คำภาวนาพุทธโธเป็นสมาธิ จะทำให้เป็นวิปัสนาได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nouk, 28 มกราคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=4GxY3oUEhkU&feature=mfu_in_order&list=UL]123 คำภาวนาพุทธโธเป็นสมาธิ จะทำให้เป็นวิปัสนาได้อย่างไร หลวงพ่อพุธ ฐานิโย - YouTube[/ame]
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846



    [​IMG]


    นำมาเพิ่มครับ เผื่อมีบางท่านสนใจ

    (ช่วงที่ ๓)


    ที่นี้ในเมื่อเรามา..ในเมื่อพูดถึงเรื่องของศีล
    การรักษาศีลแล้วก็ควรจะได้พูดถึงเรื่องการฝึกอ่า การทำสมาธิ
    การฝึกฝนอบรมสมาธิ ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา
    ในสายของท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น
    ะอืมๆ


    ท่านยึดหลักการภาวนา “พุทโธ” กับ”อานาปานุสติ”เป็นหลัก
    ดังนั้น


    คณะครูบาอาจารย์กรรมฐานทั้งหลายจึงลงมติ
    ให้เจ้าพระคุณพระอาจารย์สิงห์ เรียบเรียงหนังสือเล็กๆเล่มหนึ่งขึ้นมา
    เพื่อเป็นคู่มือแห่งการปฏิบัติ
    ซึ่งเรียกว่า
    พระไตรสรณคมณ์ย่อ


    อันนี้เป็นมติของครูบาอาจารย์ท่านเห็นพร้อมกัน
    ว่าให้ท่านอาจารย์สิงห์เนี๊ยะ
    เรียบเรียงหลักการปฏิบัติภาวนา “ พุทโธ” ขึ้นสักเล่มหนึ่ง
    ทีนี้เหตุผลในการที่เราจะมาภาวนา “พุทโธ” เนี๊ยะ


    อะอืมๆๆ
    <O:p</O:p
    ก็เพราะเหตุว่ามันใกล้กับความจริง
    “พุทโธ” แปลว่าผู้รู้
    “พุทโธ” แปลว่าผู้ตื่น
    “พุทโธ” แปลว่าผู้เบิกบาน
    เป็นกิริยาของจิต
    อะอืมๆ


    ในเมื่อผู้มาภาวนา พุทโธ พุทโธ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว
    จิตจะบรรลุถึงสภาวะสงบ มีปิติ มีความสุข มีความสว่าง
    แล้วสภาวะจิตจะถึงซึ่งความรู้ ซึ่งความเป็น
    ผู้รู้
    ผู้ตื่น
    ผู้เบิกบาน
    คำภาวนาพุทโธหายไป
    ในตอนแรกๆเราอาจจะภาวนา
    พุทโธ
    พุทโธ
    พุทโธ
    พุทโธ เอาไว้ก่อน
    ที่นี้พอจิตสงบลงไปแล้ว
    นิ่ง
    รู้
    ตื่น
    เบิกบาน
    สว่างไสว
    คำว่าพุทโธ หายไป จิตไม่ได้ภาวนาพุทโธอีกแล้ว
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
    ก็เพราะเหตุว่าในตอนแรกเราภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จิตของเรายังไม่เห็นพุทโธ
    ในเมื่อเรายังไม่เห็นพุทโธเราก็ต้องเรียกร้องหา
    ทีนี้เมื่อจิตสงบปุ๊บลงไปนิ่ง
    สว่าง รู้ ตื่น เบิกบานนั้น
    พุทโธเกิดขึ้นในจิตของเราแล้ว
    จิตเค้าก็หยุดเรียก พุทโธ เอง โดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ


    ที่นี้บางทีบางท่านก็ให้คำแนะนำว่า
    ในเมื่อภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ พอจิตหยุดพุทโธ ไปนิ่งว่างอยู่
    พอรู้สึกตัวขึ้นมาก็ให้นึกถึง พุทโธ อีก
    นี่ท่านสอนกันอย่างนี้


    แต่


    ในหลักพระไตรสรณะคมน์ย่อนั้น ท่านไม่ได้ว่าอย่างนั้น
    เมื่อเราภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตสงบนิ่งลงไปนิดหน่อย
    หยุดภาวนา พุทโธ นิ่งว่างอยู่เฉยๆ
    หลวงปู่สิงห์ ท่านให้กำหนดรู้จิตตรงที่ว่าง
    ให้จิตสงบ ละเอียดลงไป ละเอียดลงไป
    จนผ่าน อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ นี่ท่านสอนอย่างนี้


