คำวัด - ภัตตาหาร-สลากภัต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 13 พฤษภาคม 2011.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    คำว่า “สลากภัต” มาจากภาษาบาลี คือ สลาก + ภตฺต สองคำมารวมกันเป็น “สลากภัต” แปลว่า อาหารถวายพระภิกษุสงฆ์โดยวิธีจับสลาก นับเข้าในสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มักกระทำกันในเดือนที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ หรือปีที่เศรษฐกิจดี หรือมีการก่อสร้างศาสนวัตถุในวัดที่ขาดแคลน พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า เป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งที่ภิกษุสามเณรจะได้รับถวายได้ไม่จำกัดกาล ทั้งทรงยกย่องการถวายทานแบบไม่เจาะจงนี้ว่า มีอานิสงส์มากแล
    ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ภัตตาหาร” (อ่านว่า ภัด-ตา-หาน) อาหาร คือ ภัต หมายถึง อาหารสำหรับพระสงฆ์ฉัน เช่น พูดว่าพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ก็หมายความว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร นั่นเอง

    ภัต หมายถึง ข้าว อาหาร ของกิน เขียนว่า ภัตร ก็ได้
    ภัต หรือ ภัตตาหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับ และฉันได้มีหลายประเภท เช่น
    สังฆภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายพระสงฆ์
    นิมันตนภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายในที่นิมนต์
    สลากภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายตามสลาก
    อาคันตุกภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายพระอาคันตุกะ
    นิตยภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายเป็นประจำ

    ส่วนคำว่า "สลากภัต" (อ่านว่า สะ-หลาก-กะ-พัด) เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า อาหารที่เขาถวายตามสลาก

    สลากภัต ใช้เรียกวิธีถวายทานอย่างหนึ่งที่ถวายโดยการจับสลาก นิยมทำกันในฤดูกาลที่ผลไม้ออกผล เช่น สลากภัตมะม่วง สลากภัตลิ้นจี่ ถือว่าได้บุญมาก และเป็นมงคลแก่สวนผลไม้ของตน

    วิธีการสลากภัต คือ ทายกทายิกาจัดอาหารคาวหวาน และผลไม้ประจำฤดูกาลนำไปรวมกันที่วัด จัดวางไว้เป็นส่วนๆ เขียนชื่อหรือหมายเลขประจำตัวของตน ใส่กระดาษแล้วม้วนไปให้พระภิกษุสามเณรจับ รูปใดจับได้ของผู้ใดก็ออกไปรับของผู้นั้น

    อีกแบบหนึ่งเขียนเลขประจำตัวของพระตามลำดับอาวุโส ใส่กระดาษแล้วม้วนให้ทายกทายิกาจับ ผู้ใดจับได้หมายเลขใดก็นำของไปถวายพระตามหมายเลขนั้น

    "พระธรรมกิตติวงศ์ "

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...