คำสอนที่สายลม ปี ๒๕๓๑ ตอนที่ ๓ ๔ ม.ค. ๓๑ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย uncle jing, 8 เมษายน 2010.

  1. uncle jing

    uncle jing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +219
    [FONT=&quot]คำสอนที่สายลม ปี ๒๕๓๑ ตอนที่ ๓ ๔ ม.ค. ๓๑ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่มา หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๔๘ มีนาคม ๒๕๕๓[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]วันนี้เป็นวันสุดท้ายในการเจริญพระกรรมฐานในงวดนี้ สำหรับ ๒ วันที่ผ่านมาดูเหมือนว่าวิปัสสนาญาณจะหนักไปหน่อย เมื่อสองวันที่ผ่านมาแนะนำในด้านวิปัสสนาญาณรู้สึกจะหนักไปนิดหนึ่ง แต่ให้มีความเข้าใจว่าวิปัสสนาญาณคืออะไร ความจริงวิปัสสนาญาณนี้ไม่ใช่ของหนัก ถ้าใช้ภาษาบาลีรู้สึกว่าหนักมาก ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่หนัก[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ญาณเขาแปลว่ารู้[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิปัสสนาแปลว่าเห็น[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]คือมีความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงหรือยอมรับนับถือความเป็นจริงนั่นเอง[/FONT][FONT=&quot] ใช้ปัญญายอมรับนับถือ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเกิดมีสภาพไม่เที่ยง เมื่อเกิดเป็นเด็กเล็ก ต่อไปก็ค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อยมาเป็นเด็กใหญ่ จากเด็กใหญ่ก็เปลี่ยนมาเป็นหนุ่มสาว จากความเป็นหนุ่มสาวก็เป็นวัยกลางคน จากวัยกลางคนก็มาเป็นคนแก่ จากแก่ก็ตาย จากตายก็เป็นผี [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ก็รวมความว่าสภาพของความเกิดในโลกนี้มันไม่เที่ยง ท่านบอกว่าโลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คำว่าโลกนี่แผ่นดินก็โลก ต้นไม้หรือบ้านเรือนก็โลก คนก็โลก สัตว์ก็โลก รวมความว่าทั้งตัวโลกและสมบัติของโลกมีสภาพไม่เที่ยงเหมือนกัน[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าต้องมาสอนก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง เพราะเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็มีความรู้สึกว่าเราจะไม่เปลี่ยนแปลง ตอนเป็นเด็กเล็กก็อยากเป็นเด็กโต ก็ได้เป็นสมความปรารถนา เมื่อเป็นเด็กใหญ่แล้วก็อยากเป็นหนุ่มเป็นสาวก็เป็นได้สมความปรารถนา[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]พอถึงความเป็นหนุ่มสาวก็ไม่อยากแก่ เมื่อไม่อยากแก่ ถ้าความแก่เข้ามาเราก็ฝืนไม่ได้ ก็รวมความว่าโลกไม่มีการทรงตัวตามใจเราชอบ [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนด้านวิปัสสนาญาณ คือยอมรับนับถือความเป็นจริง ให้มีความเข้าใจว่าโลกไม่เที่ยง คือร่างกายเราไม่เที่ยง วัตถุธาตุต่างๆ ก็มีสภาพไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วก็มีการแตกสลายในที่สุด[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจิตยอมรับความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็มองเห็นความทุกข์ของโลกว่า การเกิดในโลกมันเต็มไปด้วยความทุกข์หรือความไม่เที่ยงของมัน ถ้าเราจะเกิดอีกกี่ครั้งสภาพความไม่เที่ยงก็คงอยู่ ก็มีความทุกข์ต่อไป[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่าแดนที่มีความเที่ยงมันมี นั่นคือพระนิพพาน [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]มนุษย์โลกไม่เที่ยง