คำสอนก่อนฝึกมโนมยิทธิ วันศุกร์ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๒

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย uncle jing, 8 มีนาคม 2010.

  1. uncle jing

    uncle jing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +219
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]

    [FONT=&quot]คำสอนก่อนฝึกมโนมยิทธิ วันศุกร์ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๒ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่มา หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๔๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ความมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรม[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องการปฏิบัติธรรมนี่เราปฏิบัติกันเพื่ออะไร ต้องรู้ก่อนนะ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดนี่ พระพุทธเจ้าไม่ได้หวังผลในชาติหน้า คือ พระองค์มีความประสงค์หรือต้องการผลในชาตินี้ และการปฏิบัติศีลก็ดี การปฏิบัติธรรมก็ดี ก็เพื่อความสุขใจ แต่ว่าถ้าตายไปแล้ว จะไปขึ้นสวรรค์ จะไปพรหม จะไปนรก ก็เป็นเรื่องข้างหน้า ไม่จำเป็นต้องคิดถึง คิดถึงอย่างเดียวว่าอะไรเป็นเหตุของความสุข ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็หวังผลอย่างเดียวก็คือ ให้มีความสุขในชาติปัจจุบัน ถ้าวันนี้เรามีความสุข พรุ่งนี้เราก็มีความสุข [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่โยมเกิดมา โยมเจอวันพรุ่งนี้บ้างไหม วันนี้เราทำดี ถ้าเราไปคิดว่าวันโน้นจะทำดี พรุ่งนี้จะทำดี มะรืนจะทำดีน่ะ มันไม่ถึงหรอก ตื่นเช้าเมื่อไหร่ก็วันนี้ทุกที นี่ฉันเกิดมาก็แก่แล้ว ยังไม่ถึงวันพรุ่งนี้ซักทีเลย[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าต้องการความสุขในปัจจุบัน นี่ความสุขในปัจจุบันเราใช้วันนี้น่ะมันจะห่างไป คือ ธรรมะของพระพุทธองค์ก็ต้องการเดี๋ยวนี้ใช่ไหม อีกประเดี๋ยวหนึ่งมันก็ไปถึง ความรู้สึกของเรามันเดี๋ยวนี้อยู่เสมอ ถ้าประเดี๋ยวนี้เรามีความสุข ถ้าหากเราจะไปเกิดชาติหน้าใหม่ มันก็จะมีความสุข[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สมมุติว่า วันนี้วันที่เท่าไหร่ วันที่ ๒๑ ถ้าวันที่ ๒๑ เราทำดี วันที่ ๒๒ เราก็ยังมีความสุขอยู่ใช่ไหม วันที่ ๒๑ เราก็ยังมีความสุขอยู่ใช่ไหม วันที่ ๒๑ ใครเขาหิวเราให้ ผู้ใหญ่มาเราไหว้ คนที่มาหาเรา เราพูดดี พูดไพเราะเราก็ปลื้มใจ ถ้าหากวันที่ ๒๒ เราพบกันใหม่ เราก็มีแต่ความยิ้มแย้มแจ่มใสใช่ไหม เราก็ชื่นใจ เราก็มีความสุขถูกไหม ถ้าไม่ถูกก็ตรงที่ว่า ทุกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้เป็นหนี้ฉัน ไม่มีใครยอมรับสินะ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมะเบื้องต้นคือ ศีล ๕[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ฉะนั้น ธรรมะของพระพุทธเจ้าต้องการให้เรามีความสุขในปัจจุบันนี้ ธรรมะเบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นอันดับแรก คืออันดับแรกหมายความว่า ปุถุชนคนธรรมดา แต่อย่าถือว่า พระพุทธเจ้าท่านเทศน์กัณฑ์แรก เทศน์อะไร วันนี้ไม่ไหวนะ ถ้าจะมาเทศน์ตรงนี้ไม่ไหวนะ เพราะที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์กัณฑ์แรก คือ พระธรรมจักร<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]วันนี้ถ้าพูดเรื่องพระธรรมจักร ถ้าโยมฟังจบแสดงว่าหลับหมด แถมคนเทศน์ก็หลับด้วย ฟังไปไม่รู้เรื่องรำคาญก็หลับ โยมหลับหมด อาตมาคนเทศน์ เห็นโยมหลับก็หลับด้วย ลูกศิษย์หลับ อาจารย์ก็หลับหมดเรื่องกัน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้อันดับแรกที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเป็นสาธารณะก็คือ ศีล ๕ คำว่า [/FONT][FONT=&quot]“ศีล” นี่ท่านแปลว่า ปกติ ที่แปลว่าปกติก็เพราะว่า ปกติของคนและสัตว์ที่เกิดมาบนโลกนี้ มีความต้องการทุกสิ่งเสมอกัน โดยเฉพาะในศีล ๕ นี่ ทั้งคน ทั้งสัตว์ มีความปรารถนาเท่ากันหมด คือเราทุกคนต้องการให้คนอื่นมีศีลเพื่อเรา แต่บางทีเราก็เผลอ เราไม่ต้องการมีศีลให้คนอื่น ยังไงแน่โยม เพราะว่า<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๑ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า [/FONT][FONT=&quot]“ปาณาติปาตา เวรมณี” ไอ้เวรมณี ก็แปลว่า งดเว้น แปลว่า ขอท่านทั้งหลายจงงดเว้นการประหัตประหารซึ่งกันและกัน อย่าทำร้ายซึ่งกันและกัน และอย่าทำลายชีวิตซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดี ที่เกิดในโลกนี้ทั้งหมด ไม่มีใครร้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกาย หรือโยมต้องการ ถ้าต้องการก็บอกนะ ไม้เรียวมีข้างๆ<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]และอีกประการหนึ่ง ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายชีวิตเราใช่ไหม นั่นแปลว่า ชีวิตเราเรามีความรัก เรามีความเสียดาย ร่างกายของตนไม่ต้องการให้คนอื่นมาทำร้าย มาทรมานฉันใด คนอื่น สัตว์อื่น เขาก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกันใช่ไหม[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ถ้าเธอต้องการพอใจ ต้องการมีความสุข ก็ถือเอาความพอใจสาธารณะ คือว่าอย่าทำร้ายซึ่งกันและกัน คือว่าอย่าทำร้ายเขา เพราะว่าเราไม่ต้องการให้เขามาทำร้ายเรา เราก็อย่าทำร้ายเขา[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ต้องมีธรรมะ ๒ ประการประจำใจ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การที่จะไม่ทำร้ายซึ่งกันและกันได้ ก็จะต้องมีธรรมะข้อหนึ่งเข้ามาประจำใจ นั่นคือ เมตตาจิตมี เมตตา กับ กรุณา[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมตตา แปลว่า ความรัก[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]กรุณา แปลว่า ความสงสาร[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]คือต้องมีธรรมะ ๒ ประการประจำใจ จึงจะรักษาศีลข้อนี้ได้สำเร็จ ถ้าเกิดว่าจิตขาดความรัก จิตขาดความสงสาร บางคนเราไม่ได้รัน แต่ว่าเราสงสารใช่ไหม ไอ้ที่ว่ารักนี้ สำหรับคนที่เคยเห็นกัน เคยคบกัน เคยสมาคมกัน แต่คนบางคน สัตว์บางพวก เราเคยเห็นเขาหิว เขาผอมโซ เขาอด เขาจะตาย หรือป่วยไข้ไม่สบาย เราไม่เคยรู้จักกันนี่เราสงสาร เราเกิดความสงสารก็ดี เกิดความเมตตาก็ดี ขึ้นในใจก็ดี[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่ศีลข้อที่ ๑ เราก็รักษาได้ ถ้าเราปราศจากความเมตตา ความรัก ความกรุณา ความสงสาร ศีลข้อที่ ๑ ก็ทรงตัวไม่ได้ ถ้าทุกคนมีศีลข้อที่ ๑ หมด ต่างคนต่างเมตตา ต่างคนต่างรักกัน ต่างคนต่างสงสารกัน ต่างคนต่างไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน มันก็มีแต่ความเป็นมิตรใช่ไหม เมื่อไปไหนเราก็มีแต่ความเป็นมิตร ไม่มีศัตรู ไปไหนก็มีแต่ความสุข จะหลับก็เป็นสุข จะตื่นก็เป็นสุข จะนั่งก็เป็นสุข คนไม่มีศัตรู สุขหรือไม่สุขโยม สุขนะ หวังว่าศีลข้อที่ ๑ โยมคงทำได้ นี่เราพูดกันอย่างย่อนะ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๒ จงอย่าเอาทรัพย์สินคนอื่น[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๒ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า [/FONT][FONT=&quot]“อทินนาทานา เวรมณี” แปลว่า พวกเธอจงอย่าเอาทรัพย์สินคนอื่นที่เขาไม่ให้ด้วยเจตนาขโมย<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งนี้เพราะว่าเราก็มานั่งนึกดูว่า ทรัพย์สินของเราที่เราหามาได้โดยยาก โยมเคยนั่งนึกนอนนึกบ้างไหมว่า เงินนี่มันมากเกินไป ใครมาขโมยไปเสียบ้างก็ดี เคยคิดหรือเปล่า ทรัพย์สมบัติของเรามีความรู้สึกอย่างไร คนอื่นเขาก็มีความรู้สึกอย่างนั้น เมื่อต่างคนต่างซื่อสัตย์สุจริต ต่างคนต่างต่างสันโดษ ยินดีในเฉพาะทรัพย์สินที่เรากาได้โดยชอบธรรม ไม่คดไม่โกง ไม่ขโมยซึ่งกันและกัน ทุกคนก็มีความสุขใช่ไหม บ้านก็ไม่ต้องใส่กุญแจ ไม่ต้องมีประตู ไม่ต้องมีหน้าต่าง ไม่ต้องมีฝา สตางค์ก็เอาวางไว้ไม่ต้องมีที่ใส่ แต่ต้องเอาของทับเพราะลมมันจะทำให้ปลิวไป ถ้าไม่มีขโมยเสียอย่าง ประเทศเราก็รวยใช่ไหม คนไม่ประทุษร้ายกัน ไม่เป็นศัตรูกัน เราก็รวย[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]คนที่ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน มันก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีอัยการ มีทนายความ มีศาล มีอะไรต่ออะไรเยอะแยะ ต้องตั้งงบประมาณการจ้างท่านผู้ที่มาปราบปรามมาตัดสิน หากว่าเราไม่ทำร้ายกัน ไม่ขโมยกัน เรือนจำก็ไม่ต้องสร้างไว้ทำอะไรหรอก ทีนี้ไอ้งบประมาณส่วนนี้ก็ไม่ต้องเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งญาติโยมทั้งหมด ก็เป็นคนรวยหมด[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แล้วบ้านหลังหนึ่งนี่เราต้องทำบ้านให้แข็งแรง เพราะกลัวขโมยใช่ไหม ที่ต้องทำประตูแข็งแรง ต้องมีกุญแจ กุญแจดอกหนึ่งราคาตั้งเท่าไหร่ บ้านหนึ่งไม่ใช่มีกุญแจดอกเดียว เพียงแค่กุญแจนี้ ทั้งประเทศก็ราคาหลายล้านนะ นี่เราต้องเสียทรัพย์สินไปนี่ เพราะเราขาดศีลข้อที่ ๒ ถ้าหากว่าศีลข้อ ๒ มีด้วยกันทุกคนนี่ เมื่อทุกคนต่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่ยื้อแย่งกัน เราทุกคนก็เป็นคนรวย ชาติของเราก็เป็นชาติที่มีความเจริญ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะไม่ต้องจ้างเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องจ้างอัยการ ไม่ต้องจ้างศาล ก็ไม่ต้องสูญเสียไปเยอะ และทุกคนก็มีความสุขไม่เป็นศัตรูกัน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๓ จงอย่ายื้อแย่งความรักของคนอื่น[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๓ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ขึ้นชื่อว่าคนรักนี่ ต่างคนต่างหวงแหน พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“จงอย่ายื้อแย่งความรักของคนอื่น”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ไอ้เรื่องนี้มันเรื่องใหญ่นะโยม ฉันว่านะถ้าพ่อบ้านไปติดพันใคร ทุกคนในบ้านจะไฟลุกนะ ไอ้นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าต่างคนต่างไม่เคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน มันก็เป็นศัตรูกัน ต่างคนต่างเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน ความเป็นศัตรูกันเราไม่มี เราก็รักกัน เราก็เป็นเพื่อนที่ดี ต่างคนต่างมีความสุข[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๔ จงพูดแต่ความจริง[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๔ จงพูดแต่ความสัตย์จริง อย่าใช้วาจา มุสาวาท แต่ว่าในกรรมบถ ๑๐ ท่านแยกเป็น ๔ อย่างคือ [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๑) [/FONT][FONT=&quot]จงพูดแต่ความจริง อย่าพูดเท็จ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๒) [/FONT][FONT=&quot]อย่าพูดคำหยาบ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๓) [/FONT][FONT=&quot]อย่าพูดส่อเสียด