรียกว่า การเดินธุดงค์ ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก
    ความหมาย
    ธุดงค์ คือวัตร หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน 13 ข้อ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลส โดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และการปฏิบัติธุดงค์

    ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์

    ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์โดยการปฏิบัติที่ว่าด้วยการออกเดินทางนั้น เป็นข้อวัตรปฏิบัติพิเศษที่ชื่อว่า โมเนยยปฏิบัติ คือการอย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำ อย่านอนในที่เดิมซ้ำ เพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่ว เพื่อไม่พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไหนหยาบปราณีต เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย

    ธุดงควัตร
    ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ
    1.
    ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
    2.
    เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอายเท่านั้น
    3.
    ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
    4.
    สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน.
    5.
    เอกาสนิกังคะ ละเว้น อาสนะที่สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉันหรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้
    6.
    ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร.
    7.
    ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน)
    8.
    อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน)
    9.
    รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะแต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กันบ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน) อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่นใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกันฝน ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน).
    10.
    อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุงใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม
    11.
    โสสานิกังคะ ละเว้นการอยูในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภึร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกัน.วัดป่ามักถือการไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ ๆกับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา (สน สงัด สุสาน มีปกติสงัดดี)
    12.
    ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย
    - ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ใน
    อาวาสทุกวัน
    - ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน
    - ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้
    พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ
    - อยู่บน
    กุฏิ วิหารให้ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง.
    13.
    เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)

    วัตรปฏิบัติ
    หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
    1. การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าของโยมโดยตรงทุกชนิด (วางใกล้เท้าได้)
    2. การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

    หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
    1. การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขา
    นิมนต์ไปฉันตามบ้าน
    2. ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
    3. ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
    4. ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันใน
    บาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร
    5. ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

    หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
    1. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
    2. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
    3. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
    4. ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
    5. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
    6. ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบถเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
    คำสมาทานธุดงค์

    พระอริยบุคคลที่มีความสำคัญด้านถือธุดงค์
    เชิงอรรถ
    หมายเหตุ 1: การจาริก ด้วยเท้า ของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน เพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้คน การทำเช่นนี้ของพระสงฆ์มีมาตั้งแต่พุทธกาลพระสงฆ์ในประเทศไทยคงได้ถือคตินี้และปฏิบัติมาแต่โบราณ ทำให้คนทั่วไปในปัจจุบันมักเรียกกิริยาเช่นนั้น (การจาริกเดินเท้าของพระสงฆ์โดยแบกบริขาร เช่น กลดย่าม และบาตร เพื่อเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ) ว่า พระเดินธุดงค์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นเพียงคำเรียกทั่วไป ที่หากพระสงฆ์ผู้เดินจาริกไม่ได้ถือสมาทานองค์คุณแห่งธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ใช่ความหมายของคำว่าธุดงค์ตามนัยในพระไตรปิฎก

    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ธุดงค์
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วัดป่าเจริญราช
    ๑๒/๑๙ คลอง ๑๑ ต.ทองหลาง
    อ.ลำลูกกา ปทุมธานี ๑๒๑๕๐
    โทร. ๐-๒๙๙๕๒๑๑๒ แฟ็กซ์. ๐-๒๙๙๕๒๔๗๗
    facebook: ศิษย์วัดป่าเจริญราช


    upload_2021-11-18_7-16-6.jpeg upload_2021-11-18_7-16-48.jpeg upload_2021-11-18_7-17-4.jpeg
    ๑. ชื่อและสถานะปัจจุบัน
    ชื่อ พระครูปทุมภาวนาจารย์ วิ. (วีระนนท์ วีรนนฺโท) นามเดิม เจริญราช อายุ ๕๖ ปี พรรษา ๓๖
    วิทยฐานะ น.ธ. : น.ธ. เอก
    ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
    กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    ปัจจุบัน : ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัด ปทุมธานี แห่งที่ ๑๓ ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา
    จังหวัดปทุมธานี

    ๒. สถานะเดิม
    ชื่อ วีระนนท์ นามสกุล เจริญราช
    เกิด วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ แรม ๑๑ เดือน ๑๑ ปีขาล
    บิดาชื่อ นายสอน เจริญราช มารดาชื่อ นางวิมล เจริญราช
    บ้านเลขที่ ๒๖ หมู่ ๖ ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

    ๓. บรรพชาเป็นสามเณร
    เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๕
    ณ วัดศรีอริยวงศ์ ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    พระอุปัชฌาย์ - พระครูเกษตรธรรมวิจิตร วัดธาตุ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

    ๔. อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๕
    ณ วัดศรีอริยวงศ์ ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    พระอุปัชฌาย์ - พระครูเกษตรธรรมวิจิตร วัดธาตุ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย
    จังหวัดร้อยเอ็ด
    พระกรรมวาจาจารย์ - พระปลัดไพบูลย์ จนฺทสีโล วัดธาตุ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    พระอนุสาวนาจารย์ - พระไชย อมโร วัดศรีอริยวงศ์ ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

    ๕. วิทยฐานะ
    ๑) พ.ศ. ๒๕๑๙ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ โรงเรียนบ้านเมืองบัว (แก้วพิมลคุรุราษฎร์พัฒนา) ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๒) พ.ศ. ๒๕๒๕ สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนจันทรุเบกษานุสรณ์ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๓) พ.ศ. ๒๕๒๗ สำเร็จได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดปทุมคงคา ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๔) พ.ศ. ๒๕๔๗ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล
    ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

    ๖. ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์มาแล้ว
    ๑) พ.ศ. ๒๕๒๗ – พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดปทุมคงคา อำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด
    ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นเจ้าอาวาส วัดปทุมคงคา อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๓) พ.ศ. ๒๕๓๗ - พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดธาตุ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๔) พ.ศ. ๒๕๔๐ – พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นรองเจ้าอาวาสเจ้าอาวาส วัดธาตุ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นเจ้าสำนักสงฆ์วิมลธรรม ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
    ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดป่าเจริญราช ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี
    ๗) พ.ศ. ๒๕๕๑ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดป่าเจริญราช ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

    ๗. สมณศักดิ์
    ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูปลัด วีระนนท์ วีรนนฺโท ในฐานานุกรมของพระราชธรรมโสภณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

    ๘. การศึกษาอบรมภาควิปัสสนากรรมฐาน
    - พ.ศ. ๒๕๒๖ – พ.ศ. ๒๕๓๗ พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท ได้ออกธุดงค์ตามป่าเขา ลำเนาไพร ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่าและอินเดีย เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์ต่างๆ สลับกับการเข้ามาในเผยแผ่ธรรมะ และอบรมธรรมะให้แก่วัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยได้ธุดงค์ศึกษาธรรมะกับครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่พิมพา โกวิโท วัดศรีอริยวงศ์ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็น
    พระอุปัชฌาย์, พระโพธิญาณเถรหรือหลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี , หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุ้ง จังหวัดร้อยเอ็ด , หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จังหวัดสุรินทร์, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู , พระอาจารย์จันทร์เรียน วัดถ้ำสหาย จังหวัดอุดรธานี , หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร , พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี , หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี , สมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ , พระธรรม-ธีรราชมหามุนี(เจ้าคุณโชดก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ,หลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ, หลวงปู่ไพบูลย์ สมุทรสาร แห่งวัดสินวิเศษศรัทธาราม จังหวัด สมุทรสงคราม , พระอาจารย์บุญเลิศ เหมโก วัดสุวรรณประสิทธิ์ กรุงเทพฯ

    นอกจากนั้นได้ไปปฏิบัติกรรมฐานที่สำนักมหาสี จังหวัดย่างกุ้ง กับพระมหาสีสยาดอ (โสภณมหาเถระ) อดีตพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศพม่า จำนวน ๒ ครั้ง ๆ ละ ๘ เดือน โดยการเดินธุดงค์ทั้งไป และกลับ
    - ได้รับวุฒิบัตรเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ผ่านการฝึกอบรมตามโครงการวิปัสสนากัมมัฏฐานพระสังฆาธิการคณะสงฆ์ภาค ๑ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม “ธรรมโมลี” จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ ๑๖ –๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