    แต่มาในปัจจุบันนี้


    นักภาวนาทั้งหลาย พากันกลัว กลัวคำพูดที่เขาว่า
    ภาวนาพุทโธ จิตไม่ถึงวิปัสสนา ได้แต่ สมถะ


    ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย ลอง พิจารณาดูซิ๊ จริงหรือเปล่า
    อาตมะว่าไม่จริง เพราะในบางครั้งนึกขี้เกียจขึ้นมา
    วันนี้จะภาวนา พุทโธ พุทโธ พอจิตสงบสบาย
    แล้วก็ พอล่ะ
    แต่เมื่อภาวนาพุทโธลงไปแล้วจิตสงบ
    สว่างลงไปแล้ว ไอ้เจ้าจิตนี่ มันไม่นิ่งสบายอยู่อย่างที่คิด
    มันกลับไปเกิดความรู้ผุดขึ้น พุ๊ด พุ๊ด พุ๊ดขึ้นมายังกับน้ำพุ


    นี่ในจุดนี้เป็นเรื่องสำคัญท่านพุทธบริษัททั้งหลาย


    บางทีเราอาจจะภาวนาอันใดก็ได้
    หรือ
    พุทโธก็ได้
    อะอืมๆ


    ในเมื่อภาวนาลงไปแล้วจิตของเราสงบนิ่ง สบายดี
    บางทีก็สงบเป็น อุปจาระสมาธิ เฉียดๆเข้าไป
    อุปจาระสมาธินี้ จิตสงบแล้วกายยังปรากฎอยู่
    แล้วก็มีปิติมีความสุขมีความเป็นหนึ่ง


    คือจิตรู้อยู่ที่จิต หรือรู้อยู่ที่อารมณ์จิตในขณะนั้น
    ที่นี้
    ในเมื่อเราภาวนาไปจิตมันสงบละเอียดลงไป เข้าสู่อัปปนาสมาธิ
    รู้สึกว่าร่างกายตัวตนนี่หายไปหมด ไม่มีเหลืออยู่
    มีแต่จิตดวงเดียวใสสว่างลอยเด่นอยู่
    ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน เพราะมันไม่มีที่หมาย
    จะว่าเบื้องต่ำก็ไม่ใช่
    เบื้องสูงก็ไม่ใช่
    เบื้องข้างซ้าย ข้างขวา ก็ไม่ใช่
    มันมีแต่จิตดวงเดียวสว่างไสวโพรง
    ลอยเด่นอยู่เหมือนดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์


    ทีนี้พอภาวนาหนักๆเข้า จิตมันดำเนินไปสู่ความสงบบ่อยเข้า บ่อยเข้า
    แล้วมาภายหลังนี้บางทีเราอาจจะนึกภาวนา พุทโธ พุทโธ
    เพียง สองสามคำเท่านั้น


    จิตมันก็สงบวูบวาบลงไปพอนิ่งสว่าง
    แล้วความรู้ความคิดมันจะเกิดขึ้นมา พุ๊ด พุ๊ด พุ๊ด ขึ้น มายังกับน้ำพุ
    นี่ตอนนี้อย่าเข้าใจผิดนะ
    จิตสงบนิ่ง
    สว่าง
    รู้
    ตื่น
    เบิกบาน
    ร่างกายยังปรากฏอยู่
    แล้วก็เกิดความคิดขึ้นมา พุ๊ด พุ๊ด ขึ้นมา
    มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ในขณะที่จิตคิด


    บางท่านไปเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่านสมาธิแตก นั่นเข้าใจผิด


    เมื่อเราภาวนาจิตสงบลงไปนิ่ง
    สว่าง
    รู้
    ตื่น
    เบิกบาน
    แต่กายยังปรากฏอยู่
    ลมหายใจก็ยังอยู่
    แล้วมันเกิดความคิดขึ้นมา ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ขึ้นมา
    ถ้ามันเป็นในลักษณะอย่างนี้
    นักปฏิบัติควรจะปล่อยให้มันคิดไปตามอำเภอใจของมัน
    นี่ จุดนี้แหละซึ่งเรียกว่า จิตจะก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา


    อ่านเต็มๆที่นี่ http://palungjit.org/threads/ศีลเป็นคุณธรรมของมนุษย์-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.279665/<O:p</O:p
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การฝึกจิต ( ที่มาจากหนังสือ ยอดสรรพสิ่ง โดยพุทธจิต )

    การฝึกจิตมีหลายแบบแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะทำแบบไหน ก็รวมลงที่หลักอันเดียว
    คือ ทำแล้วทำให้สบายใจ ใจสงบ ใจเป็นสุข ใจปลอดโปร่ง คิดอะไรๆ ก็กระจ่างแจ้งไปหมด

    จิตใจเราเป็นพื้นฐานที่รองรับสรรพสิ่งอยู่แล้ว ทำไมเราจะไม่เอายอดแห่งสรรพสิ่ง
    มาตั้งไว้ในใจของเราเล่า

    สรรพสิ่งย่อมเกิดแก่จิต คิดดี สร้างสรรค์กรรมดี คิดชั่ว ก่อกรรมทำชั่ว จะสำเร็จหรือ
    ล้มเหลวล้วนเกิดขึ้นที่จิต จิตจึงได้ชื่อว่าเป็น ยอดสรรพสิ่ง

    จิตมีอำนาจมากที่สุดในโลก ตัณหา อวิชชา ล้วนเกิดขึ้นที่จิตและย่อมดับลงได้ที่จิตเช่นกัน
    ดังนั้นจึงต้องฝึกจิต คิดด้วยจิต และสำเร็จด้วยจิต

    ทั้งหมดนี้คือพลังชีวิต ความมีชีวิตชีวา กำลังใจอันสูงส่ง รู้จักใช้สติปัญญาแก้ไข
    ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อความสุขในชีวิตประจำวัน

    การฝึกจิตย่อมมีจุดมุ่งหมาย 4 ประการใหญ่ๆ คือ
    1. เพื่อความสุขในชีวิตประจำวัน
    2. เพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง (อภิญญา)
    3. เพื่อความแตกฉานรุ่งเรืองปัญญา (ปฏิปทา)
    4. เพื่อสิ้นกิเลสดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เล่นปราณ

    ปราณ คือ ธาตุกายสิทธิ์ที่มากับลมหายใจ เราจึงเรียกว่า ปราณ
    ปราณ ทำให้เกิดพลังชีวิต จึงเรียกกันว่า พลังปราณ เราเข้าใจกันง่ายๆ ว่าอากาศ
    ซึ่งเป็นสัมผัสภายนอก และลมหายใจซึ่งเป็นสัมผัสภายใน ปราณเป็นที่รู้จักในหมู่โยคี
    ที่เรียกกันว่า ปราณายามะ และแพร่หลายในหมู่ชาวจีน ผู้ฝึกยุทธ ซึ่งเรียกว่า
    กำลังภายใน พุทธ เราเรียกว่า อานาปาณสติ

    อานาปาณสติ เป็นกรรมฐาน 1 ใน 40 กอง ของพุทธศาสนา
    อานาปาณสติ คือ การระลึกถึงลมหายใจเข้าออก
    ลมหายใจเป็นชีวิตของร่างกาย ร่างกายขาดลมหายใจเมื่อไร นั่นหมายถึงความตาย
    สติ เป็นชีวิตของจิตใจ ขาดสติเมื่อไหร่ เมื่อนัั้นก็ไม่ผิดอะไรกับคนบ้า
    ทำอะไรลงไปโดยไม่ยั้งคิด ซึ่งเท่ากับตายแล้วทั้งเป็นนั่นเอง

    "พลังจิต พลังสมอง พลังภายใน เกิดจากสติกำหนดหายใจ"
    การกำหนดลมหายใจ เรียกว่าเดินปราณ มีคุณค่าทั้งกายและใจ
    คือแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานโรค สมองปลอดโปร่ง เลือดลมดี
    ดูลักษณะอ่อนกว่าวัย

    พระพุทธเจ้าสมัยพุทธกาล ทรงเจริญอานาปาณสติเพื่อพักผ่อน
    ตรัสสรรเสริญว่า "กายก็สบาย จิตก็สบาย จักษุ (ดวงตา) ก็สบาย ดังนี้แล
    เวลารับประทานอาหาร เคี้ยวให้ละเอียด สูดลมหายใจเข้าออกยาวๆ
    จะช่วยให้อิ่มง่าย เพราะปราณเป็นธาตุทิพย์ เป็นทิพยาหารอย่างหนึ่ง
    ช่วยให้เราประหยัดอาหาร สิ้นเปลืองน้อยลง
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การเล่นปราณ

    วิธีเล่นปราณ มี 2 ลักษณาการใหญ่ๆ คือ
    1. เดินตามลม โดยไม่กำหนดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ต้นลมเริ่มที่ปลายจมูก
    กลางลมอยู่ที่ทรวงอก ปลายลมสุดที่สะดือ กลับไปกลับมาทั้งลมหายใจเข้า-ออก
    เดินลมอยู่อย่างนี้ เหมือนสำรวจภูมิประเทศ นับวันแต่จะชำนาญตามลำดับ จิตติดตาม
    ลมไปทุกแห่งหน เปรียบเหมือนการเดินจงกรมในใจกลับไปกลับมา เป็นการออก
    กำลังกายทางใจแบบหนึ่ง เรียกว่า จิตบริหาร เพราะได้ฝึกซ้อมกำลังจิตอยู่เสมอ

    วิธีการนี้ จิตจะคลุมทั่วกายเป็นกลุ่มลมกลุ่มใหญ่ เรียกว่า กายลม
    กายลมปรุงแต่งกายเนื้อ กายลมหยาบ กายเนื้อก็หยาบ กายลมละเอียด กายเนื้อ
    ก็ละเอียด สรุปแล้ว กายลมเป็นอย่างไร กายเนื้อก็เป็นอย่างนั้น เราสามารถ
    ปรับปรุงกายลมได้ คือ การหายใจของเราให้เป็นไปตามที่ต้องการได้

    กายลม เป็นกายละเอียดอ่อน เมื่อปรับถูกส่วนได้ที่ ก็จะเป็นกายทิพย์ปรากฏขึ้น
    ท่ามกลางความว่างภายในตัวเรา

    กายทิพย์ เป็นกายชั้นใน เชื่อมโยงกับกายเนื้อ เกี่ยวเนื่องกันมีสายใยเชื่อมต่อกัน
    ตลอดเวลา ไม่ว่ากายทิพย์จะไปไหน กายเนื้อจะอยู่ ณ ที่ใด จนกว่าสายใยนี้จะขาด
    เรียกว่า "ตาย" กายเนื้อก็สลายไป กายทิพย์ยังคงอยู่ไม่ดับสูญ เรียกว่า "วิญญาณ"
    (ไม่จำเป็นต้องเป็นผีเสมอไป ถ้าตายแล้วกลายเป็นผีกันหมด เราเองก็เป็นผีตนหนึ่ง
    ว่าที่ผีในอนาคตไงล่ะ)

    2. ที่พักลม เรียกว่าฐาน ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งจิต เรียกว่า จุดรวมจิต หรือเรียก
    ศูนย์รวมใจก็ได้ การกำหนดลมหายใจ พุท-โธ ตรงปลายจมูก เหมือนหยด
    น้ำใสติดอยู่ จุดดั้งจมูก จุดกึ่งกลางหน้าผาก จุดศูนย์กลางกระหม่อม จุดศูนย์
    กลางสะดือ และจุดศูนย์กลางทรวงอก พระอริยคุณาธร เคยแนะนำให้ตั้งจิตไว้ ณ ศูนย์กลางทรวงอก แล้วนึกคิดในกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง จุดศูนย์นี้ เรียกว่า "ภูมิทสมัง" เป็นภูมิสถิตย์ของพระอรหันต์ มีอิทธิพลพิเศษให้บังเกิดการตรัสรู้ เป็นที่อยู่สบาย และปลอดโปร่งที่สุด
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แบบสุทธิศีล

    หลวงปู่เส็ง ปุสฺโส ได้ชี้แนะวิธีเจริญอานาปาณสติแบบสุทธิศีล

    ศีล แปลว่า ปกติ
    ศีล คือการรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย เป็นปลายศีล
    ส่วนการรักษาจิต เป็นต้นศีล เรียกว่า อธิศีล

    เพราะกิเลสเกิดขึ้นที่ใจ ใจเป็นที่เกิดของกิเลส การถือศีลด้วยใจ จึงเป็นต้นเหตุ
    ศีลจึงเป็นเสมือนรากแก้วของธรรมะ เมื่อปัญญาแจ่มแจ้ง อบรมศีลให้บริสุทธิ์
    นานวันเข้าย่อมมีความผ่องใสขึ้นเอง เมื่อใจผ่องใส จิตก็เป็นสมาธิในตัวเอง