คือยุยงให้เขาแตกร้าวกัน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๔) [/FONT][FONT=&quot]อย่าพูดวาจาที่เหลวไหลไร้ประโยชน์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]รวมความว่า เราพูดตามความเป็นจริง เฉพาะวาจาที่เป็นประโยชน์ มีวาจาอ่อนหวาน ไม่หยาบคาย เป็นที่ชอบใจของบุคคลผู้ฟัง นี่ทุกคนถ้าพูดอย่างนี้ก็ไม่มีศัตรูกัน ต่างรักกันใช่ไหม มันมีความสุขหรือมันมีความทุกข์โยม มีความสุขนะ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อ ๕ จงอย่าดื่มสุราเมรัย[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศีลข้อที่ ๕ สุราเมรัย ท่านบอกว่ากินแล้วมันเหมือนคนบ้านะ คนที่นั่งทุกคนที่นี่ใครอยากบ้านะ คนที่นั่งทุกคนที่นี่ใครอยากบ้ามั่ง ใครอยากบ้ายกมือขึ้นซิมีไหม เราไม่ต้องการบ้า แต่การดื่มสุราเมรัย ถ้าเมาแล้วก็ไม่ต่างจากคนบ้าใช่ไหม มันทำลายสติสัมปชัญญะ ทำลายประโยชน์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]อันนี้คือศีล ๕ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัส พระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งขึ้นมาเอง แต่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นมาตามความต้องการของคนและสัตว์ โลกสัตว์กับโลกคนก็มีสภาพเหมือนกัน เขาไม่ต้องการให้เราไปฆ่าเขา เขามีอาหารนิดๆ หน่อยๆ เขาก็ต้องการจะกิน ไม่ต้องการให้เราไปแย่งเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าผึ้งนี่ร้ายกาจ มันนำน้ำหวานได้ คนก็ไม่รู้ว่ามันทำรังใช่ไหม ทีนี้เอาน้ำผึ้งมา ดีไม่ดีเขายกกลับซะนี่ แต่น้ำผึ้งเอามาทำบุญได้บุญนะ แต่กลัวขวดน้ำผึ้งหาย เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าทรงให้รักษาศีล ๕ เพื่อความเป็นอยู่เป็นสุขในชาติปัจจุบัน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทำอย่างไรสมาธิถึงจะทรงตัวได้[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่การที่ญาติโยมเจริญสมาธิ สมาธิจะมีอยู่ได้ถ้าจิตทรงศีล ๕ ถ้าศีล ๕ ของญาติโยมไม่บริสุทธิ์ สมาธิไม่ทรงตัว สมาธิเราสร้างมาได้ ในขณะใดที่ศีล ๕ บริสุทธิ์ ขณะนั้นสมาธิจะทรงตัว ถ้าในขณะใดเราพลั้งพลาดด้วยศีล ๕ ขณะนั้นสมาธิก็เสื่อม [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่ท่านบอกว่าฌานโลกีย์ ย่อมไม่มีการทรงตัว ถ้าเป็นฌานโลกุตระตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนี่ ฌานเขาไม่เสื่อม และก็ทรงตัวเพราะศีลเขาบริสุทธิ์ และการเจริญสมาธิที่ญาติโยมจะปฏิบัติกันนี้ ต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ความจริงศีลนี่ต้องบริสุทธิ์ตลอดเวลา แต่คนที่จะรักษาศีลนี่จะบริสุทธิ์หรือไม่ สงสัยบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ศีลฉันบริสุทธิ์จ๊ะ” ทำไง ก็ฉันเขียนใส่เซฟไว้แล้ว อัดพลาสติกเสร็จ ไม่มีอะไรเปื้อนเลอะเทอะ<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้มันมีปัญหาหนึ่ง คนทุกคนที่เกิดมานี่ศีลจะบริสุทธิ์อยู่ตลอดกาลมิได้ มันก็ต้องมีการพลั้งพลาดบ้าง ไม่ก็มีความจำเป็นในกรณีต้องละเมิดศีลก็มีอยู่ แต่ถ้ามันเป็นอย่างงี้ทำอย่างไรจะทรงสมาธิได้ อันนี้ตอบไม่ยากว่า ขณะที่เราจะทรงสมาธิ ก็จะตั้งใจรักษาศีลเพื่อความบริสุทธิ์ของศีลทุกข้อ คิดว่านับแต่บัดนี้ไปเราจะไม่ยอมละเมิด ถึงเวลาที่จะปฏิบัติสมาธิต้องตั้งใจให้ทรงตัวจริง ตัดสินใจว่าศีล ๕ ข้อนี้เราจะไม่ละเมิด หรืองดเว้นเด็ดขาด[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่เราคิดอย่างนี้ แต่จิตมันเคยละเมิดศีล วันหนึ่งบังเอิญในไปพลั้งเผลอเข้ามันก็เป็นธรรมดา ที่ต้องมีการพลั้งเผลอ ถ้าเกิดการพลั้งเผลอ เราก็ตั้งใจว่า จะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ต่อไป ทำอย่างนี้ไปจนชินศีล ๕ ก็จะทรงตัว ขณะที่ศีลไม่ทรงตัว เพียงแต่ว่าในเวลาที่เราเจริญสมาธิ เราเคารพในศีลจริงๆ คิดว่าเราจะพยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่พยายามละเมิดศีลนั้นสมาธิเราทำได้ ทำสมาธิได้ แต่ว่าศีลเสื่อมหรือศีลขาดเมื่อไหร่ สมาธิก็พังเมื่อนั้น ถ้าวันนั้นใจเราสบาย ตั้งใจรักษาศีล สมาธิเราก็ทรงตัวใหม่ คือว่าฌานโลกีย์ นี่ศีลไม่ทรงตัว คือศีลไม่ทรงตัวก็สามารถทำสมาธิได้ แต่ว่าอารมณ์ไม่สม่ำเสมอกัน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]บุคคลตัวอย่าง[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าอยากให้อารมณ์สม่ำเสมอกันต้องพยายามคุมศีล ถ้าหากว่าเราไม่สามารถจะรักษาได้ตลอดวัน ก็ตั้งระยะเวลาสั้นๆ ไว้ เคยแนะนำเขาไว้หลายรายรู้สึกว่าได้ผล คือตั้งใจรักษาศีลตั้งแต่ ๖ โมงเช้า ถึง ๙ โมงเช้า ชั่วระยะเวลา ๓ ชั่วโมงนี้ เราจะไม่ยอมละเมิดศีลเด็ดขาด ถ้าอะไรมันจะเกิดขึ้นก็ตามเราจะพยายามระงับใจไว้ก่อน [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเขามาด่าหน้าบ้าน เราก็บอก [/FONT][FONT=&quot]“เดี๋ยวพอ ๓ โมงเช้าแล้วกูจะด่าให้ถนัด” พอเลย ๙ โมงเช้าแล้ว ด่าชดเชยเลย แต่ว่ายังไงๆ เราก็ระงับจิตได้แค่ ๓ ชั่วโมง แต่ไอ้ ๓ ชั่วโมงนี่เคยให้คนปฏิบัติมาหลายรายแล้ว ไม่ถึง ๓ เดือนเลย โยมสามารถรักษาศีลได้ครบถ้วน คนท้ายที่ตั้งกฎให้ท่านคือนายอำเภอสามเงา แต่ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ย้ายไปอยู่ที่ไหน เพราะท่านนิมนต์ไปเทศน์ที่เขื่อนยันฮี ท่านนิมนต์ไปเทศน์ <O></O>[/FONT]

    [FONT=&quot]ก็ถามท่านว่า [/FONT][FONT=&quot]“นายอำเภอรักษาศีล ๕ หรือเปล่า” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านบอกไม่ได้รักษา ก็เลยบอกท่านว่า [/FONT][FONT=&quot]“ถ้าคุณเป็นนายอำเภอรักษาศีล ๕ ไม่ได้ ไอ้คนทั้งอำเภอไม่มีความสุขหรอก” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านถาม [/FONT][FONT=&quot]“ทำไม” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เลยบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ก็คุณโกงเขา โกงเพราะอะไร เพราะถ้าเราไม่รักษาศีล ๕ จิตมันคิดประทุษร้ายเขาได้ ทำร้ายเขาอะไรก็ได้ทุกอย่าง” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แกก็บอก [/FONT][FONT=&quot]“มันรักษายากครับ” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เลยบอก [/FONT][FONT=&quot]“ลองวันละ ๓ ชั่วโมงได้ไหม” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แกนั่งนิ่ง เลยบอก [/FONT][FONT=&quot]“ฉันให้ลองวันละ ๓ ชั่วโมง ไม่ใช่ไปรักษาตอนหลับนะ เช่นตั้งใจสมาทานว่าชั่วเวลาหลับจะไม่ละเมิดศีล ๕ นี่ไม่ได้นะ” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แกถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“เท่าไหร่” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ตอบว่า [/FONT][FONT=&quot]“แค่ ๖ โมงเช้า ถึง ๙ โมง ท่านนายอำเภอกับคุณนายลองดู” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ภรรยาก็บอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ตอนเช้าลูกเจี๊ยวจ๊าว บางทีก็โมโหลูก” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ฉันบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“แค่โมโหลูกศีลมันยังไม่ขาด โมโหโทโสด่าลูก ตีลูก แต่ว่าศีลมันขาดเมื่อฆ่าลูกนี่ ใช่ไหม พ่อแม่ว่าลูก ด่าลูก ตีลูก เขาทำด้วยความรักไม่มีเจตนาร้าย นี่ศีลไม่เป็นอะไร” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สองตายายก็รับปาก ก็ให้เวลาท่าน ๓ เดือน บอก [/FONT][FONT=&quot]“ท่านลองทำสัก ๓ เดือน ศีลมันจะทรงตัว”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ปรากฏเวลาผ่านไป ๑ เดือนเศษๆ ตามปกติอาตมารับแขกบ่ายโมงเศษๆ เวลานั้นมันเที่ยง มันอยากออกรับแขก ก็เลยบอกพระว่าว่า [/FONT][FONT=&quot]“ฉันนะไปรับแขกนะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ออกไปพอดี นายอำเภอสามเงาหยุดรถพอดี แลเห็นเขาก็หยุดรถ เห็นเป็นนายอำเภอสามเงามา แกก็ลงมา กราบบนถนน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็บอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“นายอำเภอถนนมันร้อน นี่บนถนน” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่นายอำเภอก็บอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ไม่เป็นไรครับ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“มายังไง”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แกก็บอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ก็ก่อนจะมา ผมก็จุดธูปอยากจะพบหลวงพ่อ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าฉันไม่อยู่แกอยากจะมา ก็ไม่พบใช่ไหม ถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“มาทำไม”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แกบอก [/FONT][FONT=&quot]“ก็ไอ้ที่หลวงพ่อให้ผมให้เวลา ๓ เดือน เรียบร้อยแล้วครับ เดือนเศษๆ จิตมันทรงตัวได้ดี ศีล ๕ ครบถ้วน”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็ถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“ถ้าศีล ๕ ครบ ท่าสบายมากไหม”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แกตอบว่า [/FONT][FONT=&quot]“สบายมากครับ"<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]คือจิตมันเป็นสุขใช่ไหม ความวุ่นวายในใจไม่มี นี่วิธีรักษาศีล ๕[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ว่าตอนนี้มาพูดถึงการเจริญสมาธิในวันนี้ ก่อนที่จะเจริญสมาธิก็คือ ให้ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหมดตัดสินใจเวลานี้ ว่าเราจะทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไป แต่ถ้าหากว่าวันหน้าศีลไม่บริสุทธิ์ ก็ของธรรมดาถ้าเผลอก็หมายถึงเราไม่ยับยั้งใช่ไหม เรายังไม่เป็นพระโสดาบันเพียงใด มันเป็นญาณโลกีย์ มันก็ยังขึ้นๆ ลงๆ ถ้าท่านตัดสินใจว่าเราจะทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ด้วยความจริงใจ การเจริญสมาธิก็มีผล สมาธิจะเกิดขึ้นได้เพราะมีศีลเป็นเหตุ เพราะอาศัยศีลบริสุทธิ์จึงเกิดสมาธิ จึงเกิดปัญญาที่เรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“วิปัสสนาญาณ”[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก่อนหน้านี้ก็ขอให้บรรดาทุกท่านตั้งใจเลยว่า เราจะรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่บัดนี้ไปตลอดชีวิตเลย ตั้งใจไว้ตลอดชีวิตเลย ถ้ามันเผลอก็แก้ตัวใหม่ ทำเรื่อยไปไม่ช้ามันก็ชิน ถ้าตั้งใจอย่างนี้จริงๆ วันนี้สมาธิก็ได้ผล [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]และประการที่ ๒ ในการเจริญสมาธิวันนี้ ท่านเรียกวิชชาสามควบอภิญญา แล้วอภิญญาจริงๆ นี้มี ๕ เป็นอภิญญาโลกีย์ ถ้า ๖ นับ อาวักขยญาณ ด้วยเป็น ๖ สำหรับอภิญญานี้นำมา ๑ จาก ๕ ใช้แค่ ๑ นั่นคือ มโนมยิทธิ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การฝึกอันดับแรกจะเข้าถึงจุดของวิชชา ๓ ก่อน คือ ทิพจักขุญาณ และเมื่อเข้าทำจุดวิชชา ๓ แล้วเมื่อครูฝึกให้คำรับรองท่าน ตอนนั้นกำลังใจของท่านจะตั้งมั่น จิตจะจับเป็นฌาน ถ้าเคลื่อนไปได้ง่าย ความจริงวิชานี้เป็นเรื่องยากมากในสมัยก่อน พระบวชมาแล้วก็ธุดงค์กัน ๓๐ [/FONT][FONT=&quot]– ๔๐ ปี ก็ทำไม่ได้ ตายไปเสียเยอะ แต่ในก็เป็นช่วงของคนที่มีกำลังใจต่ำ แต่ว่าตอนนี้เป็นช่วงของคนที่มีกำลังใจสูงขึ้นตามลำดับ ในด้านของกุศล<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธพยากรณ์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]พระท่านพยากรณ์ว่า [/FONT][FONT=&quot]“ถ้าหลังกึ่งพุทธกาลไปแล้ว พุทธศาสนาจะรุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่ง” แต่ก่อนนี้ก็ทรุดตัวลงมาก แต่จากนี้ไปก็จะมีพระอริยเจ้ามากด้วยคล้ายสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีชีวิตอยู่ ตอนนี้ก็เกิดขึ้นมาแล้ว ก่อนนี้จะหาพระวิปัสสนาก็ไม่ได้ จะมีสอนก็สอนเงียบๆ ไปอื้อฉาวเหมือนสมัยนี้ คนเขาไม่นิยมเหมือนสมัยนี้ แสดงว่ากำลังใจไม่ถึง แต่เวลานี้กำลังใจคือกุศลเดิมของคนมีมาก <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การสอน มโนมยิทธิ นี่เป็นอภิญญา การสอนวิชชาสามจึงมีผล แต่ความจริงอภิญญาและวิชชาสาม อาตมาเคยสอนเมื่อปี ๒๕๐๘ ได้ประมาณ ๘๐ คน หลังจากนั้นประมาณ ๑๐ ปี ยังไม่ได้เลย เพิ่งจะมารื้อฟื้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วนี่ เพราะว่าตั้งใจจะเลิกเพราะสอนไม่มีผล[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]พระท่านก็มาเตือน ท่านบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“อีก ๒๐-๔๐ ปีข้างหน้า อภิญญาหกจะขึ้นอีกมาก เวลานี้ก็ต้องปูพื้นฐานเพื่ออภิญญาหก”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ฉันก็ถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“สอนมาตั้ง ๑๐ ปี ไม่มีใครได้ก็แย่เหมือนกัน ลูกศิษย์ก็แย่ อาจารย์ก็แย่”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านก็เลยบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“วิธีสอนแบบนี้มันยาก ยากสำหรับคนสมัยนี้ต้องใช้ของเดิม แต่เปลี่ยนวิธีการ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านก็เลยแนะนำให้สอนเป็นรายบุคคล อันดับแรกอาตมาก็สอน ๓ คน ไปได้ ๒ คน นี่ก็แสดงว่ามีผล นี่ก็เป็นอันว่าที่ท่านพยากรณ์ว่า [/FONT][FONT=&quot]“พุทธศาสนาหลังจากกึ่งพุทธกาล ก็จะรุ่งเรืองอีกวาระหนึ่ง”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่ก็เป็นความจริง เวลานี้คนที่มาฝึกส่วนใหญ่มาเพียงครั้งเดียวก็ได้ ๓ ครั้งก็ได้ ถ้าใครเกินกว่า ๓ ครั้ง ก็แสดงว่าเป็นประเภทไปลอง ประเภทลองดูอย่างนี้ไม่มีผลแน่ ก็แสดงว่า ถ้าตั้งใจจริงก็มีผลแน่นอน แสดงว่าความดีที่เคยสั่งสมมาในชาติก่อนๆ ดีพอ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทำไมถึงเลือกวิธีนี้มาสอน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้การเจริญสมาธิในวันนี้ก็[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอให้ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์[/FONT][FONT=&quot] ก็ขอพูดย่อๆ เดี๋ยวจะจำไม่ได้ เมื่อคืนนี้พูดยาวไป[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๒) [/FONT][FONT=&quot]เวลาภาวนา ก่อนการเจริญพระกรรมฐาน โดยมากเขาจะไม่บังคับวิธีภาวนา แต่การฝึกวิชชาสามและอภิญญานี้เขาจะบังคับให้ทำเฉพาะจุด วิธีฝึก มโนมยิทธิ ก็มีอยู่หลายสิบแบบ มีจริงๆ อาตมาก็สอนญาติโยมได้ ๔๐ อย่าง คือแบบปฏิบัติตั้ง ๔๐ แบบ แต่ใน ๔๐ แบบ แบบนี้เป็นวิธีที่มีประโยชน์มาก เพราะแบบอื่นทำก็ทำได้คนเดียว ไปได้เงียบๆ จะรู้จะเห็นอะไรได้เพียงคนเดียว คนข้างๆ ถามอะไรไม่ได้ ถ้าแบบนี้คนข้างๆ สามารถถามได้ว่าไปไหนมาบ้าง พบอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สงสัยว่า บิดา มารดา ญาติ ตายแล้วไปไหน คนที่ทำได้แล้วจะตอบได้ว่า