    ๙. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    - พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นพระวิทยากรอบรมโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง , วิทยากรอบรมค่ายจริยธรรมแก่นักเรียนประจำอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    - พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นพระหน่วยพัฒนาการทางจิต จิตภาวันวิทยาลัย จังหวัดชลบุรี
    - พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ วัดกระโจมทอง จังหวัดนนทบุรี
    - พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นพระธรรมทายาท รุ่นที่ ๗ เลขประจำตัว ๘๐๗ จากวัดชลประทานรังสฤษฏ์ จังหวัดนนทบุรี
    - พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นวิทยากรศูนย์คฤหัสถ์บ้านวัดโรงเรียนประจำอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    - พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นพระวิทยากรชมรมพุทธรักษา องค์การปกป้องพระพุทธศาสนา ครูสอน จริยธรรมระดับประถมศึกษา ๔-๕-๖ โรงเรียนวัดธาตุ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    - พ.ศ. ๒๕๓๗ – พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ประจำศูนย์วิปัสสนาเคลื่อนที่ แห่งประเทศไทย วัดสุวรรณประสิทธิ์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ,พระวิทยากรอบรมพระวิปัสสนาจารย์ พระวิทยากรอบรมค่ายพุทธบุตร , พระวิทยากรอบรมนักโทษประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
    - พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นพระวิทยากรในโครงการธนาคารสมอง ในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ
    - พระวิปัสสนาจารย์รูปแรกในประเทศไทยที่ได้รับนิมนต์ให้ไปสอนที่ประเทศสเปน เป็นเวลา ๕ เดือนทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ
    - พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นพระวิทยากรอบรมครูต้นแบบในโครงการโรงเรียนสีขาว พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
    - พ.ศ. ๒๕๔๙ พระสงฆ์ไทยเพียงรูปเดียว ที่ได้รับนิมนต์ไปสวดมนต์แผ่เมตตาและนั่งสมาธิภาวนาเพื่อสันติภาพโลกที่ประเทศทิเบต ในครั้งนั้นมีพระสงฆ์เข้าร่วมเจริญภาวนาจากประเทศทิเบตจีน และที่อื่นๆ จำนวนกว่า ๑๐,๐๐๐ รูป โดยมีพระธิเบตระดับสูง คือ ระดับรินโบเช (RinPoche) ที่ ๒ (รองจากองค์ดาไล ลามะ) จำนวน ๑๒ รูป ซึ่งเก่งทางญาณสมาธิ เข้าร่วมเจริญภาวนาในครั้งนี้
    - พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน เป็นพระวิปัสสนาจารย์ อบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประจำที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    - พระวิปัสสนาจารย์สอนกรรมฐาน ให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ ณ วัดป่าสันติธรรม รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
    - พระวิปัสสนาจารย์ สอนกรรมฐาน ให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา
    - พระวิปัสสนาจารย์ สอนกรรมฐาน ให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ ณ เมืองวอชิงตัน เมือง ดีทรอยต์ เมืองโอไฮโอ เมืองเดนเวอร์และวัดพุทธโอเรกอน รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
    - เป็นพระวิปัสสนาจารย์ อบรมปฏิบัติกรรมฐานพระนวกะ ประจำอำเภอลำลูกกา
    จังหวัดปทุมธานี
    - พระอาจารย์บรรยายพิเศษ ในวิชาบัณฑิตสัมมนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    - ที่ปรึกษาศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
    - ประธานมูลนิธิวิมลธรรม
    - พระวิปัสสนาจารย์ โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ รักษ์นทีรีสอร์ท อ.บางเลน จ.นครปฐม
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ (WBTV) มูลนิธิพระรัตนตรัยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารวัดยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพฯ
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ ชมรมพุทธศาสตร์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานพระพุทธศาสนานานาชาติ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ ในโครงการคาราวานคุณธรรมนำความรู้ ตอนทำดีให้เด็กดู เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ ในโครงการปฏิบัติธรรมอบรมพัฒนาจิต ธรรมะกับการปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
    - แสดงพระธรรมเทศนา ณ บริษัท ซัมมิท อีเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จำกัด
    - แสดงพระธรรมเทศนา ในโครงการ “จิตใส ใจสบาย” ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    - แสดงพระธรรมเทศนา ในโครงการอบรมแกนนำสร้างเสริมทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติดและอบายมุข โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ แก่นักเรียนโรงเรียนวัดแสงสรรค์ โรงเรียนทองพูนอุทิศ โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์ โรงเรียนอุดมวิทยา โรงเรียนธัญบุรี
    - แสดงปาฐกถาธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
    - ประธานโครงการและพระวิปัสสนาจารย์ประจำโครงการอบรมการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน วัดเกาะแก้วเวฬุวัน อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา

    ๑๐. การส่งเสริมด้านการศึกษา
    - ได้สนับสนุนส่งเสริมพระภิกษุ สามเณร และฆราวาสให้ได้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เปรียญธรรม และปริญญาตรี ในรูปของการให้ทุนการศึกษา
    - ช่วยดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสามัญปริยัติ ที่วัดศรีอริยวงศ์ และวัดธาตุ
    - มอบอุปกรณ์การเรียนคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ ให้แก่โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    - ให้ความอนุเคราะห์สื่อการสอน การอบรมสามเณรภาคฤดูร้อน แก่วัดบ้านสำโรงตาเจ็น จังหวัดศรีสะเกษ
    - เป็นผู้อุปถัมภ์ในโครงการเข้าปริวาสกรรมเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ รูป วัดป่าเหมือดจังหวัดเชียงใหม่
    - ให้ความอุปถัมภ์โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ดังนี้
    ๑. โรงเรียน ตชด. รางวัลอินทิราคานที บ้านพะกะเช อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
    ๒. โรงเรียนบ้านทุ่งต้นงิ้ว ห้องเรียนสาขาหม่าโอโจ บ้านหม่าโอโจ อำเภออมก๋อย
    จังหวัดเชียงใหม่
    ๓. โรงเรียนบ้านห้วยหล่อดุก, โรงเรียนบ้านห้วยปูลิง, โรงเรียนบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย
    จังหวัดเชียงใหม่
    ๔. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่เกิบ, บ้านห้วยบง, บ้านหินหลวง,
    บ้านแม่สะเต อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
    ๕. โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บ้านห้วยน้ำเย็น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
    ๖. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านดอยหลวง, บ้านดอยน้อย,
    บ้านแม่ป๊อกล่าง, บ้านแม่ป๊อกบน, บ้านหินฝน, บ้านหล่ายทุ่ง, บ้านป่าพญาดอย
    อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
    ๗. โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บ้านผาขะเจ้อ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
    - เป็นผู้อุปถัมภ์สามเณรชาวเขาให้รับการศึกษาแผนกสามัญ อาศรมพระธรรมจาริกบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

    ๑๑. งานสาธารณะสงเคราะห์ และงานสาธารณูปการ
    - ทำบุญสร้างเจดีย์ ณ สำนักสงฆ์ป่าเขาแหลม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
    - ทำบุญซื้อที่ดินเพื่อถวายวัดสันห้างเสือ อำเภอป่าซาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเงิน ๙๐๐,๐๐๐ บาท
    - บริจาคสิ่งของเครื่องอุปโภค - บริโภค แก่ชาวบ้านในตำบลบึงทองหลาง ปี พ.ศ.๒๕๔๙ และ
    ๒๕๕๐ เป็นเงินครั้งละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท
    - ทำบุญสิ่งของให้แก่วัดในต่างจังหวัด ๑๐ ครั้งๆละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
    - ประธานโครงการสายธารน้ำใจจากวัดป่าฯ สู่ชาวดอย บริจาคเครื่องอุปโภค บริโภค ข้าวสาร
    อาหารแห้ง ยารักษาโรค เครื่องกันหนาว ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน การสอน เครื่องเขียน
    และเครื่องกีฬา ในถิ่นทุรกันดารที่ขาดปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ จำนวน ๑,๒๐๐ ครัวเรือนให้แก่ ๑. บ้านแม่ป๊อก อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
    ๒. บ้านห้วยน้ำเย็น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
    ๓. บ้านหินหลวง บ้านนาเกียน บ้านแม่สะเต บ้านเคะบือเสถะ บ้านหัวโล๊ะ บ้านเคล่อกะเชเด บ้านเคะบือเซเลโค๊ะ บ้านหม่าโอโจ บ้านพะกะเช บ้านดูเซอะ บ้านห้วยบงบ้านแม่เกิบ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
    ๔. บ้านทีบ่อคือ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    - เป็นผู้อุปถัมภ์โครงการบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จ
    พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาศรมพระธรรมจาริกบ้านนาเกียน
    อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (ปี พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๔)

    ๑๒. เกียรติคุณที่ได้รับ
    - ได้รับพระราชทานวุฒิบัตรประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    - ได้รับโล่เกียรติคุณ จากสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม วัดบวรนิเวศวิหาร ในฐานะผู้ให้การส่งเสริมพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม ณ อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ – พ.ศ. ๒๕๕๕
    - ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕
    - ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทววิทยา จากสถาบัน (ULC) THE UNIVERSAL LIFE CHURCH เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕
    ที่มา :
    1. http://www.watpacharoenrat.org/article.php?artid=125
    2. youtube ปักกลด official channel ประสบการณ์ลึกลับจากพระธุดงค์หนุ่ม www.youtube.com/watch?v=PgOWLvRLvFE
    3.เพลงชุดชีวิตพระธุดงค์ channel doisaengdham
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2021
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...