เทวโลกกับพรหมโลกก็ไม่เที่ยง แต่แดนที่คนมีความเที่ยงมีคือนิพพาน จึงแนะนำให้ทุกคนปฏิบัติตนเพื่อพระนิพพาน การปฏิบัติเพื่อพระนิพพานนี่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ ที่เราเรียกว่าธรรมขันธ์นี่ คือพระสูตรอันหนึ่งก็ดี ชาดกเรื่องหนึ่งก็ดี หรือว่าธรรมะตอนใดตอนหนึ่งที่กล่าวแล้วจบ จะสั้นจะยาวก็ตาม ก็ถือเป็นธรรมขันธ์กองหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ขันธ์แปลว่ากอง คือกองธรรมกองหนึ่ง ในคำสอนพระพุทธเจ้าทุกกองหรือทุกธรรมขันธ์ หรือทุกตอนที่สอนไว้น่ะมีผลถึงนิพพานทั้งหมด[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าท่านสอนมากก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทมีกำลังใจไม่เสมอกัน บางคนชอบลีลาแบบนี้ บางคนชอบลีลาแบบนั้น ถ้าสอนแบบเดียวถูกใจใคร คนนั้นก็บรรลุมรรคผล ถ้าบังเอิญบุคคลใดที่ไม่ถูกใจก็ไม่ได้บรรลุมรรคผล ฉะนั้นในฐานะที่องค์สมเด็จพระทศพลเป็นพระสัพพัญญู จึงสอนไว้มาก[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]วันนี้ก็จะแนะนำเรื่องกรรมฐานที่ปฏิบัติง่ายๆ จริงๆ มีอยู่ ๑๐ อย่างที่ท่านเรียกว่าอนุสสติ แต่วันนี้จะพูดครบสิบหรือไม่ครบก็ไม่ทราบเพราะมันเหนื่อยๆ ถ้าไม่ครบก็ขออภัยด้วย คือคำว่า อนุสสตินี่แปลว่าตามนึกถึง คือไม่ต้องใช้กำลังมาก ไม่ต้องเคร่งเครียดกับอาการที่ทำสมาธินั่งตรงเกินไป เราจะทำอย่างนั้นได้แต่ว่าพอเวลาสมควรเราก็เลิก แล้วต่อไปหลังจากนั้นหรือจะไม่นั่งอย่างนั้นเลยก็ได้ ถ้าจิตทรงอยู่ ตั้งเวลาการนึก[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]อนุสสติแปลว่าตามนึกถึง ถ้านึกถึงอนุสสติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ อย่างนี้ ให้เลือกเอาตามชอบใจ เวลานี้อาจจะชอบอย่างนี้ เวลานั้นอาจชอบอย่างนั้น เวลาโน้นอาจจะชอบอีกอย่างหนึ่งก็ไม่เป็นไร ก็ถือว่าถ้าใจยังนึกถึงอนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี่อย่างใดอย่างหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]อันดับแรกก็ถือว่าเป็นมหากุศลใหญ่ ในระยะต้นๆ อย่างอ่อนๆ นี่ถือเป็นมหากุศลใหญ่ ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท นึกถึงอนุสสติ ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง จิตจะมีกำลังแค่ขณิกสมาธิ คำว่าขณิกสมาธิ แปลว่าสมาธิเล็กน้อย คือนึกได้ครึ่งนาทีบ้าง หนึ่งนาทีบ้าง เป็นอย่างมาก จิตก็เผลอไปคิดเรื่องอื่นเข้ามาแทน พอรู้สึกตัวก็คว้ามาใหม่ นึกได้นาที สองนาทีบ้าง ครึ่งนาทีบ้างก็เผลอใหม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่าขณิกสมาธิ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]เพียงกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทนึกอยู่แต่ละครั้ง เพียงแค่ขณิกสมาธิ อย่างนี้ท่านเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นกามาวจรได้ แต่ว่าอยู่ตามเขตของสมาธิที่มีกำลังต่ำ ก็รวมความว่าเราเกิดเป็นเทวดานางฟ้าได้ก็แล้วกัน