คนที่ตายเป็นอะไรตาย ตายแล้วไปไหน จะบอกขึ้นเป็นภาพจากคนที่ถาม นี่เป็นประโยชน์ใหญ่[/FONT][FONT=&quot]<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]แต่อีกหลายๆ สิบแบบนี่นั่งเงียบไปคนเดียว แล้วก็ลืมตา แล้วก็ตอบ และไอ้คนที่นั่งข้างๆ ก็สงสัยมันพูดจริงหรือเปล่านะ ทดสอบไม่ได้ใช่ไหม แต่วิธีนี้ฝึกต่อกันไปได้เพื่อให้มีความชำนาญ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]คำภาวนา [/FONT][FONT=&quot]“นะมะพะธะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]อันดับแรก ก็ขอให้เพียงแต่ทำได้ก่อน แค่ทำไปก่อน ถ้าทำแบบนี้ทำโดยภาวนาว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะพะธะเวลาภาวนานี้ ขอให้ทำใจแบบสบายๆ อย่าเกร็งเกินไป อย่าทำตัวให้มันแน่น มันสนิท ทรงญาณเป๋ง อย่าไปทำอย่างนั้น<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]ประการที่ ๒ ขณะที่ภาวนาน่ะ เอาใจจับที่คำภาวนา และก็ลมหายใจเข้าออกด้วย[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลาหายใจเจ้าภาวนาว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะ” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลาหายใจออกภาวนาว่า [/FONT][FONT=&quot]“พะธะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]คำภาวนาก็ได้แก่ [/FONT][FONT=&quot]“นะมะพะธะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ว่าที่ให้แบ่งเป็น ๒ คำต่อช่วง ก็จะได้ไม่เลย ถ้าเราไปว่ารวดเลย มันก็ไม่มีผล ถ้าหายใจเข้าว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะ” หายใจออกว่า “พะธะ” ทำใจสบายๆ อย่าเคร่งเครียดเกินไป และในขณะเดียวกัน ขณะที่ภาวนาจิตจะต้องไม่อยากเห็นอะไรเลย จิตไม่นึกอยากไปไหนทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอยากให้จิตทรงตัวที่เรียกว่า “สมาธิ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สมาธิ[/FONT][FONT=&quot] ก็คือ ความทรงตัวของจิต ให้จิตมันรับรู้ลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนาเท่านั้น แต่มันเรื่องธรรมดาที่จิตมันฟุ้งซ่าน ขณะที่จับลมหายใจเข้าออกอยู่กับคำภาวนาอยู่ ก็อาจจะคิดอะไรแทรกไปก็ได้ ก็เป็นของธรรมดา แต่ในเมื่อคิดอารมณ์อื่นแทรกเข้ามาก็กลับตั้งต้นใหม่ เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกสลับกับคำภาวนาไปใหม่กันตามนี้ และการทรงอารมณ์ระดับต้นนี้ไม่ถึงฌานสมาบัติ ท่านใช้คำว่า [/FONT][FONT=&quot]“อุปจารสมาธิ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]คำว่า [/FONT][FONT=&quot]“อุปจารสมาธิ” นี่หมายถึงสมาธิปานกลาง ทำใจสบายๆ แต่ระยะที่ท่านมาฝึกใหม่ อารมณ์ใจจะรักษาจิตให้เป็นสุขจริงๆ มันก็ไม่ได้ ก็เป็นธรรมดา อันนี้ไม่ได้ตำหนิเพราะเป็นของใหม่<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]พิจารณาวิปัสสนาญาณให้เห็นทุกข์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]และขณะที่ภาวนาไปตามนั้น หรือก่อนที่จะภาวนาตั้งแต่ระยะนี้เป็นต้นไป ก่อนภาวนา ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทตั้งใจว่า ชีวิตนี้มันมีความตายเป็นที่สุด แล้วก็มานั่งมองความจริงว่า เราเกิดมาแล้วมันสุขหรือทุกข์ มันเป็นทุกข์จริงไหม อันนี้ต้องใช้ปัญญา อย่างนี้เขาเรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“วิปัสสนาญาณ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การทรงชีวิตของเรานี้ ถ้าสักวันหนึ่งเราจะไม่ดื่ม ไม่รับประทานอาหารเลยจะได้ไหม วันหนึ่งเราต้องรับประทานอาหาร เราต้องดื่มน้ำ เพราะถ้าเราไม่กิน เราก็เป็นทุกข์ใช่ไหม ทีนี้ก่อนจะกินเราต้องหา ถ้าไม่หาก็ไม่มีกิน การแสวงหาทรัพย์สินก็ต้องใช้กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา กว่าจะได้เงินแต่ละบาท ก็ต้องใช้กำลังแรงกายมาก ก็ต้องคิดว่าความเหน็ดเหนื่อยนี่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความหิว ความกระหายก็เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์ ทุกข์หรือสุขโยม ความแก่เป็นสุขหรือทุกข์ล่ะโยม ทุกข์แล้วแก่ทำไม ความจริงเรารู้ว่ามันทุกข์ แต่หนีมันไม่ได้ใช่ไหม เราเกิดมาเราไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย ไม่อยากพลัดพรากจากของรักของชอบใจ แต่เราก็ทำไม่ได้[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่ห้ามไม่ได้เพราะเป็นกฎธรรมดาของความแก่ แก่ลงทุกวัน จากเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แก่ขึ้น จะเห็นว่าถ้าเราเจอะกับเด็กอายุ ๔ ขวบกับ ๑๐ ขวบ เด็ก ๑๐ ขวบก็บอกว่า ฉันแก่กว่าเธอหลายปีนะ แต่ความรู้สึกเหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น แต่เราเดินไปหาความตาย