    ตั้งจิตไว้ที่ทรวงอก หายใจเข้าว่า "สุทธะ" หายใจออกว่า "สีลัง" คือศีลบริสุทธิ์
    สุทธิศีลอยู่ที่ใจ ใจดวงเดียวเท่านั้น "สุทธะสีลัง" กลิ่นของศีลย่อมหอมทั้งตาม
    ลมและทวนลม และเป็นการเจริญสีลานุสติแบบย่อไปในตัวด้วย
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แบบ 16 ตัวอักษร

    ท่านโพธิสาร เจ้าของหนังสือสมาธิวิธี กรรมฐาน และยอดสุญตา ได้แนะนำอุปเท่ห์
    การเล่นปราณว่า ดำรงสติไว้กลางใจ คือ ศูนย์กลางทรวง เป็นจุดรวมจิต เดินลมปราณ
    ด้วย 16 ตัวอักษร คือ

    "อะ อา อิ อี อุ อู ปุ ปู พุ พู เอ ไอ โอ เอา อัง อำ" หายใจเข้าออกให้ได้ 16 ตัวอักษร
    และเรียก อานาปาณสตินี้ว่า แบบ 16 อักษร การที่จะหายใจให้ครบ 16 อักษร เข้าใจว่า
    ต้องหายใจยาวมาก และต้องแตกลมหายใจออกเป็น 16 เสี่ยงด้วย...ดูๆ ไป จะหน้ามืด
    เสียก่อน พอๆ กับกลั้นลมหายใจ

    ความจริงแล้ว หายใจตามปกติ 16 อักษรรวดเดียว กลมกลืนไปกับลมหายใจ ปราศจาก
    การติดขัด ชำนาญเข้า ลมหายใจจะละเอียดและยาวได้เอง

    ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ยากนัก แต่ก็ไม่ง่ายดาย มิฉะนั้นแล้วจะต้องฝึกกันไปทำไม
    มีพระเจ้า 16 พระองค์กำกับใจเราอยู่ดีเหลือหลาย สามัญมนุษย์จะหายใจได้ 10 อักษร
    "อะ อา อิ อี อุ อู ปุ ปู พุ พู" ส่วนมหาบุรุษสามารถหายใจได้ถึง 16 อักษร ดังนั้น
    ใครฝึกได้สำเร็จชำนาญ ก็ได้ชื่อว่าหายใจเก่ง
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อานาปาณสติ 16 ชั้น

    พระฤาษีสันตจิต ได้สอนอานาปาณสติ 16 ชั้น เรียกว่า สติปัฏฐานแบบย่อ ดังต่อไปนี้

    ก. ขั้นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    1. หายใจเข้า-ออก อย่างมีสติด
    2. หายใจเข้า-ออก อย่างมีสัมปชัญญะ
    3. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกทั่วสรรพางค์กาย
    4. หายใจเข้า-ออก ระงับกายสังขาร

    ข. ขั้นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    1. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกรู้ปิติ
    2. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกรู้สุข
    3. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกรู้จิตตสังขาร
    4. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกระงับจิตตสังขาร

    ค. ขั้นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    1. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกรู้จิต
    2. หายใจเข้า-ออก ทำจิตให้ปราโมทย์
    3. หายใจเข้า-ออก ทำจิตให้สงบ
    4. หายใจเข้า-ออก ทำจิตให้ปลอดโปร่ง

    ง. ขั้นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    1. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกดูความไม่เที่ยง
    2. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกดูความเปลี่ยนแปลง
    3. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกดูความดับ
    4. หายใจเข้า-ออก สำเหนียกดูความสลาย