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทนึกถึงอนุสสติ ๑๐ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ากำลังใจบางขณะทรงได้ถึง อุปจารสมาธิ คำว่า อุปจารสมาธิ แปลว่าสมาธิเฉียดฌาน ยังไม่ถึงฌานสมาบัติ ใกล้ฌาน แต่จิตเป็นสุข อารมณ์ที่เราจะคิดว่าขณะไหนจิตเป็นอุปจารสมาธิก็อาจจะสังเกตได้สัก ๒ อย่าง คือ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๑ มีกำลังใจชุ่มชื่นเอิบอิ่ม พอใจในการนึกถึง[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๒ บางคนอาจจะมีภาพบางอย่างเกิดขึ้น บางทีก็เป็นสีเขียว สีขาว สีแดง ลอยอยู่ข้างหน้าบ้าง จางๆ ไม่ชัดเจนนัก[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพึงทราบว่า เวลานั้นจิตของท่านอยู่ในขั้นของ อุปจารสมาธิ แต่การทรงสมาธิขั้นอุปจารสมาธิก็ไม่นานนัก บางครั้งก็ได้สัก ๑ นาทีแล้วก็หายไปแล้ว บางทีอย่างเก่งก็ ๒ นาที ๓ นาที นี่เอาอย่างสั้นๆ นะ และเอาน้อยๆ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าทรงได้ขณะนี้ท่านบอกว่าถ้าตายจากความเป็นคนเลือกเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าในสวรรค์ชั้นกามาวจรได้ตามใจ แต่ว่ามีสิทธิ์ได้สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ชั้นไหนก็ได้ นี่สำหรับตำราท่านบอกนะ
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ากำลังใจท่านพุทธบริษัทบางครั้งเป็นฌาน ความจริงเมื่อสองวันก็หนักวิปัสสนาญาณ วันนี้ก็หนักสมถะอีกแล้ว ถ้าคำว่าญาณฟังแล้วก็หนักใจว่าเมื่อไรเราจะได้ญาณ ก็ต้องอธิบายนิดหนึ่ง คำว่าญาณนี่คืออารมณ์ชิน อารมณ์ชินทรงตัว ถึงเวลาก็อยากทำ แต่การที่ปฏิบัติอย่างนี้ อารมณ์จิตเป็นสุข เราอยากทำ
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อขณะที่ทำอยู่ ขณะใดก็ตามสมมุติว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทนั่งกรรมฐานสัก ๓๐ นาทีที่บ้าน ในระยะเวลา ๓๐ นาทีนี้มันอาจจะมีนาทีใดนาทีหนึ่งก็ได้หรือสองนาทีก็ได้ ขณะนั้นบังเอิญหูได้ยินเสียงข้างนอกชัดเจนแจ่มใสมาก เขาด่ากันก็รู้ เขาว่ากันก็รู้ เขาชมกันก็รู้ เขาร้องรำทำเพลงก็ทราบ ได้ยินชัดเจนแจ่มในทุกอย่าง แต่ทว่าจิตใจเกิดไม่รำคาญในเสียง เฉพาะเวลานั้นจิตใจภาวนาและพิจารณาได้แบบสบายๆ เสียงได้ยินแต่ว่าไม่รำคาญ อย่างนี้ท่านถือว่าเวลานั้นใจของท่านเข้าถึง ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑ คือหูไม่รำคาญในเสียง[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ต่อไปก็เป็นฌานที่ ๒ เอาแค่ฌานที่ ๒ ก็พอนะ ถ้าเป็นฌานที่ ๒ อันนี้ก็เผื่อว่าบางทีบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจะเข้าถึง บางที่จะตกใจ แต่ขอพูดเรื่องฌานก่อน[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ ต้องจำให้ดีนะ ฌานที่ ๑ มีคุณสมบัติที่ประกอบกัน ๕ อย่าง ท่านเรียกว่าองค์ ๕ คือ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๑ วิตก คือนึก[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๒ วิจาร คือใคร่ครวญ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๓ ปีติ คือความอิ่มใจ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๔ สุข คือความสุขกายสบายใจ มันสุขมากกว่าปกติ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]๕ เอกัคคตา คือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]คำว่าอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่พูดแล้วเมื่อกี้นี้ว่า พอได้ยินเสียงชัดเจนดีมาก ใครจะพูดอะไรก็รู้เรื่อง แต่ไม่รำคาญในเสียง จิตตั้งมั่นในคำภาวนาหรือพิจารณาคือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง อย่างนี้ท่านเรียกว่าปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แต่พอจิตเข้าถึงฌานที่ ๒ ตอนนี้สิบรรดาท่านญาติโยมพุทธบริษัท บางทีก็ตกใจกัน เพราะว่าฌานที่ ๒ นี่มีองค์ ๓ คือ ตัดวิตกกับวิจารทิ้งไป เราไม่ต้องไปตัด เขาตัดเขาเอง วิตกวิจารสลายตัวไป เหลือแต่ปีติคือความอิ่มใจ สุขคือความสุข และเอกัคคตาคือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]พอจิตเข้าถึงฌานที่ ๒ จิตบะมีความสุขมาก มีความอิ่มเอิบมาก แต่ว่าเวลานั้นคำภาวนาหายไป คำภาวนานี่จะหยุดไปเอง[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิตก[/FONT][FONT=&quot] นี่คือนึกว่าจะภาวนา[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิจาร[/FONT][FONT=&quot] ก็หมายความว่ารู้อยู่ ใคร่ครวญอยู่ว่าคำภาวนานี้ถูกหรือไม่ถูก[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีนี้วิตกกับวิจาร ทั้ง ๒ อย่างนี้คือคำภาวนาหายไป จะหยุดภาวนาเฉยๆ แต่ว่าจิตมีความชุ่มชื่นดีกว่าปฐมฌานมาก มีความสุขมาก อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๒ [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นไปถึง ฌานที่ ๔ อันนี้ไม่มีคำภาวนา ขณะใดถ้ายังมีคำภาวนาอยู่ ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทพึงรู้ว่าเวลานั้นจิตของเรายังไม่ถึงฌานที่ ๒ ถ้าถึงฌานที่ ๒ เป็นต้นไปจะไม่มีคำภาวนา แต่ว่าคำภาวนานี้ต้องขึ้นต้นภาวนาเหมือนกัน เขาจะตัดเองด้วยกำลังของสมาธิ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ต่อไปจะแนะนำเรื่องอนุสสติ แปลว่าการตามนึกถึง [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]อนุสสติที่ ๑ คือ พุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้า หรือนึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ธัมมานุสสติ นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT][FONT=&quot]ตอนใดตอนหนึ่งที่เราชอบ ได้ยินคนเขาพูด ได้ยินพระเทศน์ พระพูดให้ฟัง ใครก็ตามหรืออ่านหนังสือ แล้วชอบใจตอนไหน นึกถึงธรรมตอนนั้นเป็นธัมมานุสสติ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แล้วก็สังฆานุสสตินึกถึงพระอริยสงฆ์ [/FONT][FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แล้วต่อไปสีลานุสสติ นึกถึงศีลที่เคยรักษา คือระวังศีล[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]แล้วก็จาคานุสสติ นึกถึงทานการบริจาค เราเคยให้ทานแก่ใครบ้าง ให้ทานแก่คน ให้ทานแก่สัตว์ก็ตาม นึกถึงทานเพลิดเพลินในทาน นึกแค่อารมณ์เพลิดเพลินในทาน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แล้วก็เทวตานุสสติ นึกถึงเทวดา ถ้าผู้หญิงนึกถึงเทวดา ผู้ชายนึกถึงนางฟ้าละมั้ง คำว่าเทวตานุสสติ ไม่ใช่นึกถึงตัวเทวดานะ นึกถึงตัวเทวดาหรือนางฟ้าก็ได้ แต่ต้องนึกเลยไปกว่านั้นนิดหนึ่ง ต้องคิดว่าเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี เดิมทีเป็นคนเหมือนเรา เมื่อท่านตายจากคนแล้วก็เป็นเทวดากับนางฟ้า ก็ต้องดูคุณธรรมว่าคนที่เป็นเทวดากับนางฟ้าน่ะเป็นได้เพราะว่าอะไร[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ก็ดูตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงทราบว่าคนที่จะเป็นเทวดากับนางฟ้าได้ต้องมีคุณธรรม ๒ อย่าง คือ หิริกับโอตตัปปะ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]หิริ[/FONT][FONT=&quot] คือความละอายต่อความชั่ว[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]โอตตัปปะ[/FONT][FONT=&quot] เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้ผลเป็นทุกข์[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ในเมื่อใช้เทวตานุสสติก็นึกว่าในเมื่อท่านเป็นเทวดาได้ ท่านเป็นนางฟ้าได้ ท่านมีร่างกายเป็นทิพย์ ท่านมีที่อยู่เป็นทิพย์ ท่านมีอารมณ์เป็นทิพย์ ความเป็นทิพย์ของท่านปราถนาอย่างใดก็ได้สมความปรารถนา เราต้องการเป็นเทวดาบ้าง เป็นนางฟ้าบ้าง[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]สมมุติว่าถ้าเราต้องการไปนิพพาน ถ้ายังไปนิพพานไม่ได้เพียงใด เราขอพักที่แดนของเทวดาหรือนางฟ้า และการที่พักอยู่ที่นี่ได้เราก็ต้องอาศัยคุณธรรม ๒ ประการคือ หิริและโอตตัปปะ จิตใจนึกว่าความชั่วเราจะไม่ทำ อายความชั่วทั้งที่ลับและที่แจ้งและเกรงกลัวผลของความชั่วที่จะให้ผล เป็นทุกข์ ถ้าใหม่ๆ ก็อดเผลอไม่ได้ เป็นของธรรมดา ถ้าทำจนชินก็ใช้ได้[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ต่อไปก็เป็นมรณานุสสติ คือนึกถึงความตาย ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจงอย่าคิดว่าความตายจะเข้าถึงเราในวันพรุ่งนี้ ให้มีความรู้สึกว่าเราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ทรงความดีไว้[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ต่อไปก็คือกายคตานุสสติ ตัวนี้สำคัญมากนะ มรณานุสสตินี่เป็นพื้นฐานของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี อย่าลืมนะว่าอนุสสตินี่ไม่ใช่เรื่องเบานะ หนักมาก อย่างมรณานุสสตินึกถึงความตายเป็นอารมณ์นี่เป็นพื้นฐานให้เป็นพระโสดาบันและพระสกิทาคามี[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ต่อไปก็เป็นกายคตานุสสติ คือนึกถึงร่างกาย คือร่างกายไม่มีสภาพทรงตัว มีอาการ ๓๒ มี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ อย่างนี้ไม่มีการทรงตัว มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น ถ้าเกิดในเบื้องต้นแล้วเสื่อมลงในท่ามกลาง ตัวนี้เป็นวิปัสสนาญาณนะ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้านึกถึงว่าร่างกายเป็นอาการ ๓๒ นี่เป็นสมถภาวนา[/FONT][FONT=&quot] ถ้าคิดว่าร่างกายนี่มันไม่เที่ยงมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วมีการแตกสลายในที่สุด อย่างนี้เป็นวิปัสสนาญาณ ต้องควบกัน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]กายคตานุสสตินี่เป็นพื้นฐานของพระอนาคามีและพระอรหันต์[/FONT][FONT=&quot] คนที่จะเป็นพระอนาคามีได้ก็ดี จะเป็นพระอรหันต์ได้ก็ดี ต้องชำนาญและคล่องในกายคตานุสสติ คือต้องรู้ความจริงว่าร่างกายไม่มีการทรงตัว ไม่ใช่แท่งทึบอันเดียว มันมีอาการทั้ง ๓๒ อย่างเข้าร่วมกัน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ร่างกายนี้มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวในที่สุด[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ในอันดับแรก เราจะทราบว่าความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากร่างกาย ถ้าไม่มีร่างกายก็ไม่มีทุกข์ ในตอนต้นพิจารณาไปจะเกิดนิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี่จะเกิดเบื่อหน่ายในร่างกายของตนเอง เอาร่างกายเรานะ ร่างกายคนอื่นช่างเขา ถ้าความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น อันนี้เป็นปัจจัยให้ได้พระอนาคามี