มันเป็นความจริงของชีวิต[/FONT][FONT=&quot]<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]ไอ้ความแก่เราไม่อยากแก่ มันก็แก่ เราไม่อยากป่วยไข้ไม่สบาย มันก็ไม่สบาย ป่วยก็เป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ไอ้ของที่เรารัก คนที่เรารัก ก็ต้องพลัดพรากจากกันมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันทุกข์ใช่ไหม ถ้าเราไม่อยากจากกัน มันก็ต้องจากกันใช่ไหม ถ้าคนจะตายขึ้นมาจริง มันจะห้ามไม่ให้ตายก็ไม่ได้ใช่ไหม แม้แต่ตัวเราจะตายห้ามไม่ให้ตายก็ห้ามไม่ได้ ถ้าเราจะตายมันก็ต้องตายนี่เป็นกฎธรรมดา ในที่สุดเมื่อเราไม่อยากจะตายมันก็ต้องตาย เราคิดว่าชีวิตคือการเกิดและเป็นทุกข์ [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]อบายภูมิ ๔[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เราเป็นคนนี้ดีกว่าเป็นสัตว์ในอบายภูมิเยอะ สัตว์ในอบายภูมิมี[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๑) [/FONT][FONT=&quot]สัตว์นรก[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๒) [/FONT][FONT=&quot]เปรต[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๓) [/FONT][FONT=&quot]อสุรกาย[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๔) [/FONT][FONT=&quot]สัตว์เดรัจฉาน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งหมดนี้เขาเป็นทุกข์มากกว่าเรา แต่เราเป็นคนมีความปรารถนาสมหวังมากกว่าเขา อยากได้ร้อนก็กินร้อนได้ อยากได้หวานก็กินหวานได้ อยากได้เปรี้ยวก็กินเปรี้ยวได้ อยากได้เค็มก็กินเค็มได้ แต่เรายังไม่คลายความแก่ ความป่วย ความตาย [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่เมื่อเกิดเป็นคนมันทุกข์ ถ้าเราไปเกิดเป็นเทวดา หรือพรหม มันก็เป็นสุขชั่วคราว หมดวาสนาบารมีแล้วมาเกิดเป็นคน ดีไม่ดีก็จะลงนรกไป มันก็กลับมามีความทุกข์อีก จุดที่จะพ้นทุกข์จริงๆ ก็คือ พระนิพพาน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ฉะนั้น ก่อนที่ญาติโยมพุทธบริษัท ก่อนที่จะภาวนาเวลานี้เลยนะ ตัดสินใจเลยว่า[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๑) [/FONT][FONT=&quot]เราตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตลอดชีวิต[/FONT][FONT=&quot] บอกแล้วว่าบางครั้งมันอาจจะเผลอ ถ้าเผลอก็ให้ตั้งใจใหม่ และถ้าเผลอใหม่อีก ก็ตั้งใจใหม่อีกในไม่ช้าก็จะชิน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot](๒) [/FONT][FONT=&quot]ให้ตัดสินใจว่า ถ้าเราจะตายใจชาตินี้เราไม่ต้องการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม จุดที่เราต้องการจริงๆ คือนิพพาน [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ตั้งอารมณ์ไว้อย่างนี้ถามว่าไปได้ไหม ถ้าคนตั้งอารมณ์ไว้จริงๆ ประเดี๋ยวก็พบพระนิพพานใช่ไหม ถ้าหากว่าทรงอารมณ์ได้จริงๆ ประเดี๋ยวก็พบ ถ้าหากว่าพบพระนิพพานจริงๆ และท่านรักพระนิพพาน ตายแล้วก็ไปนิพพาน เป็นอันว่าในตอนต้น ขอญาติโยมทุกคนตัดสินใจว่า[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เราจะขอทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]และประการที่ ๒ ถ้าชีวิตเราจะต้องตายเวลานี้ เราจะไม่ขอเกิดเป็นมนุษย์อีก ไม่เกิดเป็นเทวดา ไม่เกิดเป็นพรหม ต้องการจุดเดียวคือพระนิพพาน[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ประเดี๋ยวสักครู่จะให้สมาทาน พอสมาทานเสร็จก็จะหยุดให้โยมภาวนาสัก ๑๐ นาทีเศษๆ การภาวนาให้ภาวนาว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะพะธะ” ตามที่บอกไว้ เวลาหายใจเข้าภาวนาว่า “นะมะ” เวลาหายใจออกภาวนาว่า “พะธะ” <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ว่าการรับรู้ลมหายใจเข้าออกนี่ อย่าไปบังคับลมนะ ทำแบบสบายๆ อย่าไปดึงลมให้มันแรงหรือมันเบา ดีไม่ดีจะหอบเอา ปล่อยลมหายใจให้สบายๆ และเอาจิตไปรับทราบว่า[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลานี้หายใจเข้าก็นึกว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลานี้หายใจออกก็นึกว่า [/FONT][FONT=&quot]“พะธะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ความหมายของคำว่า [/FONT][FONT=&quot]“ทิพจักขุญาณ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้มีอีกจุดหนึ่งคือ คำว่า [/FONT][FONT=&quot]“ทิพจักขุญาณ” หรือ “มโนมยิทธิ” คำว่า “ทิพจักขุญาณ” นี่ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์นะ คำว่า “ญาณ” นี่แปลว่า รู้ ถ้าแปลตามศัพท์ก็แปลว่า มีความรู้สึกทางจิตคล้ายตาทิพย์ หรือ มีความรู้สึกถูกต้อตรงความเป็นจริงเหมือนตาเห็น ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์<O>[/FONT]