    แปลให้เข้าใจดังนี้

    ขั้นกายา
    (1) หายใจเข้าเราก็รู้ หายใจออกเราก็รู้
    (2) หายใจเข้า-ออก สั้น ยาว หยาบ ละเอียด เราก็รู้ คือรู้อาการว่า ลมหายใจ
    ของเราเป็นอย่างไร
    (3) กระจายลมหายใจแผ่ขยายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
    ขจัดอาการเมื่อยขบได้
    (4) กายสังขาร คือ สิ่งที่ปรุงแต่งร่างกาย ได้แก่ลมหายใจนี่แหละ คำว่า ระงับ แปลว่า
    ทำให้สงบ หมายถึง ทำลมหายใจให้ละเอียดประณีต ไม่มีเสียงลมหายใจ ซึ่งเป็นลมหยาบ
    ระงับไม่ได้หมายความว่า ดับกลั้นลมหายใจ เมื่อลมหายใจละเอียดอ่อน กายสงบ
    จิตเบา กายเบา ใจเบา ก็เบากาย เบาใจ สบาย
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขั้นเวทนา
    (1) หายใจเข้าก็สดชื่อ หายใจออกก็ชื่นใจ
    (2) หายใจเข้าก็สุขสบาย หายใจออกก็สุขใจ
    กายใจส่องกัน สรรพสิ่งล้วนสดใส มีชีวิตชีวา
    (3) จิตตสังขาร คือสิ่งที่ปรุงแต่งใจของเรา ได้แก่ สัญญา ความรู้จัก กับเวทนา
    ความรู้สึก หายใจเข้า หายใจออก จำได้ หมายรู้ในสิ่งใด มีความรู้สึกอย่างไร
    ถามใจตัวเองดูก็ได้
    (4) ระงับจิตตสังขาร ไม่หมายความว่า ดับความนึกคิดหรอกนะ หมายความว่า
    ปล่อยวาง อย่ายึด อย่าแบกไว้ รู้แล้วก็วาง วางแล้วก็ว่าง ว่างเปล่า ไม่ปรุงแต่ง
    อารมณ์เหลือแต่จิตล้วนๆ

    ขั้นจิตตา
    (1) หายใจเข้ารู้จิต หายใจออกรู้ใจ เหมือนมีเพื่อนที่รู้ใจ คือจิตของเราเอง ดูตัว
    ของเราเอง เศร้าหมอง-ผ่องใส ผ่องใส-เศร้าหมอง ดูจิตตัวเองออก บอกจิตตัวเองได้
    (2) ปราโมทย์ คือ ร่าเริง บันเทิงใจ เพลิดเพลินในธรรมะ สนุกสนานในรสพระธรรม
    (3) สงบดุจดังฤาษี
    (4) ปลอดโปร่งเหมือนพักผ่อนชายทะเล เข้าไปไว้ในใจ หายใจเข้าก็มีพลังชีวิต
    หายใจออกก็มีกำลังใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2012
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขั้นธัมมา

    (1) ดูตัวเราตั้งแต่เกิด จะเห็นอนิจจังไม่เที่ยง
    (2) ตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยที่สุด แก่ เจ็บ
    (3) ตัวเรามีความดับมาตลอด อย่างน้อยที่สุดต้องตาย
    (4) ตัวเราตายแล้วก็ผันแปรไปสู่ความเน่าเฟะ สลายไปเป็นกระดูก ผลที่สุดก็เหลือแต่จิตว่าง

    ขั้นธัมมานี้เป้นการพิจารณาเวทนา ดูกาย ดูจิต ของเราด้วย ที่เห็นได้ชัด คือ
    กายเรา ภายในมีการแปรผัน ภายนอกมีการเคลื่อนไหว หมุนเวียนเปลี่ยนไป
    ตามวัฏจักรของฟ้าดิน
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แบบธาตุ 4

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เจ้าตำรับมโนมยิทธิ ได้แนะวิธีเล่นปราณด้วยธาตุทั้ง 4 คือ
    ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนี้

    หายใจเข้าท่อง "นะ มะ" หายใจออกท่อง "พะ ทะ"
    หายใจเข้าออกเป็น "นะ มะ-พะ ทะ"

    ลมหายใจเป็นธาตุทิพย์ เป็นพลังทิพย์ ลมปราณช่วยไฟตบะ ไฟตบะช่วยน้ำใจ
    น้ำใจช่วยดินมนต์ ดินมนต์คือตัวเราปั้นขึ้นมาจากดิน ได้แก่ อาหาร น้ำ พลังงาน
    และลมปราณ ความมีชีวิตชีวา

    มโนมยิทธิ คือการแบ่งภาคจิตออกไปทำการ คล้ายๆ กับส่งตัวแทนออกไปทำธุระ
    ส่วนตัวจริงคอยควบคุมดูแล คอยสั่งการอยู่ ไม่เหมือนการถอดจิต ซึ่งไปหมดทั้งตัว
    เหลือแต่ร่างไว้นิ่งเฉยเหมือนท่อนไม้

    เมื่อธาตุทั้ง 4 รวมตัวกันได้ที่ถูกส่วน ประสานเป็นหนึ่งเดียวย่อมจะเป็นไปตามแนวทาง
    ของมันเอง คาถาธาตุ 4 นะ มะ พะ ทะ เป็นธาตุแห่งอิทธิฤทธิ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...