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อไปเมื่อเบื่อไปเบื่อมา เบื่อมาเบื่อไป เบื่อถึงที่สุดเกิดวางเฉยในร่างกาย คิดว่าจะเบื่อมันขนาดไหนก็ตาม ร่างกายก็ทรงสภาพแบบนี้ มันแก่ทุกวัน ขณะที่ยังไม่สิ้นลมปราณมันก็ป่วย ในก็หิว ในที่สุดอันก็ตาย[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ในเมื่อสภาพมันเป็นอย่างนี้ เราคิดไปจะเบื่อไปก็เรียกว่าไม่มีทางที่จะหนีมันพ้น ในขณะที่เรายังอยู่ในร่างกาย ในที่สุดเราก็ว่าเฉย ก็ถือว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา คำว่าร่างกายหมายถึงธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]คำว่าเรา ตามภาษาหนังสือท่านเรียกว่า จิต แต่ว่าถ้าภาษาปฏิบัติเขาเรียกว่า อทิสมานกาย มันเป็นกายอีกกายหนึ่งที่สิงอยู่ในกายเนื้อ เพราะกายตัวนี้ที่เข้ามาปฏิสนธิ กายเนื้อจึงเกิด แต่ในเมื่อเราตายไป ท่านบอกว่าถ้าตายดีก็ไปสวรรค์ เลวก็ไปนรก แต่ไอ้กายเนื้อนี่มันไม่ได้ไปด้วย มันจมอยู่กับพื้นแผ่นดิน เขาเผาบ้าง เขาฝังบ้าง เขาโยนทิ้งแม่น้ำไปบ้าง ไม่ได้ไปสวรรค์นรกด้วย เราเท่านั้นที่เป็นผู้ไป[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]คำว่าเรา ตามภาษาหนังสือท่านเรียกว่า จิต แต่ว่าถ้าภาษาปฏิบัติเขาเรียกว่า อทิสมานกาย [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ทีนี้เมื่อร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว เราก็บังคับมันไม่ได้ มันจะแก่ก็เชิญแก่ มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย เชิญหรือไม่เชิญมันก็เป็นอย่างนั้น ใจวางเฉยต่ออาการของร่างกาย จิตใจไม่สะดุ้งสะเทือนเมื่อร่างกายแก่ เมื่อร่างกายป่วย เมื่อร่างกายจะตาย ใจวางเฉย[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แล้วก็เฉยทุกอย่างในสมบัติของโลก ไม่มีความต้องการผูกมัดจริงจังกับสมบัติของโลก อย่างนี้ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แล้วต่อไปอีกอันก็คือ อานาปานุสสติ คือการรู้ลมหายใจเข้าออก [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็ขอสรุปว่าก็ขอให้ญาติโยมพุทธบริษัท เลือกเอาตามชอบใจ ตามเวลาที่ต้องการนะ เวลาไหนเราอยากจะนึกถึงพระพุทธเจ้าเราก็นึก นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ถ้านึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ถ้านึกถึงความดีของท่าน จนกระทั่งจิตใคร่ครวญบูชา อย่างนี้จิตจะเข้าถึงอุปจารสมาธิเป็นอย่างสูง ยังไม่เข้าถึงฌาน แต่ไม่เป็นไร[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าต้องการเป็นฌาน ให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ถ้าไม่เคยได้มโนมยิทธิ สำหรับท่านที่ได้มโนมยิทธิแล้วไม่เป็นไร นั่นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ท่านที่ยังไม่ได้กำลังมโนมยิทธิหรือไม่ได้ทิพย์จักขุญาณ ยังไม่เคยเห็นภาพพระพุทธเจ้า ก็ให้จับภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งตามที่เราชอบ จะเป็นพระพุทธรูปองค์ไหน วัดไหนก็ได้ เหมือนกันหมด นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์นั้น แล้วก็นึกในใจถึงท่าน ถ้าจะใช้คำภาวนา[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แต่ความจริงอนุสสตินี่ปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ได้ภาวนา เขานึกเอาเฉยๆ แต่ว่าถ้าต้องการจิตเป็นฌาน พระโบราณาจารย์ท่านสอนให้ภาวนาด้วย จิตจับภาพพระพุทธรูปแล้วก็ภาวนาด้วย ถ้าจิตจับภาพพระพุทธรูปแล้วก็ภาวนาด้วย[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าจิตจับภาพพระพุทธรูปแล้วภาวนาด้วย อย่างนี้เป็นฌานได้ถึงฌาน ๔ ได้ เพราะภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณถ้าพระพุทธรูปสีเหลืองเป็นปีตกสิณพระพุทธรูปสีเขียวเป็นนีลกสิณ พระพุทธรูปสีขาวเป็นโอทาตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปเป็นแก้วใสเป็นอาโลกกสิณ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]รวมความว่าเราปฏิบัติได้ทั้งกสิณด้วย พุทธานุสสติกรรมฐานด้วย ขณะใดที่ใจนึกถึง ก็นึกว่านี่เป็นพระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติ ถ้านึกถึงสีเป็นกสิณ แต่ว่าความจริงไม่จำเป็นต้องเป็น สุดแท้แต่ใจมันชอบนะ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ในเมื่อเวลาไหนอยากนึกถึงพระพุทธเจ้าก็นึกถึง อยากนึกถึงพระธรรมก็นึกถึงได้ อยากนึกถึงพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ตามชอบใจ แล้วในการต่อไปก็อยากนึกถึงศีล ว่าศีลที่เราเคยรักษามีกี่สิกขาบท บกพร่องบ้างหรือเปล่า อย่างนี้เป็นสีลานุสสติ นึกถึงได้เป็นคุณทั้งหมด[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ต่อไปก็นึกถึงเทวดาคือเทวตานุสสติบ้าง นึกถึงทานการบริจากบ้าง นึกถึงความตายบ้าง นึกถึงร่างกายไม่ดีบ้าง และอุปสมานุสสติคือนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะใดที่นึกถึงพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ก็รวมความว่าอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการนี้ให้นึกตามชอบใจ เวลาไหนชอบใจอนุสสติไหน นึกถึงอย่างนั้นเป็นมหากุศลหมด คำว่ามหากุศลถ้ากำลังอ่อนเต็มที นึกถึงบ้าง กระสับกระส่ายเกินไปบ้าง ก็เรียกว่าทรงตัวไม่ได้นานเป็นขณิกสมาธิ อย่างนี้เป็นเทวดาหรือนางฟ้าในสวรรค์ชั้นกามาวจรได้[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเป็นอุปจารสมาธิมีจิตใจชุ่มชื่นอย่างนี้ท่านบอกว่าเลือกเกิดในสวรรค์ ๖ ชั้นได้ตามชอบใจ ถ้าจิตทรงตัวอย่างต่ำไม่รำคาญในเสียง อย่างนี้เกิดเป็นพรหม[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แต่ถ้าขณะใดที่ภาวนาและนึกถึงอนุสสติใดก็ตาม และเวลานั้นจิตใจเกิดไม่นิยมในร่างกายของเราเอง ร่างกายชาวบ้านช่างเขา ร่างกายของเราความจริงมันมีสภาพเต็มไปด้วยความทุกข์ เราเหนื่อยยากก็เพราะร่างกาย เราป่วยไข้ไม่สบายเพราะร่างกาย เรามีความกระทบกระทั่งใดๆ ก็เพราะร่างกายเป็นเหตุ <o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แล้วต่อไปถ้าหากว่าเราไม่มีร่างกาย ความทุกข์อย่างนี้จะไม่มี ถ้าคิดอย่างสั้นๆ ก็ร่างกายมันไม่ดีนะ เราไม่ต้องการมันอีก ถ้าเกิดชาติต่อไปเราขอเกิดแดนนิพพานจุดเดียว การเป็นมนษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ไม่มีสำหรับเรา[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าคิดอย่างนี้คิดให้เกิดความมั่นใจจริงๆ แล้วก็ภาวนาก็ได้ นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ นึกถึงพระธรรมก็ได้ นึกถึงพระอริยสงฆ์ก็ได้ นึกถึงศีลก็ได้ นึกถึงทานการบริจากก็ได้ ให้ตั้งต้นคิดอย่างนั้นเสียก่อน แล้วต่อไปก็นึกถึงอนุสสติอย่างใดอย่างหนึ่งตามใจชอบ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]สำหรับญาติโยมพุทธบริษัทที่มานั่งที่นี่ชอบนิพพานเป็นส่วนใหญ่ เราตั้งใจนึกถึงพระนิพพานตรง นึกว่าถ้าเราตายเมื่อไหร่ ขอไปนิพพานเมื่อนั้น หลังจากนั้นจะภาวนาให้ตรงก็ภาวนาว่า นิพพานะสุขัง กำลังใจจะได้ยึดมั่นในนิพพาน เพียงเท่านั้นท่านตายเมื่อไหร่ไปนิพพานเมื่อนั้น สวัสดี[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260


    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...