จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย นพณัฐ, 14 พฤศจิกายน 2012.

  1. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    [​IMG]

    ผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ก็คือ ผู้ที่มีสติอยู่เสมอ...
    พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่เจริญกุศลอยู่เสมอ (สติเกิดกับกุศลจิตเท่านั้น)
    แต่ถ้ายังเป็นกุศลธรรมๆ มีทาน ศีล เป็นต้น ก็ยังชื่อว่าประมาทอยู่
    เพราะกุศลเหล่านั้น ยังเป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในภพภูมิต่างๆ
    แม้ว่าจะเป็นสุคติภูมิ ก็ยังต้องประสบกับความทุกข์คือ
    เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศกนานาประการ...
    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอย่างแท้จริง
    จึงได้แก่ผู้ที่เจริญกุศล ที่จะนำออกจากวัฏฏะเท่านั้น
    การเจริญกุศลที่จะนำออกจากวัฏฏะ ก็คือ
    การเจริญมรรคมีองค์ 8 หรือ การเจริญสติปัฏฐาน 4

    พระปัจฉิมโอวาท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    เธอทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"

    คำว่า จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาการเจริญอริยมรรคให้เกิดขึ้น
    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    คือผู้ที่กำลังเจริญมรรค หรือ เจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้บรรลุอริยมรรคนั่นเอง

    อกุศลกรรมให้ผลเป็นทุกข์ นำมาซึ่งความเดือดร้อน
    ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร ๆ เลย
    ควรหรือไม่ ที่จะเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท...
    ประกอบแต่อกุศลกรรม โดยที่ไม่ได้สร้างคุณงามความดีเลย
    ดังนั้น ในแต่ละวันจึงควรที่จะเป็นโอกาสของการเจริญกุศล
    ประกอบคุณงามความดี อบรมเจริญสติ ปัญญา สะสมความเข้าใจธรรม
    ซึ่งจะเป็นที่พึ่งในภายหน้าสำหรับตนเองอย่างแท้จริง

    ขอขอบพระคุณบทความดี ๆ จาก
    หนังสือ “คุยกันวันพุธ” ฉบับรวมเล่ม โดยคณะสหายธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    ต้องขออนุญาต
    การกำกับดูแล "สติ"นี่ ยากมากๆที่สุดในโลก
    เพราะมันจะโลดแล่นโจนทะยานไปโน่นมานี่อยู่แทบทุกวินาที
    การที่พระปฏิบัติภาวนา....นี่ถือเป็น"การฝึกสติ" ดังนั้น ท่านจึงแทบไม่มีความประมาท
    แต่ฆาราวาส ถ้าไม่เคยฝึกเลย หรือฝึกแบบงูๆปลาๆ ครึ่งๆกลางๆแล้ว
    ไม่สามารถดำรงสติอยู่ได้เลย อยู่ในความประมาทตลอดวัน ตลอดเวลา ดั่งเช่นตัวผมนี่แล....ฮา
     
  3. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ..การตั้งจิตในกายคตาสติ
    เป็นเสาหลักอย่างดีของจิต

    ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตอยู่กับกาย
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด
    อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกัน
    ด้วยเชือกอันมั่นคง; คือเขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียว
    เส้นหนึ่ง, จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก,
    จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง ๆ แล้วผูกรวมเข้า
    ด้วยกันเป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว.
    ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่
    อาศัยและที่เที่ยวต่าง ๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกันเพื่อจะไปสู่
    ที่อาศัยที่เที่ยวของตน ๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ,
    นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะ
    ไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว
    สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไปตาม
    อำนาจของสัตว์นั้น ข้อนี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด ไม่อบรมทำ ให้มากใน
    กายคตาสติแล้ว
    ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,
    รูปที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง,
    เสียงที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม,
    กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ,
    รสที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ,
    สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด
    ขยะแขยง;
    ใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ,
    ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด
    ขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ลักษณะของผู้ตั้งจิตอยู่กับกาย
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด
    อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกัน
    ด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้น
    หนึ่ง, จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอกและ
    จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง ๆ ครั้นแล้ว นำไป
    ผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง.
    ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น
    มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่าง ๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่
    ที่อาศัยที่เที่ยวของตน ๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ,
    นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอก
    จะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า.
    ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายใน
    ของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว;
    ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า
    อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด;
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด ได้อบรมทำให้มากใน
    กายคตาสติแล้ว

    ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,
    รูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง,
    เสียงที่ไม่น่าฟังก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม,
    กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ,
    รสที่ไม่ชอบใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ,
    สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;
    ใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์
    ที่ถูกใจ, ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด
    ขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุ ท. ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือ เสาหลัก” นี้
    เป็นคำเรียกแทนชื่อ แห่ง กายคตาสติ
    ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
    พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า

    “กายคตาสติ ของเราทั้งหลาย
    จักเป็นสิ่งที่เราอบรม
    กระทำให้มาก
    กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป
    กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้
    เพียรตั้งไว้เนือง ๆ
    เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ
    เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.
    ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้
    ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    สฬา. สํ. ๑๘ / ๒๔๖,๒๔๘ / ๓๔๘,๓๕๐.

    ***ต้องฝึกให้มากครับ กายคตาสติ
     
  4. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    สาธุ อนุโมทามิ
    ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...