    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]ถ้าจิตของโยมดี ความรู้สึกที่เห็นจะเป็นภาพจริง ถ้าจิตบริสุทธิ์มาก ความสว่างของจิตก็มาก เห็นภาพชัดมาก [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้ในตอนต้น ความบริสุทธิ์ของจิตมีน้อย เพราะว่าการทรงจิตรักษาศีลยังไม่ทรงตัวนัก วิปัสสนาญาณตัดสินใจไม่เด็ดขาด มันก็เกิดความรู้สึกทางจิต รับสัมผัสทางจิต อย่างครูผู้แนะนำ เขาจะได้แนะนำให้ท่านพิจารณาขันธ์ ๕ ตัดขันธ์ ๕ อะไรก็ตามและถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“เวลานี้มีความรู้สึกเห็นพระพุทธเจ้าไหม” ตอนนี้ถ้าโยมฟังแล้วก็ตอบตามความรู้สึกอันดับแรก ถ้าความรู้สึกอันดับแรกบอกว่าเห็น ก็เห็นเลย การเห็นแบบนี้เป็นความรู้สึกทางจิต <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเขาถามว่า [/FONT][FONT=&quot]“พระพุทธเจ้าทรงสีอะไร” ถ้าจิตบอกว่าขาวก็ขาว เขียวก็เขียว อย่าถามคนอื่น ถ้าแดงก็แดง เขาให้ตอบตามความรู้สึกเดิม นี่อารมณ์แรกของจิตเขาเรียกว่า ทิพจักขุญาณ เป็นทิพจักขุญาณอย่างอ่อน ถ้ากำลังจิตเป็นสมาธิดี แล้วถ้าอารมณ์ของญาติโยมตัดได้เด็ดขาด ไม่ห่วง คิดว่าถ้าชาตินี้ตายแล้วเลิกกัน ความเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม ต้องการจุดเดียวคือนิพพาน เมื่อตัดได้แล้วอารมณ์จะแจ่มใส ความรู้สึกที่พูดเมื่อกี้จะชัด มันจะเห็นเป็นภาพ<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ากำลังจิตเป็นญาณโลกีย์ มันก็มืดๆ มัวๆ คล้ายเห็นคนเวลาดินฟ้าอากาศหลัวๆ เห็นได้แต่มองภาพไม่ชัด แต่ถ้าจิตในตอนนั้นมันเทียบเท่ากับพระโสดาบัน พระสกิทาคามี อารมณ์ละเอียดพอจะเห็นชัดเจนแจ่มใสมาก ไม่ใช่เห็นทางลูกตา แต่เห็นทางจิตชัดเจนมาก แล้วก็เคลื่อนไปตามภพต่างๆ ได้ ก็ให้เข้าใจตามนี้นะ ประเดี๋ยวเขาถามว่า เห็นอะไรมั่ง เอาตาไปมอง มองไปมองมาเห็นใหญ่เลย เห็นอะไรเห็นเสื่อแย่เลยนะ เตรียมตัวจุดธูปเทียน ประเดี๋ยวควันเข้าตากันยุ่ง เออ ปฏิบัติเสร็จแล้วก็เอาธูปเอาเทียน กลับไปที่บ้าน บูชาพระที่บ้าน [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อไปนี้เตรียมตัวนะโยม (หลวงพ่อนำสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐาน) ต่อไปก็ขอบรรดาญาติโยมทุกท่าน ตั้งใจภาวนานะ [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]หายใจเข้าก็นึกว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]หายใจออกก็นึกว่า [/FONT][FONT=&quot]“พะธะ”<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สำหรับการนั่ง จะนั่งพับเพียบก็ได้ ขัดสมาธิก็ได้ ตามอัธยาศัย ถ้านั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ ถ้าเผื่อมันเมื่อย จะเปลี่ยนอิริยาบถก็ได้ไม่ห้ามนะ ต่อไปนี้ขอให้ท่านภาวนาประมาณสัก ๑๐ นาที หลังจากนั้นแล้วก็ครูผู้สอนก็จะเข้าไปแนะนำท่านถึงตัวท่านเองนะ เริ่มภาวนาได้นะโยม สวัสดี<O></O>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2010
  2. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    วันนี้ได้ฟังธรรมเพิ่มเติมแล้ว การรู้เห็นเป็นผลที่ได้จากสมาธิไม่ว่าจะปฏิบัติอะไร ยังไง ก็จะเห็นได้ตามบุญที่สั่งสมมาก่อน
     
  3. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p

    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2010
  4. chai2525

    chai2525 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +318
    อนุโมทนา สาธุ ครับ

    ผมจะฝึกให้ได้ในชาตินี้ ไปนิพพานให้ได้ครับ
     
  5. kylethai

    kylethai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +168
    อิ่มบุญ อิ่มใจจังครับ อ่านธรรมของหลวงพ่อแล้วรู้สึกเหมือนหลวงพ่ออยู่ใกล้ๆเราตลอดเวลา อนุโมทนาสาธุนะครับ
     
  6. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ

    ____________________________

    สุขใดเหมือนแม้นการไม่เกิดไม่มี

    จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...